กรุงเทพฯ?นักวิชาการในตะวันออกกลางได้แสดงความวิตกว่า ในอนาคตอันใกล้นี้ไทย-กัมพูชา อาจจะมีความขัดแย้งจนถึงขั้นเปิดสงครามย่อยๆ ขึ้นได้ ในยุคที่เริ่มมีการพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำในกัมพูชาและเส้นแบ่งพรมแดนในเขตอ่าวไทยยังไม่ชัดเจน พร้อมทั้งแนะนำให้ทั้งสองประเทศรีบเจรจาหาทางปักปันเขตแดนทางทะเลให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
ดร.อับดุลเลาะห์ อัล มาดินี (Dr Abdullah Al Madani) นักวิจัยและอาจารย์สอนวิชาเอเชียศึกษาที่มีชื่อเสียงแห่งคูเวต ได้กล่าวถึงประเด็นนี้ในบทความชิ้นหนึ่งที่มีการตีพิมพ์เผยแพร่ในหนังสือพิมพ์กัล์ฟนิวส์ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว จากนั้นก็มีการเผยแพร่ต่อในสื่อออนไลน์อีกหลายแห่ง
นักวิชาการผู้นี้ได้แสดงความเป็นห่วงสถานการณ์ในกัมพูชาที่ยังมีการคอร์รัปชันแพร่หลาย เกรงว่าจะพัฒนาตามรอยประเทศไนจีเรีย ที่ร่ำรวยด้วยน้ำมัน แต่ประชาชนของประเทศนี้ไม่ได้รับประโยชน์อะไรทั้งสิ้น จากขุมพลังงานของชาติ
การสำรวจทำให้มีการพบน้ำมันและก๊าซธรรมชาติปริมาณมหาศาล ตามเขตรอยต่อน่านน้ำของกัมพูชาและไทย ในขณะที่เขตแดนทางทะเลระหว่างสองประเทศเพื่อนบ้านยังไม่ชัดเจน
ในกัมพูชาได้มีการยืนยันการพบน้ำมันดิบและก๊าซเมื่อปี 2547 โดยบริษัทเชฟรอน (Chevron Corp) จากสหรัฐฯ ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าสำรวจขุดเจาะ แต่จะยังไม่มีการผลิตในปริมาณมากแต่อย่างไร จนกว่าจะถึงปี 2552 หรือ อีก 2-3 ปีข้างหน้า และ ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านที่ใหญ่โตกว่าก็อาจจะตึงเครียดขึ้นในช่วงนั้น
กัมพูชาเองอาจจะตระหนักดีว่า คงไม่มีทางที่จะนำเอาน้ำมันดิบในแหล่งนอกชายฝั่งขึ้นไปใช้ประโยชน์ได้โดยลำพัง เมื่อปี 2543 จึงได้เสนอต่อประเทศไทยให้ยกเลิกประเด็นเกี่ยวกับอธิปไตยออกไปก่อน และ สองประเทศร่วมกันพัฒนาแหล่งน้ำมันและก๊าซในเขตน่านน้ำที่เหลื่อมล้ำกัน
แต่ประเทศไทยได้ปฏิเสธข้อเสนอของกัมพูชา ซึ่งหลายฝ่ายเข้าใจว่าอาจจะมีสาเหตุจากความไม่ลงรอยกันในประวัติศาสตร์ ตลอดจนอารมณ์ความรู้สึกเกี่ยวกับชาตินิยม ดร.อัลมาดินี กล่าวในบทเขียน
อย่างไรก็ตามในปี 2544 สองประเทศได้ร่วมกันลงนามในบันทึกช่วยความจำฉบับหนึ่งเกี่ยวกับการแก้ปัญหาข้อขัดแย้งพรมแดน แต่ก็ยังไม่มีการตกลงใดๆ ไม่ว่าจะเป็นสนธิสัญญาปักปันเขตแดน หรือ ข้อตกลงเกี่ยวกับการจัดตั้งพื้นที่ร่วมพัฒนา (joint-development area)
ปัจจุบันราว 40% ของประชากร ราว 14 ล้านคนมีชีวิตความเป็นอยู่ใต้เส้นแบ่งความยากจน มีรายได้เพียงวันละ 50 เซ็นต์ (18 บาท) ราวครึ่งหนึ่งของเด็กๆ และเยาวชนในประเทศ ไม่มีโอกาสได้เรียนจนจบระดับประถมศึกษา เด็ก 30,000 คน เสียชีวิตในทุกปีจากโรคที่สามารถป้องกันได้ และ มีประชาชนในชนบทเพียงครึ่งเดียวที่มีไฟฟ้าใช้
"มองจากสถาบันประชาธิปไตยที่บอบบางของประเทศและประวัติที่ไม่ค่อยดีเกี่ยวกับธรรมาภิบาล ความโปร่งใส และการเคารพสิทธิมนุษยชน กัมพูชาอาจจะก้าวตามรอยเท้าของไนจีเรียได้อย่างง่ายดาย" ดร.อัลมาดินี กล่าว
