https://www.newsvl.ru/vlad/2019/11/02/185136/
https://tvzvezda.ru/news/forces/content/20191121417-fYUqJ.html
https://aagth1.blogspot.com/2019/11/lpd-ums-moattama-vladivostok.html
เรืออู่ยกพลขึ้นบก LPD-1501 UMS Moattama ใหม่ของกองทัพเรือพม่าได้เดินทางเยือนฐานทัพเรือกองทัพเรือรัสเซียที่ Vladivostok เป็นครั้งแรกระหว่างวันที่ ๒-๔ พฤศจิกายน 2019
UMS Moattama กองทัพเรือพม่าถูกสร้างที่อู่เรือบริษัท Daesun ใน Busan เกาหลีใต้ซึ่งเข้าใจว่าได้รับมอบเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา(https://aagth1.blogspot.com/2019/09/lpd-mottama.html)
ด้วยความยาวเรือ 122m และระวางขับน้ำเต็มที่ 11,300tons ทำให้ UMS Moattama นอกจากจะเป็นเรือ LPD ลำแรกแล้วยังเป็นเรือที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของกองทัพเรือพม่าด้วย
จากชุดภาพและวิดีทัศน์ที่ Vladivostok รัสเซีย เรือ LPD UMS Moattama พม่ามีเรือยางท้องแบน RHIB ข้างตัวเรือทั้งสองด้านรวม ๔ลำ มีอู่ลอยรองรับเรือระบายพล LCU 23m ๒ลำ เรือระบายพล LCVP ๑-๒ลำ และลานจอดเฮลิคอปเตอร์ขนาดใหญ่รองรับ ฮ.ได้ ๒เครื่อง
อย่างไรก็ตาม UMS Moattama ที่เดินเรือจากเกาหลีใต้มารัสเซียนั้นไม่มีการติดตั้งอาวุธอะไรเลย โดยมีเพียง Radar เดินเรือเท่านั้น ซึ่งดูเหมือนว่าจะเป็นไปตามที่เคยวิเคราะห์ว่าเกาหลีใต้ไม่ต้องการให้การสร้างเรือให้พม่าที่มีความสัมพันธ์ทางทหารกับเกาหลีเหนือเป็นประเด็นถกเถียงขึ้นมา จึงทำการต่อเรือ LPD ที่มีเพียงระบบเดินเรือพื้นฐานและเรือระบายพลต่างๆเท่านั้นให้พม่า
คาดว่าจะมีพิธีขึ้นระวางประจำการเรืออย่างเป็นทางการในวันครบรอบก่อนตั้งกองทัพเรือพม่าในวันที่ ๒๔ ธันวาคม 2019 ที่จะถึงนี้ ซึ่งเรืออาจจะทำการติดอาวุธที่พม่าแต่ก็ไม่ทราบว่าจะมีอะไรบ้าง ซึ่งเห็นทางพม่ามองที่จะลอกแบบเรือโดยไม่พึ่งเกาหลีใต้เพื่อสร้างเองที่อู่เรือ Thilawa ครับ
ผมลองนึกเล่นๆ นะครับ ว่า ระวางบรรทุกสูงสุดที่ 11,300 ตัน จะเอาอะไรมาบรรทุกกันได้ขนาดนั้น
ถ้าหากระวางเรือเปล่าอยู่ที่ 5,000 ตัน มันต้องบรรทุกน้ำหนักจรอีกถึง 7,300 ตัน (น้ำหนักเท่ากับรถเก่งซับคอมแพคมากถึง 7,300 คัน)
พื้นที่จอดมันคงทำได้จริงไม่น่าจะเกิน 1,000 คัน อีก 6,300 คัน จะเอาไปจอดที่ไหน ?
หรือ น.น. จร เท่ากับน้ำหนักรถพิคอัพ 3,500 คัน หากจอดพิกอัพ ไป 900 คัน (ซึ่งไม่น่าเป็นไปได้) รถอีก 2,600 คัน จะเอาไปจอดที่ไหน ?
