จากความขัดแย้งระหว่าง อาร์เมเนีย กับ อาเซอร์ไบจาน
จะเห็นได้ว่า UAV ติดอาวุธมีบทบาทในการทำความเสียหายให้กับฝ่ายตรงข้ามอย่างมาก
ทำให้ผมมีความคิดขึ้นมาถึงแนวโน้มบทบาทของเครื่องบิน ประเภท AC Gunship อย่าง 'AC-130 Gunship เป็นต้น
แนวโน้มจะถูกลดบทบาท และคุณค่าทางยุทธการลง? รวมถึงเครื่องบินโจมตีด้วย
สมาชิกท่านอื่นมีความคิดเห็นกับเรื่องนี้อย่างไร
เครื่องโจมตีลำเลียง บ.จล.Gunship ยังคงมีคุณค่าทางยุทธการสำหรับกองทัพบางประเทศที่มีภัยคุกคามที่มีศักยภาพด้านระบบการป้องกันภัยทางอากาศและกำลังทางอากาศต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปฏิบัติต่อต้านการก่อความไม่สงบหรือต่อต้านการก่อการร้าย
ซึ่ง บ.จล.Gunship จะมีข้อได้เปรียตรงที่สามารถให้การบินสนับสนุนกองกำลังภาคพื้นดินได้นานกว่าและติดตั้งอาวุธหนักและยิงได้ต่อเนื่องกว่าอากาศยานรบไร้คนขับ UCAV ที่มีในตลาดปัจจุบันระดับหนึ่ง
https://aagth1.blogspot.com/2019/06/ch-4b-uav.html
อันนี่ผู้เขียนเสริมข่าวล่าสุดสักหน่อย ในชุมชนสื่อสังคม Online ของพม่ามีการพูดคุยมาตั้งแต่ต้นเดือนธันวาคม 2020 แล้วว่า กองทัพอากาศพม่ามีแผนจะจัดหาเครื่องบินลำเลียง Airbus C295 จำนวน ๒เครื่อง
ซึ่งค่อนข้างจะน่าสนใจตรงที่ว่าถึงแม้ว่าพม่าจะมีการเลือกตั้งเป็นประชาธิปไตยมากว่า ๑๐ปีแล้ว แต่การละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงต่อกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆของกองทัพพม่า ทำให้ชาติตะวันตกระมัดระวังที่จะไม่ขายอาวุธยุทโธปกรณ์ให้รัฐบาลพม่า
แต่ข่าวเพิ่มเติมล่าสุดเกี่ยวกับ C295 ๒เครื่องที่พม่าจะซื้อคือ เป็นเครื่องของกองทัพอากาศจอร์แดนที่ประกาศขายในปี 2019 ซึ่ง C295 สองเครื่องของจอร์แดนดังกล่าวได้รับการดัดแปลงเป็น บ.จล.Gunship ไปแล้ว
ทั้งนี้เพื่อเลี่ยงการถูกตรวจสอบจากหน่วยงานต่างๆของสหภาพยุโรป เห็นว่าพม่าจะจะซื้อ C295 Gunship มือสองของจอร์แดนนี่ผ่านการใช้บริษัทตัวแทนบังหน้าที่ดูเหมือนว่าจะจดทะเบียนในสหราชอาณาจักร
ผู้เขียนกำลังตรวจสอบและติดตามข่าวนี้เพิ่มเติมอยู่ครับ
สำหรับกองทัพอากาศไทยเองก็เคยมีเครื่องบินโจมตีลำเลียงประจำการ เช่น บ.จล.๒ AC-47 Spooky กับ บ.จล.๙ Nomad ซึ่งทั้งสองแบบปลดประจำการไปแล้ว
โดยปัจจุบันยังมีเครื่องบินโจมตีธุรการ บ.จธ.๒ AU-23A ที่ติดปืนใหญ่อากาศ 20mm ภายในห้องบรรทุกยิงออกจากประตูข้างได้ ที่กำลังได้รับการปรับปรุงความทันสมัย ๑๔เครื่อง
แต่ บ.จล.ที่กองทัพอากาศไทยเคยมีไม่มีแบบใดที่สามารถใช้ระบบอาวุธนำวิถีได้ ซึ่ง บ.จล.ที่มีใช้งานในปัจุบันหรือมีแบบแผนเสนอส่วนใหญ่จะติดอาวุธนำวิถีความแม่นยำสูงได้
มองว่าในความขัดแย้งระดับต่ำ กองทัพอากาศไทยน่าจะมองไปที่การใช้ UCAV ติดอาวุธอย่างระบบ RTAF U1-M ที่กำลังพัฒนาอยู่ตามที่มีการจัดตั้ง กองบิน๓ ขึ้นมาใหม่ที่ฐานบินวัฒนานคร
แต่ทั้งนี้ประเทศอื่นก็มีแนวคิดหลักการและความต้องการเฉพาะของตนที่ต่างออกไป อย่างพม่านี้ด้วยลักษณะสงครามภายในประเทศของตน บ.จล.Gunship ดูจะมีคุณค่าทางยุทธการมากครับ