หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


เสนอขาย RAM (Rolling Airframe Missile) ครับ...

โดยคุณ : juldas เมื่อวันที่ : 18/04/2007 12:44:41

ผมมีระบบอาวุธต่อต้านอากาศยาน และอาวุธเรี่ยน้ำ ที่ยิงมาจากเรือผิวน้ำ เรือดำน้ำชั้น Scorpene มาขายเสนอให้ กองทัพเรือครับ...

นั่้นคือ ระบบอาวุธจรวด RAM ซึ่งย่อมาจาก Rolling Airframe Missile





ความคิดเห็นที่ 1


ลูกจรวดพัฒนามาจาก จรวด SIDEWIDER ผสานกับระบบการค้นหาของ จรวด STINGER  ด้วยความเร็วจรวดที่มากกว่า 2 มัค (แต่ไม่รู้ว่ามากกว่าเท่าไหร่น๊าาา...ตัวเอง) โดยมีรัศมีการทำลายมากกว่า 7.5 ก.ม. ซึ่งมากกว่า SADRAL อยู่แว๊วววว.....แต่ความเร็วจะด้อยกว่าอ่ะ...

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 15/04/2007 10:12:05


ความคิดเห็นที่ 2


แต่ถึงความเร็วเค้าจะด้อยกว่า...แต่ชุดนึง เค้ามีไม่ต่ำกว่า 11 ดอก แต่ไม่เกิน 21 ดอก นะ...(เค้าเรียกว่าสามารถ ซอยได้ยิก ๆ มากกว่าเท่าตัว)


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 15/04/2007 10:13:50


ความคิดเห็นที่ 3


แต่ของเค้า ก็สามารถปรับแต่งใช้ได้กับชุดยิง MK-29 นะ แต่ได้จำนวน 8 ดอก ถึง 12 ดอก ถ้าได้จำนวนเท่านี้ ผมว่าใช้ SADRAL ก็คงดีกว่าอยู่แว๊วววว....เปลืองงง...


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 15/04/2007 10:15:41


ความคิดเห็นที่ 4


เมื่อผมคำนวนเพื่อมาเสนอขายจากข้อมูลของ

http://www.globalsecurity.org/military/systems/munitions/ram-specs.htm

ที่ต้นทุนโปรเจคทั้งหมด 1,709.40 ล้านเหรียญ

มีลูกจรวด RIM-116 Block 0 จำนวน 1,310 ลูก

มีลูกจรวด RIM-116 Block 1 จำนวน    620 ลูก

มีแท่น MK-43 Launcher จำนวน 154 แท่นยิง

ตามตารางที่ผมแนบ ผมจะได้ต้นทุนพร้อมบวกกำไรสัก 20% ที่ผมจะงาบบบบบบ...คำนวนแบบคิดเอาเอง...

จะได้ราคาเสนอขายให้แก่ กองทัพเรือ

แบบแท่น 11 ลูก รวมแท่นยิงและลูกจรวด

ลูกจรวดแบบ Block 0 จะขายให้หน่วยละ 408 ล้านบาท

ลูกจรวดแบบ Block 1 จะขายให้หน่วยละ 493 ล้านบาท

แบบแท่น 21 ลูก รวมแท่นยิงและลูกจรวด

ลูกจรวดแบบ Block 0 จะขายให้หน่วยละ 499 ล้านบาท

ลูกจรวดแบบ Block 1 จะขายให้หน่วยละ 629 ล้านบาท

เมื่อเทียบกับข่าวที่ออกมาว่าราคาที่ กองทัพเรือ จัดซื้อ ซาดรัล จากประเทศฝรั่งเศส ไม่ทราบจำนวน แต่มีมูลค่า 300 - 500 ล้านฟรังส์

ผมพอจะคำนวนมาได้ดังนี้

มูลค่า 300 ล้านฟรังส์ จำนวนจัดหา 4 หน่วย (จำนวนขั้นต่ำ) จะได้ราคาขายที่ หน่วยละ 503 ล้านบาท

มูลค่า 500 ล้านฟรังส์ จำนวนจัดหา 8 หน่วย (จำนวนขั้นสูง) จะได้ราคาขายที่ หน่วยละ 419 ล้านบาท

ซึ่ง ซาดรัล 1 หน่วย มีจรวดมิสทรัล 6 ลูก ซึ่งน้อยกว่า RAM เกือบเท่าตัว ขาดอีกนิดหน่อย....

