ได้ภาพนี้มาจากคุณ singatory ที่ militaryphotos ครับ ไม่ต้องบอกก็รู้ว่าเป็นคนสวีเดน เค้าว่าเค้าว่าง ๆ เลยทำมาเผื่อ โดยเทียบอัตราการกินน้ำมันของ F-16C กับ Gripen มาให้ด้วย
Also this info on F-16C and Gripen C fuel consumption might be interesting:
cu
F-16C B50 (GE F110-129) Internal fuel: 7000 lbs
28,984 lbs A/B Thrust @ 1,9 lb/lb.hr = 7,63 min ~ 8 min
17,155 lbs Mil Thrust @ 0,76 lb/lb.hr = 32,21 min ~ 32 min
Gripen 39C (1xRM12) Internal fuel: 5005 lbs
18100 lbs A/B Thrust @ 1,7 lb/lb.hr = 9,76 min ~ 10 min
12150 lbs Mil Thrust @ 0,7 lb/lb.hr = 35,31 min ~ 35 min
Also, F-16C is almost 3000 kg heavier than Gripen C before adding a payload so while internal fueltank is larger, it also burn more fuel to travel the same distance. So you see range is not really the issue with Gripen, the issue would be payload capability.
เค้าว่าเรื่อง range สำหรับ Gripen ไม่น่าใช่ปัญหา ปัญหาน่าจะอยู่ที่น้ำหนักบรรทุกมากกว่า
ในการกิจโจมตีเมื่อบินแบบ Hi-Lo-Hi
ขอมูลน่าสนใจมากครับ ขอบคุณครับคุณโยสกายแมน
ว่าแต่ถ้าได้เส้นกราฟเปรียบเทียบของเอฟ-16 ด้วย ก็จะเห็นภาพได้ดีกว่านี้ครับ
ถ้าอ้างอิงจากภาพนี้ก็แสดงว่ารัศมีการปฏิบัติการของ JAS-39 นั้นสามารถครอบคลุมพื้นที่ของประเทศไทยรวมถึงขอบข่ายพื้นที่ของประเทศรอบข้างเราได้ครับ ซึ่งไม่มีปัญหาสำหรับภารกิจขับไล่สกัดกั้นหรือโจมตีขัดขวางทางอากาศ
แต่ก็ตามที่กล่าวมาข้างต้นนั้นแลครับว่า บ.JAS-39 คงไม่เหมาะสำหรับภารกิจครองอากาศหรือโจมตีทางลึกนักเนื่องจากแบบแผนเครื่องเป็น บ.ขับไล่ขนาดเล็กบรรทุกอาวุธและเชื้อเพลิงได้น้อยครับ
ถ้ามีคนชี้เป้าให้ แล้วบินไปปิดบัญชีเลย คงไม่ใช่ปัญหาอะไรที่เราจะมี เจ้า JAS ไว้คุ้มครองน่านน้ำไทย และน้ำมันอีกกว่า 3000 ล้านบราเรล ( ทดแทนการนำเข้าน้ำมันไปได้ กว่า 8 ปี โดยมิต้องนำเข้านำมันดิบเลย)
แต่ในความเป็นจริงแล้วเจ้า JAS 39 ต้องบินวนเพื่อค้นหาเป้าหมายที่ได้รับแจ้งมาเมื่อก่อนขึ้นบิน
ถ้าจะเอา JAS ผมว่าเราต้องมีเรือดำน้ำอีก สองลำเอาไว้เป็น ผตน ด้วยครับ
ลองหลับตานึกกันเล่นๆ
หลังจากไม่สามารถตกลงกันได้เรื่องพื้นที่ทับซ้อนในทะเล ประเทศเพื่อนบ้านจึงส่งกองเรือเข้ามาประกาศความเป็นเจ้าของในพื้นที่ทับซ้อน
