จะค่อนข้างสอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียงของพระองค์ท่านพ่ออยู่หัวของเราอย่างมากหลายๆประเด็น (ซึ่งคนไทยปากว่ารับใส่เกล้า แต่ก็ปฏิบัติกันสวนทาง)
จะเน้นความอ่อนน้อมมากๆ ความต่ำ ความอ่อนโยนมากๆ
ไม่ขอยกมาทั้งหมดนะตัวเอง เอาเฉพาะที่สำคัญๆ บางอันก็แปลยากเหลือเกิน มันเหนือมนุษย์จริงๆ
ศาสตร์ปกครอง แนวคิดอุดมการณ์จีนโบราณมันมีหลักๆก็สองค่าย ขงจื่อ เหลาจื่อเนี่ยแหละ
ขงจื่อ เข้าใจง่าย ปฏิบัติง่าย
เหลาจื่อ เข้าใจยาก(เขาว่าเหนือมนุษย์) ปฏิบัติยาก (แต่คล้ายพุทธมากกว่าขงจื่อสุดๆ)
กระทู้นี้วิชาการล้วนนะ มะต้องมาเถียง อ่านอย่างเดียวชอบก็ชอบ ไม่ชอบก็เก็บไว้เด้อ เห็นด้วยไม่เห็นด้วยก็เรื่องของสูท่านเด้อ เพราะนี่มันยุคโบราณนู๊นนนน
คัมภีร์เต๋าเต็กเก๋งมี 5 พันอักษร มี 81 บท
แปลมีหลายฉบับ แต่ละคนแปลไม่เหมือนกัน ตีความยากสุดๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
เริ่มละน๊า
บทที่ 2
สิ่งต่างๆ อุบัติขึ้นด้วยการเปรียบเทียบ
เมื่อคนในโลกรู้จักความสวยว่าสวย
ความน่าเกลียดก็อุบัติขึ้น
เมื่อคนในโลกรู้จักความดีว่าดี
ความชั่วก็อุบัติขึ้น
มีกับไม่มีเกิดขึ้นด้วยการรับรู้
ยากกับง่ายเกิดขึ้นด้วยความรู้สึก
ยาวกับสั้นเกิดขึ้นด้วยการเปรียบเทียบ
สูงกับต่ำเกิดขึ้นด้วยการเทียบเคียง
เสียงดนตรีกับเสียงสามัญเกิดขึ้นด้วยการรับฟัง
หน้ากับหลังเกิดขึ้นด้วยการนึกคิด
ดังนั้นปราชญ์ย่อม
กระทำด้วยการไม่กระทำ
เทศนาด้วยการไม่เอ่ยวาจา
การงานทั้งหลายก็สำเร็จลุล่วงลง
ท่านให้ชีวิตแก่สรรพสิ่ง
แต่มิได้ถือตัวเป็นเจ้าของ
ประกอบกิจยิ่งใหญ่
แต่มิได้ประกาศให้โลกรู้
เหตุที่ท่านไม่ปรารถนาในเกียรติคุณ
เกียรติคุณของท่านจึงดำรงอยู่ไม่สูญสลาย
บทที่ 3
การปกครองของปราชญ์
มิได้ยกย่องคนฉลาด
ประชาราษฎร์ก็จะไม่แก่งแย่งชิงดี
มิได้ให้คุณค่าแก่สิ่งของที่หายาก
ประชาราษฎร์ก็จะไม่ลักขโมย
ขจัดตัวตนแห่งความอดอยาก
ดวงใจแห่งประชาราษฎร์ก็จะบริสุทธิ์
ดังนั้นปราชญ์ย่อมปกครองโดย
ทำให้จิตใจของประชาราษฎร์ ว่าง สะอาด
บำรุงเลี้ยงให้อิ่มหนำ
ตัดทอนความทะยานอยาก
เสริมสุขภาพแห่งร่างกาย
ความคิดและความปรารถนาของประชาราษฎร์
ก็จะถูกชะล้างให้บริสุทธิ์
คนฉ้อฉลก็มิอาจหาญ
เข้ากระทำการทุจริต
ปราชญ์ย่อมปกครอง
โดยการไม่ปกครอง
ดังนี้ทุกสิ่งทุกอย่าง
ก็จะถูกปกครอง
และดำเนินไปอย่างมีระเบียบ
บทที่ 7
มิได้อยู่เพื่อตนเอง
