หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


งานศิลปะในยุคเผด็จการ - ฟรังโก สตาลิน มุสโสลินี และ ฮิตเล่อร์

โดยคุณ : OA เมื่อวันที่ : 19/03/2007 13:14:18

งานศิลปะนอกจากจะทำหน้าที่รับใช้มนุษย์ชาติในแง่ของสุนทรียศาสตร์ ก่อให้เกิดความชื่นชมในอารมณ์เมื่อได้ชมแล้ว งานศิลปะยังทำหน้าที่รับใช้สังคมอีกด้วย จะเห็นได้ว่าในแต่ละยุคสมัยการเมืองการปกครองของผู้นำต่างๆ งานศิลปะจากฝีมือของหลากหลายจิตกรเอก ได้สื่อสะท้อนให้เห็นถึงสภาวะความเป็นไปของสังคม อำนาจแห่งผู้ปกครอง และสื่อถึงความรู้สึกของคนในยุคนั้นด้วย

งานศิลปะที่นำมาเสนอนี้ เป็นสื่อสะท้อนเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในยุคที่ผู้นำเผด็จการ 4 ท่าน คือ ฮิตเล่อร์ แห่งเยอรมันนี นายพลฟรังโก แห่งสเปน สตาลิน แห่งรัสเซีย และ มุสโสลินี ผู้นำฟาสซิสต์อิตาลี ซี้ปึ๊กของฮิตเล่อร์ ที่มีอำนาจเฟื่องฟูในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง จนถึงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 (ปี ค.ศ. 1930-1945)

อย่างไรก็ตาม กระทู้นี้มีเจตนา ให้เพื่อนๆนักอ่านได้มีความรู้เกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของวงการศิลปะในยุคสมัยหนึ่งๆ และความเป็นไปของโฉมหน้าประวัติศาสตร์สำคัญของโลกที่สื่อผ่านฝีแปรงของศิลปินเท่านั้น ไม่ได้มีจุดหมายที่จะเชียร์หรือโจมตีลัทธิการปกครองใดคะ





ความคิดเห็นที่ 1


ภาพที่นำมาให้ชมเหล่านี้ มาจากหนังสือ Art and Power: Europe under Dictators 1930-45 โดย The XXIII Concil of Europe Exhibition คะ

ชุดแรก เป็นงานศิลปะที่ศิลปินสร้างขึ้นเพื่อต่อต้านสงครามกลางเมืองของสเปน ภาพนี้มีชื่อเสียงมาก ชื่อภาพ Civil War 1936 โดย ซัลวาดอร์ ดาลี ศิลปินเอกของสเปน ยุค Modern Art สะท้อนให้เห็นถึงความเจ็บปวดขมขื่นของผู้ที่ต้องเผชิญสภาวะสงครามภายในชาติตนเองคะ เป็นงานศิลปะแบบเหนือจริง (เซอร์เรียลลิสซึ่ม)


โดยคุณ OA เมื่อวันที่ 16/03/2007 22:12:26


ความคิดเห็นที่ 2


ภาพที่สอง ไม่ทราบชื่อผู้สร้างงาน ชื่อภาพ Never Again (ไม่มีทางเป็นเหมือนเดิมอีก) สร้างขึ้นในปี 1939 ปัจจุบัน ภาพนี้จัดแสดงอยู่ที่ Biblioteca Nacional กรุงมาดริด ประเทศสเปน คะ


โดยคุณ OA เมื่อวันที่ 16/03/2007 22:19:45


ความคิดเห็นที่ 3


ชุดงานศิลปะต่อต้านสงครามกลางเมืองเสปน จัดแสดงที่งานนิทรรศการศิลปะนานาชาติ ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อปี 1937 คะ

ภาพแรก เป็นผลงานของ Horacio Ferrer ชื่อภาพ Madrid 1937 (Black Aeroplanes) - กรุงมาดริด ปี 1937 (ฝูงเครื่องบินสีดำ) แสดงให้เห็นถึงความตื่นตระหนกของเหล่ามารดาที่พยายามปกป้องลูกให้พ้นจากอันตรายของการสู้รบ

ภาพนี้โป๊นิดนึง ไม่ว่ากันนะคะ (เป็นงานศิลป)


โดยคุณ OA เมื่อวันที่ 16/03/2007 23:08:08


ความคิดเห็นที่ 4


ภาพต่อมา วาดโดย Jose' Gutierrez ชื่อภาพ Solana, the Procession of Death (โซลานา การปรากฏตัวแห่งความตาย) สร้างเมื่อปี 1939 คะ


