หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


การกู้กัยจากการแสน้ำเชี่ยว

โดยคุณ : dboy เมื่อวันที่ : 15/04/2007 15:27:32

http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=benjapol&topic=6611
http://www.ruksadindan.com/web/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=475

ภัยจากกระแสน้ำ เป็นภัยที่ เกิดขึ้นในประเทศไทยหลายครั้ง แต่ความรู้และทักษะการช่วยเหลือของจนท.กู้ภัยไทย ยังมีน้อยถึงน้อยมากครับ
เอกสารฉบับนี้ เป็นแนวความรู้เกี่ยวกับ การช่วยเหลือกู้ภัยจากกระแสน้ำ เชี่ยว โดยมีลิ้งค์ ตามด้านบนครับ
สงสัยในเอกสารช่วงไหน ก็ถามกันมาได้ครับ





ความคิดเห็นที่ 1


ที่โพสเรื่องนี้ไม่รู้ว่าจะไปบ่นที่ไหนดีครับ
จากประสบการณ์จาก จว. อุตรดิษฐ์ , น้ำตก วังตะไคร้ , จว.น่าน , และอีกหลายที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยยัง ไม่มีการปรับปรุงและพัฒนา เท่าที่ควร ,อธิบดีกรมป้องกัน เพิ่มมาประกาศว่าจะลงไปบัญชาการเองก็หลังจาก เหตุการณ์เกิดแล้ว ๒ วัน กว่าๆ มันจะไปช่วยใครครับ
จุดสำคัญคือ ไม่มี ความสนใจในวงรอบการบริหารจัดการภัยพิบัติอย่างจริงจัง
ทุกครั้งที่มีเหตุการ การบัญชาการเหตุการ ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง
จนท.กู้ภัยระดับปฏบัติก็ทำงานอย่างสุดใจครับ แต่ หากไม่มีการบริหารจัดการที่ดี ภาพความสับสนวุ่นวายเกิดขึ้นอย่างมากและก็ไม่มีการทำบทเรียน
บ่นให้ฟังเฉยๆครับ

โดยคุณ dboy เมื่อวันที่ 15/04/2007 15:14:12


ความคิดเห็นที่ 2


วงรอบการบริหารจัดการภัยพิบัติกับงานกู้ภัยของไทย

บทความนี้ เป็นบทความที่มีแรงบันดาลใจมาจากการที่ได้ ศึกษาเกี่ยวกับงานด้านการกู้ภัย ประกอบกับล่าสุดได้มีโอกาส เข้าร่วมการฝึก การค้นหาช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยอากาศยานประสบอุบัติเหตุ และ การร่วมในการค้นหาช่วยเหลือผู้ประสบภัยใน อุทกภัยน้ำท่วม ที่จว.อุตรดิตถ์ ซึ่งทำให้ได้ทราบถึง ภาพที่แท้จริงของระบบการค้นหากู้ภัยของไทยที่เริ่มก่อตัวขึ้น จากเหตุการณ์ ภัยพิบัติต่างๆในอดีต เกิด ๑ ครั้ง ก็มีการปรังปรุงขึ้น ๑ ระลอก ตามยุทธ์ศาสตร์การทำงานพื้นบ้านของไทย คือวัวหายล้อมคอก และไฟไหม้ฟาง

ซึ่ง บทความนี้เป็นการศึกษาค้นคว้าทั้งจากประสบการณที่ได้รับการฝึกเกี่ยวกับการใช้เชือกที่ประเทศออสเตรเลีย , การปฏิบัติงานเกี่ยวกับ การเตรียมการสำหรับการรองรับภัยพิบัติซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ของหลักสูตร นายทหารกิจการพลเรือน ของประเทศสหรัฐอเมริกา , การเรียนในโรงเรียนเสนาธิการทหารบก ซึ่ง เอกสารประกอบการบรรยาย เรื่องการปฏิบัติการบรรเทาสาธารณภัย ของ อาจารย์ พ.อ. กฤษฎา อารีรัชชกุล , เอกสาร ของ Federal Emergency Management Agency ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นหน่วยรับผิดชอบงานด้านการบรรเทาสาธารณภัย และเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกู้ภัยที่หลายท่านเข้าใจผิดว่าเป็นการเก็บศพ เป็นหลัก ซึ่งในห้วงแรกจะเน้นที่การปฏิบัติการกู้ภัย ซึ่ง จะไม่กล่าวถึงระบบการจัดสรรงบประมาณการบริหารจัดการในภาพใหญ่ ซึ่งหลายท่านที่เคยมีส่วนเกี่ยวข้องในการทำงานจะพบว่า เป็นงานหลักที่ยิ่งกว่าภัยพิบัติ ที่ ผู้ปฏิบัติโดยเฉพาะทหาร ต้องพบ กับภัยพิบัติการเอกสารท่วมหัวเพียงเพื่อเงินไม่กี่บาท, การร้องขอทรัพยากรที่ได้ช่วยคนไปแล้ว เหมือนกับขออะไรซักอย่าง โดยหากเปรียบการทำงานอาจเทียบได้กับการเผชิญกับหมอกควันความไม่แน่นนอนของสงคราม( Fog Of war ) โดยผมหวังว่าเอกสารนี้จะให้ภาพรวมของการปฏิบัติการ ค้นหากู้ภัย ซึ่งเป็นจุดเล็ก ในวงรอบการบริหารจัดการภัยพิบัติ แต่เป็นงานที่ แบ่งระหว่างความเป็นและความตาม ที่ เดิมพันด้วยชีวิตคน ในบทความนี้ อาจจะมีการบ่นเล็กน้อยเกี่ยวกับ การตีค่าของชีวิตคนของ ระบบราชการไทย ที่ยังตีค่า ต่ำมาก ดูจากการลงทุนด้าน เครื่องมือและอุปกรณ์การกู้ภัย , การเน้นการรักษาของมากกว่าคน แต่ก็เพื่อที่จัดให้เกิดจิตสำนึกหรือความคิดที่จะสร้างมาตรฐานความปลอดภัยในการปฏิบัติงานโดยเฉพาะงานกู้ภัยให้กับ เจ้าหน้าที่ทั้งภาครัฐและเอกชนทั้งหลายที่ กำลังเสี่ยงทำงานท่ามกลางความขาดแคลนของประเทศไทย

โดยคุณ dboy เมื่อวันที่ 15/04/2007 15:16:53


ความคิดเห็นที่ 3


กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

(Department of Disaster Prevention and Mitigation)

                เมื่อ ปี๒๔๔๕รัฐบาลได้มีการจัดตั้งหน่วยงานที่มีความรับผิดชอบในการป้องกันและบรรเทาสาธรณภัย ซึ่งได้ยุบรวมมาจาก ๕หน่วยงาน ซึ่งเป็นความพยายามที่จะบูรณาการงานต่างๆเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ได้แก่

๑.             กรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท ,

๒.           กองป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน , กรมการปกครอง ,

๓.           สำนักงานคณะกรรมการป้องกันอุบัติภัย,สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ,

๔.           กองสงเคราะห์ผู้ประสบภัย,กรมประชาสงเคราะห์และ

๕.           กรมการพัฒนาชุมชน(งานบริการด้านช่างพื้นฐาน )ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นบุคลากรที่มีภารกิจในการพัฒนา การช่วยเหลือประชาชนในภาวะปกติทั้งสิ้น แต่ในงานด้านการตอบสนองต่อภาวะวิกฤติ ที่ต้องใช้บุคคลกรที่มีขีดความสามารถประสบการณ์ด้านการควบคุมการอำนวยการในสภาวะวิกฤติ ทำให้ที่ผ่านมาการตอบสนองต่อภัยพิบัติเมื่อเกิดภัยจริงนั้น ขาดประสิทธิภาพโดยเฉพาะงานในเรื่องการกู้ภัย Rescueที่ปกติทั่วไปในต่างประเทศบุคคลกร ที่อยู่ในหน่วยงานนี้จะต้องมีสมรรถภาพร่างกายแข็งแรง มีทักษะการใช้อุปกรณ์กู้ภัยที่อยู่ในขั้นชำนาญ  แต่ที่พบเห็นมาอาจจะเห็นความชำนาญในเรื่อง การช่วยเหลือเมื่อเกิดภัยบนท้องถนน ที่ เป็นเพียงภัยเดียวทีู่เหมือนจะได้รับความสนใจมากเป็นพิเศษ แต่พอพูดถึงการตอบสนองภัยด้านอื่นๆแล้ว กลับไม่มีผู้ชำนาญการเฉพาะที่จะมารับมือภัยอื่นๆ เกิดขึ้น  ทั้งนี้ เวลา ๕ ปีที่ผ่านมาไม่นานนักสำหรับ หน่วยงานที่จะทำงานที่ไม่มีความรู้พื้นฐานมาก่อนเลยให้มีประสิทธิภาพคงทำได้ยาก แต่แน่นนอนว่าความต้องใจของเจ้าหน้าที่บางส่วนคงอยากจะทำให้สำเร็จ ซึ่งหากยอมรับความจริงและพัฒนาต่อไปคงไม่ยากที่จะทำสำเร็จ