ฟ้ามีอายุยาวนาน
ดินมีอายุยาวนาน
เหตุเพราะฟ้าและดินมิได้ดำรงอยู่เพื่อตนเอง
จึงอาจอยู่ได้คงทน
ดังนั้นปราชญ์ย่อมตั้งตนอยู่รั้งท้าย
และก็จะกลับกลายเป็นหน้าสุด
ละเลยตนเอง
แต่กลับมีชีวิตอยู่ได้ด้วยดี
เพราะปราชญ์มิได้อยู่เพื่อตนเองหรือมิใช่
ตัวตนของท่านจึงถึงซึ่งความสมบูรณ์
บทที่ 9
สำรวมชีวิต
โก่งคันศรจนสุดล้า
ย่อมมีเวลาที่มันจะคืนกลับ
ลับดาบจนแหลมคม
ย่อมมีเวลาที่มันจะทื่อ
เมื่อท่านมีทองและหยกอยู่เต็มห้อง
ย่อมไม่อาจรักษาไว้ได้โดยปลอดภัย
ภาคภูมิใจกับเกียรติยศและความมั่งคั่ง
ย่อมโศกเศร้าเมื่อความตกต่ำมาถึง
ถอนตัวออกเมื่อกิจการงานได้เสร็จสิ้นลง
นี่คือวิถีทางแห่งสรวงสวรรค์
บทที่ 12
เปลือกกับแก่น
สีทั้งห้าทำให้ดวงตาพร่ามัว
เสียงทั้งห้าทำให้โสดประสาทเลอะเลือน
รสทั้งห้า ทำให้ลิ้นขาด้าน
การพนันและการล่าสัตว์
ทำให้จิตใจของคนขุ่นหมอง
ของมีราคาและหายาก
ทำให้เกิดอันตรายแก่ความประพฤติของผู้คน
ดังนั้นปราชญ์จึงกระทำการ
เพียงเพื่อให้ท้องอิ่มเท่านั้น
มิใช่เพื่อความสำราญของตา หู และลิ้น
ท่านละเลยในรูปแบบอันเป็นเปลือก
และหันมาเอาใจใส่ในแก่นแท้
บทที่ 13
การยกย่องและการดูแคลน
?เมื่อได้รับการยกย่องและการดูแคลน
ย่อมทำให้ผู้คนหวาดผวา
สิ่งที่เราชมชอบและสิ่งที่เรากลัวเกรง
ย่อมอยู่ภายในตัวของเราเอง?
?เมื่อได้รับการยกย่องและเมื่อได้รับการดูแคลน
ย่อมทำให้ผู้คนหวาดผวา?
นี้หมายความว่าอย่างไร
หมายความว่า
ผู้ที่ได้รับการยกย่องจากเบื้องบน
ย่อมตื่นเต้นเมื่อได้รับ
และย่อมหวาดผวาเมื่อสูญเสีย
?สิ่งที่เราชมชอบและสิ่งที่เรากลัวเกรง
ย่อมอยู่ภายในตัวของเราเอง?
นี้มีความว่าอย่างไร
หมายความว่า
เมื่อเราไม่นำพาต่อตัวตน
มีอะไรที่เราจะต้องเกรงกลัวอีก
ดังผู้ที่ให้คุณค่าแก่โลกเทียบเท่ากับตน
ย่อมได้รับความไว้วางใจให้ปกครองโลก
และผู้ที่รักโลกเทียบเท่าตน
ย่อมได้รับความไว้วางใจให้เป็นผู้ดูแลโลก
บทที่ 17
ผู้ปกครองประเทศที่ดี
ผู้ปกครองที่ดีที่สุดนั้น
ราษฎรเพียงแต่รู้ว่ามีเขาอยู่
ที่ดีรองลงมา
ราษฎรรักและยกย่อง
ที่ดีรองลงมา
ราษฎรกลัวเกรง
รองลงมาเป็นอันดับสุดท้าย
ราษฎรชิงชัง
เมื่อนักปกครองขาดศรัทธาในเต๋า
ก็มักต้องการให้ประชาชนมาศรัทธาในตน
แต่สำหรับนักปกครองที่ยอดเยี่ยมนั้น
เมื่อภารกิจได้สำเร็จลงแล้ว
การงานได้ลุล่วงลงแล้ว
ราษฎรต่างพากันภาคภูมิใจและกู่ก้องว่า
?การงานนั้นล้วนสำเร็จลงด้วยความสามารถของเรา?
