'ฮุนเซน' ลั่นเขมรไม่ใช่ไนจีเรีย 3 ปีเริ่มสูบน้ำมันขาย |
โดย ผู้จัดการออนไลน์ |
4 มีนาคม 2550 03:13 น. | |
|
|
การ์ตูนออนไลน์ล้อเลียนนายกรัฐมนตรีกัมพูชา แสดงความไม่พอใจหลังจากหลายฝ่ายเรียกร้องให้ขจัดการคอร์รัปชั่น เตือนระวังจะซ้ำรอยประเทศไนจีเรีย | |
| นายกรัฐมนตรีกัมพูชา นายฮุนเซนกล่าวในสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า จะเริ่มมีการสูบน้ำมันดิบขึ้นมาทำประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ในปี 2553 พร้อมทั้งให้ยืนยันอีกครั้งว่า จะนำรายได้ไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคส่วนสาธารณสุขและการศึกษาจะได้รับส่วนแบ่งมากที่สุด กัมพูชาจะไม่เป็นแบบประทศแอฟริกาที่ร่ำรวยน้ำมันดิบบางแห่งที่ไม่สามารถทำให้ประเทศและประชาชนพ้นจากความยากจนได้ อันเนื่องมาจากปัญหาการคอร์รัปชัน ทั้งนี้เป็นรายงานของสำนักข่าวซินหัว นายกรัฐมนตรีกัมพูชาได้ระบุดังกล่าวหลังจากหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้แสดงความเป็นห่วงต่ออนาคตของกัมพูชา ที่มีการคอร์รัปชันแผ่ลามอย่างกว้างขวางในหมู่เจ้าหน้าที่ระดับสูง เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำกัมพูชา นายโจเซฟ มุสโซเมลี (Joseph Mussomeli) กล่าในที่ประชุมสัมมนาระดับชาติในกรุงพนมเปญเมื่อวันที่ 23 ก.พ. ที่ผ่านมาว่า กัมพูชาจะต้องป้องกันมิให้เกิดสถานการณ์ที่ "คนกลุ่มเล็กๆ ที่คอร์รัปชันดูดเงินรายได้จากน้ำมันไป แทนที่จะถูกนำไปใช้พัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น" เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ระบุอีกว่า อุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ รวมทั้งเหมืองประเภทต่างๆ จะทำให้กัมพูชามีรายได้เพิ่มเป็น 3 เท่าตัวภายใน 3 ปีข้างหน้านี้ กัมพูชาซึ่งถูกสงครามทำลายล้างมายาวนานและยังติดกลุ่มประเทศที่ยากจนที่สุดแห่งหนึ่งของโลก กลายเป็นประเทศ ที่ได้รับความสนใจอย่างมาก หลังบริษัทเชฟรอน (Chevron Corp) แห่งสหรัฐฯ ประกาศการค้นพบน้ำมันดิบปริมาณมากในแปลงสำรวจนอกชายฝั่งเมืองสีหนุวิลล์ในเขตทะเลอ่าวไทยของกัมพูชา เชฟรอนคอร์ป พบน้ำมันใน 4 บ่อ จากบ่อทดสอบจำนวน 6 บ่อ และ กำลังเจาะทดสอบอีก 10 บ่อในปีนี้ รัฐบาลยังไม่ยอมเปิดเผยอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับตัวเลขคาดการต่างๆ แต่ธนาคารโลกเคยตีพิมพ์รายงานที่ระบุว่า กัมพูชาอาจจะมีน้ำมันดิบอยู่ถึง 2,000 ล้านบาร์เรล ส่วนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติหรือ UNDP (United Nation Development Program) ระบุตัวจำนวนขั้นต่ำเอาไว้ 700 ล้านบาร์เรล
| | |
........................................................................
