|
|
|
สงครามครั้งนี้เริ่มมาจากตอนต่อของหนัง 300 เปอร์เซียได้นำกองทัพบุกเข้าสู๋เมือง Athen ชาวเมือง Athen ตัดสินใจทิ้งเมืองหนีไปอาศัยอยู่บนเรือ และตัดสินใจแบ่งหน้าที่กับ Sparta โดยให้ Sparta ดูแลเรื่องการรบทางบก ส่วน Athen ดูแลเรื่องทางน้ำ กองทัพเปอร์เซ๊ยเมื่อยกทัพเข้าถึง Athen นั้นก็เผาเมืองทิ้งทันที และคิดที่จะไปรบกับทาง Sparta ต่อ แต่ติดปัญหาที่ว่าชาว Athen ดันหนีลงเรือไปซะงั้น ถ้าปล่อยทิ้งไว้ก็คงไม่เป็นผลดีแน่ สมมติว่า นำทหารไปตีสปาร์ต้า
ชาว Athen ก็คงมาตอดหลัง Xexes ก็เลยตัดสินใจแบ่งกำลังส่วนหนึ่งยกทัพไปทาง Spata ประมาณ 120,000-200,000 ก็ปะทะกับชาวกรีก 30,000 + Sparta 10,000 ที่เห็นในตอนท้ายของหนัง
ส่วนที่เหลือตรึงกำลังไว้รอบๆ Athen แล้วก็ระดมกองทัพเรือเข้าโจมตีเรือรบของ Athen ปรากฏว่ากองทัพเปอร์เซียแพ้ยับเยินที่สมรภูมิซาลามีส
Xexes เห็นว่าไม่มีทางเลือกเพราะกองทัพเรือถูกทำลาย แล้วจะเอาเรือรบที่ไหนมาคุ้มกันเรือที่ส่งเสบียงดูแลหทารเกือบ 300,000-500,000 คนได้ ว่านั้นก็รีบยกทัพกลับไป
,
หลังจากนั้น Athen ก็ได้รีบฟื้นฟูบ้านเมืองตัวเอง ก่อตั้งสหพันธ์เกาะเดลอสขึ้น โดยบอกให้รัฐอื่นๆ ส่งกำลังทหารไม่ก็เงินมาให้ Athen สร้างกองทัพเรือ เพราะ Athen คิดได้ว่า เอ.... ถ้าเรามีกองทัพเรือยิ่งใหญ่แล้ว พวกเปอร์เซ๊ยก็คงไม่กล้ายกทัพมาโจมตีอีก เพราะการจะขนทหารเป็นแสนๆได้นั้นต้องเดินทางมาทางเรือ....ดังนั้นเราก็ชิงยกทัพไปโจมตีเรือที่ขนทหารมาซะก็สิ้นเรื่อง....แต่ในระยะหลังนั้น Athen เริ่มทำตัวเป็นพี่ใหญ่ เอาเงินต่างๆที่ได้มานั้นมาสร้างเมืองให้สวยสดงดงาม เหมือนที่เราเห็นในปัจจุบัน
ทาง Sparta เองก็ตั้งสหพันธ์เพโลนีเซียนขึ้น เพื่อสร้างกองทัพบกที่ยิ่งใหญ๋ Sparta ก็ทำตัวเป็นพี่เบิ้มเหมือนกัน
ทั้งสองสหพันธ์นี้ต่างมีข้อตกลงที่ว่า ถ้ารัฐใดที่เป็นสมาชิกถูกรุกราน รัฐอื่นๆจะต้องเข้าช่วยเหลือมาชิก และประกาศสางครามต่อรัฐที่มารุกรานนั้น
เอาหละสิครับ ทั้ง Athen และ Spata ก็ทำตัวเป็นคู่แข่งกันมาเรื่อยๆ สุดท้ายสงครามมันก็ระเบิดจนได้ เพราะอยู่ดีๆก็มีรัฐหนึ่งของสหพันธ์เกาะเดลอส(ฝ่ายเอเธนส์) เกิดเซ็งพี่เบิ้มของตัวเองอย่างรุนแรง แมร่งเอาเงินของตรูที่อุตส่าห์จ่ายให้ไปพัฒนากองทัพเรือ ดันเจือกเอามาพัฒนาเมืองของตัวเองอยู่ได้ ก็เลยตัดสินใจลาออกไปอยู่กัยสหพันธ์เพโลนีเซียนของสปาร์ต้าดีกว่า
