https://aagth1.blogspot.com/2019/04/nagapasa-3.html
วันที่ ๑๑ เมษายน ที่ผ่านมา รัฐวิสาหกิจอู่ต่อเรือ PT PAL อินโดนีเซียได้ทำพิธีปล่อยเรือดำน้ำชั้น Nagapasa ลำที่สาม KRI Alugoro ซึ่งเป็นเรือดำน้ำลำแรกที่ประกอบภายในประเทศ
โดยเป็นส่วนหนึ่งการถ่ายทอด Technology ในโครงการจัดหาเรือดำน้ำจำนวน ๓ลำในปี 2011 กับอู่เรือบริษัท DSME สาธารณรัฐเกาหลี ที่มีการส่งมอบเรือเข้าประจำการในกองทัพเรืออินโดนีเซียแล้ว ๒ลำ
และในวันที่ ๑๒ เมษายน หนึ่งวันให้หลังพิธีปล่อยเรือลงน้ำ DSME เกาหลีใต้ได้รับการลงนามสัญญากับตัวแทนจากรัฐบาลเกาหลีใต้และรัฐบาลอินโดนีเซียเพื่อจัดหาเรือดำน้ำชั้น Nagapasa เพิ่มอีก ๓ลำ
สัญญาการจัดหาเรือดำน้ำล่าสุดนี้ทาง PT PAL อินโดนีเซียจะมีการสร้างส่วนตัวเรือสองส่วนจากหกส่วนสำหรับเรือลำที่สี่, สี่ส่วนจากหกส่วนสำหรับเรือลำที่ห้า ที่จะขนย้ายไปประกอบที่เกาหลีใต้
และเรือลำที่หกจะสร้างส่วนตัวเรือทั้งหกส่วนประกอบในอินโดนีเซียทั้งหมด โดยคาดว่าหลังปี 2026 กองทัพเรืออินโดนีเซียจะมีเรือดำน้ำที่มีพื้นฐานจากเรือ Type 209 เยอรมนีเหมือนกันทั้งสองชั้นรวมทั้งหมด ๘ลำครับ
เดิมกองทัพเรืออินโดนีเซียมีความต้องการที่จะมีเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้าประจำการรวมทั้งหมด ๑๒ลำภายในปี 2024 แต่ได้มีการลดจำนวนความต้องการเหลืองเพียง ๘ลำ
หลังจากได้มีการศึกษาเรือดำน้ำหลายแบบจากหลายประเทศ กองทัพเรืออินโดนีเซียได้ตัดสินใจจะมีเรือดำน้ำที่เป็นแบบพื้นฐานรวมกัน (Common Fleet) คือแบบเรือ Type 209 ประจำการโดยไม่มีการจัดหาเรือแบบอื่น
ปัจจุบันกองทัพเรืออินโดนีเซียเรือดำน้ำชั้น Cakra(Type 209/1300) จากเยอรมนี ๒ลำคือ KRI Cakra 401 และ KRI Nanggala 402 ที่เข้าประจำการมาตั้งแต่ปี 1981
และเรือดำน้ำชั้น Nagapasa(Type 209/1400) จากเกาหลีใต้ชุดแรก ๓ลำ KRI Nagapasa 403, KRI Ardadedali 404 และ KRI Alugoro 405 เมื่อรวมกับชุดที่สองอีก ๓ลำก็จะมีเรือดำน้ำครบ ๘ลำครับ
นั่นทำให้ในภูมิภาค ASEAN ในฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกที่ติดกับอ่าวไทยมีกองทัพเรือประเทศต่างๆที่มีเรือดำน้ำประจำการแล้วถึง ๔ประเทศ
คือกองทัพเรือสิงคโปร์ภายในปี 2024 จะมีเรือดำน้ำชั้น Invincible(Type 218SG) เยอรมนี ๔ลำ(https://aagth1.blogspot.com/2019/02/tkms-type-218sg-rss-invincible.html)
กองทัพเรือมาเลเซียมีเรือดำน้ำแบบ Scorpene ฝรั่งเศส ๒ลำคือ KD Tunku Abdul Rahman และ KD Tun Abdul Razak และมีแผนจะจัดหาอีก ๒ลำในอนาคต(https://aagth1.blogspot.com/2018/03/34-2040.html)
กองทัพเรือประชาชนเวียดนามมีเรือดำน้ำชั้น Project 636M Improved Kilo รัสเซีย ๖ลำ(https://aagth1.blogspot.com/2017/01/5-5-kilo-6.html) และกองทัพเรืออินโดนีเซีย ๘ลำในข้างต้นครับ
ส่วนกองทัพเรือไทยสั่งจัดหาเรือดำน้ำแบบ S26T จากจีน ๑ลำจากความต้องการ ๓ลำ ซึ่งมีการทำพิธีตัดเหล็กไปแล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2018/09/s26t.html)
