นที่ ๒๗ มีนาคม ของทุกปีเป็นวันสถาปนากองทัพแห่งชาติของสหภาพพม่า โดยทุกปีจะมีการจัดสวนสนามครั้งยิ่งใหญ่ซึ่งปีนี้ก็เป็นครั้งที่62แล้ว พิธีการจัดที่เมืองหลวงใหม่เนปยีตอว์
จากภาพข่าวในโทรทัศน์นั้นปีนี้เห็นว่าทหารพม่ามีเครื่องสนามแบบใหม่ใช้แล้วครับ โดยเฉพาะหมวกสนามที่ใช้ในการเดินสวนสนามนั้นเหมือนกับหมวกทรงเยอรมันแบบที่สหรัฐฯและไทยใช้ครับ
(ดูเหมือนว่ากำลังทหารรัฐบาลกลางและกองกำลังต่อต้านชนกลุ่มน้อยในพม่าจะหันมาใช้หมวกแบบนี้กันทุกฝ่ายแล้วครับ)
มีลางสังหรณ์บอกผมว่ามันต้องมีการ Update ข้อมูลของกองทัพพม่าในInternet ต้อนรับวันกองทัพพม่าแน่ๆและมันก็จริงเสียด้วยครับ
ในWikipedia ส่วนของหัวข้อกองทัพพม่านั้นมีการ Update ล่าสุดในวันที่ 27 มีค. ที่ผ่านมานี้เองครับ นอกจากภาพประกอบและข้อมูลใหม่ๆแล้ว
ลองมาวิเคราะห์ดูดีกว่าครับว่าในส่วนอาวุธนั้น พม่ามีความเคลื่อนไหวอะไรใหม่ๆในช่วงนี้บ้าง
เพราะส่วนตัวนั้นก็ไม่ได้เชื่อถือข้อมูลใน Wiki เสียทั้งหมดหรอกครับ
Tatmadaw Kyee (กองทัพบก)
ในส่วนกำลังทางบกนั้นนอกจากข้อมูลที่อ้างว่าพม่าจัดหา ถ.หลัก T-72S จากยูเครนและรัสเซียร่วมกันถึง 139คัน
(ไม่ทราบไปหามาจากไหนตั้งเยอะ มาเลเซียยังจัดหา PT-91 จากโปแลนด์แค่ 48คันเอง)
รถหุ้มเกราะล้อยาง BTR-3U ที่ได้สิทธิบัตรในการจะผลิตเองในประเทศจากยูเครนอีก 1,000คัน(ไม่น่าเชื่อ)
อีกทั้งโครงการพัฒนารถรบทหารราบหรือ IFV แบบ MAV-1อีก 72คัน และ MAV-2 ซึ่งอุปกรณ์ภายในหลายๆชิ้นมาจาก NORINCO จีน
(พม่าสามารถผลิตรถหุ้มเกราะเบาใช้ได้เองนานแล้วครับ)
พม่ายังได้จัดหาอาวุธประเภทปืนใหญ่และเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องอัตราจรใหม่อีกด้วยครับ เช่น
ปืนใหญ่อัตราจรแบบ NORA B52 ขนาด155มม. จากเซอร์เบีย 30ระบบ (มีระบบบรรจุกึ่งอัตโนมัติด้วย)
Type90 122mm MLRS (40ลำกล้อง)จากจีนอีก 120ระบบ
และ M-1991 240mm MLRS (22ลำกล้อง)จากเกาหลีเหนืออีก 30ระบบครับ
ยังไม่มีการยืนยันครับว่าพม่ามี
TOR M1 (SA-15) 48ระบบ
BUK M2 (SA-17) 24ระบบ
และ Tunguska 24ระบบ จริงหรือไม่
Tatmadaw Yay(กองทัพเรือ)
มีข้อมูลภาพเพิ่มเติมของเรือเร็วโจมตีขนาด 45เมตรชั้น Myanmar
ซึ่งพม่าต่อเองในประเทศ โดยในภาพเป็นเรือหมายเลข 556
ซึ่งเรือเร็วโจมตีชั้น Myanmar นั้จะมีอยู่สองแบบคือ
เรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถี หมายเลข 556,557, 558, 559, 560
ติด C-802 4นัด
ปืนใหญ่กลแฝดAK-230 30มม.2แท่น
และ ปตอ.14.5มม แฝดอีก 1แท่น(ดูจากภาพ)
เรือเร็วโจมตีปืน หมายเลข 551, 552, 553, 554, 555
ติดปืนใหญ่แฝด Oerlikon 35มม. 1ป้อม