เท่านั้นเองเอเธนส์โกรธเป็นพืนเป็นไฟ และคิดว่า .... แย่แล้ว ถ้าตรูปล่อยให้ไอ้นี่มันลาออก เดี๋ยวสมาชิกคนอื่นมันจะเอาเป็นแบบอย่าง แล้วตรูจะเอาเงินที่ไหนมาพัฒนาสร้างอาคารที่ยิ่งใหญ๋+สวยสดงดงามหละ.....ว่าแล้วก็ส่งทัพบุกรัฐนั้นทันที
Spata อ้าวไอ้ Athen นี่ ทำงี้ได้งาย ก็รัฐนั้นมันไม่พอใจลื้ออะ มันอยากมาอยู่กะอ๊วะ ลื้อจะมาบังคับกันอย่างงี้ม่ายได้ ถ้าลื้อไม่ถอนทหารออกจากรัฐนั้น ลื้อเจอสงครามแน่!!!!!
Athen คิดว่า Sparta แมร่งปัญญาอ่อนป่าววะ ตรูมีกองทัพเรืออันเกรียงไกรอยู่นะเว่ย เดี๋ยวก็เอาเรือของตรูไปปิดท่าเรือของเอ็งซะหรอก.....และนี่ก็เป็นเรื่องในสหพันธ์ตรู เอ็งอย่ามาเจือกหาเรื่องเดือดร้อนใส่ตัว....เองจะดีกว่า
ว่าแล้ว Spata ก็โมโห ที่ Athen สบประมาท ตัดสินใจนำสหพันธ์เพโลนีเซียนประกาศสงครามกับสหพันธ์เกาะเดลอสซะเรย
สงครามครั้งนี้ยืดเนื้อยาวนานเกือบ 20 ปีเพราะ
Athen ใช้ยุทธวิธีนำทัพเรือไปปิดปากอ่าว Sparta ส่วนกองทัพบกก็ตั้งรับอยู่ในเมือง
Sparta ก็ยกทัพบกมาล้อมเมือง Athen ก็ตะโกนว่า เฮ้ ลื้ออะมารบกะอ๊วะซะดีๆ
Athen ตอบกลับไปว่า ออกมารบให้โง่ดิ ว่าแล้วพี่ท่านก็ป๊อดอยู่ในแต่กำแพงเมือง
สาเหตุเพราะว่า Sparta ได้ชื่อว่ามีกองทัพบกที่เก่งกาจที่สุดในกรีก แต่อ่อนทางด้านกองทัพเรือ
ส่วน Athen นั้นก็มีกองทัพเรือที่เก่งกาจที่สุดในเกรีกเช่นกัน แตอ่อนทางด้านกองทัพบก
(การรบย่อยๆไม่ขอพูดถึง)
จนกลายเป็นการแข่งความอดทนซะงั้น สถานการณ์การรบคลอบคลุมเกือบทั่วทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
การรบเริ่มเปิดฉากจริงๆจังขึ้นเมื่อ ทาง Athen ประมาทนำทัพเรือไปรบแถบเกาะซิซิลี สุดท้ายแพ้ฝ่ายSpartaยับเยิน
Sparta ยิ้มอย่างผู้มีชัยชนะ 5555 ลื้อเสร็จอัวะแน่ ว่าแล้วก็ยกทัพบุกตี Athen อย่างไม่คิดหน้าคิดหลังเช่นกัน สุดท้ายก็เสียกำลังทหารไปมหาศาลเหมือนกัน แล้ว Athen ก็ยังไม่แตก
สุดท้าย การรบก็ยุติลง
เมื่อ Athen ขอยอมแพ้ เพราะว่ากองทัพเรือถูก Sparta ทำลายไปที่เกาะซิซิลีแล้ว เศรษฐกิจ Athen ก็ทรุด เรือคุ้มกันเส้นทางการค้า + เสบียงก็ไม่มี แล้วตรูจะเอาอะไรไปสู้อะ
ทางด้าน Sparta ก็เหลือกำลังทหารเพียงหยิบมือเดียว ก็ok ลื้อยอมแพ้ก็ดีเหมือนกัน แต่อั๊วะก็ไม่รู้จะไปปกครองเมืองลื้อยังไงอะ มีหทารเพียงแค่เนี้ย ลำพังแค่เมือง Sparta ก็มีพวกทาสให้หนักใจอยู่แล้ว ว่าแล้วก็ถอยทัพกลับไป
สุดท้ายสงครามครั้งนี้ ไม่มีผู้ใดชนะเลย ผู้แพ้คือชาวกรีกทั้งมวล ซึ่งตรงกับหลักพิชัยสงครามซูนวู
"ที่ว่าการทำศึกสงครามมยืดเยื้อ จะเป็นผลดีต่อประเทศชาตินั้น ไม่เคยมี!!!"
