Will scars from US sanctions drive Indonesia to buy Rafale?
https://www.flightglobal.com/defence/will-scars-from-us-sanctions-drive-indonesia-to-buy-rafale/141608.article
https://aagth1.blogspot.com/2020/12/rafale-su-35.html
บทความพิเศษของ FlightGlobal เมื่อที่เผยแพร่วันที่ ๑๕ ธันวาคมที่ผ่านมา ได้วิเคราะห์ถึงกระแสข่าวต่างๆเกี่ยวกับโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ของกองทัพอากาศอินโดนีเซียที่ยาวนานและล่าช้า
(เข้าไปอ่านบทความต้นฉบับได้ถ้าสมัครสมาชิกกับ flightglobal.com แล้ว หรือแปลภาษาไทยแบบเต็มฉบับได้ที่ Website ของผู้เขียน
ซึ่งอย่าหาว่ามาบ่นเลยนะ ปัจจุบันนี้บทความที่ผู้เขียนนำมาลงสัปดาห์หนึ่งมียอดคนดูแค่ ๔๐๐-๕๐๐กว่าครั้งเอง)
บทความได้ชี้ประเด็นที่น่าสนใจคือ ขณะที่ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของอินโดนีเซียเป็นหมู่เกาะขนาดใหญ่ที่ยาวและกว้างมาก อีกทั้งยังกำลังเผชิญกับภัยคุกคามจากชาติอภิมหาอำนาจคือจีนที่ส่งเรือเข้ามารุกล้ำน่านน้ำรอบๆหมู่เกาะ Natuna ของอินโดนีเซียในทะเลจีนใต้
แต่กองทัพอากาศอินโดนีเซียมีเครื่องบินขับไล่ประจำการเพียง ๔๘เครื่องเท่านั้นคือเครื่องบินขับไล่ F-16A/B/C/D จากสหรัฐฯรวม ๓๒เครื่อง, เครื่องบินขับไล่ Su-27SK/SKM ๕เครื่อง และเครื่องบินขับไล่ Su-30MK2 ๑๑เครื่องจากรัสเซีย
กองทัพอากาศอินโดนีเซียมีความต้องการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ทดแทน F-5E/F ๑๔เครื่องที่ปลดไปตั้งแต่ปี 2016 แล้ว และได้เลือกที่จะจัดหาเครื่องบินขับไล่ Su-35SK รุ่นส่งออกของรัสเซีย ๑๑เครื่อง
แต่ที่ผ่านมาการเจรจาข้อตกลงในการจัดหาระหว่างอินโดนีเซียกับรัสเซียมีความล่าช้า เพราะทางรัฐบาลอินโดนีเซียต้องการจะซื้อ Su-35S โดยใช้สินค้าทางการเกษตรของตนชำระค่าเครื่องส่วนหนึ่งในรูปแบบการค้าต่างตอบแทน แต่รัสเซียอยากได้เงินสดมากกว่า
พอมีประเด็นรัฐบาลสหรัฐฯออกกฏหมาย CAATSA เพื่อใช้คว่ำบาตรประเทศที่ซื้ออาวุธจากชาติศัตรูของตนเช่นรัสเซีย แม้จะไม่ได้ถูกยกเลิกโดยสิ้นเชิงอินโดนีเซียดูเหมือนละทิ้งความพยายามที่จะจัดหา Su-35S จากรัสเซียไปแล้วเพราะกลัวสหรัฐฯคว่ำบาตร
อินโดนีเซียมีข่าวกับเครื่องบินขับไล่หลายแบบในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้เช่น เครื่องบินขับไล่ F-16V ที่สหรัฐฯเสนอให้แทน Su-35S รัสเซีย แต่ดูเหมือนอินโดนีเซียจะให้ความสนใจกับเครื่องบินขับไล่ F-35A แต่ทางสหรัฐฯดูจะไม่อยากขายให้สักเท่าไร
