บทที่ ๔
กองพันจู่โจมไทย Go
Inter
ในช่วงต้นปี
38 เหตุการณ์สำคัญทางทหารของไทยเล็ก เหตุการณ์หนึ่ง คือการที่ กรมจู่โจมที่ 75
ของสหรัฐอเมริกา เชิญหน่วยกองพันจู่โจม ของไทย 1 หมวด ไปทำการฝึก ณ
ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งหน่วยจู่โจมของสหรัฐ ( US. Ranger ) เป็นหน่วยที่มีชื่อเสียงหน่วยหนึ่งของโลกมีขีดความสามารถเป็นที่ยอมรับคงไม่เป็นการง่ายเลยที่จะทำให้หน่วยทหารที่มีความสำคัญหน่วย
หน่วยหนึ่งของมหาอำนาจทางทหารยักษ์ใหญ่จะเชิญ หน่วยจากต่างประเทศไปทำการฝึก
ในประเทศ สหรัฐ เข้าไปถึง คลังอาวุธ, โรงนอน ฯลฯ ส่วนหนึ่งคือ
ขีดความสามารถของกำลังพล,
ความมีวินัยที่ยอดเยี่ยม ฯลฯ
กองพันจู่โจมของไทย
ถูกจัดตั้งมาประมาณปี พ.ศ.2533 โดยมี พ.ท.นนท์เกษม ขำเกษม เป็น
ผู้บังคับกองพัน คนแรก เริ่มมีการพัฒนาขึ้นตามลำดับ เริ่มเข้าฝึกร่วมกับต่างประเทศ
ในรหัส Cobra
gold ตั้งแต่ ปี 2534 โดยมีการฝึกร่วมทุกปี
ยกเว้นในปี 2540 ซึ่ง กองพันจู่โจมสหรัฐ ไม่ได้ถูกส่งมา ร่วมการฝึก นอกจากสหรัฐอเมริกาแล้ว
กองพันจู่โจมยังมีการฝึกร่วมกับ ออสเตรเลีย กับหน่วย SAS( Special Air Service
Regiment ) ซึ่งเป็นหน่วยปฏิบัติการพิเศษระดับแนวหน้าของโลก หลายครั้ง
ในรหัส Night Panther และ Day pantherนอกจาก SAS แล้ว ยังมีการฝึกร่วมกับหน่วย Commando ในรหัส Night Crocodile
ในส่วนของมิตรประเทศในเอเชีย
กองพันจู่โจมทำการฝึกร่วมกับหน่วย Commando ของ สิงค์โปร ในรหัส Blue thunder อีกด้วย จากการฝึกร่วมหลายครั้ง
ขีดความสามารถ ความรู้ต่าง ๆ ทางทหารกองพันจู่โจม จึงมีมากจนเป็นที่ยอมรับ
ไม่ว่าจะเป็น การยิงปืนระยะประชิด
หรือ CQB ( Close Quarter Battle ) ที่เป็นพื้นฐานในการรบทั่วไปของทหารทั่วโลก
(แต่ทหารไทยบางคนยังไม่รู้จัก)การรบในพื้นที่สิ่งปลูกสร้าง, การใช้เรือยาง, การกระโดดร่มประกอบเครื่องสนามลงน้ำ, การยึดสนามบิน, การเคลื่อนย้ายทางอากาศทุกรูปแบบ, ภารกิจต่าง
ๆ ของหลักนิยมที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงไปของสภาพบ้านเมืองเช่น การ Recovery หรือ การค้นหาและช่วยชีวิตในการรบ ,
การปฏิบัติการเป็นส่วนหนึ่งของกำลังในการปฏิบัติการอพยพเรือน ออกจากพื้นที่การรบ
ด้วยเหตุข้างต้นที่กล่าวมารวมทั้งความตั้งใจ, ความมีวินัยของกำลังพลใน
กองพันจู่โจม ทำให้ หน่วยกองพันจู่โจมไทยเป็นที่ยอมรับของ หน่วยจู่โจมสหรัฐ , หน่วยจู่โจมสหรัฐทำการฝึก