วิธีดู "ระวางขับน้ำปกติของเรือ" แต่ละลำ ให้ดูที่เส้นดำ หรือแดง (หรือสีอะไรก็ได้) ที่ขอบกราบเรือ ที่ตัดกับสีปกติของเรือ นะครับ
หากระดับน้ำยังอยู่ต่ำกว่า เส้นสีขอบเรือ แสดงว่ายังใช้ระวางจรยังเหลืออยู่อีกมาก เรือก็จะทำความเร็วได้สูงกว่าความเร็วปกติ
หากระดับน้ำอยู่เท่ากับ เส้นสีขอบเรือ แสดงว่าได้ใช้ระวางขับน้ำตามปกติของเรือที่ออกแบบไว้ เรือก็จะทำความเร็วได้ตามสเปคปกติ
หากระดับน้ำอยู่สูงกว่า เส้นสีขอบเรือ แสดงว่าเรือได้ใช้ระวางขับน้ำ มากกว่าปกติที่ออกแบบไว้ เรือก็จะทำความเร็วได้ลดลงเรื่อยๆ จากระดับความเร็วปกติที่ออกแบบไว้ ตามจำนวนน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นมา
หากเรือลำนี้บรรทุกน้ำหนักที่ 11,300 ตันจริง ความเร็วปกติของเรือลำนี้อยู่ที่ 15 น็อต ก็จะเหลืออยู่เพียงประมาณ 9-10 น็อตเท่านั้น
อย่าคิดไรมากครับ แค่อยากอธิบายอะไรบางอย่าง ครับ
เส้นขีดสีใต้ท้องเรือ ไม่ได้ทำไว้เฉยๆ แบบไร้ความหมายครับ มันคือเส้นที่บอกระดับการบรรทุกที่ระวางขับน้ำปกติ ตามวัตถุประสงค์ ของเรือนั้นๆ
หากเป็นเรือบรรทุกสินค้าโดยตรง เส้นนี้จะอยู่สูงมาก เน้นประโยชน์ สุดประหยัดสูง เราจะเห็นเรือบรรทุกน้ำมันที่วิ่งตัวเปล่าเส้นขีดนี้จะอยู่สูงมาก ต่ำกว่าขอบเรือนิดเดียว ซึ่งแน่นอนเรือจะทำความเร็วได้ต่ำมากเมื่อบรรทุกน้ำมันดิบในระดับนี้ แต่พอวิ่งตัวเปล่าเที่ยวกลับ เรือจะทำความเร็วได้มาก ทั้งที่เป็นการใช้อัตราการเร่งปกติของเรือ
เส้นสี นี้ได้ถูกทำการคำนวณมาตั้งแต่การออกแบบเรือ ครับ เพราะฉนั้น การกำหนดระวางปกติ จึงกำหนดขึ้นมาจากวัตถุประสงค์การใช้งานของเรือแต่ละประเภท เพื่อให้สอดคล้องกับน้ำหนักของเรือ และน้ำหนักบรรทุกจรที่ต้องการ และความเร็วที่ต้องการ รวมไปถึงการเลือกขนาดกำลังของเครื่องยนต์ ที่ต้องการจะใช้ด้วย ครับ
บังเอิญ มีภาพเรือบรรทุกน้ำมันอยู่ด้วย ครับเลยถือวิสาสะอธิบาย ส่วนคนที่ทราบแล้วก็ของอภัยด้วยครับ
เรื่องระวางขับน้ำปกติ ความจริงก็เป็นเรื่อง "สมมุติขึ้นมา" หรือเรียกตามภาษาที่มีหลักการหน่อย ก็คือ การกำหนดวัตถุประสงค์ของเรือแต่ละลำนั่นเอง
ส่วนระวางสูงสุดก็สมมุติเช่นกัน แต่ภายใต้เงื่อนไขที่ ความเร็วและการบรรทุก ยังเป็นที่ยอมรับได้จริง (และไม่เกินความสามารถของเรือ)
มีวัตถุประสงค์อยู่สองตัวที่ใช้กำหนด ก็คือ ระวางเรือ (น้ำหนักเรือ +น้ำหนักบรรทุกจร) กับ ความเร็วเรือ ณ ระดับการบรรทุกนั้นๆ
เราจะเห็นว่า น้ำหนักเรือเป็นสิ่งที่ตายตัว แต่น้ำหนักบรรทุกจรเป็นสิ่งที่เรากำหนดขึ้น (โดยเหมาะสม ซึ่งเป็นวิจารณญานของคนออกแบบ ซึ่งไม่เหมือนกัน)
ตัวอย่าง เรือลำหนึ่งในครั้งแรกอาจกำหนดระวางขับน้ำปกติไว้ในพิมพ์เขียวที่ 6,400 ตัน เพื่อให้เรือทำความเร็ว ปกติที่ 15 kt ความเร็วสูงสุดที่ 17 kt