ปตอ. Type 85 25มม.แฝด 2ป้อม
และ ปตอ.14.5มม แฝดอีก 2แท่น
นอกจากข้อมูลเรือCorvette ขนาด 77เมตรชั้น Anawrahta(พระเจ้าอโนรธา มังช่อ)
ที่เคยลงไว้ก่อนหน้านี้แล้วนั้น พม่ากำลังจะต่อเรือ Corvette เพิ่มอีกสองลำและเรือฟริเกตอีกลำครับ
พม่าน่าจะมีแผนขยายกำลังทางเรือของตนให้เป็นกองเรือน้ำลึกครับแต่จากรูปแบบของเรือที่ต่อในปัจจุบันนี้นั้น
พม่ายังคงเพียงแค่สร้างขีดความสามารถทางเรือในลักษณะการป้องกันชายฝั่งในระยะไม่ไกลมากเท่านั้นครับ
Tatmadaw Lei(กองทัพอากาศ)
มีรายงานว่าพม่ากำลังจะจัดหา MIG-29 เพิ่มเติมอีกจำนวนหนึ่งตั้งแต่ปี 2006ครับ
ซึ่งข่าวที่ออกมาล่าสุดนั้น พม่าปฏิเสธที่จะซื้อต่อ บ.MiG-29N จากมาเลเซียครับเนื่องจากประเมินแล้วว่าไม่คุ้มค่าและ งป.ไม่พอ
มีความเห็นเพิ่มเติมหรือไม่ครับว่าข้อมูลล่าสุดใน Wiki นี้น่าเชื่อถือแค่ไหนครับ?
.......อาวุธทัพอื่นไม่เท่าไร งงตรงที่ รถถังแบบ ที 72 จนถึงระบบป้องกันอากาศยานแบบ ทอร์เอ็ม 1 ทังกุสก้า และ บัค เอ็ม 2 ซึ่ง จัดหามาในจำนวนที่มันมากจนเหมือนเวอร์เลยนะครับ เอาตังค์จากไหนไปกดมาเนี้ย.
......ซึ่งระบบอาวุธอื่นๆจาก จีน และเกาหลีเหนือ นั้นยังไม่แปลกครับเพราะ 2ประเทศนี้พม่าซี้ปึ๊กก เห็นในข่าวต่างประเทศพม่าบอกไว้ป้องกันชาติมหาอำนาจตะวันตก ดีไม่ดีชาติมหาอำนาจไม่เข้ามาจะกลายเป็นมีอาวุธไว้กร่างประเทศเพื่อนบ้านอ่ะดิ๊
ผมว่าดูมันขัดๆ กันชอบกลนะครับ เท่าพวกเรารู้กันว่า พม่าเองมีจุดอ่อนทางด้านกองทัพอากาศ ที่มีเครื่องบินน้อยลำ ซึ่งถ้าเสริมสร้างจริง ตรงนี้น่าจะมีความสำคัญมากๆ เช่นกันแต่ในข่าวกลับบอกว่าไม่มีงบ ในขณะที่ทางกองทัพบกกลับจะซื้อ T72 หลักร้อย รถหุ้มเกราะหลักพันและยังอาวุธอื่นๆ อีก งานนี้ถ้าไม่ใช่เรื่องโอเวอร์ก็แสดงว่า คนคุมกำลังหลักมาจากกองทัพบกละ
เรื่องปืนใหญ่จากจีนและ SAM รัสเซียนี่น่าจะมีความเป็นไปได้สูงครับ เพราะสำนักข่าวต่างประเทศก็เคยออกข่าว แต่ถ้าว่ากันถึง 60 กว่าระบบนี้ผมว่ามันออกจะเว่อร์ไปนิดครับ
ผมว่าสาเหตุที่เค้าบอกว่าไม่มีงบไปซื้อเครื่องบินขับไล่ส่วนหนึ่งก็น่าจะมาจากภัยคุกคามเฉพาะหน้าในตอนนี้คือชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ มากกว่าครับ ซึ่งเราไม่เคยได้ยินเลยว่าพม่าใช้กำลังทางอากาศต่อเป้าหมายเหล่านี้
งบประมาณทางทหารของพม่าแต่ละปีเป็นจำนวน 50% ของงบประมาณประจำปีทีเดียวครับ กองทัพได้อะไร ๆ เพิ่มตลอดเวลา แต่โรงพยาบาลกำลังขาดแคลนเครื่องมือแพทย์อย่างหนักมาก การศึกษาเข้าขั้นวิกฤติ งานด้านสาธารณสุขเลวร้ายมาก
