หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ขอข้อมูลชาติที่ใช้กองเรือเล็กเป็นหลักแกร่งๆหน่อยครับ

โดยคุณ : BloodRoyal เมื่อวันที่ : 13/02/2007 20:23:50

คือสืบเนื่องวันนี้คุยกับพี่ทหารเรือคนหนึ่งลูกพ่อขุนเช่นกัน ซึ่งคุยๆเรื่องเรือไทย พี่แกก็ดันลืมบางอย่างไปซะได้

คือพี่เขาว่ากองเรือไทยจะดำเนินรูปแบบใช้กองเรือขนาดเล็ก แต่ทันสมัยเลียนแบบประเทศๆหนึ่ง

อยากทราบว่าประเทศนั้นคือประเทศไรเหรอครับ? และมีข้อมูลกองเรือเขาว่ามีอะไรมั่ง มากน้อยเพียงใดครับ

 

และอีกประเด็นคือ ในการรบสมัยใหม่นี่ พวกเรือเล็กๆนี่จะสามารถต่อกรกับพวกเรือใหญ่ๆยักษ์ๆได้มั้ยครับหากเอาจำนวนรุมน่ะครับ กลัวจะยิงมะเข้าเหอๆ

 

รบกวนขอข้อมูลด้วยครับ





ความคิดเห็นที่ 1


ได้ครับ จรวด kh 31 ที่ติดซู30 นี่ หัวรบหนักร่วมๆครึ่งตันครับ จบ ติคอนเดอร์โรกาได้เลย เผลอเรือบรรทุกเครื่องบินอเมริกันร่วมแสนตันก็จมเมหือนกันครับ
โดยคุณ nars เมื่อวันที่ 13/02/2007 21:03:29


ความคิดเห็นที่ 2


งิ้ว ผมเองเพิ่งศึกษาอาวุธน่ะครับ เผอิญเรียนรัฐศาสตร์ และคิดว่าต้องหาความรู้ด้านนี้ประดับบารมี เพื่อให้เข้าถึงแก่นทุกสาระที่จำเป็นต่อชาติ เลยโง่สุดๆครับ

 

KH31 ที่ติดซูนี่ยิงจากเรือได้ด้วยใช่มั้ยครับ?

 

ผมกำลังมองๆน่ะ ว่ากองเรือแบบเล็กพริกขี้หนู ไม่จำเป็นต้องลำเบ้งๆ แต่เน้นเทคโนโลยีแจ๋วๆ อาวุธดีๆ แรงขับดีๆ จะดีกว่ามั้ย

 

แล้วอนาคตเขาว่าอังกฤษกำลังจะพัฒนาได้สำเร็จคือการทำให้เรือล่องหนจากสายตาเนี่ย ผมว่าแจ๋วเยยนะน่ะ แต่ยังไงประเด็นคำถามของโพสต์แรกรบกวนด้วยนะครับ ท่านผู้รู้

โดยคุณ BloodRoyal เมื่อวันที่ 13/02/2007 21:12:14


ความคิดเห็นที่ 3


.......ถ้าแบบเรือเล็ก มีหมัดแบบโป้งเดียว สลบหรือ นับ 8 ล่ะก็ ติดอาวุธทางฝั่งนาโต้รุนแรงมาก ไม่ค่อยมีนะครับ นอกจาก อาร์บีเอส 15 กับ ออตโต้แมท  นอกนั้นเน้นในความแม่นยำในการพุ่งชน ความแน่นอนในการรอดไปชนเรือจากระบบต่างๆได้  แต่เรือเล็กขนาดนั้นก็ต้องแลกมาด้วย ราคาและเทคโนโลยีขั้นสูงล่ะครับ ขนาดด้วย กี่ตัน จำกัดที่ 4 พันตันล่ะกัน  ก็ต้องมีระบบป้องกันที่สมบูรณ์แบบเช่น มีจรวดที่พอจะสอย บ.ข.หรือฮ.ปล่อยอาวุธได้ไม่ใช่มีแต่ระบบป้องกันจรวดที่วิ่งเข้ามา ไม่งั้นอาจจะเจอดาบ 2ได้

.....ส่วนทางรัสเซีย เคเอช 31 นี่ผมไม่แน่ใจว่ามีใช้กับเรือหรือไม่(จำได้ไม่มีนะ ใครทราบช่วยขยายด้วยครับ ) เพราะหลัก เคเอส 31 พี คลิปตั้นใช้ยิงจากซูทำลายเครือข่ายเรดาห์ หรือหลักตระกูลเคเอช31 ใช้ยิงจากซู เท่านั้น  ส่วนระบบอื่นยิงทางเรือน้ำหนักเบาได้แก่ SS-N 25 ที่มีใช้กับเรือเวียดนาม มีพิสัยไกลกว่า 130 ก.ม.ใช้ติดตั้งให้กับเรือหลายขนาดมีน้ำหนักเบาติดตั้งได้มากกว่า ระบบเก่าๆที่เคยมี  แต่หัวรบยังไม่รุนแรง อีกระบบคือ ยาคอนSS-N 26กับSS-N 22 โดยเฉพาะ SS-N 22 มีหัวรบรุนแรงสุดที่ 300 กิโลกรัมสามารถพังเรือใหญ่ๆได้ในนัดเดียว  หรือสามารถพาหัวรบ นุค 30 กิโลตันก็ได้ มีความเร็วเข้าตีสูงถึง 4 มัคในขั้นสุดท้าย ส่วนยาคอนก็แทบไม่แตกต่างกันมาก