และเมื่อเร็วๆนี้ก็มีข่าวลือว่าสหรัฐฯอนุมัติความเป็นไปได้ในการขายเครื่องบินขับไล่ F-15E และเครื่องบินขับไล่ F/A-18E/F Super Hornet แก่อินโดนีเซียด้วย แต่ยังไม่มีการยืนยันชัดเจนตอนนี้
ในปีนี้(2020) อินโดนีเซียก็มีข่าวกับเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon ของกองทัพอากาศออสเตรีย ๑๕เครื่องที่ผ่านการใช้งานแล้ว ซึ่งออสเตรียจะมีแผนขายทั้งหมดจากปัญหาค่าใช้จ่ายการปฏิบัติการ และข้อพิพาทกับบริษัท Airbus ผู้ขายเครื่อง
รวมถึงเครื่องบินขับไล่ Rafale ฝรั่งเศส ๔๘เครื่องที่รัฐมนตรีกระทรวงกองทัพฝรั่งเศสให้ข้อมูลกับสื่อว่าการเจรจามีความคืบหน้าไปมาก ซึ่งถ้ามีการจัดซื้อจริงอินโดนีเซีนจะเป็นผู้ใช้ Rafale รายใหญ่อันดับสองรองจากฝรั่งเศส
นอกจากนี้อินโดนีเซียก็ยังมีโครงการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ IF-X ที่จะจัดหา ๔๘เครื่องรวมกับเกาหลีใต้ ที่เครื่องบินขับไล่ KAI KF-X เครื่องต้นแบบจะเปิดตัวในปี 2021 ซึ่งอินโดนีเซียมีปัญหาเรื่องการหาวงเงินมาลงทุนในโครงการ
ทั้งนี้ถึงอินโดนีเซียจะมีปัญหาเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจาก Covid-19 อย่างหนัก แต่รัฐมนตรีกลาโหมอินโดนีเซีย Prabowo Subianto มีความต้องการส่วนตัวที่จะให้โครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ ๕๐-๑๐๐เครื่องบรรลุผลในช่วงที่เขาดำรงตำแหน่ง
เพราะทาง Prabowo หวังผลที่จะได้รับความน่าเชื่อถือว่าเขาเคยช่วยปกป้องอธิปไตยของอินโดนีเซียด้วยการจัดซื้ออาวุธ ที่จะมีผลต่อคะแนนเสียงของเขาในการลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีอินโดนีเซียครั้งใหม่ในปี 2024 หรือตำแหน่งทางการเมืองในอนาคต
ก็จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจว่าเครื่องบินขับไล่แบบใดกันแน่ที่จะเป็นผู้ชนะที่แท้จริงสำหรับโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ของกองทัพอากาศอินโดนีเซียครับ
บทความพิเศษ: โอกาสของเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon กับกองทัพอากาศไทย
https://aagth1.blogspot.com/2020/12/eurofighter-typhoon.html
เครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon ยุโรป ก็เหมือนกับเครื่องบินขับไล่ Rafale ฝรั่งเศสที่ตอนนี้ยังไม่สามารถเปิดตนเองในตลาดเอเชีย-แปซิฟิกได้
ลูกค้าส่งออกนอกกลุ่มชาติผู้พัฒนาหลักเยอรมนี, สหราชอาณาจักร, อิตาลี และสเปน ในยุโรปมีเพียงออสเตรียที่อินโดนีเซียสนใจจะซื้อยกฝูงในข้างต้น นอกนั้นอยู่ในตะวันออกกลางทั้งหมดคือซาอุดีอาระเบีย, โอมาน, คูเวต และกาตาร์