ก่อนหน้านี้ก็ได้มีผู้แสดงความห่วงใยการพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำมันในกัมพูชามาแล้วหลายคน ทุกคนล้วนแต่วิตกว่าประเทศนี้เป็นเป็นแบบไนจีเรีย ขณะที่บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่หลายแห่งจากญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน มาเลเซีย สิงคโปร์ คูเวต ออสเตรเลีย และ ฝรั่งเศส หรือ ประเทศไทยเอง ต่างก็มุ่งหน้าเข้าไปสำรวจหาแหล่งพลังงานที่นั่น
มีรายงานการศึกษาหลายชิ้นที่จัดทำโดยสหประชาชาติ ธนาคารโลก มหาวิทยาลัยฮาวาร์ดส์ และ สถาบันที่ชื่อถือได้อื่นๆ ซึ่งทำให้ได้ข้อสรุปว่า ในกัมพูชาอาจจะมีน้ำมันดิบอยู่ถึง 2,000 ล้านบาร์เรล กับก๊าซธรรมชาติอีก 10 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต (tcf)
เมื่อคิดคำนวณตามราคาตลาดโลกในปัจจุบัน กัมพูชาก็อาจจะมีรายได้ปีละ 6,000 ล้านดอลลาร์ ภายใน 2 ทศวรรษข้างหน้า ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่มากกว่าผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ หรือ จีดีพี ซึ่งมีจำนวนเพียงประมาณ 5,000 ล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน และ สูงกว่ารายได้ภายในประเทศกับความช่วยเหลือจากต่างประเทศรวมกันหลายเท่าตัว
การพบน้ำมันของบริษัทเชฟรอนคอร์ปในเขตนอกายฝั่งทางตะวันตกเฉียงใต้ ได้ยืนยันถึงความร่ำรวยพลังงานของกัมพูชา ซึ่งในช่วง 2 ปีมานี้เชฟรอนได้ทำการเจาะสำรวจใน 9 บ่อในอ่าวไทย และพบน้ำมันใน 5 บ่อ ในปีนี้ยักษ์ใหญ่น้ำมันจากสหรัฐฯ มีแผนการจะเจาะสำรวจอีกใน 10 บ่อ
แน่นอนที่สุดนี่เป็นข่าวดีสำหรับประเทศนี้ ซึ่งหลายสิบปีผ่านมาต้องเผชิญกับความยากจนแสนสาหัส สงครามและทรราช
อย่างไรก็ตามผู้สังเกตการณ์หลายคน รวมทั้งสถาบันระหว่างประเทศหลายแห่งพากันกล่าวว่า ความร่ำรวยน้ำมันของกัมพูชาอาจจะไม่ได้เป็นเครื่องจักรในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และ อาจจะเป็นสิ่งที่เรียกว่า "คำสาปน้ำมัน" (Oil Curse) คำเปรียบเปรยกับความชั่วร้าย ซึ่งน้ำมันได้ทำให้เกิดการคอร์รัปชันแพร่ลาม เกิดความไร้เสถียรภาพ ทำให้ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนห่างกันออกไป อันเป็นสาเหตุของความไม่สงบทางสังคม
ข้อถกเถียงอันนี้สืบเนื่องมาจากกรณีที่ประเทศกำลังพัฒนาหลายแห่งเคยมีประสบการมาแล้ว หลังจากที่ได้กลายเป็นผู้ผลิตและส่งออกน้ำมัน ร่ำรวยขึ้นมาในทันทีทันใด
ตัวอย่างที่ดีที่สุดของ Oil Curse ก็คือ ไนจีเรีย ประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดในทวีปแอฟริกา แต่ประเทศนี้กลับเต็มไปด้วยความยากจนกับการคอร์รัปชันที่แพร่ลาม
นับตั้งแต่มีการพบน้ำมันในต้นทศวรรษที่ 1970 ไนจีเรียได้ ส่งออกน้ำมันดิบไปแล้วเป็นมูลค่ากว่า 400,000 ล้านดอลลาร์ แต่ประชาชนไม่เคยได้รับประโยชน์ใดๆ จากสิ่งนี้ ในปัจจุบัน 70% ของประชากรยังมีรายได้เพียงวันละไม่ถึง 1 ดอลลาร์