โดยคุณ MIG31 เมื่อวันที่ 13/02/2007 21:50:42


ความคิดเห็นที่ 4


อ่ารบกวนถามเพิ่มเติมครับ

งั้นสรุปก็คือ เรือเล็กยังไงก็ยังซัดพวกเรือใหญ่ได้ใช่มั้ยครับ

แล้วการดำเนินการเน้นรูปแบบกองเรือด้วยเรือเล็กนี่จะเหมาะสมกับประเทศไทยรึเปล่าครับ หรือควรจะมีพวกครุยเซอร์ยักษ์ๆบ้าง

เพราะเรือขนาดเล็กตามที่คุณมิก บอกมาคงจะใช้ค่าใช้จ่ายสูงน่าดูสินะครับ

ยังไงก็ขอบคุณข้อมูลคุณ nars mig31 ด้วยนะครับ

(จิงๆอยากถามอีกเยอะแต่ แต่ถามไม่ถูก ข้อมูลไม่เพียงพอง่ะ กลัวจะกลายเป็นถามปัญญาอ่อน)

แล้วพอจะทราบมั้ยครับชาติไหนที่เพื่อนรุ่นพี่ผมบอกเนี่ย (ทำไมลืมได้น๊า) ว่าชาติไหนเน้นกองเรือรบขนาดเล็ก แต่ว่าเกรียงไกร มันมีอยู่จริงเหรอครับ? ผมว่าถ้ามีจริง ไทยเราก็น่าจะเล่นของเล็กแต่พริกขี้หนูมั่งนะ

 

ถ้าเรือเล็กมีการป้องกันได้ดี แล้วอยู่กันหลายๆลำ ผมว่าน่าจะดีนะครับน่ะ

โดยคุณ BloodRoyal เมื่อวันที่ 13/02/2007 22:02:37


ความคิดเห็นที่ 5


ผมลองเดา ทร.สวีเดน ครับ...

เรือขนาดใหญ่สุดของเขา เป็นเรือ คอร์เวตแบบสเตล์...

และเขาสามารถประกอบเรือดำน้ำขายให้ ทร.สิงคโปร์ ได้อีกครับ

แต่มันจะเล็กไปหรือเปล่า ?


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 13/02/2007 22:04:54


ความคิดเห็นที่ 6


..


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 13/02/2007 22:05:24


ความคิดเห็นที่ 7


stockhome class


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 13/02/2007 22:05:59


ความคิดเห็นที่ 8


...


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 13/02/2007 22:06:40


ความคิดเห็นที่ 9


cotland class


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 13/02/2007 22:10:16


ความคิดเห็นที่ 10


อ๊าง ขอบคุณครับ คิดว่าไทยน่าจะดำเนินนโยบายทัพเรือเลียนแบบสวีเดนไหมครับน่ะ?

 

(ใจผมก็ชอบสวีเดนอยู่แล้วนะเนี่ย กษัตริย์เขากับในหลวงเรานี่สนิทกันมากๆเลย)

โดยคุณ BloodRoyal เมื่อวันที่ 13/02/2007 22:11:53


ความคิดเห็นที่ 11


เท่ซะไม่มี...เมื่อไหร่...จะได้เห็นเป็นคนไทย ยืนแทนบ้างหน๊อออ...


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 13/02/2007 22:20:32


ความคิดเห็นที่ 12



ผมว่ามันจาเล็กไปมั๊ยอ่าครับ ถ้าเราใช้แค่คอร์เวตง่ะ
น่านน้ำของสวีเดนเขาติ๊ดเดียวเองนี่นา


Ps.แต่ผมชอบ Supercar จากประเทศนี้นะ แหะๆ


โดยคุณ Zepia เมื่อวันที่ 13/02/2007 22:46:48


ความคิดเห็นที่ 13


คำว่ากองเรือขนาดเล็กนี้    มุมไหนล่ะครับ    

1.  กองเรือรักษาชายฝั่ง    ก็มักจะใช้เรือขนาดเล็กอย่างเรือคอร์เวตหรือเรือฟรีเกตเบาลงไป

2. กองเรือแบบ Blue navy แต่ใช้เรือขนาดเล็ก   ซึ่งก็หมายถึงเรือฟรีเกต  โดยมีขนาดระวางขับน้ำช่วง 2,000-4,000 ตัน

      ถ้าเอาตามความหมายที่ 1  คือกองเรือรักษาชายฝั่ง    ก็คือกองเรือที่ใช้เรือขนาดฟรีเกตเบาหรือคอร์เวตลงมา   ซึ่งมักมีระวางขับน้ำต่ำกว่า 2,000 ตัน      การจะเลือกใช้กองเรือแบบไหนขึ้นอยู่กับการจัดระดับภัยคุกคาม(มองคุ๋ต่อสู้เป็นใคร)       พื้นที่รับผิดชอบทั้งหมดของเรา    งบประมาณและก็อาจหมายถึงความมุ่งมั่นของเหล่าผู้คนในชาติด้วย

     ชาติที่มีกองเรือรักษาชายฝั่งเจ๋งๆ   ก็มีเช่น   อิสราเอล ,  สวีเดน ,  สิงคโปร์  เป็นต้น       แต่ประเทศเล็กๆทั้งหมดนี้มีแนวชายฝั่งที่ต้องรับผิดชอบไม่มาก    และมีพันธมืตรที่มีกองเรือขนาดมหึมาพร้อมที่เข้าช่วยเหลือเมื่อคราวที่ต้องเผชิญหน้ากับผู้รุกรานที่มีกองเรือทรงอำนาจ    