ขณะเดียวกัน เรือดำน้ำของฝ่ายไทยก็สามารถจับเป้าหมายกองเรือดังกล่าว และทำการสะกดรอยพร้อมแจ้งพิกัดและทิศทางให้กับ หน่อยเหนือ
หลังจากนั้น กบร ก็ได้ส่ง เครื่อง JAS ติดจรวดปราบเรือข้าสู่พื้นที่เป้าหมายที่ได้ร้บแจ้งทันที ก่อนจะเข้าสู่ระยะของจรวดต่อต้านอากาศยานของกองเรือข้าศึก JAS ก็ปล่อยจรวดเข้าจัดการเป้าหมายและบินกลับ ฐาน
ต่อ
จรวดพุ่งเข้าเป้าหมายและกองเรือข้าศึกต้องหยุดภาระกิจเพื่อกู้เรือที่ถูกจรวดเสียหาย เรือดำน้ำของไทยก็เข้าทำการสังเกตการณ์และรายงานความเสียหายของกองเรือข้าศึกให้หน่วยเหนือ และก่อนจะจากไป ก็ซ้ำแผลเดิม ด้วยการส่งจรวดปราบเรือ เข้าสู่เรือที่เหลืออยู่ ก่อนจะหนีออกจากพื้นที่การรบ ไป
จากนั้นเรือผิวน้ำของราชนาวี เข้าสู่พื้นที่การรบและทำยุทธนาวีด้วยการส่งจรวด ฮาร์ปูน สำเร็จโทษกองเรือพิการให้จมลงสู่ก้นอ่าวไทย เพื่อเป็นแหล่งวางไข่ให้กับปลาทู ต่อไป
ถ้ามีแหล่งน้ำมันจริง ไทยอย่าช้าเลยที่จะสั่ง JAS 39 พร้อม เรือ ดำน้ำสวีเดน อีกซักสองลำ เดี่ยวจะไม่ทันการณ์
เมื่อประมาณต้นปลายปี 2548 ที่นักบิน กริเพน มาบรรยายที่พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ เขาจะพูดถึงระบบ NATO DATALINK 16 ซึ่งระบบของ กริเพน สามารถประสานงานกับข้อมูลตามมาตรฐานนาโต้ดังกล่าวได้ โดยระบบ datalink ของ กริเพน จะเป็น CDL-39 datalink system ที่จะประสานข้อมูลที่ได้จาก ทั้งเรือในทะเล จากทางบก และทางอากาศ เพื่อส่งต่อข้อมูลให้ทุกคน ไ้ด้เห็นภาพและทราบข้อมูล ที่เหมือนกันหมดทั้งคนส่ง และคนรับข้อมูล....
ซึ่งก็ตรงกับของแถมที่ สวีเดน จะแถมให้ คือ สถานีรับส่งข้อมูล และ อีรี่อาย โดยวันที่เขามาบรรยาย เขาจะมีภาพวาดประกอบที่เป็นระบบการทำงาน ดาต้าลิงค์ ของ กริเพน...ซึ่งผมกำลังหาจาก กูเกิ้ล แต่ยังหาไม่เจอครับ...เผื่อใครพอจะมีภาพดังกล่าวบ้างครับ...
ประเทศ เพื่อนบ้าน ที่ นายฮ้อยทมิฬ กล่าวถึง คงจะเป็น มาเลเซีย เป็นแน่แท้ ประเทศ ทีจะขอเอี่ยวในการขอ ส่วนแบ่งน้ำมัน
หน้าด้านมากๆ ขอบอก
จุดที่ค้นพบ น้ำมัน อยู่ ระหว่าง ไทย กับ กัมพูชา มันห่างจาก มาเลเซีย ต้องไกล จะมาขอเอี่ยว
คิดว่า มี SU-30 MKM ที่มี พิสัย บินไกล นักหรือ
ถ้ามันเจอจริงๆ เราก็ต้อง เร่ง สั่งสม แสนยานุภาพ เพิ่มขึ้น ( แต่พองาม ) เพื่อ เป็นการ ป้องปราม ความเหิมเกริม
จะทำอะไร ก็ต้องลงทุน ครับ
ถ้าคิดว่าการลงทุน นั้นคุ้มค่า กับ เงินที่เสียไป
ถ้า น้ำมัน ที่ค้นพบ จะสามารถ ลดการนำเข้า น้ำมัน จากต่างประเทศ ได้ถึง 8 ปี
