หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


อานุภาพปราบเรือดำน้ำ ทร.ไทย

โดยคุณ : juldas เมื่อวันที่ : 12/04/2007 22:56:27

เรื่องสมมติ มันมีอยู่ว่า.....

จากนโยบายการต่อต้านการก่อร้ายโลก กำัลังได้ผล ฝ่ายผู้ก่อการร้ายกำลังเพลี่ยงพล้ำอย่างมาก จึงต้องหาวิธีสร้างความวุ่นวายครั้งใหม่ และแสดงถึงพลานุภาพเพื่อสร้างความหวาดกลัวต่อพลโลก และสร้างขวัญกำลังใจ พวกที่ยังก่อการ ให้ยังมีความหึกเหิมอยู่ รวมถึงเพื่อแสดงอำนาจการต่อรองให้มีมากขึ้น....

กลุ่มผู้ก่อการร้ายโลก ทั้งหลาย จึงผนึกกำลังกัน เป็นการเดิมพันครั้งสุดท้าย...จึงทำการว่าจ้าง ผู้การเรือดำน้ำและกำลังพล ที่มีประสบการณ์ และความชำนาญ จากกลุ่มประเทศที่แยกตัวจาก สหภาพโซเวียต และได้มีเป้าหมาย โจรกรรมเรือดำน้ำ ทางแถบกลุ่มประเทศตะวันออกเฉียงใต้ ที่ได้มีประเมินการป้องกันว่าอยู่ในระดับต่ำ แต่ประสิทธิภาพของเรือดำน้ำ จัดอยู่ในขั้นดี...เพื่อนำมาก่อความไม่สงบ และทำลายเศรษฐกิจทางทะเล โดยมีแผนจะสร้างความสพรึงกลัว แก่พลโลก โดยใช้อนุภาพจากกรัมมันตภาพรังสีนิวเคลียร์ ติดหัวรบตอร์ปิโด ถ้าสามารถจารกรรมเรือดำน้ำได้สำเร็จ และเก็บซ่อนไว้ในที่ไม่มีใครจะค้นพบได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว....

การดำเนินการของผู้ก่อการร้าย เป็นผลสำเร็จในขั้นแรก คือ สามารถโจรกรรมเรือดำน้ำจากกลุ่มประเทศตะวันออกเฉียงใต้ มาได้ 1 ลำ แต่แผนการก็ไม่ได้เป็นไปตามแผนทั้งหมด...กลุ่มประเทศตะวันออกเฉียงใต้ ที่ถูกโจรกรรมเรือดำน้ำ ได้ทราบถึงเหตุการณ์ดังกล่าว หลังจากโจรกรรมไปได้แล้วประมาณ 1 ชั่วโมง...จึงทำการไล่ล่า และมีคำสั่งให้ทำลายโดยทันที เมื่อค้นพบ...

การไล่ล่าของกองเรือ และการหลบหนีของ เรือดำน้ำ ดำเนินการมาอย่างเข้มข้น จนทำให้ เรือดำน้ำที่ถูกโจรกรรม เข้ามาในเขตน่านน้ำของประเทศไทย...ในเขตอาณาธิปไตยของประเทศไทย

กองทัพเรือไทย จึงได้รับการติดต่อจากกลุ่มประเทศตะวันออกเฉียงใต้ ให้ช่วยดำเนินการทำลาย เรือดำน้ำที่ถูกโจรกรรม และหลบเข้ามาในเขตทะเลไทย โดยทันที....

กองทัพเรือไทย ได้รับทราบความเคลื่อนไหว อย่างผิดสังเกตุมาพอสมควร จากการจับการสื่อสารจากดาวเทียมไทยคม ( กั๊ก กั๊ก กั๊ก กั๊ก ) และได้จัดการเตรียมพร้อมมาในระดับนึงแล้ว.....

สงครามการรบ ระหว่างเรือรบผิวน้ำของ กองทัพเรือไทย และ เรือดำน้ำของผู้ประสงค์ร้าย ได้เกิดขึ้นแล้ว....

กองทัพเรือไทย จะสามารถกอบกู้วิกฤติโลกไว้ได้หรือไม่...?

เชิญรับชมได้เลยครับ....





