ยุทธการผาภูมิ
หลังจาก การฝึกร่วม ปี ๑๖ ตามแผน ยุทธการ สามชัย ในการ ปราบปราม ผกค. ที่ ภูหิน ร่องกล้า บริเวณ พื้นที่ รอยต่อ ของ จังหวัด พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และ เลย ได้เสร็จสิ้น ไปด้วย ความสำเร็จผล อย่างงดงาม แล้ว บก.ทหาร สูงสุด ได้มี คำสั่ง ให้มี การฝึกร่วม ในปี ๑๗ อีกครั้งหนึ่ง ตามแผนยุทธการผาภูมิ เพื่อปราบปราม ผกค. ที่ ดอยผาจิ ซึ่งเป็น พื้นที่ รอยต่อ ของ จังหวัด เชียงราย และ จังหวัด น่าน
ยุทธการผาภูมิ เป็นการ ฝึกร่วม ประจำปี ๒๕๑๗ ระหว่าง ๓ เหล่าทัพ ร่วมกับ กำลัง ตำรวจ และ พลเรือน เป็น การฝึก ในลักษณะจริง คือ การปราบปราม ผู้ก่อการร้าย คอมมูนิสต์ มี กองทัพบก เป็นผู้ รับผิดชอบ ประสาน การปฏิบัติ โดยตรง กับ กองทัพเริอ กองทัพอากาศ ตำรวจ และ พลเรือน
ตามคำสั่ง บก.ทหารสูงสุด ให้ ทร. จัดกำลัง ร่วมใน การฝึก จึงขอให้ ทร. จัดตั้ง กองอำนวยการ ฝึกร่วม ฝ่ายทหารเรือ ปี ๑๗ (กอฝ.ทร.๑๗) วางแผน ควบคุม และ อำนวยการ ด้านการ สนับสนุน การปฏิบัติ ของ หน่วยกำลัง ทร. ตามแผน การฝึกร่วม ปี ๑๗ จัดตั้ง กำลัง เฉพาะกิจ นาวิกโยธิน เข้าร่วม การฝึก โดยมอบ ให้ขึ้น การควบคุม อำนวยการ แก่ กอฝ.ทร.๑๗ ตั้งแต่ ขั้นเตรียมการ จนเสร็จสิ้น การฝึก (กองทัพเรือ มอบให้ กรมนาวิกโยธิน เป็น หน่วยจัดกำลัง ๑ กองพัน ทหารราบ เพิ่มเติม กำลัง)
การจัด ฉก.นย. ๑๗๑
การจัด กำลัง ๑ กองพัน ทหารราบ เพิ่มเติม กำลัง ครั้งนี้ มีชื่อเรียก หน่วยนี้ เป็นทาง ราชการ ว่า "หน่วยกำลัง เฉพาะกิจ นาวิกโยธินที่ ๑๗๑" เรียก ชื่อย่อ ว่า "ฉก.นย. ๑๗๑"
ยุทธการผาภูมิ
เหตุผล ที่เรียก ชื่อหน่วยนี้ เป็น ตัวเลข ว่า "ฉก.นย. ๑๗๑" เนื่องจาก ในขณะนั้น พลเรือโท โสภณ สุญาน เศรษฐกร เป็น ผบ.นย. มีแนว ความคิด ว่า หากใน ปีนี้ เรียกชื่อ หน่วยนี้ ว่า พัน.ฉก.นย. อีก ชื่อนี้ ก็จะ ซ้ำกับ พัน.ฉก.นย. ในการ ปราบปราม ผกค. ที่ ภูหิน ร่องกล้า ของ ปีที่แล้ว ผบ.นย. จึงกำหนด นโยบาย ในการ ให้ตัวเลข ของหน่วย ว่า " ตัวเลข ๒ ตัวแรก จะเป็น ปีของ พ.ศ. ที่ออก ปฏิบัติการ และ ตัวเลข ตัวหลัง จะเป็น จำนวนครั้ง ของ ทหาร นย. ที่ออก ปฏิบีติการ ใน ปี งป. นั้น ซึ่งใน ปีนี้ นับเป็น ปีแรก ที่ นย. ใช้ระบบ การเรียกชื่อ ของ หน่วย เป็น ตัวเลข อย่างนี้ และ นย. ใช้ระบบนี้ อยู่หลายปี จนกระทั่ง เลิกใช้ เมื่อ งป.๒๗
ฉะนั้น ฉก.นย. ๑๗๑ จึงมี ความหมาย ว่า นย. จัด ฉก.นย. หน่วยนี้ ออกปฏิบัติการ ใน ปี งป.๑๗ เป็น ครั้งที่ ๑ ของ ปีงปประมาณ นั้น
น.อ.ผลึก สระวาสี ผบ.ฉก.นย.๑๗๑
น.ท.เสริมศักดิ์ สังขจันทรานนท์ รอง ผบ.ฉก.นย.๑๗๑
น.ท.ธรรมนูญ นาคสกุล เสธ.ฉก.นย.๑๗๑
น.ต.ชุมพร โชติโยธิน ผบ.บก.และบริการ
ร.อ.สันทนา พิไชยแพทย์ ผบ.ร้อย.ปล.ที่ ๑
ร.อ.ทวีป นาคสกุล ผบ.ร้อย.ปล.ที่ ๒
ร.อ.สมศักดิ์ วิริยะศิริ ผบ.ร้อย.ปล.ที่ ๓
ร.อ.ประพันธ์ เคลือนมาศ ผบ.ร้อย.ปล.ที่ ๔
น.ต.สมุทร เลาหะจินดา หน.สชร.