แต่พอเรือสร้างจริงออกมา บริษัทผู้ผลิต อาจเปลี่ยนใจ เปลี่ยนระวางขับน้ำปกติใหม่ เพื่อเหตุผลด้านการตลาด อาจเปลี่ยนค่าระวางขับน้ำเป็น 7,300 ตัน ขึ้นมาก็ได้ครับ แต่ความเร็ว ณ ระวางขับน้ำปกติ ที่สอดคล้องกันมันจึงต้องลดลง เหลือ 14 kt และความเร็วสูงสุดเหลือ 16 kt (หรือในทางกลับกัน ผู้ออกแบบเรือไปดูค่าตารางคำนวณว่า แล้วถ้าระดับความเร็วเรือที่ 14 kt ระวางบรรทุกเรือทั้งหมด มันควรเป็นเท่าไร ซึ่งได้คำนวณไว้หมดแล้วตั้งแต่ออกแบบเรือ ณ ระดับความเร็วต่างๆ ที่นิยมใช้กันทั่วไปจริง)
ดังนั้นเรือลำเดียวกัน อาจกำหนดระวางเรือปกติได้ ตั้งหลายแบบแล้วแต่ว่า จะชูจุดเด่นอะไรก่อน อะไรหลัง เท่านั้นเอง ครับ
Schiebel to supply Camcopter S-100s to Royal Thai Navy
https://www.janes.com/article/92343/schiebel-to-supply-camcopter-s-100s-to-royal-thai-navy
https://aagth1.blogspot.com/2019/11/schiebel-camcopter-s-100.html
บริษัท Schiebel ออสเตรียได้รับการลงนามสัญญาจัดหา UAV ปีกหมุนแบบ Camcopter S-100 ๑ ระบบวงเงิน ๒๖๖,๖๐๒,๔๙๐บาท($8,726,832.61) แก่กองทัพเรือไทย
ซึ่งมีการประกาศใน Website จัดซื้อจัดจ้างของรัฐบาลไทยตั้งแต่วันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๒ แล้วว่า Schiebel ออสเตรียเป็นผู้ชนะในกระบวนการแข่งขันเหนือบริษัทอื่นๆ
ทั้งนี้ Schiebel ออสเตรียได้เป็นหุ้นส่วนกับ บริษัท โมราไทย ดีเฟนส์ จำกัด(MoraThai Defence Company Limited) ไทย ในการสนับสนุน Camcopter S-100 UAS ให้กองทัพเรือไทยด้วย
แม้ว่าทาง Schiebel ออสเตรียจะประกาศว่านี่เป็นสัญญาแรกของตนกับกองทัพเรือไทย แต่ในกลุ่มชาติ ASEAN มีข้อมูลและภาพออกมาว่ากองทัพเรือพม่าได้จัดหา Camcopter S-100 UAV มาใช้งานก่อนหน้าแล้ว
ซึ่งก็เช่นเดียวกับ UGV ขนาดเล็กแบบ Nerva จากบริษัท Nexter Robotics ฝรั่งเศสที่มีรายงานว่ากองทัพบกพม่าจัดหา ๕๐ระบบ(https://aagth1.blogspot.com/2014/06/ugv-nerva.html)
อย่างไรก็ตามเนื่องจากประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อกลุ่มชาติพันธุ์ของกองทัพพม่า ทำให้สหประชาชาติและสหภาพยุโรปเรียกร้องให้มีการสอบสวนการขายระบบ UAV และ UGV เหล่านี้แก่พม่าครับ
เรือขนาด 5-7 พันตัน ยาว 120-140 เมตร แบบเมาะตะมะนี่ทำได้ครับ
มีสามเจ้าครับ.....คือ ตอนนี้หากินทางซ่อมมากกว่าสร้าง ทั้งสามเจ้าไม่ได้พัฒนาแบบของตัวเอง
1. เอเชียน มารีน เซอร์วิส (มีผลงานใหญ่สุด เรือสินค้าตู้คอนเทนเนอร์ ประมาณ 115 เมตร ผลงาน LST และเรือปืนทาโคม่า)
2. อิตัลไทย มารีน (มีผลงานใหญ่สุด ประมาณ 90 กว่าเมตร ตอนนี้งานน้อย ผลงานเรือปืนทาโคมม่า และ LST)
3. ยูนิไทย (มีผลงานมาแล้ว 65 เมตร ผลงาน เรือพฤหัส ลำเดียว นอกนั้นซ่อมระดับ 200-300 เมตร ตอนนี้งานน้อย)
ดูจากเวบและกูลเกิลเอิธร์จะเห็นชัดครับ ว่าอู่เหล่านี้เล็กลงทุกปี และจะสูญพันธ์ ไปในอานาคตข้างหน้าครับ
อย่าเข้าใจว่าเรือ LPD สร้างยากกว่าเรือทั่วไปนะครับ มันไม่ใช่ประเดน ครับ เรือที่มีอู่เรือใต้ท้องสร้างเหมือนเรือปกติครับ
ถ้าเราไม่มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการผลิต ไม่มีพื้นฐานอะไรเลย มันยากไปหมดละครับ ....