เห็นด้วยอย่างยิ่ง
...............จริงๆแล่ว ขีดจำกัดของ บ.ข.1และ2เครื่องยนต์ที่เราเห็นได้ชัดเจนคือ น้ำหนักบรรทุกและพิสัยการบิน ไอ้เรื่องใช้อาวุธมันไม่เท่าไร อาวุธเหมือนกัน อยู่ที่ว่าเทคโนโลยีประจำเครื่องและความสามารถนักบิน จะพารอดได้แค่ไหนเมื่ออยู่ในพื้นที่การรบ อย่างที่เคยเกินในฟอคแลนด์ บินมาถึงแต่ไม่มีเชื้อเพลิงพอที่จะลาดตระเวณหรือรบจนรู้ผลแพ้ชนะ
...ยิงแรงขับน้อยเพิ่ม น้ำหนักบรรทุกหรือเชื้อเพลิงแนบลำตัวอาจจะทำให้คุณลักษณะเดิมที่มีอยู่หายไปเช่นความคล่องตัว จะเอาแจสบินไปครองทะเลป้องกัน ซู30 ก็ต้องไปหลายๆลำล่ะครับ ไหนเรื่องการกวาดของเรดาห์ ถ้าเป็นแบบรัสเซียคือเจอก่อนยิงก่อนหมัดยาวในระยะไกล นี่จะส่งผลให้กับ อาวุธเราทมี่มีพิสัยยิงที่สั้นน่ะครับ ถ้าเกิดไม่มีระบบป้องกันทางอิเล็คทรอนิคหรือ ชาฟ แฟร์ ต่ำๆถ้าจะให้1เครื่องยนต์ ได้เปรียบ 2เครื่องยนต์ล่ะก็อย่างน้อยควรมี เอแวค และ แท็งเคอร์ช่วยในการรบจะส่งผลให้มีประสิทธิภาพเพิ่มจากเดิมมาก เน้นในการป้องกันมากกว่าจะโจมตีทางลึก เพราะถ้าไม่มีตัวช่วยข้างต้นคือ เอแวคและ แท็งเคอร์แล้ว เวลารบ บ.ข.เครื่องยนต์เดียว เจอ 2เครื่องยนต์ก็โอกาสแพ้ชนะ 50ต่อ 50เลยล่ะครับ
ผมว่ามาเลเซืยคงไม่กล้าเอารือรบมาปิดล้อมอ่าวไทยหรอกครับ เรายังมีจีนกับสหรัฐที่จะมาเอี่ยวผลประโยชน์งานนี้ด้วยด้วย ขืนเข้ามางานนี้ได้เน่ากันทั้งกองเรือ ทั้งเครื่งบิน แต่ต้องระวังเรือดำน้ำ
-ถ้าเครื่องบินที่ใช้ในทางทะเลผมว่า F-18 E/F พร้อมหวกติดศูนย์เล็ง AIM-120 C , AIM-9X 1 ฝูง พร้อมเครื่องบินตรวจการ E3 หรือเอา P-3 ของเราไปแปลงก็ได้ครับ
เซ้งๆๆๆ กริเพน
จะซื้อก้อไม่ซื้อ ถ้าเลือกมากเอาf-16c/d แล้วไปmodใหม่แบบไอ้ลอดช่อง(ไม่อยากใช้สุภาพ เกลียดฟุตบอลมันก้อโกง) กริเพนเรื่องบรรทุกอาวุธมีปัญหาอยู่แล้วว่ารับนน. ได้น้อย ถ้าติดถังเชื้อเพลิงเพิ่มอีก หุหุ เท่ากับว่าเอากริเพนไปบินเล่น เข้าใจว่า บางที2-3ลูก ทำให้ศัตรูตายได้ แต่ถ้าเราทำผิดพลาดอารายไปเราก้อไม่สามารถแก้ตัวได้ทัน ต้องบินไปเอาอาวุธใหม่ แล้วเรื่องเอาไปสัตหีบ ก้อดีน่ะที่ว่ามีเจ้าrbs แต่ถ้าโดนยิงตูดขึ้นมามีหวังได้ลอยกลางทะเลแน่
ถ้ากริเพนจะให้ดีต้องอยู่ฐานบินบนบก แล้วเอาไว้interceptอย่างเดียว โดยโยกf-16มาเปนฝูงโจมตี ส่วนกบร.ควรจาเปนf-18E/F+harpoon+อัมราม ดีที่สุดแล้ว บาเตอร์เทรด 12 ลำ พอแล้ว บำรุงง่าย ถนัด
