ปืนใหญ่ลากจูงขนาด 155 มิลลิเมตร
โดย พล.ต.ทรงพล ไพนุพงศ์
พิมพ์ในนิตยสารยุทธโกษ ปีที่ 115 ฉบับที่ 3 ประจำเดือน เม.ย. - มิ.ย. 50
ปืนใหญ่ลากจูง M-198 ขนาด 155 มิลลิเมตร
ทบ.สหรัฐฯ ได้พัฒนาปืนใหญ่กระสุนวิถีโค้ง M-198 ขนาด 155 มม. ทดแทนปืนใหญ่รุ่นเก่าแบบ M-114 ที่มีระยะยิงไกลสุด 14,600 เมตร ซึ่งใกล้มากเมื่อต้องทำการยิงสนับสนุนในสงครามสมัยใหม่
เริ่มโครงการวิจัยและพัฒนาปี พ.ศ.2511 สร้างต้นแบบเมื่อ พ.ศ.2515 ทบ.สหรัฐฯ ได้ทดสอบขีดความสามารถทางยุทธวิธีตามมาตรฐาน สามารถเคลื่อนย้ายได้ด้วย ฮ.แบบชินุค, บ.ลำเลียงแบบ C-130 ลากจูงโดย รยบ.M-939 แบบ 6x6 ระยะยิงไกลสุด 22,400 เมตร ด้วยกระสุน M-795 และ 30,000 เมตร ด้วยกระสุน M549
ทบ.ไทย จัดหาเข้าประจำการที่หน่วยกองพันทหารปืนใหญ่ กองพลทหารปืนใหญ่ เมื่อปี พ.ศ.2525 เรียกว่า ปืนใหญ่กลางกระสุนวิถีโค้งแบบ 25 (ปบค.๒๕) นับเป็นปืนใหญ่ที่ทันสมัยที่สุดของ ทบ.ไทย ในยุคนั้นหรือทันสมัยที่สุดของกองทัพบกอาเซียน ได้มีส่วนช่วยอย่างมากในด้านอำนาจการยิงของปืนใหญ่สนามที่เหนือกว่าฝ่ายตรงข้าม เป็นผลให้สถานการณ์ทางด้านชายแดนตะวันออกและอีสานใต้ดีขึ้นมาก เนื่องจากสามารถที่จะต่อต้านปืนใหญ่ของฝ่ายรุกรานแบบ M-46 ขนาด 130 มิลลิเมตร (ระยะยิงที่ไกลกว่า) ซึ่งปืนใหญ่ M198 ของ พล.ป. ได้ปฏิบัติราชการสนามตั้งแต่ พ.ศ.2527 - 2531 ตามแนวชายแดนของประเทศในเขตของกองทัพภาคที่ 1 และ กองทัพภาคที่ 2 ต่อมาได้ปรับโอนปืนใหญ่นี้ให้กับกองพันทหารปืนใหญ่ช่วยส่วนรวมของกองพลทหารราบ
สเปคเล็กน้อย
1.) พร้อมยิงยาว 6.6 เมตร (ลำกล้อง 3.15 เมตร) กว้าง 1.85 เมตร สูง 2.0 เมตร (เตรียมเดินทาง)
2.) น้ำหนักพร้อมยิง 7.136 ตัน
3.) อัตราการยิง 4 นัดต่อนาที
4.) ระยะยิงไกลสุด 30,000 เมตร (กระสุน M-549)
5.) พลยิง 11 นาย
ปืนใหญ่ลากจูง GHN-45A1 ขนาด 155 มิลลิเมตร
ปืนใหญ่ GHN-45A1 ขนาด 155x45 มิลลิเมตร ได้พัฒนาขึ้นโดยบริษัท นอริคั่ม ประเทศออสเตรีย มีลำกล้องปืนใหญ่ที่ยาวขึ้นจาก 39 คาลิเบอร์ เป็น 45 คารลิเบอร์ ซึ่งมีระยะยิงที่ไกลเพิ่มขึ้นเป็น 39,600 เมตร ได้ทำการผลิตออกมา 2 รุ่น คือ รุ่นลากจูง (หนัก 10,070 กิโลกรัม) และรุ่นติดตั้ง APU (น้ำหนัก 12,382 กิโลกรัม)
ทบ.ไทยได้จัดหาปืนใหญ่ GHN-45A1 เข้าประจำการในปี พ.ศ.2534 มีชื่อเรียกว่า ปืนใหญ่หนักกระสุนวิถีราบแบบ 34 (ปนร.๓๔) ประจำการที่กองพันทหารปืนใหญ่ กองพลทหารปืนใหญ่ จว.ลพบุรี และ กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 102 จว.ปราจีนบุรี
ข้อมูลที่สำคัญ
1.) ความยาวท่าเตรียมเดินทาง 13.51 เมตร กว้าง 2.5 เมตร สูง 2.05 เมตร
2.) น้ำหนักท่าเตรียมเดินทาง 9,800 กิโลกรัม
3.) อัตราการยิง 7 นัดต่อนาที
4.) อายุลำกล้องปืน 2,500 นัด
5.) ระยะยิงไกลสุด 30,300 เมตร (กระสุน ERFB) และ 39,600 เมตร (กระสุน ERFB BB)
6. พลยิง 6 นาย