ความคิดเห็นที่ 1


ภาพรวมทั้งหมดครับ...


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 05/03/2007 12:24:03


ความคิดเห็นที่ 2


สมมติว่า โจรกรรมได้ลำใด ลำหนึ่ง นะครับ...

อันนี้ เปรียบเทียบ 1 ต่อ 1 ครับ...แต่ในการปฏิบัติการจริง น่าจะเป็น ทั้งกองเรือครับ...อาจจะ 2 - 3 ต่อ 1


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 05/03/2007 12:25:49


ความคิดเห็นที่ 3


ใหญ่ไปหน่อยครับ...


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 05/03/2007 12:26:40


ความคิดเห็นที่ 4


.....


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 05/03/2007 12:27:49


ความคิดเห็นที่ 5


9


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 05/03/2007 12:28:41


ความคิดเห็นที่ 6


10


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 05/03/2007 12:29:12


ความคิดเห็นที่ 7


11


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 05/03/2007 12:29:47


ความคิดเห็นที่ 8


12


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 05/03/2007 12:30:19


ความคิดเห็นที่ 9


13


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 05/03/2007 12:30:58


ความคิดเห็นที่ 10


14


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 05/03/2007 12:31:30


ความคิดเห็นที่ 11


อนุภาพภาพ ตอร์ปิโด MK.48 ของ ทร.สหรัฐ ยิงจากเรือดำน้ำ


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 05/03/2007 12:48:55


ความคิดเห็นที่ 12


ทดลองความกว้างภาพ 800 ครับ...เอาไว้ใช้งานต่อไปครับ..


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 05/03/2007 12:51:53


ความคิดเห็นที่ 13


การปราบเรือดำน้ำ ของเรือชั้น KNOX


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 05/03/2007 12:57:13


ความคิดเห็นที่ 14


สุดยอดครับ
โดยคุณ seekmen เมื่อวันที่ 05/03/2007 13:02:29


ความคิดเห็นที่ 15


ดูไม่ค่อยเข้าใจเชิญผู้รู้ช่วยวิเคราะห์เพิ่มหน่อยซิครับ

โดยคุณ Baros เมื่อวันที่ 05/03/2007 15:59:44


ความคิดเห็นที่ 16


ขออธิบาย ดังนี้ครับ ท่าน Baros


บรรทัดบนสุด คือ ระยะ หน่วยเป็น กิโลเมตร ครับ


ด้านซ้ายมือ คือ เรือรุ่นต่าง ๆ ของ ทร.ไทย ครับ


ด้านขาวมือ คือ เรือดำน้ำแบบต่าง ๆ ที่ประจำการอยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน ในปัจจุบันและอนาคตครับ


ข้างใต้รูปเรือ จะมีชื่อ ชั้นเรือต่าง ๆ ครับ...


บรรทัดต่อมา จะเป็น รายละเอียด ตอร์ปิโดที่ประจำการอยู่ในเรือรุ่นนั้น ๆ ครับ


เส้นสีดำ ลากยาวไปที่ 11 ก.ม. หมายถึง ระยะปฏิบัติการไกลสุดของ ตอร์ปิโด ที่ระยะ 11 ก.ม.
ในความเร็วที่ 40 น็อท (หน่วยความเร็วในทะเล 1 น็อท เท่ากับ 1.852 กม./ชม.)
ตามข้อมูลในเว๊ปต่าง ๆ ระยะไกลสุดของ ตอร์ปิโด จะไกลกว่านี้ครับ...แต่ความเร็วของตอร์ปิโดก็จะลดลงตามลำดับครับ...ผมเลยใช้การเปรียบเทียบ ที่ความเร็วสูงสุดครับ เพราะน่าจะเป็นความเร็วที่จะก่อความสูญเสียได้มากที่สุดครับ


ตัวอย่างเช่น เรือชั้น พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จะมี

เครื่องยิงจรวด ASROC โดยตัวจรวดจะเป็น จรวด ASROC ส่วนหัวรบจะเป็นหัวตอร์ปิโด Honeywell Mk.46  มีระยะยิงไกลที่ 10 ก.ม. ความเร็ว 1 มัค ( ความเร็ว 1 เท่าเสียงเท่ากับ 1,235 ก.ม./ชม.) ผมเลยเปรียบเทียบจากหน่วยความเร็ว มัค เป็น น็อท คำนวนแบบบัญญัติไตรยางค์ออกมาที่ 667 น็อท ผมใส่เครื่องหมายคำถามไว้ เพราะไม่รับรองคำตอบครับ...


