ขอ *** นอกรอบ *** การทหาร สักนิด
เห็นเงินบาทมันแข็งค่า ก็มาบ่นกัน เพราะส่งออกไม่ได้
พอเงินบาทอ่อนค่า ก็มาบ่น(ปี2540)
ผมอยากทราบว่า เงินบาท ของเราควรมีค่าเท่าไหร่ดี ? ถึงจะดี และเหมาะสมที่สุด
ปล. ผมไม่ค่อยเข้าใจเรื่องนี้สักเท่าไหร่ อยากให้เพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ แชร์ หรือ เสนอความคิดเห็นกันหน่อยครับ.
ขอบคุณครับ
เห็นว่าสรุปน่าสนใจดีครับแล้วจะลองหาบทความอื่นๆมาให้อีกhttp://www.geocities.com/ekonomiz/article2003_3/article2003sep08p1.htm
ค่าเงินบาท
เศรษฐศาสตร์จานร้อน : โดย ศุภวุฒิ สายเชื้อ กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 8 กันยายน 2546
เรื่องค่าเงิน เป็นสิ่งที่เข้าใจยาก และการทำนายค่าเงิน ให้ถูกต้องแม่นยำ ยิ่งเป็นเรื่องที่ยากกว่า นอกจากจะทำนายไม่ถูกแล้ว ยังอาจถูกทางการต่อว่าได้อีกด้วย
แต่ผมคิดว่าคนส่วนใหญ่จะเห็นพ้องต้องกันว่า ค่าเงินบาทในขณะนี้อ่อนเกินไป จึงมีการทำนายว่า ค่าเงินบาทจะต้องแข็งขึ้นอีกในอนาคต เมื่อมีความเชื่อเช่นนั้น นักเก็งกำไรจึงหันมาซื้อเงินบาท เพราะเมื่อค่าเงินบาทแข็งขึ้น เขาก็จะได้รับผลกำไรอย่างรวดเร็วและด้วยความเสี่ยงที่ต่ำ
ทั้งนี้ เพราะหากไม่มีใครเชื่อว่า ค่าเงินบาทจะอ่อนลงและพวกเก็งกำไรร่วมกันเข้าซื้อเงินบาทเป็นจำนวนมากค่าเงินบาทก็จะเพิ่มขึ้นตามที่พวกเขาต้องการ
อย่างไรก็ดี การเก็งกำไรนั้น จะต้องประเมินปัจจัยพื้นฐานด้วย หากเศรษฐกิจไทย อยู่ในสภาวะที่ย่ำแย่ไม่มีการขยายตัว และความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศอยู่ในระดับต่ำ ค่าเงินบาทก็คงจะไม่สามารถแข็งค่าได้ คงมีแนวโน้มที่จะอ่อนตัวมากกว่า ซึ่งในกรณีนี้นั้น นักเก็งกำไรค่าเงินบาท คงแย่งกันขายเงินบาทมากกว่า
คำถามคือ อะไรคือปัจจัยพื้นฐานที่ทำให้หลายคนเห็นว่าค่าเงินบาทในขณะนี้อ่อนเกินไป คำตอบหนึ่งก็คือ การเกินดุลบัญชีเดินสะพัด
ซึ่งขณะนี้ประเทศไทยเกินดุลบัญชีเดินสะพัดประมาณ 600 ล้านดอลลาร์ต่อเดือน การเกินดุลบัญชีเดินสะพัด คือ การที่ประเทศไทยมีรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศมากกว่ารายจ่าย เมื่อมีเงินตราต่างประเทศเก็บเอาไว้มากแล้ว ความต้องการเงินต่างประเทศเพิ่มอีกก็มีน้อยลง ทำให้เราต้องการขายเงินตราต่างประเทศออกไป และถือเงินบาทแทน ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นนั่นเอง
แต่บางคนอาจจะแย้งว่า ประเทศไทยเกินดุลบัญชีเดินสะพัดติดต่อกันมา 5 ปีแล้ว ค่าเงินบาทก็ไม่จำเป็นต้องแข็งตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง คำตอบคือ เมื่อก่อนเราต้องเกินดุลบัญชีเดินสะพัด เพราะเราต้องหาเงินตราต่างประเทศส่วนเกินมาใช้คืนหนี้ต่างประเทศที่เราสร้างขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจฟองสบู่
แต่ในขณะนี้ เราใช้หนี้คืนไปจนไม่ต้องใช้หนี้คืนอีกแล้ว ในกรณีของรัฐบาลก็คืนเงินกู้ไอเอ็มเอฟจนหมดแล้ว ในส่วนของภาคเอกชนนั้นหนี้ต่างประเทศก็ลดลง จากจุดสูงสุดที่ 92,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2539 เหลือเพียง 36,000 ล้านดอลลาร์ในขณะนี้ ซึ่งเป็นระดับที่ใกล้เคียงกับหนี้ต่างประเทศของภาคเอกชนไทยในปี 2536 ซึ่งเป็นช่วงก่อนฟองสบู่จะก่อตัว
เมื่อเงินทุนไม่ต้องไหลออกเพื่อใช้คืนหนี้เหมือนแต่ก่อน การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดจึงเสมือนกับเงิน (หรืออำนาจซื้อ) ที่เหลือใช้ ทั้งนี้ โดยปกติแล้ว ประเทศกำลังพัฒนาเช่นไทย ย่อมไม่สมควรที่จะนำเงินทุนส่วนเกินไปลงทุนในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง เพราะการลงทุนในต่างประเทศ คือ การเอาเงินออมของคนไทยไปลงทุนสร้างงานและสร้างความเจริญให้กับประเทศอื่น แทนที่จะลงทุนเพื่อพัฒนาประเทศไทยเอง
ดังนั้น ในระยะยาวประเทศไทยจึงไม่จำเป็นต้องมีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด อาจต้องมีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเล็กน้อยด้วยซ้ำ เพราะเราอาจต้องการนำเข้าเงินทุนจากต่างประเทศบ้าง เพื่อเพิ่มการลงทุนในประเทศ ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวในอัตราที่สูงขึ้นด้วย
