......................เนื่องด้วยปรากฎข้อความข่าวจากเว็บไซด์ AAG_th บันทึกประจำวัน ในวันที่วันนี้(14ก.พ.2562)ว่า.........ทร.สหรัฐได้ปลดประจำการบ.เอฟ/เอ-18C ออกจากการประจำการในปัจจุบันนี้ไปแล้ว(โดยที่ทร.สหรัฐได้นำ บ.เอฟ/เอ-18อี/เอฟ และบ.เอฟ-35มาประจำการแทน) ทำให้ทร.สหรัฐคงเหลือบ.เอฟ/เอ-18C นี้อยู่ในคลังสำรอง....ซึ่งแต่เดิมในอดีตทอ.ไทยเคยมีความประสงค์จะจัดหาบ.รุ่นนี้มาประจำการจากสหรัฐ แต่เมื่อประมาณ ปลายปีพ.ศ.2533 ไทยเราเกิดปัญหาการลดค่าเงินบาท ทำให้ขณะนั้นทอ.ไทยเราขาดเงินงบประมาณไปชำระให้แก่สหรัฐ.......ทอ.ไทยจึงจำเป็นต้องยกเลิกโครงการจัดหาบ.รุ่นนี้ไป และทอ.ไทยได้จัดหาบ.เอฟ-16 ADF มือสองจากสหรัฐ มาประจำการแทนในฝูงบิน 102 นั้น........ซึ่งบ.เอฟ/เอ-18C นั้นเป็นบ.มัลติโลใช้ทำภารกิจได้ทั้งขับไล่และโจมตี อีกทั้งยังสามารถติดตั้งอวป.AGM-84 ฮาร์พูน ของสหรัฐใช้ยิงโจมตีทำลายเรือรบได้ ประกอบกับบ.นี้ยังสามารถใช้ระบบอาวุธร่วมกับอาวุธอากาศสู่อากาศ และอากาศสู่พื้นที่ทอ.ไทยมีอยู่ได้ทั้งหมด .................กรณีดังว่านี้ ผมจึงอยากสอบถามความคิดเห็นกับเพื่อนๆในเว็บบอร์ดนี้ว่า.........สมมุติว่า หากปัจจุบันทอ.ไทยจะหวลคืนกลับไปขอจัดหาบ.เอฟ/เอ-18C มือสองดังกล่าวจากทร.สหรัฐที่ได้ปลดประจำการไปแล้วนี้ มาจำนวนหนึ่งในราคาถูกในราคามิตรภาพ (ซึ่งไทยเราเป็นพันธมิตรนอกนาโต้ของสหรัฐ ไทยเราจึงสามารถขอใช้สิทธินี้กับทางการสหรัฐได้).....และนำมาซ่อมคืนสภาพบ.นี้ให้เหมือนใหม่ แล้วนำมาประจำการในทอ.ไทยเรา อีกจำนวนประมาณ 1ฝูง ประมาณ 16-24ลำ เหมือนในกรณีแต่เดิมในอดีตที่ทอ.ไทยเราเคยจัดหาบ.เอฟ-16ADFมือสองมาประจำการนั้น ..........เพื่อนๆในเว็บบอร์ดนี้มีความคิดเห็นว่าอย่างไร..........................ครับ/สกายนาย
........................โดยสมรรรถนะเอฟ/เอ-18ซี เป็นแบบที่นั่งเดียว เป็นผลจากการพัฒนาปรับปรุงในปีพ.ศ. 2530 ที่รวมทั้งการพัฒนาเรดาร์ ระบบการบิน และความสามารถในการยิงอาวุธปล่อยอย่าง เอไอเอ็ม-120 แอมแรม และเอจีเอ็ม-65 มาเวอร์ริก และเอจีเอ็ม-84 ฮาร์พูน การพัฒนายังรวมทั้งระบบเก้าอี้ดีดตัวของมาร์ตินเบเกอร์และเครื่องป้องกันคลื่นรบกวน เรดาร์ภาคพื้นดินทำให้นักบินสามารถหาเป้าหมายในสภาพที่ยากลำบากได้
ข้อมูลและภาพนำมาจากจาก เว็บไซด์ AAG_th บันทึกประจำวัน https://aagth1.blogspot.com/
กลัวปัญหาเรื่องอายุการใช้งานครับ เพราะเครื่องรุ่นนี้ทาง ทร.สหรัฐผ่านการใช้งานมาอย่างหนักครับ ถ้าไม่เร่งด่วนจริงๆในกรณีฝูงที่จะมาทดแทน F-16 ฝูง 102 เอามือ 1 อาจจะเป็น F-16 V หรือ JAS-39 มาดูจะคุ้มค้ากว่าครับ
ถ้าสำหรับ ทอ. ผมว่า มี F-16 มือสอง ดีๆ ที่ดีกว่า ADF ของฝูง 102 เป็นตัวเลือกได้ดีกว่า F/A-18C/D ครับ
ถ้าจะมองสำหรับ F/A-18C/D ถ้าจะจัดลงเหล่า คงต้องพูดถึง ทร. มากกว่า ทอ.
