รัสเซียนั้นออกแบบ MiG-31 มาสำหรับภารกิจการสกัดกั้นทางอากาศระยะไกลซึ่ง การวางกำลังของหน่วยบิน MiG-31 นั้นมักจะอยู่ที่สนามบินแถบพรมแดนด้านตะวันออกของรัสเซียเพื่อสกัดกั้น บ.สอดแนมหรือบ.ทิ้งระเบิดของสหรัฐฯที่อาจจะเจาะห้วงอากาศเข้ามาได้ครับ
MiG-31 นั้นเป็น บ.ขับไล่ขนาดหนักซึ่งมีความคล่องตัวในการรบระยะประชิดต่ำ แต่เนื่องจากที่ บ.นั้นมีกำลังขับสูงและติดตั้งอาวุธปล่อยพิสัยไกลอย่างรุ่นปรับปรุงที่ประจำการในรัสเซียปัจจุบันนี้สามารถติด R-77 รุ่นใหม่ที่มีพิสัยการยิงหลาย100กิโลเมตรทำให้ บ.MiG-31 อันตรายมากในการต่อสู้ระยะไกลครับ ซึ่งอาวุธปล่อยที่ทั้ง Typhoon กับ Rafale พอจะแลกหมัดได้ก็มี Meteor ครับ
Typhoon กับ Rafale มีข้อได้เปรียบ MiG-31 ตรงที่ระบบที่ติดตั้งภายในนั้นมีความทันสมัยกว่าครับ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ของนักบินและระบบการควบคุมในสนามรบด้วยครับว่าใครเห็นใครก่อน
.......มิก 31 นั้นหลังๆมานี่ใช้เป็นเครื่องบิน เอแวค ไปในตัวในและใช้อาวุธยิงพิสัยไกลเข้าต่อตี ก่อนจะใช้เครื่องบินที่ตามกันมาเข้าไปลุยกันอีกที และ ยังใช้ตรวจการณ์ ขีปนาวุธ จรวดครูซ นำวิถี ที่ยิงเข้ามาในพื้นที่ ไม่ว่าจะทางเรือดำน้ำ ยิงมากับรถ แล้วทำลายได้ทันที นอกจากนั้นยังใช้ ดาตาลิงซ์ ระบบเรดาห์ของ มิก 31 ด้วยกัน รวมกันได้ถึง 4เครื่อง สามารถทำให้ระยะตรวจการณ์ได้ไกลถึง 900 กิโลเมตร
....นอกจากนั้น ยังมี จีน ที่จำไม่ได้ว่าซื้อ สิทธิบัตร ไปผลิตใช้เอง หรือ ซื้อเข้าประจำการเลยหรือไม่ ในปี 1992 ประมาณเนี้ยล่ะ
จากที่ จขกท.ถามมาก็คือว่า
MIG 31 สามารถจัดการกับ บ. พวกนั้นได้จากระยะไกลได้เลยใช่ไหมครับ
สรุปง่ายๆนะครับ Mig31 นั้นก็เปรียบเสมือนเครื่อง Awac ลำย่อยๆนั่นเองครับแล้วอย่างที่มีหลายท่านได้กล่าวมาข้างต้นก็คือ Mig31 นั้นเป็นเครื่องบินที่ออกแบบสำหรับภารกิจป้องกันน่านฟ้าอันกว้างใหย่ของอดีตสหภาพโซเวียตนั้นแหละครับ
.....สำหรับที่ผมบอก เกี่ยวกับ มิก 31 ของ จีนนั้น ตามนี้อ่ะครับ
...In 1992 the Chinese reached agreement with the Russian Federation to buy 24 MiG-31 Foxhound long-range interceptors. The MiG-31s were expected to be assembled at a newly set-up factory in Shenyang, with production at a rate of four per month expected by 2000. The last aircraft was to be delivered by the year 2000. According to some reports the agreement included a license to build as many as 700 aircraft, and some projection envisioned that at least 200 would actually be deployed by the year 2010.
.....เลยไม่รุว่า มีประจำการหรือไม่สำหรับ จีน โดย มิก 31 นั้นก็อย่างที่กล่าวกันไปแล้วว่า เป็นแนวหน้าของเครื่องสกัดกั้นขนาดใหญ่เพดานบินสูง ความเร็วสูง รุ่นสุดท้าย ต่อ จาก มิก25 ตู 128 พีลิแกน และ ลาวอชกิน แอลเอ 250 อนาคอนด้า
เคยอ่านในหนังสือเล่มไหน จำไม่ได้แล้วครับ...แล้วจะหามาให้อ่านครับ..ว่า Mig-31 รัสเซีย มีไว้เพื่อต่อต้าน เครื่องบินติดอาุวุธนิวเคลียร์ ในช่วงสงครามเย็น คือ บินขึ้นฟ้า ไปสกัดกั้น แล้วก็ต้องรีบกลับลงมา...เพราะรบไม่ได้นาน..เน้น ความเร็วสูงเพื่อขึ้นไปสกัดกั้นเท่านั้น ครับ...น่าจะแบบที่ ท่าน กบ ให้ีีความเห็นไว้ครับ...และรู้สึกว่า จะมีความเสียหายค่อนข้างสูง ในการขึ้นบินแต่ละครั้ง...อายุการใช้งานต่ำ...จนเมื่อสงครามเย็นยุติ รัสเซียแตกสลาย...Mig-31 จึงน่าจะสลายตามไปด้วยครับ...
