Pie in the Sky
August 2006
By Aung Zaw
Burma?s air force gets a boost but still can?t make the grade in Southeast Asia
ทอ.พม่าได้รับการเสริมสร้างประสิทธิภาพ แต่ก็ยังไม่สามารถเทียบได้กับระดับของอาเซียน
Satellite images from the internet service Google Earth confirm that Burma?s air force is being significantly upgraded and expanded. The reinforcement of the country?s airborne capabilities has been going on since 1988, but it took a new turn recently with the formation of an air defense department.
ภาพจาก Google Earth ยืนยันว่าทอ.พม่าได้รับการปรับปรุงและขยายอย่างขนานใหญ่ การเพิ่มกำลังทางอากาศได้เริ่มมาตั้งแต่ปี 1988 แต่มันก็ได้เริ่มบทใหม่เมื่อเร็ว ๆ นี้เมื่อพม่าได้ตั้งกรมป้องกันภัยทางอากาศขึ้น
The department was at first headed by Prime Minister Gen Soe Win, but is now believed to be led by Maj-Gen Myint Hlaing, former commander of Northern Command in Shan State. Analysts believe that the department?s creation is a result of the regime?s chronic paranoia and its alarm over purchases by Thailand?s air force of sophisticated jet fighters and helicopters from the US and Europe.
กรมนี้ริเริ่มในสมัยนายพล Soe Win เป็นนายก แต่ในปัจจุบันเชื่อว่ามีพันเอก Myint Hlaing , อดีตผบ.กองบัญชาการในรัฐฉาน, เป็นผู้บังคับบัญชา นักวิเคราะห์กล่าวว่าการตั้งกรมนี้ขึ้นมาก็เพราะความหวาดระแวงและความกลัวการจัดหาเครื่องบินรบและฮ.ที่ทันสมัยของทอ.ไทยจากสหรัฐและยุโรป
Burma responded to Thailand?s build-up over the past two decades by purchasing jet fighters from China, Russia and Eastern Europe and negotiating with India for other aircraft. At the same time, it has been upgrading its air bases and extending air strips throughout the country.
พม่าตอบโต้การเพิ่มกำลังของไทยในช่วงสองทศวรรศที่ผ่านมาด้วยการจัดซื้อเครื่องบินจากจีน รัสเซีย และยุโรปตะวันออก และกำลังเจรจากับอินเดียเช่นกัน ในเวลาเดียวกัน ทอ.พม่ายังปรับปรุงสนามบินและฐานบินทั่วประเทศ
Google Earth?s satellite images disclose the movement of combat aircraft and helicopters, while rebel groups based along the border with Thailand are also closely monitoring developments, viewing the build-up as a serious threat.
ภาพจาก Google Earth เปิดเผยถึงการเคลื่อนไหวของเครื่องบินและฮ.ทางทหาร ในขณะที่กลุ่มกบฏตามชายแดนไทยมองว่าการเสริมกำลังของทอ.พม่าเป็นภัยคุกคามอย่างใหญ่หลวง
Exiled dissident groups monitoring air force activities in and around Mergui (officially known as Myeik), in southern Tanessarim Division, say Russian trainers and technicians have been seen in the area and that the military has stockpiled fuel and supplies in the expanded Mergui air base. According to intelligence reports, the base has been reinforced with nine Chinese-made fighter jets and two Russian-made MiG-29s. Since December, artillery pieces and heavy arms, as well as Chinese-made HN-2 and HN-5 surface-to-air missile launchers, have been delivered to artillery bases in Mergui, and to other bases along the Thai-Burmese border.