และถ้า ทร. จะมี บ.ขับไล่ไอพ่น คงมีความหมายเดียว คือ การป้องกันภัยทางอากาศ ที่สามารถปล่อยอาวุธนำวิถี ต่อต้าน เรือผิวน้ำได้เท่านั้น
ซึ่ง F/A-18D อาจจะเป็นตัวเลือกสำหรับ ทร. ได้ ถ้าเที่ยบกับ ต้องการจัดหาร เรือรบผิวน้ำป้องกันภัยทางอากาศแท้ๆ สัก 1 ลำ
มี F/A-18D มือสอง สัก 8 ลำ อาจจะคุ้มค่ากว่า....ตัวอย่าง คือ ทอ.มาเลเซีย ครับ...
สำหรับ F/A-18 คงไม่ใช่ ตัวเลือกของ ทอ. แต่จะเป็น ตัวเลือกของ ทร.
ซึ่งถ้า ทอ. จะจัด F/A-18 มือสองมา...ตัวเลือก เช่า JAS-39C/D จาก สวีเดน จะดีกว่านะ ในความเห็นผม
Navy’s Last F-18 Hornet Squadron Sundowns Ahead of Transition to Super Hornet
https://news.usni.org/2019/02/04/navys-last-f-18-hornet-squadron-holds-sundown-ceremony-will-transition-to-super-hornet
https://aagth1.blogspot.com/2019/02/fa-18c-hornet.html
เครื่องบินขับไล่ F/A-18C/D Hornet นั้นเปิดตัวในปี 1987 และเริ่มส่งมอบให้กองทัพเรือสหรัฐฯเข้าประจำครั้งแรกในปี 1989
เป็นการพัฒนาขีดความสามารถเพิ่มเติมจากรุ่น F/A-18A/B ที่เครื่องต้นแบบเปิดตัวในปี 1978 และเริ่มวางกำลังเข้าประจำการในกองทัพเรือสหรัฐฯในปี 1983
สายการผลิตเครื่องบินขับไล่ F/A-18 Hornet รุ่นดั้งเดิมนั้นสิ้นสุดลงในปี 2000 โดย F/A-18C เครื่องสุดท้ายถูกส่งมอบให้กองทัพอากาศฟินแลนด์ในเดือนสิงหาคมปี 2000
และ F/A-18D เครื่องสุดท้าย(เข้าใจว่าเดิมคือเครื่องของกองทัพอากาศไทย) ถูกส่งมอบให้นาวิกโยธินสหรัฐฯในเดือนสิงหาคมปี 2000 เช่นกัน
Insignia of the U.S. Navy Strike Fighter Squadron 34 (VFA-34) "Blue Balsters" (wikipedia.org)
ฝูงบินขับไล่โจมตี VFA-34 เป็นฝูงบินปฏิบัติการฝูงสุดท้ายของ F/A-18C ซึ่งเข้าประจำการในฝูงบินตั้งแต่ปี 1996
โดยฝูงบิน VFA-34 วางกำลังปฏิบัติการครั้งสุดท้ายบนเรือบรรทุกเครื่องบิน CVN-70 USS Carl Vinson ในปี 2018
หลังพิธีอำลา F/A-18C ที่มีการบินหมู่ครั้งสุดท้ายเมื่อ ๑ กุมภาพันธ์ 2019 ที่ผ่านมา ฝูงบิน VFA-34 จะเปลี่ยนแบบไปใช้เครื่องบินขับไล่ F/A-18E Super Hornet
ทั้งนี้กองทัพเรือสหรัฐฯจะยังคงใช้ F/A-18C เป็นเครื่องข้าศึกสมมุติในฝูงบิน Aggressor อยู่ ส่วนนาวิกโยธินสหรัฐฯจะใช้ F/A-18C/D ไปจนถึงปี 2030s
เนื่องจากความล่าช้าของการนำเครื่องบินขับไล่ F-35B เข้าประจำการทดแทนทั้งเครื่องบินโจมตี AV-8B Harrier II+ และเครื่องบินขับไล่ F/A-18C/D