สำหรับกองทัพอากาศไทยเองถ้าไม่ถูกเลื่อนเพราะถูกตัดงบประมาณกลาโหมจาก Covid-19 ในปีงป. ๒๕๖๖(2023) ก็ควรจะเริ่มต้นโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีใหม่ ๑๒เครื่องทดแทน บ.ข.๑๙/ก F-16A/B ADF ฝูงบิน๑๐๒ กองบิน๑แล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/2020.html)
แต่ประเด็นสำคัญคือที่ผ่านมา Eurofighter ไม่ได้เน้นทำตลาดในไทยสักเท่าไหรถ้าดูจากงานแสดง Defense & Security ในไทยที่ผ่านมา ซึ่ง Eurofighter GmbH เองเป็นกิจการค้าร่วมที่ประกอบด้วยบริษัท Airbus, BAE Systems กับ Leonardo
ซึ่งก็ต้องดูก่อนว่าถ้า Eurofighter สนใจจะเข้าแข่งขันในโครงการจัดหาเครรื่องบินขับไล่ใหม่ของไทยจริงบริษัทใดจะทำหน้าที่เป็นตัวแทน และมีข้อเสนอตามนโยบายจัดหาและพัฒนาของกองทัพอากาศไทยเพื่อพัฒนาภาคอุตสาหกรรมอากาศยานของไทยด้วยหรือไม่ครับ
Greece's Rafale buy gets the green light
https://www.janes.com/defence-news/news-detail/greeces-rafale-buy-gets-the-green-light
https://aagth1.blogspot.com/2020/12/rafale.html
กรีซกำลังจะเป็นลูกค้าส่งออกล่าสุดสำหรับเครื่องบินขับไล่ Dassault Rafale ฝรั่งเศส ตามที่คณะอนุกรรมการด้านการจัดซื้อจัดจ้างกลาโหมของรัฐสภากรีซได้เห็นชอบให้มีการอนุมัติจัดซื้อ ซึ่งพรรคการเมืองทุกพรรคของกรีซต่างเห็นชอบในการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ด้วย
การจัดหาเครื่องบินขับไล่ Rafale ๑๘เครื่องของกรีซแม้ว่าจะมี ๑๒เครื่องที่เคยประจำการในกองทัพอากาศฝรั่งเศส กับ ๖เครื่องที่สร้างใหม่จากโรงงาน แต่ก็มีวงเงินโครงการสูงถึง 1.92 billion Euros(ประมาณ ๗๐,๘๑๔,๐๐๐,๐๐๐บาท) เลยที่เดียว
ไม่รวมกับวงเงินอีก 400 million Euros(ประมาณ ๑๔,๗๔๒,๐๐๐,๐๐๐บาท) ที่จะใช้ในการจัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ Meteor และบูรณาการอาวุธนำวิถีที่จัดหาจากฝรั่งเศสที่ติดกับเครื่องบินขับไล่ Mirage 2000 ที่กองทัพอากาศกรีซจัดหาก่อนหน้ามาใช้กับ Rafale
ปัจจุบันฝรั่งเศสส่งออกเครื่องบินขับไล่ Rafale ให้กับอียิปต์ ๒๔เครื่อง, กาตาร์ ๓๖เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2019/06/rafale.html) และอินเดีย ๓๖เครื่องครับ(https://aagth1.blogspot.com/2020/09/rafale.html)