มิหนำซ้ำไนจีเรียยังมีหนี้สินอยู่อีกราว 30,000 ล้านดอลลาร์ อันเนื่องมาจากคอร์รัปชัน การบริหารจัดการที่ผิดพลาด และ การครองอำนาจของเผด็จการทหารชุดแล้วชุดเล่า
สำหรับกัมพูชานั้นแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในแง่บวกในประเทศนี้มาตั้งแต่ช่วงกลางทศวรรษที่ 1990 แต่กัมพูชาก็ยังถูกมองเป็นประเทศที่มีการฉ้อราชบังหลวงสูงที่สุดประเทศหนึ่งในโลก มีการเล่นพรรคเล่นพวก มีการติดสินบนเพื่อให้ได้สัญญาทางธุรกิจการลงทุน มีการใช้ความรุนแรงปราบปรามประชาชนโดยพรรคประชาชนกัมพูชา (Cambodia People's Party) หรือ CPP ซึ่งเป็นพรรครัฐบาล
ในข้อเท็จจริงรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีฮุนเซน ได้ออกกฎหมายจัดตั้งองค์การปิโตรเลียมแห่งชาติ (Cambodian National Petroleum Authority) ขึ้นมา อยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดยตรง
กลุ่มประเทศผู้บริจาคก็ไม่ประสบความสำเร็จมากนักในการชักชวนให้นายฮุนเซนทำการปฏิรูปที่จำเป็นหลายอย่าง และ ยอมรับปฏิบัติตามมาตรฐานระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและเรื่องอื่นๆ
เมื่อน้ำมันดิบเริ่มไหลออกจากบ่อ กัมพูชาก็ยิ่งจะเป็นอิสระจากประเทศผู้บริจาค และอาจจะปฏิเสธการปฏิรูปไปเลยในที่สุด ไม่ต้องขึ้นต่อกับสถาบันการเงินใดๆ อีก แม้กระทั่งธนาคารโลก รัฐบาลอาจจะเป็นเผด็จการมากขึ้น ไม่ต้องฟังเสียงประชาชนอีกต่อไป ดร.อัลมาดินี กล่าว
โดยสรุป-- กัมพูชาอาจจะสามารถหลีกเลี่ยง "คำสาปน้ำมัน" ได้ ถ้าหากประเทศนี้กระจายการพัฒนาเศรษฐกิจออกไปในหลายทิศหลายทาง ปฏิรูปสถาบันต่างๆ ปราบปรามการคอร์รัปชัน กระชับความเข้มแข็งของระบบการเงินในประเทศ
หรือ อีกทางหนึ่งหากไม่มีการตรวจสอบเพื่อถ่วงดุลอย่างเพียงพอ ผลประโยชน์จากการค้นพบน้ำมันก็อาจจะถูกดูดออกไปโดยเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจอิทธิพล และไม่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจโดยรวมอย่างสิ้นเชิง
เพื่อที่จะใช้การค้นพบน้ำมันให้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาและสันติภาพ กัมพูชาควรจะทำงานให้หนักยิ่งขึ้นกับประเทศไทย เพื่อหาทางกำหนดเขตแดนทางทะเลให้ได้ ดร.อัลมาดินีกล่าว.
ผมว่าพวกเราอย่าได้พลาดโอกาสนี้นะครับ รีบศึกษาแบ่งบันเขตแดนกันให้ดีให้ประเทศเราได้ประโยชน์สูงสุด ไม่งั้น บ.ต่างชาติเอาไปหมด ส่งเรือรบไปราดตระเวณบ่อยๆหน่อยครับ งานนี้เราจะได้มีน้ำมันสำรองสำหรับกองทัพซะที เรือรบไทยจะได้ออกทะเลบ่อยขึ้นด้วย ขอย้ำ!!!อย่าพลาดโอกาสนี้ สิงคโปร์ มาเลเซีย จีน สหรัฐ กัมพูชา จ้องกันตาเป็นมันเลย
.....งานนี้เราเหนือกว่าในทุกด้าน ดังนั้น เราต้องรีบฉกฉวยโอกาสให้เร็วที่สุดอย่างที่ท่าน sam ว่า ...แต่ดูจากบทความแล้ว แขกกับฝรั่งจะเห้นใจประเทศเล็ก ๆ ที่ยากจนนี้เสียเหลือเกิน...
.....เรื่องนี้เท่าที่ทราบ เห็นเป็นข่าวมานานแล้ว และก็มีข่าวว่า กองเรือเรา เอาเรือรบไปลอยลำอยู่ในน่านน้ำบริเวณดังกล่าว อย่างน้อย ครั้งละ 2 ลำ.....
