ใครมีสูตรทางเคมีบ้างครับ
แล้วคุณสมบัติของมันดีอย่างไร
ทางเลือกในการต่อเรือในอนาคต เป็นไปได้แค่ไหนในการนำสเตนเลสฯ มาใช้ในการต่อเรือ
จริงอยู่ว่า สเตนเลสฯ แพงกว่า แต่อายุการใช้งานก็ยาวกว่าเช่นกัน
Thaitanium เอ้ย Titanium มีสูตรเคมีว่า TI ครับ
เป็นแร่ที่เบาแต่เข็งแรง และแพง
รัสเซียนำไปใช้ทำเรีอดำน้ำเพราะ คุณสมบัติที่แข็งแรงแต่เบากว่าเหล็ก ทำให้ออกแบบเรือดำน้ำมีประสิทธิภาพที่พิเศษ กว่าเรือที่ต่อจากเหล็ก(แพงเป็นพิเศษอย่างหนึงแน่ๆ)
สเตนเลส คงไม่เหมาะกับ ต่อเรือละมั้งครับ
คงใช้โลหะผสมชนิดอื่นคงจะมีคุณสมบัติดีกว่า
เรื่องโครงสร้างผนังเรือดำน้ำ (submarine hull) มีท่านกูรูทำเป็นบทความไว้เยอะเหมือนกันคะ และมีการกล่าวถึง ไทเทเนี่ยมเยอะเหมือนกัน แต่ระบุว่าเรือดำน้ำที่สร้างด้วยไทเทเนี่ยมมีไม่มากนักคะ ลองอ่านที่นี่คะ http://en.wikipedia.org/wiki/Pressure_hull
ตรงนี้คะ .... High-strength alloyed steel is still the main material for submarines today, with 250-350 meters depth limit, which cannot be exceeded on a military submarine without sacrificing other characteristics. To exceed that limit, a few submarines were built with titanium hulls. Titanium is stronger and lighter than steel, and is non-magnetic. Titanium submarines were especially favored by the Soviets ...
เขาบอกว่า เรือดำน้ำในปัจจุบันส่วนใหญ่ใช้เหล็กอัลลอยน์ที่มีความทนทานสูงทำเป็นโครงเรือ แต่มีข้อด้อยคือเรือจะดำได้ลึกไม่เกิน 250-300 เมตร ทำให้เรือดำน้ำที่จะใช้ในปฏิบัติการทางทหารจำเป็นจะต้องตัดทอนส่วนประกอบอื่นๆของเรือลง เพื่อให้เรือสามารถดำได้ลึกลง ดังนั้นบางประเทศจึงหาวิธีทำให้เรือดำน้ำสามารถดำได้ลึกขึ้น โดยเปลี่ยนวัสดุที่ทำโครงเรือเป็นไทเทเนี่ยม เช่น ประเทศรัสเซีย พี่หมีชอบวัสดุนี้เป็นพิเศษเพราะไทเทเนี่ยม (ที่มิใช่ ไท ธนาวุฒิ) แข็งแรงแต่เบากว่าเหล็ก และไม่ดึงดูดแม่เหล็ก (ฉะนั้นต่อไปอาจจะมีการจับเรือดำน้ำโดยใช้แม่เหล็กดูดได้ .. เพ้อเจ้อเข้าไปนั่น) จึงปรากฏเห็นเรือดำนำรัสเซียทำโดยไทเทเนี่ยมหลายรุ่นคะ
Titanium alloys allow a major increase in depth, but other systems need to be redesigned as well, so test depth was limited to 1000 meters for K-278 Komsomolets, the deepest-diving military submarine. An Alfa class submarine may have successfully operated at 1300 meters,[2] though continuous operation at such depths would be an excessive stress for many submarine systems. Despite its benefits, high costs of titanium construction led to abandonment of titanium submarines idea as the Cold War ended.
