หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ไม่ใช่ฝัน! อีกหน่อย "พลาสติก" จะกลายเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

โดยคุณ : sam เมื่อวันที่ : 03/04/2007 08:59:04

ใครจะคาดคิดว่า"พลาสติก" ที่เคยใส่ข้าวแกงหิ้วกลับบ้านทุกเย็นจะกลายเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้ อีกหน่อยจอภาพที่ติดตามกระจกรถหรือฝาผนังก็ไม่ใช่นิยายแล้ว หรือแม้แต่ชุดอัจฉริยะในภาพยนตร์ "ทักซิโด้" ก็อาจจะเป็นจริงเพราะไต้หวันกำลังพัฒนาการทอผ้าให้เป็นลายวงจร ส่วนนักวิจัยชี้ว่าไทยมีความพร้อมในการพัฒนา "พลาสติกอิเล็กทรอนิกส์" เพราะมีโครงสร้างพื้นฐานตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำและมีโอกาสพัฒนาเทคโนโลยีไปพร้อมกับประเทศอื่นๆ
       
       ผศ.ดร.ธีรเกียรติ์ เกิดเจริญ จากภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อธิบายว่าพลาสติกอิเล็กทรอนิกส์คือการประยุกต์นำไฟฟ้าหรือโมเลกุลอินทรีย์เพื่อสร้างวงจรหรือเป็นฐานรองสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ทำให้เกิดกระบวนการใหม่ในการประกอบอุปกรณ์ รวมไปถึงคุณสมบัติใหม่ ซึ่งทำให้เกิดการประยุกต์ใช้งานได้ใหม่หรือเพิ่มเติมไปจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้กันในปัจจุบัน
       
       ทั้งนี้มีการค้นพบสมบัติการนำไฟฟ้าของพลาสติกเมื่อประมาณ 20 ปีที่ผ่านมา แต่ศาสตร์นี้เพิ่งได้รับความส่วนใจได้เพียง 2-3 ปีหลังจากนักวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบคุณสมบัติดังกล่าวได้รับรางวัลโนเบล
       
       ทั้งนี้ ผศ.ดร.ธีรเกียรติ์กล่าวว่า การศึกษาพลาสติกอิเล็กทรอนิกส์จำเป็นต้องทำความเข้าใจการนำไฟฟ้าของพอลิเมอร์ซึ่งเป็นการทำงานที่ลงไปในระดับควอนตัม และเทคโนโลยีหรือการประยุกต์ก็จำเป็นต้องมีการพัฒนา จากอิเล็กทรอนิกส์เดิมที่มองอิเล็กตรอนไหลเหมือนกระแสน้ำไปตามท่อ ก็จะมองอิเล็กตรอนเป็นตัวๆ
       
       เมื่อเปรียบกับอิเล็กทรอนิกส์เดิมที่อยู่บนพื้นฐานของการใช้ "ซิลิกอน" ผศ.ดร.ธีรเกียรติ์ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ทำ "โครงการวิจัยเพื่อศึกษาสถานภาพ แนวโน้ม และโอกาสของประเทศไทยทางด้านอุตสาหกรรมพลาสติกอิเล็กทรอนิกส์" กล่าวว่าไทยมีโอกาสพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านนี้มาก โดยเมื่อมองจากโครงสร้างพื้นฐานในส่วนของต้นน้ำไทยก็มีอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเป็นของตนเอง และก็มีนักวิจัยที่ศึกษาสารเคมีสำหรับผลิตอุปกรณ์อยู่พอสมควร ส่วนกลางน้ำไทยก็มีอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ อุตสาหกรรมการเคลือบโลหะที่นำมาประยุกต์ใช้ผลิตอุปกรณ์พลาสติกอิเล็กทรอนิกส์ได้ ส่วนปลายน้ำก็สามารถประยุกต์ใช้การประกอบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบเดิมที่มีอยู่ได้
       