โดยคุณ OA เมื่อวันที่ 16/03/2007 23:13:32


ความคิดเห็นที่ 5


ภาพต่อมา ชื่อภาพ Old Spain ผลงานของ Juan Borras Cassanova (นามสกุล คาสซาโนว่า ซะด้วย อิ...) ปี 1937 คะ


โดยคุณ OA เมื่อวันที่ 16/03/2007 23:17:37


ความคิดเห็นที่ 6


มาที่งานศิลปะในยุคผู้นำเผด็จการหนวดจิ๋ม - ฮิตเล่อร์ คะ ภาพเหมือน ของท่านผู้นำ ดูหล่อเหลาไม่เบา บรรจงวาดโดยศิลปิน Heinrich Knirr เมื่อปี 1937 ภาพนี้ปัจจุบันอยู่ที่ Imperial War Museum กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ คะ


โดยคุณ OA เมื่อวันที่ 16/03/2007 23:22:45


ความคิดเห็นที่ 7


มาที่งานศิลปะในยุคผู้นำเผด็จการหนวดจิ๋ม - ฮิตเล่อร์ คะ ภาพเหมือน ของท่านผู้นำ ดูหล่อเหลาไม่เบา บรรจงวาดโดยศิลปิน Heinrich Knirr เมื่อปี 1937 ภาพนี้ปัจจุบันอยู่ที่ Imperial War Museum กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ คะ


โดยคุณ OA เมื่อวันที่ 16/03/2007 23:27:48


ความคิดเห็นที่ 8


Hans Grundig เป็นศิลปินชาวเยอรมัน ที่มีแนวคิดต่อต้านลัทธิฟาสซิสต์ ผลงานของเขามีชื่อว่า Victim of Fascism (เหยื่อของลัทธิฟาสซิสต์) สร้างในปี 1946 ปัจจุบัน ภาพนี้จัดแสดงอยู่ที่ Museum der Bildenden Kunste เมืองไลป์ซิก ประเทศเยอรมันนี


โดยคุณ OA เมื่อวันที่ 17/03/2007 00:04:06


ความคิดเห็นที่ 9


อีกภาพที่ต่อต้าน นาซี เช่นกัน ชื่อภาพ Crouching Prisoner in Saint-Cyprien (นักโทษหมอบ) โดย Felir Nussbaum ปี 1940  ปัจจุบันภาพนี้อยู่ที่ พิพิธภัณฑ์ Deutsches Historisches Museum กรุงเบอร์ลิน


โดยคุณ OA เมื่อวันที่ 17/03/2007 00:15:05


ความคิดเห็นที่ 10


มาดูกันที่งานศิลปะในโซเวียตรัสเซีย ยุคของสตาลิน ซึ่งรัสเซียต้องเผชิญสงครามโลกครั้งที่สองจากเยอรมันอย่างหนักเช่นกัน งานศิลปะและภาพโปสเตอร์เป็นวิธีหนึ่งที่สตาลินใช้กระตุ้นให้ชาวรัสเซียเกิดความรักชาติ และมีขวัญกำลังใจต่อสู้กับศตรูคะ

ภาพแรกเป็นภาพช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง สตาลินขึ้นครองอำนาจเป็นปีแรกๆ จะสังเกตุว่า สตาลินใช้กุศโลบาย เชิดชูเลนินต่อสาธาณชนเป็นอย่างมาก เพื่อเรียกความศรัทธาจากประชาชน ก่อนทีเลนินจะเสียชีวิต ได้กล่าวไว้ว่าให้จัดงานศพของเขาอย่างเรียบง่าย แต่สตาลินซึ่งก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดเกือบจะทันทีที่เลนินเสียชีวิตกลับจัดพิธีศพเลนินอย่างหรูหราใหญ่โต ทำให้ภรรยาม่ายของเลนินไม่พอใจอย่างมาก นอกจากนี้สตาลินยังถือโอกาสเล่นงานศตรูคู่แข่งคนสำคัญอย่างทรอตสกี้ ที่ป่วยไม่ได้มาร่วมงานศพของเลนินว่าเป็นผู้ทรยศไม่รู้จักบุญคุณของเลนิน ทำให้ทรอตสกี้ถูกขับออกนอกประเทศไปในที่สุด ตั้งแต่งานศพเลนิน รูปของเลนินกลายเป็นสัญญลักษณ์ที่สตาลินนำมาเชิดชูให้ประชาชนได้เห็นนับแต่นั้นเป็นต้นมา