ราคาที่ผมคำนวน เป็นปกติของการค้า ซื้อมากได้ราคาถูกกว่า ซื้อน้อย...สนใจบ้างไม๊ครับ...

แต่อีกข้อที่ผมต้องขายเพิ่มเติม คือ ระบบเรดาห์ เพื่อรองรับระบบอาวุธ RAM ที่กองทัพเรือสหรัฐจะใช้ เรดาห์ MK-23 TAS ซึ่งเป็นเรดาห์ค้นหาเป้าสำหรับจรวด ที่ใช้ในเรือชั้นพิฆาต DD-963 (่ปลดประจำการแล้วมั๊ง) และเรือบรรทุก ฮ. LHD,LHA,LPD ทั้งหลายของสหรัฐที่ปัจจุบันใช้อยู่ ราคาก็คงไม่น่าจะแพงมากนัก...

สนใจไม๊คร๊าบบบบบ

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 15/04/2007 10:32:23


ความคิดเห็นที่ 5


ผมอนุมัติจัดซื้อจัดจ้างครับ.....ท่านJuldas ฮิฮิ.......จริงๆก็น่าสนใจอยู่ครับ แต่ไม่ทราบว่าอเมริกันจะขายให้เราหรือปล่าว เราซื้ออาวุธอะไรของมัน มันชอบถอดนั้นถอดนี่ออกตลอด ไม่รู้เป็นพ่อค้าอะไร ลูกค้าจะซื้อก็ไม่ขาย อ้างนั่นอ้างนี่ตลอด  แต่ตอนนี้ผมว่าทร.ได้อะไรมาก็ต้องเอาไว้ก่อนล่ะครับ

อนึ่ง..... ผมเห็นมีหลายกระทู้แล้วที่พวกเราแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดหาระบบVLS mk-41 และ ESSMมาติดตั้งกับเรือหลวงชุดนเรศวร สรุปหลักๆ ทร.ไม่มีงบประมาณบ้าง ระบบแท่นยิงแนวตั้งราคาแพง ราคาพอๆกับต่อเรือทั้งลำ บ้างก็ว่าเรือชุดนี้ไม่ค่อยสมบูรณ์ ทร.ไม่ค่อยพอใจกับระบบที่ทำงานไม่ค่อยจะเข้ากันของเรือชุดนี้ ...... ผมเห็นรูปแท่นยิงMK-29กระทู้นี้ของท่านJuldas ผมจึงมีความคิดว่าหากระบบVLSราคาแพงมาก ทำไมทร.ไทยไม่พิจารณาจัดหาแท่ยิงMK-29 มาติดดั้งบนเรือชุดนเรศวรครับ ในเมื่อทร.ก็มีระบบนี้บนเรือชุดรัตนโกสินทร์อยู่แล้ว ถึงแม้จะไม่ใช้ลูกจรวดSeasparrowก็ตาม   ไม่ทราบว่าเรือชุดนเรศวรมีพื้นที่พอติดตั้งหรือไม่ เพราะมุมยิงจะโดนบังโดยปืน5นิ้ว คิดว่าคงจะต้องสร้างดาดฟ้ายกหลังปืน5นิ้วเพื่อติดตั้งแทนยิงMK-29นี้ คล้ายรูปนี้


โดยคุณ Mr. Bean เมื่อวันที่ 15/04/2007 12:21:36


ความคิดเห็นที่ 6


อันนี้ ผมว่าขายให้แน่นอนครับ...เพราะหนึ่งในวัตถุประสงค์ของอาวุธชนิดนี้ คือ ต้นทุนต่ำครับ...และปัจจุบัน ถ้าเข้าใจไม่ผิด เป็นการร่วมมือระหว่าง อเมริกา อังกฤษ กับ เยอรมนี พัฒนาเป็น SEA RAM ที่มีเรดาห์ ข้างบน เหมือนฟาลังซ์ น่ะครับ...มีสมาชิกที่นี่ เคยโพสรูปแล้วครับ....

