..............ด้วยปรากฏข้อมูลจากเว็บไซค์ AAG_TH บันทึกประจำวัน ว่าญี่ปุ่นมีความต้องการจะขายเครื่องบินขับไล่ F-15 J ให้สหรัฐนำมาขายต่อชาติใน ASEAN นั้น ถ้าหากสหรัฐนำมาเสนอขายให้แก่ทอ.ไทย เพื่อทดแทนเครื่องขับไล่ F-16 ฝูง102 ที่ใกล้ปลดประจำการนั้น ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร.....................ครับ/สกายนาย
นำข้อมูลและภาพมาจากเว็บไซค์ AAG_TH บันทึกประจำวัน
ปล.ผมพยายามลดขนาดภาพที่โพส ให้มีขนาดเล็กลงกว่านี้ไม่ได้ ขอความกรุณาแอ็ดมินช่วยลดขนาดภาพให้เล็กลงให้เหมาะสมให้แก่ผมด้วย ขอบพระคุณครับ
F-15J
ผมว่าใครๆก็คิดออกว่า ถ้าเอา F15J รุ่นแรกเลยมาขายกันตรงๆ คงไม่มีใครเอาแน่ ผมจึงคิดใหม่ว่า ถ้าญี่ปุ่นแบ่ง F15J เป็น 3 กลุ่ม
กลุ่มแรกเก่าสุดจะปลดประจำการหลังมี F35 มาแทน
กลุ่มสอง กลางเก่ากลางใหม่ ขายคืนสหรัฐ
กลุ่มสามใหม่สุดปรับปรุงใช้ต่อไป
มาดูกลุ่มสองที่ขายคืนสหรัฐ สหรัฐต้องขายต่อให้มิตรประเทศแน่นอน (สมมุติว่าคือไทย) โดยตีราคาเครื่องเปล่า 5 ล้านเหรียญต่อลำ แล้วให้ไทยในโควต้าความช่วยเหลือทางทหาร (คิดว่าน่าจะมีให้ทุกปีอยู่แล้วแต่อาจไม่มาก) 80 ล้านเหรียญ (สมมุติเท่ากับจำนวนเงินช่วยเหลือ 2 ปี) แล้วไทยต้องออกค่าปรับปรุงเองทั้งหมด (สมมุติ 30 ล้านเหรียญต่อลำ) แบบนี้ win-win ทุกฝ่าย ญี่ปุ่นได้เงินพอซื้อ F35 ได้ประมาณ 1 ลำ สหรัฐได้เงินค่าปรับปรุง F15J 30ล้านเหรียญต่อลำ ไทยได้ฝูงบินครองอากาศที่ทันสมัยสมใจ 1 ฝูง
สมมตินะครับ สมมติ ถ้าเน้นภารกิจครองอากาศอย่างเดียว นำ F-15J มาแล้ว ให้อิสราเอล mod package เดียวกับ F-5 version ล่าสุด ได้หรือไม่ (FCS: EL-M/2032) ว่าแต่ โครงอากาศยานยังได้อยู่หรือเปล่า, US ยอมมั๊ย ที่สำคัญ เรามีงบมั๊ย
อีกคำถามนะ ดีล F-16 block 30 จากอิสราเอล ที่จะขายให้โครเอเชีย แต่ถูก US sanction ถ้าเปลี่ยน Croatia เป็น Thailand, US จะยอมมั๊ย ถ้าได้น่าก็น่าคิดนะ
ผมว่าญี่ปุ่น ไม่ได้จะปลด F-15J Kai นะครับ
แต่ที่น่าจะปลดคือเครื่องที่ไม่ได้อัพ Kai เพราะไม่คุ้มอัพต่างหาก (ญี่ปุ่นอัพไป58ลำ ไม่ถึง1/4ของF-15ที่มี และคงไม่ปลดตัวKaiก่อนตัวไม่Kai) เท่าที่ผมIDได้ตัวKaiเห็นมีของฝูงขับไล่ทางยุทธวิธีที่ 306
นั่นคือที่ผมบอกว่า อำนาจการรบอากาศสู่อากาศเผลอๆจะด้อยกว่าF-16ADFซะอีก เพราะไส้ในส่งตรงจากปลายยุค70มาเลย ยิงจรวดactive radar ไม่ได้ ไม่มี IFF ไหนจะด้อยกว่าบ.ใหม่ๆตรงไม่มี onboard ECM (ค่าอัพก็ไม่น่าใช่น้อย)
