Indian Ocean. Present Day.
https://www.facebook.com/navy24hour/posts/2320923364586934
เรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Wasp ชื่อ LHD-2 USS Essex ได้เข้าเยี่ยมเมืองท่าที่ภูเก็ต ประเทศไทย โดยเป็นการเยือนเพื่อพักผ่อน ไม่ได้มาเข้าร่วมการฝึก Cobra Gold 2019 ที่จะมีขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์นี้
ทั้งนี้ USS Essex ได้มีการวางกำลังเครื่องบินขับไล่ F-35B ฝูงบิน VMFA-211 นาวิกโยธินสหรัฐฯบนเรือด้วย ซึ่งเป็นครั้งแรกที่สหรัฐฯนำเครื่องบินขับไล่ F-35 มาเยือนประเทศไทย
ตามภาพในข้างต้นก็จะเห็นตัวแทนเจ้าหน้าที่จากกองทัพเรือไทยและกองทัพอากาศไทยมาเยี่ยมชม F-35B บนเรือ LHD USS Esssex
ในกรณีของเรือบรรทุกเครื่องบิน ร.ล.จักรีนฤเบศร กองทัพเรือไทยนั้น คุณสมบัติของตัวเรือเองสามารถรองรับการลงจอดของ ฮ.ล.๔๗ CH-47 Chinook ที่มีน้ำหนัก 50,000lbs(22,680kg) ที่สถานีลงจอดที่สี่ท้ายเรือได้
จึงมีการวิเคราะห์ว่าสำหรับ F-35B ที่มีน้ำหนักบินขึ้นสูงสุดเมื่อบินขึ้นและลงจอดทางดิ่ง(VTOL) ที่ 40,500lbs(18,370kg) ก็ยังมีความเป็นได้ที่สามารถจะลงจอดและบินขึ้นจาก ร.ล.จักรีนฤเบศร ได้
(https://aagth1.blogspot.com/2019/01/f-35b-av-8b.html)
ซึ่งเรือ LHD ชั้น Wasp เดิมก็เข้าประจำการก่อนจะมีโครงการ JSF ก่อนหน้าก็ใช้ AV-8B Harrier II ก็ได้รับการปรับปรุงดาดฟ้าบินให้รองรับการปฏิบัติการกับ F-35B ได้โดยไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหลักของเรือ
แต่อย่างไรก็ตามสหรัฐฯคงไม่น่ามีการทดลองนำ F-35B ของตนมาลงจอดบน ร.ล.จักรีนฤเบศร และกองทัพเรือไทยคงไม่มีนโยบายที่จะจัดหา F-35B หรืออากาศยานปีกตรึงบินขึ้นระยะสั้นลงจอดทางดิ่งแบบใดๆด้วยครับ
การจำลองใน Simulator มีข้อดีตรงที่สามารถจำลองภาพสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นให้เห็นได้
โดยที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการเครื่องจริง และไม่เสี่ยงต่อการสูญเสียอากาศยานและชีวิตนักบินหากเกิดอุบัติเหตุขึ้น
แต่สำหรับบุคคลทั่วไปคงจะไม่ง่ายและบ่อยนักที่จะมีโอกาสเข้าถึงเครื่องฝึกจำลองการบินระดับที่ใช้ในการฝึกนักบินของกองทัพได้
ซึ่งนี่ก็รวมถึงการจะตั้งค่าปรับแต่งการจำลองสถานการณ์ต่างๆตามความต้องการส่วนบุคคลด้วย
ปัจจุบัน Simulation Software ที่จำลองการบินเครื่องบินขับไล่ตระกูล F-35 แบบสมจริง(Realistic)
ก็เห็นจะมี Prepar3D ที่เป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯผู้พัฒนา F-35 เอง (https://www.prepar3d.com)
โดยใน Prepar3D V4 Professional License ราคา $199 สำหรับบุคคลทั่วไปมีเครื่องบินขับไล่ F-35A, F-35B และ F-35B ให้สามารถฝึกการบังคับ
พร้อมภารกิจฝึกการลงจอดและบินขึ้นจากเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Wasp
