ฐานบินของพม่ามีทั้งหมด 8 แห่ง คือ
กองทัพอากาศพม่าได้รับความช่วยเหลือด้านต่างๆ รวมถึงด้านการทหารจากจีนมาก เครื่องบินที่ประจำการส่วนใหญ่จึงมาจากจีน ดังนี้
มีข่าวว่าพม่ามีความสนใจเครื่องบิน Su-27 จากรัสเซีย ซึ่งเป็นเครื่องบินตระกูลเดียวกับ Su-30 ที่ไทยสนใจอยู่
กองทัพอากาศมาเลเซีย
กองทัพอากาศมาเลเซียก็เหมือนกับกองทัพอากาศของประเทศที่เป็นเมืองขึ้นของอังกฤษอื่น ๆ ก็คือในช่วงแรกจะเป็นกองทัพอากาศอังกฤษที่ดูแลน่านฟ้าให้ จนเมื่ออังกฤษถอนตัวออกไปในปี 1971 มีการลงนามสัญญาความมั่นคงร่วมกันระหว่างมาเลเซีย สิงคโปร์ นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย และสหราชอาณาจักรในการร่วมกันปกป้องน่านฟ้า โดยในช่วงแรกกองทัพอากาศออสเตรเลียนำเครื่องบิน Mirage IIIO มาประจำการที่ฐานทัพอากาศบัตเตอร์เวิร์ท (Butterworth Air Base) ตามสนธิสัญญา
ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา กองทัพอากาศมาเลเซียก็พัฒนาแบบก้าวกระโดด โดยในช่วงแรกได้ซื้อเครื่องบิน F-5E จำนวน 1 ฝุง 16 ลำ และ A-4C Skyhawks จำนวน 88 ลำซึ่งเป็นเครื่องบินส่วนเกินจากกองทัพอากาศสหรัฐ
กองทัพอากาศมาเลเซียจัดหาอากาศยานจากต่างค่ายกัน โดยหลัก ๆ มีอากาศยานจากสหรัฐ รัสเซีย และอังกฤษประจำการ
ปัจจุบันกองทัพอากาศมาเลเซียถือเป็นกองทัพอากาศอันดับต้น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จากทั้งหมด 5 ประเทศที่มีกองทัพอากาศใหญ่พอคือสิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย เวียดนาม และ อินโดนิเซีย (เรียงตามลำดับความยิ่งใหญ่) มีอากาศยาประจำการเกือบ 100 เครื่อง
MiG-29N/NUB จำนวน 14 เครื่อง เป็นเครื่องบินขับไล่ของรัสเซีย ซึ่งมีข่าวว่ารัสเซียกำลังเสนอแผนการปรับปรุงเครื่องบินนี้เป็นรุ่น OVT เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ประจำการอยู่ที่ฝูงบินที่ 19 ฐานทัพอากาศกวนตัน ลงไปทางใต้ของไทยไม่กี่ร้อยกิโล
F/A-18D จำนวน 8 ลำ ประจำการอยู่ที่ฝูงบินที่ 18 ฐานทัพอากาศบัตเตอร์เวิร์ทใกล้ ๆ ชายแดนไทย โดยมีภารกิจหลักคือลาดตระเวนและโจมตีทางทะเล สามารถติดจรวดโจมตีเรือ Harpoon ใช้โจมตีเรือรบได้
Hawk 208 จำนวน 16 ลำ และ Hawk 108 จำนวน 6 ลำประจำการที่ฝูงบิน 15 ฐานทัพอากาศบัตเตอร์เวิร์ท ใกล้ ๆ ชายแดนไทย เครื่องบินนี้โดยพื้นฐานเป็นเครื่องบินฝึก แต่สามารถปรับภารกิจมาเป็นเครื่องบินโจมตีภาคพื้นดินได้