กองทัพบกเขานี่ถ้าบอกว่าซื้อรถหุ้มเกราะและรถถังมากขนาดนั้นผมคิดได้สองอย่างครับว่า เขาอาจจะทะยอยซื้อในลักษณะของโครงการระยะยาวกับอีกอย่างคือ ซื้อของมือสองที่อยู่ในสภาพใช้การได้ดีมาใช้งาน ปืนใหญ่ก็น่าจะเข้าข่ายทะยอยจักหาเช่นกัน ส่วนพวกจรวดคิดว่าน่าจะยังอยู่ในความสนใจมากกว่า
กองทัพเรือนั้นถ้าจะว่าไปแล้วการจัดหาก็จะมาจากจีนเป็นหลักทั้งระบบก็ว่าได้ ตัวเรือที่ต่อเองได้ก็จะติดตั้งระบบอาวุธจากพี่ใหญ่จีน โดยเท่าที่ดูแล้วเรือขนาดไม่ใหญ่มากนักพม่าจะเน้นที่ต่อเรือเองมากกว่า(อยากให้ไทยคิดได้แบบนี้จัง) นอกจากเรือฟริเกตก็จะจัดหาจากจีนแต่จะมีระบบแบบจีนที่ไม่ทันสมัยมากเท่ากับเรือรบเพื่อนบ้านที่เป็นระบบแบบตะวันตก(แต่ก็พอฟัดได้)
ในส่วนกองทัพอากาศนั้นผมคิดว่าที่พม่ากล่าวว่าเคื่องบิน Mig-29N จากมาเลเซียไม่คุ้มค่าและงบไม่พอนั้นน่าจะมาจากเครื่องบินของมาเลเซียนั้นมีความทันสมัยและราคาสูงกว่า Mig-29 รุ่นอื่นที่มีอยู่ในปัจจุบันก็เป็นได้ ซึ่งตามความคิดผมนั้น พม่าน่าจะเน้นไปที่ Mig-29 รุ่นที่เคยประจำการอยู่แล้วมากกว่าดดยน่าจะเน้นที่เป็นเครื่องมือสอง หรือถ้าไม่ได้ Mig-29 ก็คงจะหันไปดูเครื่องบินจากจีนที่ราคาไม่แพงแต่ทันสมัยขึ้นก็เป็นได้เช่นกัน
ข่าวเรื่องการจัดหา T-72s จากรัสเซียและยูเครน 100 กว่าคัน นี่ผมเคยได้ข่าวมาระยะเวลาหนึ่งแล้วครับ ( ช่วงที่ยังเล่นใน wing 21 )
ก็มีความคิดเห็นเหมือนคุณเด็กทะเลว่าไว้ครับ คือน่าจะจัดหาลักษณะสัญญาระยะยาว ทยอยรับมอบมากกว่า
อันนี้เป็นข่าวจากนิตยสาร irrawaddy ครับ
The Kiev Connection
By William Ashton
April 01, 2004
In May 2003 the Malyshev HMB plant in Kharkov reportedly signed a contract with Rangoon to provide the Burma Army with 1,000 new BTR-3U light armored personnel carriers, or APCs. The APCs will be supplied in component form over the next 10 years, and assembled in Burma.
The size of the deal is estimated to be in excess of US $500 million. It is not known if it will be paid in hard currency, or whether an element of barter trade is involved. Some of Burma?s other arms suppliers?for example Russia and North Korea?have accepted part payment in rice, teak and marine products.
The BTR-3U was jointly developed by the Karkiv Morozov Machine-building Design Bureau, or KMVD, a Ukraine state company, and Adcom Manufacturing Co, an Abu Dhabi-based munitions maker. Although it resembles a Soviet BTR-80, KMVD claims that the BTR-3U represents ?an all-new production vehicle rather than [an] upgrade of the existing in-service vehicle.?