ในประเทศไทยเพื่อการเพิ่มพูนประสบการณ์ ให้กับกำลังพลของตนเอง
โดยแลกเปลี่ยนกับความรู้ความสามารถ บางอย่างที่เขาไม่มี จากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น กรมจู่โจมที่ 75
ได้ทำหนังสือ เชิญ กองพันจู่โจมไทย ไปทำการฝึกที่ประเทศ สหรัฐ ( โดยในเรื่องอาวุธ,กระสุน ,น้ำมัน,อาหาร
ของสหรัฐออกให้ทั้งหมด)
จึงเป็นที่มาของ การฝึกนอกประเทศไทยครั้งแรก
การเดินทางของ กองพันจู่โจม ในครั้งนั้น ประกอบด้วยกำลังพล นายทหาร , นายสิบ และ พลทหารอาสาสมัครกองประจำการ กำลัง ๑ หมวดจู่โจม ออกเดินทางโดยสายการบินไทย หย่อนกำลัง เที่ยวบินที่ TG.007 วันที่ 23 ต.ค. 2538 เวลา 0700
การเดินทางเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
ติดขัดนิดหน่อยในเรื่องของการใช้ภาษาของ กำลังพลทหาร และนายสิบบางนาย
แต่ส่วนใหญ่พอเอาตัวรอดได้จากการเตรียมการที่ดี
จากการเรียนภาษาจากนายทหารที่มีความสามารถของกองพันก่อนไป
ตำบลปลายทางคือ
เมือง ซาวาน่า มลรัฐ จอร์เจีย
ค่าย STEWART (
ในการปฏิบัติภารกิจ
ทั้งยังเคยเป็นที่ ที่ เดลต้าฟอรซ์เคยใช้เป็นพื้นที่การฝึกทดสอบ
และการเตรียมพร้อมมาก่อนด้วย
ผู้ที่มาต้อนรับเรา
เป็น ทหารจู่โจมสหรัฐลูกครึ่งไทยอเมริกัน (แม่เป็นไทย) ชื่อ SGT.
SWIFT เคยมาเมืองไทยในการฝึก
COBRA
GOLD 2 ครั้ง สามารถพูดไทยได้ จนมีชื่อไทย ที่ทหารจู่โจมไทยตั้งให้ว่า
ชื่อจ่อย (ผู้ใหญ่มา) เพราะมีส่วนคล้ายตัวการ์ตูนในเรื่องผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน
แต่ที่สำคัญ เขา เป็นคนหนึ่ง ที่อยู่ในหน่วย จู่โจม เฉพาะกิจ ที่ทำงาน ในโซมาเลีย ได้รับบาดเจ็บจากการบในครั้งนั้นด้วย หลังจากนั้นได้พาเราไปยังค่าย และเข้าสู่ที่พัก
SABER HALL เป็นชื่อของที่ที่เราพัก
เป็นอาคารที่ มี 2 ชั้น แต่ โพล่ให้เห็นแค่ชั้นเดียว โดยชั้นแรกถูกบังด้วยมูลดินทุกด้าน
มีทางเข้า - ออกทาง อาคารดังกล่าวอยู่สนามบิน มีลานจอดเครื่อง, มีโรงเก็บ
แต่ไม่มีเครื่อง อาคารนี้ใช้เป็นพื้นที่เตรียมพร้อม ในการปฏิบัติภารกิจ ภายในมี
ห้องนอน ( มีห้อง VIP เป็นเตียง มีโทรศัพท์, ตู้เย็น
เตียง ฟูก,ตู้) ห้องเตียง 2 ชั้น
มีให้,
มีห้องน้ำแยกชายหญิง
ห้องอาบน้ำ เครื่องซักผ้าอบผ้า
ตู้ขายน้ำอัดลมอัตโนมัติ
ครัวภายในครัวมีตู้เย็น เตาอบ,เตา ภาชนะทำอาหาร, ใส่อาหาร
โต๊ะเก้าอี้, ห้องเรียน, ห้องสื่อสาร
สรุปคือถ้าเข้าพื้นที่นี้
อยู่ได้เป็นเดือนโดยไม่ต้องไปไหน ณ
ที่นี้กำลังพล หลายคนกับ เทคโนโลยีใหม่ ก้าวเข้ามาในชีวิต
