รู้สึกว่าจะโดนเครื่องบินอังกฤษทิ้งตอรปิโดใส่จนจมนะครับ
ถูกเครื่องบินทิ้งตอร์ปิโดเข้าใส่จนหางเสือเสียครับ
ก่อนที่จะถูกระดมยิงจากปืนใหญ่ของเรือ คิง จอร์จ ที่5 และ รอดนีย์ รวมทั้งปืนเล็กและตอร์ปิโดเข้าใส่เต็มขนาน
จนสุดท้าย ลูกเรือเยอรมันก็เป็นฝ่ายเปิดน้ำเข้าเรือเพื่อรักษาเกียรติของทหารเรือเยอรมันครับ
จมแบบสมศักดิ์ศรีครับ ฮู๊ด ที่ว่าแจ๋วโดนเข้าตูมเดียว ดำไม่โผล่อิอิ ผบ.เรือก็เป็นอดีต ผ.อ. โรงเรียนปืนใหญ่ของเยอรมัน
มีเรื่องที่อยากให้ทุกคนรู้
หากรู้จักเรือบิสมาร์กก็ต้องรู้จักเรือยามาโต้ของญี่ปุ่น เป็นเรือขนาดใหญ่เหมือนกัน ถูกกินโต๊ะเหมือนกัน แต่ที่จบเร็วก็คือ?
แน่นอนต้องเป็นยามาโต้เพราะอะไรจะบอกให้ทราบกัน
ในเรือนั้นจะมีระบบป้องกันความเสียหาย(ปคส.)ซึ่งเรือสมัยก่อนนั้นจะไม่ให้ความสำคัญเยอรมันถือได้ว่าเป็นชาติแรกที่เริ่มเห็นความสำคัญ
ปคส.คือการป้ปงกันความเสียหายที่เกิดขึ้นและลดความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้ว จะเห็นได้ว่าในเรือจะมีการแบ่งซอยห้องไว้เยอะและก็จะมีประตูกั้นไว้ซึ่งเป็นขั้นตอนการออกแบบและสร้าง ประโยชน์คือหากมีนำรั่วเข้าบริเวณใดเราสามารถผนึกห้องไว้ได้ ยิ่งมีหลายห้องยิ่งดีแต่ก็ต้องให้เหมาะสม เรื่องนี้เป็นตัวสำคัญที่ทำให้เรือบิสมาร์กลอยลำอยู่ได้นานหลังจากถูกโจมตี
ปคส.ไม่ได้มีเพียงเท่านี้ ยังรวมถึงการดับไฟ ซึ่งการดับไฟในเรือเป็นอะไรที่ยากมากต้องฝึกมาอย่างดี การอุดปะหรือการอุดรูรั่วซึ่งก็มีหลายแบบใช้อุปกรณืต่างกันไป การค้ำจุน ซึ่งเรื่องเหล่านี้ทหารเรือให้ความสำคัญกันอยู่เสมอมา
แล้วเวลาที่ทหารออกไม่ทันอ่ะครับ จะถือเป็นการพลีชีพป่ะ
จุดจบของเรือบิสมาร์คมีข้อถกเถียงกันหลายกระแส เริ่มหลังจากที่บิสมาร์คยิงเรือฮูดผู้ทรงพลังของอังกฤษขาดสองท่อน ในครั้งแรกที่เจอกัน และจากการยิงปืนเรือชุดแรกๆ เท่านั้น ทำให้ชื่อเสียงของบิสมาร์คดังกระฉ่อนขึ้นมาทันที่ เพราะเรือฮูดนั้นอยู่คู่ราชนาวีอังกฤษมานานและเป็นหนึ่งในความภูมิใจของชาติ หากเทียบกับบิสมาร์คซึ่งเป็นเรือรุ่นน้องพึ่งต่อเสร็จใหม่ๆ ชาวอังกฤษขวัญกระเจิง ทำให้ราชนาวีอังกฤษต้องกู้หน้าด้วยการระดมพลเป็นกองเรือออกตามล่าบิสมาร์ค ชนิดที่ถ้าเจอตัวแล้วจะเอาคืนไม่เลี้ยงคะ
ข้อถกเถียงทางด้านประวัติศาสตร์ หนึ่งก็คือ การที่อังกฤษสามารถจับสัญญาณของบิสมาร์คได้ ทำให้ทราบตำแหน่งที่เรืออยู่ บางกระแสกล่าวว่าเป็นเพราะทหารคนหนึ่งในเรือเป็นลูกหลานข้าราชการชั้นสูงของเยอรมัน มารดามีความเป็นห่วงลูกชายมาก จึงติดต่อกับเรือบิสมาร์คในช่วงกำลังหนีการตามล่าของอังกฤษ ทำให้อังกฤษดักจับสัญญาณได้ อีกกระแสหนึ่งกล่าวว่าเป็นเพราะความระมาทของนายพลลึทเจนท์ ผ.อ. กองเรือของเยอรมันที่อยู่ในเรือบิสมาร์คด้วยขณะนั้น ที่สั่งให้มีการส่งสัญญาณติดต่อออกไปจากเรือ ทำให้อังกฤษจับสัญญาณของเรือบิสมาร์คได้
