หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


เรียนถามคุณSkymanและท่านผู้รู้อ่ะครับ

โดยคุณ : killerman เมื่อวันที่ : 28/04/2007 20:30:32

รายงานตัวสำหรับผมสมาชิกใหม่ ผมได้ภาพจาก Blog ของคุณ Skyman เกี่ยวกับ Python 4  อยากถามว่า
ช่วงที่ (ผมทำวงกลมสีแดง) Su 30 สามารถใช้ท่าคอบบร้า หรือ ปรับ Vector ของท่อปรับแรงขับสามารถแล้วเปลี่ยนทิศทางของเครื่องบินสลัดให้หลุดจากล็อค
ออนของPython4ได้ดิครับ งั้นก็แสดงว่าท่าคอบบร้ากับการปรับท่อแรงขับนี้มีประโยชน์ในการด๊อกไฟต์มาก
ถามน่ะครับ 1 แสดงว่า Su 30 สามารถสลัดให้หลุดจากล๊อคออนของอาวุธนำวิถีพิสัยใกล้ได้เกือบทุกแบบดิครับ
2 ในเมื่อการปรับแรงขับทำให้คล่องตัวขนาดนี้แล้วทำไมเครื่องบินค่ายทางยุโรปถึงไม่มีแผนแบบปรับแรงขับ ไม่ว่าจะเป็น Typhoon  rafale และ Gripen ลองช้วยกันวิเคราะหน่อยครับ  ขอบคุณครับ




ความคิดเห็นที่ 1


 "ผมได้ภาพจาก Blog ของคุณ Skyman เกี่ยวกับ Python 4  อยากถามว่า"

คุณรู้ไหมครับ ผมอ่านประโยคนี้แล้วใจหายวาบ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ......นึกว่าซวยแล้วกรู แต่พอรูปโหลด โว้ว ค่อยยังชั่ว

-------------------------------

ส่วนตามที่ถามมาผมไม่ทราบครับ เพราะมันเป็นเรื่องเทคนิคเกินไป ซึ่งผมมิใคร่ถนัดนัก แต่ถ้าคอบบร้ากับท่าประหลาด ๆ ของ flanker นี่ก็คงต้องมีประโยคอยู่บ้างล่ะครับ ไม่อย่างงั้นนักบิน MKI ของอินเดียคงไม่ต้องไปเรียนท่าเหล่านี้แบบเข้มข้นจากรัสเซียหรอกครับ

 

นอกเหนือจากนั้น รอท่านอื่นมาเฉลยครับ

โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 26/04/2007 19:33:43


ความคิดเห็นที่ 2


แก้ไขคำผิดครับ

แต่ท่าคอบบร้ากับท่าประหลาด ๆ ของ flanker นี่ก็คงต้องมีประโยชน์อยู่บ้างล่ะครับ ไม่อย่างงั้นนักบิน MKI ของอินเดียคงไม่ต้องไปเรียนท่าเหล่านี้แบบเข้มข้นจากรัสเซียหรอกครับ

โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 26/04/2007 19:40:30


ความคิดเห็นที่ 3


ขอบคุณทุกคำตอบครับ
โดยคุณ killerman เมื่อวันที่ 26/04/2007 21:27:58


ความคิดเห็นที่ 4


เหตุผลที่เครื่องบินทางฝั่งยุโรปไม่ทำแบบนี้เขาว่า ในการรบแบบด็อกไฟต์ท่าคอบร่า ปูกาเซฟ มันไม่ได้ช่วยให้หลุดพ้นจากจรวดนำวิถี แถมความเร็วก็ตกลงอย่างรวดเร็วทำให้เป็นเป้านิ่งได้ แต่ทางรัชเซียบอกว่าท่านี้ทำให้เครื่องบินข้าศึกที่ไล่ตามหลังมาหลุดแซงไปข้างหน้าทำให้ SU-30 ได้ไปอยู่ข้างหลังแทนทำให้พลิกกลายเป็นได้เปรียบครับ

โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 27/04/2007 07:52:36


ความคิดเห็นที่ 5


ยืนยันตามท่านเด็กทะเล งับ

โดยคุณ Zepia เมื่อวันที่ 27/04/2007 10:51:48


ความคิดเห็นที่ 6


เห็นด้วยกับความคิดบนนะครับ

ถ้าไทยเราจะเอาน้อง30 ก็อยากให้นักบินไปเรียนท่างูเห่าเหินหาวนี่ด้วยนะครับ เวลารบพิทักฟากฟ้าไทยจะได้โชว์กำลังภายในให้ข้าศึกดู( แต่ทำไมในรายงานประเมินของท.อ.บอกว่าท่านี้ไม่มีประโยชน์อ่ะ)