เช่นเครื่องซักผ้า ? อบผ้า? ก็ทำการแนะนำโดย
ผู้เขียน แนะนำวิธีใช้ให้กับ กำลังพล ซึ่งหลายคน พึ่งจะมาเคยเห็น
เครื่องซักผ้าที่หน้าตาแปลก ๆ ไปจากบ้านเรา, การใช้น้ำร้อน การดื่มน้ำจาก
ก๊อกน้ำ รวมทั้งการใช้โทรศัพท์ ในประเทศฝรั่งนี้
ทหารไทยไม่ค่อยมีใครอาจหาญใช้สักเท่าไรในช่วงแรก อุปสรรคสำคัญคือภาษา
ในห้วง 2 วัน แรกเป็นการแนะนำสถานที่ หน่วยต่าง ๆ ใน
หลังจากดูพื้นที่ในค่ายโดยรอบก็กลับมา แนะนำ บก.พัน.ของ
กองพันจู่โจมที่ 1 ภายใน บก.พัน. เป็น อาคารชั้นเดียว มีห้องทำงาน, ฝ่ายอำนวยการ ห้อง ผู้บังกองพัน
ห้องจ่ากองพัน จ่ากองพัน เป็นตำแหน่ง น.ประทวนที่ใหญ่สุดในกองพัน
เปรียบเสมือนมือขวาของ ผู้บังคับกองพัน., เป็น NCO ( non
commission officer) ที่มีประสบการณ์
และขีดความสามารถสูง ทบ.ไทย นำเอาระบบการทำงานของ
ในการปฏิบัติการ จุดเด่นของหน่วยคือ? การพร้อมเคลื่อนย้าย
ไปทุก ๆ ที่ในโลก ใน 18 ซม. ? RRF
(RANGER READY FORCE) นายทหารยุทธการ ของกรม
ได้ขึ้นมากล่าวแนะนำการจัดหน่วยต่าง ๆ ภายในกรม, กองพัน และระบบที่ทำให้พร้อมไปในทุก ใน 18 ซม. โดยหัวใจสำคัญอยู่ที่ระบบการส่งกำลัง
ที่เตรียมไว้ ในยามปกติ,
มีการจัดกำลังเตรียมพร้อมระดับ 1,ระดับ 2,ระดับ3
โดยหมุนเวียนตามกองพัน ในการส่งกำลัง
สิ่งของที่ใช้ในการเตรียมพร้อมจะถูกแยกไว้ในส่วนที่พร้อมเคลื่อนย้าย มีการตรวจสภาพตามวงรอบ
เช่น อาหาร (
RATION) 3 วัน, สป.5( กระสุนและวัตถุระเบิด ) ฯ ลฯ การจัดรถ, เครื่องบิน, อากาศยาน
ฯลฯ ทุกอย่าง พร้อมที่จะปฏิบัติงานได้ โดยรวมแล้วคือ หลักการของหน่วย
เคลื่อนที่เร็วนั้นเอง ในครั้ง เราได้ประโยชน์ จากาการรับฟังครั้งนี้มาก การปฏิบัติดังกล่าวสามารถนำมาใช้ได้กับเมืองไทยได้แต่
เนื่องจากการปฏิบัติโดยรวมแล้ว เราจะต้องใช้ความร่วมมือ , ความสามัคคี, การช่วยเหลือกันของทุกส่วนในกองทัพบก เรือ
อากาศ ซึ่งในปัจจุบัน คงจะยาก เพราะทุกฝ่ายมีข้อแม้ ข้อขัดข้อง ฯ ล ฯ
งบประมาณที่ไม่ลงตัว ความเห็นแก่หน่วยตนเองเป็นใหญ่
จึงจบลงแค่สมุดบันทึก,รายงานสรุปส่งหน่วยเหนือ
และปฏิบัติใน ส่วนที่เราจะมาทำได้ใน หมวด ในกองพัน เราเอง ซึ่ง
ก็จบลงแค่นั้นจริงๆ
จากการฟังบรรยาย ในห้องประชุม บก.พัน ก็มายังตัวกองร้อย บก.ร้อย
เป็นอาคารชั้นเดียวเช่นกัน,
มีคลังอาวุธ , คลังสิ่งอุปกรณ์ ต่าง ๆ
ห้องทำงาน ผู้บังคับกองร้อย โดยกองร้อยที่เราไปเยี่ยมเป็น กองร้อย B หรือ
กองร้อย BRAVO (
