จัดซื้อ ยานขับเคลื่อนใต้น้ำ จำนวน 1 เครื่อง
http://www.supplyonline.navy.mi.th/pdf4/37824.pdf
http://www.supplyonline.navy.mi.th/pdf2/37824.pdf
https://aagth1.blogspot.com/2019/08/eod.html
ประกาศของศูนย์ข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างและราคากลางกองทัพเรือ กรมสรรพาวุธทหารเรือ มีความประสงค์จะจัดซื้อยานขับเคลื่อนใต้น้ำ จำนวน ๑เครื่อง สำหรับกองประดาน้ำและถอดทำลายอมภัณฑ์ ภายในวงเงิน ๑๒,๙๙๐๐,๐๐๐บาท($420,298)
ตามเอกสารกำหนดร่างขอบเขตของงาน มีการระบุคุณสมบัติว่า ยานขับเคลื่อนใต้น้ำนี้ต้องสามารถนำพานักประดาน้ำพร้อมอุปกรณ์ประกอบได้ไม่มากกว่า ๒ นาย (ผู้ขับยาน ๑ นาย และผู้ติดตาม ๑ นาย) และสามารถใช้งานร่วมกับท่อ Torpedo ของเรือดำน้ำที่มีมาตรฐาน NATO
แหล่งที่มาของราคากลาง(ราคาอ้างอิง) มีสามบริษัท แต่ยังไม่ทราบข้อมูลว่ายานขับเคลื่อนใต้น้ำที่มีการเสนอมีแบบอะไรบาง แต่ถ้าเข้าใจไม่ผิด กปถ.สพ.ทร.จะมีหน้าที่รับผิดชอบหนึ่งคือทดสอบและศึกษาระบบอุปกรณ์ดำน้ำที่กองทัพเรือจัดหาเป็นหน่วยงานแรก
ซึ่งในกรณีการจัดหายานขับเคลื่อนใต้น้ำสำหรับนักประดาน้ำ ๒นายที่ปล่อยจากเรือดำน้ำได้นั้น ไม่แน่ใจว่าจะถูกนำมาใช้กับเรือดำน้ำแบบ S26T ที่จะจัดหาจากจีนในอนาคตหรือไม่ เพราะเรือดำน้ำจีนใช้ท่อ Torpedo ขนาด 533mm ก็จริงแต่คงไม่ใช่มาตรฐาน NATO ครับ
แปลกใจตรงที่เราใช้เรือ S26T จากจีน แต่จัดหายานใต้น้ำปล่อยจากเรือดำน้ำที่ใช้ตอร์ปิโดมาตรฐานนาโต้ หรือว่าเรือดำนน้ำ S26T ท่อตอร์ปิโดเป็นมาตรฐานเดียวกับนาโต้ครับ
อุปกรณ์ชนิดนี้ จะใช้งานในลักษณะใดหรือครับ และจะใช้งานร่วมกับเรือดำน้ำในลักษณะสถานการณ์แบบใดครับ
Jane's เคยมีรายงานออกมาก่อนหน้านี้ครับว่าเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกองทัพเรือไทยได้ให้ข้อมูลในงานสัมมนาด้านความมั่นคงที่ต่างประเทศในเดือนมกราคม 2018 ว่า
เรือดำน้ำแบบ S26T จำนวน ๓ลำที่กองทัพเรือไทยจะจัดหาจากจีนจะมีคุณสมบัติการผสมผสานระบบอุปกรณ์ ระบบอำนวยการรบ และระบบอาวุธจากผู้ผลิตของจีนและตะวันตก
(https://aagth1.blogspot.com/2018/02/s26t.html)
อย่างไรก็ตามมีผู้ให้ข้อสังเกตว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ที่เรือดำน้ำจีนจะใช้ระบบผสมระหว่างตะวันตกกับจีนเหมือนเรือฟริเกตชุด ร.ล.นเรศวรได้
เรือดำน้ำ S26T ของไทยจึงน่าจะใช้ระบบจีนล้วน แต่ปรับรูปแบบการวางอุปกรณ์และพื้นที่ภายในแบบเรือดำน้ำตะวันตกมากกว่า
รวมถึง Link ที่มาต้นทางของ Jane's ก็หมดอายุไปแล้วด้วยครับ
คำว่า 'ยานขับเคลื่อนใต้น้ำ' นั้นเข้าใจว่าน่าจะอ้างอิงมาจากภาษาอังกฤษคือ Underwater Propulsion Vehicle ครับ ซึ่งระบบลักษณะนี้ก็ไม่ใช่ของใหม่สำหรับกองทัพเรือไทยแต่อย่างใด
อย่างกองประดาน้ำและถอดทำลายอมภัณฑ์ สพ.ทร.ก็เห็นมียานขับเคลื่อนใต้น้ำขนาดเล็กสำหรับนักประดาน้ำ ๑นายใช้สองมือจับถือใต้น้ำเพื่อช่วยในการเคลื่อนที่ขณะดำน้ำ