การประกอบ กำลัง และ ยอดกำลังพล หน่วยเฉพาะกิจ นาวิกโยธิน ที่ ๑๗๑ (ฉก.นย.๑๗๑) กำลังพล รวม ๑,๒๔๗ นาย จัดจาก หน่วยต่าง ๆ ดังนี้
- ๑ พัน.ร.ผส.นย. (พัน.ร.๓ เป็น แกนจัด บก.พัน. มี ๔ ร้อย.ปล. จัดจาก พัน.ร.๑,พัน.ร.๒ , พัน.ร.๓ และ พัน.ร. ๗ กองพัน ละ ๑ ร้อย.ปล.)
- ๑ ร้อย.ป.๑๐๕ มม.
- มว.บ.ทร.๑๗๑ (จัดจาก กบร.กร. ประกอบ ด้วย บ.โอ - ๑ จำนวน ๓ เครื่อง บ.เอช ยู - ๑๖ จำนวน ๑ เครื่อง และ บ.ซี - ๔๗ จำนวน ๑ เครื่อง
- ส่วนสนับสนุน ทางการ ช่วยรบ (สชร.)
- ชุดฝ่าย อำนวยการ ประสาน การปฏิบัติ กับ กกล. เขต ทภ.๓
การเคลื่อนย้ายไปพื้นที่ปฏิบัติการ
ฉก.นย. ๑๗๑ สนธิ กำลัง ที่สัตหีบ และ เป็นครั้งแรก ใน ประวัติศาสตร์ ของ ทหารนาวิก โยธิน จะต้อง จารึก ไว้ว่า ได้รับ การเคลื่อนย้าย กำลัง ทั้งกองพัน เพิ่มเติม กำลัง ด้วยเครื่องบิน ของ กองทัพอากาศ จาก สัตหีบ ไป จังหวัด เชียงราย สำหรับ พลทหาร นั้น ตื่นเต้นมาก เพราะตลอด ชีวิตนี้ อาจจะ ไม่มี โอกาส ได้ขึ้น เครื่องบิน อย่างนี้อีก
ฉก.นย.๑๗๑ ขึ้น เครื่องบิน ของ กองทัพ อากาศ ชนิด ซี.๑๒๓ ออกเดินทาง จาก สนามบิน กองบิน ๗ สัตหีบ (บน.๗ ขณะนั้น ยังเป็น ของ กองทัพอากาศ) เมื่อ วันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๑๖ ไปลงที่ สนามบิน อ.เชียงคำ จว.เชียงราย ต่อจากนั้น เคลื่อนย้าย ด้วยยานยนต์ เข้าพื้นที่ ปฏิบีติการ ที่ ดอยผาจิ จว.เชียงราย ซึ่งเป็น พื้นที่ รอยต่อ ระหว่าง จังหวัด เชียงราย และ จังหวัด น่าน
การปฏิบัติการตามแผนถ
แผนการ ฝึกร่วม ปี ๑๗ ตามแผน ยุทธการ ผาภูมิ บก.ทหารสูงสุด ได้ กำหนด การปฏิบัติ ออกเป็น ๒ ช่วง คือ