...ถึงเวลาเราจะทวงศักดิ์ศรีความเป็นไทยของเราคืนมาแล้ว ผลประโยชน์มหาศาลของชาติบ้านเมืองและคนไทยทุกคน อย่าให้มันเหมือนกรณี เขาพระวิหาร อีกเลย...
...เท่าที่ดูท่าทีฝรั่งและต่างชาติแล้ว จะเอนเอียงไปทางแคมบูเดีย เช่นเคย (เห็นชัดเจน คือ กรณี สหรัฐ ส่งเรือรบเทียบท่าเขมรในรอบ 30 ปี)
....ปล. ไม่ทราบว่าท่าน sam ได้ข้อมูลมาจากแหล่งใดหรอครับ เฮ่อ...ผู้ใหญ่บ้านเราตื่นตัวเรื่องนี้กันรึเปล่า รึมัวแต่ห่วงเก้าอี้ตัวเองอยู่....
เสริมอีกนิด เหตุที่ แขก ฝรั่ง เจ๊ก ยุ่น เข้าทาง เขมร ก็เพราะ...มันสามารถสูบผลประโยชน์ได้ง่าย...ขืนมาเข้าทางไทย มีหวัง ได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย....... (ความเห็นส่วนตัวครับ)
ไม่หรอกครับสงคราม อย่างเก่ง เราก็เอาเรือไปขู่ ๆ เท่านั้นครับผมว่า เดี๋ยวก็ต้องมีการเจรจากันครับ
เอ แหล่งที่เห้นในภาพคือแหล่งเดียวกีบที่ปตท.เจอหรือเปล่าครับ เค้าว่ามีอัตราการไหลตั้ง 9,000 บาเรลแหนะ
ขอโทษทีครับผมหรือเครดิต ตามนี้เลยครับhttp://www.manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9500000021623
ไม่รู้ขุดเจอคราวนี้น้ำมันบ้านเราจะถูกลงหรือเปล่า
ถ้าข้อมูลถูกต้องตรงตามคุณ Sam ทั้ง ท.ร. และ ท.อ. คงได้โอกาสสร้างเมกะโปรเจ็คอีกแล้วละครับ
ของ ท.ร. โอพีวี พร้อมอาวุธครบมือ อย่างน้อย 4 ลำ บวกกับ ฮ. ขนาดกลาง-ใหญ่ พิสัยบินไกล 4-6 ลำ
ของ ท.อ. ฟันธงไปที่ ซู-30 หรือ ซูเปอร์ฮอร์เน็ตรุ่นเอฟ ได้เลยครับ 12-16 ตัว วางไว้ที่สุราษฎร์ฯ
ไม่ได้เอาไว้บาลานซ์กับเขมรเวียดนามมาเลย์ แต่เอาไว้ขู่กันซึ่ง ๆ หน้าเลยครับ เวลาเจรจาเราจะได้ไม่เสียเปรียบ
ถ้ามั่นใจว่าเป็นของเรา ก็ต้องเอาผลประโยชน์ให้เต็มที่
แต่ถ้าไม่ใช่ ก็ขอเอี่ยวกับเค้าให้ได้ อยู่ในอ่าวไทยแท้ ๆ ปล่อยให้ชาติอื่นมากอบโกยได้อย่างไร
๑. รัฐบาลมีนโยบายที่จะสำรองพลังงานของประเทศอย่างไร
๒. รัฐบาลจะเตรียมการเพื่อให้มีพลังงานไฟฟ้าอย่างเพียงพอในระยะ ๔๐ ปี ข้างหน้าอย่างไร
๓. รัฐบาลมีนโยบายอย่างไร ที่จะดำเนินการให้ได้มาซึ่ง น้ำมันในอ่าวไทย ซึ่งคาดว่าจะมีน้ำมันประมาณ๓,๐๐๐ ล้านบาเรล และมีประเทศใกล้เคียงมีส่วนร่วมในแหล่งน้ำมันนี้หรือไม่
๔. รัฐบาลจะเร่งรัดดำเนินการ ?โครงการพัฒนาเซลล์แสงแดดไทยสู่ความเป็นเลิศ? ตามร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง
สำนักงานบริหารเทคโนโลยี่พลังงานแห่งชาติ (องค์การมหาชน) พ.ศ....และร่างประกาศกระทรวงพลังงานเรื่อง
?จัดตั้งสถาบันบริหารพลังงานไฟฟ้าจากแสงแดด? ที่ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ท่านเก่า ได้เริ่มไว้
หรือไม่ ประการใด
โปรดกรุณาตอบในรัฐสภานี้ด้วย จะเป็นพระคุณยิ่ง ขอรับ.......
http://www.senate.go.th/senator_new/01_senator/sn048/s048_3.htm
.....เคยเข้าสภาแล้ว ทำไมเรื่องมันเงียบอ่ะ ผลประโยชน์ของชาตินะ มัวช้าอยู่ใย.....