ปล. ทบ.ไทยได้มีโครงการพัฒนา APU ต้นแบบเพื่อติดตั้งกับ ปบร.34 แล้ว
ปืนใหญ่ลากจูง M-71 ขนาด 155 มิลลิเมตร
อิสราเอลได้สร้างปืนใหญ่ต้นแบบขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2517 และได้นำเข้าประจำการใน ทบ.อิสราเอลในปีถัดมา ลากจูงด้วย รยบ. 6x6 ขนาด 5 ตัน มีบทบาทอย่างมากในการปะทะด้วยปืนใหญ่สนามตามแนวชายแดนกับเพื่อนบ้านอาหรับ โดยประเทศเพื่อนบ้านอาหรับจะประจำการด้วยปืนใหญ่ลากจูง M-46 ขนาด 130 มิลลิเมตร
สิงคโปร์นำเข้าประจำการที่กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 23 ค่ายคาฮ์ทิบ จำนวน 38 กระบอก เมื่อปี พ.ศ.2523 ชิลี นำเข้าประจำการ 24 กระบอก
ทบ.ไทย จัดหาปืนใหญ่แบบ M-71 จากประเทศอิสราเอลเข้าประจำการในปี พ.ศ.2520 มีชื่อเรียกกว่า ปืนใหญ่หนักกระสุนวิถีราบแบบ 20 (ปนร.๒๐) ประจำการที่กองพันทหารปืนใหญ่ กองพลทหารปืนใหญ่ จว.ลพบุรี ต่อมาได้โอนไปให้ กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 105 กรมทหารปืนใหญ่ที่ 5 ค่ายวชิราวุธ จว.นครศรีธรรมราช
ข้อมูลนิดหน่อย
1.) ความยาวท่าเตรียมเดินทาง 7.5 เมตร ลำกล้องยาว 6.04 เมตร กว้าง 2.58 เมตร และสูง 2.11 เมตร
2.) น้ำหน้กปืนท่าเตรียมเดินทาง 9,200 กิโลกรัม
3.) อัตราการยิง 3 นัดต่อนาที
4.) อายุลำกล้องปืน 2,000 นัด
5.) ระยะยิงไกลสุด 23,500 เมตร และ 30,000 เมตร (กระสุน BB) *กระสุนเพิ่มระยะนะ ไม่ใช่กระสุนปืน bb ขนาด 6 mm.*
6.) พลยิง 8 นาย
มองลงต่ำไปทางใต้เล็กน้อย...ทบ.เสือเหลืองมีปืนใหญ่ลากจูง ขนาด 155 มิลลิเมตร ประจำการอยู่ 2 รุ่น (ตามข้อมูลในหนังสือที่อ้างถึง) คือ
1. ปืนใหญ่ลากจูง แบบ G5 Mk.3 ขนาด 155x45 มิลลิเตร มีอัตราการยิง 3 นัดต่อนาที ระยะยิงไกลสุด 39,000 เมตร (กระสุน BB) ทบ.มาเลเซียนำเข้าประจำการ จำนวน 28 กระบอก
2. ปืนใหญ่ลากจูง แบบ FH-70 ขนาด 155x39 มิลลิเมตร อัตราการยิง 6 นัดต่อนาที ระยะยิงไกลสุด 31,500 เมตร ทบ.เสือเหลือง มีประจำการ จำนวน 12 กระบอก
ถ้ามองกันที่ระยะยิงไกลสุดของปืนใหญ่ ขนาด 155 มิลลิเมตรในประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงของเรา....ของ ทบ.ลอดช่อง น่าจะมีหมัดยาวที่สุดด้วยพระเอก FH-2000 ขนาด 155x52 มิลลิเมตรที่พัฒนาขึ้นเองภายในประเทศ โดยได้ทำการทดสอบที่สนามฝึกเมืองไวโอรู ประเทศนิวซีแลนด์ (ขืนทดสอบในบ้านตัวเองมีหวังกระสุนข้ามไปตกใส่หัวเสือเหลือง...พาลจะกลายเป็นทดสอบด้วยกระสุนจริงไปซะ) เมื่อ 9 มี.ค.40 หลังจากนั้นได้ผลิตเข้าประจำการ รวม 50 กระบอก และอินโดนีเซีย นำเข้าประจำการ 5 กระบอก
ข้อมูล
1.) ระยะยิงไกลสุด 42,000 เมตร
2.) อัตราการยิง 6 นัดต่อนาที
G-5 ขนาด 155 มม. จากแอฟริกาใต้ครับ
โอ ข้อมูลที่ผมกำลังสนใจพอดี
ขอถามนิดนะครับ
ปืนใหญ่M-46 ขนาด130มม.(ของโซเวียต?) มีคุณลักษณะพิเศษเช่นไร จึงสามารถยิงได้ไกลมากครับ(เคยอ่านในกระทู้เก่า บอกว่ายิงไกลกว่า175มม.ของUSAอีก)