ช่วงแรก ตั้งแต่ วันที่ ๒๔ ตุลาคม - ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๑๖ เป็น การฝึก เสริมความ มั่นคง เพื่อให้ ความคุ้มครอง และ ความปลอดภัย แก่ ราษฎร ใน หมู่บ้าน ให้คำแนะนำ ในการ ป้องกัน หมู่บ้าน สำรวจ ความเป็นอยู่ ของ ราษฎร ปฏิบัติการ จิตวิทยา รวมทั้ง การดำเนินการ ต่างๆ เพื่อตัด ความสัมพันธ์ ระหว่าง ผกค. ในป่า กับ ราษฎร ใน หมู่บ้าน พื้นที่ ปฏิบัติการ ของ ร้อย.๑ และ ร้อย.๒ อยู่ที่ บ.ตอง , บ.พร้าวกุด, ต.ครึ่ง อ.เชียงของ จว.เชียงราย ร้อย.๔ เป็น กองหนุน ทก. ฉก.นย.๑๗๑ ตั้งอยู่ พื้นที่ อ.ปง จว.เชียงราย
ช่วงที่ ๒ เป็นการ ปฏิบัติการ ขั้นแตกหัก ตั้งแต่ วันที่ ๙ - ๓๐ ธันวาคม ๒๕๑๖ รวม ระยะ เวลา ในการ ปฏิบัติ การรบ ครั้งนี้ ๒๒ วัน โดย ร้อย.๑ และ ร้อย.๒ ฉก.นย. ๑๗๑ ได้รับมอบ พื้นที่ ปฏิบัติการ ที่ บ.ขุนน้ำยัด ดอยผาจิ อ.ปง จว.เชียงราย ได้ใช้ กำลัง พิสูจน์ทราบ และ กวาดล้าง ผกค. ตามพิกัด เป้าหมาย ที่ได้ รับมอบ จาก หน่วยเหนือ และ สามารถยึด ที่หมาย ต่างๆ ไว้ได้ สำเร็จ ตามภารกิจ ที่ได้ รับมอบ
ร้อย.๑ และ ร้อย.๒ ฉก.นย.๑๗๑ ได้เดินทาง กลับสู่ พื้นที่ราบ ถึง ฐาน บ.ผาตั้ง เมื่อ วันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๑๖
ฉก.นย.๑๗๑ เมื่อ สำเร็จ ภารกิจ ที่ได้ รับมอบ และ จบการฝึกร่วม ปี ๑๗ ตามแผน ยุทธการ ผาภูมิ แล้ว ได้เคลื่อนย้าย กลับที่ตั้ง ปกติ โดย ทางรถไฟ ถึง สถานี รถไฟ หัวลำโพง และ เคลื่อนย้าย ต่อด้วย ยานยนต์ กลับ สัตหีบ ถึง ที่ตั้งปกติ ที่ สัตหีบ เมื่อ วันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๑๗ รวม เวลา ในการ เดินทาง ไป ปฏิบัติการ ครั้งนี้ ๘๔ วัน
บทเรียนจากการรบ
จากการ ปฏิบัติการ ปราบปราม ผกค. ที่ ดอยผาจิ อ.ปง จว.เชียงราย นั้น ท่าน พล.ร.ท.