The APC features a German-built Deutz engine and an American-made General Motors Allison automatic transmission. The sale of the BTR-3U to Rangoon may breach US law, which explicitly bans the export of American-made military and dual-use products to Burma?s military.
Before the 1980s, the Burma Army?s APC fleet consisted of obsolete Ferret, Humber and Daimler armored cars provided by the United Kingdom in the 1950s and 1960s. During the 1980s and early 1990s, the regime developed a range of locally designed armored vehicles, built by army engineers using Japanese components. Since the armed forces took back direct political power in 1988, they have purchased about 250 Type-85 and around 55 Type-90 tracked APCs from China.
While designed mainly for counter-insurgency operations, wheeled APCs have been used to help intimidate protesters and counter civil unrest in Burma?s population centers.
The BTR-3U order follows hard on the heels of a shipment of tanks, also from the Ukraine. According to expatriate sources, more than 50 T-72S main battle tanks arrived in Rangoon by ship in mid-2003. They were subsequently transported by road to the Bahtoo military cantonment. The story is corroborated by the fact that in September 2002, the Ukrainian state arms dealer UkrSpetsExport advertised in the Kiev press for Ukrainian-to-English translators to work on a ?Myanmar-Ukrainian tank Project? that involved ?combat usage, operation and maintenance of tank T-72S.?
The Ukrainian T-72s join a large number of relatively modern tanks now in Burma?s order of battle. Before 1988, the only tanks in the army?s inventory were about 20 obsolete Comet medium tanks, provided by the UK in 1954. Since then, the regime has reportedly purchased hundreds of Type-85, Type-80, Type-69 and Type-59 main battle tanks from China. It has also acquired about 105 Type-63 light amphibious tanks, also from China.
In a related development, on February 26 this year a Ukrainian-flagged freighter arrived at Rangoon port carrying military equipment. Strict security measures were implemented to hide the nature of the cargo. The unloading of the ship was reportedly supervised by Deputy Minister of Defense Maj-Gen Aung Hlaing, and Col Aye Myint, the army?s Director of Air Defense. The presence of these two officers at the docks prompted speculation that the cargo consisted of anti-aircraft weapons manufactured in the Ukraine.
In addition, there was a story in the local press in late 2002 that the Ukraine had contracted to provide Burma with some 36D6 radar systems. The terms of the contract and the number of items to be supplied have not yet been revealed.
The Ukraine established diplomatic relations with Burma in January 1999. It has no embassy there, but UkrSpetsExport maintains an expatriate-staffed representative office on the ninth floor of the Royal Nikko Hotel in Rangoon.
