เรือ MEKO
เหมือนเรือหลวงปัตตานีของเราเลยครับ
ไม่เลยครับ ทร.เราออกแบบเองทั้งหมดโดยใช้ประสบการณ์จากเรือชั้นนเรศวรที่เราร่วมออกแบบกับจีน (จีนเอาแนวคิดนี้ไปต่อเรือพิฆาตชั้น type 051B) ดูรูปสิคล้ายๆกันเลย
ตอนแรกว่าจะทำการต่อภายในประเทศ แต่ภายหลังถูกอู่ต่อเรือในจีนตัดราคาน่ะครับเลยไปต่อในจีนแทน......
นี่ผมยังเชียร์ทร.ให้ขยายแบบเรือชั้นนี้ให้ใหญ่ขึ้นเป็นขนาด 2,000 ตัน โดยให้เป็นเรือคอร์เวตขนาดใหญ่หรือเป็นฟรีเกตเบาไปด้วยซ้ำ
ผมว่าคนไทยเก่งนะ แต่ใจไม่ค่อยถึงในเรื่องการลงทุน
.......ระบบการออกแบบเรือของ เมโค จะเป็นแบบ โมดูลถอดจัดวางระบบอาวุธได้รวดเร็วและการออกแบบรูปทรงเรือที่ค่อนข้างจะเน้นเทคโนโลยีขั้นสูงไม่ใช่แค่ดูจะราบเรียบสะท้อนเรดาห์ได้แล้ว แต่การออกแบบหัวเรือ และท้องเรือก็มีความทัยสมัยขั้นสูงมากเช่นกัน
....ส่วนเรือที่เราต่อมาจากจีนส่วนใหญ่จะเน้นคุณประโยชน์ที่ใช้งานได้ครอบคลุม ผสมกับความทันสมัยแบบเล็กน้อยๆอย่างเรือชั้นนเรศวรเองก็ด้วย เพียงแต่การวางระบบอาวุธมันขัดกับงบที่ใช้ไม่งั้นเราคงเห็นเรือทุกลำที่มาจากจีน มีVLS ไปแล้นล่ะคับ
....แต่ก็น่าชื่นชมในแนวคิดของ ท.ร.ที่ออกแบบเรือแต่ล่ะลำมาแบบพอดีๆไม่สิ้นเปลืองเลยล่ะ
นั่นสิครับ เห็นด้วยกับท่าน neosiamese เป็นไปได้ไหม เพราะว่าตาม requirement แล้ว ทร.ยังต้องการเรือฟริเกตเพิ่มอีก ไหน ๆ เราก็มีประสบการณ์จากปัตตานีแล้ว ใช้ไปสักพัก ประเมินค่ามัน แล้วมาหาจุดดีจุดด้อย และต่อฟริเกตใช้เองซะเลย
ปัตตานี ผมไปคุยในบอร์ดต่างประเทศได้อย่างภาคภูมิใจเลยว่า เรือลำนี้เราออกแบบเองทั้งหมด เหอ ๆ
สัดส่วนงบประมาณของไทย
กองทัพบก : กองทัพเรือ : กองทัพอากาศ เป็น 2 : 1 : 1
โดยอิงจากสัดส่วนอัตรากำลังพล
กองทัพบก : กองทัพเรือ : กองทัพอากาศ = 3.5 : 1.5 : 1
การจัดงบประมาณ จึงสัมพันธ์กับฐานเงินเดือนด้านกำลังพลของกองทัพ งบประมาณทหารของไทย ส่วนใหญ่จึงเป็น งบทรงชีพ น่าจะประมาณ 65-70% ของงบประมาณทั้งหมด
ดังนั้นทางกองทัพ ถ้าต้องการลงทุนกับการพัฒนายุทโธปกรณ์ จะต้องลดงบประมาณในส่วน งบทรงชีพ ให้ลดลง เพราะหากกองทัพยังคงจำนวนกำลังพลไว้ในกองทัพเช่นนี้ โดยไม่มีการปรับลักษณะของโครงสร้างกำลังพลในอนาคตแล้ว การปรับสัดส่วนของงบประมาณจะเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก การลงทุนในทางเทคโนโลยี่และพัฒนาบุคลากรภายในกองทัพก็จะทำได้ยากและแทบจะน้อยมาก.....ซึ่งแนวคิดในการลดกำลังพล เพื่อจัดสัดส่วนงบประมาณใหม่เป็นที่มา ของคำขวัญว่า จิ๋วแต่แจ๋ว ของ พล.อ.ชวลิต ( อ้างอิงจาก หนังสือ ยกเครื่องเรื่องทหาร ข้อคิดสำหรับกองทัพไทย ในศตวรรษที่ 21 ของ ดร.สุชาติ บำรุงสุข)
แต่ปัจจุบันไม่รู้ว่า ได้ดำเนินการไปแค่ไหนแล้ว...แถมกองทัพ ยังทิ้งโอกาส จากการเพิ่มงบประมาณทางด้านยุทโธปกรณ์โดยการใช้ บาร์เตอร์เทรดอีก...เพราะมันทำยาก ? O_O""
ผมจึงมองว่า อนาคตกองทัพไทย โอกาสซื้ออาวุธมือสอง จะมีสัดส่วนมากขึ้น ด้วยเทคโนโลยี่สมัยใหม่ที่มันพัฒนาสูงยิ่งขึ้น และราคาก็สูงขึ้นมากตามประสิทธิภาพการทำลายที่แม่นยำ ประเทศมหาอำนาจต่าง ๆ ก็คงทะยอยปลดยุทโธปกรณ์ที่เกินความต้องการ ออกขาย โอกาสที่กองทัพไทยพัฒนาอาวุธขึ้นใช้เอง น่าจะวังเวงพิกล...และปัจจุบันก็ยังมองไม่เห็นบุคคลที่มีความสามารถในการบริหารงบประมาณแผ่นดินแต่อย่างใด....
เสริมท่าน MIG31
รูปแบบ Meko 100 ของ ทร.มาเลเซีย
อุ๋ยย...ขอโทษครับ...รูปข้างบนน่าจะเป็น Meko 200 มากกว่าครับ...
ผมภูมิใจกับเรือที่เรามีส่วนในการออกแบบครับ...แต่ไม่โดนใจตรงระบบอาวุธเท่านั้นเองจริงๆ