รบกวนถามต่อนะครับ เรดาร์เฟสอะเรย์ของมิก-31 เทียบกับเรดาร์ที่ติดกับ su30 แล้ว ของ มิก31 มีกำลังสูงกว่าเหรอครับ ถ้างั้นแล้ว ทำไมไม่ติดเรดาร์ของมิก31 ให้กับsu30 อ่ะครับ อีกอย่างระบบอาวุธของ ซู30 กับมิก31 นั้น อันไหนมีปนะสิทธิภาพมากกว่ากันครับ
Radar Zaslon-M ของ MiG-31 นั้นมีระยะตรวจจับเป้าหมายสูงสุดที่ 400กิโลเมตร(ถ้าเป็นเป้าขนาด บ.ขับไล่น่าจะลดลงเป็น 200กิโลเมตร)ครับ สามารถติดตามและโจมตีเป้าหมายได้พร้อมกัน10เป้าหมายในเวลาเดียวกัน
สำหรับ Radar Phazotron BARS N-011M ของ Su-30 นั้นมีระยะตรวจจับที่ 200กิโลเมตร ติดตามเป้าได้พร้อมกัน 15เป้าหมาย
เหตุผลที่ไม่มีการนำ Radar ของ MiG-31 มาติดกับ Su-30 นั้นก็มีเหตุหลักๆมาจากขนาดและน้ำหนักของRadar ที่ยัดเข้าไปไม่ได้นั้นแลครับ
อินเดียเองเคยเสนอความต้องการให้เปลี่ยน Radar ของ MiG-29K จาก Zhuk-M มาเป็น Bars ครับแต่รัสเซียบอกว่าทำให้ไม่ได้
เรดาร์พวกนี้ตรวจไม่พบ F-22A หรอกครับ ยกเว้นว่าจะอยู่ในระยะใกล้ๆ เท่านั้น เนื่องจากเป็นเรดาร์ที่ใช้ความถี่ช่วง X-band ซึ่ง F-22A รวมทั้ง F-35 ต่างออกแบบมาเพื่อรับมือกับเรดาร์ประเภทนี้อยู่แล้ว อีกอย่างนึง คือ Mig-31 เป็น บ.ขนาดใหญ่มาก และไม่ได้ออกแบบให้ตรวจจับได้ยาก ดังนั้นพวก บ.stealth นั้น จะตรวจพบ Mig-31 ด้วยเรดาร์ AESA ได้ตั้งแต่ระยะไกลทีเดียว และก็จัดการด้วยจรวดระยะยิงปานกลางครับ
แต่ผมกลับเห็นว่าแนวคิดของการวาง Mig-31 ที่เป็นเครื่องขับไล่ขนาดใหญ่นั้นน่าสนใจมากครับ
เพราะปัจจุบันเครื่องบินมีความสามารถในการเสตลธ์สูงขึ้นเรื่อยๆ เครื่องขนาดเล็กจะไม่สามารถตรวจจับเครื่องเสตลธ์ได้ง่ายๆเลย เพราะว่าระบบเรด้าร์และอุปกรณ์อินฟาเรดที่ติดตั้งนั้นมีประสิทธิภาพต่ำ ระยะการตรวจจับสั้น จึงยากมากที่จะทำการตรวจจับเครื่องเสตลธ์ได้แต่เนิ่นๆ ก็เลยมีโอกาสที่จะถูกตรวจจับและถูกสอยได้ก่อน แต่เครื่องขนาดเล็กเองก็มีดีตรงที่ "เล็ก" จึงสามารถออกแบบให้มีหน้าตัดขนาดเล็กได้ง่ายกว่ามาก และนอกจากนี้มีความคล่องตัวในการ dog fight ที่ดีมาก ดังนั้นถ้าเข้าคลุกวงในได้ เครื่องขับไล่ครองอากาศขนาดใหญ่ท่าทางจะต้องเจอกระดูกชิ้นโต แถมราคาก็ถูกกว่าด้วย จึงจัดหาจำนวนมากได้
ในขณะที่เครื่องขับไล่ครองอากาศขนาดใหญ่ดูจะได้เปรียบกว่าในเรื่องเรด้าร์และอุปกรณือินฟาเรดสำหรับการตรวจจับ ระบบเรด้าร์ใหม่ๆนั้น น่าจะสามารถส่งคลื่นเรด้าร์ที่มีความยาวคลื่นสั้นๆได้ดีกว่า เพราะกำลังส่งสูงกว่า ขนาดสายอากาศก็ใหญ่กว่า และพลังของแบตตารี่ก็น่าจะมากกว่าด้วย ทำให้สามารถตรวจจับเครื่องบินเสตลธ์ได้ง่ายกว่าและตรวจจับได้ในระยะทางที่ไกลกว่าด้วย แต่ตัวมันเองก็ถูกตรวจพบได้ง่ายกว่า เพราะการที่จะทำให้เครื่องขนาดใหญ่มีหน้าตัดเรด้าร์เล็กมากๆนั้น ทำได้ยากกว่าเครื่องขนาดเล็ก