กองพันสหรัฐจะไม่แบ่งกองร้อยเป็น 1 2 3
แต่จะเป็น A,B,C อาจจะเป็นเพราะ
คงจะกลัวว่ากองร้อยที่ 2,3 จะน้อยใจ)
เมื่อมาถึง บก.เราก็บุกไปถึง โรงนอน เป็นอาคาร 3 ชั้น
โค้งยาว มีลานจอดรถ ราวถึงข้อ
ข้างหน้ามีรถจอดอยู่หลายสิบคัน ส่วนใหญ่เป็นรถ สปอร์ต ซึ่งมาทราบภายหลังว่าเป็นของ
พลทหาร ภายในโรงนอน มีห้องพักผ่อน มีโต๊ะสนุ๊กเกอร์, บาร์ขายเบียร์
และของขบเคี้ยว ทีวี วีดีโอ เครื่องเล่น วีดีโอเทป, โต๊ะเล่นไพ่, โต๊ะโกล์ (ฟุตบอลที่เล่นบนโต๊ะ
) ภายในห้องนอนเป็นลักษณะ
เหมือนกับแฟลต เป็นห้องนอนแยก ห้องละ 2 คน มี เตียง, ตู้, ตู้เย็น
ห้องน้ำ แยกกัน โดย จะมีการตรวจ โดย จ.กองร้อย หรือ ผู้บังคับหมู่
อาทิตย์ละครั้ง วิทยุ ทีวี นำเข้ามาใช้ได้ไฟฟรี เห็นแล้วนึกถึง โรงนอนของ นักเรียนนายร้อย
ซึ่งถ้าเทียบแล้วดีกว่าคิดขึ้นมาว่า ทำอย่างไร เราถึงทำให้
พลทหารของเราอยู่สบายอย่างนี้บ้าง อาจจะโดยการลดกำลังพลลง
แต่ทำให้ความเป็นอยู่ดีขึ้น, ลดการสร้างบ้าน นายพล, นายทหารลง ดูที่นอนแล้วก็ต้องดูที่กิน
เราเดินทางไปยังโรงอาหาร ด้วยการเดิน
โรงอาหารของ กองพันจู่โจมสหรัฐ เป็นลักษณะ เหมือนกับ โรงอาหารโรงพยาบาล
มีที่จ่ายอาหาร มีช่องเข้าคิว ค่าอาหารจ่าย มื้อละ 2 เหรียญ
นายทหารจ่ายแพงหน่อย นายสิบจ่ายถูกหน่อย พลทหาร หักเงิน(ระบบการจ่าย
ค่าอาหารในแต่ละค่าย แต่ละหน่วยอาจจะต่างกันไป)
อาหารถูกตักให้โดยพนักงาน สามารถที่กลับมาเติมใหม่ได้ โดยจะเป็นบริษัทพลเรือน มารับเหมาครบวงจร จะมีก็แต่บางมื้อที่มีทหารมาตักให้ , ถ้าเป็นมื้อเช้าจะมี
ไข่เจียว (
omelet) ไข่ดาว, (scramble)ตามสั่งอยากกินอะไรตามสั่งต้องคอยหน่อย เอาไข่ดาว sunny side up หรือ over easy แบบไหนสั่งได้แต่ต้องคอย, อาหารประจำคือมันฝรั่งเป็นหลัก
อบ,ทอด,บด และมีอาหารประเภท เนื้อสัตว์ จำนวน
อิ่ม เกิน อิ่ม ออกจากแถวอาหาร จะมี เครื่องดื่ม Pepsi Fanta ชามะนาว กาแฟ,
นม,น้ำเปล่า, น้ำผลไม้
ของหวานมี ไอศกรีม, ทุกวัน, เติมได้จนกว่าตายกันไปข้างหนึ่ง ขนมพุดดิ้ง, คัสตาร์ด เค้ก โดนัท เยลลี่ สลัด BAR มีผักหลายชนิด ถ้าใครที่เคยเห็นสลัดบาร์ ตาม Fast food ในเมืองไทยก็ทำนองเดียว แต่ชนิดผักก็ผักฝรั่ง ธรรมดาอยู่ในสภาพสดตลอด
น้ำสลัด มีทั้ง อิตาเลี่ยน,ฝรั่งเศส ครีม ฯลฯ ทุกชนิด ตักได้เรื่อย ๆ ไม่ต้องใช้เทคนิคพิเศษในการจัดเรียงหรือบีบอัดเหมือนไปกินตามร้านอาหารแต่อย่างใด
แต่คงไม่ได้มากนัก เพราะแค่มื้อหลักก็ค่อนท้องแล้ว ยังไม่รวมขนม
