ไชน่าเดลี่10/01/07 ? เจ้าหน้าที่ระดับสูงจากกลาโหมมังกรคาด ภายใน 10-15 ปีข้างหน้า เครื่องบินขนาดใหญ่ที่จีนผลิตเอง จะพร้อมให้บริการแข่งบริษัทผลิตนกยักษ์ระดับโลก อย่าง โบอิ้ง และ แอร์บัส
เครื่องบินขนาดใหญ่ทะยานและร่อนลงกลางสนามบินจีนนับร้อยลำต่อวัน แต่ปัจจุบัน ยังไม่พบ ?นกเหล็ก? ลำใด ประทับตรา ?เมด อิน ไชน่า? แม้แต่ลำเดียว แต่ภายใน 10-15 ปีข้างหน้านี้ เครื่องบิน ?สัญชาติมังกร? จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับสายการบินนอกเหนือจาก โบอิ้ง และ แอร์บัส
หวงเฉียง เลขาธิการคณะกรรมการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและอุตสาหกรรม แห่งกระทรวงกลาโหมเผยว่า ในขณะนี้ การผลิตเครื่องบินขนาดใหญ่ของจีนกำลังเป็นที่จับตาของนานาชาติ และได้รับการเรียกร้องจากประชาชนมากขึ้นทุกขณะ เพราะเครื่องบินขนาดใหญ่เป็นเสมือนตัวแทนในการแข่งขันระดับสูงของประเทศ โดยจีนจะอาศัยทั้งภาคทหารและพลเรือน เพื่อผลักดันการวิจัยพัฒนาเครื่องบินขนาดใหญ่
อย่างไรก็ตาม การวิจัยและพัฒนาเครื่องบินขนาดใหญ่นั้นค่อนข้างยาก อีกทั้งต้องใช้เวลามาก คาดว่า อาจต้องใช้เวลา 10-15 ปี กว่าเครื่องบินใหญ่ของจีนจะพร้อมใช้งาน เพราะสิ่งที่สำคัญคือการเตรียมพร้อมอย่างเต็มที่
นับเป็นครั้งแรกที่เจ้าหน้าที่ทางการบินเฉพาะเจาะจงช่วงเวลาของโครงการ ซึ่งหวงเชื่อว่า โครงการนี้จะยังประโยชน์อย่างกว้างขวางต่อสาธารณชน และกดดันผู้ผลิตเครื่องบินต่างด้าว
ที่ผ่านมา โครงการสำคัญของแผ่นดินใหญ่ มักจะถูกบรรจุอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม 5 ปี ซึ่งการผลักดันอุตสาหกรรมผลิตเครื่องบินใหญ่ ก็เป็นภารกิจอันดับต้นในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 11 ตั้งแต่ช่วงปี 2006-2010 อันนับเป็นช่วงเวลาแห่งการเริ่มต้นออกแบบเครื่องบิน
โครงการผลิตนกเหล็กขนาดใหญ่นี้จะพุ่งเป้าใช้ประโยชน์ทั้งในภาคการทหารและพลเรือน โดยส่วนใหญ่จะมีศักยภาพในการแบกรับน้ำหนักอย่างต่ำ 100 ตัน และรองรับผู้โดยสารทั้งสิ้น 200 ที่นั่ง
หวงให้ข้อมูลเพิ่มว่า โครงการเครื่องบินขนาดใหญ่นี้จะอาศัยความชำนาญและประสบการณ์ในการผลิตเครื่องบินไอพ่นระดับภูมิภาครุ่น ARJ21 ซึ่งเริ่มผลิตเมื่อเดือนธันวาคมปี 2003 โดยไชน่า เอเวียชัน อินดัสตรี คอร์ปอเรชัน I (AVIC I) ผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่ของจีน ได้ออเดอร์สั่งซื้อทั้งสิ้น 71 ลำ และจะทดลองบินราวปีหน้า
สาเหตุแห่งความสำเร็จของ AVIC I ส่วนหนึ่งมาจากการที่บริษัทผลิตเครื่องบินไอพ่นศักยภาพระดับกลาง ที่มีคุณภาพดีและราคาถูก ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดมังกร
ผลการวิจัยจากศูนย์วิจัยพัฒนาอุตสาหกรรมการบิน สังกัด AVIC I รายงานว่า ภายในปี 2025 จีนต้องการเครื่องบินขนาดใหญ่ทั้งสิ้น 2,230 ลำ ขณะที่ในช่วงเวลาเดียวกัน โบอิ้งคาดการณ์ว่า จีนน่าจะต้องการมากถึง 3,900 ลำ ปัจจุบันโบอิ้งและแอร์บัสผูกขาดเป็นซัปพลายเออร์เครื่องบินขนาดใหญ่ให้แก่จีน