บทความนี้ยังกล่าวอีกว่า ไทเทเนี่ยมอัลลอยน์มีส่วนอยากมากที่ทำให้เรือดำน้ำดำได้ลึกลง แต่ส่วนประกอบอื่นของเรือดำน้ำก็ต้องมีการออกแบบใหม่ให้สอดคล้องกันด้วย จากการทดสอบสมรรถนะในการดำ เรือดำน้ำ K-278 Komsomolets ของรัสเซีย สามารถดำได้ลึกถึง 1000 เมตร นอกจากนี้เรือดำน้ำชั้นอัลฟ่า ประสบความสำเร็จในการดำได้ลึกถึง 1300 เมตร ซึ่งหากเทียบกับเรือดำน้ำอื่นๆที่สร้างด้วยเหล็กอัลลอยน์แล้ว ความลึกขนาดนี้จะมีแรงกดมหาศาลกับเรือ แต่สำหรับไทเทเนี่ยมสบายมาก .. อย่างไรก็ตามไทเทเนี่ยมมีข้อเสียตรงที่มันมีราคาแพงสุดแสบ ทำให้เรือดำน้ำที่สร้างด้วยไทเทเนี่ยมมีราคาสูงลิ่วเช่นกัน นี่จึงเป็นเหตุผลที่โซเวียตรัสเซียในยุคล่มสลายระงับการสร้างเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ไทเทเนี่ยมไปเพราะไม่มีงบประมาณพอคะ
ส่วนเรือดำน้ำในอนาคตนั้นจะมีการทำเทคโนโลยีใดมาใช้ และรูปแบบเรือดำน้ำจะเปลี่ยนไปอย่างไร เว็บไซด์ http://www.fas.org ซึ่งเป็นเว็บไซด์ทางด้านเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ รวมถึงเทคโนโลยีทางทหาร ของสหรฐอเมริกา เสนอบทความ เรือดำน้ำในอนาคตของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา ไว้ที่นี่คะ http://www.fas.org/man/dod-101/sys/ship/docs/sotf.htm
ทางด้านสมรรถนะของเรือ ก็มีกล่าวไว้ เช่น
Technology advances and proliferation will make the submarine's stealth, endurance, and mobility even more important attributes in the future as surface and air forces become more vulnerable. An SSN's initially covert position allows surprise strikes, and its stealthy mobility provides the opportunity to regain a new covert firing point and repeat the process (though without the surprise factor).
ส่วนอันนี้มาจากหนังสือของ Nap คะ เรื่องเทคโนโลยีเรือดำน้ำในอนาคต คัดบทที่เกี่ยวกับ วัสดุที่ใช้สร้างเรือดำน้ำมาให้อ่านคะ ที่นี่คะ http://books.nap.edu//html/tech_21st/t7.htm ยาวมาก จะหาเวลาย่อสรุปให้ แต่การใช้สแตเลสทำผนังเรือดำน้ำ ยังหาไม่เจอ ถ้าเจอจะนำมาบอกให้ทราบต่อไปคะ
นำภาพเรือดำน้ำชั้นอัลฟ่าของรัสเซียที่ผนังเรือทำด้วยไทเทเนี่ยมมาให้ชม สำหรับท่านที่ไม่เคยเห็นภาพเรือลำนี้คะ
เรือดำน้ำ K-278 Komsomolets ผนังเรือเป็นไทเทเนี่ยมเช่นกันคะ
ไททาเนี่ยมเป็นธาตุที่มีความแข็งเป็นอันดับ 3 รองจาก เพชรและโบร่อน(เหล็กคาร์ไบต์ขีดไททาเนี่ยมไม่เป็นรอยครับ แต่คาร์ไบต์กรีดและตัดเหล็กได้ยังกะหยวก ส่วนไททาเนี่ยมขีดคาร์ไบต์เป็นรอย แถมยังไม่แตกยังกะแก้วเหมือนคาร์ไบต์ด้วยครับ ไททาเนี่ยมเหนียวยังกะเหล็กกล้า) มีค่ายังมอร์ดุลลัสสูงมากกว่าเหล็กกล้ามากครับ น้ำหนักเบากว่าเหล็กกล้าเกือบ 1 เท่าตัว ด้วยเหตุที่เป็นเหล็กที่เนื้อแข็งแกร่งเป็นอันดับสองของโลหะทั้งหมดและเหนียวมาก(ไม่เปราะแต่แข็งเหมือนธาตุบางตัว)จึงเป็นโลหะในอุดมคติเลยล่ะครับ แต่ปริมาณไททาเนี่ยมที่มีอยู่ในโลกมนุษย์ใบนี้มีอยู่น้อยมากๆเมื่อเทียบกับเหล็ก จึงทำให้มันมีราคามหาโหด