ตกลงส่วนของเราเป็นไงมั่งครับเห็นเงียบไปเลย รึเราจะชวดให้เขมรสูบไปหมดจริง ๆ หรือ ???? |
ความคิดเห็นที่ 1
สงสัย อยู่ในพื้นที่ทับซ้อนครับ
แต่ว่า สีหนุวิลล์มันห่างจากไทยไม่เท่าไหร่นิครับ
ถ้าห่างฝั่งจากจุดนั้นผมว่าไทยน่ามีเอี่ยวนา
โดยคุณ
icy_nominee เมื่อวันที่
13/03/2007 23:30:41
ความคิดเห็นที่ 2
จับตาพฤติกรรม 'ลุงแซมใจดี' จ้องบ่อน้ำมันเขมร |
โดย ผู้จัดการออนไลน์ |
28 กุมภาพันธ์ 2550 21:41 น. |
|
กรุงเทพฯ?นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนและสังคมที่เฝ้ามองเหตุการณ์ในกัมพูชาอย่างใกล้ชิดมาตลอด ได้พากันตั้งข้อสงสัย เกี่ยวกับการฟื้นฟูให้ความช่วยเหลือโดยตรง (direct aid) ของสหรัฐฯ ที่ให้แก่ประเทศนี้ ที่มีการประกาศเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทั้งๆ ที่เงื่อนไขต่างๆ ทางด้านการเมืองยังไม่ได้เปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ว่าสหรัฐฯ เองให้ความสนใจในบ่อน้ำมันนอกชายฝั่งกัมพูชา ขณะเดียวกันก็เป็นการลดอำนาจอิทธิพลของจีนลง "สหรัฐฯ มองไปที่น้ำมันเขมร.. และ ขยายทางเข้าสู่แหล่งพลังงานเหล่านี้ การยกเลิกข้อห้าม (ช่วยเหลือกัมพูชาโดยตรง) ก็ยังเป็นการดึงกัมพูชาออกจากห้วงอิทธิพลของจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" นายเล่ามงเฮย์ (Lao Mong Hay) นักวิจัยอาวุโสของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย ที่ประจำในฮ่องกงกล่าว วันที่ 21 ก.พ.ที่ผ่านมา สถานทูตกัมพูชาได้ออกคำแถลงแจ้งให้ทราบว่า รัฐบาลกัมพูชากำลังจะได้รับความช่วยเหลือเป็นเงิน 56 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณหน้า ซึ่งจะเป็นการให้ความช่วยเหลือโดยตรงจากสหรัฐฯ
|
|
เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ กำลังมีบทบาทอย่างสูงในกัมพูชา มีเป้าหมายอย่างไร? | |
|
| วอชิงตันได้ตัดความช่วยเหลือโดยตรงที่เคยให้แก่กัมพูชาลงเมื่อปี 2540 หลังจากกองกำลังที่ภักดีต่อนายฮุนเซน ได้ยึดอำนาจขับไล่ กรมพระนโรดมรณฤทธิ์ ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 1 นายเฮย์กล่าวว่า ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์โจมตีอาคารเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ในนครนิวยอร์ก วันที่ 11 ก.ย. 2544 กัมพูชาได้ให้ความร่วมมืออย่างดีกับสหรัฐฯ ในการต่อต้านการก่อการร้าย โดยฝ่ายกัมพูชาหวังที่จะมีการปรับความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ ให้เข้าสู่ระดับปกติ ในที่สุด บริษัทเชฟรอน คอร์ป (Chevron Corp) จากสหรัฐฯ ก็ได้รับสิทธิสัมปทานสำรวจขุดเจาะน้ำมันในแปลงสำรวจใหญ่นอกชายฝั่งเมืองท่าสีหนุวิลล์ ซึ่งถือเป็นการลดบทบาทและอำนาจอิทธิพลของจีนลงในทางอ้อมอีกด้วย "สหรัฐฯ ไม่ได้สนใจเรื่องสิทธิมนุษยชนในกัมพูชาอย่างจริงจังหรอก" นายเฮยกล่าว นายเฮงสัมริน (Heng Samrin) ประธานรัฐสภากัมพูชา ซึ่งเป็นประธานกิตติมศักดิ์ พรรคประชาชนกัมพูชา อันเป็นพรรครัฐบาล ได้แสดงความยินดีต่อข่าวที่ประกาศจากสถานทูตสหรัฐฯ และ หวังที่จะเห็นความช่วยเหลือจริงๆ มากกว่าการให้คำมั่น มีความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างหลากหลาย หลังจากการประชุมสัมมนาที่เป็นทางการเกี่ยวกับรูปโฉมการพัฒนาเศรษฐกิจกัมพูชา ในกรุงพนมเปญปลายสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ นายโจเซพ มุสโซเมลี (Joseph Mussomeli) เอกอัครราชทูตสหรัฐ ได้กล่าวถึงอุตสาหกรรมก๊าซและน้ำมันในกัมพูชา ทูตสหรัฐฯ ได้แสดงความยินดีที่นายฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ได้ปราสัยเปิดการประชุมสัมมนาดังกล่าว ระบุว่า เงินที่ได้จากการขายน้ำมันในอนาคตจะนำไปใช้ในการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ นายมุสโซเมลี กล่าวว่า มีความจำเป็นที่กัมพูชาจะต้องกำจัดคนกลุ่มน้อยนิดที่ทุจริตคอร์รัปชัน คอยดูดเงินรายได้จากอุตสาหกรรมก๊าซ-น้ำมัน ออกไป แทนที่จะถูกนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชนเจ้าที่เป็นของประเทศ นายทุน สาหร่าย (Thun Saray) ประธานกลุ่มแอดฮ็อก (AdHoc) ซึ่งเป็นองค์กรสิทธิมนุษยชนในกัมพูชา ได้มองในแง่ที่ดีว่า สหรัฐฯ อาจจะเริ่มสนใจที่จะฟื้นฟูการติดต่อโดยตรงในระดับรัฐบาลกับทางการกัมพูชาอีกครั้ง เพื่อผลักดันให้เกิดการปฏิรูปทางการเมืองในประเทศนี้ "ผมคิดว่าฝ่ายสหรัฐฯ มองประเทศกัมพูชาที่แตกต่างไปจากเมื่อปี 2536-2537 และเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน แต่กัมพูชาก็ยังมีอะไรหลายอย่างที่ไม่เปลี่ยน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือสถาบันประชาธิปไตยที่ยังอ่อนแอ และรัฐบาลจะไม่ปฏิรูปเรื่องนี้" เจ้าหน้าที่สิทธิมนุษยชนผู้นี้กล่าว นายสาหร่ายตั้งข้อกังขาว่า รัฐบาลของนายฮุนเซนจะยอมปฏิรูปง่ายๆ เพียงเพื่อที่จะมีความใกล้ชิดกับสหรัฐฯ อย่างไรก็ตามนายเจฟ ดายเกิล (Jeff Daigle) โฆษกสถานทูตสหรัฐฯ ในกรุงพนมเปญว่า การเปลี่ยนแปลงนโยบายครั้งนี้คงจะไม่กระทบต่อโครงการพัฒนาหลักๆ ที่สหรัฐฯ ให้การสนับสนุนอยู่ในประเทศนี้ แต่คงจะทำให้สหรัฐฯ สามารถยืดหยุ่นได้มากขึ้นในการช่วยเหลือกัมพูชาพัฒนาประเทศ
|
|
การ์ตูนออนไลน์ล้อเลียนเอกอัครราชทูตโจเซพ มุสโซเมลี ที่วิพากษ์วิจารณ์เรียกร้องให้รัฐบาลนายฮุนเซน เร่งออกกฎหมายต่อต้านการฉ้อราษฎรบังหลวง แต่ตอนนี้สหรัฐฯ หันมาให้ความช่วยเหลือโดยตรงแก่กัมพูชา | |
| ในช่วง 10 ปีมานี้สหรัฐฯ ให้ความช่วยเหลือแก่กัมพูชาโดยผ่านหน่วยงานหรือองค์การระหว่างประเทศ เมื่อปีที่แล้วก็ได้ให้ความช่วยเหลือผ่าน องค์การที่ไม่สังกัดรัฐบาล หรือ NGO เป็นเงินราว 54.9 ล้านดอลลาร์ ความสัมพันธ์สหรัฐฯ-กัมพูชา ได้ค่อยๆ พัฒนาขึ้นในระยะปีใกล้ๆ นี้ และ ในต้นเดือน ก.