โอพีวี, เจ็ตไฟเตอร์ และ ฮ. ที่ผมพูดถึง มันสำหรับคุ้มครองปกป้องแหล่งพลังงานในอ่าวไทยโดยเฉพาะเครับ ด้วยชนิดและจำนวนที่กล่าวถึง เพียงพอแน่นอนกับการที่จะให้เพื่อนบ้านเกรงใจและเราจะมีอำนาจต่อรองที่เท่าเทียมหรือเหนือกว่า แค่น้ำหนักหมัดใกล้เคียงกันหรือเหนือกว่า จะตุ้ยกันทีก็ต้องคิดหนักทั้งสองฝ่ายละครับ
แต่ถ้าจะพูดถึงการพัฒนากำลังรบโดยรวม แค่โอพีวี 1 หมวด กับ เจ็ตไฟเตอร์ 1 ฝูง มันไม่เพียงพอหรอกครับ ยิ่งต้องเข้าสู่สงครามสมัยใหม่ แค่ซ้อมรบร่วมกับมหามิตรยังทำไม่ได้เลยครับหากเราไม่จัดหาอะไรที่มันทัดเทียมหรือใกล้เคียงกันกับเค้า
เชื่อผมเถอะครับ ยูโรไฟเตอร์ กับ ราฟาล ไม่มีโอกาสแจ้งเกิดใน ท.อ. หรอก ตัวเลือกมันเหลือแค่ ซูเปอร์ฮอร์เน็ต, ซู-30 แล้วก็ กริเป้น ส่วน เอฟ-35 เป็นหวยล๊อกของ ท.อ. อยู่แล้วครับ เพียงแต่ต้องหลังปี 2020 โน่น แล้วระหว่างรอ เอฟ-35 เราจะใช้อะไรละครับ ?
เอฟ-16 สามฝูง บวกกับ บ.ข. 20 หนึ่งถึงสองฝูง น่าจะเป็นคำตอบที่ใกล้เคียงกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นมากที่สุดนะ !?!
เอฟ-5 อี/เอฟ ทั้งสองฝูงผ่านการม๊อดไปแล้ว ไม่มีการทำอะไรเพิ่มเติมอีกแล้ว ท.อ. จะใช้งานไปจนกว่าจะหมดอายุและปลดไปเลย ฝูงสุราษฎร์ฯ ไม่เกิน 2-3 ปี ข้างหน้า ฝูงอุบลฯ ก็อีก 4-5 ปี ไม่เกินไปกว่านี้แน่นอน
เอฟ-16 กำลังทำฟอลคอนอัพ / ฟอลคอนสตาร์ ซึ่งเป็นเรื่องของโครงสร้างทั้งสิ้น ไม่ได้มีอะไรเกี่ยวโยงกับระบบอาวุธและเอวิโอนิกส์ใด ๆ เลย (เซ็ง) มีการพูดถึงการม๊อดแบบ เอ็มแอลยู หลายครั้งแต่ก็ยังไม่เห็นข้อสรุปใด ๆ คงต้องถาม ท.อ. เค้าดูครับว่า เค้าอยากจะเอางบไปม๊อดเอ็มแอลยูไวเปอร์ให้ใช้อาวุธได้ดีกว่าเดิม หรือเอาไปซื้อ บ.ข. ใหม่ดี ทำใจเถอะครับ สุดท้ายผมว่าคงมีเพียงไวเปอร์ 102 เท่านั้นที่ยิงลูกยาวได้
มองดูแล้ว ท.อ. มีเจตนาเพียงแค่ยืดอายุการใช้งานไวเปอร์ออกไปให้นานที่สุด โดยพอใจกับสมรรถนะที่เป็นอยู่ แล้วเก็บเงินไว้ซื้อของใหม่ครับ
ของใหม่ที่ว่าก็คือ บ.ข. 20 หนึ่งถึงสองฝูง และ บ.ข. 21 เอฟ-35 อีก สองถึงสามฝูง ครับ
http://www.dmf.go.th/service/board/show_board.asp?id=408
1.จำนวนหลุมน้ำมัน/ก๊าซ ในอ่าวไทยมีทั้งหมดกี่หลุม
2.จำนวนหลุมที่พิสูจน์ว่ามีก๊าซ/น้ำมัน(Prooved Reserve)และมีความเป็นไปได้ว่ามีก๊าซ/น้ำมัน(Probable Reserve) มีจำนวนกี่หลุม (ทั้งนี้ให้รวมทั้งที่ได้ให้สัมปทานไปแล้วและยังไม่ให้สัมปทาน)
3.ที่ให้สัมปทานไปแล้วให้กับรายไหนบ้าง รายละกี่หลุม และชื่อหลุมอะไร
.......มีข้อมูลตามลิงค์ครับ น่าสนใจดี.........
