ในกระทู้ที่สองนี้ จะขอนำเรื่องราวจากนิทรรศการ Visit Malaysia 2007 และสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในลังกาวีมาให้ชมกันคะ
การจัดแสดงของซุ้มต่างๆในงาน Visit malaysia 2007 ที่ลังกาวี หน้าห้างสรรพสินค้าใกล้ชายหาด ประกอบด้วยซุ้มผลิตภัณฑ์และงานหัตถกรรมของรัฐต่างๆ สมาคมผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารทะเล และการแสดงรถยนต์รุ่นต่างๆที่รัฐบาลมาเลเซียเป็นผู้ผลิตคะ
ซุ้มแรก เป็นของรัฐกลันตัน ผู้จัดแสดงได้เชิญชวนให้พวกเราชิมขนมประจำท้องถิ่นของกลันตันที่นำมาจัดแสดงด้วย ซึ่งหลายอย่างจะคล้ายกับขนมไทย แต่มีชื่อเรียกไม่เหมือนกัน เช่น ขนมถั่วตัด คะ และยังมีน้ำใจมอบถุงใส่ของ ที่พิมพ์ภาพวัฒนธรรมของกลันตันไว้ ทั้งๆ
ที่เราไม่ได้ซื้อของจากซุ้มนี้คะ
รถที่ผลิตโดยรัฐบาลมาเลเซีย ในภาพเป็นรถที่พึ่งสร้างใหม่ โดยเลียนแบบรถรุ่นเก่า เป็นรุ่นต่อจาก โปรตอนซาก้า มีนักท่องเที่ยวสนใจถ่ายรูปกันเยอะคะ
มาเลเซียเริ่มผลิตรถยนต์ใช้เองภายในประเทศ ในสมัย ท่านมหาเธร์ นับเป็นโปรเจคหนึ่งที่ท่านภาคภูมิใจมากและมีการรณรงค์ให้ชาวมาเลเซียใช้รถที่ผลิตเองในประเทศ เช่น โปรตอนซาก้า กันอย่างแพร่หลาย ทำให้สามารถลดการสูญเสียเงินภายในประเทศในการซื้อรถยนต์ต่างชาติที่มีราคาแพง (เพราะบวกค่าภาษีนำเข้าเยอะ) ได้ เป็นแบบอย่างที่ดีและน่าสนใจ ที่ประเทศไทยจะลองหันมาผลิตรถยนต์ราคาถูกแต่คุณภาพดีภายในประเทศบ้าง
ต่อมา เป็นของที่นำมาจัดแสดงจาก พิพิธภัณฑ์ Perdana ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมของที่ระลึกและงานศิลปะสวยงามราคาแพง ซึ่งรัฐบาลประเทศต่างๆมอบให้กับท่านมหาเธร์ ในช่วงที่ท่านดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ท่านไม่ได้เก็บของเหล่านี้ไว้เป็นส่วนตัว แต่ได้นำของที่ระลึกที่ทรงคุณค่าจำนวนมากเหล่านี้มาจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์เพื่อให้ประชาชนได้ชมกันคะ
สิ่งของจากพิพิธภัณฑ์ Perdana ที่นำมาจัดแสดงในซุ้มงาน Visit Malaysia 2007 มีไม่มากนัก โดยมากจะเป็นโมเดลเรือ แต่หากได้ไปชมที่ Perdana แล้วจะพบว่ามีงานศิลป์ที่ทรงคุณค่าอีกมากมาย ซึ่ง OA จะได้นำภาพมาให้ชมกันต่อไปคะ
ในภาพเป็นโมเดลเรือใบ ซึ่งผู้บัญชาการทหารเรือชิลี มอบให้ รัฐบาลมาเลเซีย คะ
โมเดล เรือสำราญ Star Cruise
โมเดลเรือใบ ชิ้นสุดท้าย จาก Perdana คะ
เขตการทำประมง มีภาพบอกไว้ ว่าห่างจากชายฝั่งเท่าใด สามารถทำการประมงแบบใดได้บ้าง
และซุ้มที่ OA สนใจมากที่สุด คือ ซุ้มการทำประมง และผลิตภัณฑ์อาหารทะเล นี่เองคะ เพราะมีการจัดแสดงแผ่นภาพการทำประมงแบบต่างๆเอาไว้หลายรูปแบบ น่าจะเป็นประโยชน์กับท่านที่สนใจทางด้านนี้ บางแผ่นเป็นภาษามาเลเซีย ซึ่ง OA ได้รับความกรุณาจากท่านกงสุลไทยประจำลังกาวี ซึ่งมาดูแลคณะจากเมืองไทย ช่วยแปลภาษามาเลย์เป็นภาษาไทยให้ด้วยคะ
ต่อมา คือภาพการทำปะการังเทียม ให้เป็นที่อาศัยของปลา เพื่อเพิ่มจำนวนปลาและสัจว์น้ำอื่นในทะเล
ปะการังเทียมของมาเลเซีย รูปร่างคล้ายคอนโด ยังไงยังงั้น ..
โหลดภาพไม่ขึ้น เอาใหม่คะ
ขนาดภาพใหญ่เกิน 150 kb เลยโพสไม่ได้ เอาใหม่อีกครั้งคะ กฏหมายการประมง ปี ค.ศ. 1985 ที่มาเลเซียใช้
การเลี้ยงกุ้ง ...
คนที่ชอบเลี้ยงน้องกุ้ง อย่าพึ่งตาลุกวาว .. คนละเรื่องกันคะ
เห็นรูปที่คุณ OA นำมาโฟส ในเรื่องของการประมงของมาเลเซีย แล้ว
ก็อดอิจฉาประชาชนชาวมาเล ไม่ได้ ที่มีหน่วยงานรัฐที่ทำงานอย่างจริงจังและทำให้อะไรออกมาเป็นรูปธรรมชัดเจน เรื่องการกำหนดเขตการประมงชายฝั่ง
จริงๆแล้ว ไทยมีกฏหมายมานานก่อนมาเลเซียซะอีก
แต่หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องไม่ได้ บังคับใช้กฏหมาย หรือให้ความรู้และประชาสัมพันธ์ที่ชัดเจนให้กับคนที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจัง
สุดท้าย เราก็เลยต้องออกมาแก้ปัญหาแบบวันต่อวันกันแบบนี้
ผมไม่สงสัยเลยว่าชาวบ้าน และ ชาวประมงชายฝั่งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ถึงได้น้อยเนื้อต่ำใจรัฐบาลไทยนักหนา
ทุกครั้งที่เขาคุยกับเพื่อนชาวประมงในมาเลเขาคงรู้สึกอายนะครับ พื้นน้ำเดียวกันที่ห่างกันเพียงไม่กี่กิโลเมตร มีการจัดการที่แตกต่างกันอย่างลิบลับ
ถ้าเรายังไม่ปรับเปลี่ยนวิธีการคิด การวางแผน จิตสำนึกต่อประเทศชาติ ประเทศไทยใน 20 ปีข้างหน้านั้นคงจะน่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง วันนั้นคงมีแต่เขมรกับลาวที่เราพอจะแข็งขันกับเขาได้