ฉะนั้นคงไม่แปลกใจเลยที่ขนาดของทหารอเมริกัน ใหญ่ โต
กว่าเรา แม้กระทั้ง ดูได้จากคนที่ไป อเมริกา กลับมา ใหญ่กันทุกคน มื้อแรกๆ
ของเราทานกันได้มาก อาจจะเป็นเพราะแปลกใหม่ โรงอาหาร รู้ว่าทหารไทยจะมา
ก็ทำข้าวผัดต้อนรับ หลายคนพอใจกับอาหารที่เปี่ยมด้วยคุณภาพ แต่
เมื่อเวลาผ่านไปแล้วทุกคน คิดถึงอาหารไทย ที่เปี่ยมด้วยรสชาติทั้งนั้น
หลังจากท้องอิ่ม เราก็ไปที่ ทหารหลายคนปรารถนา นั้น คือ PX. ( Post Exchange ) จะเป็นสิ่งที่สำคัญสวัสดิการที่ไม่มีการเสียภาษี
ราคาจึงถูกกว่าปกติ
โดยแบ่งเป็น 3 ร้าน 1.ร้ายขายเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายทหาร
2 . ร้ายขายของทั่วไป เหมือนห้างเล็กๆแต่ของเยอะ 3.ขายอาหารประเภท บริโภค, คลายกับ
ซุปเปอร์มาเก็ตบ้านเรา (Commissary)
มีรายการ สิ้นค่าเงินติด หรือฝรั่งเรียกว่า (Credit ) สินค่าเงินผ่อน ผู้ที่จะใช้บริการจะต้องมีบัตรประจำตัวข้าราชการ เหล่าทัพ
หรือบัตรครอบครัว และข้าราชการสามารถที่จะพาบุคคลภายนอกเข้าไปได้อีก
แต่ต้องเดินนำไปด้วย PX ที่นี่เอกชนเป็นผู้รับดำเนินงานภายใต้สัญญาของรัฐ
ถ้าทหารเรือจะใช้คำว่า BX ( ฺBase Exchange ) โดยรัฐบาลให้ความร่วมมือในการงดเว้นการเก็บภาษี
หรือลดหย่อนภาษี กับทางร้าน และเจ้าของสินค้า จึงเป็นสวัสดิการก้อนใหญ่ของกำลังพล
รายได้น้อย (แต่มากกว่าไทย)
เมื่อหันกลับมามอง PX ไทย ยังขาดการจัดการที่ดี ขาดการร่วมมือกับภาครัฐในส่วนอื่น
เช่นการยกเว้นภาษี ฯลฯ ทำให้สินค้าไม่ถูกจริง, สินค้าน้อย ทำขึ้น เพื่อแก้ขัด
ตามนโยบายเท่านั้น แต่ประโยชน์ที่เกิดขึ้น คงไม่ได้ผลคุ้มค่ากับกำลังพล เท่าใดนัก
จาก PX ที่นี่ เราได้สินค้า
หลายอย่างกลับไปใช้งาน พลทหาร ซื้อเครื่องสนามไปใช้, ซื้อเป็นของส่วนตัว ไปใช้
เพื่องานราชการ,
คงมีข้าราชการหลายคนที่ทำเช่นนี้ เป็นเรื่องที่ดี
ที่สละเงินส่วนตัวเพื่อส่วนรวม ดีกว่าซื้อเรือยอร์ชมานั่งเล่น
หลังจากเที่ยวภายในค่าย
เราก็เดินทางออกมานอกเมืองชมเมือง
ซาวาน่าห์ SAVAHNA เป็นเมืองท่าสำคัญแห่งหนึ่งของสหรัฐเป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ ดังเรื่อง Forest Gum มีสถานที่ท่องเที่ยวคือ River street
มี Pub เรียงรายเต็มไปด้วยนักท่องเที่ยว
โดยเฉพาะยามราตรี
หลังจากที่ตะลุยเมือง Savannah แล้ว เราก็กลับมายังที่พัก SABER HALL การพักผ่อนผ่านไป
การฝึกที่ตื่นเต้นเข้ามาแทนที่
ถ้ามีอีกผมก็รออ่านต่อครับท่าน dboy ครับ