ตอนนี้รถถังโดนระบิดอะไรน๊า ที่ก่อนตกถึงพื้นแล้วก็แตกลงมาทำลายกองพันรถถัง แล้วถ้าโดนระเบิดอย่างนี้เข้าไป มันไม่ง่อยเหรอครับ แค่โดนเฮลิคอป เล่นงานเอาก็จะไม่รอดอยู่แล้ว ยกตัวอย่าง ถ้าเครื่องบินสามารถทำลายสถานที่ต่อไปนี้ในเวลาต่อเนื่องกัน ผลแพ้ชนะจะเป็นอย่างไร รัฐสภา คลังน้ำมันใหญ่และสำรอง คลังสรรพพาวุธลับและไม่ลับ กองบัญชาการเหล่าทัพ สถานีโทรทัศน์และสถานีสื่อสารทหารทั้งหมด สถานีวิทยุ ที่ตั้งกองพลรบทั้งสามเหล่าทัพ สนามบินต่างๆ สะพานข้ามแม่น้ำหลักๆของประเทศ โรงจอดยานยนตร์ที่ใช้ในการรบ
เอาแค่นี้ก่อน รถถังยังไม่ต้องเคลื่อนเลย ก็ร้องกันระงมแล้ว ทำไมอาหรับเอมิเรต ถึงต้องมีเครื่องบินสุดยอดขนาดนั้นใครๆก็รู้ และยิ่งถ้าว่าไปแล้ว ถ้ามีอะไรจอดอยู่บนเรือจักรี และพร้อมกระทืบ ละก็ บ่อน้ำมันบ่อที่ทับซ้อนกันอยู่ ก็อาจจะพูดกันง่ายขึ้นก็ได้.....................
ซู30 หรือ f15 f 16 f18 เครื่องยุค3ต่อยุค4 ซื้อมาก็เปล่าประโยชน์ มาเลย์ สิงค์ เวียดนามไม่กลัวหรอก
ต้อง ระดับ rafale typhoon f35 เครื่องยุค5 มันถึงจะกลัวน่ะครับ
แต่จริงๆ แล้วเครื่อง typhoon กับ rafale มีจุดอ่อนที่สำคัญคือ ไม่ใช่เครื่องยุค5 แบบเต็มตัวครับ ในอนาคตอีก 10 ปีข้างหน้า typhoon rafale จะต่อกร กับ f35 f22 mig 1.42 su 47 ซึ่งจะออกสู่ตลาดในอนาคตอีกไม่เกิน10 ปีข้างหน้า และบทั้ง 4แบบดังกล่าวเป็นบ สเตลท์และมีระบบตรวจจับเครื่อง stealth ไม่ได้เลยครับ อีกทั้ง typhoon และ rafale ยังไม่สามารถอัพเกรด (แบบที่อัพเกรด f16 f5 mig21 mig29 su27)ได้หรือทำได้ยากลำบากเนื่องจากมีผู้ใช้น้อย ผิดกับ เครื่องค่าย usa และ russia ที่มีในตลาดนับพันเครื่อง ถ้า ผู้ผลิตไม่อัพ ก็ยังมีสำนักแต่งยิวพร้อมที่จะเข้ามาทำการอัพเกรดให้(เหมือนสำนักแต่งรถน่ะครับ benz bmw ชุดแต่งเพียบ แต่ชุดแต่ ซีตรองกับ rover หายาก) ฉะนั้น typhoon และrafale ก็จะหมดสภาพการจะรับมือภัยคุกคามได้เพียงไม่เกิน 20 ปีเท่านั้นครับ
ทางออกที่ดีที่สุดผมอยากให้รอ f35 หรือ su47 มากกว่า ระหว่างนี้ก็อัพ f5 ให้เป็นคลาสเดียวกับ ทอ.บราซิลที่ f5 เค้ายิง aim120 ได้ และใช้ datalink ร่วมกับ awac ได้ และซื้อ erieye ซัก 2 ตัว แค่นี้ก็พอข่มๆ มาเลย์ เวียดนามได้แล้วครับ ใช้งบประมาณ ไม่ถึงครึ่งของ su30 1 ฝูงเองครับ แต่ f5 อัพเกรด 32 เครื่องพร้อม awac กับซู 30 16 เครื่อง ฟัดกันนี่ผมถือหางข้าง f5 ครับ
su 30 16 เครื่อง 1200 mus$
อัพเกรด f5 200 mus$
erieye 2 เครื่อง 300 msu$
เหลือเงินอีก 700 us$ ซื้อ t90 ซัก1 กองพล 300 คัน
ถ้าไปถามมาเลย์กับเขมร ว่ากลัวอะไรมากกว่ากัน ระหว่าง s 30 16 เครื่อง กับ รถถัง 1 กองพลครับ ผมว่าเขาตอบว่ารถถังชัวร์ครับ
สงครามทางอากาศ หรือสงครามทางเรือ ไม่สามารถชี้ชะตาชัยชนะขั้นเด็ดขาดได้เท่ากับการยึดฐานทัพหรอกครับ
โอ้~ ข้อมูลเด็ดครับคุณ nars
.....เอฟ-5 ฝูง 701 โครงสร้างอากาศยาน รับไม่ไหวแล้วครับ เก่ามาก มันล้าแล้ว จะทนแรง G ไหวหรอ....ถ้าจะอัพ เอฟ-5 สู้ อัพ เอฟ-16 ไม่ดีกว่ารึ.....