ข้อดีของกองเรือแบบนี้คือ   ค่าใช้จ่ายในการจัดหาและปฎิบัติการต่ำ     อำนาจการยิงชองเรือเมื่อเทียบกับระวางขับน้ำแล้วถือว่ามีอำนาจการยิงมหาศาล     เพราะเรือลำกระเปี๊ยกเดียวสามารถยิงอาวุธนำวิถีจมเรือขนาดใหญ่กว่าหลายๆเท่าตัวจม     เช่นกรณีที่เรือรบอิสราเอลถูกเรือเร็วโจมตีของอียิปต์ยิงจม    ซึ่งจากกรณีนั้น    เรือเร็วโจมตีและแนวคิดกองเรือรักษาชายฝั่งขนาดเล็กแต่เทคโนโลยีสูงจึงได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก

        

โดยคุณ neosiamese เมื่อวันที่ 13/02/2007 23:09:20


ความคิดเห็นที่ 14


 

ส่วน Kh-31 หรือ AS-17 Krypton
เจ้านี่มี 4 รุ่นครับ ไว้ยิงเรือ 2 ยิงเรดาร์ 2
หัวรบหนัก 90 กก. เน่อครับ

ส่วนรุ่นยิงจากเรือนี่ เท่าที่หาดูไม่มีนะครับ

purpose:
Kh-31A mod 1: antiship missile with active radar seeker (50 กม.)
Kh-31A mod 2: extended range version of mod 1 (69 กม.)

Kh-31P mod 1: antiradiation missile with passive radar seeker (150 กม.)
Kh-31P mod 2: extended range variant of mod 1 (200 กม.)

guidance:
Kh-31A mod 1: inertial point with active radar terminal seeker
Kh-31A mod 2: inertial point with active radar terminal seeker

Kh-31P mod 1: inertial point with passive radar seeker
Kh-31P mod 2: inertial point with passive radar seeker

อยากได้ละเอียดกว่านี้ ลองไปที่นี่เลย
http://warfare.ru/?lang=&catid=263&linkid=2110

โดยคุณ Zepia เมื่อวันที่ 13/02/2007 23:12:11


ความคิดเห็นที่ 15


 

        ในเมื่อมีข้อดี   ก็ย่อมต้องมีข้อเสียเสมอ  

  หลังจากความสำเร็จในแนวคิดนี้บูม   แต่ความนิยมนี้ก็เกือบจะสิ้นสุดลงเมื่อ    อเมริกาและพันธมิตรยับยั้งกองทัพอีรักที่บุกเข้าไปในคูเวต     กองเรือของอีรักก็ใช้แนวคิดกองเรือรักษาชายฝั่งขนาดเล็กแต่ประสิทธิภาพสูง    เจอเข้ากับยุทธวิธีใหม่   นั่นคือการใช้ฮ.ติดอาวุธจากเรือฟรีเกตเข้าตีก่อนที่เรือเล็กจะเข้ามาในระยะยิง    อย่าลืมนะว่าแม้ว่าจรวดต่อตีเรือแทบทุกแบบในปัจจุบันจะสามารถยิงได้ไกลเกินขอบฟ้าก้ตาม     จรวดเหล่านั้นต้องพึ่งการชี้เป้านำทางให้โดยใช้เครื่องบินรบฝ่ายตนเอง      ซึ่งในสงครามอ่าวภาคแรกนั้น   พันธมิตรครองอากาศทั้งหมด     ทำให้ระยะยิงที่ไกลของจรวดหมดความหมาย     เรือเร็วของอีรักต้องพยายามเข้าประชิดเรือใหญ่ของฝ่ายพันธมิตรในระยะขอบฟ้าให้ได้    ซึ่งไม่ประสบความสำเร็จเลย    เพราะถูกฮ.และเครื่องบินรบเข้าโจมตีสกัด     ผลคือ  ความย่อยยับแบบหมดทางสู้     

 

โดยคุณ neosiamese เมื่อวันที่ 13/02/2007 23:17:43


ความคิดเห็นที่ 16


 

          ข้อเสียที่สำคัญอีกข้อซึ่งประเทศเราได้มีบทเรียนสาหัสมาแล้ว  (ถ้ายังไม่จำอีก...เขาเรียกว่า "โง่" )    คือ    เรือเหล่านี้ไม่สามารถปฎิบัติการในเขตน้ำลึกได้    มีระยะเวลาในการปฎิบัติการสั้นเพราะเรือมีขนาดเล็ก      ดังนั้นถ้าถูกประเทศคู่สงครามที่มีเรือขนาดใหญ่ส่งกองเรือมาปิดกั้น   แถมยังมีการคุ้มกันทางอากาศที่หนาแน่นพอที่จะรับมือเครื่องบินรบจากฝั่งของเราได้แล้วล่ะก็     เส้นทางการเดินเรือทางทะเลของเราทั้งหมดจะถูกปิดตาย    นั่นหมายความว่าความย่อยยับทางเศรษฐกิจจะบีบให้เราต้องยอมแพ้ไปโดยปริยาย      ซึ่งเราเองก็โดนปิดอ่าวจากคู่สงครามหลายครั้งและเป็นเหตุให้

        "เกือบจะต้องสูญเสียเอกราชมาหลายครั้งแล้ว"    