กลุ่มผู้ไม่ลงรอยกับรัฐบาลทหารพม่าที่ถูกเนรเทศจับตาความเคลื่อนไหวของทอ.พม่าใน Mergui (ชื่ออย่างเป็นทางการคือ Myeik) ใน southern Tanessarim กล่าวว่าพบเห็นเครื่องบินฝึกและผู้เชี่ยวชาญของรัสเซียและกองทัพยังกักตุนเชื้อเพลิงและสิ่งอุปกรณ์ในฐานทัพอากาศ Mergui ที่ถูกปรับปรุงแล้ว ตามรายงานจากข่าวกรองนั้นแจ้งว่าฐานทัพมีเครื่องบินขับไล่จากจีนจำนวน 9 เครื่องและ MiG-29 2 เครื่องประจำการอยู่ นับจากเดือนธันวาคม ปืนใหญ่และอาวุธหนัก รวมถึงจรวดต่อสู้อากาศยาน HN-2 และ HN-5 ได้ถูกนำมาประจำการที่ Mergui และฐานทัพอื่น ๆ ใกล้ชายแดนไทยพม่า
After prolonged negotiations with the Russians, conducted since the mid-1990s, Burma?s military acquired 12 Russian MiG-29 jet fighters in 2001, following clashes with Thai forces in northern border regions. The Thais deployed American F-16s and apparently alarmed the Burmese with their air defense capabilities. Defense analysts believe that the clash prodded the Burmese to repair the evident disparity by acquiring a further 10 MiG-29 fighters and two dual-seat trainers?reportedly at a cost of US $130 million, of which half was to be paid up front, and the balance remitted over the next 10 years.
หลังจาการเจรจากับรัสเซียตั้งแต่กลางทศวรรศที่ 90 ทอ.พม่าจัดหา MiG-29 จำนวน 12 เครื่องในปี 2001 หลังจากการปะทะกับไทยในภาคเหนือ ทอ.ไทยวางกำลัง F-16 และมันชัดแจ้งว่านั่นเป็นการเตือนทอ.พม่าด้วยกำลังทางอากาศของไทย นักวิเคราะห์ทางทหารเชื่อว่าการปะทะในครั้งนี้ทำให้พม่าจัดซื้อ MiG-29 จำนวน 10 ลำและรุ่นสองที่นั่งอีก 2 ลำในราคา 130 ล้านเหรียญ ซึ่งครึ่งหนึ่งได้จ่ายโดยทันทีและอีกครึ่งหนึ่งผ่อนจ่ายในช่วงเวลา 10 ปี
Defence analysts believe that the junta is also negotiating to buy medium to long-range air-to-surface missiles?useful not only in counter-insurgency campaigns, but also as a defense against the better-equipped Thai air force, which has a fleet of more than 30 American-made F-16 fighters, which are thought to be better aircraft than the Russian MiG-29s. Reassurances by Thailand that Burma has nothing to fear from a superior Thai air force appear to have done nothing to dispel the junta?s paranoia.
นักวิเคราะห็ทางทหารเชื่อว่ารัฐบาลทหารยังเจรจาที่จะจัดซื้อจรวดต่อสู้อากาศยานระยะกลางและไกล ซึ่งไม่เพียงแต่มีประโยชน์ในสงครามต่อต้านการก่อการร้าย แต่ยังป้องกันกองทัพอากาศไทย,ที่มี F-16 มากกว่า 30 ลำ ซึ่งเชื่อว่าดีกว่า MiG-29 ของรัสเซีย,ที่มีอาวุธดีกว่าได้
Burmese nervousness was evident last month when a Thai army helicopter was hit by Burmese small arms fire as it flew near Thailand?s border with Shan State. Nobody aboard the Thai Third Army helicopter was hurt and the machine landed safely, In a much more serious incident in August 1997, a Thai army helicopter was shot down by the Burmese army over Burmese territory near Mae Sot, on Thailand?s border with Karen State, killing the two pilots and two soldiers.