ซึ่งสงครามครั้งนี้ผู้ที่แอบยิ้ม หัวเราะกร๊ากก็คือ นครรัฐทีป(Thebes )นั่นเอง ทำให้ชื่อนครรัฐทีปแห่งนี้โด่งดังทันที ก้าวขึ้นสู่เป็นมหาอำนาจอำดับหนึ่งในกรีกในช่วงนั้น สปาร์ต้าก็โมโห อ้าวไอ้เวงนี่ รอคอยเก็บผลประโยชน์ได้งาย ลื้อต้องล่มจมไปกับอ๊วะด้วยสิ ว่าแล้วก็ยกทัพที่เหลือไปบุกตี นครรัฐทีปเสียทหารไปมากมายพอสมควร ศึกนี้จบโดยการเจรจาสงบศึก Sparta ผู้ชนะในสงครามเพโลนีเซียนก็ยิ่งมีทหารน้อยเข้าไปอีก
ผู้ทีหัวเราะคนสุดท้ายดังที่สุดก็คือ พระเจ้าฟิลิปแห่งมาซิโดเนีย(พ่อของ Alexander )ที่ยาตราทัพเข้ามายึดกรักได้อย่างรวดเร็ว เพราะไอ้พวกนี้แมร่งรบกันจนเสื่อมโทรมไปหมดแล้ว
นครรัฐ Sparta อยู่มาได้เรื่อยๆ จนกระทั่งรู้สึกว่าภายหลังจะโดน Pyrrhus แห่ง Epirus ยกทัพเข้าโจมตี (ยุคหลัง Alexander) แล้วก็ถูกยึดครองไป
รูปปลากรอบ
ที่นี่ คือ เทอร์โมพิลลาย(THERMOPYLAE)ชายฝั่งกรีกแผ่นดินใหญ่ เมื่อ 480ปีก่อนคริสตกาล...