ผมเลยมีแนวคิดว่า ถ้าจะให้ฝูงบินขับไล่ของเราสามารถทำหน้าที่ได้มีประสิทธิภาพสูงสุดนั้น จะต้องทำกันเป็นทีม คือ มีเครื่องบินขับไล่ขนาดใหญ่มากที่อาจมีนน.ตัวเปล่าล่อเข้าไป 20 ตันอย่างMig-31 แต่ระบบเรด้าร์ของเครื่อง จัดอยู่ในระดับเดียวกับเครื่อง AWAC โดยออกแบบให้จมูกยาวมากๆๆๆ และทำการติดตั้งเรด้าร์ ASEA ที่ส่งสัญาณเรด้าร์ไปข้างหน้า และ เรด้าร์เฟสอาเรย์ที่สามารถส่งสัญญาณเรด้าร์ออกไปทางข้างตรงจมูกที่ยาวนั้น กำลังส่งสูงระดับน้องๆ AWAC แบ๊ตเตอร์รี่ทนทานยาวนาน
นอกจากนี้ให้เครื่องบินขับไล่ขนาดใหญ่มาก ติดตั้งระบบดาต้าลิ้งค์ที่ประสิทธิภาพสูงมาก เพื่อนำส่งข้อมูลให้เครื่องบินขับไล่เล็กๆที่บินอยู่ในทีมได้ทีเดียวมากกว่า 8-12 เครื่อง และนอกจากนี้เครื่องบินขับไล่ขนาดใหญ่มากต้องสามารถแบกอาวุธนำวิถี BVR ที่มีระยะยิงไกลๆระดับ 200+ กม. ได้จำนวนหลายลูกมากๆ
ดังนั้นในระยะไกลเครื่องบินขับไล่ขนาดใหญ่มาก จะเป็นตัวทำหน้าที่เป็นเครื่อง AWAC สามารถตรวจจับเครื่องเสตลธ์ได้ระยะไกล ทำการส่งข้อมูลเกี่ยวกับข้าศึกให้เครื่องขับไล่เบา(ที่มีเทคโนโลยีเสตลธ์) และทำหน้าที่เป็นฐานจรวด SAM ที่จะทำการส่ง BVR ที่มีระยะยิง 200+ กม. ไปให้ข้าศึกลองฝึกหลบจรวดเล่นๆก่อน ใครมือไม่ถึงก็เดี้ยงตั้งแต่ยังไม่เข้าประชิด ช่วงที่ BVR ระยะ 200+ กม. ของฝ่ายเรายิงออกไป ก็จะเปิดโอกาสให้เครื่องบินขับไล่ขนาดเบาของเราที่อยู่ในทีม สามารถเข้าชาร์จหาข้าศึกในทันทีเพื่อปิดระยะเข้าคลุกวงในที่ตนเองได้เปรียบ พอเครื่องบินขับไล่เบาเข้าชาร์จได้แล้ว เครื่องบินขับไล่ขนาดใหญามากก็จะต้องตีวงออกไปนอกสมรภูมิทันทีเพราะความคล่องตัวทางการบินเป็นรองข้าศึก
นี่เป็นแนวคิดของผมครับ
คลื่นเรด้าร์ปัจจุบันทำงานในย่านความยาวคลื่นระดับเซนติเมตรเวฟ ก็ถือว่าเยี่ยมมากแล้ว แต่เครื่องเสตลธ์นี่ทำให้ความยาวคลื่นระดับนี้มีประโยชน์น้อยมาก
จะตรวจจับเครื่องเสตลธ์ คงต้องใช้ความยาวคลื่นแค่ 1-2 เซนติเมตร หรือระดับ มิลลิเมตรเวฟ ซึ่งจะกินพลังงานมากกว่าความยาวคลื่นปัจจุบัน 3- 5 เท่าเลยนะ ซึ่งเครื่องระดับ AWAC น่าจะทำได้โดยไม่มีปัญหา
เรดาร์ที่มีช่วงคลื่น L หรือ S-band มีโอกาสที่จะตรวจจับเครื่อง stealth ได้ดีกว่า X-band ครับ