ภาพนี้วาดโดย G. Shegal ศิลปินชาวรัสเซีย ให้ชื่อภาพว่า Leader, Teacher, Friend (สตาลิน ผู้เป็นทั้งผู้นำ ครู และ มิตรของเรา) เป็นภาพวาดจำลองเหตุการขณะที่สตาลินกำลังปราศรัย ที่ Presidium (หมายถึง คณะกรรมการบริหารที่มีอำนาจเต็มที่ของโซเวียตเป็นสภาบริหารสูงสุดของโซเวียต) ของสภานารวมที่สอง เมื่อวันที่ 35 กุมภาพันธ์ ปี 1936 ปัจจุบันภาพนี้อยู่ พิพิธภัณฑ์แห่งเมืองเซนต์ ปีเตอร์เบิร์ก คะ


โดยคุณ OA เมื่อวันที่ 17/03/2007 00:32:07


ความคิดเห็นที่ 11


ภาพสเกตซ์ สตาลิน กำลังปราศรัย ณ. สภาที่ 16 แห่งพรรคคอมมิวนิสต์ วาดโดย A.M. Gerasimov ปัจจุบันภาพนี้อยู่ที่ State Tretyakov Gellery กรุงมอสโคว์


โดยคุณ OA เมื่อวันที่ 17/03/2007 00:38:48


ความคิดเห็นที่ 12


ภาพสุดท้ายของคืนนี้แล้วคะ เป็นโปสเตอร์ที่จัดทำขึ้นช่วงปี 1937-40 ซึ่งในปี 1940 เยอรมันรุกรานรัสเวีย ทำให้สตาลิน และคณะรัฐมนตรี ต้องหนีออกมาตั้งหลักนอกเมืองหลวง มี 4 ภาพทำขึ้นในช่วงปีต่างๆกัน พรุ่งนี้จะมาอธิบายรายละเอียดแต่ละภาพให้อ่านกันคะ ^_^ 


โดยคุณ OA เมื่อวันที่ 17/03/2007 00:52:57


ความคิดเห็นที่ 13


แง่บ น่าจะมีรูปที่หนวดจิ๋มคุงวาดมาลงด้วยน๊า

โดยส่วนตัวผมมองว่าฮิตเลอร์ไม่ได้เลวโดยกำเนิดเลย แต่เพราะสถานการณ์

และโดยส่วนตัวอีกประเด็น ผลงานศิลปะที่ฮิตเลอร์วาดนั้น ผมมองว่าเข้าขั้นทีเดียว เนื่องจากมีภาพนั้นมีพลัง มีอารมณ์ที่สื่อได้ชัดเจนจิรงๆ...(รวมทั้งสื่อไปถึงความฝันที่ผู้คนฝันใฝ่ก็คือ บ้านสงบๆสักหลัง)

โดยคุณ BloodRoyal เมื่อวันที่ 17/03/2007 07:58:31


ความคิดเห็นที่ 14


ขอแก้ไขให้คุณOAนะครับ เยอรมันเริ่มรุกรานรัสเซียเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ปี1941 ครับ โดยใช้ชื่อว่าOperation Barbarossa

โดยคุณ tan02 เมื่อวันที่ 17/03/2007 12:10:44


ความคิดเห็นที่ 15


ขอบคุณ คุณ Tan ที่ช่วยแก้ไขข้อมูลคะ ยุทธการบาบารอสซา เยอรมันบุกรัสเซียในปี 1941

 

ดิฉันเห็นด้วยกับคุณแทนที่ว่าฮิตเล่อร์นั้นแม้ว่าจะมีการแสดงออกที่เลวร้ายโหดเหี้ยมต่อศตรูแต่ก็มีความรักชาติอย่างเต็มเปี่ยม ฮิตเล่อร์เกิดในสภาวการณ์ที่เยอรมันกำลังตกต่ำ ต้องตกเป็นเบี้ยงล่างของชาติอื่น เป็นสิ่งที่น่าอดสู ฮิตเล่อร์จึงกล้าที่เพื่อปลดปล่อยเยอรมันให้เป็นอิสระจากสัญญาแวซายซึ่งเยอรมันคิดว่าไม่เป็นธรรม และวางแผนการให้เยอรมันผงาดขึ้นเป็นชาติมหาอำนาจอีกครั้ง แต่ฮิตเล่อร์เหี้ยมโหดไร้ความปราณีต่อศตรูเกินไป รวมทั้งหวาดระแวงมากเกินไป (เช่น การที่ฮิตเล่อร์ตัดสินใจให้โจมตีรัสเซีย ในยุทธการบาบารอส ทั้งๆที่รัสเซียไม่ได้ส่งสัญญาณว่ากำลังจะเข้าข้างหรือให้ความช่วยเหลือสัมพันธมิตรในการทำสงครามแต่อย่างใด เมื่อฮิตเล่อร์เชิญชวนรัสเซียเข้าร่วมรบกับผ่ายอักษะ สตาลินเรียกร้องผลประโยชน์ที่ได้จากการชนะสงครามมากมาย ทำให้ฮิตเล่อร์เกิดความหวาดระแวงว่ารัสเซียต้องการเป็นใหญ่เหนือตนและทรยศในภายหลัง แต่การที่เยอรมันโจมตีรัสเซียนั้นเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาด เพราะเยอรมันไม่สามารถเอาชนะรัสเซียได้เช่นชาติอื่นๆที่ตนเองรุกราน และเมื่อรัสเซียเข้าร่วมกับสัมพันธมิตร ยิ่งกลายเป็นปัจจัยให้สัมพันธมิตรแข็งแกร่งขึ้น) การที่เยอรมันรุกรานประเทศเพื่อนบ้านในยุโรป (ทั้งที่บางประเทศเป็นชาติเป็นกลาง) หลายประเทศ ทำให้เมื่อเยอรมันเพลี่ยงพล้ำ จึงไม่มีประเทศใดให้ความช่วยเหลือเลย

