หวัดดีครับป๋ากาแฟผสม(ผู้ก่อการ) คุณ'กายแมน(ผู้สนับสนุน) และคุณเอก...
ก่อนขึ้นเรือ ก็สงบจิตใจขอประทานพระอนุญาตจากเสด็จในกรมฯขึ้นชมบนเรือครับ....รูปนี้เป็นดาดฟ้าหัวเรือ
life ring...
เห็นรูปที่ถ่ายย้อนจากมุมด้านท้ายเรือแล้วมี comment ครับ
สิ่งที่อยาก comment คือเรื่องธงราชนาวีหรือธงช้างครับ จากรูปจะเห็นได้ว่า ทั้งบนเสาการ์ฟ และ ท้ายเรือ มีธงราชนาวีทั้งคู่ ซึ่งตามความเป็นจริงอยู่ได้เพียงทีเดียวเท่านั้นคือ
ฝากให้คิดครับ
ปล. กระทู้นี้ข้อเป็นวิชาการครับ ส่วนกระทู้วิชามาร เดี๋ยวไปถล่มกระทู้ของ Icy Nominee แทน
ภายในสะพานเดินเรือ..
ถูกต้องตามที่ท่าน coffeemix ให้ความเห็นครับ คนดูแลคงจะคิดว่าเห็นเสาธงมันว่างๆจะแลไม่สวย เผลอๆจะโดนดุว่าลืมเชิญธงขึ้นไปซะอีก ก็เลยเล่นมันซะทุกเสา ขอให้ผู้เกี่ยวข้องเร่งพิจารณาปรับแก้ไขโดยด่วนด้วยครับ..เจ้านายยยยยย.......
แพนกล้องมาทางซ้ายอีกนิดครับ
ลืมบรรยายรูปบน ด้านซ้าย จะเห็นท่อปากปานๆ ๔ อันด้วยกัน อันนั้นเป็นระบบสื่อสารภายในของเรือในยุคนั้นครับ...เอาปากไปจ่อแล้วก็ตะโกนสั่งการลงไปเลย...
ตะโกนอย่างงี้หรือเปล่าครับ
"จุ่มโพ่ กระเพราไก่ไข่ดาวสองจาน เร็วๆ น่ะ เออ ของผู้การนี้ไข่ดาวไม่สุกน่ะ"
หุ หุ กระทู้ดีๆ พอผมมามันเริ่มจะไม่เข้าท่าซะอีกแล้วล่ะครับ ท่านผู้ชม
ขอบคุณป๋าข้าวแฝ่ผสมที่เข้ามาช่วยปั๊มrateing คร้าบบบ
อันนี้ classic มั่กๆครับ เครื่องสั่งการเครื่องจักรใหญ่
ทอดสายตาไปทางท้ายเรือบ้าง...
...........
จุมโพ่แหกปากตอบมา : "ไข่ไก่หมดแล้วครับต้นเรือ เหลือแต่ไข่กี้จะเอามั้ยครับผมมม..."
เข้ามาเสริมท่านป๋านายนาวาอีกนิด
รูปที่ถ่ายปล่องควันแล้วมีสีอะไรแปลกๆ ทาอยู่ที่ข้างปล่องนั้น ที่จริงวาดเป็นรูปธงครับ อ่านตาม International Marine Signal Flags ได้ความว่า HSYS ซึ่งเป็นนามเรียกขานสากล ( Call Sign ) ของเรือหลวงชุมพร ครับ
ปล. ช่วยปั่น Rating แล้วน่ะครับ หุ หุ
ขี้เกียจพิมพ์ ก๊อปมาดื้อๆเลย http://www.navy.mi.th/navalmuseum/history/html/his_b21_harpoon_thai.htm
ตอร์ปิโด แบบ 45 ฉ.