ทำให้นาวิกโยธินสหรัฐฯจะประจำการ AV-8B+ ไปจนถึงปี 2026(https://aagth1.blogspot.com/2018/12/hmcs-av-8b-harrier-ii.html)
ส่วน F/A-18C/D จะได้รับการยืดอายุการใช้งาน SLEP และปรับปรุงติดตั้ง AN/APG-79(V)4 AESA radar แทน AN/APG-73 radar เดิม
ซึ่งโครงสร้างของเครื่อง Hornet เดิมมีอายุการใช้งานที่ ๖,๐๐๐ชั่วโมงบิน ต่อมายืดอายุเป็น ๘,๐๐๐ชั่วโมงบิน และจะยืดอายุได้สูงสุด ๙,๐๐๐-๑๐,๐๐๐ชั่วโมงบินตามแผน SLEP
แต่ก็ตามบทความที่ได้ลงในข้างต้นครับ ที่นักบินเครื่อง Hornet ฝูงบิน VFA-34 ได้พูด 'ชมเชย' กองทัพเรือสหรัฐฯถึงสารพัดปัญหาในด้านต่างๆ
สภาพ F/A-18C/D กองทัพเรือสหรัฐฯที่ปลดไปจะโทรมมากเพราะผ่านการใช้งานบนดาดฟ้าเรือบรรทุกเครื่องบินอย่างหนักมาตลอด
ถ้าเทียบกับเครื่องบินขับไล่ F/A-18A/B กองทัพอากาศออสเตรเลียรุ่นเก่ากว่าซึ่งใช้งานจากสนามบินบนบก ที่จะขายต่อให้กองทัพอากาศแคนาดาเพื่อคั่นระยะชั่วคราวแทนเครื่องบินขับไล่ CF-18A/B (https://aagth1.blogspot.com/2019/01/fa-18ab.html)
การส่งออก F/A-18C/D มือสองที่เคยประจำการในกองทัพเรือสหรัฐฯให้ต่างประเทศไม่น่าจะใช้แนวคิดที่เหมาะสมนัก ถ้ามองจากสภาพโครงสร้างอากาศยานที่ทรุดโทรมมาก
โครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ที่น่าจะมีขึ้นในอนาคตอันใกล้ของกองทัพอากาศไทย คือการทดแทนเครื่องบินขับไล่ F-16A/B ADF ฝูงบิน๑๐๒ ที่เข้าประจำการในปี ๒๕๔๕
อย่างที่ทราบว่า F-16A ADF ฝูงบิน๑๐๒ เดิมเป็นเครื่องที่ผ่านการใช้งานในกองทัพอากาศสหรัฐฯมาก่อนและผ่านการปรับปรุงโครงสร้างมาแล้วจึงน่าจะเริ่มพิจารณาการปลดในราวปี ๒๕๖๕ ที่จะถึงนี้
แต่อย่างไรก็ตามด้วยข้อจำกัดด้านงบประมาณในปัจจุบัน กองทัพอากาศไทยน่าจะยืดอายุการใช้งาน F-16 ADF ต่อไปอีกสักระยะ
รวมถึงกองทัพเรือไทยที่ไม่น่าจะมีแนวคิดกลับมามีเครื่องบินโจมตีไอพ่นของตนเองแล้วเพราะมีค่าใช้จ่ายสูงมาก
ตามความเห็นส่วนตัวมองว่าในภาพรวมแล้วอีก ๑๐ปีข้างหน้ากองทัพอากาศไทยกับกองทัพเรือไทยอาจจะไม่น่าสามารถตั้งโครงการจัดหาเครื่องบินรบไอพ่นแบบใหม่ได้แล้ว
เพราะฉะนั้นก็ต้องพยายามใช้งานอากาศยานรบที่มีอยู่เดิมให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และใช้งานได้คุ้มค่าให้นานที่สุดครับ
(wikipedia.org)