...ทหารกรีก 7000คน นำโดยกษัตริย์ลีโอนีดาส และทหารสปาทันอีก300คน เข้าต่อสู้จากการรุกราน
ของทหารเปอร์เซียร์ 250000คน(แค่ สองแสนห้าหมื่นคนเองครับ แหะๆ)ซึ่งนำโดยกษัตริย์เซอร์ซิส
ความดำรงอยู่ของชนชาติกรีก ขึ้นอยู่กับสงครามครั้งนี้
เราจะได้ดูขบวนรบของกองทหาร การต่อสู้ และชัยชนะ ใน Decisive Battles(อีกแล้ว
ครับท่าน-เบื่อกันหรือยังอะนะ หรือแอบไปเล่นBIกันอยู่ อิอิ)
ขอบคุณมากครับได้ความรู้มากเลย
""อเล็กซานเดอร์มหาราช" ได้เป็นผู้นำกองทัพชาวกรีกไปบดขยี้ชาวเปอร์เซียถึงถิ่น จนชนชาติเปอร์เซียต้องดับสูญลงอย่างถาวร"
ชาติเปอร์เซียดับสูญ แต่ชนชาติเปอร์เซียที่เป็นคนเปอร์เซียจริงๆ ยังอยู่ครับไม่ได้ถูกล้างเผ่าพันธ์ไปไหน ที่เป็นชาวเปอร์เซียกันเกือบทั้งรัฐก็คือ ประเทศอิหร่านไงครับ
คัดลอกเขามาครับคุณ ??? ขอเรียกว่าคุณงงแล้วกัน เอามาให้อ่านเพื่อความรู้ครับ อาจจะไม่ถูกต้องร้อย เปอร์เซ็นต์ ไม่ใช่จดหมายเหตุ อย่าคิดมากซิครับ คนบ้านใกล้กันเอง ม.พิเชษฐ์ คนร่มเกล้าเหมือนกัน อีกอย่างเอามาให้ดูว่าทำไมหนังเรื่องนี้ มาฉายตอนนี้ครับ ช่วงอิหร่านกำลังจะโดนไม่ใช่น้อย ชาวเปอร์เซียจริงๆกระจัดกระจายไปตามประเทศต่างๆเช่น อิหร่าน อัฟกานิสถาน ทาจิกิสถาน อุซเบกิจสถาน บาห์เรน ประเทศเหล่านี้พูดภาษา ดารี แต่ที่คุณว่า
ชาติเปอร์เซียดับสูญ แต่ชนชาติเปอร์เซียที่เป็นคนเปอร์เซียจริงๆ ยังอยู่ครับไม่ได้ถูกล้างเผ่าพันธ์ไปไหน ที่เป็นชาวเปอร์เซียกันเกือบทั้งรัฐก็คือ ประเทศอิหร่านไงครับ
ก็ถูกครับ
ถาม : ?ชนชาติ? หมายถึงอะไร?
ตอบ : ?ชนชาติ? หมายถึง กลุ่มชนที่มีเชื้อชาติหรือกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกัน และมีวัฒนธรรมเป็นแบบเดียวกัน. อาจจะอาศัยอยู่ในประเทศเดียวกัน หรือแยกย้ายกันอยู่ในหลายประเทศก็ได้ เช่น ชนชาติจีนซึ่งอยู่ในประเทศจีนและประเทศอื่น ๆ. ปัจจุบัน ชนชาติไทยก็มีอยู่ในสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย สาธารณรัฐประชาชนจีนด้วย เป็นต้น.
ที่มา : บทวิทยุรายการ "รู้ รัก ภาษาไทย" ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๖
ขอบคุณที่ทำให้ผมได้ค้นคว้าเพิ่มขึ้น
ผมก๊ดูแล้วหนุกดีแต่อยากให้ทุกคนรู้ไว้อย่างนะครับคนไทยก็เก่งแต่ที่ไปไม่ถึงไหนเพราะขัดขากันเองจนกว่าจะเกิดเหตุร้ายจริงคนไทยถึงจะสามัคคีกันสักพักก็ขัดขากันใหม่
อยากให้ทุกคนสามัคคีกันนะครับ
ชาติไทยก้าวไกล เราจะไป"ครองโลก"
ก็ต้องขอขอบคุณ คุณ piyabhut สำหรับเกร็ดประวัติศาสตร์ที่หยิบยกมาเล่าสู่กันฟัง ครับ
ผมเองก็ได้มีโอกาสดูหนังเรื่องนี้แล้วเช่นกันครับ
ส่วนตัวก็ไม่มีอะไรมากครับ ถ้าว่ากันที่ตัวหนัง ก็ขอบอกว่าสนุกและชอบ ครับ
ถ้าให้ดูแล้วคิดอะไร ก็แค่สั้นๆ ว่า ถึงเวลาจริงๆ ก็ขอให้เราสู้ให้ได้อย่างเขา แหละครับ
| |||||
คำขวัญ: เปอร์เซีย: Esteqlāl, āzādī, jomhūrī-ye eslāmī ("Independence, freedom, (the) Islamic Republic") | |||||