พ. เรือพิฆาตติดขีปนาวุธแกรี (Garry) ของกองทัพเรือที่ 7 สหรัฐฯ ก็ได้เข้าจอดเทียบท่าที่ฐานทัพเรือเรียม (Ream) ในสีหนุวิลล์ กลายเป็นเรือรบลำแรกของกองทัพสหรัฐฯ ที่แวะเยือนมิตรภาพในกัมพูชา นับตั้งแต่สงครามอินโดจีนสิ้นสุดลงกว่า 30 ปีก่อน เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ กล่าวก่อนหน้านี้ว่าการยกเลิกข้อห้ามเพื่อช่วยเหลือโดยแก่กัมพูชานี้ เป็นอีกสัญญาณหนึ่งที่บ่งบอกให้เห็นว่าความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศได้รับการเสริมสร้าง และมีความล้ำลึกลงไป ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนที่แล้ว นายมุสโซเมลี เป็นอีกคนหนึ่งที่ได้ร่วมกับบรรดาตัวแทนของประเทศผู้บริจาค กล่าวโจมตีการปราบปรามการคอร์รัปชันที่อ่อนด้อยในกัมพูชา ซึ่งทำให้ประเทศนี้ถูกจัดอยู่ในอันดับต้นๆ ประเทศที่มีการฉ้อราษฎรบังหลวงมากที่สุดในโลก การคอร์รัปชันที่แพร่ลามและกัมพูชายังไม่มีกฎหมายต่อต้านการฉ้อราษฎรบังหลวงออกมาได้ทำให้เกิดความวิตกว่า อุตสาหกรรมน้ำมันจะทำให้กัมพูชา "ถูกสาป" แบบที่เกิดขึ้นในประเทศไนจีเรีย ที่ประชาชนไม่ได้รับประโยชน์อะไรจากการสูบทรัพยากรขึ้นในประโยชน์ และ ประเทศเป็นหนี้สินล้นพ้น การให้ความช่วยเหลือโดยแก่กัมพูชาอีกครั้งยังมีขึ้นในช่วงที่จีนได้เข้ามีบทบาทอย่างสูง ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศนี้ในโครงการพัฒนาที่สำคัญๆ ต่างๆ เป็นเงินนับพันล้านดอลลาร์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเงินกู้ระยะยาวดอกเบี้ยต่ำ นายฮุนเซนได้กล่าวยกย่องรัฐบาลจีนอย่างสูงว่า เป็นประเทศมหามิตรที่ให้ความช่วยเหลือโดยที่ไม่เคยตั้งเงื่อนไขใดๆ ต่างจากความช่วยเหลือที่ประเทศตะวันตกหยิบยื่นให้ กัมพูชาได้กลายเป็นชื่อที่ได้รับความสนใจจากนานาประเทศ นับตั้งแต่บริษัทเชฟรอน ได้ประกาศการค้นพบน้ำมันดิบและก๊าซในแหล่งนอกชายฝั่งกัมพูชาในเขตอ่าวไทย โดยเชฟรอนได้พบน้ำมันดิบในบ่อเจาะทดสอบจำนวน 4 บ่อจากทั้งหมด 6 บ่อ ในปีนี้บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่จากสหรัฐฯ กำลังทำการเจาะทดสอบเพิ่มเติมอีก 10 บ่อ.
| |
โดยคุณ
ท.กองหนุน เมื่อวันที่
13/03/2007 23:32:57
ความคิดเห็นที่ 3
ทูตสหรัฐฯ ย้ำเขมรเงินได้จากน้ำมันต้องโปร่งใส |
โดย ผู้จัดการออนไลน์ |
26 กุมภาพันธ์ 2550 12:46 น. |
|
|
เมืองท่าสีหนุวิลล์ ศูนย์กลางการสำรวจขุดเจาะน้ำมันในทะเลอ่าวไทยของกัมพูชา กลายเป็น "จุดร้อน" แห่งใหม่ในภูมิภาค | |
|
| กรุงเทพฯ-- เอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำกรุงพนมเปญกล่าวว่า รัฐบาลกัมพูชาจะต้องระวังและกำจัดกลุ่มบุคคลจำนวนน้อยที่หวังจะสูบเงินรายได้จากน้ำมันของประเทศ และ จะต้องใช้เงินไปในการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอีกด้วย ความห่วงใยของสหรัฐฯ ได้รับการตอบสนองจากนายกรัฐมนตรีกัมพูชา นายฮุนเซนที่กล่าวว่าจะไม่ทำให้กัมพูชาเป็นประเทศที่ต้องคำสาปน้ำมัน (Oil Curse) อย่างที่หลายฝ่ายเป็นห่วงว่าอาจจะเกิดขึ้นเช่นในบางประเทศแอฟริกา แต่รัฐบาลของเขาจะนำเงินรายได้จากทรัพยากรน้ำมันไปพัฒนาสร้างประเทศนี้ให้มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจอย่างยังยืน นายฮุนเซนระบุดังกล่าวในการประชุมสัมมนาที่จัดขึ้นในกรุงพนมเปญระหว่างวันที่ 22-24 ก.พ.