ไชน่าเดลี่10/01/07 ? เจ้าหน้าที่ระดับสูงจากกลาโหมมังกรคาด ภายใน 10-15 ปีข้างหน้า เครื่องบินขนาดใหญ่ที่จีนผลิตเอง จะพร้อมให้บริการแข่งบริษัทผลิตนกยักษ์ระดับโลก อย่าง โบอิ้ง และ แอร์บัส
เครื่องบินขนาดใหญ่ทะยานและร่อนลงกลางสนามบินจีนนับร้อยลำต่อวัน แต่ปัจจุบัน ยังไม่พบ ?นกเหล็ก? ลำใด ประทับตรา ?เมด อิน ไชน่า? แม้แต่ลำเดียว แต่ภายใน 10-15 ปีข้างหน้านี้ เครื่องบิน ?สัญชาติมังกร? จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับสายการบินนอกเหนือจาก โบอิ้ง และ แอร์บัส
หวงเฉียง เลขาธิการคณะกรรมการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและอุตสาหกรรม แห่งกระทรวงกลาโหมเผยว่า ในขณะนี้ การผลิตเครื่องบินขนาดใหญ่ของจีนกำลังเป็นที่จับตาของนานาชาติ และได้รับการเรียกร้องจากประชาชนมากขึ้นทุกขณะ เพราะเครื่องบินขนาดใหญ่เป็นเสมือนตัวแทนในการแข่งขันระดับสูงของประเทศ โดยจีนจะอาศัยทั้งภาคทหารและพลเรือน เพื่อผลักดันการวิจัยพัฒนาเครื่องบินขนาดใหญ่
อย่างไรก็ตาม การวิจัยและพัฒนาเครื่องบินขนาดใหญ่นั้นค่อนข้างยาก อีกทั้งต้องใช้เวลามาก คาดว่า อาจต้องใช้เวลา 10-15 ปี กว่าเครื่องบินใหญ่ของจีนจะพร้อมใช้งาน เพราะสิ่งที่สำคัญคือการเตรียมพร้อมอย่างเต็มที่
นับเป็นครั้งแรกที่เจ้าหน้าที่ทางการบินเฉพาะเจาะจงช่วงเวลาของโครงการ ซึ่งหวงเชื่อว่า โครงการนี้จะยังประโยชน์อย่างกว้างขวางต่อสาธารณชน และกดดันผู้ผลิตเครื่องบินต่างด้าว
ที่ผ่านมา โครงการสำคัญของแผ่นดินใหญ่ มักจะถูกบรรจุอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม 5 ปี ซึ่งการผลักดันอุตสาหกรรมผลิตเครื่องบินใหญ่ ก็เป็นภารกิจอันดับต้นในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 11 ตั้งแต่ช่วงปี 2006-2010 อันนับเป็นช่วงเวลาแห่งการเริ่มต้นออกแบบเครื่องบิน
โครงการผลิตนกเหล็กขนาดใหญ่นี้จะพุ่งเป้าใช้ประโยชน์ทั้งในภาคการทหารและพลเรือน โดยส่วนใหญ่จะมีศักยภาพในการแบกรับน้ำหนักอย่างต่ำ 100 ตัน และรองรับผู้โดยสารทั้งสิ้น 200 ที่นั่ง
หวงให้ข้อมูลเพิ่มว่า โครงการเครื่องบินขนาดใหญ่นี้จะอาศัยความชำนาญและประสบการณ์ในการผลิตเครื่องบินไอพ่นระดับภูมิภาครุ่น ARJ21 ซึ่งเริ่มผลิตเมื่อเดือนธันวาคมปี 2003 โดยไชน่า เอเวียชัน อินดัสตรี คอร์ปอเรชัน I (AVIC I) ผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่ของจีน ได้ออเดอร์สั่งซื้อทั้งสิ้น 71 ลำ และจะทดลองบินราวปีหน้า
สาเหตุแห่งความสำเร็จของ AVIC I ส่วนหนึ่งมาจากการที่บริษัทผลิตเครื่องบินไอพ่นศักยภาพระดับกลาง ที่มีคุณภาพดีและราคาถูก ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดมังกร
ผลการวิจัยจากศูนย์วิจัยพัฒนาอุตสาหกรรมการบิน สังกัด AVIC I รายงานว่า ภายในปี 2025 จีนต้องการเครื่องบินขนาดใหญ่ทั้งสิ้น 2,230 ลำ ขณะที่ในช่วงเวลาเดียวกัน โบอิ้งคาดการณ์ว่า จีนน่าจะต้องการมากถึง 3,900 ลำ ปัจจุบันโบอิ้งและแอร์บัสผูกขาดเป็นซัปพลายเออร์เครื่องบินขนาดใหญ่ให้แก่จีน
http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9500000002673