ส่วนสาเหตุสำคัญที่ทำให้บิสมาร์ถูกเรือรบอังกฤษตามมาทัน เนื่องจากหลังจากที่อังกฤษทราบตำแหน่งของบิสมาร์คแล้ว ได้มีการส่งเครื่องบินออกค้นหาด้วย เครื่องบินของอังกฤษทิ้งระเบิดใส่เรือบิสมาร์คเข้าที่หางเสือพอดี ทำให้เรือไม่สามารถแล่นไปหน้าได้ แก้ไขอะไรก็ไม่ได้ กลับแล่นเป็นวงกลมจนกองเรือของอังกฤษตามมาทัน ท่านพลเรือเอกไพศาล นภสินธุวงศ์ ได้เขียนวิเคราะห์การรบและจุดจบของบิสมาร์คไว้อย่างละเอียดใน บทความ หางเสือพาเรือจม ในหนังสือกระดูกงู หนังสือของกองเรือยุทธการ เมื่อหลายปีมาแล้ว ท่านที่สนใจสามารถค้นหาได้ในเว็บบอร์ดเก่าของ Wing21 คะ เพราะได้เคยคัดลอกมาให้อ่านที่นั่นคะ
ส่วนคำถามที่ว่า บิสมาร์คจมอย่างไร ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอีกเช่นกันคะ เพราะในวาระสุดท้ายของบิสมาร์คนั้น ผู้การเรือและกำลังพลในเรือต่างก็ทราบชะตากรรมดีและพร้อมยอมตายแต่ไม่ยอมเสียเกียรติแบบเยอรมัน ด้วยการวางระเบิดเรือตัวเอง ในขณะที่เหล่าเรือรบของอังกฤษตามมาทันเรือบิสมาร์ค และแล่นเข้ารายล้อมรอบตัวบิสมาร์คเพื่อจะรุมกินโต๊ะให้หายแค้น เมื่อถึงช่วงเช้าพระอาทิตย์เริ่มฉายแสง เรือรบอังกฤษต่างระดมยิงกระสุนใส่เรือบิสมาร์ค เป็นจังหวะเดียวกันกับที่ระเบิดที่
ติดตั้งบนเรือบิสมาร์คเริ่มทำงาน จึงไม่ทราบว่าบิสมาร์คจมเพราะปืนเรืออังกฤษหรือเพราะระเบิดบนเรือตนเองกันแน่คะ ผ.อ. เรือบิสมาร์ค ซึ่งใจเด็ดมาก ไม่ยอมหลบหนีออกจากเรือ แต่ยอมสิ้นชีวิตไปพร้อมกับการจมของเรือ
อย่างไรก็ตาม เมื่อเรือบิสมาร์คได้กลายเป็นหนึ่งในตำนานที่เล่าขานมาจนทุกวันนี้ จึงมีผู้ประพันธ์หนังสือเกี่ยวกับเรือบิสมาร์คมากมาย ซึ่งท่านพลเรือเอกไพศาล ได้แสดงความคิดเห็นไว้ว่า มีหนังสือเล่มหนึ่ง น่าจะเชื่อถือได้ที่สุด เพราะผู้ประพันธ์เป็นอดีตนายทหารเรือเยอรมัน ซึ่งเคยเป็นนายธงของ ผ.บ. เรือบิสมาร์ค ดังนั้นข้อมูลเกี่ยวกับเรือลำนี้จึงน่าจะถูกต้องที่สุด คะ ได้นำตัวอย่างหน้าปกหนังสือมาให้ชมกันด้วยคะ หากระทู้ลงรูปหน้าปกหนังสือไม่เจอ ขอเวลานิดนะคะ
เจอภาพหน้าปกหนังสือแล้วคะ ได้มาจากออสเตรเลีย มีหนังสือที่แนะนำน่าสนใจเล่มอื่นๆด้วย เข้าไปชมได้ที่กระทู้นี้คะ http://www.thaifighterclub.com/index.php?action=detailQuestion&questionid=3092&language=1
ขอบคุณท่าน basaranavy ที่ได้ให้ความคิดเห็นที่น่าสนใจมาก จากผู้มีความรู้ทางด้านนี้คะ
เรือยามาโต้ เท่าที่อ่านมา ภาระกิจครั้งสุดท้ายของเรือ ออกไปรบโดยที่ไม่มีเครื่องบินคุ้มกันเลย จนเหมือนกับว่าเป็นภาระกิจฆ่าตัวตาย แต่ในมุมมองของชาวญี่ปุ่นและกำลังพลของเรือยามาโต้ในขณะนั้นเป็นอย่างไร คงต้องศึกษาจากแหล่งข้อมูลของญี่ปุ่นโดยตรง ซึ่ง ท่าน นาวาโท สว่าง เจริญผล ผู้ประพันธ์เรื่องเกียรติศักดิ๋นักรบ (เป็นบทความยาวหลายตอน เกี่ยวกับ การรบของทหารญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่สอง) ในนิตยสารนาวิกศาสตร์ ได้เสนอเรื่องของเรือยามาโต้ ในฉบับที่พึ่งผ่านมาเร็วๆนี้ด้วยคะ ลงได้หลายตอนแล้ว ท่านที่สนใจเข้าไปดูได้ ในเว็บไซด์หนังสือนาวิกศาสตร์คะ