เป็นรูปทหารรัสเซียขณะปฏิบัติการในเชกเชนครับ
ได้มาจากหลายเวป จำไม่ค่อยได้แล้วครับ ขออภัยที่ไม่ได้ลง Cradit ให้
ณ. ฐานส่งกำลังบำรุงใกล้เมือง Grozny
ต่อครับ นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ล่มสลายขอโซเวียตอย่างเป็นทางการในวันที่ 26 ธันวาคม ค . ศ . 1991 โดยแยกออกเป็นประเทศทั้งสิ้น 15 ประเทศ ในส่วนของสหภาพโซเวียตนั้น ได้เปลี่ยนชื่อเป็นสหพันธรัฐรัสเซีย ต่อมาสหพันธรัฐรัสเซียและ ประเทศที่แตกตัวจากสหภาพโซเวียตอีก 11 ประเทศ ( ยกเว้นประเทศบอลติก 3 ประเทศ ได้แก่ ลิทัวเนีย ลัตเวีย และเอสโตเนีย ) ได้ร่วมกันจัดตั้งกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (Commonwealth of Independent States : CIS)
แต่รัฐเชคเชน ยังคงอยู่ภายใต้การปกครองของสาธารณะรัสเซียซึ่งทางเชคเชนต้องการแยกตัวเป็นประเทศ โดยใช้เหตุผลทางศาสนา(เหมือนประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เลย)
จึงเกิดความขัดแย้งกันอย่างรุนแรงระหว่างรัศเซียและเชคเชน
จนถึงขั้นใช้กำลังเข้าควบคุมสถานนะการณ์ ซึ่งณ. ตอนนี้เหตุการณ์ต่างๆก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะสงบ
ปัจจุบันกรุง Grozny แทบไม่ต่างอะไรกับอิรัก
ในภาพทหารรัส้เซีย ใช้ปืน ค. ถล่มที่มั่นของกฏบแบ่งแยกดินแดง
? เชชเนีย?เป็นสาธารณรัฐอิสระ รัฐหนึ่งภายในสหรัฐรัสเซียก่อนปี ค.ศ. 1993 รัฐนี้รวมอยู่กับรัฐ ?อินกุชเทีย? ตั้งอยู่ใกล้ทะเลดำมีประชากร 1.3 ล้านคน มีเชื้อชาติ ? เชคเซ็น (Chechen)กับ อินกุช (Ingush)? ร้อยละ 70 % และเป็นเชื้อชาติรัสเซียร้อยละ 23 ประชากรที่เป็นเชื้อชาติพื้นเมืองนั้นส่วนใหญ่นับถือศาสนา อิสลาม มีความรู้สึกต่อต้านชาติสลาฟ โดยเฉพาะชาวรัสเซียนอย่างรุนแรง ที่ตั้งของเชชเนียครอบครองทรัพยากรธรรมชาติที่มีมูลค่ามหาศาลเช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และแร่ธาตุสำคัญมากมาย
ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1991นายพลดูดาเยฟได้รับเลือกตั้งจากประชาชนชาวเชคเซ็นให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี เมื่อได้รับเลือกตั้งนายพลดูเดยเยฟประกาศเอกราชให้แก่เชคเนีย เป็นการแยกตัวออกจากการปกครองของสหพันธ์รัสเซีย ทำให้รัฐบาลกลางกรุงมอสโกภายใต้การปกครองของกอร์บาชอฟ ได้ส่งกองกำลังทหารเข้าไปปราบปราม นายพลดูดาเยฟยื่นคำขาดให้ทหารรัสเซียออกไปภายใน 6 ชั่วโมง ทหารรัฐบาลกลางได้กระทำตามและนายพลดูดาเยฟได้ปกครองรัฐเชคเนียโดยไม่ฟังคำสั่งจากรัฐบาลกลางที่กรุงมอสโก ในปี ค.ศ. 1996 สมัยประธานาธิบดีเยลต์ซินมีการถอนทหารออกจากเชชเนีย ในรัฐเชชเนียมีชนชาติรัสเซียและชาติอื่นอาศัยอยู่คนเหล่านี้ไม่เห็นด้วยกับนายพลดูดาเยฟ มีกลุ่มต่อต้านหลายกลุ่ม เช่น กลุ่ม Provisional Council ไม่ต้องการให้รัฐ
เชคเนียแยกตัวออกจากรัสเซียจึงจัดตั้งรัฐบาลซ้อนตั้งอยู่ที่เมือง Znamenskoye ทางทิศตะวันตกของ
เชชเนีย ได้รับความช่วยเหลือทางกำลังอาวุธจากรัสเซีย (รัฐบาลบอริส เยลท์ซิน) ใช้วิธีการทำสงครามใต้ดินกับรัฐบาลเชคเนีย เมื่อเชคเนียได้รับเอกราชไม่มีประเทศใดรับรองเอกราชของเชคเนีย ในเดือน เมษายน 1993 นายพลดูดาเยฟประกาศยุบรัฐบาลตั้งตนเองเป็นผู้เผด็จการมีอำนาจสิทธิ์ขาดในการปกครอง