และต้องเสียดินแดนไปครึ่งหนึ่งมาก่อน        และเนื่องจากการที่ประเทศเรามีชายฝั่งที่ต้องรับผิดชอบยาวไกลมาก    ดังนั้นการมีกองเรือขนาดเล็กก้จะดูแลผลประโยชน์ได้ลำบาก   เพราะต้องใช้เรือหลายลำในการลาดตระเวณตรวจการณ์      อ่าวไทยเองก็มีบางจุดที่แคบพอสำหรับเรือขนาดใหญ่สามารถกักการเข้าออกของเรือสินค้าได้    ไม่ได้มีชายฝั่งเปิดกว้างแบบเวียตนาม   แต่มีลักษณะคล้ายๆปากถุง      ดังนั้นในบางจุดถ้ามีการส่งเรือรบขนาดใหญ่จำนวนไม่มากและมีกำลังทางอากาศสนับสนุน  เช่น มีเรือบรรทุกบ.ขนาดเบา  เพื่อทำการคุ้มกัน    เท่านี้อ่าวไทยก็จะถูกปิดตาย       ด้วยเหตุนี้     หลังจากที่เราจบสงครามกับเวียตนามที่เขาช่องบก (ตอนนั้นโซเวียตส่งเรือขนาดใหญ่และเรือดำน้ำเข้ามาในอ่าวเพื่อข่มขู่ว่าตนสามารถสนับสนุนเวียตนามด้วยการปิดตายอ่าวไทย!)   พลเอกชวลิต หรือบิ๊กจิ๋ว   เมื่อได้เป็นนายกรัฐมนตรี    จึงได้เริ่มโครงการกองเรือแบบ   Blue navy ขึ้น   โดยอาศัยบทเรียนคราวนั้นและบทเรียนจากสงครามหมู่เกาะฟอค์แลนด์    ซึ่งป้องกันการปิดตายอ่าวไทยจากฝ่ายตรงช้าม    และเพื่อให้ผลของสงครามตัดสินกันให้จบในมหาสมุทร    เพราะถ้าเราต้องมาตั้งรับที่ชายฝั่งตนเอง     กำลังของข้าศึกก็จะเข้าโจมตีบนแผ่นดินใหญ่ซึ่งความเสียหายนั้นมหาศาลอย่างเทียบกันไม่ได้      เพราะกรณีแบบนี้นั้นแม้อาเจนติน่าจะพ่ายในสงคราม     แต่การที่อาเจนติน่ามีกองเนือ Blue navy   สงครามจึงตัดสินกันในมหาสมุทรเท่านั้น    ไท่ได้ลุกลามไปยังเมืองท่าที่สำคัญๆของประเทศ    ดังนั้นความเสียหายที่ตัวประเทศจะได้รับจากสงครามจึงมีจำกัด      ลงนึกเอาสิว่าถ้ากองเรืออังกฤษต้องทำการรบชายฝั่งของอาเจนติน่า    แล้วทำการทิ้งระเบิดโจมตีเมืองม่าสำคัญๆ   โจมตีเมืองหลวง   ระดับความเสียหายก็จะสูงจนประเมินค่าไม่ได้

      การที่กองเรือเราในปัจจุบันจะเปลี่ยนกลับไปใช้แนวคิดโบราณที่ได้รับการพิสูจน์ในการรบสมัยใหม่แล้วว่าห่วยไม่ได้ผล    เพียงเพื่อประหยัดงบประมาณประเทศ   

 

       ระวังนะครับ     มันจะไม่ประหยัดเอกราชของประเทศไปด้วย

 

    ขอประนามแนวคิดนี้ว่า

      " โง่บัดซบครับ"

    

       การที่จะรอเริ่มแนวคิดกองเรือขนาดเล็กขึ้นมาอีก

โดยคุณ neosiamese เมื่อวันที่ 13/02/2007 23:42:12


ความคิดเห็นที่ 17


 

   ผมเอารูปแผ่นดินที่ต้องเสียไปเพราะความคิดที่จะประหยัดและคิดที่จะตั้งรับแต่ถ่ายเดียวมาเป็นเครื่องเตือนใจหลายๆท่าน

การเสียดินแดน
๑. เกาะหมาก ปีนัง (๑๑ ส.ค. ๒๓๒๙)
๒. มะริด ทะวาย ตะนาวศรี (๑๖ ม.ค. ๒๓๓๖)
๓. เมืองบันทายมาศ (๓๒๕๓)
๔. แสนหวี เชียงตุง เมืองพง (พ.ค. ๒๓๖๘)
๕. รัฐเปรัก (๒๓๖๙)
๖. สิบสองพันนา (๑ พ.ค. ๒๓๙๓)
๗. แคว้นเขมร (๑๕ ก.ค. ๒๔๑๐)
๘. สิบสองจุไท (๒๒ ธ.ค. ๒๔๓๑)
๙. ดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำสาละวิน ๑๓ เมือง (๒๗ ต.ค. ๒๔๓๕)
๑๐. ดินแดนฝั่งซ้ายราชอาณาจักรลาว (๓ ต.ค. ๒๔๓๖)
๑๑. ดินแดนฝั่งขวาแคว้นหลวงพระบาง จัมปาศักดิ์ (๑๒ พ.ค. ๒๔๔๖)
๑๒. มณฑลบูรพา เสียมราฐ พระตะบอง ศรีโสภณ (๒๓ มี.ค. ๒๔๔๙)
๑๓. กลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี ปลิส (๑๐ มี.ค. ๒๔๕๑)
๑๔. เขาพระวิหาร (๑๕ มิ.ย. ๒๕๐๕)

ลูกหลานควรศึกษาและไม่ควรให้เกิดขึ้นอีก..//เราถอยต่อไปไม่ได้อีกแล้ว


โดยคุณ neosiamese เมื่อวันที่ 13/02/2007 23:47:18


ความคิดเห็นที่ 18


 