 

ดิฉันอยากให้ท่านที่สนใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การเมืองยุโรปลองเปรียบเทียบบทบาทของฮิตเล่อร์กับวีรบุรุษของเยอรมันอีกท่านหนึ่งคือ Otto von Bismark คะ ฮิตเล่อร์และบิสมาร์คมีความรักชาติและพยายามให้เยอรมันกลายเป็นหนึ่งในมหาอำนาจของยุโรปเหมือนกัน บุคคลทั้งสองนำเยอรมันเข้าสู่สงครามเพื่อความยิ่งใหญ่ แต่ผลลัพธ์ที่ได้แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง บิสมาร์ค ใช้นโยบายเลือดและเหล็ก ในการรวมชาติเยอรมัน ด้วยการทำสงคราม ส่งผลให้เยอรมันมีความมั่นคงและกลายเป็นชาติมหาอำนาจของยุโรป แต่ภายหลังอำนาจของบิสมาร์คกลับเสื่อมลง เมื่อไกเซอร์วิลเลี่ยมที่สองขึ้นครองประเทศ พระองค์ไม่สนพระทัยในแผนการต่างๆที่บิสมาร์คเสนอและไม่นำพาต่อคำแนะนำของบิสมาร์คเท่าใดนัก ทำให้รัฐบุรุษผู้นี้ต้องลาออกจากตำแหน่ง การที่ไกเซอร์ทรงนำเยอรมันเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาด เพราะไม่เพียงแต่เยอรมันจะแพ้สงคราม พระองค์ยังทรงต้องสละราชบัลลังก์ ปิดฉากยุคจักรวรรดินิยมของเยอรมันลง (เช่นเดียวกับยุคจักวรรดิรัสเซียที่ต้องปิดฉากในเวลาไล่เลี่ยกันคะ) เยอรมันในฐานะผู้แพ้สงครามต้องตกอยู่ภายใต้กฎบังคับของสัมพันธมิตร  จนอิตเล่อร์ฉีกสัญญาแวร์ซายนี้เสียและนำเยอรมันเข้าสู่สงครามโลกอีกครั้ง

 

ในภาพคือ Bismark วีรบุรุษของเยอรมันคะ ชื่อนี้ภายหลังถูกนำมาตั้งเป็นชื่อของ เรือประจัญบาน Bismark ที่กลายเป็นตำนานของการรบทางเรือในสมัยสงครามโลกครั้งที่สองมาจนถึงทุกวันนี้


โดยคุณ OA เมื่อวันที่ 17/03/2007 19:11:41


ความคิดเห็นที่ 16


ขอโทษคะ เขียนชื่อผิด ... ดิฉันเห็นด้วยกับคุณBloodRoyal ที่ว่าฮิตเล่อร์นั้นแม้ว่าจะมีการแสดงออกที่เลวร้ายโหดเหี้ยมต่อศตรู ....คะ

อธิบายรายละเอียดของรูปข้างบนอีกครั้งคะ

 

ภาพซ้ายมือบน วาดโดย V. Govorkov  เมื่อปี 1940 (ตอนนั้น รัสเซียยังไม่เข้าสู่สงคราม) มีคำอธิบายใต้ภาพว่า Stalin in Kemlin Cares for US (ท่านผู้นำสตาลิน ซึ่งอยู่ที่เครมลิน เป็นห่วงพวกเรา (ชาวรัสเซีย)

 