เห็นด้วยกับพี่เสือใหญ่เหมือนกันนะครับ ถ้ากำลังรบเรามีดีซะอย่าง เจรจากับใครก็ไม่ต้องกลัว
เคยได้ยินมาแว่ว ๆ ว่ามาเลเซียเคยเอาเรือรบไปปิดบรูไนเรื่องความขัดแย้งอะไรสักอย่าง ผลก็คือบรูไนทำอะไรไม่ได้ เพราะกองทัพตัวเองแทบไม่มีอะไร
แย่นะครับอย่างนี้
ลุ้นหวยนี้มาน้านนาน แล้วเราก็ยังต้องลุ้นต่อไป อย่างต่ำปีสองปี เฮ้อ. แล้วสำหรับเรื่องนี้กับ3จว.ภาคใต้ ถ้าไม่อยากเสียก็อย่าแทง 16 กะ 39 น้า เหลือ 18 กะ 30 ถ้า18มา ก็ขออย่าได้เกิดเวรกรรมแต่ปางก่อนใดอีกเลย วางไว้ สัก8ตัวแถวด้ามขวาทอง ภายในทศววรษนี้ จะถือเป็นเพลาอันดียิ่งเอย
ดูก่อน สูเจ้าทั้งหลาย ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ล้วนโกลาหลอาจเกิดขึ้นในไม่ช้า มิใช่อยากจะให้บ้าตื่นตูม เตรียมการเหมือนโลกจะแตก แต่ทุกผู้นามก็ควรทำใจกายให้พร้อมกันเสียบ้าง หากมิเดินให้ทันผู้อื่นเค้า เราเสียเองจะถูกย้ำจนแม้แผ่นดินก็มิมีให้อาศัย
เอิ้กๆ
ในประวัติศาสตร์จีน หลังจาก จิ๋นซีฮ่องเต้สวรรคต ประเทศจีนแยกเป็นแคว้นย่อยๆ ประมาณ 10 แคว้น กองทัพแคว้นเว่ยยกไปตีแคว้นจ้าว แล้วซุนปิน(ศิษย์ซุนวู)ซึ่งเป็นขุนพลของอีกแคว้นหนึ่ง(จำไม่ได้ว่าชื่อแคว้นอะไรหาหนังสือเจอแล้วจะมาบอกครับ)จะช่วยแคว้นเจ้า ก็ไม่ได้ยกทัพเข้าไปต้านทัพเว่ยในแคว้นจ้าวโดยตรง แต่ซุนปินยกทัพเข้าไปในแคว้นเว่ยโดยตรงซึ่งทำให้ทัพเว่ยต้องถอนทัพออกจากแคว้นจ้าวทันที หรือเมื่อคราวที่เวียดนามยึดเขมรได้ทั้งประเทศแล้วเตรียมบุกประเทศไทย ด้วยทหาร 20 กองพล และไทยมีกองพลที่พร้อมรบเพียง 20 กองพลเท่านั้น ขณะนั้น กองทัพไทยได้ทำการรบกับเวียดนามที่ช่องบกแล้วและต้านทานไว้ได้ ซึ่งสมรภูมินั้นเวียดนานเพียงหยั่งเชิงกองทัพไทยเท่านั้น ไทยขอความช่วยเหลือจากจีน และจีนก็ทำการช่วยไทยรบเวียดนาม(จุดประสงค์หลักน่าจะยับยังอิทธิพลโซเวียตซึ่งตอนนั้นสนับสนุนเวียดนาม) แต่ก็ไม่ได้ยกทัพมาที่ประเทศไทยโดยตรง แต่จีนใช้วิธีส่งกองทัพตีภาคเหนือของเวียดนามจนเข้าห่าง ฮานอยเพียงไม่กี่ สิบกิโลเมตรจีนก็ถอยทัพกลับ เป็นการเตือนเวียดนามว่าอย่าบุกไทย
สงครามครั้งนั้นชี้ให้เห็นว่า ช่วยไทยโดยไม่ต้องมาไทย เตือนโซเวียตโดยไม่ต้องรบกับโซเวียตครับ