บรรทัดต่อมา เรือชั้นนี้ ยังมีท่อยิงตอร์ปิโด ธรรมดา ด้วย ผมเลยใส่ ตอร์ปิโด Honeywell Mk.46 ที่ระยะยิงไกล 11 ก.ม. ที่ความเร็ว 40 น็อท

บรรทัดสุดท้าย เรือชั้นนี้ ยังมีจรวดเป้าลวง ตอร์ปิโด ด้วยครับ...
ส่วนรูป ฮ. จะเป็นความหมายว่า ถ้า เรือลำนั้น มี ฮ. ประจำการ จะเป็น ฮ.รุ่นใด ความเร็วติดอาวุธกี่น๊อทโดยติดตอร์ปิโด ชนิดใด...เนื่องจากการปฏิบัติการของ ฮ.ปราบ ด. มีระยะไกล มาก ผมเลยลากลูกศร มาไกลสุดที่
50 ก.ม. ที่เป็นระยะการยิง จรวดเอ็กโซเซ่จากเรือดำน้ำชั้น Scorpene เพื่อแสดงว่า ฮ.ปราบ ด. มีระยะปฏิบัติ
การทุกระยะ ครับ


เท่าที่ผมดูหนังเกี่ยวกับ สงครามเรือดำน้ำ  ความเร็วเรือ กับ ความเร็วตอร์ปิโด จะมีความสำคัญในการคำนวน
ให้อาวุธกระทบตรงเป้าหมาย ผมจึงใส่ความเร็วเรือสูงสุด กำกับท้ายเรือ ทุกลำครับ....
ทั้งหมด ก็เป็นภาพเปรียบเทียบ สมรรถะของอาวุธปราบเรือดำน้ำ ถ้ามีการประลองยุทธ กันครับ...
เพราะ ทร.ไทย ยังไม่มี เรือดำน้ำประจำการ...จึงอยากทราบสมรรถะ ของเรือรบรุ่นต่าง ๆ ว่า เรือรุ่นไหน
จะรับมือกับภัยคุกคาม จากเรือดำน้ำ ได้บ้างครับ...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 05/03/2007 19:27:41


ความคิดเห็นที่ 17


ลืมอธิบาย ส่วนด้านขวามือ....

รายละเอียด ข้างบนรูปเรือดำน้ำ จะเป็น รุ่นของเรือดำน้ำครับ...

ข้างใต้รูป จะเป็น ชนิดตอร์ปิโด ที่ใช้ในรุ่นนั้น ๆ ครับ...

ตัวเลขน็อทท้ายเรือเป็นความเร็วสูงสุด ขณะดำน้ำครับ...

ตัวอย่างเช่น เรือดำน้ำชั้น Scorpene ของ มาเลเซีย ติดอาวุธ ตอร์ปิโด Whitehead Black Shark ลูกศรลากยาวจากระยะ 15 ก.ม. มาที่ จุดเป้าหมายที่ 0 ก.ม.(กระทบเป้า) เป็นระยะยิงไกลสุดสำหรับความเร็วที่ 50 น็อท...

เรือดำน้ำรุ่นนี้ของมาเลเซีย ติดจรวดปราบเรือรบรุ่นยิงจากเรือดำน้ำ เอ็กโซเซ่-39 ด้วย มีระยะยิงไกลสุดที่ 50 ก.ม. (ผมจะใส่เรือดำน้ำลาง ๆ ไว้เป็นความหมายว่าเป็นเรือลำเดียวกัน) ความเร็วจรวด 0.90 มัค เปรียบเทียบบัญญัติไตรยางค์ ได้ที่ความเร็วทะเล 600 น็อท ใส่เครื่องหมายคำถาม ไม่รับรองคำตอบครับ...ความเร็วสูงสุด ขณะดำน้ำที่ 20 น็อท...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 05/03/2007 19:52:30