แสตนเลสนั้นไม่เป็นสนิมแต่นิ่มนะครับ ราคาก็ไม่ถูกด้วย เห็นเขาว่ากันว่าราคาตกกิโลละ 1-2 แสนบาทแน่ะ แต่ไททาเนียมนี่แพงกว่าหลายเท่าเลยล่ะครับ ในการเอาไททาเนียมไปทำเรือดำน้ำเขาก็จะเอาไปผสมธาตุบางตัวเป็นไททาเนียมอัลลอยด์ เหมือนที่เครื่องบินจะเอาอลูมิเนียมไปผสมกับธาตุบางตัวให้เป็นอลูมิเนียมอัลลอยด์ที่เหนียวและแข็งแรงขึ้น
อลูมิเนียมอัลลอยด์ราคาแพงกว่าแสตนเลสมากครับ แต่ก็ยังถูกกว่าไททาเนี่ยมมาก อลูมิเนียมจะเบากว่าไททาเนีมราวๆ 1 เท่าตัว แต่เนื้อมันนิ่มและค่ายังมอดุลลัสด้อยกว่าไททาเนี่ยมพอควรเลย
ใจผมอยากให้เราต่อ AMUR 1650 รุ่นไททาเนียมครับ เอาดำลึกแค่ 300 เมตรก็พอ แต่เบากว่าเดิม 2 เท่าจึงทำให้ประหยัดเชื้อเพลิงและสามารถมีระยะปฏิบัติการได้ไกลขึ้นมาก รวมทั้งสามารถทำความเร็วได้มากกว่า 20 น๊อตสบายๆ ต่อให้ราคาแพงขึ้นอีก 1 เท่าตัว ก็ถือว่าคุ้มเพราะจะมีราคาใกล้เคียง Type 214 แต่เราได้เรือดำน้ำดีเซลตัวเรือไททาเนี่ยมครับ
แหมถ้าสติงเรย์ทำด้วยไททาเนี่ยม ต่อให้เกราะหนาแค่นี้ก็ทนพอๆกับเกราะ M-1A1 แถมยังเบาลงอีกเกือบเท่าตัว แต่ราคา 1 คันคงจะซื้อสติงเรย์ที่ทำด้วยเกราะแคทลอยด์ได้ทั้งกองพันล่ะมั๊งครับ
5555555 ฝันยังไม่ตื่นเลยผม ...............
ขออนุญาติ จขกท ฝากข่าวถึงคุณ OA ครับ
ได้อ่านต่วยตูนพิเศษเล่มล่าสุด ตอนเกี่ยวกับประวัติเรือดำน้ำรัสเซียไม่ทราบได้อ่านรึยังครับ คืออ่านแล้วคล้ายกับที่คุณ OA เคยนำมาลงเมือนานมาแล้วนาจะมาจาก Text Book เล่มเดียยวกัน
ข้อความไปเฉยเลยยังพิมพ์ไม่เสร็จ
ต่อๆ
บทความเขียนละเอียดดีเลยอยากให้ได้อ่านนะครับ
ไม่อยากแสกนรูปมาเดียวมีปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ครับ
ดรรชนีนาง เป็นอีกนามปากกาที่ใช้อยู่คะ ขอบคุณ คุณ Seekman ที่สนใจในบทความนี้คะ
เห็นด้วยกับคุณ neosiamese คะ แต่ดิฉันก็ชอบเรือ U212 ของเยอรมันมากเช่นกัน พี่สายเลือด น.ย. ได้แจ้งข่าวโครงการยานใต้น้ำ ให้ทราบว่า .. เร็วๆนี้จะมีความร่วมมือในการออกแบบและถ่ายทอดเทคโนโลยี่ยานใต้น้ำขนาดเล็ก ระหว่างสำนักวิจัยและพัฒนาการทางทหาร ทร. กับ วิทยาลัยพาณิชยนานานาชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา และจะมีการเปิดอบรมให้กับนักวิจัยในส่วนของ ทร. ที่นี่เร็วๆนี้ มีวิทยากรจากต่างประเทศด้วยคะ
ข่าวการสร้าง-ซื้อ ยาน-เรือดำน้ำของไทย ก็คงต้องติดตามกันต่อไป ที่ทราบมาก็ถือเป็นนิมิตรหมายที่ดีอย่างหนึ่งคะ
แสตนเลสใช้งานที่มีสภาวะกัดกร่อนมากจะเกิดการผุกร่อนเนื่องจากเกิดการและเปลี่ยนคาร์บอน ส่วนไทเทเนียม ติดอยู่ที่มีราคาแพงมาก มีผลิตอยู่ไม่กี่ประเทศ และที่ได้คุณภาพมีอยู่ไม่กี่เกรด