แต่สมมติว่า เราเอาความสมดุลของบัญชีเดินสะพัดเป็นจุดที่ทำให้เกิดดุลยภาพ คำถามที่ตามมา คือ ค่าเงินบาทที่ระดับใดจะทำให้การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดลดลงเหลือศูนย์ จากการประเมินของ เมอร์ริล ลินช์ ภัทร เราสรุปว่า ค่าเงินบาทที่ทำให้บัญชีเดินสะพัดเกิดความสมดุลคือ 34-38 บาท ต่อหนึ่งดอลลาร์สหรัฐ
แต่การทำนายค่าเงินนั้น (ดังที่ผมกล่าวข้างต้น) อาจเกิดความผิดพลาดได้อย่างมาก เพราะอันที่จริงแล้ว ควรเปรียบเทียบเงินบาทกับเงินสกุลต่างๆ ที่ประเทศไทยค้า-ขายด้วย ไม่ควรนำไปเปรียบเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐเพียงอย่างเดียว
สมมติว่าค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งตัวขึ้นอย่างมาก เทียบกับเงินดอลลาร์สกุลหลักอื่นๆ เช่นเยนและยูโร ในกรณีดังกล่าวค่าเงินบาทจะอ่อนตัว เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐก็ได้
แต่จะแข็งขึ้นมากเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่นๆ อันจะทำให้ประเทศไทยสูญเสียการเกินดุลการค้าและบริการกับประเทศดังกล่าว ทำให้การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยลดลง แต่ค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐก็ลดค่าลงไปพร้อมกัน
ทำไมประเทศไทยจึงไม่ต้องการให้ค่าเงินบาทแข็งตัว การแข็งตัวของค่าเงินบาท จะทำให้สินค้าและบริการต่างประเทศราคาถูกลง เราก็จะนำเข้าสินค้าและบริการดังกล่าวมากขึ้น ในขณะที่เราจะส่งออกน้อยลง เพราะราคาสินค้าและบริการของเราคิดเป็นเงินตราต่างประเทศจะมีราคาแพงขึ้น กล่าวคือ การแข็งค่าของเงินบาท คือ กลไกเพื่อลดการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่ตรงไปตรงมาที่สุด
แต่การทำเช่นนั้น คือ การลดการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยและเพิ่มการขยายตัวให้กับประเทศคู่ค้า ซึ่งขณะนี้นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ที่มองภาพเศรษฐกิจโลกโดยรวม จะมีความเห็นว่า ประเทศไทยพร้อมกับประเทศเอเชียอื่นๆ โดยเฉพาะ จีนและญี่ปุ่น จะต้องยุตินโยบายตรึงค่าเงินของตนกับเงินดอลลาร์สหรัฐได้แล้ว
เพราะประเทศสหรัฐจะต้องสามารถขยายตัวอย่างต่อเนื่องในปลายปีนี้และปีหน้า โดยจะต้องไม่ทำให้สหรัฐขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้นอีก (จากปัจจุบันที่สูงขึ้นถึง 550,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี)
กล่าวคือ เอเชียกำลังจะถูกกดดันให้เกื้อกูลเศรษฐกิจสหรัฐโดยการปล่อยให้เงินของตนแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐนั่นเอง
แต่หากมองสภาวะของเศรษฐกิจไทยในขณะนี้แล้ว ก็จะเห็นว่า ไม่มีความจำเป็นต้องปล่อยให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้น ทั้งนี้ เพราะขณะนี้อัตราเงินเฟ้อของประเทศไทยอยู่ในระดับต่ำมาก โดยเฉพาะเงินเฟ้อพื้นฐาน (core inflation) ซึ่งเท่ากับ 0.2% ในช่วงมกราคม-สิงหาคม ของปีนี้ หากค่าเงินบาทแข็งขึ้น ราคาสินค้าส่งออกและสินค้านำเข้าที่คิดเป็นเงินบาทก็จะลดลงไป ทำให้ระดับราคาสินค้าในประเทศลดลง จนทำให้อัตราเงินเฟ้อติดลบได้
นอกจากนั้น การที่ไทยจะส่งออกได้น้อยลงและนำเข้ามากขึ้น (ทำให้การซื้อสินค้าที่ผลิตในประเทศลดลง) ก็ไม่ค่อยจะเหมาะสมเท่าไหร่ เพราะขณะนี้ อุตสาหกรรมไทยก็ยังใช้กำลังการผลิตเพียง 65% เท่านั้น
กล่าวคือ หากมองจากภาพของความสมดุลของเศรษฐกิจโลกโดยรวมแล้ว ค่าเงินของประเทศเอเชีย รวมทั้งไทยจะต้องแข็งค่าขึ้นอย่างมาก แต่หากมองจากผลประโยชน์ของประเทศไทยโดยเฉพาะแล้ว ก็จะเห็นว่าไม่จำเป็นต้องปล่อยให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นแต่อย่างใด
ดังนั้น การรับมือกับการเก็งกำไรค่าเงินบาทคงจะเป็นเรื่องที่ประเทศไทยจะต้องเตรียมรับมือต่อไปอีกนานครับ
ชะอุ๋ย ผมลืมดูปีที่เขียนครับ555 มัน 4 ปีมาแล้วคงจะใช้ไม่ได้กับตอนนี้ แต่อย่างน้อยคงได้ความรู้บ้างหล่ะนะครับ
ขอโต๊ดครับ.......