ภาพขวามือบน วาดโดย P. Sokolovskaya ไม่ได้ระบุปีที่วาด มีคำอธิบายใต้ภาพว่า The train goes from the station of socialism to communism. (รถไฟขบวนนี้ออกจากสถานีแห่งระบอบสังคมนิยม ไปสู่สถานีแห่งระบอบคอมมิวนิสต์)

 

ภาพซ้ายมือล่าง วาดโดย D. Grinets เมื่อปี 1937 มีคำอธิบายใต้ภาพว่า Thanks to dear Stalin for happy, joyful childhood (ขอบคุณท่านผู้นำสตาลิน สำหรับความสุขและความเบิกบาน (ของเด็กๆชาวรัสเซีย) )  

 

ภาพขวามือล่าง วาดโดย V. Deni และ N. Dolgorukov เมื่อปี 1939 มีคำอธิบายใต้ภาพว่า Our army and our country are strength with spirit of Stalin (กองทัพบกและประเทศของเราแข็งแกร่งขึ้นด้วย ความมุงมั่นของท่านผู้นำสตาลิน) 

 

 

โดยคุณ OA เมื่อวันที่ 17/03/2007 19:32:28


ความคิดเห็นที่ 17


ก่อนที่จะให้ชมงานศิลปะของรัสเซียชิ้นต่อไป ขอนำภาพวาดของท่านผู้นำหนวดจิ๋ม ? ฮิตเล่อร์ มาให้ชมกันก่อน ตามคำเรียกร้องคะ) ท่านผู้นำหนวดจิ๋มในสมัยหนุ่มๆคลั่งใคล้การวาดภาพมาก จนคิดที่จะเป็นศิลปินในอนาคต แต่กลับสอบเข้าเรียนในสถาบันศิลปะชื่อดังของAustria ไม่ได้ จึงแบนเข็มไปเป็นทหารรบในสมัยสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ได้รับบาดเจ็บจากการรบจนได้เหรียญตรา สงครามสิ้นสุด ด้วยความรักชาติและสนใจในการเมือง จึงตั้งพรรคกรเมือง จนได้รับเลือกขึ้นสู่ตำแหน่งผู้นำสูงสุดของเยอรมันในที่สุด

 

... ตลกร้ายเคยกล่าวไว้ว่า ตัวการที่ทำให้เกิดสงครามโลกครั้งที่สอง คือ สถาบันศิลปะแห่งนั้น นั่นแล.... เพราะหากฮิตเล่อร์สอบได้เข้าไปเรียนที่นั่นจนจบ คงจะยึดอาชีพศิลปินไปแล้ว ไม่เข้าสู่วงการเมือง และสงครามโลกครั้งที่สองก็คงไม่เกิดขึ้น แต่ตลกนี้ ชาติที่ฮิตเล่อร์รุกรานได้ฟังคงยิ้มไม่ออกคะ

 

งานศิลปะของ อดอฟ ฮิตเล่อร์ แบ่งออกเป็น 4 ช่วง คือ

ช่วงที่แรกที่อยู่กรุงเวียนนา (1907-1912), ช่วงที่สองที่อยู่เมืองมิวนิค (1913-1914) ช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (1914-1918) และช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง (1924-1939) ซึ่งเป็นช่วงสุดท้ายที่มีผลงานศิลปะของฮิตเล่อร์ออกมาให้เห็นกันคะ เข้าไปชมภาพทั้งหมดได้ที่เว็บไซด์นี้คะ http://www.snyderstreasures.net/pages/hartworks.htm

 

ภาพวาด โอเปร่าเฮาส์ แห่งกรุงเวียนนา เป็นภาพวาดยุคแรก - ยุคเวียนนของฮิตเล่อร์ เป็นภาพวาดสีน้ำมันคะ

 


โดยคุณ OA เมื่อวันที่ 17/03/2007 19:57:13


ความคิดเห็นที่ 18


ภาพในยุคเวียนนา พีเรียด ของ อดอฟ ฮิตเล่อร์ อีกภาพ เป็นภาพวาดลายเส้นด้วยดินสอสีแดง ชื่อ Germania คะ


โดยคุณ OA เมื่อวันที่ 17/03/2007 20:03:00


ความคิดเห็นที่ 19


ภาพวาดของฮิตเล่อร์ส่วนใหญ่จะเป็นภาพเหมือนทิวทัศน์ ใช้ทั้งสีน้ำและสีน้ำมัน ซึ่งส่วนตัวคิดว่าฝีมือค่อนข้างดี มีภาพหุ่นนิ่ง (still life) เป็นภาพผลไม้ แจกันดอกไม้บางส่วน แต่ไม่ดีเท่าภาพทิวทัศน์คะ