F-5E จำนวน 10 ลำ RF-5E สำหรับตรวจการจำนวน 2 ลำ และ F-5F รุ่นสองที่นั่งจำนวน 2 ลำ ประจำการอยู่ที่ฝูงบินที่ 12 ฐานทัพอากาศบัตเตอร์เวิร์ท ใกล้ชายแดนไทย
กองทัพอากาศมาเลเซียได้ประกาศการจัดหา F/A-18 F เพิ่มเติมจำนวน 18 ลำ โดยมีสเปคดังนี้
18 F/A-18F aircraft
36 F414-GE-400 aircraft engines
18 AN/APG-73 Radar Systems
3 spare F414-GE-400 aircraft engines
18 AN/ALR-67(V)3 Countermeasure Receiving Sets
18 AN/ALE-47(B)2 Countermeasure Dispensing Sets
12 AN/ALQ-214(V)2 Integrated Defensive Electronic Countermeasures
72 LAU-127B/A Guided Missile Launchers
ซึ่งนับว่าค่อนข้างน่ากลัวทีเดียว นอกจากนั้นยังได้สั่งซื้อเครื่องบิน Su-30 MKM จำนวน 18 ลำ น่าจะได้รับในปีนี้ โดยยังไม่ได้มีการเปิดเผยรายละเอียดของระบบอาวุธออกมา แต่คาดว่าคงเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพสูง น่าจะสูสึ (หรืออาจจะดีกว่า) กับ Su-30 MKI ของอินเดีย การซื้อครั้งนี้ 1 ใน 3 ของราคาเครื่องบินนั้นมาเลเซียจ่ายเป็นนำมันปาล์ม และมีเงื่อนไขที่จะให้รัสเซียรับมนุษย์อวกาศคนแรกที่เป็นชาวมาเลเซียขึ้นไปที่สถานีอวกาศนานาชาติด้วย ซึ่งตอนนี้การคัดเลือกอยู่ในรอบ 4 คนสุดท้ายแล้ว
แต่สิ่งที่มีเลเซียดูจะมีปัญหาคือการซ่อมบำรุงอากาศยาน เพราะมีข่าวว่ามีอากาศยานตกอยู่บ่อย ๆ อย่าง PC-7 ซึ่งตอนแรกซื้อมา 44 ลำ จนถึงตอนนี้ตกหมดเหลือแค่ 22 ลำเท่านั้น
ถ้าวัดกันที่จำนวนแล้ว ปัจจุบันเรามีอากาศยานมากกว่ามาเลเซียอยู่ 3 ต่อ 1 แต่ปัญหาก็คือ F-16 ทั้ง 61 ลำของเรานั้นเป็นรุ่น A/B จะรับไหวไหม ถ้าเป็นปัจจุบันนี้อาจจะต้องลุ้นกันเหนื่อยหน่อย แต่ถ้าเราทำ MLU หรือ Mid Life Upgrade เพื่อปรับปรุงให้เป็นรุ่น C/D แล้วประสิทธิภาพก็จะขึ้นมาสูสีทีเดียว รวมทั้ง F-5E ไทกริสของเราก็ได้รับการปรับปรุงจากอิสราเอลให้สามารถติดขีปนาวุธพิสัยใกล้นำวิถีด้วยอินฟาเรต Phyton 4 ได้ ซึ่งเป็นขีปนาวุธที่มีประสิทธิภาพสูงมาก
สำหรับเครื่องบินขับไล่ฝุงใหม่ของกองทัพอากาศไทยนั้นทางทอ.ประกาศไว้แล้วว่าจะนำไปประจำการที่กองบิน 7 สุราษฏ์ ซึ่งก็คงสามารถถ่วงดุลอำนาจในบริเวณนั้นได้พอสมควร
พม่านั้นจัดหา บ.MiG-29B และ MiG-29UB(รุ่นฝึก) จำนวนรวม10ลำในปี๒๕๔๔ แต่จากข่าวที่ออกมาจากหลายๆแหล่งในตอนนี้นั้นดูเหมือนว่าพม่าจะจัดหา บ.MiG-29 เพิ่มเติมมาอีก2ลำเป็น 12ลำแล้วครับ ซึ่งส่วนตัวมีความสงสัยว่าข้อมูลมีการยืนยันหรือไม่
พอๆกับข่าวที่ว่าพม่าสนใจ บ.ตระกูล Flanker ด้วยนี้สิครับ(ส่วนตัวWiki เชื่อได้ประมาณร้อยละ๗๐ครับ)