โปรดไว้วางใจผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์...ครับ
พม่าก็มีศักยภาพที่จะสร้างเรือเมาะตะมะเองได้นะครับ... ดูจากภาพอู่เรือ และอุปกรณ์ทั้งหมดแล้วทำได้แน่ ครับ
เหนือกว่า "บรอนสตีท" ของมาเลมากเลยครับ ...(อู่นี้ เริ่มต้นก็นับ 10 เลย ไม่สนใจที่นับหนึ่งก่อน จะต้องกล้าแบบนี้ ครับ จะมีปัญหาอะไร ในที่สุดก็แก้ไขได้หมด ครับ ยกเว้นเรื่องเงินเท่านั้น)
แต่จะสร้างเองลำแรกเลย เกาหลีคงไม่ยอม เพราะช่วงนี้ใครๆ ก็รู้ว่างานเป็นยังไง...
ไม่เหมือนช่วงเปรูสร้าง ช่วงนั้นงานอู่ต้นตำรับเค้าเต็มมือจริงๆ ... (แต่คงมีชดเชย ค่าแบบและเทคโน สูงด้วยละนะ)
ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นกับ ปัจจัยอะไรหลายอย่าง และที่สำคัญคือการต่อลอง ครับ
อย่าลืมซิ ครับท่านบอย.... LPD จีนนะมันเป็นเรือพิฆาต นะครับ มันไม่ใช่เรือธรรมดานะ 55555 ที่ว่าอย่านั้นก็คือ
1. มันมีเวอร์ติเคิล คานิสเตอร์ ไงท่าน
2. มันทำความเร็วได้มากกว่า 30 kt นะ
3. มันติดจรวด DTI 1 G ได้นะ 55555 (อันนี้ผมเพิ่มให้เอง)
สรุป แล้วมันเข้าข่าย เป็นอาวุธเชิงยุทธศาสนา (ยุทธศาสตร์) นะครับ
แล้วถ้ามันเป็นเหล็กเกรดเดี่ยวกับที่ใช้ต่อเรือฟรีเกต ละท่าน....
ดูถูกความคิดอ่านกันไม่ได้นะครับ 55555 (กรุณาอย่าคิดว่าเป็นเรื่องจริงนะ ครับ)
สำหรับผมแล้ว ผมไม่อยากได้หรอกครับ LPD จีนนี่... แต่ผมอยากให้เป็น LPH จีน...ไปเลยดีกว่า ครับ...
หรือไม่ก็เอา LPH อีกซักลำเลยแล้วกันครับ (ไม่ได้ยุส่งเดช นะ ครับ มันมีเหตุผลเชิงยุทธศาสตร์อยู่ ครับ)
เพราะมันสามารถจะทำให้เราจัดกองกำลัง ได้หลากหลายภาระละกิจมากขึ้น กว่าการใช้เรือที่บรรทุก "ฮอ" ได้น้อยๆ ครับ
หากเราจัดภาระกิจปราบเรือดำน้ำนี่ แค่เอา LPH พร้อม"ฮอ"ปราบเรือดำน้ำไปวางกำลังกลางอ่าวไทย(ห่างจากฝั่งซัก 350 กิโล) จอดเฉยๆ ติดเครื่องปั่นไฟฟ้า แค่ 50% ใช้โซ่น่าเฝ้าระวัง สามารถดำรงภาระกิจในพื้นที่เป้าหมายได้เป็นเดือนๆ ติดต่อกันเลยครับ (แบบนี้เบี้ยเลี้ยงเพียบ)
แน่นอนต้องมีระบบต่อสู้อากาศยานที่พึ่งตนเองได้ และมีเรือคุ้มกันแต่ ไม่ได้ใช้เรือมาก และมีเรือสับเปลี่ยนกันได้ตลอด
ประสิทธิภาพในการค้นหาและโจมตีเรือดำน้ำนี้เพิ่มขึ้นเป็น 10-15 เท่า เลยนะครับ เพราะไม่ต้องใช้หมู่เรือฟรีเกตหรือ LPD หลายลำ และไม่ต้องให้ "ฮอ" บินกลับไปกลับมายังฝั่งด้วย แน่นอนพอตกกลางคืน(เที่ยงคืน) มันต้องเปลี่ยนจุดจอดใหม่ห่างจากที่เดิมไปอีก 30-50 กิโล ทุก 3-7 วัน ต้องเปลี่ยนที่จอดครั้ง (ตื่นเช้ามา มันอาจจะไม่ได้อยู่ที่เก่าแล้วครับ)
ประหยัดทั้งน้ำมันเครื่องบิน และน้ำมันเรือ แต่ได้ประสิทธิภาพแท้จริง เพราะทั้งเรือเครื่องบินมันจอดเตรียมพร้อมรบ 100% จริงๆ (100% Really ๆ)
(หมายเหตุ "ฮอ" ไม่เหมาะที่จะใช้งานในเวลากลางคืนนะครับ เน้นทำภาระกิจกลางวัน หรือในคืนเดือนหงาย ครับ)