วันนี้เรามาเปลี่ยนบรรยากาศเป็นเรื่องประวัติศาตร์ทหารกันบ้างนะครับ เชื่อว่าหลาย ๆ ท่านอาจจะเคยได้ยินชื่อเดียนเบียนฟู (Dien Bien Phu) กันมาบ้าง บางท่านก็อาจจะทราบว่าการรบที่เดียนเบียนฟู นั้นมหาอำนาจอย่างฝรั่งเศสได้พ่ายแพ้ต่อเวียดนาม อันส่งผลให้ ฝรั่งเศสต้องยุติบทบาทตัวเองลงบนคาบสมุทรอินโดจีน แต่อาจจะลืมว่ามีความเป็นมายังไง ผมก็เลยถือโอกาสนี้มาเล่าเรื่องการรบที่เดียนเบียนฟูให้ฟังกันครับ
สถานการณ์ทั่วไป
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อสงครามในภาคพื้นแปซิฟิค ยุติลงด้วยความพ่ายแพ้ของญี่ปุ่น ส่งผลให้คาบสมุทรอินโดจีนกลับมาเป็น อณานิคมของฝรั่งเศสอีกครั้ง หลังจากเคยตกเป็นอณานิคมของฝรั่งเศสมาแล้วในศตวรรษที่ 19
ในกรณีของเวียดนามนั้นตกเป็นอณานิคมของฝรั่งเศสตั้งแต่ พ.ศ.2416 (ค.ศ.1873) โดยถูกแบ่งออกเป็น แคว้น คือ แคว้นตังเกี๋ย อยู่ทางตอนเหนือ แคว้นอันนัม อยู่ทางตอนกลาง และแคว้นโคชินไชนา อยู่ทางตอนใต้ ฝรั่งเศสได้เปลี่ยนแปลงระบบการศึกษา วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียบประเพณีให้เป็นแบบฝรั่งเศส
การที่ตกอยู่ภายใต้อณานิคมของฝรั่งเศสทำให้เกิดการรวมตัวเป็นกลุ่มต่อสู้เพื่ออิสระภาพ ที่มีชื่อ เวียดมินห์ (Viet Minh) ภายใต้การนำของ Nguyen Ai Quoc ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น Ho Chi Minh หรือที่เรารู้จักกันในามของ โฮจิมินห์
ความจริงแล้ว โฮจิมินห์ เองก็พยายามต่อสู้เพื่อเอกราชของเวียดนามมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2462 (ค.ศ.1919) โฮจิมินห์ได้เดินทางไปฝรั่งเศสเข้าร่วมประชุม The Versaills Conference เพื่อเรียกร้องเอกราชให้กับเวียดนาม แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ ทำให้เขาไปรัสเซีย และได้และได้รับการถ่ายถอดแนวความคิดของลัทธิมาคซ์ (Marxism) และการปฏิวัติ
เมื่อโฮจิมินห์กลับไปยังเวียดนามก็เริ่มการเคลื่อนไหวในการขับไล่ฝรั่งเศสขึ้นในช่วง พ.ศ.2463 - 73 (ค.ศ.1920 - 30) ต่อมาในพ.ศ.2483 (ค.ศ.1940) ญี่ปุ่นเริ่มเข้ามามีอิทธิผลในคาบสมุทรอินโดจีน เนื่องจากฝรั่งเศสเพลี่ยงพล้ำให้กับเยอรมัน ในสงครามภาคพื้นยุโรป (สงครามโลกครั้งที่ 2)
ขบวนการเวียดมินห์ เลยขอรับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ ในการเคลื่อนไหวขับไล่ญี่ปุ่น ต่อมาเมื่อญี่ปุ่นยอมจำนนทำให้สงครามภาคพื้นแปซิฟิค (สงครามโลกครั้งที่ 2) ยุติลง ทางฝรั่งเศสก็กลับเข้ามามีบทบาทในการปกครองเวียดนามเหมือนเดิม
ขบวนการเวียดมินห์ได้ร้องขอให้สหรัฐฯ สนับสนุนตนต่อ และเจรจาเรียกร้องเอกราชจากฝรั่งเศสให้ แต่สหรัฐฯ มีความเกรงใจฝรั่งเศสจึงปฏิเสธไป แต่ก็ช่วยเจรจาอย่างไม่จริงจังเท่าไหร่กับฝรั่งเศส เพียงแต่ปราม ๆ เรื่องการส่งกำลังเข้าไปในเวียดนาม
ต่อมาในปี พ.ศ.2493 (ค.ศ.1950) เกิดสงครามเกาหลีขึ้น โดยฝ่ายเกาหลีเหนือ ภายใต้การสนับสนุนของจีนทำการบุกขามเส้นขนานที่ 38 ลงมายังเกาหลีใต้ ทำให้เกิดการแบ่งขั้วกันอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้นระหว่างประเทศคอมมิวนิสต์ และประเทศประชาธิปไตย ส่งผลให้สหรัฐฯ เปิดทางให้ฝรั่งเศสเคลื่อนย้ายกำลังเข้าสู่คาบสมุทรอินโดจีน เพราะทางขบวนการเวียดมินห์ นั้นถูกมองว่าเป็นฝ่ายคอมมิวนิสต์ เนื่องจากหันไปขอรับการสนับสนุนทั้ง อาวุธ และยุทธปัจจัยต่าง ๆ จากทั้งรัสเซียและจีน แทนสหรัฐฯ
