เมื่อสัปดาห์ที่แล้วที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้มีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เกี่ยวกับ ?โรงงานผลิตอาวุธของเอกชน? เพื่อปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการผลิตอาวุธ เนื่องจากที่ผ่านมาตัวบทกฎหมายเริ่มมีความไม่สอดคล้องและไม่เหมาะสมกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน แล้วที่ประชุมก็ได้มีมติรับหลักการด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น 131 ต่อ 1 ที่จะให้ ?ธุรกิจเอกชน? สามารถ ?ผลิตอาวุธขาย? ได้ !!
ร่างกฎหมายนี้อยู่ในช่วงตั้งคณะกรรมาธิการแปรญัตติ
หากผ่าน-มีผลบังคับจะพลิกวงการ ?ค้าอาวุธ? ในไทย !!
กับการปรับปรุงกฎหมาย-ร่างกฎหมายฉบับนี้ พล.ต.ประภาส ศกุนตนาค สมาชิก สนช. บอกว่า... ในอดีตผู้ที่สนับสนุนอาวุธให้กับกองทัพไทยเสมอมาคือ ?สหรัฐอเมริกา? ซึ่งเป็น ?ผู้ผลิตอาวุธรายใหญ่ของโลก? จึงมีอาวุธเหลือเฟือ นอกจากนี้ การให้ยังเป็นส่วนหนึ่งของการทดลองอาวุธที่ประเทศไทย
ต่อมาอเมริกาตัดความช่วยเหลือด้านนี้ลงไป เนื่องจากสงครามเย็นระหว่างโลกเสรีและคอมมิวนิสต์สิ้นสุดลง ทำให้กองทัพไทยต้องผลิตอาวุธเพื่อใช้เอง กรมสรรพาวุธทหารบกก็ผลิตอาวุธและวัตถุระเบิดขนาดเบา-ขนาดกลาง อาทิ ปืน กระสุน ฯลฯ บางส่วนก็นำเข้ามาประกอบเอง หรือถ้าเป็นอาวุธที่ผลิตเองไม่ได้ก็นำเข้าจากต่างประเทศเลย
ที่ผ่านมาราชการทำเอง-ใช้เอง 100% ไม่อนุญาตให้เอกชนตั้งโรงงานผลิตอาวุธเด็ดขาด เพราะสมัยก่อนมีเหตุการณ์ไม่สงบรอบด้าน ผู้ก่อการร้ายมาก เกรงว่าเอกชนจะทำขายให้พวก ผกค. ซึ่งเป็นภัยต่อความมั่นคง
?แต่ปัจจุบันนี้ปัญหาดังกล่าวไม่มีแล้ว เหตุการณ์ประเทศเพื่อนบ้านสงบหมด การให้โอกาสเอกชนผลิตอาวุธขายราชการ ที่เหลือส่งออก ก็น่าจะเป็นการแบ่งเบาส่วนราชการ? ...พล.ต.ประภาสกล่าว
ขณะที่นักวิชาการ รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นเกี่ยวร่างกฎหมาย ?โรงงานผลิตอาวุธของเอกชน? โดยบอกว่า...เห็นด้วยในหลักการที่จะเปิดโอกาสให้เอกชนตั้งโรงงานผลิตอาวุธได้ แต่ในรายละเอียดคงต้องไปศึกษากันมากทีเดียว
ทั้งนี้ อุตสาหกรรมอาวุธเป็นอุตสาหกรรมที่ใหญ่มาก และลงทุนสูงมาก และเจ้าเกี่ยวกับอุตสาหกรรมด้านนี้คือ ประเทศมหาอำนาจ ซึ่งในโลกนี้มีไม่กี่ประเทศเท่านั้น ดังนั้นก็ต้องศึกษาให้ดี
?การจะเปิดโอกาสเอกชนในอุตสาหกรรมดังกล่าว ด้านหนึ่งน่าจะเป็นความพยายามที่จะปรับโครงสร้างกองทัพเพื่อที่จะให้สามารถหารายได้นำมาปรับปรุงคุณภาพกองทัพ และเลี้ยงตัวเอง?
