ขอนำเรื่องอวกาศ มานำเสนอ นอกเรื่องคงไม่ว่ากันนะครับ.
เกือบ17 ปีแล้วที่กล้องอวกาศฮับเบิลได้เปิดหน้าต่างสู่จักรวาล
ผลงานของกล้องอวกาศฮับเบิลนำมาซึ่งความรู้ความเข้าใจและเผยความลี้ลับของจักรวาลมากมาย และหลังจากการติดตั้งกล้อง Advanced Camera for Surveys (ACS) เมื่อปี 2002 นักดาราศาสตร์ก็ตื่นตาตื่นใจมากยิ่งขึ้นกับภาพเทหวัตถุในจักรวาลที่คมชัดอย่างที่ไม่เคยเห็นกันมาก่อน
ต่อไปนี้คือผลงานล่าสุดบางส่วนของกล้องอวกาศฮับเบิล มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง
1 .เนบิวลาปู
ภาพแรกคือภาพเนบิวลาปู (Crab Nebula) ซากของดาวฤกษ์ที่ระเบิดเป็นซุปเปอร์โนวา (Supernova) เมื่อปี 1054 จากหลักฐานบันทึกของชาวจีนและญี่ปุ่นรวมทั้งชาวพื้นเมืองของอเมริกาด้วย ชาวจีนบันทึกไว้ว่าซุปเปอร์โนวานี้มีสว่างอยู่นานหลายเดือนและ มองเห็นได้แม้ในเวลากลางวัน
เนบิวลาปูมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 ปีแสง อยู่ห่างจากโลก 6,300 ปีแสง ในกลุ่มดาววัว (Taurus)มันเป็นเนบิวลาที่โดดเด่นที่สุด เพราะเป็นหลักฐานการระเบิดซุปเปอร์โนวาชิ้นแรก.
กล้องอวกาศฮับเบิลเคยบันทึกภาพเนบิวลาปูมาแล้วหลายครั้งแต่ภาพล่าสุดนี้เป็นภาพที่มีความละเอียดสูงมาก
2.เนบิวลานายพราน
ภาพเนบิวลานายพราน (Orion Nebula) เป็นอีกภาพหนึ่งที่มีความละเอียดสูงมาก เนบิวลานายพรานเป็นเนบิวลาที่สว่างที่สุดในท้องฟ้า และ สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า อยู่ในกลุ่มดาวนายพราน (Constellation Orion) ห่างจากโลก 1,500 ปีแสง
จุดเด่นของเนบิวลานี้ก็คือ
เป็นเนบิวลาที่กำลังแสดงให้เราเห็นกระบวนการและบริเวณที่มันให้กำเนิดดาวฤกษ์และระบบดาวเคราะห์จากเมฆก๊าซและฝุ่นซึ่งยุบตัวลง
ในภาพจะเห็นดาวฤกษ์เกิดใหม่ซึ่งมีขนาดต่าง ๆ กัน
มากกว่า 3,000 ดวงซ่อนตัวอยู่ใต้ฝุ่นและก๊าซซึ่งมีลักษณะคล้ายที่ราบสูง ภูเขา และหุบเขา ทำให้หลายคนนึกถึงแกรนด์ แคนยอน ในสหรัฐอเมริกา
จ๊าก รูปสลับกัน ขอโทษทีครับ
3 .กาแล็กซี M 101
นี่คือภาพกาแล็กซีกาแล็กซี่กังหัน (Spiral Galaxy)ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและให้รายละเอียดมากที่สุดเท่าที่กล้องอวกาศฮับเบิลเคยถ่ายไว้
M101 กาแล็กซี่ยักษ์หรือกลุ่มกาแล็กซี่
อยู่ไกลจากโลกถึง 24 +/- 2 ล้านปีแสงในกลุ่มดาวหมีใหญ่ (Constellation Ursa Major)
มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 170,000 ปีแสง
ใหญ่กว่ากาแล็กซี่ทางช้างเผือกเกือบเท่าตัว ประกอบด้วยกาแล็กซี่ถึง 9 กาแล็กซี่
รู้สึกว่าช้าแล้ว งั้นเอา link ที่มาไปแทนนะครับมีหลาย link อ่านสนุก มีความรู้ดีครับ.
1.ภาพเนบิวลาและกาแล็กซี่ จากกล้องอวกาศฮับเบิล.
http://variety.teenee.com/science/2252.html
2.การกำหนดทิศ บนท้องฟ้า.
http://variety.teenee.com/science/2241.html
3.บริวารดาวศุกร์หายไปไหน.
http://variety.teenee.com/science/2253.html
4.พลังงานจากดวงอาทิตย์.
http://variety.teenee.com/science/2253.html.
ปรากฎการณ์ สุริยุปราคา |
http://variety.teenee.com/science/2203.html