     ถ้าลูกหลานมีแต่โง่ลงโง่ลง ..........สงสารบรรพบุรุษที่ต้องเอาเลือดเนื้อมาแลกเพื่อรักษาแผ่นดินที่มีแต่ลูกหลานไร้ความสามารถ................ผมไม่อยากให้บรรพบุรษของเราต้องร้องไห้เพราะความโง่และไร้ความสามารถของลูกหลานอีกแล้ว       

            เห็นภาพแผนที่แล้วจะทนไม่ไหวกับความคิดโง่ๆเหล่านั้น

 

โดยคุณ neosiamese เมื่อวันที่ 13/02/2007 23:55:35


ความคิดเห็นที่ 19


จริงๆแล้วที่ สวีเดนใช้เรือขนาดเล็กได้เนื่องจากสภาพคลื่นลมในทะเลดำค่อนข้างเรียบ ทำให้เรือเล็กๆแล่นห่างชายฝั่งได้ ซึ่งเรือขนาดที่สวีเดนใช้นั้นไม่เหมาะกันอ่าวไทยยามฤดูมรสุม หรือทะเลอันดามันครับ เรือขนาดที่เหมาะสม น่าจะเป็นเรือชั้นปัตตานี(เพราะกระทัดรัด เหมาะสมกับประเทศไทยมากกว่า เรือชั้นนเรศวร ซึ่งหากโดน harpoon exocet หรือ kh 31 เรือขนาดต่ำกว่า4000 ตันรอดยากครับ รวมทั้งปืน 125 นั้นโอกาศที่จะใช้สนับสนุนยกพลขึ้นบกมีน้อย 76 superrapid มีประโยชน์กว่าในการต่อสู้อากาศยานและทำลายเรือรบ) หาขยายความยาวมากขึ้นให้ติด vls ประเภท aster30 หรือ sparrow ปืน 76 superrapid sadral harpoon ฟาลังค์หรือ โกลด์คีปเปอร์นี่ แค่นี้การป้องกันแบบ ative ก็สุดยอดแล้วครับ (ปัจจุบันการป้องกันแบบpassiveหรือหลังเกิดความเสียหายจากการเกิดการโจมตีมักไม่ได้ผลเพราอาวุธมีอำนาจทำลายล้างสูงมาก) อีกทั้งเรือชั้นนี้ก็มีขนาดใหญ่พอที่จะสู้คลื่นลมได้เพราะเรือคอร์เวต ฟริเกตส่วนใหญ่ที่มาเลย์ และประเทศในภูมิภาคนี้ใช้ก็มีขนาดประมาณนี้ทั้งนั้น

ส่วนกรณีที่อิรักแพ้สงครามทางเรือนั้น เนื่องจากอิรักมีพรมแดนติดทะเลแค่เมืองบาสราเท่านั้น มีชายฝั่งยาวไม่กี่สิบกิโลเมตรก้นอ่าวเปอร์เชีย ทำให้ไม่จำเป็นต้องมีกองทัพเรือและเรือขนาดใหญ่ เนื่องด้วยความจำเป็นที่น้อยนั่นเองแล่นไปไม่กี่สิบกิโลก็เข้าพรมแดนประเทศอื่นแล้ว ทำให้อิรักเน้นการพัฒนากองทัพไปที่กองทัพบกและอากาศเป็นหลักครับ

โดยคุณ nars เมื่อวันที่ 14/02/2007 00:13:56


ความคิดเห็นที่ 20


 

 

....เมือไหร่ จะเลิกถอยหลังลงคลองซักที เดินหน้าไม่เป็นรึไง มองดูชาวโลกเค้าบ้างสิ ไปถึงไหนกันแล้ว

 

...ขอเสนอแง่คิดอีกมุมหนึ่งนะครับ คำว่า กองเรือขนาดเล็ก  อาจจะหมายถึง ขนาดของกองเรือครับ ที่เน้นจำนวนเรือ พอดีกับการปฏิบัติการ และเน้นด้านประสิทธิภาพของกองเรือ อาจจะไม่ได้หมายถึงขนาด หรือประเภทของเรือก็ได้นะครับ ....เหมือนกับที่เรากำลังพยายามลดขนาดของกองทัพ (การปรับในด้านโครงสร้างกองทัพ) ให้มีขนาดเล็กลง แต่มีประสิทธิภาพมากขึ้น แบบว่า จิ๋วแต่เเจ๋ว....

 

นั่นก็คือ กองเรือขนาดเล็ก ไม่เน้นความใหญ่ จำนวนเรือเยอะ แต่ประสิทธิภาพต่ำ ....กล่าวคือ มีเรือทุกประเภท ที่เหมาะสำหรับแต่ละภารกิจ ไม่ใช่ เลือกที่จะ ลด ขนาดของเรือ หรือเปล่า ครับ

 

 

โดยคุณ ท.กองหนุน เมื่อวันที่ 14/02/2007 00:34:08


ความคิดเห็นที่ 21


 

...เอ่อ ชายฝั่งของสวีเดน คือ ทะเลบอลติก ครับ ไม่ใช่ทะเลดำ แต่เป็นทะเลปิดเหมือนกัน ส่วนทะเลดำ เป็นทะเลที่อยู่ทางตอนใต้ของรัสเซียและยุโรปตะวันออกครับ ถัดเข้าไปจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียน นั่นคือ ภาคใต้ของยูเครน กับรัสเซีย ภาคเหนือของตุรกี ครับ