f-5 เตรียมปลดระวาง เอากริเพนเข้าให้หมด ฝูง 701 211
เปนแค่ความเห็นของเด็กม.3คนหนึ่ง ถ้าผมผิดไปก้อขอโทดด้วยคับ
ปล.ช่วงนี้จะเข้าม.4แล้วไม่ค่อยได้เข้าบอร์ด
ความจริงแล้ว ต้องเปรียบเทียบกันชัดๆว่า gripen มีจุดเด่นอะไรที่สูงกว่า f16บล็อกล่าสุดบ้าง(ยิว สิงค์ UAE )โดยรวมๆแล้ว นอกจาก datalink(ยิวก็ใช้กับ f16 มานานแล้ว) gripen ก็ไม่มีอะไรที่มีสมรรถภาพสูงกว่า f16 แต่หากทอ.เราจะซื้อกริพเพน 1 ฝูงนี่ ค่าใช้จ่ายด้าน ระบบส่งกำลังบำรุง ระบบสำรองอะไหล่ ระบบอาวุธ ทอ.จะต้องสำรอง อะไหล่ของบ.ถึง2 แบบ ซึ่งจะแพงมากครับ
แต่โดยส่วนตัวผมไม่สนับสนุนทั้ง2 แบบ เพราะอีกไม่เกินสิบปีก็จะล้าสมัย ประเภทเอาขึ้นฟ้าเมื่อไหร่ก็โดน เครื่องยุค5 สอยแล้ว รอซื้อ f35 หรือ su47 ที่เดียวฝูงโตๆดีกว่าครับ ส่วนภัยคุกคามตอนนี้ มาเลย์(mig29 18 เครื่องปัจจุบันก็กราวด์มิกแล้ว จึงเหลือแค่ f18 8 เครื่อง su30 18 เครื่อง) กับเวียดนาม ที่มี su27 สิบกว่าเครื่อง ไม่นับว่า 2 ประเทศนี้มีศักยภาพทางอากาศพอที่จะคุกคามเรา ที่มี f16 58 เครื่อง f5 32 เครื่อง ภัยคุกคาทางอากาศ 1เดียวในอาเซียน มาจากสิงค์ที่มี f16 รุ่นล่าสุด ประมาณ 70 เครื่อง f15 12 เครื่องครับ แต่ศักยภาพทางภูมิศาสต์ สิงค์โปร์เสียเปรียบมากเกินกว่าที่จะก่อสงครามกับทุกๆประเทศ รวมทั้งไทยด้วยครับ(สิงค์โปร์มีขนาดพื้นที่เล็ก โดนถล่ม จากเครื่องบินฝูงเดียวก็แทบจะหมดเกาะแล้วครับ) แต่ผมเห็นด้วยที่ ทอ. จะอัพเกรด f16 และ f5 ทุกเครื่องให้ยิง aim 120 ได้ ใช้เงินไม่เกิน 500 mus$ ซื้อ erieye อีก 2 เครื่อง 300 mus$ ทั้งหมดแค่ 800 mus$ เทียบกับ ซื้อฝูงบินใหม่แค่ 12 เครื่อง 1200 mus$ จะเห็นได้ว่าทางเลือก upgrade นั้นจะประหยัดกว่าและ ศักยภาพโดยรวมของทอ. สูงกว่าซื้อเครื่องใหม่แค่ฝูงเดียวครับ
ปริมาณ กับ คุณภาพ ต้องมาใกล้ ๆ กันครับ...ทอ.ยังมีความจำเป็นต้องจัดหา บ.ขับไล่ใหม่ทดแทน เอฟ-5 ที่จะทยอยปลดประจำการ...หากพวกเราคาดหวังว่า จะได้ F-35 มาก็ต้องรออีกนานจนเหงือกเกือบแห้งเพราะเราไม่ได้ลงขันพัฒนากับเค้า ก็เลยจำเป็นต้องจัดหา บ.ขับไล่มาทดแทนช่องว่าง เท่าที่ลุ้น ๆ อยู่ก็น่าจะเป็น F-16 มือสองอัพเกรดให้ใช้อัมแรมได้
เราได้พูดกันมาหลายครั้งแล้วคร้าบว่าให้ท่านบข.18เค้าไปพักบ้างเถิด คือจะเสียไม่คุ้มได้ อย่าลืมว่านักบินก็เป็นอาวุธที่มีค่ายิ่งเหมือนกันน้า กว่าจะฝึกจนเก่งกาจเป็นที่พึ่งของเราได้อาคร้าบ..