ผมขอมองในแง่ของไทยครับ ถ้าทำแบบอินโดนีเซีย. ผมมองว่าควรเลือกเครื่องบินที่บริษัทผู้ผลิตมีการลงทุนในไทยด้วย. ผมคิดว่า Typhoon ของ Airbus น่าสนใจแม้จะแพง แต่สามารถใช้อาวุธที่ไทยมีอยู่แล้วได้. และถ้าจำไม่ผิดเคยมีข่าว Airbus มีผลิตชิ้นส่วนเครื่องบินบางส่วนในไทยด้วยครับ ทำให้เราอาจขยายผลในเรื่องอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องได้บ้าง ต่างจาก F16 ยังไม่เคยมีข่าวลงทุนในไทย รวมถึงราฟาลด้วยครับ. ส่วนที่น่าสนใจรองลงมาคือ Jas39 ซึ่งเรามีประจำการแล้ว ถ้าไม่ห่วงเรื่องสมรรถนะ ก็น่าจะขอ option ผลิตชิ้นส่วนในประเทศโดยเฉพาะอะไหล่ที่ต้องเปลี่ยนบ่อยๆ ครับ
ปี 2020 ที่สิ้นสุดและปี 2021 ที่กำลังจะมาถึงไม่ใช่ปีที่ดีสำหรับการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมอากาศยานเลย อย่างข่าวที่เกี่ยวข้องกับไทยนั้นคือเมื่อกลางปีที่ผ่านมา Airbus ก็ได้ถอนตัวไปจากลงทุนศูนย์ซ่อมบำรุง MRO ในเขตเศรษฐกิจพิเศษตะวันออก EEC ไปแล้ว
ในกรณีของเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon ถ้าจะลงแข่งขันในโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีใหม่ทดแทน F-16A/B ADF ที่จะเริ่มระยะที่๑ ในปีงบประมาณ ๒๕๖๖-๒๕๖๙(2023-2026) จำนวน ๖เครื่อง ก็ต้องบอกให้ได้ก่อนว่าบริษัทไหนจะเป็นตัวแทนมาแข่งขันในไทย
ตัวอย่างเช่น ถ้ามี Leonardo อิตาลีทำหน้าที่เป็นตัวแทนในโครงการของกองทัพอากาศไทย มองว่าคงจะยากที่จะชนะเพราะที่ผ่านมากองทัพอากาศไทยมีประสบการณ์ที่ไม่ค่อยดีกับอากาศยานที่จัดหาจากอิตาลี
ซึ่งในบริษัทขนาดใหญ่ๆนี่บางทีก็มีวัฒนธรรมองค์กรที่แต่ละแผนกจะไม่ยุ่งกันด้วยครับ อย่างในงาน Defense & Security ที่ Both ของ Leonardo แต่ละปีผู้เขียนต้องถามเทียวไปเทียวมาถามแยกกันในส่วนเรือ เครื่องบิน และระบบอาวุธ เพราะมีตัวแทนรับผิดชอบคนละส่วนกันครับ
ส่วนตัวมองว่าอุตสาหกรรมป้องกันประเทศเป็นอุตสาหกรรมที่ค่อนข้างผูกขาดโดยลูกค้าคือกองทัพ ดังนั้นหากรัฐสนับสนุนให้ใช้มีการร่วมลงทุนจากภาครัฐ เอกชน และ ต่างประเทศและกองทัพต้องใช้งาน ก็น่าจะพอทำให้อุตสาหกรรมอยู่ได้ ผมมองว่าตอนนี้เป็นโอกาสดีที่จะเจรจากับทั้ง F16 ที่ตอนนี้เป็นช่วงปลายอายุแล้วหากเราเจรจาขอผลิตชิ้นส่วนป้อนตลาดลูกค้า F16 ในภูมิภาคนี้ น่าจะเป็นไปได้ (แลกกับการซื้อ F16 2-3 ฝูงบินตลอดระยะเวลา 10ปี) และ Jas39 ก็น่าจะเป็นไปได้เพราะทาง saab ก็น่ากำลังหาหุ้นส่วนเช่นเดียวกัน (หากเราซื้อ 2-3 ฝูง ตลอด 10 ปี แล้วขอผลิตชิ้นส่วนบางชิ้นและประกอบเครื่องถายในประเทศ)
ผมมองย้อนไปสมัยเกาหลีเริ่มต้น ก็จากยอมลงทุนซื้อสิทธิบัตรผลิต F5E ในประเทศ แม้ลงทุนแพง แต่ระยะยาวถือว่าถูกมากและเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาเครื่องบินในประเทศ. ถ้าไทยไม่เริ่มในวันนี้ วันหน้าก็จะแพงขึ้นไปอีก. ครับ