ฉะนั้นแม้จะทะเลาะกันในทะเลก็ไม่จำเป็นต้องรบกันในทะเลเช่นกัน ใครจะแย่งน้ำมันเรา เราก็ตี เสียมเรียบ หรือ รัฐ กลันตัน ตรังกานู จนถึง กัวลาลัมเปอร์ก็ได้
ไทยได้เปรียบมาเลย์ ในส่วนกองทัพบกจน มาเลย์ไม่อาจเทียบเราได้เลย หากเราสร้างเสริมกองทัพอากาศ ก็จะเข้าทางมาเลย์เพราะกองทัพอากาศ แข่งกันที่เงิน แต่กองทัพบกวัดกันที่ขนาดประชากร และ สายเลือดนักสู้ของชนชาติครับ
ลองศึกษากรณีความขัดแย้งเกาะ ท๊อกโด / ทาเคชิม่า ระหว่างเกาหลีกับญี่ปุ่น และ กรณีหมู่เกาะสแปตลีย์ ระหว่าง จีน ไต้หวัน เวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และ บรูไน ดูนะครับ
จะเห็นได้ว่า กำลังทางอากาศและกำลังทางเรือเป็นเครื่องมือในการเจรจาที่ดีที่สุด ใครมือใหญ่หมัดหนักและมีสรรพกำลังมากกว่า เสียงก็ดังกว่า
กรณีแหล่งล่าสุดที่เชพรอนสำรวจพบในอ่าวไทยบริเวณรอยต่อไทย-กัมพูชานี้ การส่งสัญญาณที่ดีที่สุดคือการประกาศอธิปไตยเหนือบริเวณพื้นที่สำรวจนี้ โดยการส่งเครื่องบินและเรือรบเข้าไปเฝ้าตรวจคุ้มครองโดยทันที หากมีใครคัดค้านก็เรียกมาเจรจากัน แน่นอนว่าหมัดใหญ่กว่าหนักกว่าย่อมได้เปรียบ หรืออย่างน้อย มีพอ ๆ กันเจรจาก็ไม่เสียเปรียบแน่นอน
กรณีมีเขตแดนทางบกติดกันอย่าง ไทย-มาเลย์ และ ไทย-กัมพูชา การเพิ่มกำลังรบทางบกเพื่อเป็นการส่งสัญญาณเตือนกรณีอธิปไตยเหนือพื้นที่สำรวจปิโตรเลี่ยมในทะเลจึงไม่ค่อยจะตรงเป้านัก เพื่อนบ้านทั้งสองมันจะรู้ไหมครับว่า โยเดียมันเอารถถังเอาปืนใหญ่มาจ่อชายแดนตูทำไมฟ่ะ
กรณี ไทย-เวียดนาม เราไม่มีเขตแดนทางบกติดกัน ไม่รู้จะส่งสัญญาณถึงกันยังไง
อ้อ...ใคร ๆ ก็รู้ว่า ไทยเราคงไม่เป็นไข้ไม่สบายขนาดคิดปรับปรุงกองทัพบกสำหรับไว้ลุยประเทศเพื่อนบ้านจนถึงเมืองหลวงเค้านะครับ เราไม่ใช่อเมริกันสักหน่อย จะได้เที่ยวไปตีบ้านเผาเมืองชาวบ้านเพียงเพื่อจะเอาน้ำมันแบบหน้าด้าน ๆ ของแบบนี้แค่เราขู่นิด เจรจาหน่อย ให้เกรงใจและผลประโยชน์ร่วมลงตัวก็จบแล้วครับ
สรุปว่า ถ้าแค่ส่งสัญญาณเตือนถึงทุกประเทศถึงอธิปไตยเหนือพื้นที่สำรวจปิโตรเลี่ยมในทะเล กำลังทางเรือและทางอากาศเหมาะสมและเพียงพอที่สุดแล้ว น.ย. อาจมีส่วนร่วมด้วยถ้ามันมีพื้นดินอย่างเกาะกลางทะเลให้ยึดและปักธงนะครับ เหมือนที่ จีน มาเลย์ ฟิลิปปินส์ วางกำลัง น.ย. ของตนไว้บนบางเกาะของหมู่เกาะสแปตลีย์ไงครับ