ทีนี้ก็เหลือเจ้าไวเปอร์จำนวนตั้งมากมายที่ถ้าจะอัพเกรดระบบทั้งหมดก็เป็นงบบานตะไทแล้ว ในส่วนตัวคิดว่า ทอ.น่าจะยังต้องการเครื่องบินคลาสใหญ่ขึ้นอีกจำนวนหนึ่งด้วยซ้ำ เผื่อไว้.. อนาคตมานไม่แน่นอนคร้าบ
คงไม่ใช้แนวความคิดที่ดีนักหากเราจะขาดเครื่องบินที่ใช้งานแทน F-5E เป็นเวลาอย่างน้อย 10 ปี (ถ้าคิดจะรอ F-35 นะ) อย่างน้อย ๆ เราควรที่จะต้องมีเครื่องบินมาอุดช่องว่างตรงนี้ครับ
ครับการที่เราจะเลือกซื้อเครื่องบินขับไล่สักรุ่น ถ้าจะให้เปรียบก็เหมือนกับการ จะเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ดี ๆ สักเครื่องหนึ่ง คอมพิวเตอร์ทุกวันนี้ก็มีออกมาใหม่เรื่อย ๆ เร็วกว่า ถูกว่า spec ดีกว่า แล้วคอมที่ดีที่สุดวันนี้ พรุ่งนี้มันก็ตกรุ่นแล้วเครื่องบินก็เช่นกัน ถ้าเราไม่ตักสิ้นใจซื้อซักทีแล้วเมื่อไรละครับที่จะมีคอมพิวเตอร์ใช้ หรือจะต้องรอต่อไปแล้วคุณคิดหรือว่าถ้าคุณรอแล้วในอนาคตคุณจะไม่กลับมาคิดแบบเดิมอีก (โรคกลัวตกรุ่น)
แล้วถ้าเราจะเลือกซื้อคอมละ เราควรทำอย่างไร ก็ง่าย ๆ ครับเลือกตามลักษณะการใช้งานของคุณ คุณชอบทำงานที่บ้านก็เลือก PC แต่ถ้าต้องเคลื่อนย้ายบ่อย ๆ ก็เลือก Notebook แล้วคุณคิดว่าจะเล่นเกมแรง ๆ หรือเปล่าถ้า เล่นก็เลือก spec สูง ๆ เครื่องแรง แต่ราคาก็จะแพงตาม specด้วย คำถามก็คือว่า spec ต่าง ๆ ที่เพิ่มเข้ามานั้นคุณได้ใช้งานมันเต็มที่หรือเปล่า ไม่ใช้ว่าซื้อมา 30000 ใช้งานแค่ 5000 อย่างงี้มันก็เป็นการลงทุนไม่คุ้มค่า เพราะฉะนั้นต้องเลือกให้ตรงก็ลักษณะงานที่ใช้
ออกนอกเรื่องไปซะไกล สรุปว่าถ้าจะเลือกให้คุณมองว่า
1. ไปยืมคนอื่นเค้าใช้ดีกว่าไหม( เครื่องบินรบคงไม่มีใครให้ยืม )
2. ถ้ามีของเก่าอยู่ Upgrade ได้หรือเปล่า Up แล้วจะคุ้มไหม
3. ถ้าซื้อมาแล้วจะใช้งานคุ้มค่าหรือไม่
4. ถามตัวคุณเองว่าคุณจะเอาไปใช้งานลักษณะไหน (พิมพ์งาน เล่นเกมส์ อยู่กับที่หรือเคลื่อนย้าย)
หุหุ........นอกเรื่องไปซะนาน OK ครับกลับมาเรื่องของเรากันต่อ ถ้าให้เลือกระหว่าง F-
ทั้งนี้เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่สะสมอาวุธไว้เพื่อป้องกันประเทศเป็นหลัก เพราะฉะนั้นแนวความคิดที่จะเลือกใช้เครื่องบินขับไล่ขนานใหญ่ ซึ่งมีค่าสิ้นเปลืองตลอดทั้งรอบในการบำรุงรักษา(ทำให้มันบินได้โดยทุก ๆ ระบบทำงานได้100%) ที่สูงจึงดูว่าอาจจะไม่คุ้มค่านัก เพราะฉะนั้นการที่เรามองเครื่องบินขับไล่ขนาดเบาถือว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้วครับ