ความคิดเห็นที่ 18


เรือดำน้ำถือว่าเป็นอาวุธทางเรือเชิงรุกที่มีประสิทธิภาพสูงในด้านการพรางตัวเป็นอย่างดีถึงโดยเป็นที่ยอมรับกันว่าพื้นที่ในเขตน้ำตื้นอย่างอ่าวไทยนี้เรือดำน้ำก็ไม่ใช้ก็หาตัวกันได้ง่ายๆนักครับ(ไม่รวมถึงทะเลด้านอันดามันที่เป็นที่ลาดลึกกว่า)

เรือดำน้ำที่มีประจำการในประเทศกลุ่มอาเซียนส่วนใหญ่จะเป็นเรือที่ออกแบบและสร้างขึ้นในช่วงปี 1960-1980 ครับ เช่นชั้น U-206, U-209 ของอินโดนีเซียเป็นต้นยิงเป็นเรือชั้นใหม่ๆอย่าง Scorpene ยิ่งหายากเข้าไปอีกครับ

อย่างไรก็ตามเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้ายังมีข้อจำกัดการขับเคลื่อนซึ่งต้องโผล่ลำมาผิวน้ำหรือใช้ท่อSnorkel สำหรับดูดอากาศมาใช้กับ ย.ดีเซลอัดไฟBattery อยู่ดีครับถึงจะมีระบบ AIP แต่ก็ช่วยทำงานได้แค่ชั่วคราวเท่านั้น ดังนั้นการค้นหานี้ก็ต้องมี บ.ตรวจการณ์จากฐานบินบนบกที่จะบินลาดตระเวณเสริมนอกจากเรือและ ฮ.ประจำเรืออยู่ดีครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 05/03/2007 20:28:55


ความคิดเห็นที่ 19


เห็นแล้วอิจฉาเค้าที่มีเรือดำน้ำ ส่วนเรา ก็จมกับอดีตต่อไปเถอะครับ

โดยคุณ น่าคิด เมื่อวันที่ 05/03/2007 20:46:51


ความคิดเห็นที่ 20


อืมๆๆๆๆ

ผมว่าไม่ใช่จมกับอดีตหรอกครับคุณน่าคิด

จมกับปัจจุบันตังหาก (หากเป็นอดีตจริง เราก็ต้องมีเรือดำน้ำที่ปลดระวางแล้วจิ)

เหอๆ มะไหร่เราจะได้สัก สองสามลำน๊า

รองบๆๆๆๆ

(ถ้าคนไทยทั้งชาติเลิกเหล้า เลิกหวย เลิกยาบ้า เลิกหลงวัตถุนิยม เลิกบ้ายี่ห้อ ขยันออกกำลังกายกัน คงจะทำให้ชาติมีกะตังสูงกว่านี้ ที่ญี่ปุ่นประชาชนนิยมออกกำลังกายกันเพื่อจะไม่เป็นภาระในค่าใช้จ่ายด้านยา แต่ของไทยเรอะ เหอะๆๆๆๆ)

ชาตินิยมกันได้แล้ว!!!!! ให้ถูกทางด้วย!!!

โดยคุณ BloodRoyal เมื่อวันที่ 05/03/2007 22:01:21


ความคิดเห็นที่ 21


ผมว่าก่อนที่จะมองถึงอานุภาพของอาวุธใต้น้ำของเรา น่าจะมองถึงอุปกรณ์ตรวจจับของเราก่อนนะครับ

โซนาร์ที่ผมเห็นว่า จับเป้าจำลองใต้น้ำได้จริงๆ ครั้งล่าสุดคือ โซนาร์ DSQS-21C ของ ร.ล.รัตนโกสินทร์

ส่วน SJD-5 ของเรือชุดที่ต่อจากจีนนั้นประสิทธิภาพด้อยกว่าอย่างเห็นได้ชัด

การตรวจจับเรือดำน้ำด้วยโซนาร์นั้นไม่ใช่ง่ายๆ นะครับ นอกจากจะมีปัจจัยเรื่องอุณหภูมิ ความลึก ความกดอากาศของน้ำแล้ว ผมก็พึ่งทราบว่า โซนาร์นั้นจะมีค่า Buffle (ไม่แน่ใจว่าสะกดถูกหรือเปล่า ค่าๆ นี้คือค่า Blind Arc ของโซนาร์) ฉะนั้นแล้วก่อนที่จะต่อตี ด.นั้น ผมว่าปรับปรุง Sensor ของเราให้ดีก่อนเถอะครับ