โดยคุณ Yuri Alexandrovish Orlov เมื่อวันที่ 27/04/2007 12:02:27


ความคิดเห็นที่ 7


ตามที่น้อง helldiver ว่านั่นถูกต้องแล้วครับ

โดยคุณ rinsc_seaver เมื่อวันที่ 27/04/2007 17:14:06


ความคิดเห็นที่ 8


ผมคิดว่าท่าคอบรา ปูกาเชฟ นั้นไม่ได้มีไว้เพื่อใช้เป็นประโยชน์ในการรบหรอกครับ คิดว่ามีไว้เพื่อแสดงถึงความคงทนของโครงสร้างอากาศยานมากกว่านะครับ

*ความคิดเห็นผมผิดถูกไม่ทราบครับ ขออภัย

โดยคุณ tow เมื่อวันที่ 27/04/2007 17:41:03


ความคิดเห็นที่ 9


ท่าทางผลาดแผลงประหลาดๆต่างๆ ที่เครื่องบินฝั่งรัสเซียทำได้นั้น ผมมองว่าแทบจะไม่มีประโยชน์ในการสู้รบทางอากาศเลยครับ
เพราะเนื่องจากการรบยุคใหม่นั้น จะรบกันที่ระยะนอกสายตา (Bore-sight)
เรียกว่าใครมีเรดาห์กวาดได้ไกล + ขีปนาวุธระยะไกลๆและแม่นยำ ก็ได้เปรียบครับ ในการรบกลางเวหาของยุคนี้ การ Dogfight ถือเป็นความผิดพลาดอันใหญ่หลวงครับ เพราะนักบินควรที่จะกำจัดศัตรูได้ตั้งแต่ระยะนอกสายตา ถ้าเข้ามาพัวพันกับการ dogfight เมื่อไร ถือว่านักบินทำอะไรผิดพลาดซักอย่างแล้วละครับ

แต่ก็ไม่ได้บอกว่า Dogfight ไม่จำเป็นเลย แต่ก็ไม่มีใครอยากเข้าไปติดพันกับการ dogfight เท่าไรหรอกครับ

ยกตัวอย่างเมื่อ F-15 ต้องสู้กับ Su-30MKI ที่มี thrust vector
ระยะต่อตีของเครื่อง 2รุ่นนี้ พอๆกัน แต่ถ้าเรื่องความคล่องตัว SU-30 กินขาด และเมื่อเป็นอย่างนั้น การ dogfight ของ SU-30 ก็จะได้เปรียบมาก

และนักบิน F-15 นั้นรู้ถึงข้อได้เปรียบ,เสียเปรียบนี้ดี ในเมื่อเป็นอย่างนั้น เขาก็อยากจะจบการต่อสู้ครั้งนี้ด้วยการต่อสู้ที่ระยะนอกสายตาดีกว่า เพราะถ้าเขาต้องไปพัวพันกับการ dogfight เขารู้ดีว่าเขาเสียเปรียบกว่ามาก การต่อสู้ของเครื่องบิน 2รุ่นนี้ จึงเป็นการต่อสู้ที่ระยะนอกสายตา นักบิน F-15 จะคอยรักษาระยะห่างระหว่างเครื่อง 2ลำไว้ตลอดเวลา ถ้าเห็นว่าการต่อสู้ยืดเยื้อ ก็อาจจะบินหนีกลับบ้านแล้วเรียกเพื่อนมาช่วยก็ไม่เสียหาย 

เราจึงเห็นได้ว่านักบินส่วนใหญ่ ไม่อยากจะเข้ามาพัวพันกับการ dogfight มากนัก เพราะทั้งเสียเวลาและเสียแรงอย่างมาก เพราะการ dogfight กับเครื่องบินรบยุคใหม่จะต้องทนแรง G มหาศาลที่กระทำอยู่ตลอดเวลา

และการบินผลาดแผลงทุกท่าทางของ บ.ตระกูล flanker นั้น ผมเห็นว่าเป็นการแสดงศักยภาพทางวิศวกรรมและศักยภาพของเครื่องบินมากกว่าจะใช้ประโยชน์ในการสู้รบครับ

ปล. ความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ ผิดพลาดประการใด ขออภัย
โดยคุณ beam408 เมื่อวันที่ 28/04/2007 18:20:21


ความคิดเห็นที่ 10


ขอขอบคุณทุกความเห็นน่ะครับ.....ดีใจครับได้ความรู้เพิ่ม
โดยคุณ killerman เมื่อวันที่ 28/04/2007 20:30:32