จากที่ได้ถามผู้รู้จริงๆนะครับ สิ่งที่ดีที่สุดคือการทำให้ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพ ไม่ผันผวน เพราะผู้นำเข้าและส่งออกจะได้ประมาณการค่าใช้จ่ายได้จริงและถูกต้องแม่นยำที่สุด แต่ในทางปฏฺบัตินั้นเป็นไปได้ยากมากเมื่อมีการลอยตัวเงินบาทสมัยนี้ มันก็เลยต้องไปดูปัจจัยนั่นๆนี่ๆไปเพื่อเป็นการทำให้เกิดความเสี่ยงน้อยที่สุดครับผม
ค่าเงินบาทจะอ่อนจะแข็งยังไง มีผลน้อยกว่าค่าเงินไม่มีเสถียรภาพ
อย่างก่อนรัฐประหารเงินบาท39-40 เดือนสองเดือนขึ้นมา 34-35 ใครรับออเดอร์ไว้เดือนกันยา ผลิตเสร็จส่งได้เดือนมกราเงินหายไปเกือบ5บาท ตรงจุดนี้เขาเดือดร้อนกันครับ เพราะการผลิตล็อตใหญ่ๆเพื่อส่งออกกินเวลานานครับดูกันเป็นไตรมาส บางอย่างออเดอร์ล่วงหน้ากัน6เดือน 9เดือน
ก็ต้องดูๆกันไปครับ แบงค์ชาติไม่รู้จะไหวหรือเปล่า เงินบาทตลาดOFFSHORE ชักคะเย่อกันมาเป็นเดือนๆแระ แต่ค่าเงินในบ้านไม่ขยับเลย ตอนนี้แบงค์ชาติใช้เงินไปเกือบ200,000ล้านแล้วมั้งครับที่จะพยุงเงินบาทให้มีเสียรภาพ รวมนู่นรวมนี่คงสามแสนกว่าล้านในเวลา2-3เดือนมานี่ สร้างสุวรรณภูมิได้อีก2แห่ง.....เสียดาย
ขอลองหน่อยขอโทษที
|
ในเรื่องเงินบาทจะแข็งหรืออ่อนก็ไม่ดีทั้ง2อย่างละครับ
เพราะว่าถ้าเงินบาทแข็งตัวมากเกินไป ก็จะทำให้เศริษฐกิจของประเทศชะล้อตัวครับ เป็นเหตุมาจากการที่เรานำสินค้าไปขายต่างประเทศแต่ได้เงินกลับมานิดเดียว แต่ถ้าเงินบาทอ่อนมากจนเกินไป เงินบาทของเราก็จะไล่ออกนอกประเทศมากจนเกินไป อาจทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจแบบปี40ที่ไทยเราโดนทุบค่าเงินบาทจนเงินทุนสำรองต้องหมดไปเพื่อแค่นำเงินทุนสำรองไปรักษาค่าเงินบาท เพราะฉะนั้นผมคิดว่าควรจะอยู่ที่ 40 กว่าบาทต่อ 1 ดอล์ลาร์จะดีไหมคับ
เงินบาทอ่อน หรือ แข็ง ยังไม่สำคัญครับ แต่ต้องมีเสถียรภาพ จะทำให้ผู้ส่งออกและนำเข้าสามารถคาดการณ์ต้นทุนที่เกี่ยวข้องหรือรายรับจากการส่งออก และต้นทุนการนำเข้าวัตถุดิบได้
การอ่อนค่าหรือแข็งค่า บ.ส่วนใหญ่จะดำเนินการเกี่ยวกับต้นทุนการดำเนินงาน และต้นทุนการผลิตแทนครับ