ในช่วงต้นที่ฝรั่งเศสยาตราทัพเข้าสู่คาบสมุทรอินโดจีน ภายใต้การนำของ พล.อ. Jean de Lettre de Tassigny กองกำลังฝรั่งเศส (Corps Expéditionnaire) ได้ทำการปราบปรามขบวนการเวียดมินห์ภายใต้การนำของ โฮจิมินห์ และ พล.อ.โว เหงียน เกี๊ยบ (Vo Nguyen Giap) โดยทำการวางกำลังลึกเข้าไปพื้นที่ ที่ขบวนการเวียดมินห์ยึดครอง ด้วยหน่วยส่งทางอากาศ (ทหารพลร่ม) จากนั้นสถาปนาเป็นที่มั่นดัดแปลงแข็งแรง แล้วทำการตัดเส้นทางการส่งกำลังบำรุงของเวียดมินห์ ด้วยอาวุธหนัก หรือที่เรียกว่า ยุทธศาตร์ he'rissons (hedgehogs) ทำให้ทางฝ่ายขบวนการเวียดมินห์สูญเสียอย่างหนักมาตลอด
จนกระทั่ง พล.อ. Lettre de เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง ในเดือนมกราคม พ.ศ.2495 (ค.ศ.1952) การบังคับบัญชากองกำลังของฝรั่งเศสจึงถูกส่งมอบต่อให้กับ พล.อ. Raoul Salan ซึ่งได้เปลี่ยนแผนการรบไปเป็นการใช้กำลังทหารขนาดใหญ่เข้าโจมตีที่มั่นของขบวนการเวียดมินห์ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจาก พล.อ. เกี๊ยบ ได้หลอกล่อให้กองทหารฝรั่งเศส ตีเจาะลึกเข้ามา จากนั้นทำการปิดล้อม แล้วทำการดักซุ่มโจมตีขณะที่กองกำลังฝรั่งเศสถอนตัว
พล.อ.Salan รับหน้าที่ไปจนถึงเดือน พฤษภาคม พ.ศ.2496 (ค.ศ.1953) ก็ถูกเปลี่ยนตำแหน่งโดย พล.อ.Henri Navarre ผู้ที่มีลักษณะเช่นเดียวกับ พล.อ. Lettre de แต่ พล.อ. Navarre นั้นค่อนข้างจะถูกกดดันจาก ประชาชน และรัฐบาลฝรั่งเศส ว่าจะต้องได้รับชัยชนะต่อขบวนการเวียดมินห์โดยเร็วที่สุด
พล.อ. Navarre และฝ่ายเสนาธิการจึงได้วางแผน ที่ชื่อ Navarre Plan โดยแบ่งการปฏิบัติออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ
ขั้นที่ 1 -- ตั้งแต่ เขารับตำแหน่งจนถึงกลางปี พ.ศ.2497 (ค.ศ. 1954) ทำการสถาปนาความมั่นคงเวียดนามบริเวณใต้เส้นขนานที่ 18 ลงไป เนื่องจากเขตยึดครองหลัก ๆ ของขบวนการเวียดมินห์ส่วนใหญ่ จะอยู่เหนือเส้นขนาดที่ 18 ส่วนทางเหนือเส้นขนานที่ 18 กองกำลังทหารฝรั่งเศสดำเนินการตั้งรับเป็นหลัก และทำการหลีกเลี่ยงการใช้กำลังขนาดใหญ่ ซึ่งจะเรียกขั้นตอนนี้ว่า mentalite' de'fensive (defensive mentality)
ขั้นที่ 2 -- จะเริ่มในปลายปี พ.ศ.2497 (ค.ศ. 1954) ไปจนถึงปี พ.ศ.2499 (ค.ศ. 1956) กองกำลังฝรั่งเศสจะทำการใช้กำลังขนาดใหญ่เข้าทำการกวาดล้างขบวนการเวียดมินห์ทางตอนเหนือ ในฐานที่มั่นดัดแปลงแข็งแรง ขั้นตอนนี้จะเรียกว่า la bataille ge'ne'rale
อย่างไรก็ตามแผนของ พล.อ.Navarre นั้นไม่ได้ต้องการทำลายล้างขบวนการเวียดมินห์ให้สิ้นทราก เพียงแต่จะไปสอดคล้องกับยุทธศาตร์ของรัฐบาลฝรั่งเศส ที่จะปราถนาจะเจรจา กับขบวนการเวียดมินห์ เพื่อจะหาทางออกในการรักษาผลประโยชน์ร่วมกันในคาบสมุทรอินโดจีน
Navarre Plan นั้นจะเป็นเพียงมาตรการทางทหารที่จะแสดงให้เห็นว่าฝ่ายขบวนการเวียดมินห์นั้นไม่มีทางที่จะชนะ กองกำลังฝรั่งเศสด้วยการปฏิบัติทางทหาร และทางรัฐบาลฝรั่งเศสก็มองเช่นเดียวกันว่า ฝรั่งเศสเองก็ไม่มีวันที่จะได้รับชัยชนะอย่างถาวรในภูมิภาคนี้
ต่อมาในเดือนกรกฏาคม พ.ศ.2496 (ค.ศ.1953) ทางรัฐบาลฝรั่งเศสได้ตกลง ที่จะให้ความสำคัญกับการป้องกันลาว จากการรุกรานของขบวนการเวียดมินห์ เนื่องจากลาวมีความปราถนาที่จะอยู่ภายใต้อณานิคมฝรั่งเศส
ด้วยการนี้เอง พล.อ.Naverre ได้ตอบสนองนโบายโดย ทำการเปิดยุทธการ Castor (Operation Castor) เพื่อทำการป้องกันลาว ด้วยการส่งทหารพลร่มจำนวน 6 กองพันกระโดดลงที่หมู่บ้าน Moung Thanh ในเมือง Dien Bien Phu จังหวัด Lai Chau ในวันที่ 20 พฤษจิกายน พ.ศ.2496 (ค.ศ.1953)