ภาพวาดในยุค มิวนิค ของท่านผู้นำหนวดจิ๋ม ชื่อภาพ โบสถ์รอตเตอร์ดาม คะ


โดยคุณ OA เมื่อวันที่ 17/03/2007 20:06:54


ความคิดเห็นที่ 20


เท่าที่ได้ชมมา คิดว่าฝีมือทางด้านศิลปะของฮิตเล่อร์สุดในช่วงเวียนนาและมิวนิค ซึ่งอาจเป็นเพราะเขามุ่งมั่นที่จะศึกษาในสถาบันศิลปะอย่างเต็มที่ จึงมีการฝึกฝนและตั้งใจสร้างผลงานออกมาหลายชิ้น ในยุคสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเป็นต้นมา งานศิลปะของฮิตเล่อรฺดูลวกๆ ไม่พิถีพิถันเหมือนยุคแรกๆ อาจเป็นเพราะความสนใจในงานศิลปะลดถอยลง และอยู่ในช่วงสงครามซึ่งมีภาระกิจที่ยุงยากอื่นๆต้องเผชิญคะ

ภาพนี้อยู่ในยุค สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เป็นภาพวาดสีน้ำ ห้องๆหนึ่ง


โดยคุณ OA เมื่อวันที่ 17/03/2007 20:11:56


ความคิดเห็นที่ 21


ถ้าใจเป็นกลางจริงนะครับ

ดูภาพนี้ซิ แล้วบอกผมซิ มันมีอารมณ์ยังไง

สื่อถึงอะไร...น่าสงสารที่หนวดจิ๋มคุงเขาเลือกเส้นทางที่ถูกหลายเรื่องแต่ใช้วิธีการที่ผิดหลายเรื่องเช่นกัน


โดยคุณ BloodRoyal เมื่อวันที่ 17/03/2007 20:55:59


ความคิดเห็นที่ 22


มองภาพนี้สิครับ ผมว่าภาพนี้แหละ ให้ความรู้สึกที่ลึกซึ้งที่สุด...

และให้ความรู้สึกที่ยากจะคาดเดาได้จริงๆ


โดยคุณ BloodRoyal เมื่อวันที่ 17/03/2007 20:58:26


ความคิดเห็นที่ 23


ภาพแรกที่คุณ BloodRoyal โพส คิดว่าเป็นภาพสีน้ำฝีมือของฮิตเล่อร์ หากจำไม่ผิดคะ ดิฉันมองงานศิลปในวัยหนุ่มของเขาแล้ว คิดว่าบุคคลผู้นี้น่าจะมีอารมณ์อ่อนไหว ละเอียดอ่อนพอสมควร ดูจากลายเส้นที่นุ่มนวล การใช้สีในโทนอ่อนไม่ฉูดฉาดบาดตา และการลงฝีแปรงหรือภู่กันที่ไม่ค่อยแม่นยำนัก (เหมือนขาดความมั่นใจอะไรสักอย่าง) หากเปรียบเทียบกับฝีแปรงของแวนโก๊ะ ศิลปิน Impressionism จะเห็นว่าฝีแปรงของแวนโก๊ะมีความรุนแรงบางภาพสีจัดจ้าน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงอารามณ์ที่แปรปรวนและกดดันของเขาได้ดี ... เมื่อดูจากงานศิลปะของฮิตเล่อร์ และอุปนิสัยของศิลปินทั่วไปที่มีอารมณ์อ่อนไหว ใจอ่อน และมองเห็นความงามคุณค่าในทุกสรรพสิ่งของโลก จึงไม่น่าจะที่ฮิตเล่อร์จะกลายเป็นบุคคลที่เหี้ยมโหดที่สุดของโลก (ถึงขนาดที่เชื่อกันว่าเขาคือ ผู้ต่อต้านพระคริสต์ คนที่สอง)

โดยคุณ OA เมื่อวันที่ 18/03/2007 13:38:11


ความคิดเห็นที่ 24


ความเหี้ยมโหดของฮิตเล่อร์ในเวลาต่อมา จึงมีผู้สนใจและวิเคราะห์ไว้หลายประเด็น ซึ่งอาจจะมาจากสภาพบางอย่างที่เขาได้เจอในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ทำให้อุปนิสัยแปรเปลี่ยนไป บางคนถึงกับเชื่อในข่าวที่ว่า เมื่อครั้งที่ฮิตเล่อร์ ยศนายสิบ ได้รับบาดเจ็บสาหัสจากสงครามโลกครั้งนั้น นายแพทย์เยอรมันคนหนึ่งได้ใช้วิธีพิเศษที่ทำให้ฮิตเล่อร์ซึ่งบาดเจ็บปางตาย กลับหายดีในเวลาอันรวดเร็วและกลับสู่สนามรบได้อีก แต่ก็ส่งผลให้สภาพจิตใจของเขาเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงเช่นกัน กลายเป็นคนอมหิตและหวาดระแวงอย่างรุนแรงคะ