The weapons sales seen over the past year are the result of a concerted export drive by the Ukraine, but they are also made possible by Rangoon?s continuing military expansion and modernization program, begun in 1989. Given the close relationship established between Rangoon and Kiev, further arms sales seem likely.
William Ashton writes regularly about security issues in Asia.
อ้อ ท่านที่คิดว่าพม่านำเงินมากมายมาจากไหน
อย่าลืมนึกถึง...ก๊าซธรรมชาติ และทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ .ในพม่านะครับ
เท่าที่ผมได้ลองไปอ่านรายงานหลายๆ ชิ้นรวมถึงความคิดเห็นต่างๆ ในเวปต่างประเทศที่คนพม่ามาโพส (กระทู้ทางทหารแบบเรา) เขาก็ให้ความเห็นว่า เขาให้ความสำคัญกับปืนใหญ่ มากกว่าเพราะลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขา
ส่วนเครื่องบินรบ ความสนใจเขาไปทางรัสเซีย กับอินเดีย โดยเฉพาะอินเดียที่จะอัพเกรดระบบอาวุธและฝีกหัดนักบินให้ กับอิสราเอลก็ด้วย ส่วนจีนนั้นมีเคยปัญหาเรื่องระบบอาวุธและการฝึกหัดนักบิน
ระบบปืนใหญ่อัตราจรล้อยางแบบล่าสุดที่พม่าจะจัดหามาคือ NORA B52 ขนาด 155มม. นั้นเป็นระบบที่พัฒนาโดยประเทศเซอร์เบียครับ ซึ่งพม่าเองก็เป็นลูกค้าสำคัญของอาวุธจากเซอร์เบียมาตั้งแต่สมัยอดีตยูโกสลาเวียแล้วครับ เช่น ปืนใหญ่ภูเขาขนาด 76มม.ไปจนถึง บ.G-4 Super Galab เป็นต้น
นโยบายหลักของกองทัพพม่านั้นจะเน้นไปที่กำลังทางบกเป็นหลักครับซึ่งเหล่าทัพอื่นทั้ง กองทัพเรือ และ กองทัพอากาศจะมีหน้าที่หลักหนึ่งคือในการสนับสนุนกำลังทางบกครับ ซึ่งในส่วนการใช้กำลังทางอากาศต่อเป้าหมายกองกำลังต่อต้านชนกลุ่มน้อยนั้น พม่าก็มีการนำ ฮ. Mi-2 ฮ.W-3 Sokol และ ฮ.Mi-17 ติดปืนกลและจรวดเป็น ฮ.Gunship เข้าโจมตีในบางครั้งครับ และในปฏิบัติการครั้งใหญ่ๆก็มีการใช้ บ.A-5 กับ G-4 เข้าทิ้งระเบิดด้วย แต่พวก กกล.ต่อต้านชนกลุ่มน้อยเองก็มีอาวุธต่อสู้อากาศยานที่ดีพอตัวครับ จึงสร้างความเสียหายให้ฝ่ายพม่าได้อยู่เหมือนกัน(มีรายงานว่ามีการสูญเสีย ฮ.และ บ.ไม่จำนวนหนึ่งครับแต่ไม่มีการยืนยันตัวเลข)
อย่างไรก็ตามดูเหมือนพม่าทำการหลีกเหลี่ยงการใช้กำลังทางอากาศในพื้นที่ใกล้ชายแดนที่ติดกับไทยครับ
ส่วนตัวคิดว่าถ้าพม่าจะซื้ออากาศยานรบใหม่ในช่วงนี้น่าจะสนใจพวก ฮ.โจมตีมากกว่าครับ เพราะเห็นเขาสนใจ Mi-35 Hind รุ่นล่าสุดมานานแล้ว
กองกำลังทางบก ถ้าเบนมาทางชายแดนไทย ผมว่า เราหายใจไม่คล่องเหมือนกัน ดูจากเครื่องยิงระเบิดหลายลำกล้องอัตราจร และปืนใหญ่อัตราจรด้วย มีหลายระบบ รวมทั้งรถหุ้มเกราะเป็นร้อยแล้วใ นขณะเดียวกัน การรบบนภูเขา เขาน่าจะมีประสบการณ์มากกว่าเรา เพราะเขารบกับชนกลึ่มน้อยมาตลอด ถ้าข่าวกรองเขาแม่น และมี GPS ช่วยชี้เป้าด้วย ก็........
ส่วนทะเลอันดามัน พี่เขาจะเอาเรือ 45 เมตร ติด C-802 4ท่อ เล่นเราได้เหมือนกัน เพราะข้อมูลก็บอกว่า พม่าต่อเรือพวกนี้เอง สมมุติ 45 เมตร 20 ลำ ติด C - 802 หมด นี่ เรือเราฝั่งอันดามัน คง...........
ยิ่งข่าวช่วงนี้มีปัญหาทางชายแดนบ่อย อาจจะมีการลองของกันบ้าง เพราะเรายังยืนอยู่บนเส้นทางสุภาพบุรุษ.....มักจะถูกนักเลงหัวไม้คว้างก้อนหินใส่หลังคาบ้านเล่นประจำ เรายังใจดีกับเขาบ่อยๆ ยังไม่รวมกับกองกำลังที่มาหากิน ในกทม สมุทรสาคร - กาญ -
ระนอง - ปัตตานี ไม่ทราบว่าถ้าเกิดอะไรขึ้น กองกำลังเขาในประเทศเรา จะสร้างปัญหาหรือไม่ และเราจะควบคุมอยู่หรือไม่ คิดๆแล้วมันเข้าหลักการ หอกข้างแคร่นะ ไม่ควรไว้ใจเลย เพราะที่ผ่านมาไม่เตยเห็นพม่าบอกว่าไว้ใจไทยเลย ทุกๆสมัยที่ผ่านมา
ผมไม่เชื่อว่าพม่าไม่สนใจจะพัฒนากองทัพอากาศของตนเอง อาจจะมีอะไรที่เราคาดไม่ถึงก็ได้ เพราะว่าเราอ้วนเกินไป..................................