ความกังวลใจของพม่ามีหลักฐานจากเมื่อเดือนที่แล้วที่ทหารพม่ายิงฮ.กองทบ.ไทยใกล้ ๆ รัฐฉาน ไม่มีใครในฮ.ของกองทัพภาคที่สามของไทยได้รับบาดเจ้บ และเครื่องสามารถลงได้อย่างปลอดภัย และในเหตุการณ์ที่ตึงเครียดมากกว่านี้ในเดือนสิงหาคมปี 1997 เมื่อฮ.ของทบ.ไทยถูกยิงตกโดยทหารพม่าเบริเวณดินแดนพม่าใกล้แม่ฮ่องสอนตรงชายแดนไทยที่ติดกับรัฐกะเหรี่ยง นักบิน 2 คนและทหาร 2 คนเสียชีวิต
Burma certainly has a lot of catching up to do if it is to keep pace with the air power of other Southeast Asian countries. Until 1988, the air force was ill-equipped and under-strength and many of its jet fighters and planes were obsolete and could not even fly. After 1988, Burma began buying jet fighters and helicopters from China, Russia and East European countries such as former Yugoslavia and Poland.
พม่ายังมีงานที่ต้องทำอีกมากในการไล่ตามกำลังทางอากาศของชาติอาเซียน จนถึงปี 1988 ทอ.พม่ามีแต่อาวุธที่เก่าและเสื่อมสภาพ เครื่องบินหลายลำล้าสมัยจนถึงกระทั่งบินไม่ได้ หลังจากปี 1988 พม่าเริ่มต้นจัดซื้อเครื่องบินขับไล่และฮ. จากจีน รัสเซีย และประเทศยุโรปตะวันออกอย่างอดีตยูโกสลาเวียและโปแลนด์
Australian defense analyst Andrew Selth noted in his book Burma?s Armed Forces: Power Without Glory that by 2000 the air force had about five squadrons of F-7 fighters, four squadrons of A-5 fighters and G-4 ground attack planes, and two squadrons of Mi-2 helicopters and Mi-17 helicopters. Since the early 1990s, Burma?s air force has bought helicopters from Russia.
นักวิเคราะห์ทางทหารชาวออสเตรเลีย นาย Andrew Selth กล่าวในหนังสือชื่อ "Burma?s Armed Forces: Power Without Glory" ว่าภายในปี 2000 ทอ.พม่ามีฝูงบินขับไล่ F-7 จำนวน 5 ฝูง ฝูงบินโจมตี A-5 และ G-4 จำนวน 4 ฝูง ฝูงฮ. Mi-2 และ Mi-17จำนวน 2 ฝูง (นับจากต้นทศวรรศที่ 90 ทอ.พม่าสั่งซื้อฮ.จากรัสเซีย)
While upgrading its air power, Burma has also installed early warning systems and built radar stations in the north and south of the country. Early warning systems have been installed in Shan State?informed sources believe radar stations are based in Tachilek, Namseng, Kutkai and Loi Mwe.
ในระหว่างการเสริมสร้างกำลังทางอากาศ พม่ายังติดตั้งระบบแจ้งเตือนล่วงหน้าและสร้างสถานีเรด้าห์ทางตอนเหนือและใต้ของประเทศ ระบบแจ้งเตือนล่วงหน้าถูกติดตั้งที่รัฐฉาน แหล่งข่าวเชื่อว่าฐานเหล่านั้นตั้งอยู่ที่ Tachilek, Namseng, Kutkai และ Loi Mwe.
Former intelligence officers who were purged in 2004 and who then established contacts with opposition groups in exile or defected have disclosed that the regime is eager to install more radar stations, and will continue to expand its air defense network along the borders with Thailand and Bangladesh, and near the Andaman Sea. Burma?s major air bases in Rangoon, Hmawbi, Meikthila, Tanessarim and in other areas such as Irrawaddy Division, Kachin, Mon and Shan States have been substantially expanded. Smaller airfields and helicopter landing areas have also been established in Shan State.