ของแถมครับ...ระบบการติดตั้งอาวุธแบบ

SSDS ( Surface Ship Self-Defense System )


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 15/04/2007 15:33:07


ความคิดเห็นที่ 7


ครับหากเขาขายให้แล้วเรามีเงินซื้อก็ดีครับ เอ....ท่านJaldasทราบไหมครับว่า VLS Mk41 และ MK-29 ราคา1 ระบบประมาณเท่าไรครับและMk-29ยังมีสายการผลิตหรือไม่ ผมว่าหากMK-29ราคาถูกกว่าVLSมากๆ ทร.ไทยน่าจะพิจารณาบ้างน่ะครับ เพราะทั้ง2ระบบก็สามารถใช้จรวดชนิดเดียวกันได้
โดยคุณ Mr. Bean เมื่อวันที่ 15/04/2007 15:39:57


ความคิดเห็นที่ 8


นอกจากแท่นยิงแล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงอีกหนึ่งอย่าง คือ ระบบเรดาห์ และระบบควบคุมการยิงครับ...ด้วยระบบของ SADRAL รู้สึกมันจะทำงานด้วยตัวเขาเอง ได้ในระดับหนึ่งครับ...จึงไม่ต้องไปซื้อระบบควบคุมการยิงมาด้วย...แต่ VLS กับ MK-29 คงต้องใช้ระบบควบคุมการยิงช่วยด้วย...ต้นทุนของอาวุธ มันเลยต้องมาทั้งระบบ...ซึ่ง MK-29 จะเหมาะสำหรับใช้กับ ซีสแปร์โรว์ ก็ถ้าสหรัฐไม่ขายจรวดให้แล้ว แท่น MK-29 ก็ไม่มีประโยชน์เหมือนกันครับ...ก็ควรจะไปใช้ แท่นยิง อัลบาทรอส ที่ใช้จรวด อัลปิเด แทน เหมือนชุด ร.ล.รัตนโกสินทร์....

เช่นเดียวกับ RAM ก็ต้องใช้ระบบเรดาห์ ช่วยด้วยเหมือนกันครับ เพื่อความมีประสิทธิภาพ อย่างของ เยอรมนี ก็ใช้ RAM ด้วยเหมือนกันครับ...แต่จะใช้ระบบอำนวยการรบ และระบบควบคุมการยิง ของมาตรฐานของเขา...

พอดี ผมเห็นชุด ร.ล.นเรศวร ใช้อาวุธมาตรฐานของสหรัฐ และโปรเจค อนาคต ก็คือ VLS สิ่งที่น่าจะใช้ร่วมกันได้ในเรื่องระบบเรดาห์ และระบบการควบคุมการยิง ก็น่าจะใช้ด้วยกันได้อยู่แล้ว...ดูแล้วก็ไม่น่าจะเสียหายอะไร ถ้ากองทัพเรือ จะซื้อระบบเรดาห์ที่ต้องการ หรือ ระบบควบคุมการยิง นำมาติดตั้งก่อน โดยนำอาวุธ RAM ที่ราคาไม่ได้แตกต่างจาก SADRAL มาก...นำมาใช้งานก่อน...แล้วค่อยนำระบบอาวุธตามหลังมา เมื่อมีงบประมาณเพียงพอ...ตามความคิดเห็นส่วนตัวครับ...

เอ...เรือ OPV ของ มาเลเซีย เขาก็ติด RAM ด้วยรึเปล่า ครับ ? ...ลืมแล้ว...เดี๋ยวนี้ สมองชักแย่ ขี้ลืมจัง....

 

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 15/04/2007 16:09:27


ความคิดเห็นที่ 9


เท่าที่ทราบนั้น ในแง่ด้านการติดตั้งแล้วแท่นยิงแบบ VLS อย่าง Mk 41 นี้จะติดตั้งบนเรือยากกว่าแท่นยิงที่เป็นท่อยิงทั่วไปอยู่ครับเพราะต้องทำการการจัดพื้นที่เจาะพื้นดาดฟ้าและจัดช่องว่างภายในตัวเรือเพื่อติดตั้งแท่นยิง

ในขณะที่แทนยิงอย่าง Mk 29 หรือ Sadral นี้จะติดตั้งได้ง่ายกว่าครับ คือวางแท่นยิงบนพื้นเรือและเดินสายไฟเชื่อมระบบ(แต่ก็ต้องคำนึงถึงเรื่องอื่นๆเช่นความสมดุลของระบบเรือและแนวยิงของอาวุธด้วย)