หรือเก่ากว่านั้น หน่วยบัญชาสงครามพิเศษทางเรือ นสร.ก็เห็นมียานขับเคลื่อนใต้น้ำแบบมีนักประดาน้ำนั่งบังคับใต้น้ำ ๒นาย ที่ปลดประจำการแล้วมาจอดตั้งแสดงในพื้นที่ทหารเรือเหมือนปืนใหญ่กับ ปตอ.เก่า
การกำหนดคุณสมบัติของโครงการจัดหายานขับเคลื่อนใต้น้ำ จำนวน ๑เครื่อง ให้เป็นแบบที่สามารถใช้กับท่อ Torpedo ของเรือดำน้ำ จึงเป็นเรื่องน่าสนใจมากครับ
เพราะค่อนข้างจะชัดเจนว่าระบบยานขับเคลื่อนใต้น้ำแบบนี้น่าจะถูกใช้ในการขนส่งหน่วยปฏิบัติการพิเศษใต้น้ำลักษณะเดียวกับยาน SDV(Swimmer Delivery Vehicle or SEAL Delivery Vehicle)
ซึ่ง กปถ.สพ.ทร.ไม่ได้มีหน้าที่รับผิดชอบงานปฏิบัติการพิเศษโดยตรงเหมือน นสร.หรือกองพันลาดตระเวนนาวิกโยธิน แต่จะเป็นงานสนับสนุน เช่น กู้เรือที่จม ซ่อมทำตัวเรือใต้น้ำ สำรวจสาย cable ใต้น้ำ หรือถอดทำลายทุ่นระเบิด
ที่จัดหามา ๑ เครื่องไม่แน่ว่าจะจัดหามาเพียงทดลองศึกษาการใช้งานหรือไม่ เพราะ กปถ.สพ.ทร.ก็ได้ถูกเพิ่มภารกิจในการศึกษาการปฏิบัติงานใต้น้ำกับเรือดำน้ำ S26T ที่จะจัดหาในอนาคต เช่น การกู้ภัยเรือดำน้ำ
ก็ไม่แน่ใจว่ายานขับเคลื่อนใต้น้ำที่จะคัดเลือกแบบจากสามบริษัทนั้น สามารถผลิตในไทยเองได้หรือต้องจัดหาจากต่างประเทศ แต่แบบที่ใช้ยิงออกจากท่อ Torpedo ได้น่าจะมีหน้าตาประมาณที่วาดรูปมานี้ครับ
ของคุณครับ
คืองี้ครับพี่ ผมพอขึกภาพออกว่า ยานขับเคลื่อนใต้น้ำเป็นอย่างไรแล้วครับ แล้วก็พอนึกภาพออกด้วยว่า สำหรับนักถอดทำลายอมภัณฑ์ใต้น้ำ จะต้องใช้อุปกรณ์นี้อย่างไร ซึ่งก็น่าจะเป็นการช่วยผ่อนแรงนักดำน้ำ เพราะการดำน้ำไปถอดระเบิด คงต้องมีอุปกรณ์ไปด้วยไม่ใช่ดำตัวเปล่า อุปกรณ์นี้ก็คงมีน้ำหนักพอควร ถ้าให้นักดำน้ำแบกแล้วว่ายน้ำพาอุปกรณ์ไปเอง เขาก็คงทำได้แหละครับ แต่เหนื่อยมาก อาจส่งผลให้การปฏิบัติงานไม่มีประสิทธิภาพด้วย การมียานช่วยย่อมดีกว่า
แต่ทำไมยานชนิดนี้ ต้องปล่อยออกทางท่อยิงตอร์ปิโดของเรือดำน้ำได้ด้วยหละครับ
อ่ะ ขออภัยครับ สิ่งที่ผมสงสัย พี่ AAG_th1 ได้อธิบายไว้อยู่ในกระทู้ด้านบนแล้ว
ใน Youtube หา Clip ยานขับเคลื่อนใต้น้ำ SDV แบบที่เป็น Torpedo tube launch ขณะปฏิบัติการจริงยังไม่เจอ
เห็นแต่จะมียาน SDV ของ US Navy SEAL ที่มีขนาดใหญ่นักประดาน้ำนั่งได้หลายคน และปล่อยออกจาก Dry Dock Shelter(DDS) บนเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ ซึ่งขนาดค่อนข้างจะใหญ่เกินไปสำหรับเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าครับ
ก็ไม่ทราบว่าตอนนี้จีนมีการพัฒนาห้องอู่แห้งเสริม DDS ลักษณะเดียวกันนี้กับเรือดำน้ำนิวเคลียร์ของตนหรือยัง
แต่ถึงจีนจะมีระบบแบบนี้ก็ไม่น่าจะขายให้ไทย และไม่น่าจะติดกับเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าชั้น Type 039A/B หรือ S26T ได้ครับ