รูปห้องพักผ่อน ของ กองพันที่ ๑ กรมจู่โจมที่ ๗๕ หน่วยบัญชาการปฏิบัติการพิเศษ ครับ
ภาพเหตุการณ์ การรบในสมรภูมิหนึ่ง ของหน่วยจู่โจม
ลองทายดูว่าที่ไหนครับ
เหรียญประจำตัวครับ ซึ่งหน่วยจู่โจมทุกนายจะมีติดตัว
วันแรก ทหารจู่โจม ไทยใน Hunter Army Airfield
วันแรกในช่วงเช้ามืดเราออกกำลังกายเวลาประมาณ 0530 เราพบว่าอากาศหนาวมาก สำหรับคนไทยอย่างเรา คือประมาณ 8 องศา ดวงอาทิตย์ขึ้นช้า ลมหายใจมีควันออกมาทุกครั้ง สรุปว่าหนาว การอาบน้ำไม่ยากเท่าไร เพราะน้ำอุ่นมีให้ใช้ 24 ชม. ห้วงแรกของการฝึก จะเป็นการเรียนการฝึกเกี่ยวกับ อาวุธประจำกาย และยุทโธปกรณ์ที่จำเป็น ได้แก่ ปืนเล็กยาว. เอ็ม.16 เอ.2 ชนิดยาว และชนิดปรับพานท้าย มีลำกล้องที่สั้นลง และ ถอดโครงปืนส่วนบน ได้ ( หรือ ที่เรียกว่า เอ็ม.4 ) ซึ่งในขณะนั้น( ปี1996 ) จะจ่ายให้เฉพาะหน่วยรบพิเศษและ หน่วยจู่โจม เท่านั้น ในกองทัพสหรัฐเองยังได้รับไม่ครบ แต่ในส่วน กองทัพไทยพึ่งเอาเข้ามาในปี ๔๕ นี่เอง ซึ่งตอนนี้ อเมริกันเริ่มขายให้เราแล้ว แต่หน่วยในประเทศไทยขณะนี้ที่มี อยู่ มากที่สุดคงจะเป็นในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
เครื่องยิงจรวดต่อสู้รถถัง M. 3 Carlgustaf ขนาด
หลังจากได้วิชาอาวุธแล้วก็มีการทบทวน, สอนการเคลื่อนที่รูปขบวน การหยุดหน่วย โดย ทหารรบพิเศษ เป็นการติวพิเศษ เพิ่มเติม, รวมทั้งการเข้าห้อง ( การกวาดล้างห้อง Room clearing ) และทำการทบทวนสอนการประกอบ Air item ชุดที่ประกอบเครื่องสนามในการกระโดดร่ม บางคนอาจเรียกว่า Rolling line เทคนิคต่าง ๆ หลากหลายบางอย่างก็เคยฝึกมาในเมืองไทยแล้วหลายครั้ง บางอย่างก็มาฝึกที่นี่ ซึ่ง จะเป็นสายที่ผูก กับเป้สนามในระหว่างการกระโดร่ม พอใกล้ถึงพื้น ก็ ปลดลง ตัวเป้ก็จะลงถึงพื้นก่อน เพื่อลดแรงกระแทกที่ข้อเท้าจะต้องรับ แต่สายยังติดกับตัวกันหาย ในการลงสู่พื้น การปฏิบัติของทหารอเมริกันจะไม่ลุกขึ้นทันที่ แต่จะแกะสายโยงบ่าออกและแกะอาวุธออกจากถุงใส่ เพื่อพร้อมตอบโต้เมื่อมีข้าศึก หลังจากนั้นจึงลุกและเดินไปหยิบเป้ขึ้นหลังไปรวมพล ขั้นตอนการรวมพลหลังการกระโดดถือว่าเป็นหัวในสำคัญ ในการปฏิบัติการยุทธเคลื่อนที่ทางอากาศ เพราะถ้ารวมกันไม่ได้ ก็ทำการรบไม่ได้ ถ้ากระโดร่มคน สองคน ไม่มีปัญหา แต่ถ้าเป็นหน่วยใหญ่ การรวมพลหลังการกระโดดเป็นเรื่องที่หินพอสมควร โดยเฉพาะในเวลากลางคืน เพราะเมื่อประสานซักซ้อมไม่ดี หากหลงขึ้นมาจะมาตะโกนโหวกเหวกฉายไฟไปทั่ว คงไม่เหมาะเท่าไร