บทที่ 19
ธรรมชาติดั้งเดิมของมนุษย์
ละทิ้งความเฉียบแหลม ละเลยความรอบรู้
ประชาชนก็จะได้รับประโยชน์อีกร้อยเท่า
ละทิ้งความถูกต้อง ละเลยความยุติธรรม
ประชาชนก็จะปรองดองกันดุจเครือญาติ
ละทิ้งเล่ห์เหลี่ยม ละเลยผลประโยชน์
หัวขโมยก็จะหมดสิ้นไป
สิ่งทั้งสามนี้ คือกิริยาอาการภายนอก
ที่เสแสร้งขึ้นอย่างไร้ประโยชน์
ราษฎรต้องการพึ่งพาใน
การเป็นตัวของตัวเองอย่างง่ายๆ
สอดคล้องกับธรรมชาติดั้งเดิม
เพื่อขจัดความเห็นแก่ตัว
เพื่อตัดรากเหง้าแห่งความโลภ
บทที่ 22
ไม่แก่งแย่งแข่งขัน
ยอมเป็นผู้ต่ำต้อยจึงรักษาตนไว้ได้
ยอมงอจึงกลับตรงได้
ยอมว่างเปล่าจึงเต็มได้
ยอมเก่าจึงกลับใหม่
ผู้มีน้อยก็จะได้รับ
ผู้มีมากจะถูกลดทอน
ดังนั้นปราชญ์ย่อมรักษาความเป็นหนึ่งเดียวไว้
ท่านจึงกลายเป็นแบบอย่างของโลก
ท่านมิได้แสดงตนให้ปรากฏ
ความรุ่งโรจน์ของท่านกลับปรากฏขึ้น
ท่ามิได้ผยองลำพอง
ชื่อเสียงของท่านกลับลือเลื่อง
ท่านมิได้โอ้อวดตน
ประชาชนกลับไว้วางใจ
ท่ามิได้ภาคภูมิใจ
แต่กลับได้เป็นผู้นำของประชาชน
ด้วยเหตุว่าท่านมิได้แก่งแย่งชิงดีกับผู้ใด
จึงไม่มีใครในโลกมาแข่งขันกับท่าน
ตามที่โบราณได้กล่าวไว้ว่า
?ยอมเป็นผู้ที่ต่ำต้อยจึงรักษาตนไว้ได้?
นี้มิอาจนับได้ว่าเป็นความจริงหรือ
ดังนั้นปราชญ์จึงดำรงตนไว้ได้
และโลกทั้งโลกก็ให้ความเคารพ
บทที่ 24
กากเดนของคุณความดี
ผู้ที่ยืนเขย่งบนปลายเท้าจะยืนได้ไม่มั่นคง
ผู้ที่เดินเร็วเกินไปจะเดินไม่ได้ดี
ผู้ที่แสดงตนให้ปรากฏจะไม่เป็นที่รู้จัก
ผู้ที่ยกย่องตนเองจะไม่มีใครเชื่อถือ
ผู้ที่ลำพองจะไม่ได้เป็นหัวหน้าในหมู่คน
สิ่งเหล่านี้ในทัศนะของเต๋าแล้ว
ย่อมเรียกได้ว่า
กากเดนและเนื้อร้ายของคุณความดี
อันเป็นสิ่งที่พึงเหยียดหยาม
ดังนั้นบุคคลผู้ยึดมั่นในหนทางแห่งเต๋า
พึงหลีกเลี่ยงจากสิ่งเหล่านี้
บทที่ 28
แสดงออกด้วยความง่าย
ผู้มีความเข้มแข็ง
แต่แสดงออกด้วยความอ่อนโยน
&nb
ก๊าซซซซซซซซซซซซซซซซซซซซซ
หนูพลาดดดดดดดดดดดดดดดดดด
ลืมตัดทอนให้สั้นๆหลายๆโพสต์
ม่ายยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยย
พิมพ์แทบตายยยยยยยยยยยยยยยยย
อ๊ากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก
รูปแรกคือท่านตั้กม๊อ เชิญบูชากันนะครับ
ท่านปรมจารย์มวยจีนท่านหนึ่ง(สำนักในไทยเนี่ยแหละ) ท่านรอดชีวิตได้เพราะปาฏิหารณ์ ชาวบ้านผู้พบเห็นบอกว่าเห็นพระรูปหนึ่งตามรูปนี่เลย(ท่านพวกรูปในรถ) พระท่านวิ่งมาดึงคันรถไว้ ทำให้รอดตาย
ท่านตั้กม๊อ มาช่วยครับ (ไม่เชื่ออย่าลบหลู่)
เฮ้ออออออออออออออออออออออ
แงๆๆๆๆ พิมตั้ง40 กว่าบท นิ้วแทบหงิก แงๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