รัสเชียเข้ามามีบทบาทโดยเพิ่มความช่วยเหลือให้ฝ่ายตรงข้ามของนายพลดูดาเยฟ และยกกองกำลังเข้าบุกเมืองกรอสนี (Grozny) เมืองหลวงของเชคเนียในวันที่ 11 ธันวาคม 1994 อย่างไรก็ตาม การก่อเหตุรุนแรงยังไม่สิ้นสุดลง จนนำไปสู่การส่งทหารเข้าไปในเชชเนียอีกครั้งในสมัยประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน ค.ศ. 1999 ความขัดแย้งทวีความรุนแรงจนประธานาธิบดีเรียกร้องให้ชาวโลกเห็นว่า กลุ่มกบฏเชชเนียกระทำการต่างๆ เปรียบเสมือนการกระทำของกลุ่ม
ก่อการร้ายไม่ใช่เพียงผู้ต้องการเรียกร้องเอกราชเท่านั้น อย่างไรก็ตามความขัดแย้งระหว่าง 2 ฝ่าย
ยังไม่ยุติลงง่ายๆ เนื่องจากรัสเซียยังคงแทรกแซงกิจการในเชชเนีย โดยเฉพาะส่งนักการเมืองที่นิยมจากรัสเซีย ไปเป็นผู้นำของเชชเนียจนนำไปสู่การลอบสังหารนายอาหมัด คาดิรอฟ (Ahmed Kadirov) อดีตนายกรัฐมนตรี
สาเหตุที่รัฐบาล นายบอลิส เยลท์ซิน ไม่ยอมให้เชชเนียแยกตัว
1. ประเด็นที่ฝ่ายค้านในรัสเซียต้องเผชิญทั้งในรัฐสภาและนอกรัฐสภา การปล่อยให้เชชเนียเป็นอิสระจะเป็นเหตุผลที่ฝ่ายค้านนำมาใช้โจมตีเยลต์ซินว่าไม่เหมาะสมในการเป็นผู้นำประเทศ เพราะไม่สามารถรักษาเอกภาพและความมั่นคงของประเทศไว้ได้และถ้าต้องการสมัครตำแหน่งอีกในปี ค.ศ. 1996 โดยมีนาย วลาดีมีร์ ซิรินอฟสกี้ หัวหน้าพรรค
เสรีประชาธิปไตย(Liberal Democrats)เป็นคู่แข่งสำคัญที่มีนโยบายนำความยิ่งใหญ่ของ อาณาจักรรัสเซียให้กลับคืนมา
3 หากรัสเซียให้เอกราชกับเชชเนีย อาจกลายเป็นแบบอย่างที่ทำให้รัฐเล็กอื่นๆเรียกร้อง
เอกราชได้และรัฐธรรมนูญของรัสเซียใน ค.ศ. 1993 ภายใต้ประธานาธิบดีบอริส เยลต์ซิน
สิ่งที่รัสเซียต้องเผชิญในการปราบกบฎในเชชเนีย
1. รัสเซียมีกำลังทหารน้อยและไม่พร้อมด้านอาวุธ บุคลากรเนื่องจากการตัดงบประมาณทหารตั้งแต่ ค.ศ. 1992
3. รัสเซียถูกประเทศตะวันตกและกลุ่มอิสลามประนามในการช้กำลังรุนแรงในเชชเนีย ที่ทำให้พลเรือนตายจำนวนมาก อาจนำไปสู่ความไม่ร่วมมือในอนาคตจากนานาชาติด้านเศรษฐกิจซึ่งรัสเซียในยุคนั้นต้องการความช่วยเหลือ
4. สภาพภูมิประเทศเชคเนียเป็นภูเขาสูงและป่าทึบ ยากต่อการเอาชนะในสงครามเต็มรูปแบบ คล้ายกรณีอัฟกานิสถานที่สหภาพโซเวียตต้องถอนกำลังออก หลังจากการเข้าไปยุ่งเกี่ยวอยู่ 8 ปีและไม่ประสบความสำเร็จ
ปัญหาของทหารรัสเซียในกรุง Grozny ก็คือพลแม่นปืนชาวเชเช่น
แว๊กก อันนั้นมัน T-84 ผิดรูปครับ
ส่วนรูปนี้น่าจะเป็นพลร่มรัสเซีย
ZU-23 เอามาใช้โจมตีเป้าหมายภาคพื้นดิน โดนเข้าไปคงไม่เหลือ
BMP คันนี้โดนถังดับเพลิงจุดระเบิดด้วยมือถือ เอ๊ยย โดน RPG ครับ
ออกลาดตระเวณคุ้มกันพระ เอ๊ยย ดูแลความสงบ
จากสภาพเมือง มันจะไม่สงบได้ไง มีแต่ซากปรักหักพัง
วิธีทำให้ชาวบ้านสงบตามแบบทหารรัสเซีย คือ มีประสุนปืนมาจากบ้านไหน
ก็ยิงสวนกลับไปที่บ้านหลังนั้น สภาพเมืองก็เลยกลายมาเป็นแบบนี้
ภาพควันพวยพุ่งจากการระเบิดบ้านหลังหนึ่งที่สงสัยว่าซุ่มโจมตีขบวนทหารรัสเซีย
ครับหมดแล้วครับ จากเหตุการณ์เมือง Grozny เป็นตัวอย่างที่ดีในการแก้ไขปัญหาภาคใต้ของเรา ว่าความรุนแรงอย่างเดียว มันไม่สามารถแก้ไขได้ มีแต่จะเสียมวลชน หวังว่าบ้านเราคงไม่เป็นขนาดนี้นะครับ
ผิดพลาดประการใดขออภัยด้วยครับ
ชอบภาพแรกค่ะ โดดเดี่ยวดี