เพลงชาติ: Sorūd-e Mellī-e Īrān | |||||
เมืองหลวง | เตหะราน | ||||
เมืองใหญ่สุด | เตหะราน | ||||
ภาษาราชการ | ภาษาเปอร์เซีย | ||||
รัฐบาล | สาธารณรัฐอิสลาม | ||||
ผู้นำสูงสุด ประธานาธิบดี |
อาลี คาเมเนอี มาห์มูด อาห์มาดีเนจาด | ||||
การปฏิวัติ ประกาศ |
11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 | ||||
เนื้อที่ - ทั้งหมด - พื้นน้ำ (%) |
1,648,195 กม.² (อันดับที่ 17) 636,372 ไมล์² 0.7% | ||||
ประชากร - 2548 ประมาณ - 2539 - ความหนาแน่น |
68,467,413 (อันดับที่ 18) 60,055,488 41/กม² (อันดับที่ 128) 106/ไมล์² | ||||
GDP (PPP) - รวม - ต่อประชากร |
2548 ค่าประมาณ 560.348 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 19) 8,065 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 74) | ||||
HDI (2549) | 0.736 (อันดับที่ 99) ? กลาง | ||||
สกุลเงิน | เรียลอิหร่าน (ريال) (IRR ) | ||||
เขตเวลา - ฤดูร้อน (DST) |
(UTC+3.30) (UTC+3.30) | ||||
รหัสอินเทอร์เน็ต | .ir | ||||
รหัสโทรศัพท์ | +98 |
ประเทศอิหร่าน (ภาษาเปอร์เซีย: Īrān, ایران) เป็นประเทศในตะวันออกกลาง ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งช่วงก่อนปี พ.ศ. 2478 ชาวตะวันตกเรียกว่า เปอร์เซีย (Persia)
อิหร่านมีพรมแดนทางทิศตะวันออกติดต่อกับปากีสถาน (909 กิโลเมตร) และอัฟกานิสถาน (936 กิโลเมตร) ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับเติร์กเมนิสถาน (1,000 กิโลเมตร) ทิศเหนือจรดทะเลแคสเปียน ทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดต่อกับอาเซอร์ไบจาน (500 กิโลเมตร) และอาร์เมเนีย (35 กิโลเมตร) ตุรกี (500 กิโลเมตร) และอิรัก (1,458 กิโลเมตร) ส่วนทิศใต้จรดอ่าวเปอร์เซียและอ่าวโอมาน ในปี พ.ศ. 2522 การปฏิวัตินำโดยอายาตอลลาห์ โคไมนี (Ayatollah Khomeini) ทำให้มีการก่อตั้งเป็น สาธารณรัฐอิสลามโดยโค่นล้มราชวงศ์ปาห์เลวีที่ปกครองภายใต้เทวาธิปไตย (theocratic Islamic republic) ทำให้ชื่อเต็มของประเทศนี้ในปัจจุบันคือ สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (Islamic Republic of Iran, جمهوری اسلامی ایران)
สารบัญ[ซ่อนสารบัญ] |
ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ซึ่งประกาศใช้เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) และแก้ไขเพิ่มเติมเมื่อปี พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) กำหนดให้อิหร่านเป็นสาธารณรัฐอิสลาม โดยมีโครงสร้างดังนี้
ประมุขสูงสุดของอิหร่านคนปัจจุบันคือ อาลี คาเมเนอี (เกิดเมื่อ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2482) เป็นผู้นำสูงสุดทั้งฝ่ายศาสนาจักรและอาณาจักร