โดยคุณ kjnavy เมื่อวันที่ 05/03/2007 22:22:57


ความคิดเห็นที่ 22


ลืมพูดไปอีกอย่าง แล้ว ฮ. ของเราก็อย่ามัวหลอกตัวเองถึงเรื่องการทำ Radar VECTAC หรือ Dipping Sonar เลยครับ
โดยคุณ kjnavy เมื่อวันที่ 05/03/2007 22:24:49


ความคิดเห็นที่ 23


ไม่ได้หลอกตัวเองอ่ะครับ...ท่าน kjnavy ...แต่ผมกำลัง ปลอบใจตัวเอง อ่ะครับทั่น...ผมลองนำหนังสือสมรภูมิเก่า ๆ มานั่งอ่าน...เป็นหนังสือประมาณ 10-15 ปีที่แล้ว...เนื้อหาในหนังสือ ก็คือ อาวุธที่กำลังใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ และที่กำลังจะนำเข้าประจำการในอนาคตครับ...

นั่นมันหมายถึงว่า อาวุธแต่ละอย่าง กว่าจะเป็นที่เชื่อมั่น นำเข้าประจำการได้ ต้องพัฒนากันมาไม่ต่ำกว่า 10-15 ปี....และต้องใช้เวลาในการจัดหาและในการสร้างอีกไม่ต่ำกว่า 2-3 ปี กว่าจะได้นำเข้าประจำการในกองทัพ และกว่าที่ ผู้ใช้อาวุธเหล่านี้ จะชำนาญหรือเข้าใจถึงประสิทธิภาพที่แท้จริงนั้น ต้องฝึกและนำออกใช้จริง ผมว่าคงหลายปีทีเดียวครับ...เมื่อมามองถึง กองทัพเรือ ในปัจจุบัน เรายังไม่ได้เริ่มอะไรเลยสักอย่าง มีการเริ่มอย่างเดียวคือ การคิด เท่านั้นครับ...

ผมมานั่งลองคิดดู....กว่า กองทัพเรือ จะได้คำสั่งซื้อเรือใหม่ คงปี 2551-2552 กว่าเขาจะสร้างให้เสร็จ คงปี 2554-2555 เมื่อนำเข้าประจำการแล้ว กว่าจะฝึก กว่าจะเข้าใจและมีความชำนาญเพียงพอ คงต้องนับจากปี 2555-2560 อีก 10 ปีเป็นอย่างน้อย...เราถึงจะมีอาวุธที่มีความพร้อมความชำนาญของผู้ใช้ (แล้วเรือดำน้ำล่ะ มันนานกว่านี้ขนาดไหน)  แต่มันก็เป็นเทคโนโลยี่ในปี 2550...ในขณะที่เพื่อนบ้าน จะเริ่มประจำการในปี 2550-2551 นี้แล้ว...กว่าจะถึงปี 2560 เพื่อนบ้านเขาจะชำนาญกันไปขนาดไหนแล้วครับเนี่ย...และกว่าเราจะตะโกนว่า อาวุธเราชัวส์ ทั้งอุปกรณ์และคนใช้...เพื่อนบ้านเรา ก็ตะโกนว่า...ของผมมันเริ่มเก่าแล้วคร๊าบบบบ...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 06/03/2007 20:07:55


ความคิดเห็นที่ 24


ด้วยความเห็นส่วนตัวแล้ว  ด้วยระบบ  Sonar ที่มีใช้ในทร.ไทย ในปัจจุบัน ผมคิดว่า โอกาสที่เรือ ทร.ไทย จะตรวจจับข้าศึกได้ก่อนนั้น  เป็นไปได้น้อยมาก  เรือที่น่าจะมีโอกาสมากที่สุด คือ ร.ล.พุทธยอดฟ้าฯ  ดังนั้นในสถานการณ์จริง เราอาจจะต้องเสียเรือไป 1-2 ลำ ก่อนที่จะตรวจจับหรือจมเรือข้าศึกได้

โดยคุณ Seawolf เมื่อวันที่ 12/04/2007 22:56:27