ที่ผ่านมา ซึ่งมีตัวแทนภาคเอกชนและรัฐบาลที่มีอำนาจตัดสินใจในแขนงงานต่างๆ ทั้งในและจากต่างประเทศเข้าร่วมราว 100 คน ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ผู้นำที่ทรงพลังอำนาจในกัมพูชา ที่ปวารณาตัวเองจะอยู่ในตำแหน่งจนกว่าจะอายุ 90 ปี ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ องค์การระหว่างประเทศ องค์การที่ไม่สังกัดรัฐบาล ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมน้ำมันของโลกได้ออกแสดงความห่วงใยและวิตกต่ออนาคตของกัมพูชา ชาติที่ติดอันดับคอร์รัปชันสูงสุดของโลก ที่กำลังจะสูบน้ำมันดิบและก๊าซขึ้นมาใช้ โดยอาจจะทำให้เกิดผลร้ายติดตามมาเช่นที่เกิดในประเทศไนจีเรีย นายฮุนเซนกล่าวว่า ในแหล่งนอกชายฝั่งกัมพูชาที่บางฝ่ายคาดว่าจะมีน้ำมันดิบอยู่ระหว่าง 700-2,000 ล้านบาร์เรล นั้น ทำให้ประเทศที่ยากจนที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ได้รับความสนใจจากฝ่ายต่างๆ ในขณะนี้ "เงินรายได้จากน้ำมันที่เพิ่งจะค้นพบเมื่อไม่นานมานี้ จะช่วยสนับสนุนด้านการเงินแก่โครงการพัฒนาต่างๆในกัมพูชา เงินเหล่านั้นจะถูกนำไปใช้ลงทุนในการผลิตและการแก้ไขปัญหาความยากจน" นายฮุนเซนกล่าวในการเปิดประชุมสัมมนาในหัวข้อ "มองภาพเศรษฐกิจกัมพูชา 2550? นายกรัฐมนตรีกัมพูชากล่าวว่า นี่เป็นโอกาสที่ดีสำหรับประเทศในการสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจในระยะสั้นและในระยะปานกลาง ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวไปในหลายทิศทาง และสามารถแก้ไขปัญหาความยากจนได้ "เราจะทำให้แน่ใจว่าน้ำมันเป็นสิ่งที่ประเสริฐมิใช่คำสาป" นายกรัฐมนตรีกัมพูชาเอ่ยถึงวลีที่ฝ่ายต่างๆ ชอบใช้เมื่อพูดถึงอุตสาหกรรมน้ำมันในกัมพูชา นายโจเซฟ มุสโซเมลี เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำกรุงพนมเปญกล่าวในการประชุมสัมมนางานเดียวกันเมื่อวันศุกร์ (23 ก.พ.) แสดงความห่วงใยในเรื่องนี้ พร้อมทั้งแนะนำว่ากัมพูชาจะต้องหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ "คนส่วนน้อยที่คอร์รัปชัน" ดูดเงินรายได้จากน้ำมันไปเข้ากระเป๋าตัวเองกับพวกพ้อง และ ต้องนำรายได้ส่วนนี้ไปใช้ในการพัฒนาเพื่อให้ประชาชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีฮุนเซน ได้แสดงความตั้งใจทางการเมืองที่ถูกต้อง บรรดาข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐบาลต่างก็ได้รับทราบ และ กำลังดำเนินการอย่างรับผิดชอบในการพัฒนาอุตสาหกรรมการขุดค้นและสกัดน้ำมันในประเทศ นายมุสโซเมลี ได้ยกย่องรัฐบาลกัมพูชาที่ได้พิจารณาเข้าสู่ขบวนการความริเริ่มทำให้อุตสาหกรรมน้ำมันมีความโปร่งใส ที่เรียกเป็นศัพท์อุตสาหกรรมว่า EITI (Extractive Industry Transparency Initiative) และแสดงความหวังว่าอีกไม่นานกัมพูชาจะได้เข้าร่วมส่วนในประชาคมประเทศ EITI ของโลก ทูตสหรัฐฯ กล่าวอีกว่า ในระยะ 3 ปีข้างหน้าอุตสาหกรรมก๊าซ น้ำมัน และ เหมืองแร่ต่างๆ ที่ดำเนินอยู่ในขณะนี้ อาจจะทำให้รัฐบาลกัมพูชามีรายได้เพิ่มขึ้นราว 3 เท่าตัว เทียบกับเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศทั้งหมดที่ได้รับเมื่อปี 2548 ทั้งนี้เป็นผลจากการศึกษาของโครงการเพื่อการพัฒนาแห่งสหประชาชาติหรือ UNDP (United Nation Development Program)