เป็นตำแหน่งที่ได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนทุก ๆ 4 ปี และจะได้รับเลือกตั้งได้ไม่เกิน 2 สมัย ทำหน้าที่หัวหน้าฝ่ายบริหาร ถึงแม้ประธานาธิบดีจะได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนก็ตาม แต่อาจถูกถอดถอนจากตำแหน่งโดยประมุขสูงสุดได้
มีตำแหน่งรองประธานาธิบดี 6 คน และคณะรัฐมนตรี 20 คน ที่ได้รับความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ประกอบด้วยสมาชิกที่ได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนทุก ๆ 4 ปี จำนวน 290 คน ทำหน้าที่ออกกฎหมายและควบคุมฝ่ายบริหาร
ประเทศอิหร่านแบ่งออกเป็น 30 จังหวัด (provinces - ostanha) แต่ละจังหวัดปกครองโดยผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งมาจากการแต่งตั้ง (استاندار: ostāndār)
ประเทศอิหร่านเป็นประเทศที่มีประชากรมาก
รัฐ ชาติ และประเทศ
ความหมายของรัฐ ชาติ ประเทศ
?รัฐ? หมายถึง ชุมชนทางการเมืองของมนุษย์ อันประกอบด้วยดินแดนที่มีขอบเขตแน่นอน มีประชากรอาศัยอยู่ในจำนวนที่เหมาะสม โดยมีรัฐบาลปกครองและมีอำนาจอธิปไตยของตัวเอง
?ชาติ? หมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในทางวัฒนธรรม และมีความผูกพันกันในทางสายโลหิต เผ่าพันธุ์ ภาษา ศาสนา วัฒนธรรม ตลอดจนมีประสบการณ์ทางประวัติศาสตร์ร่วมกัน หรือมีวิวัฒนาการทางการเมืองการปกครองร่วมกัน เช่นคำว่า ?ชาติไทย?
?ประเทศ? ความหมายกว้าง หมายรวมถึงดินแดนที่มีฐานะเป็นรัฐหรือไม่มีฐานะเป็นรัฐ แต่โดยสรุปแล้ว คำว่า ?ประเทศ? ตามกฎหมายระหว่างประเทศ หมายถึง ดินแดน อาณาเขต และสภาพภูมิศาสตร์ เป็นต้นว่า ความอุดมสมบูรณ์ ดินฟ้าอากาศ
แม่น้ำภูเขา ทะเล ป่าไม้ ฯลฯ เช่น ประเทศไทย
องค์ประกอบของรัฐ
1.ประชากร (Population) หมายถึง มนุษย์ทุกคนที่อยู่ในอาณาเขตของรัฐถือว่ามีฐานะเป็นส่วนของรัฐโดยอัตโนมัติสิ่งที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับประชากรก็คือ
แน่นอนแต่ควรจะมีมากพอที่จะกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองและผู้อยู่ใต้ปกครองได้
2.ดินแดน (Territory) มีข้อสังเกตดังนี้คือ
3.รัฐบาล (Government) คือ องค์กร หรือหน่วยงานที่ทำหน้าที่ปกครองและบริหารภายในโดยเป็นผู้กำหนดนโยบายและนำนโยบายไปปฏิบัติ เพื่อจัดระเบียบ
ทางสังคม และดำเนินทุกอย่างเพื่อรักษาผลประโยชน์ของรัฐ รัฐบาลจึงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองรัฐ
4.อำนาจอธิปไตย (Sovereignty) เป็นองค์ประกอบประการสุดท้ายที่สำคัญของรัฐ อำนาจอธิปไตย คือ อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ อำนาจอธิปไตย
มีอยู่ 2 ลักษณะ คือ อำนาจอธิปไตยภายใน (Internal Sovereignty) หมายถึง การที่มีอำนาจที่จะปกครองตนเองและมีอำนาจสูงสุดที่จะดำเนินการใด ๆ ในประเทศ
อย่างมีอิสระ ปราศจากการควบคุมจากรัฐอื่น อำนาจอธิปไตยภายนอก (External Sovereignty) หมายถึง การมีอิสระ มีเอกราชสามารถจะดำเนินความสัมพันธ์กับ
ประเทศอื่น ๆหรือกล่าวกันอีกอย่างหนี่งว่าเอกราชก็คืออำนาจอธิปไตยภายนอกนั่นเอง