รถถังรถหุ้มเกราะไม่น่ากลัวเท่าใดน่ะครับ ทหารราบหากมีฮ.โจมตีสนับสนุนและจรวดต่อสู้รถถังก็น่าจะสู้ได้ ตามความคิดของผมน่ะ
แต่หากพม่ามีปืนใหญ่อัตราจรกับระบบจรวดหลายลำกล้องและSAMต่างๆ ดังท่านAGG-th กล่าว ทัพภาคที่ 3 ของเราจะเอาอะไรไปสู้ครับ เสียวๆ จริงๆ
และที่หน้าน่ากลัวกว่าก็ที่พม่ามีเรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถี ถึง 5 ลำ ติด C-802ลำละ 4นัด เรือฟรีเกตของทร.ที่ไปประจำฝั่งอันดามันไม่น่าจะเอาอยู่น่ะครับ ของเขาหมัดยาวแถมมีถึง 5 ลำ และบนเรือยังมีAK-230 ขนาด30มม. อีกถึงลำละ2แท่น มันก็ระดับCIWS ไอ้C-801ของเราจะทะลุไปได้หรือไม่ไม่รู้น่ะ.........น่ากลัวน่ะลูกประดู่ เห็นที่ทร.ต้องอัพเกรดเรือหลวงชุดเจ้าพระยาให้ใช้C-802ได้ และน่าจะหาSAM เช่นLY-60 มาติดตั้งด้วยคงดีไม่น้อย ( ในเมื่อเราใช้เรือชั้นเจียงหูของจีนแล้ว ก็ปรับปรุงเรือตามแบบที่กองทัพเรือจีนก็น่าจะไม่ยากน่ะครับ ในเมื่อมีตัวอย่างแล้ว )
พม่าไม่ต้องกลัวเค้าหรอกครับ ไม่ใช่เค้าไม่เก่ง เค้าเก่งแต่เค้า ปกครองแบบ กูเองธิปไตย สายทหารด้วย เค้าไม่ทำอะไรที่คิดว่าทำให้ตำแหน่งเค้าไม่มั่นคง บุกไทยเมื่อไหร่ พี่กันฟ้องยูเอ็น บินมาทิงบอมหลังบ้านแน่นอน แถมบุกแล้วก็คงขาดรายได้ไปหลาย ด้วย
ปืนใหญ่ เรือ ผมไม่กลัว ผมกลัว แรงงานต่างด้าวกับยาบ้า มากหว่า 2 อย่างนี้ทำคนไทยตายไปเยอะกว่าปืนใหญ่กับเครื่องบินซะอีก
ก็จริงอยู่คุณ 4+ แต่เราก็ควรยืนอยู่บนขาของตนเอง ไม่ใช่คิดแต่จะพึ่งอเมริกันกับUN วันหนึ่งหากเราหมดประโยชน์ มีหรือที่อเมริกันกับUnจะมองเรา
ทหารบกพม่า จากป้ายที่ติดที่แขนเสื้อเข้าใจว่าเป็นหน่วยทหารปืนใหญ่ครับ
ปืนที่ใช้ในการประกอบการเดินสวนสนามนั้นน่าจะเป็น MA-1 ขนาด 5.56มม. ดาบปลายปืนนั้นดูแล้วคิดว่าเป็นของปลอมทำจากไม้ครับ
ลองเข้าไปดู www.tanksforsale.co.uk นาครับใครที่ไม่เชื่อว่าพม่าจะมีเงินซื้อ t-72 เป็นร้อยคัน น่าจะเข้าใจดีครับ ขนาดเอกชน ฝรั่ง (อังกฤษ หรือ สหรัฐ) เขายังขายให้ โครมๆในราคาคันละแค่ 5หมื่นเหรียญยูโร ในสภาพวิ่งได้ (แต่ถอดอาวุธออกแล้ว) นอกจากนั้น ยังมีทั้งยานเกราะล้อยางและสายพาน อย่างพวก bmp หรือ bmd อีกเป็นโขยงที่พร้อมจะขายให้กับใครก็ได้ครับในราคาระหว่าง 3000-5000 เหรียญยูโรเท่านั้นเอง (ตามสภาพ)