       ทั้งนี้เทคโนโลยีพลาสติกอิเล็กทรอนิกส์นั้นต่างไปจากอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ซิลิกอนเป็นวัสดุในการผลิต โดย ผศ.ดร.ธีรเกียรติ์กล่าวว่าหากจะสร้างอุตสาหกรรมต้นน้ำให้กับอิเล็กทรอนิกส์ประเภทหลังนั้นต้องใช้รายได้ของประชากรทั้งประเทศเพื่อจะตั้งโรงงานเพียง 1 แห่ง ซึ่งปัจจุบันมีเพียง 2 ประเทศคือเกาหลีและไต้หวันที่ทำอุตสาหกรรมต้นน้ำสำหรับอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ซิลิกอน แต่สำหรับพลาสติกอิเล็กทรอนิกส์นั้นสามารถประยุกต์ใช้อุตสาหกรรมที่มีอยู่เดิม เช่น อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ อุตสาหกรรมการเคลือบโลหะ มาสร้างวงจรอิเล็กทรอนิกส์ได้
       
       สำหรับอุตสาหกรรมคลื่นลูกใหม่นี้ในส่วนของสหรัฐอเมริกานั้นให้ความสำคัญกับอุตสหากรรมการพิมพ์ โดยเล็งว่าอนาคตจะสามารถขายลายวงจรผ่านระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อส่งพิมพ์ลายวงจรที่ปลายทางได้ ขณะที่ไต้หวันนั้นให้ความสำคัญกับอิเล็กทรอนิกส์สิ่งทอ (Electronics Textile) และกำลังเล็งว่าจะทอผ้าให้เป็นลายวงจรได้อย่างไร ซึ่ง ผศ.ดร.ธีรเกียรติ์ให้ความเห็นว่าอนาคตชุดอัจฉริยะแบบในภาพยนต์ "ทักซิโด้" (Taxido) อาจจะเป็นจริงได้
       
       นอกจากนี้ในส่วนของการพัฒนาพลาสติกอิเล็กทรอนิกส์ในเบื้องต้นนั้น ผศ.ดร.ธีรเกียรติ์ได้ยกตัวอย่างในการประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีจอภาพ ซึ่งต่อไปเราจะดูภาพยนต์ผ่านจอภาพที่ติดบนกระจกรถยนต์ได้ และจอภาพในอนาคตจะบางได้มากกว่าจอแอลซีดีจนสามารถติดฝาผนังและม้วนเก็บได้
       
       ด้าน ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) กล่าวว่าไทยเคยพลาดจากการพัฒนาเทคโนโลยีไอซี (IC) เมื่อ 30 ปีที่ผ่านมาที่เริ่มมีการพัฒนา แต่ไทยไม่ได้ตื่นตัวมากนักจึงไม่ทันคนอื่น แต่สำหรับเทคโนโลยีพลาสติกอิเล็กทรอนิกส์แล้วอาจจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีเพราะทุกคนต่างเริ่มพร้อมกันหมด
       
       "น่าสนใจว่าเมื่อมองย้อนไปเมื่อ 30 ปีที่ผ่านมาที่ยุคไอซีเพิ่งเริ่มต้น ตอนนั้นไทยก็ไม่ตื่นตัวเท่าไหร่ พอเขาเริ่มสู่ยุคประยุกต์ใช้ไมโครชิป เราก็ไม่ทันเขา เราคิดช้าไป มองกลับมาในยุคนี้อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เป็นอนาคตที่ดี เพราะทุกประเทศเริ่มต้นพอๆ กัน เราก็ไม่แพ้เขา และเครื่องมือในการวิจัยก็ไม่แพงมาก รอบนี้เราน่าจะมีโอกาส" ดร.พันธ์ศักดิ์ กล่าว


 





ความคิดเห็นที่ 1


ผศ.ดร.ธีรเกียรติ์ เกิดเจริญ จากภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อธิบายว่าพลาสติกอิเล็กทรอนิกส์คือการประยุกต์นำไฟฟ้าหรือโมเลกุลอินทรีย์เพื่อสร้างวงจรหรือเป็นฐานรองสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์  ................