และเนื่องจาก P3D มีพื้นฐานพัฒนาจาก Microsoft ESP ที่มีความเข้ากันได้กับ Microsoft Flight Simulator X
เราสามารถที่จะทำแบบจำลองสามมิติ 3D Model ที่ Export จาก 3DS MAX เข้ามาใน P3D ได้
(https://www.prepar3d.com/SDKv4/sdk/modeling/3ds_max/3ds_max_overview.html)
นั่นรวมถึงความเป็นไปที่จะสร้าง Model ร.ล.จักรีนฤเบศร ตามอัตราส่วนจริง Import เข้าไปในเกมเพื่อจำลองดูว่า F-35B จะลงจอดและบินขึ้นจากเรือได้หรือไม่ครับ
(ค่าใช้จ่ายราคา Software $199+$190ต่อเดือน =$389 ประมาณ ๑๒,๒๒๐บาท ไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่น
ซึ่งไม่ใช่แนวทางที่เหมาะสำหรับผู้ที่เขียน Code Programming และขึ้น 3D Model ไม่เป็น คือไม่มีประสบการณ์ในการพัฒนา Game มาก่อนเลย)
ก่อนที่จะมีการนำ F-35B มาลงจอดและบินขึ้นจริงบนเรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Queen Elizabeth ของกองทัพเรือสหราชอาณาจักร
(https://aagth1.blogspot.com/2018/09/f-35b-hms-queen-elizabeth.html)
ก็ได้มีการทดสอบการบินขึ้นและลงจอดบนเรือโดยการจำลองในระบบเครื่องฝึกจำลองการบินมาก่อน
ในกรณีที่ถ้ากองทัพเรือไทยตัดสินใจที่จะประเมินค่าความเป็นไปได้ในการนำ F-35B มาใช้กับ ร.ล.จักรีนฤเบศร จริงๆ
ก็จะต้องมีการทดสอบการจำลองสถานการณ์บนเครื่อง Simulator ก่อนเช่นกันอยู่ดีครับ
ใจจริงอยากเห็น F35B จอดบนเรื่อจักรีฯสักครั้งเหมือนกันครับ แต่ถ้าให้ดีกว่านั้น ไหนๆก็เป็นพันธมิตรนอกนาโต้ที่แนบแน่นแล้ว ก็ขอความช่วยเหลือทางทหารเป็น AV8B plus II ซัก 6 เครื่องมาซ้อมรบจอดบนเรือจักรีฯแล้วไม่ต้องขนกลับก็แล้วกันครับ ประมาณว่าใช้ต่อได้ 10-15 ปี แล้วปลดก่อนเรื่อจักรีฯ สัก 5 ปีจะไม่ว่าเลยครับ (ไม่ต้องปรับปรุงอะไรก็ได้ แค่ซ่อมบำรุงรักษาสภาพให้พร้อมใช้งาน)
อยากให้F35บินโชร์ Full stealth mode หน่อย แล้วอยากรู้ว่าเรดาร์ภาคพื้นและบนเรือเราจะตรวจจับได้ที่ระยะไหน หรือตรวจจับไม่ได้เลย
งืม มันก็จริงแหละท่าน ของพวกนี้เป็นทรัพย์สินของทางราชการที่มีราคาแพง ถ้าเสียหายไปก็ต้องมีผู้รับผิดชอบ
แต่พี่ก็บอกว่า "ถ้าไม่อยู่ในรายการซ้อมรบอย่างเป็นทางการ ไม่สมควรลองของอย่างเด็ดขาด" อันนี้ก็แปลว่า เรื่องนี้หากผู้มีอำนาจของทั้งสองฝ่ายต้องตกลงยินยอมร่วมกัน รายการฝึกแบบนี้จึงจะเกิดขึ้นได้ อย่างนั้นสินะครับ
การ "ลองสักหน่อย" ของผมนี่ ก็คืออยากให้มีการกำหนดไว้ในตารางนั่นแหละครับ เมื่อไม่มีก็เลยเสียดายนิดหน่อย แต่คงเป็นอย่างที่พี่ว่าแหละ มันไม่คุ้ม เพราะ ทร. เราไม่มีโครงการจะซื้อ บ. ชนิดนี้ ในตอนนี้ ดังนั้น ต่อให้ลองทำแล้วได้ผลดี ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่ทำแล้วพลาด เสียตังบานเลย ผู้มีอำนาจทั้งสองฝ่ายเขาเลยไม่กำหนดให้มีการกระทำอย่างนี้กระมังครับ
น่าจะลองสักกะหน่อยอ่ะ