ที่จริงสหรัฐฯเองก็เคยส่งออกเครื่องบินขับไล่ F/A-18 Hornet ที่เป็นเครื่องส่วนเกินของกองทัพเรือสหรัฐฯมาก่อนแล้วครับ
โดยในช่วงปี 1995-1998 สหรัฐฯได้ขายเครื่องบินขับไล่ F/A-18A ที่เคยประจำการในกองทัพเรือสหรัฐฯ ๒๔เครื่องให้กองทัพอากาศสเปน และต่อมาปรับปรุงความทันสมัยเป็นมาตรฐาน EF-18A+
แต่อย่างไรก็ตามในช่วงนั้น F/A-18A มือสองที่สเปนซื้อไปมีอายุการใช้เฉลี่ยแค่ ๑๒-๑๕ปี เท่านั้น แต่ปัจจุบัน F/A-18C ที่กองทัพเรือสหรัฐฯปลดไปมีอายุการใช้งานไม่ต่ำกว่า ๒๕-๓๐ปีครับ
F/A-18 ฝูงนี้ของกองทัพเรือสหรัฐที่ปลดมันใช้งานมาหนักหน่วงเกรงว่าเอามาจะไม่คุ้มค่าครับ
เครื่องบินขับไล่ EF-18A/B Hornet ของกองทัพอากาศสเปนนั้นมีแผนที่จะปลดประจำการตั้งแต่ปี 2035 เป็นต้นไป
โดยล่าสุดสเปนได้ประกาศเข้าร่วมโครงการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ยุคหน้า NGF FCAS ร่วมกับฝรั่งเศสและเยอรมนี(https://aagth1.blogspot.com/2019/02/fcas_16.html)
นั่นทำให้ EF-18A/B ของสเปนที่ได้รับมอบในช่วงปี 1985-1990 และเครื่องมือสองที่จัดหาในปี 1995-1998 จะมีอายุการใช้งานก่อนปลดในช่วงปี 2035-2040 ถึง ๕๐ปีเลยที่เดียว
โดยสเปนใช้งานเครื่อง F/A-18 Hornet บนฐานทัพอากาศบนบกเป็นหลัก เช่นเดียวกับ ออสเตรเลีย แคนาดา คูเวต สวิตเซอร์แลนด์ ฟินแลนด์ และมาเลเซียครับ
PICTURES: Canada’s first F/A-18 Hornets arrive from Australia
https://www.flightglobal.com/news/articles/pictures-canadas-first-fa-18-hornets-arrive-from-455915/
https://aagth1.blogspot.com/2019/02/fa-18a.html
กองทัพอากาศแคนาดาได้รับมอบเครื่องบินขับไล่ F/A-18A Hornet สองเครื่องแรกที่เคยประจำการในกองทัพอากาศออสเตรเลีย
โดยเป็นส่วนหนึ่งของการจัดหา ๑๘เครื่องเพื่อเป็นเครื่องคั่นระยะชั่วคราวก่อนที่แคนาดาจะเลือกเครื่องบินขับไล่แบบใหม่ทดแทน(https://aagth1.blogspot.com/2018/11/cf-18.html)
F/A-18A/B ออสเตรเลียนั้นเป็นเครื่องรุ่นเดียวกับเครื่องบินขับไล่ CF-18A/B แคนาดา ซึ่งเครื่อง Hornet ออสเตรเลียจะได้รับการดัดแปลงเพิ่มเติมให้เป็นมาตรฐานเดียวกับ CF-18 แคนาดาครับ
มากแบบเกินไปมันจะไม่ครบฝูงสักทีครับ ดูแนวทางในอดีตของ F16 F5 เวลามีครบฝูงถึงตัวเล็กแต่มันข่มขวัญทางจิตวิทยาดีนะผมว่าเวลาเกาะกลุ่มกันเต็มๆออกปฏิบัติการ