คล้าย ๆ กับกองทัพอากาศที่เปิดโรงซ่อมเครื่องบิน ซึ่งซ่อมทั้งเครื่องบินของกองทัพ และซ่อมเครื่องบินพาณิชย์ของเอกชน ส่วนรายได้นั้นก็นำมาปรับปรุงกองทัพอากาศ และเป็นเช่นเดียวกับอู่ต่อเรือของกองทัพเรือ ที่ต่อเรือของหลวง และรับจ้างต่อเรือให้กับเอกชนด้วย ซึ่งก็มีรายได้เข้ามาเลี้ยงกองทัพเรือ
แต่ในส่วนโรงงานผลิตอาวุธของกองทัพบก ปกติเป็นหน้าที่ของกรมสรรพาวุธ ซึ่งทำเอง-ใช้เอง ที่ผ่านมาไม่มีกฏหมายเขียนให้เอกชนเข้าไปเกี่ยวข้องได้เลย ไม่ว่าจะเป็นการตั้งโรงงาน หรือการเข้าไปร่วมทุน เพราะติดปัญหาในเรื่องความมั่นคงเป็นหลัก อาวุธ วัตถุระเบิดขนาดเบาและขนาดกลาง กองทัพก็ทำเอง-ใช้เองทั้งสิ้น
?เข้าใจว่าการแก้กฎหมายตรงนี้คงจะปรับให้มีความยืดหยุ่นกันบ้าง อาจจะเป็นความพยายามที่จะเป็นการแปรรูปโรงงานผลิตอาวุธด้วย เพื่อให้โอกาสเอกชนเข้าไปเกี่ยวข้องได้บ้าง เพราะสิ่งแวดล้อมอะไรหลายอย่างก็ได้เปลี่ยนแปลงไปหมด?
นักวิชาการรายนี้ยังเสนอความคิดเห็นต่อไปว่า... การจะอนุญาตให้มีการตั้งโรงงานอาวุธของเอกชนได้นั้น ควรจะทำเฉพาะอาวุธขนาดเล็กและขนาดกลางดีกว่า ส่วนอาวุธขนาดใหญ่นั้นควรจะซื้อจากต่างประเทศ เพราะคุ้มกว่าลงทุนทำเอง ถ้าทำเองขาดทุนแน่นอน เพราะอาวุธขนาดใหญ่ต้องลงทุนมหาศาล และมีความซับซ้อนมาก
อย่างในอดีต อินโดนีเซียได้มีนโยบายทำเครื่องบินขายเอง แต่ปรากฏว่าขาดทุนมหาศาล ต้องขายเครื่องบินในราคาขาดทุนให้กับฟิลิปปินส์ไป ซึ่งไม่คุ้ม
?เรื่องนี้หากทำได้ก็คงจะเป็นการแบ่งเบาภาระรัฐบาลได้ไม่น้อยเลย และหากมีต่างชาติเข้ามาร่วมทุนด้วยก็ดี เพราะจะเป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตอาวุธให้แก่ประเทศเราด้วย ซึ่งในหลักการยอมรับว่าเห็นด้วย แต่ในรายละเอียดคงต้องศึกษากันให้ดีให้มากกว่านี้?...รศ.ดร. ปณิธานระบุ
ทั้งนี้ สนช. เสียงส่วนใหญ่มีมติรับหลักการร่าง พ.ร.บ.โรงงาน ผลิตอาวุธของเอกชน เพราะเห็นว่าเป็นการช่วยลดการเสียดุลจากการต้อง สั่งซื้ออาวุธต่างประเทศ และเพื่อเพิ่มศักยภาพการลงทุนการผลิตขาย ต่างประเทศ รวมถึงเป็นการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาทางด้านนี้ในไทย แต่ในทางปฏิบัติก็คง ?ต้องรอบคอบอย่างมาก? และประเด็น ?ล็อบบี้ยิสต์? หรือ ?นายหน้าค้าอาวุธ? ที่จะทำให้ธุรกิจเอกชนด้านนี้มีปัญหา นี่ก็ต้องไม่มองข้าม !!
?ธุรกิจเอกชน? ในไทย...สนใจ ?ผลิตอาวุธขาย? มานานแล้ว
มาถึงตอนนี้ก็เริ่มมีแวว...ว่าอาจจะได้ผลิต-ได้ขายอย่างที่สนใจ
จะชัวร์หรือไม่-แบบไหน-อย่างไร-ดีจริงหรือ...รอดูกัน ????.