 

 

โดยคุณ ท.กองหนุน เมื่อวันที่ 14/02/2007 00:41:02


ความคิดเห็นที่ 22


ขอโทษที่ครับคุณ ท.กองหนุนจำผิดน่ะครับ แต่เคยอ่านประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่สอง ก็มีบันทึกไว้ครับ ว่า เป็นที่ฝึกของกองเรือเยอรมันเนื่องจากมีลักษณะเป็นทะเลปิดและคลื่นลมไม่แรงน้ำตื้นไม่ลึกมากครับ

โดยคุณ nars เมื่อวันที่ 14/02/2007 00:58:23


ความคิดเห็นที่ 23


ผมเห็นด้วยกับคุณ neosiamese ครับว่าเราควรจะมีเรือขนาดใหญ่ๆที่คงทนทะเลสูงๆมากกว่าเน้นไปที่การตั้งรับโดยใช้เรือขนาดเล็ก

จากในรูป ผมว่าถ้าข้าศึกเราจะมาปิดอ่าวเรา เขาไม่โง่ขนาดส่งกองเรือเข้ามาปิดอ่าวตามแนวลึกๆเข้ามาในอ่าวไทยอย่างแนว A ในรูปหรอกครับ ส่งกองเรือไม่ใหญ่มากไปปิดในแนว B ผมว่าก็พอแล้ว แค่เอาเรือดำน้ำสักสองลำ ฟริเกตสองสามลำ แล้วได้ความคุ้มครองจากเครื่องบินจากฝั่ง (ฝั่งมาเลย์ตะวันออกอยู่ใกล้นิดเดียว F-18 บินมายิงฮาร์พูนสบายๆ หรืออาจจะเป็น Su-27 จากฝั่งเวียดนามใต้ก็ได้) เท่านี้เราก็แย่แล้วนะ กว่า F-16 จากตาคลีของเราจะบินไปถึงพื้นที่การรบก็คงเหลือเวลาอยู่เหนือพื้นที่สักห้านาทีแล้วบินกลับมั้ง คุ้มครองกองเรือเราไม่ได้ ถ้าเรามีแต่เรือเล็กๆที่ทนคลื่นลมในทะเลเปิดแบบนั้นไม่ได้ หรืออกไปแล้วเรือเล็กไป มีเชื้อเพลิง มีเสบียงอาหารในเรือกินได้แค่สี่ห้าวันแล้วหมด แล้วจะถ่อออกไปปะทะกองเรือข้าศึกที่อยู่ไกลถึงแนว B ในรูปได้อย่างไรละครับ

 

ปัจจุบันที่เรามีๆอยู่ผมยังไม่ค่อยมั่นใจเลยว่าเราจะรับมือเขาได้ จำนวนเรือฟริเกต อวป. เรามีหลายลำก็จริง แต่ถ้าคู่ต่อสู้เราเป็น สมมุตินะ มาเลย์ละ ? เขาก็มีเรือฟริเกต อวป.จำนวนน้อยกว่าเรานิดเดียว แต่คุณภาพ อาวุธครบเครื่องกว่าเรามากนัก มีเรือดำน้ำ แล้วยังได้ F-18, Su-30 จากบนฝั่งมาคุ้มครองอย่างสบายๆอีก ส่วนเรามีแต่กองเรือฟริเกตออกไปปะทะตรงๆ F-16 จากฝั่งกว่าจะมาก็น้ำมันแทบเกลี้ยง เรือ 911 ตอนนี้มีก็เหมือนไม่มี เพราะไม่มี บ.ขับไล่ประจำเรือ ฮ.ประจำเรือหาเรือดำน้ำในวงกว้างเองไม่ได้ แบบนั้นผมก็ไม่รู้ว่าเราจะเอาออกไปเป็นเป้าให้เขายิงทำไม เกิดจมขึ้นมาจะเสียขวัญกันทั้งประเทศอีก


โดยคุณ Trinity เมื่อวันที่ 14/02/2007 04:52:49


ความคิดเห็นที่ 24


อ้ายหย่า ...  รูปใหญ่ไปนิด ขออภัยครับ
โดยคุณ Trinity เมื่อวันที่ 14/02/2007 04:53:23


ความคิดเห็นที่ 25


แหะๆ ข้อมูลมากมายจริงๆ แต่ผมก็อ่านแล้วก็งงๆหลายอย่างประสาคนไม่รู้อ่ะนะอิๆๆ

 

อืม ที่ว่ามาก็เข้าใจแระครับ

โดยคุณ BloodRoyal เมื่อวันที่ 14/02/2007 10:10:43


ความคิดเห็นที่ 26


เป้าหมายแรกๆ ของกองเรือเราที่เค้าคิดจะจม ก็คือเรือ 911 อ่ะคับ
รูปแบบการโจมตีก็คงคล้ายๆแบบสงครามเกาะฟอร์คแลนด์
คือใช้ SU-30 ยิงKH-31 หรือไม่ก็ F-18 D ยิงฮาร์พูน พร้อมกันหลายๆเครื่อง จากระยะยิงไกลสุดของจรวด เพื่อลดความเสี่ยงจากการเจอ F-16 ของเรา
คิดว่าเค้าคงไม่เอากองเรือเค้ามาสู้กับเราตรงๆครับ เพราะเรือเค้าก็ไม่ได้เปรียบเรามากมาย ดีไม่ดี อาจเจ็บตัวกว่าเราด้วยซ้ำ
โดยคุณ MIGGERS เมื่อวันที่ 14/02/2007 11:04:00