๑. การใช้ หน่วยขนาดเล็ก ขนาด มว.ปล. ใน พื้นที่ ปฏิบัติการ เป็นที่ราบ จะสามารถ ป้องกัน Landing Zone (L.Z.) ทำให้ ฮ. ขึ้น และ ลง ได้ปลอดภัย แต่ใน พื้นที่ ปฏิบัติการ ที่เป็น ภูเขา และมี พื้นที่ สูงข่ม จำเป็น จะต้อง ใช้กำลัง ขนาด ร้อย.ปล. จึงจะ ทำให้ L.Z. ปลอดภัย แต่ ทั้งนี้ ร้อย.ปล. จะต้อง ส่งกำลัง ส่วนหนึ่ง เข้ายึด ป้องกัน พื้นที่ สูงข่ม นั้นด้วย
๒. การเน้น การเกาะ ข้าศึก จำเป็น ใน กรณี ต้องการทราบ ฐานที่มั่น ของ ผกค. แต่ในการ ปฏิบัติการ ครั้งนี้ ไม่จำเป็น เพราะภารกิจ ที่ได้รับ มอบหมาย ให้พิสูจน์ทราบ และ ทำลาย ทำให้ ฝ่ายเรา สามารถ เลือกแนวทาง การเคลื่อนที่ เข้าสู่ ที่หมาย ที่ได้ รับมอบ ไม่จำเป็น จะต้อง ทำการ เกาะ ผกค. ซึ่งอาจจะ ทำการ หลอกนำ ฝ่ายเรา ไปยัง จุดซุ่ม โจมตี หรือ จุดที่วาง กับระเบิดไว้ เป็นเหตุ ให้สูญเสีย โดยไม่จำเป็น
๓. การปฏิบัติการ ฉับพลัน จากการ ส่งหน่วย ลาดตระเวน ออกไป ยังพื้นที่ คับขัน ผกค. มีความ คล่องตัว และ ชำนาญ ในพื้นที่ ป่าภูเขา มากกว่า ฝ่ายเรา ดังนั้น เมื่อมี การปฏิบัติ ฉับพลัน ฝ่ายเรา ย่อมเสียเปรียบ และ สูญเสีย โดยไม่ จำเป็น ทั้งนี้ ฝ่ายเรา สามารถ ใช้ ปืนใหญ่ แก้ปัญหา แทนได้ โดยปรับ การยิง ป. สลาย การเกาะ ของ ผกค. และ ปรับการยิง ป. เคลียร์ให้ ผกค. สลายไป จากพื้นที่ คับขัน นั้นๆ ได้
๔. เมื่อหน่วย เคลื่อนย้าย เข้าพื้นที่ ปฏิบัติการ ในโอกาสแรก จะต้อง วางแผน การยิง สนับสนุน ให้กับ ร้อย.ปล. แผนการยิง สนับสนุน ต่างๆ ต้องมีการ วางแผน และ ประสาน กับหน่วย ต่างๆ เป็นอย่างดี (ทบ. และ ทอ.) ในขั้นแรก จะใช้ ป.๑๐๕ มม. ของ นย. ยิง สนับสนุน เมื่อเคลื่อนที่ เกินระยะยิง ของ ป.๑๐๕ มม. จะแจ้งให้ ร้อย.ปล. ทราบ และ ประสาน การยิง กับ ป.๑๕๕ มม. ของ ทบ. หากที่หมาย อยู่ไกล เกินระยะยิง ของ ป.๑๕๕ มม. ร้อย.ปล. จะร้อง ขอรับการ สนับสนุน บ.ทอ. ทำให้ ภารกิจ ในการ พิสูจน์ทราบ ผกค. ตามที่หมาย ต่างๆ ได้บรรลุ ผลสำเร็จ อย่างน่า ภาคภูมิใจ อีกทั้ง พัน.ฉก.นย.๑๗๑ ได้รับ การยอมรับ จาก วงการ ต่าง ๆ ว่า ได้สร้าง ศักดิ์ศรี และ ชื่อเสียง เกียรติคุณ ให้กับ นาวิกโยธิน และ กองทัพเรือ
การตรวจค้นที่เก็บเสบียงของ ผกค.
พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ผบ.ทร.ตรวจเยี่ยม และมอบของขวัญ ที่ ฐานปฏิบัติการ )ก.นย.๑๗๑
รร.นาปรัง อ.ปง จว.เชียงราย เมื่อ วันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๑๖
น.อ.ผลึก สะวาศรี ผบ.ฉก.นย.๑๗๑ บรรยายสรุปสถานการณ์ให้กับ คณะ ผบ.ทร.
น.อ.ยุทธยา เชิดบุญเมือง รอง ผบ.นย.ตรวจเยี่ยม และให้โอวาทแก่กำลังพล ฉก.นย.๑๗๑
แต่ถ้าบอกว่าได้ข้อมูลมาจากไหนก็จะดีเหมือนกันนะครับ
แผนที่สังเขปพื้นที่เป้าหมาย ดอยผาจิ
กาาเคลื่อนย้ายกำลัง ฉก.นย.๑๗๑ ทางอากาศ โดย บ.ซี ๑๒๓ ของ ทอ.จากสนามบิน
กองบิน ๗ สัตหีบ ไปลงที่ สนามบิน อ.เชียงคำ จว.เชียงราย เมื่อ วันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๑๖