และผมมองว่าเครื่องบิน Gripen มีขีดความสามารถทางด้านยุทธวิธี ที่เป็นเอกลักษณ์ เป็นจุดเด่นซึ่งน่าใช้กว่าเครื่องบินหลาย ๆ รุ่นครับเช่น
แนวทางของการรบทางอากาศในอนาคตนั้น จะมีการใช้ยุทธวิธีในการล่องหน(ตรวจจับได้ยาก)มาเป็นปัจจัยสำคัญในการรบ ซึ่งเครื่องบินขับไล่หลาย ๆ แบบเช่น F-15, Su-27/30 หรือแม้นกระทั่ง F-16 เองไม่มีประสิทธิภาพในการล่องหนดีเท่าที่ควร(คิดดูว่าถ้าต้องใช้ต่อไปสัก 30 ปีจะเป็นอย่างไร) ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากการออกแบบของอากาศยานนั้นทำกันมานานแล้ว( 30 ปีได้แล้วมั่ง ) ตั้งแต่ในสมัยที่ยังไม่มีใครคิดถึงเรื่องการล่องหน เพราะฉะนั้นเครื่องบิน Jas-39 จึงออกจะมีภาษีที่ดีกว่า ทั้งนี้เพราะมันได้ถูกออกแบบมาให้เป็น Semi-stealth อีกทั้งโครงสร้างของอากาศยานที่มีขนานเล็ก ก็เป็นส่วนช่วยลดโอกาสที่จะถูกตรวจพบด้วยสายตาทั้งในเวลากลางวันและกลางคืนอีกด้วย
Gripen สามารถที่จะใช้ถนนหนทางต่าง ๆ ที่ได้รับการปรับปรุงแล้วเป็น Runway ได้อันนี้เป็นที่ทราบกันดี เพราะฉะนั้นหมดห่วงเรื่องสนามบินโดนโจมตี (ไม่ได้หมายความว่าไม่โดน แต่ถ้าโดนแล้วสำคัญฉะไหน) ลดโอกาสที่เครื่องบินจะโดนโจมตีตั้งแต่ยังไม่ขึ้นบิน แถมทำให้ข้าศึกยากที่จะคาดการณ์ทิศทางมาของเครื่องบินของเรา
เนื่องมาจากโอกาสที่จะเกิดการรบขนานใหญ่ขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้มีน้อย (10 -15 ปีข้างหน้า) จะมีก็แต่สงครามขนานเล็กซึ่งเป้าหมายส่วนใหญ่จะเน้นไปที่การโจมตีจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญด้วยความแม่นยำสูง อย่างเช่นโรงไฟฟ้า สนามบิน หรือระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ ปริมาณอาวุธที่จะนำไปใช้จึงไม่ใช้เรื่องสำคัญมากมายนัก มิหนำซ้ำการที่เครื่องบิน load อาวุธไปมาก ๆ โอกาสที่จะถูกยิงตกก็มีมากขึ้น จริงอยู่ว่าการ load อาวุธไปมากทำให้เราสามารถโจมตีเป้าหมายได้รุนแรงมากขึ้น ลดโอกาสความผิดพลาดของภารกิจซึ่งเกิดเนื่องมาจากความบกพร่องของตัวอาวุธเองและมนุษย์ แต่การที่ load อาวุธไปมาก ๆ นั้นจะทำให้เครื่องบินขับไล่จำเป็นต้องใช้เชื้อเพลิงปริมาณมากขึ้น ระยะบินสั่นลง ความคล่องตัวลดลง สะท้อนเรดาร์มาขึ้น แล้วดีไม่ดีหากถูกเครื่องบินศัตรูบินขึ้นมาสกัดกั้นจนจำเป็นต้องปลดอาวุธทิ้ง( เพื่อเพิ่มความคล่องตัว ) ก็จะเป็นการเสียงอาวุธเหล่านั้นไปโดยเปล่าประโยชน์