|
|
แปลงสำรวจในเขตน่านน้ำของไทย ซึ่งวัดตามแนวจากจุดปลายสุดเขตแดนด้าน อ.คลองใหญ่ จ.ตลาด แต่ในทะเลยังมีเขตเหลื่อมล้ำกันอยู่มาก | |
|
| ตามรายงานของสำนักข่าวซินหัวในสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา นายดักลาส การ์ดเนอร์ (Douglas Garner) ตัวแทนของ UNDP ประจำกัมพูชา กล่าวในวันศุกร์เช่นเดียวกันว่า กัมพูชาอาจจะสามารถนำน้ำมันขึ้นมาใช้ในเชิงพาณิชย์ได้เป็นครั้งแรกในปี 2563 ประเทศนี้จะมีรายได้ประมาณปีละ 1,700 ล้านดอลลาร์ เทียบราคาน้ำมันดิบบาร์เรลละ 60 ดอลลาร์ ผู้แทนของ UNDP กล่าว กัมพูชามีประชากรเกือบ 14 ล้านคน 35% อาศัยอยู่ในความยากจนที่ต่ำสุด มีรายได้เฉลี่ยวันละ 50 เซ็น (ไม่ถึง 10 บาท) เท่านั้น เหตุการณ์ "ตื่นน้ำมัน" ในกัมพูชาเริ่มขึ้นเมื่อปี 2548 เมื่อบริษัทเชฟรอน (Chevron Corp) จากสหรัฐฯ ประกาศการพบในบ่อเจาะทดสอบ จำนวน 4 บ่อ จากทั้งหมด 6 บ่อ และ ในปีนี้เชฟรอนจะเจาะทดสอบอีกรวม 10 บ่อ ที่ผ่านมารัฐบาลกัมพูชาได้ปิดเงียบตัวเลขต่างๆ เกี่ยวกับก๊าซและน้ำมันในประเทศ เจ้าหน้าที่การปิโตรเลียมกัมพูชาเคยให้สัมภาษณ์เรื่องนี้ครั้งหนึ่งเมื่อต้นปี 2549 โดยระบุว่าก๊าซและน้ำมันในแหล่งนอกชายฝั่งของประเทศนี้บริษัทน้ำมัน อาจจะสามารถสูบขึ้นมาใช้ได้นานตลอด 40 ปีข้างหน้า แต่หลังจากนั้นก็ไม่มีผู้ใดยอมให้สัมภาษณ์อีก โดยอ้างว่าต้องรอให้มีการยืนยันอย่างเป็นทางการเสียก่อน นับตั้งแต่เชฟรอนประกาศเรื่องนี้ บริษัทน้ำมันชาติต่างๆ รวมทั้ง ฝรั่งเศส เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ มาเลเชีย และไทย ต่างก็พยายามหาโอกาสเข้าไปร่วมทุนในการสำรวจขุดเจาะในประเทศนี้ ธนาคารโลกได้ออกรายงานในปีนี้ประมาณว่า กัมพูชาน่าจะมีน้ำมันอยู่ 2,000 ล้านบาร์เรล ส่วน UNDP ยืนยันตัวเลขอย่างน้อย 700 ล้านบาร์เรล คนวงในอุตสาหกรรมการสำรวจขุดเจาะในกัมพูชากล่าวว่า ความจริงแล้วแหล่งที่คาดว่าจะมีก๊าซและน้ำมันดิบมากที่สุดก็คือ เขตเหลื่อมล้ำทางทะเลในอ่าวไทยที่กัมพูชายังมีข้อพิพาทกับไทย ในเดือนนี้นักวิชาการในคูเวตคนหนึ่งซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญกิจการเอเชีย ได้ออกเตือนว่ากรณีพิพาทดินแดนระหว่างสองประเทศเพื่อนบ้านที่ใกล้ที่สุดนี้ อาจจะปะทุรุนแรงขึ้นได้เมื่อมีอุตสาหกรรมน้ำมันในกัมพูชาพัฒนาไปอย่างจริงจัง และ กัมพูชา ควรจะพยายามให้มากขึ้นในการเจรจาแบ่งปันเขตแดนทางทะเลกับไทยให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ที่ผ่านมาหลายงฝ่ายได้เป็นห่วงว่ากัมพูชาจะเป็นเหมือนประเทศไนจีเรีย ที่มีรายได้จากการขายน้ำมันหลายแสนล้านดอลลาร์ แต่เงินได้ถูกเจ้าหน้าที่ทุจริตดูดไปเข้ากระเป๋าของตัวเองกับพลพรรค และ ประชาชนของประเทศนี้ก็ยังคงยากจน แถมประเทศยังเป็นหนี้ต่างชาติอีกราว 30,000 ล้านดอลลาร์.