ทั้งนี้เพื่อให้ได้มองเห็นภาพ ว่าการที่จะต่อสู้กับภัยพิบัติอย่างครบวงจรทำกัน บทความต่อไปนี้คงจะช่วยให้เห็นภาพรวมและช่องว่างที่เกิดขึ้นในประเทศไทยของความไม่พร้อมในการเผชิญกับสถานการณ์ภัยพิบัติ ซึ่งหากมีผู้ที่เกี่ยวข้องได้ลองอ่านดูอาจจะนำไปใช้ในการปรับปรุงการพัฒนาศักยภาพในการเผชิญกับภัยพิบัติ ที่จะต้อง ?มีอีก ไม่ได้แช่ง? ต่อไป

โดยคุณ dboy เมื่อวันที่ 15/04/2007 15:18:56


ความคิดเห็นที่ 4


๑.การป้องกันและการลดผลกระทบ

การดำเนินการเพื่อหลีกเลี่ยง หรือประวิงเวลาการเกิดภัยพิบัติหรือมุ่งลดผลกระทบ ลดความเสียหาย,ความรุนแรงเพื่อมิให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ทรัพย์สิน สถานที่สำคัญ เช่นการสร้างเขื่อน , กำแพงป้องกันน้ำล้นตลิ่งเพื่อป้องกันน้ำท่วม ,การทำแนวกันไฟ,การใช้มาตรกาทางกฎหมายกำหนดพื้นที่หวงห้าม, การพัฒนาสิ่งปลูกสร้างให้ทนต่อแผนดินไหว ,การออกระเบียบการควบคุมการออกแบบก่อสร้างอาคาร  ,การวางแผนการสร้างถนนที่ไม่สร้างผ่านพื้นที่ที่เสี่ยง , เป็นต้น

๒. การเตรียมพร้อม

หมายถึงมาตรการต่างๆที่เตรียมขึ้นเพื่อให้รัฐบาล , องค์กร,ชุมชนหรือประชาชนสามารถที่จะเผชิญและรับสถานการณ์ได้ทันท่วงทีและมีประสิทธิผล (Effectively) มาตรการที่ใช้ได้แก่ การจัดทำ, ปรับปรุงแผนป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติ, การจัดให้มีระบบแจ้งเตือน,การอพยบประชาชน ,การจัดระบบการติดต่อสื่อสารในภาวะฉุกเฉิน , การฝึกอบรม ซักซ้อม ทดสอบระบบต่างๆ โดยการปฏิบัติในขั้นนี้จะมี

๒.๑ การแจ้งเตือน?Warning ?