ตอร์ปิโดแบบ 45 ฉ. นี้ กองทัพเรือได้สั่งซื้อมาจากประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี พ.ศ.2480 เป็นตอร์ปิโดที่ผลิตโดยบริษัท มิตซูบิชิ โดยสั่งซื้อมาในสมัยนั้นราคาลูกละ 10,000 บาท ซึ่งมาใช้ประจำการกับ ร.ล.ชุมพร ร.ล.สุราษฎร์ ร.ล.ชลบุรี และเรือตอร์ปิโดเล็กอีก 4 ลำ ได้แก่ ร.ล.คลองใหญ่ ร.ล.ตากใบ ร.ล.กันตัง ร.ล.สัตหีบ และปัจจุบันเรือชุดดังกล่าวได้ปลดระวางไปหมดแล้ว แต่ตอร์ปิโดรุ่นนี้ยังคงประจำการอยู่ และยังเหลืออีกเป็นจำนวนมากที่ยังใช้ราชการได้ดี เพราะเหตุว่าตอร์ปิโดรุ่นนี้ทำด้วยวัสดุอย่างดีเป็นสนิมได้ยาก ประกอบกับข้อต่อและท่อทางเดินอากาศต่างๆ นั้นได้ดัดแปลงให้ดีขึ้น โดยทำเป็นเกลียวต่อทั้งหมด ซึ่งผิดกับแบบเก่าที่กล่าวมาแล้วนั้น สำหรับแบบเก่าท่อทางเดินอากาศเล็กๆ จะใช้ต่อโดยวิธีบัดกรีไว้ การถอดประกอบบ่อยๆ จะทำให้ชำรุดง่าย
รูปร่าง ลักษณะ
รูปร่างลักษณะคล้ายกับตอร์ปิโดแบบ 45 ค. โดยปรับปรุงหม้ออุ่น หม้อน้ำหยาดและปรับปรุงเครื่องลับให้สามารถตั้งลึกได้มากขึ้น (2 - 16 เมตร)
ข้อมูลต่างๆ ของตอร์ปิโดแบบ 45 ฉ. มีดังนี้
1. ความกว้าง 45 ซม.
2. ความยาวตลอดลูก 5.4 เมตร
3. น้ำหนักเมื่อประกอบหัวรบรวม 889.5 ก.ก.
4. ระยะทางตั้งได้สูงสุด 9,000 เมตร
5. อัตราตั้งลึก ตั้งได้สูงสุด 16 เมตร
6. ระยะห้ามหางเสือสูงสุด 110 เมตร
7. หัวรบบรรจุดินระเบิด ชิโนเช่ หนัก 200 ก.ก.
8. ห้องอากาศบรรจุอากาศ ต้านกำลังดันเต็มที่ 215 ก.ก./ซม.2
9. เครื่องจักรเป็นแบบ 2 สูบ 2 อาการ
10. ความเร็วของเครื่องจักร 1,200 รอบ/นาที
11. ความเร็วตอร์ปิโดมี 2 ระยะ
- ในระยะ 8,000 เมตร ความเร็วแล่นได้ 30 นอต
- ในระยะ 4,000 เมตร ความเร็วแล่นได้ 40 นอต
12. ห้องน้ำบรรจุน้ำได้ 30 ลิตร เพื่อหยาดหม้ออุ่น
ป๋ากาแฟฯครับ ทำไมเราก้าวขึ้นบันไดเพื่อเข้าไปบนเรือแท้ๆ กลับเรียกว่า "ลงเรือ"....
แล้วพอเราลงก้าวลงบันไดจากเรือมายืนที่ท่าเรือ (ท่าเรือมาอีกแระ....ฮิฮิ) ดันไปเรียกว่า"ขึ้นบก"......
พอลงจากเรือ ก็แวะไปกราบขอขมาและขอพรจากเสด็จในกรมฯที่ศาลบน
จบแล้วครับ ขอบคุณที่ติดตามชมอย่างอดทน.........
หุ หุ เอาเอาว่า เรือลำเล็กๆ อยู่ต่ำจากฝั่ง เวลาลงเรือเลยต้องลงจาก"ท่า" สูงๆ ลงไป เค้าเลยเรียกลงเรือมั้งครับ
ปล, ฝั่งจะสูงกว่าเรือ หรือเรือจะอยู่บนฝั่ง มันก็จุดประสงค์เดียวกันแหละครับ
อยากไปกราบท่านครับ ถ้ามีโอกาส.......-*-