องค์ประกอบของรัฐทั้ง 4 ประการนี้ มีความสำคัญเท่าเทียมกัน ถ้ารัฐใดขาดองค์ประกอบในข้อใดข้อหนึ่ง แม้เพียงองค์ประกอบเดียวก็ตาม ถือว่าขาดคุณสมบัติของความเป็นรัฐโดยสิ้นเชิง
จุดประสงค์ของรัฐ
1.สร้างความเป็นระเบียบ
2.การส่งเสริมสวัสดิภาพแก่ประชาชน
3.การส่งเสริมสวัสดิการแก่ส่วนรวม
4.การส่งเสริมคุณธรรมหน้าที่ของรัฐ
หน้าที่ของรัฐแล้วมีอยู่ 4 ประการ คือ
- การรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงภายใน
- การให้บริการและสวัสดิการทางสังคม
- การพัฒนาประเทศ
- การป้องกันการรุกรานจากภายนอก
รูปแบบของรัฐ (Forms of State)
1. รัฐเดี่ยว (Unitary State) คือ รัฐที่มีรัฐบาลกลางเป็นผู้มีอำนาจปกครอง และอำนาจบริหารสูงสุดเพียงองค์กรเดียว รัฐบาลกลางเป็นผู้ที่ใช้อำนาจอธิปไตยทั้ง 3 อำนาจคือ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ รัฐบาลเป็นองค์กรกลางองค์กรเดียวของรัฐที่ปกครองประชาชนได้โดยตลอด รวมถึงการติดต่อสัมพันธ์กับ ต่างประเทศด้วย ตัวอย่างรัฐเดี่ยว ได้แก่ อังกฤษ ญี่ปุ่น และไทย เป็นต้น 2. รัฐรวม (Composit State) ได้แก่ การรวมตัวกันของรัฐ ตั้งแต่ 2 รัฐขึ้นไป โดยมีรัฐบาลเดียวกันซึ่งแต่ละรัฐยังคงมีสภาพเป็นรัฐอยู่เช่นเดิมแต่การใช้อำนาจอธิปไตยของรัฐที่มารวมกัน อาจถูกจำกัดลงไปตามข้อตกลงที่ทำขึ้น
รัฐรวมมีอยู่ 2 ประเภทด้วยกันคือ
1)สหพันธรัฐ (Federal State) สหพันธรัฐ คือ รัฐที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันระหว่างรัฐต่าง ๆ ตั้งแต่ 2 รัฐขึ้นไปโดยใช้รัฐธรรมนูญ ฉบับเดียวกันร่วมกัน
และความสัมพันธ์ระหว่างรัฐเหล่านั้นเป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญนั้น ๆ รูปแบบการปกครองแบ่งออกเป็น 2 ระดับคือ มีรัฐบาลกลางของสหพันธรัฐ
และรัฐบาลท้องถิ่นเป็นของแต่ละรัฐซึ่งเรียกกันว่า ?มลรัฐ? ตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกา อินเดีย มาเลเซีย
2)สมาพันธรัฐ (Confederation State) สมาพันธรัฐเป็นการรวมตัวกัน ระหว่าง 2 รัฐขึ้นไป โดยไม่มีรัฐธรรมนูญ หรือรัฐบาลร่วมกัน แต่เป็นการรวมตัวกันอย่างหลวมๆเพื่อจุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นการชั่วคราวและเป็นบางกรณีเท่านั้น เช่นการเป็นพันธมิตรกันเพื่อทำสงครามร่วมกัน เป็นต้น ในปัจจุบันนี้รูปแบบของ
รัฐแบบสมาพันธรัฐไม่มีอีกแล้ว แต่จะกลายเป็นลักษณะของการรวมตัวกันในรูปขององค์กรระหว่างประเทศ เช่น องค์การนาโต้ องค์การอาเซียน เป็นต้น
ระบอบการเมือง การปกครองที่สำคัญ
ระบอบประชาธิปไตย
เป็นระบอบการปกครองที่มีหลักการ และความมุ่งหมายที่ผูกพันอยู่กับประชาชนโดยประชาชนและเพื่อประชาชน ระบอบประชาธิปไตยแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
แบบที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขกับแบบที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุข แบบแรกคือแบบที่ใช้อยู่ในประเทศอังกฤษ ญี่ปุ่นและไทย