| |
โดยคุณ
ท.กองหนุน เมื่อวันที่
13/03/2007 23:52:08
ความคิดเห็นที่ 4
งงครับ ท่านใดพอทราบรายละเอียดบ้างว่าเป็นอย่างไร ผมเองพยายามหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ ว่าจริง ๆ แล้วมันเป็นเขตของเขมร หรือเป็นเขตทับซ้อน ทางฝ่ายไทยเองก็ไม่มีข่าวให้ทราบทั้งในส่วนทหารเรือ และกระทรวงการต่างประเทศ ดูจากแผนที่แล้วมันเหมือนกับจะทับซ้อนกัน ผมสงสัยตั้งแต่กระทู้ก่อนหน้านี้แล้วครับ
เพื่อน ๆ ท่านใดทราบ รบกวนช่วยอธิบายหน่อยครับ
โดยคุณ
โต้ง เมื่อวันที่
14/03/2007 08:33:18
ความคิดเห็นที่ 5
เพราะ ฝ่ายเราไม่มีคราวนี่สิครับ น่าหวาดเสียวจริงๆ
"ในเขตทะเลอ่าวไทยของกัมพูชา" มันหมายความว่า ไงครับงง
โดยคุณ
Tasurahings เมื่อวันที่
14/03/2007 09:35:15
ความคิดเห็นที่ 6
คำว่าอ่าวไทยก็เรียกครอบคลุมทั้งอ่าวล่ะครับ เป็นแค่ชื่อเท่านั้น
ซึ่งพื้นที่ถ้ามันทับซ้อนกันจริง ผมว่าประเทศเราหรือปตท.คงไม่ปล่อยไว้หรอกครับ เรื่องนี้อาจจะมีการคุย ๆ กันอยุ่แล้ว เพียงแต่เราไม่ทราบก็ได้
โดยคุณ
Skyman เมื่อวันที่
14/03/2007 14:26:35
ความคิดเห็นที่ 7
ภาพนี้เป็นแผนที่การแบ่งเขตเเดนทางทะเลในอ่าวไทยครับ เป็นแผนที่ของกรมพลังงานเชื้อเพลิงครับ พื้นที่พัฒนาร่วมไทย-เขมรนั้น (TCJDA)อยู่ทางฝั่งตะวันออกของ Block B5 ลงมาถึง Block B10 ครับ เป็นส่วนที่ยังหาข้อตกลงไม่ได้ แต่พื้นที่ที่เค้าว่ากันว่าพบน้ำมันดิบอย่างมากมายก็คือพื้นที่ที่อยู่ข้างๆกับแหล่งปลาทองของ Chevron (Block B10 และ 11) และค่อนๆไปทางเขตแดนเวียดนามครับ (แหล่งปลาทองเองก็มีการผลิตน้ำมันดิบด้วย แต่มีปริมาณที่ค่อนข้างน้อย) สังเกตุได้ว่าในพื้นที่แถบๆเขตแดนของเวียดนามที่อยู่ติดๆกะของเขมรเองก็มีการค้นพบและผลิตน้ำมันดิบอย่างมากมายครับ ในขณะที่แหล่งบงกต และอาทิตย์ของปตท.ส.ผ. และแหล่งเอราวัณ ของ Chevron นั้นพบแต่ก๊าซธรรมชาติครับ สำหรับ TCJDA นั้นหลายๆฝ่ายเองก็คาดกันว่าจะมีแต่ก๊าซธรรมชาติครับ ตามความเห็นของผมแล้วผมไม่คิดว่าเราจะมีสิทธิใดๆต่อแหล่งน้ำมันเหล่านั้นในประเทศเขมรดังที่สื่อมวลชนต่างๆได้เสนอข่าว(แบบมั่วๆ)มาครับ
โดยคุณ Ark_pttep เมื่อวันที่
18/03/2007 20:47:52
ความคิดเห็นที่ 8
โดยคุณ Ark_pttep เมื่อวันที่
18/03/2007 20:48:44