๒.๒การปฏิบัติช่วงชี้ชัดว่าจะเกิดเหตุภัยพิบัติ( Threat )

๒.๓การเฝ้าระวัง(Precaution )

๓.     การเกิดภัยพิบัติ

ขั้นนี้จะเป็นการปฏิบัติการทันทีเมื่อเกิดภัยพิบัติ อาจะเรียกได้ว่าเป็นการปฏิบัติการฉุกเฉิน (EmergencyRespond)โดยปกติจะให้ความสำคัญกับการช่วยชีวิต และการป้องกันทรัพย์สินเสียหายมาตรการที่นำมาใช้ได้แก่

  ๓.๑ การปฏิบัติตามแผน

 ๓.๒ การใช้ระบบป้องกัน

   ๓.๓ การอพยบ

 ๓.๔ การค้นหาช่วยชีวิต (ค้นหา,กู้ภัย

                                  ๓.๕ การแจกจ่ายอาหารและยารักษาโรค การปฐมพยาบาลและการจัดที่พักพิงชั่วคราว

๓.๖การสำรวจและประเมินความเสียหาย

๔.    การฟื้นฟูบูรณะ
            เป็นการช่วยเหลือชุมชนที่ประสพภัย ให้กับคืนสู่สภาวะปกติภายหลังที่ภัยพิบัติผ่านพ้นไป อาจจะต้องใช้ เวลานานกว่า ๕-๑๐ ปี เป็นขั้นตอนที่จะเชื่อมโยงบรรดากิจกรมที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติ และการพัฒนาประเทศเข้าด้วยกัน เพื่อให้มั่นใจว่าผลของภัยพิบัติจะสะท้อนไปสู่การวางนโยบายที่เหมาะสม ขั้นตอนนี้ครอบคลุมถึงการประยุกต์ใช้ประสบการณ์ การจัดการภัยพิบัติเพื่อการวิจัยและการวางโครงการพัฒนาในอนาคต เพื่อมิให้การพัฒนาประเทศกลับกลายเป็น การสร้างปัญหาภัยพิบัติขึ้นมาเอง

๔.      การพัฒนาประเทศ

    เป็นขั้นตอนที่สืบเนืองเกี่ยวข้องกับ ขั้นการฟื้นฟูบูรณะโดยเฉพาะในเรื่องของการปรับแผนการพัฒนาประเทศ ในภาพรวมผลของภัยพิบัติจะต้องนำมาพิจารณาในการปรับแผนในการพัฒนาประเทศในทุกแง่มุม ซึ่งทุกรั้งที่ผ่านมาการปฏิบัติมุ่งเน้นขั้นตอนที่ ๓และ๔เท่านั้นไม่ได้นำมาสู่การพัฒนาในภาพรวม

โดยคุณ dboy เมื่อวันที่ 15/04/2007 15:22:59


ความคิดเห็นที่ 5


Rescue งานค้นหากู้ภัยคืออะไร

                คือ การ ช่วยชีวิต ผู้ที่ประสพภัย ให้รอดพ้นจากภัยพิบัติ, ระหว่างเกิดหรือหลังพิบัติเกิดขึ้นแล้ว

จากวงรอบการบริหารจัดการภัยพิบัติ นั้น จะเห็นได้ว่า งานกู้ภัยเป็น งานเล็ก ในหลายงานเมื่อเกิดภัยพิบัติ ซึ่งบางครั้งอาจะสับสนกับการเก็บกู้ศพ หรือ งานช่วยเหลือประชาชน เนื่องจากในประเทศไทยระบบการแจ้งเตือน ,แผนต่างยังไม่เป็นรูปธรรม หน่วยกู้ภัยที่มีองค์ประกอบครบมีน้อยมาก และมีก็ไม่ได้อยู่ในสภาวะที่ตอบสนองได้ทันเวลากับภัยพิบัติ ขั้นตอนการร้องขอที่ดูสั้นในเอกสาร แต่เวลาปฏิบัติจริงมีข้อแม้ข้อขัดข้องมากกมายที่ไม่เคยได้รับการแก้ไข  ซึ่งทำให้การตอบสนองที่จะส่งหน่วยกู้ภัยเข้าพื้นที่ล่าช้า และภาพที่ออกมาคือหน่วยกู้ภัยเข้าไปช่วยเก็บกู้ร่างที่ไร้ชีวิต โดยนานๆครั้งจะมีโอกาสได้ชื่นชมผลงานการช่วยชีวิตที่เกิดจากการเข้าพื้นที่ได้อย่างรวดเร็วซึ่งส่วนหนึ่ง อาจจะเกิดจากความอึดของคนไทย ที่เคยชินกับความล่าช้า

โดยคุณ dboy เมื่อวันที่ 15/04/2007 15:27:32