และมีการจัดคณะกรรมการติดตามความก้าวหน้าโครงการจัดหาเรือดำน้ำอย่างต่อเนื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2018/11/s26t.html)
อย่างไรก็ตามเป็นที่เข้าใจว่ากองทัพเรือไทยจะยังไม่มการลงนามสัญญาจัดหาเรือดำน้ำ S26T ลำที่๒ และลำที่๓ จนกว่าจะมีการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่หลังการเลือกตั้ง
ซึ่งมีแนวโน้มมากว่าจากการความไม่พอใจของประชาชนที่มีต่อกองทัพเรือในโครงการจัดหาเรือดำน้ำมาอย่างต่อเนื่อง จะมีความพยายามจากรัฐบาลพลเรือนชุดใหม่ในการยกเลิกโครงการครับ
ก็น่าหนักใจนะครับ คนที่ไม่เข้าใจ อย่างไรก็ไม่เข้าใจ ในบรรดาคนที่เข้าใจ ก็ยังมีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยกับการมีเรือ ส. รุ่นนี้ จากประเทศจีน และฝ่ายที่เห็นว่า ควรใช้เรือ ส. แบบอื่น จากประเทศอื่น
สำหรับเรือดำน้ำอินโดนีเซีย ผมไม่ได้มองเรื่องความทันสมัย แต่มองเรื่องความชัดเจนมากกว่าครับ คือชัดเจนในเรื่องจัดหา 3 ลำ ในระยะเวลากี่ปีโดยได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการต่อในประเทศ และกล้าประกาศแผนต่อเพิ่มเติมอีก 3 ลำทำให้เกิดความต่อเนื่องของอุตสาหกรรม
มาดูของไทย หากกล้าทำสัญญาไปเลยซื้อเรือดำน้ำ S26T 3 ลำ ทยอยจ่าย 11 ปี ต่อสำเร็จจากจีน แล้วบอกไปเลยว่าใจจริงต้องการเพิ่มกี่ลำ (สมมุติ 3 ลำ เป็นรุ่นใหม่ที่เล็กกว่าเดิม ผนังลำตัวชั้นเดียว) เพื่อนำมาประกอบในประเทศในระยะเวลาอีกกี่ปี วงเงินงบประมาณต่อปีกี่บาท ผมว่าจะช่วยได้เยอะทั้งในเรื่องอธิบายสังคม และการมีอุตสาหกรรมต่อเรือดำน้ำอย่างต่อเนื่อง คือเป้าต้องชัดเจนว่าจะทำอะไร อย่างไร เพื่ออะไรบ้าง แล้วสังคมได้ประโยชน์อะไรบ้าง
ปล. ผมให้ S26T 3 ลำเฝ้าอันดามัน และรุ่นใหม่ที่เล็กกว่าจำนวน 3 ลำเฝ้าอ่าวไทย
Turkey positions Type 209, 214 submarines for Indonesia’s third Nagapasa batch
https://www.janes.com/article/87975/turkey-positions-type-209-214-submarines-for-indonesia-s-third-nagapasa-batch
https://aagth1.blogspot.com/2019/04/type-209-type-214-nagapasa.html
แม้ว่าตามแผนการปรับปรุงความทันสมัยกองทัพอินโดนีเซีย ในชื่อกำลังรบจำเป็นขั้นต่ำ(MEF: Minimum Essential Force)
จะกำหนดให้กำลังกองเรือดำน้ำของกองทัพเรืออินโดนีเซียมีเรือดำน้ำ ๘ลำ โดยให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างกำลังเรือรบผิวน้ำ และเรือยกพลขึ้นบกเพิ่มเติม
แต่ในอนาคตหลังปี 2024 กองทัพเรืออินโดนีเซียยังมีความต้องการเรือดำน้ำที่ ๑๒ลำ ในการป้องกันประเทศที่เป็นหมู่เกาะขนาดกว้างใหญ่อยู่ นับเป็นประเทศที่มีเรือดำน้ำมากที่สุดใน ASEAN
สำหรับความต้องการเรือดำน้ำเพิ่มอีก ๔ลำของอินโดนีเซีย ตุรกีก็ได้เสนอเรือดำน้ำ Type 209 และ Type 214 ของตนที่ได้สิทธิบัตรจากเยอรมนีครับ