https://aagth1.blogspot.com/2020/12/blog-post_26.html
ตามแผนในสมุดปกขาวกองทัพอากาศไทย 2020(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/2020.html) ในช่วง ๑๐-๑๕ปีข้างหน้ากองทัพอากาศไทยจะมีโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่สองโครงการหลักคือ
โครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตี จำนวนหนึ่งฝูงบิน ๑๒เครื่องทดแทน F-16A/B ADF ฝูงบิน๑๐๒ กองบิน๑ แบ่งเป็นระยะที่๑ ปีงบประมาณ ๒๕๖๖-๒๕๖๙(2023-2026) จำนวน ๖เครื่อง และระยะที่๒ ปีงบประมาณ ๒๕๖๘-๒๕๗๑(2025-2028) จำนวน ๖เครื่อง
และโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทน จำนวนหนึ่งฝูงบินจำนวน ๑๒เครื่องทดแทน F-16A/B Block 15 OCU ฝูงบิน๑๐๒ กองบิน๑ แบ่งเป็นระยะที่๑ ปีงบประมาณ ๒๕๗๑-๒๕๗๔(2028-2031) จำนวน ๖เครื่อง และระยะที่๒ ปีงบประมาณ ๒๕๗๓-๒๕๗๖(2030-2033) จำนวน ๖เครื่อง
ซึ่งสองโครงการดังกล่าวอาจจะไม่ใช่เครื่องบินขับไล่แบบเดียวกัน หรือถึงจะเป็นเครื่องบินขับไล่แบบเดียวกันก็จะรวมจำนวนเพียง ๒๔เครื่อง และใช้วิธีจัดหาแบบงบประมาณผูกพันต่อเนื่อง ๔ปี ๔ระยะเป็นเวลารวมถึง ๑๖ปีงบประมาณ
ตรงนี้จะชี้ให้เห็นว่าด้วยจำนวนเครื่องที่กองทัพอากาศไทยมองจะจัดหาและรูปแบบการชำระเงิน ไม่ได้มีความคุ้มค่าทางธุรกิจมากพอที่จะดึงดูดบริษัทต่างประเทศให้สนใจมากนัก รวมถึงสภาพเศรษฐกิจของประเทศและผลกระทบจาก Covid-19 ที่อาจจะต้องตัด งป.กลาโหมจนต้องเลื่อนโครงการออกไป
อย่างในกรณีของ Lockheed Martin สหรัฐฯ ทั้ง F-16 และ C-130J เป็นผลิตภัณฑ์อากายานที่ยังขายได้เรื่อยๆและมีลูกค้ารายใหม่แสดงความสนใจตลอด ฉะนั้นการจัดซื้อในความต้องการของกองทัพอากาศไทยไม่ได้มีนัยสำคัญกับข้อเสนอการผลิตชิ้นส่วนสำหรับบริษัทเหล่านี้เลยครับ
(ถ้าสั่งซือทีเป็นจำนวนถึง ๕๐-๑๐๐เครื่องเหมือนประเทศแถบตะวันออกกลางก็อีกเรื่อง)
ไทยน่าจะเข้าร่วมโครงการอัพเกรดF-16ของไต้หวันที่จะอัพเกรดF-16A/Bเป็นรุ่นF-16V ฝูงของไต้หวันน่าจะมีอายุพอๆใช้งานกับของไทย หรือเข้าร่วมอัพเกรดF-16ของนาโต้ก้ได้ ฝูงของนาโต่อายุมากกว่าของไทยอีก
เงินไม่มากพออัพเกรดให้มีพอใช้ดีกว่าไม่มีอะไรใช้เลย นักข่าวหนังสือสงสครามไปทำเรื่องทองยิงโบลวไฟด์เมื่อปี23(มั้งถ้าจำไม่ผิด)บอกว่าไทยยิงโบลวไฟด์ปีละสี่ลูกหรือสองปีสี่ลูกดีถมไปละดีกว่าไม่มีอะไรเลย ไทยไม่ใช่เศรษฐีน้ำมันที่จะยิงได้วันละ48ลูกอย่างสบายๆ