อดีตเจ้าหน้าที่ข่าวซึ่งถูกขับออกในปี 2004 และมีสัญญากับฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลทหารพม่าเปิดเผยว่ารัฐบาลทหารพม่าต้องการจะติดตั้งสถานีเรด้าห์เพิ่มเป็นอย่างยิ่ง และต้องการขยายข่ายการป้องกันภัยทางอากาศตามแนวชายแดนไทยและบังคลาเทศ และบริเวณใกล้ ๆ ทะเลอันดามัน ฐานทัพหลักของพม่าใน Rangoon, Hmawbi, Meikthila, Tanessarim และในพื้นที่อื่นเช่น rrawaddy Division, Kachin, Mon และ Shan States ถูกขยายอย่างขนานใหญ่ ฐานบินขนาดเล็กและลานจอดฮ.ยังถูกสร้างขึ้นในรัฐฉานอีกด้วย
Burma?s intact trading status with its neighbors, founded on lucrative gas deals and hydro-electric power projects, gives the junta not only the money to invest in new military hardware but also direct access to such suppliers as China, India and Russia.
แต่การค้ากับเพื่อนบ้านของพม่าไม่ได้กระทบกระเทือน เงินจากการขายแก๊สและไฟฟ้าพลังน้ำทำให้รัฐบาลทหารสามารถจัดหาอาวุธใหม่ ๆ หรือเข้าถึงแหล่งผลิตอาวุธโดยตรงอย่างจีน อินเดีย และรัสเซีย
Yet the air force is not without problems. Western arms embargoes deny the generals access to much new technology and advanced training, privileges which are enjoyed to the full by neighboring Thailand. The amount of training available to pilots, both in-flight and on the ground, and the possibilities to participate in joint armed forces exercises are severely limited, western defense analysts note.
แต่ทอ.พม่าก็ไม่ได้ปราศจากปัญหา การคว่ำบาตรทางทหารจากตะวันตกทำให้พม่าไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีและการฝึกสมัยใหม่ได้ ซึ่งแตกต่างจากไทยที่ได้รับสิ่งเหล่านั้นอย่างต่อเนื่อง นักวิเคราะห์ตะวันตกกล่าวว่าจำนวนการฝึกของนักบินทั้งบนพื้นและในอากาศรวมถึงโอกาสในการฝึกร่วมระหว่างเหล่าทัพนั้นจำกัดมาก
Hardware from non-western sources is often found to be sub-standard and unreliable. The performance of jet fighters bought from China was faulted by Burmese military leaders, and Burmese pilots were reported to be unhappy about flying F-7 jet fighters after several crashed. The aircraft were known in many an officers? mess as ?flying coffins.?
อาวุธที่ไม่ได้มาจากตะวันตกมักพบว่าต่ำกว่ามาตราฐานและเชื่อถือไม่ได้ ประสิทธิภาพของเครื่องบินรบจากจีนนั้นถูกวิจารณ์จากผู้นำทางทหาร และนักบิน F-7 ของพม่าไม่ค่อยมีความสุขกับการบินหลังจากการตกหลายครั้ง เครื่องบินเหล่านั้นถูกเรียกกันในหมู่นายทหารว่าโลงศพบินได้
Maintenance and access to spare parts also pose problems for Burma?s air force. The regime spent several years, for instance, desperately searching for spare parts for a fleet of Bell 205 helicopters donated by the US in 1975 as an American contribution to Burma?s anti-narcotics campaign. The regime used them, however, in counter-insurgency campaigns. After 1988, the US halted supplies of military equipment.
การซ่อมบำรุงและการเข้าถึงอะไหล่ก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งของทอ.พม่า ตัวอย่างเช่น รัฐบาลทหารพม่าใช้เวลา 2 - 3 ปีในการพยายามอย่างหนักในการหาอะไหล่ของเครื่อง Bell 205 ซึ่งได้รับบริจาคจากสหรัฐในปี 1975 เพื่อสนับสนุนการปราบปรามยาเสพติด อยบ่างไรก็ตาม รัฐบาลทหารพม่าใช้มันในการต่อต้านการก่อการราย และหลังจากปี 1988 สหรัฐก็หยุดส่งอาวุธให้
Dissident sources in Thailand told The Irrawaddy that the regime found spare parts for 12 of the helicopters on the international black market, reportedly conducting the $2 million deal through a shady Japanese business cartel with ties to former drug lord Khun Sa. The reports could not be confirmed independently?but they must be causing some disquiet among pilots uncertain about the ability not just of the country?s air force to get off the ground.