ข้อดีอีกประการหนึ่ง ซึ่งสำคัญมากทางยุทธวิธีของเครื่องบิน Jas-39 ก็คือ roll-out (ระยะเวลาการเตรียมความพร้อมในรอบต่อไปของการบินแบบ quarter attack) สั่นที่สุดในบรรดาเครื่องบินรบในปัจจุบัน ซึ่งหมายความว่าในระยะเวลา 1 วันเครื่องบิน Jas-39 สามารถที่จะทำภารกิจที่หลากหลายได้มากกว่าเป็น 2 เท่าของเครื่องบิน F-16 โดยผลลัพธ์ของภารกิจที่ออกมาใกล้เคียงกัน เหมือนกับว่าเรามี Jas-39 1 ลำก็เท่ากับมี F-16 2 ลำ
ที่พูดมาทั้งหมดมีแต่ข้อดีของ Gripen ทั้งนั้น จริง ๆ แล้วเรานี้ก็มีข้อเสียอยู่ครับ (บ่ ใช้ ซิ ดี ไป เบืด) ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไหล่เครื่องยนต์ RM12 (ลอกแบบมาจาก F404 ใน F-18 A/B/C/D) ซึ่งไม่รู้ว่าจริง ๆ จะใช้กันได้มากแค่ไหนกับของ F-18 ระบบ Radar ที่ออกจะล้าสมัยไปซะหน่อย (ถ้าเทียบกับ F-16 C/D/E/F) โครงสร้างของอากาศยานที่ถูกออกแบบมาให้ใช้ได้แค่ 4000 ในระยะแรก (แต่เค้าบอกว่าปรับปรุงเป็น 8000 แล้ว) ไม่รู้ว่าเอาเข้าจริงจะอยู่ได้ถึงหรือเปล่า ระบบของ Datalink ของ Gripen ต้องการอุปกรณ์สนับสนุนอื่น ๆ มากมาย (อุปกรณ์พวกที่ไม่ได้ติดกับเครื่องบิน) ซึ่งดึงเอาของมูลที่มาจาก Sensor ทั้งทางบกทางทะเลและอากาศ ส่วนใหญ่ก็จะเป็น Radar Passiveกับสถานีทวนสัญญาณ ซึ่งก็เป็นเรื่องใหม่สำหรับเราที่จะต้องเรียนรู้ที่จะดูแลรักษาของพวกนี้ และต้องใช้เงินลงทุนอีกพอสมควร อีกทั้งถ้าศัตรูสามารถทำลายหรือ Jamming การสื่อสารระหว่างระบบ Datalink ของ Gripen ได้แล้วละก็จบกัน.......สวัสดี(ไปนอนแย้ว)
คิดว่าไม่น่าใช้ปัญหาครับ เพราะคนบนเกาะ Broneo เองยังบ่นน้อยใจว่าไม่เจริญเหมือนกับอีกด้าน บนนั้นจะมีก็แต่น้ำมันครับ ถ้ายึดฝั่งที่ติดกับไทยได้ก็เหมือยได้ทั้งประเทศแล้วครับ กำ....ผมคิดดังไปนิดครับ เดี่ยวเพื่อนบ้านเค้าจะโกรธเอา
" Datalink ของ Gripen ต้องการอุปกรณ์สนับสนุนอื่น ๆ มากมาย (อุปกรณ์พวกที่ไม่ได้ติดกับเครื่องบิน) ซึ่งดึงเอาของมูลที่มาจาก Sensor ทั้งทางบกทางทะเลและอากาศ ส่วนใหญ่ก็จะเป็น Radar Passiveกับสถานีทวนสัญญาณ ซึ่งก็เป็นเรื่องใหม่สำหรับเราที่จะต้องเรียนรู้ที่จะดูแลรักษาของพวกนี้ และต้องใช้เงินลงทุนอีกพอสมควร "
อันนี้สำคัญเลยครับ ถ้า ทอ. จะเอามาแต่ Gripen คือ มาแต่ตัวนั้น จะไม่สามารถใช้งานได้ในระดับที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุดตามที่โฆษณาครับ