น่าจะเป็นภาพเหตุการณ์รบที่หน่วยจู่โจมเมกันบุกยึดสนามบินเซนต์จอร์จในเกรนาด้านะครับ
การฝึกการส่งทางอากาศทางยุทธวิธี จำนวนมากที่สุดของทหารไทยในต่างประเทศ
หลังจากวิชาต่าง ๆ ผ่านไป ก็มาถึงขั้นที่เราจะฝึกเป็นหน่วย
มีการให้คำสั่งเตือนจาก ผู้บังคับหมวด โดยชุดจู่โจมของเราไปสมทบกับหมวดจู่โจมสหรัฐ 1 หมวด ต่อ 1 ชุด
โดยเป็นส่วนหนึ่งของ หมวด
ภารกิจแรกเป็นการ ยุทธส่งทางอากาศ
คือกระโดดร่มลงไปปฏิบัติภารกิจ ลาดตระเวน
เฝ้าตรวจ และฝึกการเข้าตีด้วยกระสุนจริง,
TACTICAL AIR BORNE การกระโดดร่มแบบสายดึงประจำที่ทางยุทธวิธี โดยเริ่มจากการรับคำสั่งเตรียม
การซักซ้อมการปฏิบัติ ก่อนกระโดด ( PRE - jump ) การแต่งร่มประกอบเครื่องสนามขนาดใหญ่ ใหญ่ชนิดที่แต่งแล้วลุกเองไม่ได้ การกระโดดนี้เป็นการกระโดดกลางคืน
ใครจะรู้ว่านั้นคือ ครั้งแรกที่หน่วยทหารไทยจำนวนมากที่สุดกระโดดร่มในสหรัฐอเมริกา
การใช้ภาษาของ ผู้บังคับชุด
มีความจำเป็นมากในการรับคำสั่งจาก หมวด ซึ่ง ผู้บังคับหมวดเป็น ทหารจู่โจมสหรัฐ
หากไม่มีการเตรียมการ หรือใช้
ผู้บังหน่วยที่ความรู้ภาษาอังกฤษในการฟังการใช้งานไม่ดี หรือพอใช้
ก็จะสร้างความลำบากใจให้กับ ผู้ที่ออกคำสั่งเพราะในการออกจะต้องฟังพร้อม ๆ
กับชุดข้างเคียง สำหรับในภารกิจนี้ กองพันจู่โจม มีการฝึกร่วมมาก
มีการเตรียมการที่ดี จุดนี้จึงไม่เป็นอุปสรรค
แต่คนที่รับบทหนัก คือตัวผู้บังคับชุด ต้องตั้งใจมากเป็นพิเศษ
ธรรมดาเวลาสอบฟังภาษาอังกฤษ มักจะอยู่ในห้องเรียนเย็น เก้าอี้นิ่มๆนั่งสบาย
พร้อมหูฟังระบบสเตอริโอ แต่นี่ ต้องฟังพร้อมเครื่องสนามครบชุดพร้อมเป้
บางครั้งแถมเหงื่ออีกต่างหาก
แต่ตอนนั้นผมเองก็ยังไม่รู้ว่าในอีกไม่นานหลังจากนั้น ผมจะต้องมาฝึกการใช้ภาษาที่วิบากกว่านี้หลายเท่า
[1] ระเบียบปฏิบัติประจำ เรียกย่อๆ ว่า รปจ. ซึ่ง เป็นแนวทางการปฏิบัติการของหน่วยทหารนั้น ซึ่งรู้กันภายในทีม ซึ่ง แต่ละหน่วยไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน แต่อาจจะมีแนวทางคล้ายกัน
น่าสนใจมากคะ ดิฉันขออนุญาตก้อปทำเป็นไฟล์หนังสือไว้ใน Military Book 3 หรือหากคุณ dboy ไฟล์ต้นฉบับ เป็น doc หรือ pdf อยู่แล้ว อยากจะขอความกรุณาช่วเผยแพร่ลงใน military Book 3 ด้วยคะ ขอบคุณคะ
ดิฉันส่งเมล์ไปล้ว ไม่แน่ใจว่าถูกต้องหรือปล่าว เพราะเมล์คุณ ในหน้ากระทู้นี้ สะกด วอรีเออ เหมือน worry หน่ะคะ ไม่ใช่ วอริเอร์ ที่แปลว่า นักรบ