อีกแหล่งข่าวหนึ่งกล่าวว่ารัฐบาลทหารพม่าประสบความสำเร็จในการจัดหาอะไหล่สำหรัฐฮ. 12 เครื่องในตลาดมืดในสัญญามูลค่า 2 ล้านเหรียญผ่านบริษัทญี่ปุ่นซึ่งมีสายสำพันธ์กับขุนส่า รายงานนี้ไม่ได้รับการยืนยัน แต่มันก็สร้างความกังวลในหมู่นักบินที่อย่างจะเอาเครื่องบินขึ้นฟ้าให้ได้
จาก Irrawaddy.com
บางข้อความฟังดูแปลกๆ คล้ายๆกับเวลาที่ลุงกะทิพูด ถูกบ้างผิดบ้างนะครับ คงเป็นการกล่าวเพื่อดิสเครดิต รัฐบาลทหารพม่า
"ภาพจาก Google Earth ยืนยันว่าทอ.พม่าได้รับการปรับปรุงและขยายอย่างขนานใหญ่ การเพิ่มกำลังทางอากาศได้เริ่มมาตั้งแต่ปี 1988 แต่มันก็ได้เริ่มบทใหม่เมื่อเร็ว ๆ นี้เมื่อพม่าได้ตั้งกรมป้องกันภัยทางอากาศขึ้น "--------->>>น่าจะพอเห็นนะ
"ภาพจาก Google Earth เปิดเผยถึงการเคลื่อนไหวของเครื่องบินและฮ.ทางทหาร ในขณะที่กลุ่มกบฏตามชายแดนไทยมองว่าการเสริมกำลังของทอ.พม่าเป็นภัยคุกคามอย่างใหญ่หลวง"----->>จะเห็นมั้ยเนี่ยไม่ใช่กล้องแอบถ่ายนะ
ส่วนเรื่อง ฮ.bell ไม่รู้ว่าไปซื้อ ฮ.Mi จากรัสเซียมาเลย จะดีกว่าไปวิ่งหาอะไหล่ตามตลาดมืดรึเปล่าครับ ไปซื้ออะไหล่โดยที่ตัวเองไม่ค่อยมีเงินดู แปลกๆนะ ไปเอาฮ. จากรัสเซียก็พอแปะโป้งได้อยู่หรอก
ถ้าผมเข้าใจผิดอะไรในประเด็นนี้รบกวนเพื่อนๆ ช่วยอธิบายนิดนึง นะครับ
แต่ถ้าเป็นเรื่งจริงก็น่ากลัวนะครับ ที่เค้าระแวงเราถึงเพียงนี้ คิดไปเลยครับ ตอนนี้เค้าเริ่มนับ 1 เริ่มทำอะไรหลายๆอย่างแล้ว..แต่ผู้ใหญ่เรายังไม่ทำอะไรที่เป็นชิ้นเป็นอันเลย
เรื่อง ฮ.ไทยถูกพม่ายิงตกในปี ๒๕๔๑ นี้ไม่แน่ใจนะครับแต่ถ้าจำไม่ผิดในช่วงปีที่ใกล้เคียงกันคือราวๆปี ๔๓ มี ฮ.ไทยตกจริงๆบริเวณชายแดน จ.ราชบุรีครับ แต่จากการสอบสวนพบว่าเกิดจากสภาพอากาศครับ
เป็นที่น่าชัดว่า บ.หลายๆแบบของพม่านั้นอยู่ในสภาพที่ไม่ค่อยพร้อมเท่าไรเช่น F-7 เป็นต้นแต่บทความนี้ก็มีข้อมูลหลายๆส่วนที่ดูไม่ค่อยน่าเชื่อถือนักครับ
แวะมาอ่าน
ขอบคุณคนแปลค่ะ
วันหลังหากมีข่าวจะแปลแล้วนำมาโพสมั้ง