แท่นยิง Mk 29 ยังคงมีการติดตั้งใช้งานในเรือรบสหรัฐฯบางลำที่ไม่ได้ทำหน้าที่ป้องกันภัยทางอากาศโดยตรงครับเช่นเรือพิฆาตชั้น Spruance ครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 15/04/2007 16:12:53


ความคิดเห็นที่ 10


ขอบคุณหลายครับ  ผมก็พึ่งทราบว่าเรือชุดรัตนโกสินทร์ใช้แท่นยิงอัลบาทรอส  ที่ผ่านมาผมนึกว่าแท่นยิงอัลบาทรอสกับแท่นยิงMK-29คือแท่นยิงเดียวกัน  ทร.ไทยใช้จรวด อัลปิเด เพราะอเมริกันไม่ขายซีสแปร์โรว์ให้เราแค่นั้น....

อนึ่งหากปัจจุบันทร.อเมริกันหันมาใช้ระบบVLSมากขึ้น ดังท่านAGG-thกล่าว แสดงว่าอเมริกันก็ต้องมีแท่นยิงMK-29และระบบควบคุมการยิงเหลือใช้ ทร.ไทยน่าจะลองจีบมาใช้กับเรือหลวงชุดนเรศวรกับชั้นพระพุทธยอดฟ้าจุฟาโลกดูน่ะครับ หรืออย่างน้อยจัดหาระบบRAMกับSadralซักลำละระบบ สองระบบก็คงอุ่นใจได้ไม่น้อย 

 อนาคตทร.ไทยน่าจะกำหนดเป็นมาตราฐานน่ะครับเช่น....

 - เรือหลวงขนาดตั้งแต่ 1000 ตันขึ้นไป ( สมมุติ)  ต้องติดตั้ง CIWS 1 ระบบเป็นอย่างน้อย

- เรือฟรีเกตต้องมีจรวดนำวิถีต่อสู้อากาศยานระยะยิงอย่างต่ำ 15km. หรือมากกว่า

- เรือช่วยรบ เรือ LST, LHD หรือพวกร.ล.สิมิรัน ต้องมีCIWS ( ทหารบนเรือมีมาก )

- เรือบรรทุกเครื่องบิน ต้องมีเครื่องบินเป็นต้น ( อันนี้ล้อเล่นครับ )

โดยคุณ Mr. Bean เมื่อวันที่ 15/04/2007 16:55:57


ความคิดเห็นที่ 11


การป้องกันภัยทางอากาศ นอกจากจะมีจรวดต่อสู้อากาศยานแบบทางการแล้ว...ก็ยังมีแบบ ใช้กำลังพลยิง ที่เรียกว่า MANPAD (Man Portable Air Defence Syetem)

http://www.globalsecurity.org/military/intro/manpads.htm

ซึ่งประเทศเพื่อนบ้านเรา ก็ใช้รูปแบบนี้ คือ ของมาเลเซีย KD Kastori ที่เขาไม่มีระบบต่อสู้อากาศยาน นอกจากปืนต่อสู้อากาศยาน ผมเคยลองหาดู เขาน่าจะใช้ SA-16 อิ๊กล่า ซึ่งไม่รู้ของ ทร. จะมีใช้ด้วยหรือไม่ครับ...


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 16/04/2007 11:17:58


ความคิดเห็นที่ 12


ถ้าจำไม่ผิดนะครับ ระบบ RAM ไม่จำเป็นต้องมีเรดาร์ควบคุมการยิงครับ ระบบต้องการเพียงเรดาร์ตรวจการณ์ทางอากาศเพื่อระบุตำแหน่งเป้า (แต่ควรเป็นเรดาร์ชนิดที่จับเป้าที่บินเรี่ยน้ำได้ด้วย) หรือระบบ optronics ก็ได้ เพื่อให้หันแท่นยิงเป็นถูกทิศทางและใส่ข้อมูลให้กับจรวดคร่าวๆ จากนั้น fire-and-forget ครับ
โดยคุณ rinsc_seaver เมื่อวันที่ 18/04/2007 12:44:41