อันว่าเจ้า ที-72 ในสายตาของชาติ กลุ่มยุโรปตะวันออก หรือ วอซอร์แพคเดิมนั้น เขาจัดเป็นอาวุธล้าสมัยแล้วครับ (ปัจจุบันเขาใช้ ที-80/84/90 )เขาจึงเอา ที-72มาเลหลังขายถูกๆ ทั้งยานเกราะ บีเอ็มพี นี่ก็ล้าสมัยเหมือนกัน แถมชาติในยุโรปตะวันออกหลายๆชาติ ยังมีโรงงานผลิต ยานเกราะพวกนี้รวมทั้งที-72ในประเทศตัวเองด้วย ทั้ง ยูเครน เชคโก. โปแลนด์ โรมาเนีย และอื่นๆ นี่ถ้าพม่าเขาจะซื้อ ยกโรงงาน ประเทศพวกนี้ก็พร้อมที่จะขายให้ครับ เพื่อจะเอาดอลล่าห์ เข้าประเทศ เพื่อซื้ออาวูธอื่นๆที่ทันสมัยต่อไปครับ ยิ่ง ประเทศ เชค ตอนนี้เข้ากันนาโต้แล้ว จึงมีอาวุธเหลือใช้บานเบอะมากกว่าชาติอื่นๆซักหน่อย ทั้งรถถัง ที-72หรือกระทั่งเครื่องเจ็ตขับไล่ มิก-21 ถ้าใครมีเงินก็สามารถซื้อหาได้ครับ ในราคายิ่งกว่ามิตรภาพซะอีก
หลังปี90 หลังความล่มสลายของชาติคอมมิวนิสต์ยุโรป อาวุธในค่ายคอม.ที่เคยสะสมอย่างมากมายก็เริ่มระบายมาสู่ตลาดโลกครับทั้งใต้ดินและบนดินอย่างในหนัง lord of valor แสดงเอาไว้แหละครับ ดังนั้น การเสริมสร้างอาวุธขนานใหญ่ของพม่าจึงไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ครับ ทั้ง รถถัง เตรื่องบิน หรือ เรือรบ นี่ถ้า มิก-29 รุ่นเก่าของรัสเซียยังมีขายอยู่ พม่าก็คงได้เครื่องเพื่มครับ แต่ มีก-29 ของมาเลย์ พม่าคงไม่เอาเพราะแพงเกินไป (มาเลย์ จ่ายไปประมาณกว่า20ล้านยูเอส ต่อเครื่อง แต่ของ รัสเซียที่พม่าซื้อ ตกเครื่องละไม่ถึง10ล้านยูเอส) ไม่แน่ครับในอนาคตดีไม่ดีเราอาจเห็น มิ-24 ไฮน์ ติดเครื่องหมายพม่า ซ้อมรบคู่กับ ที-72 ก็ได้ครับ ใครจะรู้
ทหารในภาพนี้เป็นทหารอากาศครับ สังเกตุได้ชัดเจนว่าชุดลายพรางนั้นไม่เหมือนของกองทัพบก
ทหารพม่าที่เดินสวนสนามในปีนี้นั้นส่วมหมวกสนามแบบเดียวกับที่ทหารบกไทยกับทหารสหรัฐฯใช้ในปัจจุบันทั้งนั้นเลยครับ
สมัยสหภาพโซเวียตเพิ่งล่มสลาย ตอนนั้นผมดูข่าวทีวี เขาเอา T-72 จากคลังมาขายกันคันละ 1 ล้านเหรียญสหรัฐ ( ตอนนั้นคือ 25 ล้านบาทไทย ครับ )
พม่าเปิดสัมปทาน ก๊าซธรรมชาติ ตอนนี้พ่อค้าอาวุธหลายๆ ชาติ ใส่เกียร์เดินหน้าเข้าหากันใหญ่ล่ะครับ
แถมเพลงปลุกใจของพม่าภาคภาษาอังกฤษครับ
The Stronger the Army, the Stronger the Nation will be
28k
http://www.mrtv3.net.mm/video8/tsnw1/28.ram
128k
http://www.mrtv3.net.mm/video8/tsnw1/128.ram
(ใช้ Real Player เปิดครับ)
เอ่อ รูปปั้น 3กษัตริย์มี พระองค์ไหนมั่งฮะ
น่าจะมี บาเยนนอง พระองค์หนึ่งแล้วล่ะ