แบบที่ 2 คือแบบที่ใช้อยู่ในประเทศอินเดีย ฝรั่งเศส และอเมริกา
หลักการสำคัญของระบอบประชาธิปไตย มีดังต่อไปนี้คือ
1.อำนาจอธิปไตยหรืออำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรือเรียกว่าอำนาจของรัฐ (State Power) เป็นอำนาจหน้าที่มาจากประชาชน
และผู้ที่จะได้อำนาจปกครองจะต้องได้รับความเห็นชอบจากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ
2.ประชาชนมีสิทธิที่จะมอบอำนาจการปกครองให้แก่ประชาชนด้วยกันเอง โดยการออกเสียงเลือกตั้งบุคคลกลุ่มหนึ่งขึ้นมาเป็นผู้บริหารประเทศ
ตามระยะเวลาและวิธีการที่กำหนดไว้ เช่น ทุก 4 ปี จะมีการออกเสียงเลือกตั้งผู้แทนของประชาชนพร้อมกันทั่วประเทศ
3.รัฐบาล จะต้องเคารพสิทธิและเสรีภาพมูลฐานของประชาชน เช่น สิทธิเสรีภาพในทรัพย์สินและการแสดงความคิดเห็น การรวมกลุ่ม เป็นต้น
โดยรัฐบาลจะต้องไม่ละเมิดสิทธิเหล่านี้เว้นแต่เพื่อรักษาความมั่นของชาติหรือเพื่อสร้างสรรค์ความเป็นธรรมแก่สังคมเท่านั้4.ประชาชนทุกคนมีสิทธิเสมอภาคกัน ในการที่จะได้รับบริการทุกชนิดที่รัฐจัดให้แก่ประชาชน
5.รัฐบาล ถือกฎหมาย และความเป็นธรรมเป็นบรรทัดฐานในการปกครอง และในการแก้ปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ เพื่อความสงบสุขของประชาชน
ระบอบเผด็จการ
ระบอบเผด็จการคือ ระบอบการเมืองการปกครองที่โอกาสในการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ตกลงใจถูกจำกัดอยู่ในบุคคลเพียงคนเดียวหรือสองสามคน กล่าวคือจะใช้โอกาสในการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ โดยใช้อำนาจที่ตนมีอยู่ปิดกั้นการแสดงออกของประชาชน หากประชาชนคัดค้านก็จะถูกผู้นำหรือคณะบุคคลลงโทษ
หลักการสำคัญของระบอบเผด็จการ มีดังนี้
1)ผู้นำคนเดียว หรือคณะผู้นำของกองทัพ หรือของพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียวกลุ่มเดียว มีอำนาจสูงสุดในการปกครอง สามารถใช้อำนาจนั้นได้อย่างเต็มที่โดยไม่ฟังเสียงคนส่วนใหญ่ของประเทศ
2)การรักษาความมั่นคงของผู้นำหรือคณะผู้นำมีความสำคัญกว่าการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ประชาชนไม่สามารถที่จะวิพากษ์วิจารณ์การกระทำของผู้นำได้เลย
3)ผู้นำหรือคณะผู้นำสามารถที่จะอยู่ในอำนาจได้ตลอดชีวิต ตราบเท่าที่กลุ่มผู้ร่วมงาน หรือกองทัพยังให้ความสนับสนุนอยู่ ประชาชนทั่วไปไม่มีสิทธิที่จะเปลี่ยนผู้นำได้โดยวิถีทางรัฐธรรมนูญ
4)รัฐธรรมนูญหรือการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญและรัฐสภา ไม่มีความสำคัญต่อกระบวนการทางการปกครอง
เหมือนในระบอบประชาธิปไตย กล่าวคือ รัฐธรรมนูญเป็นแต่เพียงรากฐานรองรับอำนาจของผู้นำหรือคณะผู้นำเท่านั้น ไม่ใช่ตัวแทนของประชาชนอย่างแท้จริง
ระบอบเผด็จการมี 3 แบบ คือ เผด็จการทหาร เผด็จการฟาสซิสต์ และเผด็จการคอมมิวนิสต์