ความคิดเห็นที่ 27


ก็เพราะอย่างนี้ไงครับ กองทัพถึงปะงาบๆต้องการบข.20 ,ฟริเกต, OPV,LPDอยู่ Harrier เองทร.ก็ไม่เคยลืม แค่พวกเราต้องรอกันหน่อย เอาใจช่วยเรื่องภายในให้นิ่งกันก่อนดีกว่าครับ

ไอ้เรื่องที่ว่าเค้ามีอะไร เราไม่มี ผมว่าในภูมิภาคนี้ ยังค่อนข้างที่จะสมดุลอยู่นะครับ เพียงแต่ว่า บางจุดเราต้องใช้จำนวน(รวมถึงชีวิตทหารเรา)ที่มากกว่า แลกกับอาวุธเค้าที่มีเทคโนสูงกว่า  ยี่สิบปีที่แล้วเราอาจจะเป็นที่หนึ่ง ยี่สิบปีต่อมาเราอาจเป็นที่สองสาม เรื่องอย่างนี้อย่าแข่งกันเลยครับ ดูที่ความจำเป็นและสมดุลดีกว่า ลองคิดดูครับถ้าอยู่ๆเมกาหมามิตรยกF-117ให้เราฝูงนึง เพื่อนบ้านเค้าต้องซื้อระบบแอร์ดีเฟนต์รุ่นล่ามายันกันอีก คนที่จะเหนื่อยด้วยคือประชากรในชาติกำลังพัฒนาผิวเหลืองผมดำอย่างเราๆท่านๆนี่นั่นล่ะ ที่ต้องเสียภาษีมาเป็นค่าน้ำมันค่าอะไหล่ให้อาวุธพวกนั้นอีก

อย่าลืมนะครับ ว่า 911พร้อมด้วยกองเรือฟริเกต,เรือดำน้ำ,เรือสนับสนุนใหม่ๆที่มีอาวุธครบมือ ก็เป็นอาวุธเชิงรุกที่น่ากลัวมากๆ เราเองพร้อมหรือยังครับที่จะสนับสนุนการปฏิบัติการเช่นนั้น ย้อนลงมาเป็นขั้นๆตั้งแต่ เราพร้อมหรือยังที่จะต้องเจอเพื่อนบ้านจะมีอาวุธที่ดี+จำนวนที่มากขึ้นมายันกัน พร้อมหรือยังที่จะต้องสำรองน้ำมันและยุทธภัณฑ์ขนาดนั้น ลงมาถึงว่ารากหญ้าในสังคมเราจะได้รับผลกระทบอย่างไรต่อการใช้จ่ายในงบประมาณเหล่านี้

เอาเป็นว่ากองเรือที่ทร.มีความต้องการในปัจจุบันพอเหมาะเลยครับ รอเวลาและความพร้อมกันหน่อยนึง

สำหรับเรือที่มีขนาดเล็ก จะสู้เรือใหญ่ต้องสเตลท์เต็มขั้นลูกเดียวแล้วครับเอาแบบลอบเข้าไปรุมระยะใกล้ที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะการติดตามเป้า การป้องกันตัว อาวุธที่สามารถปล่อยออกไปได้ ณ ชั่วขณะหนึ่ง มันสู้เรือใหญ่( 6,000ตันอัพ) ไม่ได้ เรือใหญ่เค้าไม่รอให้เรือเล็กปล่อยอาวุธจนหมดตัว รุมกันพร้อมๆกันหรอกมั้งครับ

ย่อหน้าสุดท้ายนี่มั่วเอาครับ เล่นเกมส์แล้วเดา เอาฟริเกตจีน6ลำ น๊อกซ์2ลำ FFGเมกาอีกลำ ทำเรือชั้นไทคอนฯเป็นรอยได้นิดเดียวเอง แต่แน่ล่ะครับ ผู้การเรือรบไทยคงเก่งกว่าผมอยู่แล้วใช่ม้า..

โอ ขออภัย ไม่ได้ตรงกับที่จขกท.ถามเลย..

โดยคุณ Mstn เมื่อวันที่ 14/02/2007 12:08:38


ความคิดเห็นที่ 28


........กองเรือไทยนั้นน่ะครับ เรามองได้ง่ายๆก็รู้แล้วว่า  บ้านเราทะเลอันดามันและ อ่าวไทย สภาพกองเรือเล็กรักษาฝั่งนั้นไม่เหมาะมาก มันจริงที่เรือเล็กต้องมีประสิทธิภาพ แต่ประสิทธิภาพที่ต้องเข้าไปแลกกับอาวุธป้องกันเต็มรูปแบบของเรือขนาดใหญ่ อาจจะกลายเป็น10 ต่อ 1ไปก็ได้  ลองคิดเล่นๆว่ามีเรือบรรทุกฮ. แต่มี แฮริเออร์มาลอยลำในอ่าวไทยพร้อมกองเรือคุ้มกัน เรือเล็กไม่สามารถฝ่าทะเลเข้าไปได้มากขนาดนั้นดีไม่ดีถูกตรวจจับได้ทางอากาศอาจจะกลายเป็นตีรถเปล่าเลยล่ะครับ ถูกยิงจมหมด