มหาราชในประวัติศาสตร์ของพม่าก็มี
พระเจ้าอโนรธา, พระเจ้าบุเรงนอง และ พระเจ้าอลองพญา ครับ ซึ่งคงเป็นรูปปั้นของสามองค์นี้ละครับไม่หนีไปจากนี้หรอก(สององค์หลังนี้เคยมาตีไทยแล้วทั้งนั้น)
พม่ายกระดับกองทัพได้น่ากลัวมาก โดยเฉพาะเรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถีชุดนี้ ทร.ไทยสมควรปรับปรุงเรือที่มีอยู่ อย่างน้อยก็ควรปรับปรุงร.ล.ชุดเจ้าพระยาให้ติดอวป.ที่มีขีดความสามารถพอๆกับC-802ให้ได้ ส่วนเรื่องการจัดหาเรือฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศ ถึงได้มาก็ไม่น่าจะเกิน 2 ลำ ภายใต้งบจำกัดแบบปัจจุบัน บวกกับเรือฟรีเกตติดอาวุธปล่อยที่มีอยู่ 10ลำ และโอพีวีชุดปัตตานี ( หากอนาคตได้รับการติดอวป. )ก็มีรวม 14 ลำ อย่างน้อย1/3 ก็ต้องได้รับการซ่อมทำตามวงรอบ ดังนั้นเรือที่พอจะออกปฎิบัติการได้ก็คงมีประมาณ 8 - 9 ลำ ตามวงรอบ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในอ่าวไทย แล้วกว่าเรือเหล่านี้จะอ้อมสิงค์โปรไปฝั่งอันดามันก็หลายวัน ผมว่าการทร.มีเรือฟรีเกตติดอาวุธปล่อยในฝั่งอันดามันแค่ 1 ลำดังปัจจุบัน ไม่น่าจะเพียงพอน่ะครับในการสะกดเรือของพม่า ทร.คงต้องขยับขยายอะไรเร็วๆนี้แน่ หรืออาจจะต้องพิจารณาติดตั้งอวป.ต่อต้านเรือผิวน้ำให้ฮ.ที่มีอยู่ทั้งSeahawkและLynxให้เร็วกว่าแผนเดิม ( หากมี ) ได้แล้ว และอาจถึงขั้นต้องจัดหาฮ. Lynxเพิ่มเติมเร็วขึ้น เพราะ C-801บนเรือชุดเจ้าพระยาซึ่งปกติเรือชุดนี้จะถูกส่งไปประจำฝั่งอันดามันไม่น่าจะเอาเรือของพม่าที่มีหมัดที่ยาวกว่าแบบC-802อยู่
ส่วน F-27-200 ติดฮาร์พูนของเรา ปัจจุบันบินได้กี่ลำ ผมไม่ค่อยแน่ใจเกี่ยวกับอัตราใช้งานจริง ทร.มีหลายเครื่องอาจเหลือบินได้แค่หนึ่งเครื่องหรือไม่ ไม่ทราบ คือผมพยายามจะตั้งคำถามว่า หากเกิดการีเรือของพม่ายิงC-802 จมเรือฟรีเกตของกองเรือภาคที่ 3ลง เรือที่เหลือคงไม่สามารถจะทำอะไรได้ คงต้องรอกำลังเสริมจากฝั่งอ่าวไทยเท่านั้น SeahawkกับLynx คราวว่าปัจจุบันคงปล่อยอวป.ต่อต้านเรือผิวน้ำไม่ได้ คงเหลือแค่ F-27-200. ที่คงจะเข้าไปในย่านการปะทะเร็วสุดกว่าเรือจากฝั่งอ่าวไทย แต่จริงๆแล้วF-27กว่าจะพร้อมบิน เรือของกองเรือภาคที่ 3 คงโดนจมหมดก่อน ซึ่งถึงทอ.จะมีF-5อยู่ที่กองบิน7 ผมก็ไม่แน่ใจว่าสมัยนี้ F-5จะบินไปทิ้งระเบิดใส่เรือแบบที่A-4ของอเจนตินาทิ้งใส่เรืออังกฤษได้ไหม กว่าจะโดนสวนก่อน