จากที่ได้อ่านความเห็นของนักบิน AV-8B Harrier II นาวิกโยธินสหรัฐฯ ที่เปลี่ยนแบบมาบิน F-35B ที่พูดคุยตามที่ต่างๆ
ความร้อนจากไอพ่นของ F-35B นั้นร้อนกว่า AV-8B อยู่แล้ว แต่ไม่ได้ร้อนมากแบบมีนัยสำคัญขนาดที่จะทำให้ดาดฟ้าบินของเรือทะลุได้ง่ายๆ
ในขณะที่ท่อไอพ่นจากเครื่องยนต์ Rolls-Royce Pegasus ของ บ.ตระกูล Harrier จะเป่าความร้อนออกมาตรงๆจากท่อแบบปรับมุมได้ทั้งสี่ท่อ
ทำให้ต้อง บ.Harrier ต้องมีการเติมน้ำกลั่นในตัวเครื่องเพื่อฉีดหล่อเย็น ย.ไม่ให้ทำงานล้มเหลว ซึ่งเป็นระบบที่ออกแบบมาตั้งแต่ยุคปี 1970s
แต่ระบบ Lift fan แบบ Rolls-Royce LiftSystem ของ F-35B มีความน่าเชื่อถือกว่ามาก
เพราะเป็นชุด ย.ใบพัดช่วยลอยตัวที่เป่าอากาศเย็นกว่า อากาศร้อนที่ออกจาก ย.Pratt & Whitney F135-PW-600 ทางด้านท้ายเครื่อง
อีกทั้งการเสริมความแข็งแรงของดาดฟ้าบินของเรือก็เป็นเรื่องที่สามารถทำได้ตามการซ่อมบำรุงตามวงรอบ
ทั้งเรือที่เดิมรองรับการใช้ Harrier เช่นเรือ LHD ชั้น Wasp ที่ทดสอบจนรองรับการปฏิบัติการ F-35B ไปแล้ว
และเรือที่เดิมรองรับแต่เฮลิคอปเตอร์ เช่น เรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Izumo ญี่ปุ่นในอนาคต
ซึ่งในการบินขึ้นลงเรือของ F-35B ในรูปแบบ STOVL ท่อไอพ่นจะไม่ได้เป่าลงพื้นดาดฟ้าเรือเป็นเวลานาน และไม่มีการใช้สันดาปท้ายด้วยครับ
ข่าวดีๆ มีมาให้ตลอด ผมก็ติดตามตลอด
เรื่องที่มีการพูดถึงบ่อยมากพอๆกับความเชื่อที่ว่า F-35B หนักและร้อนจนดาดฟ้า ร.ล.จักรีนฤเบศร ทะลุ
คือเรื่องที่เชื่อว่า Lift ยกอากาศยานของ ร.ล.จักรีนฤเบศร เล็กเกินไปที่จะนำ F-35B เข้าโรงเก็บอากาศยานในตัวเรือได้
ตามข้อมูลเปิดเผย Lift ของ ร.ล.จักรีนฤเบศร สามารถยกน้ำหนักได้สูงสุด 20tons ซึ่งเพียงพอที่ Lift จะยก F-35B ที่ไม่เติมเชื้อเพลิงและติดอาวุธที่หนัก 14.7tons ได้
โดยการเติมเชื้อเพลิงและติดตั้งอาวุธที่ดาดฟ้าเรือเป็นขั้นตอนปกติที่ทำบนดาดฟ้าบินของเรือบรรทุกเครื่องบิน
ด้านมิติขนาดของตัว Lift นั้นถ้าดูจากภาพลายเส้นของเรือ LHD L61 Juan Carlos I ของกองทัพเรือสเปนที่แสดงการจอด F-35B บน Lift ของเรือ
ซึ่งก็เช่นเดียวกับเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ R11 Principe de Asturias ที่ปลดไปแล้วที่รองรับการปฏิบัติการด้วย AV-8B Harrier II
มีข้อมูลว่า Lift ยกอากาศยานท้ายเรือของเรือ LHD Juan Carlos I นั้นขนาดเท่ากับเรือ Principe de Asturias ที่น่าจะเท่ากับของ ร.ล.จักรีนฤเบศร
ดังนั้นการนำ F-35B มาขึ้นลง Lift ก็จะนำมาจอดที่ Lift ตัวท้ายเรือโดยให้ส่วนท้ายของเครื่องยื่นออกไปนอกตัว Lift โดยฐานล้อยังวางบนพื้น Lift
ส่วนโรงเก็บอากาศยานภายในตัวเรือนั้นก็เช่นเดียวกันที่สูงพอจะรองรับ F-35B ได้ทั้งเรือ Juan Carlos I และ ร.ล.จักรีนฤเบศร ของไทยครับ
L61 Juan Carlos I with F-35B