โดยส่วนตัวผมมีความคิดโง่ๆความคิดนึงที่ว่า
ยุโรปที่มีความต่างในเรื่องลัทธิทางศาสนา วัฒนธรรมพอสมควร ซึ่งรบกันมาไม่ต่ำกว่า 2 พันปี(ตั้งกะอเล็กซี่เดอะเกรท ตั้งกะสปาเก็ตตี้ เอ๊ยยย สปาต้ากะเป๊ปซี่ เอ๊ยยยย เปอเซียร์) ขออภัย สงสัยหิวจัด -*-
ทำไมระยะหลังเขาจึงรวมตัวกันได้ดีถึงขนาดนั้น ทั้งที่เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองนี่แทบคลั่งกันเลยนะน่ะ
ทำไมอาเซียนไม่รวมตัวกัน รักใคร่ให้ได้แบบนั้นมั่งน๊า
ฝันอยากให้มีกองกำลังป้องกันอาเซียน จัดตั้งขึ้นมาจัง
แต่จะทำได้มันต้องไว้ใจซึ่งกันและกันได้ก่อน แต่หากว่าทำได้นะ การแลกเปลี่ยนและร่วมมือกันทางเทคโนโลยีทางกองทัพ จะก้าวรุดหน้าขึ้นไปอย่างมากมายเลย...
ตอนนี้มองเหมือนมหาอำนาจตะวันตกต่างๆ คอยยุแหย่พวกเราให้รวมตัวกันไม่ได้ยังไงยังงั้น...
อยากให้พม่ากะไทยรักใครกันจัง ส่วนตัวเคยไปพม่าหลายครั้งเหมือนกัน ประชาชนก็ไม่ได้เกลียดคนไทยสักเท่าใดนัก(ชอบด้วยซ้ำ)
แต่รัฐบาลพม่าน่ะแหละ -*- ไม่ไว้ใจเราเอง (ก็เราทำตัวไม่น่าไว้ใจ)
การแข่งขันอาวุธมันก็เริ่มขึ้นเพราะ Balance of Terror แต๊ๆ...
แง้ อยากเหงกองกำลังป้องกันอาเซียนจังโว้ย ในชาตินี้
กองทัพผสมกันในละแวกนี้นี่ ต่อกรกับพวกชาติใหญ่ๆบางชาติได้เลยนา ผมว่า...(ภายหลังจากร่วมมือกัน)
เรื่องเรือ5ลำของพม่าติดC-802นั่นนะครับ ผมดูรูปแล้วสงสัยจังครับลำแค่นั้นทำไมมันถึงสามารถติดระบบควบคุมการยิงC 802ได้หรอเนี่ยเรดาร์ครวจจับของเรือเขาดีขนาดนั้นเลยหรอครับเรืลำแค่นี้ไม่น่าเชื่อแถมAK230อีก.-*-แต่ผมดูๆแล้วคิดว่าคงไม่สามารถไปในทะเลไกลๆได้ใช่ไหมครับคงได้แค่อยู่บริเวณที่ไม่ไกลฝั่งเท่าไรคงไม่สามารถมาหาเรื่องกองเรือฟริเกตที่2ของเราได้หรอกมั้ง
หรือว่าผมคิดผิดง่ะ-*-
เอ่อมีอีกอย่างนะครับสงสัยจังทำไมช่วงนี้ถึงมีแต่ข่าวจัดซื้ออาวุธของทร.ทั้งนั้นละครับ(เรื่องซื้อเครื่องบินของ ทอ.ก็ยังไม่รู้เลยว่าจะได้แบบไหน)หยังนี้ทบ. ทอ.ไมน้อยใจแย่หรอครับ