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าฮิตเล่อร์จะไม่สร้างผลงานภาพวาดอีกเลยในช่วงที่เล่นการเมืองและเป็นผู้นำประเทศ แต่ศิลปะอีกอย่างหนึ่งที่เขามีพรสวรรค์และนำมาใช้ตลอดคือ วาทะศิลป์ ฮิตเล่อร์สามารถพูดโน้มน้าวจิตใจคนให้คล้อยตามและเชื่อถือเขา ทำให้ครองใจคนหมู่มาก และกลายเป็นผู้นำประเทศเยอรมันในที่สุด หากลองฟังเทปบันทึกเก่าๆของฮิตเล่อร์ที่พูดในที่ชุมนุมชน จะเห็นว่ามีพลังสะกดจนน่าขนลุกคะ


โดยคุณ OA เมื่อวันที่ 18/03/2007 13:48:06


ความคิดเห็นที่ 25


ส่วนภาพที่สอง ที่คุณ BloodRoyal นำมาให้ชม มีลายเซ็นใต้ภาพว่า A. Hitler เป็นภาพวาดหุ่นนิ่ง (คิดว่าน่าจะเป็นภาพสีน้ำมัน) ที่ฝีมือดีที่สุดที่เคยเห็นมาของฮิตเล่อร์คะ องค์ประกอบภาพดี การใช้สีก็สวยสะดุดตา หากเปรียบเทียบกับหุ่นนิ่งภาพผลไม้อีกภาพ ซึ่งเป็นภาพสีน้ำ ในภาพนี้ แสงเงาน้ำหนักของภาพยังไม่ได้คะ (ดูแบนไป)

 


โดยคุณ OA เมื่อวันที่ 18/03/2007 14:09:48


ความคิดเห็นที่ 26


ภาพวาดสีน้ำ ทิวทัศน์ เมือง Laon ประเทศฝรั่งเศส ที่ฮิตเล่อร์วาดขึ้นในช่วงที่อยู่เวียนนา-มิวนิค คะ


โดยคุณ OA เมื่อวันที่ 18/03/2007 14:13:54


ความคิดเห็นที่ 27


กลับมาที่เรื่องราวของงานศิลปะในยุคผู้นำเผด็จการ สตาลิน แห่งแดนหมีขาว ? รัสเซีย คะ

 

ภาพซ้ายมือ วาดโดย G. Klucis วาดในปี 1930 ในช่วงต้นๆที่สตาลินขึ้นครองอำนาจ มีคำอธิบายใต้ภาพว่า In the storm and the third year of five-year plan. (ท่ามกลางพายุ และปีที่สามของแผนพัฒนาห้าปี) แผนพัฒนาห้าปีที่สตาลินสร้างขึ้นก่อให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมของรัสเซียเป็นอย่างมาก ทั้งส่งยังผลให้มีผู้คนล้มตายมากมายสังเวยอำนาจของผู้นำคนนี้

 

ภาพขวามือ วาดโดย EL. Lissitzky เมื่อปี 1942 ช่วงที่รัสเซียกำลังรบกับเยอรมันผู้รุกรานอย่างดุเดือด มีคำอธิบายใต้ภาพว่า Send more tanks (ส่งรถถังมาเพิ่มอีก)  


โดยคุณ OA เมื่อวันที่ 18/03/2007 14:22:13


ความคิดเห็นที่ 28


ภาพต่อมาวาดโดย Moneny ในปี 1937 ในยุคการปกครองของสตาลิน เช่นกัน ชื่อภาพ Homage to the USSR (การคารวะต่อสหภาพโซเวียต) ภาพคู่ชายหญิงที่เห็นในภาพเป็นสัญลักษณ์การต่อสู้ของชนชั้นล่าง (ชาวนาและผู้ใช้แรงงาน) และความเป็นสังคมนิยมของรัสเซีย โดยหญิงถือเคียวเกี่ยวหญ้าเป็นสัญลักษณ์ของชาวนา ชายถือค้อนคือผู้ใช้แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม คะ

โดยคุณ OA เมื่อวันที่ 18/03/2007 14:53:08


ความคิดเห็นที่ 29


ลืมใส่ภาพคะ


โดยคุณ OA เมื่อวันที่ 18/03/2007 14:54:05


ความคิดเห็นที่ 30


ย้อนกลับมาที่งานศิลปะที่ศิลปินสเปนสร้างขึ้นในช่วงสงครามกลางเมืองสเปน ทั้งจากฝ่ายที่สนับสนุนการสู้รบ และผู้ที่ต่อต้านสงครามอีกครั้งคะ