ก็ตกใจ...............อ่านแล้วตอนแรกนึกว่า จะใช้พลาสติกโด๊ปแทนสารกึ่งตัวนำ  ................ จริงๆแล้วใช้สร้างวงจรหรือเป็นฐานรอง .......................ก่อนอื่นต้องขออธิบายหลักการทำงานคร่าวๆของระบบอิเลคทรอนิคส์ทั้งมวล.......... งานสำคัญคือการขยายสัญญาณ และ การสวิทชิ่ง (ปิดเปิดเป็นจังหวะ 0 และ 1 เพื่อเป็นสัญญาณดิจิต้อล) เครื่องมือที่ใช้คือ ไดโอด ทรานซิสเตอร์ ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ต้องใช้สารกึ่งตัวนำเป็นโครงสร้างพื้นฐาน สารกึ่งตัวนำคือ วัสดุหรือสารใดๆ ที่นำไฟฟ้าไหรือยอมให้ไฟฟ้าด้เพียงด้านเดียว ( ในทางอุดมคติคือ ด้านหนึ่งมีความต้านทานเท่ากับศูนย์ แต่อีกด้านเท่ากับอินฟินิตี้ และจะไต้องตอบสนองได้แบบไม่ผิดพลาด เมื่อต้องสลับขั้วไฟฟ้าไปมาไม่ว่าด้วยความถี่ที่มากแค่ไหน) ........... เมนเฟรมเครื่องเป็นร้อยล้าน, เรดาร์เอพีจี-66 ของเอฟ-16 ,พีซีที่ท่านกำลังเล่นอยู่ ,นาฬิกาดิจิตอลหรือแม้แต่ วิทยุทรานซิสเตอร์ของคุณแหยมยโสธร ก็มีเจ้านี่แหล่ะเป็นพืนฐาน (จริงๆแล้วคล็อกพลันซ์(พวกนาฬิกา) จะมีเรื่องการเก็บและคายประจุของคาปาซิสเตอร์มาเกี่ยวด้วย) .......... ในอดีต ระบบอิเลคทรอนิคส์ ทำงานได้ช้าและไม่ละเอียด เนื่องจากสารกึ่งตัวนำขาดประสิทธิภาพ ยิ่งทำงานใกล้ความเป็นไอเดียลได้เท่าไหร่ ก็ยิ่งจ๊าบ เหมือนปัจจุบัน ทั้งเล็ก(เป็นไมคร่อน) แถมไม่เพี้ยนเมื่อเจอความถี่สูงๆ

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 02/04/2007 18:34:38


ความคิดเห็นที่ 2


ผศ.ดร.ธีรเกียรติ์ เกิดเจริญ จากภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อธิบายว่าพลาสติกอิเล็กทรอนิกส์คือการประยุกต์นำไฟฟ้าหรือโมเลกุลอินทรีย์เพื่อสร้างวงจรหรือเป็นฐานรองสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์  ................

ก็ตกใจ...............อ่านแล้วตอนแรกนึกว่า จะใช้พลาสติกโด๊ปแทนสารกึ่งตัวนำ  ................ จริงๆแล้วใช้สร้างวงจรหรือเป็นฐานรอง .......................ก่อนอื่นต้องขออธิบายหลักการทำงานคร่าวๆของระบบอิเลคทรอนิคส์ทั้งมวล.......... งานสำคัญส่วนใหญ่ของระบบอิเลคทรอนิคส์คือการขยายสัญญาณ และ การสวิทชิ่ง (ปิดเปิดเป็นจังหวะ 0 และ 1 เพื่อเป็นสัญญาณดิจิต้อล) เครื่องมือที่ใช้คือ ไดโอด และ ตัวขยายประเภททรานซิสเตอร์ ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ต้องใช้สารกึ่งตัวนำเป็นโครงสร้างพื้นฐาน สารกึ่งตัวนำคือ วัสดุหรือสารใดๆ ที่นำไฟฟ้าหรือยอมให้ให้ไฟฟ้าไหลผ่านได้เพียงด้านเดียว ( ในทางอุดมคติคือ เมื่อไฟฟ้าไหลผ่านเข้าด้านหนึ่งจะความต้านทานเท่ากับศูนย์ แต่เมื่อไหลกลับด้านตรงกันข้ามจะมีความต้านทานเท่ากับอินฟินิตี้ และจะต้องตอบสนองได้แบบไม่ผิดพลาด เมื่อต้องสลับขั้วไปมาทุกค่าความถี่) ........... เมนเฟรมเครื่องเป็นร้อยล้าน, เรดาร์เอพีจี-66 ของเอฟ-16 ,พีซีที่ท่านกำลังเล่นอยู่ ,นาฬิกาดิจิตอลหรือแม้แต่ วิทยุทรานซิสเตอร์ของคุณแหยมยโสธร ก็มีเจ้าไดโอดและทรานซิสเตอร์นี่แหล่ะเป็นพืนฐาน (จริงๆแล้วคล็อคพลันซ์(พวกนาฬิกา) จะมีเรื่องการเก็บและคายประจุของคาปาซิสเตอร์มาเกี่ยวด้วย) .......... ในอดีต ระบบอิเลคทรอนิคส์ ทำงานได้ช้าและไม่ละเอียด เนื่องจากสารกึ่งตัวนำขาดประสิทธิภาพ คือเมื่อใช้ไปในความถี่สูงๆ จะมีกระแสไฟรั่ว คือเกิดกระแสไฟย้อนกลับอีกทางได้(ประมาณว่าตูงง กลับสภาพไม่ทัน)ยิ่งทำงานใกล้ความเป็นไอเดียลได้เท่าไหร่ ก็ยิ่งจ๊าบ เหมือนปัจจุบัน ทั้งเล็ก(เป็นไมคร่อน) แถมไม่เพี้ยนเมื่อเจอความถี่สูงๆ