.....ท.ร.เราใช้เรือใหญ่มานาน ตั้งแต่แนวของบรรพชนรุ่นก่อนๆที่เรายังไม่เสียดินแดนให้ครองทะเลในน่านน้ำลึกๆจนถึงปากอ่าวไปเลยก็ได้ อย่างในสมัยสงครามโลกที่อเมริกาลอยลำในอ่าวไทยด้วยเรือดำน้ำมาแล้ว  บ้านเราเองก็มีอาวุธเชิงรุกและรับที่น่ากลัวนะครับต่อเรือใหญ่ๆมาตลอดที่สามารถทำการรบได้ยาวนานและคงทนในสภาพทะเลที่เลวร้ายได้ แต่ระบบต่อสู้อากาศยานเต็มรุปแบบ กองเรือเราสามารถต่อสู้เรือข้าศึกในภูมิภาคนี้ได้  ขาดแต่ระบบป้องกันภัยทางอากาศที่มีประสิทธิภาพ  หรือระบบป้องกันในขั้นสุดท้ายที่ยังไม่สมบูรณ์ แต่เรือเราพร้อมที่จะติดอาวุธเหล่านี้ถึงจะแลกด้วยงบประมาณก็ตาม แต่เทียบกันแล้ว เรือเล็กที่ไม่สามารถดำเนินกลยุทธ์ในทะเลลึกได้ ถึงจะล่องหนแต่ไม่มีระบบป้องกันภัยทางอากาศก็มีโอกาสเสี่ยงเท่ากัน และอีกอย่างภัยคุกคามจากเรือดำน้ำเองก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ถ้าตรวจจับพลาดก็มีพังล่ะครับ  ฉะนั้นเรือรบขนาด ไม่เกิน 5000 ตันน่าจะเหมาะกับบ้านเรามากกว่าเพราะสามารถทำการรบได้ครอบคลุมมากกว่าเรือเล็กที่ ราคาค่อนจะแพงแบบแลกด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงแถมดำเนินยุทธศาสตร์ในบ้านเราก็ไม่ได้  สิ่งใดที่ทำมาแล้วสานต่อให้ดีขึ้นหรือปรับปรุงก็ได้

โดยคุณ MIG31 เมื่อวันที่ 14/02/2007 16:53:06


ความคิดเห็นที่ 29


 

      ผมคิดเหมือนคุณ MIG31 กับ คุณTrinity ครับ    ผมว่าเราต่อเรือฟรีเกตขนาด 3,000 กว่าตันในประเทศแล้วติดอาวุธดีๆที่เพียงพอในการรบทั้ง 3 มิติ  อย่างเรือชั้น Formindable สัก 10 ลำ(ใช้เงินประมาณ 75,000 ล้าน  ทยอยจ่าย 10 ปีตกปีละ 7,500 ล้าน   ถูกกว่ารถไฟฟ้าเยอะเลย  เผลอๆจะถูกกว่านี้อีกเพราะต่อในประเทศ)        และ 911 ก็จัดหาเครื่อง Harrier มาสัก 12-16 ลำ เพื่อทำการคุ้มครองกองเรือเราดีกว่า    เป็นกองเรือที่ไม่ได้มีขนาดใหญ่โตอะไร   แต่มีระบบอาวุธที่ครบถ้วนดีกว่า    และเห็นด้วยว่าควรจะจัดหาเรือดำน้ำขนาดเล็ก 6 - 8 ลำ อย่าง Amur 950 หรือ Amur 1650 ที่ราคาไม่แพงเว่อร์   แต่ให้มีจำนวนเพียงพอสำหรับปฎิบัติการ    แค่นี้เมื่อวางกำลังไปที่ปากถุงของอ่าวไทย    ก็ยากมากแล้วครับที่จะมีเพื่อนบ้านหน้าไหนจะสามารถเข้ามาปิดอ่าวเราได้   ยกเว้นต้องรบกับชาติมหาอำนาจ

      และถ้ามีการต่อเรือขนาดปัตตานีเพิ่มอีกสัก 4-6 ลำ   เราก็จะมีกองเรือชุดที่สองพอที่จะดูแลอีกฟากของทะเลในขณะที่กองเรือหลักอีกฟากต้องกร้ำศึกอยู่    

   ถ้าเราต้องจัดหาเรือเร็วที่เสตลธ์เต็มขนาด    ผมว่าเราเอาเงินไปจัดหาเรือดำน้ำขนาดเล็กจะดีกว่ามากครับ    เพราะมันจะตรวจหายากกว่าเรือผิวน้ำเสตลธ์มาก   และอำนาจการยิงก็สูงไม่ได้น้อยกว่าเลย

     ผมว่ากองเรือที่ผมเสนอนี่ไม่น่าจะใช้งบประมาณขนาดที่ทำให้เศรษฐกิจของประเทศเสียหายแต่อย่างใดเลย     เพียงแต่ทร.จะได้รับความสนใจและให้ความสำคัญจากผู้ใหญ่ในบ้านเมืองเราหรือเปล่าเท่านั้นเองครับ

 

โดยคุณ neosiamese เมื่อวันที่ 14/02/2007 21:55:25


ความคิดเห็นที่ 30


 

   เพราะครั้งสมัย 50 ปีก่อน    ทร.ได้รับการสนใจดูแลมากแต่มันไปสะดุดเรื่องการเมืองภายในที่ช่วงชิงอำนาจกันระหว่างเหล่าทัพ    ทัพเรือแพ้ก็เลยโดนบอนไซซะแทบหมดรูปเพราะกลัวว่าทัพเรือจะกลับมามีอำนาจจนสามารถคานน้ำหนักทางการเมืองกันได้อีก     นี่แหล่ะครับที่ฉุดให้กองทัพรวมทั้งหมดแย่

 

โดยคุณ neosiamese เมื่อวันที่ 14/02/2007 22:00:19