หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


มาดู OPV ของอินโดนีเซียกันบ้างนะครับ

โดยคุณ : neosiamese เมื่อวันที่ : 02/02/2007 00:56:56

ที่ผ่านมาเรามักจะพูดถึง OPV ของมาเลเซีย ชั้น MEKO-A100 เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพกับ OPV ชั้นปัตตานีของเราค่อนข้างบ่อยมาก (และผมก็ยังยืนยันความคิดว่า ทร. เหมือนมีการเตรียมพื้นที่สำหรับเสาเรด้าร์ควบคุมการยิงชุดที่สองให้ 511 และ 512 และดูเหมือนกะจะใช้ RAM ในการป้องกันภัยทางอากาศและCIWS มากกว่า จรวดของฝรั่งเศส)
   คราวนี้เรามาดูอินโดนีเซียกันบ้าง   ซึ่งเป็นอดีตคู่แข่งทั้งทางเศรษฐกิจการเมืองและการทหารในภูมิภาคนี้กับเรา    พยายามแข่งกันเป็นพี่เบิ้ม     มาดูว่าหลังจากเศรษฐกิจพังย่อยยับจากการถูกโจมตีค่าเงินแล้ว   ผลคือกองทัพพังพินาศแทบหมดรูป    ตอนนี้กองทัพเรือเขาเริ่มปรับปรุงอะไรบ้างครับ
   OPV ของเขาเป็นเรือที่ต่อจากดัชท์   ซึ่งเรือชั้นนี้ออกแบบมาเพื่อเป็นเรือตรวจการณ์(Naval Patrol vessels)โดยเฉพาะ    มี 3 รุ่น คือ Naval Patrol 6910   Naval Patrol 8313  และ Naval Patrol 9113   โดยทางอินโดนีเซียเลือกรุ่นใหญ่สุด คือ Naval Patrol 9113   โดยมีสเปกดังต่อไปนี้ครับ

Indonesian Specifications

Model: SCHELDE NAVAL PATROL 9113
Length: 90.71 meters
Width: 13.02 meters
Draft: 3.6 meters
Displacement: 1692 ton
Max speed: 28 knots
Cruising speed: 18 knots
Engines: 2 x diesel engines at 8910 kW max power each; twin shaft with passive roll stablisation
Endurance: 300 nm @ cruising speed

Weapons:
Surface to air missile: MBDA Mistral TETRAL
Surface to surface missile: MBDA Excocet MM40 block 2
Main Gun: Oto-Melara 76 mm (A position)
Auxiliary Gun: 2 x 20 mm Vector G12 (B position)
Torpedo: 3A 244S Mode II/MU 90 in 2 x B515 launchers

Sensors
Combat System: Thales TACTICOS
Main search radar: MW08 3D multibeam surveillance radar Fire control radar: LIROD Mk2 tracking radar
Data Link: LINK Y Mk2 datalink system
Sonar: Thales Kingklip medium frequency active/passive ASW hull mounted sonar
Naval Communications: Thales/Signaal FOKON
Decoy/Chaff Launcher: TERMA SKWS
Integrated Platform Management System: Imtech UniMACs 3000 Integrated Bridge System
Accommodations: 80

     ไม่มีโรงเก็บฮ. เหมือนของไทยเราและของมาเลเซีย    ระบบอาวุธโดยทั่วไปก็ไม่ต่างไปจากเราและมาเลย์สักเท่าไร    แต่ราคา 2 ลำสูงถึง 340 ล้านยูโร  หรือกว่า 15,000 ล้านบาทไทย  ตกลำละกว่า 7,500 - 8,000 ล้านบาท!   โหอะไรจะแพงขนาดนั้น    ราคาขนาดนี้สามารถต่อเรือชั้น Formindable ได้ 2 ลำพอดี   หรือต่อเรือชั้นปัตตานีของเราได้ 8 ลำกว่าๆ!     โดยที่ประสิทธิภาพไม่น่าจะหนีกันมากเลย( ถ้าเรือชั้นปัตตานีติดตั้ง RAM ก็น่าใช้กว่าเยอะ)  แต่การต่อเรือของเราใช้เกรดเรือพานิชย์     แต่ผมว่าถ้าเราตัดสินใจต่อโดยใช้มาตรฐานเรือ Corvette ปกติ    เราก็คงต่อได้ถูกกว่ามากเป็นเท่าๆตัวอยู่ดี (สนับสนุนให้ต่อ Corvette ขนาดใหญ่ 2,000 ตันในประเทศโดยใช้แบบเรือชั้นปัตตานีเป็นพื้นฐานในการออกแบบครับ   และเป็นการเตรียมก่อนที่จะทำการการต่อเรือฟรีเกตเองได้ด้วย)

 โดยอินโดมีแผนการต่อเรือชั้นนี้ทั้งหมด 4 ลำ คือ
KRI Diponegoro
KRI Hasanuddin
KRI Sultan Iskandar
KRI Frans Kaisiepo

   มาเลย์มีแผนต่อ OPV ค่อนข้างแน่นอน 6 ลำ(ต่อมาแล้ว 2 ลำ)      ดังนั้นเดาเอาว่าเราเองก็ต้องการอย่างน้อยอีก 2-4 ลำ   ซึ่งผมสนับสนุนการต่อ Corvette ขนาดใหญ่ 2,000 ตันในประเทศโดยใช้แบบเรือชั้นปัตตานีเป็นพื้นฐานในการออกแบบครับ   ดีกว่าเราไปจัดหา เรือชั้น MEKO-A100 Delta  4  ลำ ตามแผนเดิม(ลำละกว่า 5,400 ล้านบาท!)     เพราะผมคิดว่านโยบายพ่อหลวงในการพึ่งพาตนเองนั้นถูกต้องที่สุดครับ   
ถ้าแผนแบบเผื่อติดตั้ง ESSM ได้ก็สุดยอดเลยครับ  

เครดิตแก่เวป
http://www.answers.com/topic/sigma-class-corvette
http://en.wikipedia.org/wiki/Sigma_class_corvette
http://www.scheldeshipbuilding.com/sigmacorvette.htm
http://www.scheldeshipbuilding.com/Sigma.htm

  ภาพสวยๆดูได้ที่เวปนี่ครับ   ผมแปลง file ไม่เป็นเลยเอามาลงที่ TFC ไม่ได้   รู้สึกว่าจะเป็น โฟโต้ชอปนะครับ
http://www.maritimephoto.com/collection/vessel/14089/photo/1 
http://www.maritimephoto.com/collection/vessel/14088/photo/0