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 02/04/2007 18:43:45


ความคิดเห็นที่ 3


แต่ก็มีข้อมูลออกมานานแล้วครับว่า Technology ของอุปกรณ์ Electronic ที่เป็นสารกึ่งตัวนำพวก Silicon นี้ใกล้ะถึงทางตันแล้วคือจะทำให้มันเล็กและเร็วกว่านี้ไม่ได้แล้วครับ

ซึ่งตอนนี้เองก็มีการวิจัยสารกึ่งตัวนำหรือวัสดุใหม่ๆอยู่อีกหลายๆแบบอยู่ครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 02/04/2007 18:54:30


ความคิดเห็นที่ 4


กลัวแต่ว่าภาครัฐจะนั่งทำตาใสอีกตามเคยน่ะสิครับ
โครงการดีๆ นี่ไม่เคยสนับสนุนเล้ย เอาเงินไปทำแต่อาไรก้อไม่รู้ -*-

โดยคุณ Zepia เมื่อวันที่ 03/04/2007 01:29:07


ความคิดเห็นที่ 5


งบประมาณก็ต้องนำไปใช้ในหลายๆด้านแหละครับ

ที่สำคัญโครงการดีๆมันมีมากมายฮะ

แต่จะให้สนับสนุนทุกโครงการเลย เราก็ไม่ได้รวยนะครับ

เศรษฐกิจพอเพียงในตอนนี้ ผมว่า นำเงินงบประมาณก้อนโต ยกเครื่องระบบการศึกษาดีกว่ามั้ง (เน่าที่สุด)

แล้วก็ยกเครื่องระบบราชการท้องถิ่น

รวมไปถึงการจัดตั้งโรงเรียน โรงพยาบาลตามแหล่งชุมชุนให้ทั่วถึงจะดีก่า

โครงการดังกล่าวนี่ผมว่าให้มหาวิทยาลัยต่างๆโคกันรวมหัวกันช่วยกันศึกษาผมว่าไม่น่ายากเกินความสามารถคนไทยนะ

ติดอย่างเดียวอ่ะ ติดอย่างเดียว มันมีไอ้มหาวิทยาลัยอีโก้อยู่แห่งหนึ่งไม่เอ่ยนาม จะขอข้อมูลอะไรต่างๆละก็ งก ชิบเป๋ง ไม่เชื่อลองถามพวกอาจารย์มหาลัยทั่วไปดูว่าไอ้มหาลัยแถวๆสยาม แห่งหนึ่งดังๆ ทำไมขอข้อมูลอะไร กลัว brain sap หรือไร ทำไมชอบหวงจัง คนไทยกันเองแท้ๆ

โดยคุณ BloodRoyal เมื่อวันที่ 03/04/2007 08:59:04