 

ภาพซ้ายมือบน วาดโดย L. Coni เมื่อปี 1940 มีคำอธิบายในภาพว่า Your brothers at the front await for you. (พี่น้องที่อยู่ในแนวหน้ากำลังรอคอยท่าน) ปัจจุบันภาพนี่อยู่ที่ พิพิธภัณฑ์ Imperial War Museum กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ คะ

 

ภาพขวามือบน วาดโดย Josep Renau ชื่อภาพ 19 ปีแห่งการต่อสู้เพื่อเสรีภาพและสันติสุขของโลก ปัจจุบันภาพอยู่ที่ กรุงมาดริด ประเทศสเปน

 

ภาพซ้ายมือล่าง วาดโดย Lleo? ชื่อภาพ Assassins (เหล่าผู้ลอบฆ่า) ปัจจุบันภาพนี้อยู่ที่ กรุงมาดริด ประเทศสเปน

 

ภาพขวามือล่าง วาดโดย Covers ชื่อภาพ We shall win for the good of the world?s Proletariat.   (พวกเราจะชนะเพื่อชนชั้นล่างของโลก)


โดยคุณ OA เมื่อวันที่ 18/03/2007 15:19:21


ความคิดเห็นที่ 31


ภาพถัดมา คือ ภาพ Covers for Nueva Cultura โดย Josep Renau วาดในช่วงปี 1935-36 ปัจจุบันภาพนี้อยู่ที่ เมือง Valencia ประเทศสเปน คะ   


โดยคุณ OA เมื่อวันที่ 18/03/2007 16:59:27


ความคิดเห็นที่ 32


ภาพสุดท้ายจากหนังสือเล่มนี้คะ เป็นงานภาพถ่าย ชื่อ Let's squash Fasciam. (มาขยี้ Fasciam ให้แหลกกันเถอะ) โดย Pere Catala i Pic ในปี 1936 ปัจจุบันภาพนี้อยู่ที่ เมือง Valencia ประเทศสเปน คะ   


โดยคุณ OA เมื่อวันที่ 18/03/2007 17:07:42


ความคิดเห็นที่ 33


หน้าปกของหนังสือ Art and Power: Europe under Dictators 1930-45 ข้างในจะมีงานประติมากรรม และงานแนว Modern Art ประเภท Abstract และงานนามธรรม รวมอยู่ด้วย แต่ไม่ได้นำมาให้ชมกันคะ

ภาพหน้าปกเป็นงานประติมากรรมขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียงของโซเวียตรัสเซีย เป็นรูปกรรมกรชายถือฆ้อนและชาวนาหญิงถือเคียวเกี่ยวข้าวคะ


โดยคุณ OA เมื่อวันที่ 18/03/2007 17:13:58


ความคิดเห็นที่ 34


ภาพตกค้างคะ นำมาฌพสต่อ ของรัสเซีย ผลงานของ A. Samokhvalov ชื่อภาพ Kirov at the sport parade. (คิรอฟในงานขบวนแห่กีฬา) วาดในปี 1935 ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่ State Russian Museum คะ


โดยคุณ OA เมื่อวันที่ 18/03/2007 20:59:50


ความคิดเห็นที่ 35


แหะๆ แถมครับคงไม่หลุดคอนเซปนะครับ
เป็นรูปสเก็ตอีวา บราวที่ฮิตเลอร์วาดให้ครับ

โดยคุณ Tasurahings เมื่อวันที่ 18/03/2007 22:57:08


ความคิดเห็นที่ 36


ไม่มาอีกแล้วอะไรกันนี่
โดยคุณ Tasurahings เมื่อวันที่ 18/03/2007 22:59:27


ความคิดเห็นที่ 37


หากภาพนั้นได้มาจากอินเตอร์เน็ต คุณTasurahings ลองใช้วิธีก้อปภาพจากเว็บต้นแบบ แล้วนำมา วางที่ช่องตอบข้อความเลยก็ได้คะ จะทำให้ภาพขึ้นในกระทู้เหมือนกัน (โดย ลากเมาส์ไปตรงรูปที่ต้องการก้อป คลิกเมาส์ขวา กดปุ่ม copy แล้วนำเมาส์มาวางตรงช่องกระทู้ที่เขียน ลากเมาส์ขวากด paste รูปก็จะลงในกระทู้คะ) หากใช้วิธี save ภาพในคอม แล้วโหลดภาพลงในนี้ไม่ได้
โดยคุณ OA เมื่อวันที่ 19/03/2007 13:14:18