.................ขอต่ออีกนิด ถ้าหากมองไปทางด้านทิศตะวันออก เวียดนามก็มีทั้ง บ.SU-27 และSU-30 ...................ส่วนทิศใต้ มาเลยเซียก็มี บ.SU-30 และ F-18 ..................และทางทิศตะวันตก พม่ากำลังจัดหานำ บ.SU-30 มาเข้าประจำการ ......................ผมเห็นว่า ลำพัง บ.F-16 MLU และ บ.JASS-39 ที่ไทยมีอยู่ในปัจจุบัน ยังยากที่จะสกัดกั้นบ.ของประเทศเหล่านี้ให้อยู่มือ.......ฉะนั้น ถ้าหากทอ.ไทยจะจัดหาบ.มาแทน บ.ขับไล่และสกัดกั้น F-16 ADF ที่กำลังจะปลดประจำการนั้น ถ้าได้บ.ขับไล่และสกัดกั้นดีๆที่ใช้ระบบอาวุธร่วมกับบ.เก่าที่มีอยู่เดิม มาอีกสักหนึ่งฝูงก็คงจะดี...ถ้าไม่ได้มือหนึ่ง จะเป็นมือสองก็ได้....ส่วนค่าใช้จ่ายบ.ใหม่นี้ เมื่อเทียบกับพม่านั้น พม่ายังสามารถมีเงินจ่ายเป็นค่าน้ำมันและค่าบำรุงรักษาบ.SU-30 ได้แล้ว..ไทยเราคงไม่จนถึงขนาดไม่มีเงินเติมน้ำมันหรือจ่ายค่าบำรุงรักษาบ.นั้นได้.............ครับ/สกายนาย
เก่า,ตกรุ่น, อัพเกรดจะได้ขนาดไหน โครงสร้างอายุการใช้งานเหลือเท่าไหร่? ดูแล้วไม่คุ้มค่าครับ เปลืองงบเปล่าๆ ถ้ามีความจำเป็นที่ต้องใช้เครื่องครองอกาศบินได้นานก็มองไปที่เครื่องใหม่ๆจะดีกว่าครับ อย่าง F/A-18 E/F ก็น่าสนใจครับ หรือไม่ก็ F-16 V
ถึงลุงเขาจะแก่ แต่ก็เก๋าพอตัวนะคร้าบบบบ
F-15 ญี่ปุ่น มีการอัพเกรดอยู่ตลอดนะครับ มันไม่จัดเป็นอาวุธล้าสมัยแน่นอน ประเทศที่มีโอกาสซื้อไปใช้ ผมมองไปที่ สิงคโปร์ กับ ไทย ครับ ส่วนฟิลิปปินส์ คงต้องจัดการเคลียร์งบประมาณในการดูแลอาวุธใหม่ๆ อีกเยอะเลย กว่าจะลงตัว
สิงคโปร์จะซื้อมาทำไมละครับ มี F-15 SG ที่ทันสมัยกว่า F-15 J อยู่แล้วครับ ส่วนไทยหาของใหม่ๆมาใช้ดีกว่าครับ
.............ผมฟังคิดเห็นของทุกๆท่านก็เห็นคล้อยตาม ว่าไม่เอาดีกว่า.......แต่ครั้นมาฟังท่านกบ.ตอนต้นก็เห็นเหมือนว่า ท่านกบ.จะแทงหวย 3ตัวตรงๆตามๆนั้น.........แต่พอบทสรุปตอนท้ายของท่านกบ.แล้ว ว่าหวยอาจจะพลิก ก็อดจะเห็นคล้อยตามที่ท่านกบ.จะแทงหวยโต๊ด...ไม่ได้....เพราะฝีมือลิ้นสามนิ้วของUS ที่ชักแม่น้ำทั้งห้ามากล่อม ลดแลกแจกแถม ประกอบไทยไม่เคยจัดหาบ.รบจากรัสเซีย หรือจีนมาก่อน จึงเชื่อถือบ.จากตะวันตกออกจะมาก...........ประกอบกับ บ.มือสองเช่น เอฟ-16 เอดีเอฟ จากUS และบ.อัลฟ่าเจ็ต จากเยอรมัน ที่ไทยเคยได้จัดหามานั้น แม้เป็นบ.มือสองก็ตาม แต่จากประสพการณ์ที่ไทยเราเคยได้นำมาประจำการและใช้ทำภารกิจในอดีตที่ผ่านมา ก็ล้วนไม่เคยทำให้ไทยเราต้องผิดหวังแต่อย่างใดแล้ว ........หากข้อเสนอดีลเอฟ-15เจ นี้ มีข้อเสนอมาราคาถูกสุดๆ เหมือนกับ บ.อับฟ่าเจ๊ต หรือ บ.เอ-7 มีหรือไทยจะไม่ใจอ่อนเหมือนเป็นขี้ผึ้ง.......ว่าแล้ว ไอ้บ.เอฟ-15 เจ/ดีเจ นี้ มันเป็นรุ่น เอฟ-15 เอ/บี หรือ เอฟ-15 ซี/ดี กันแน่ แต่แววๆมา มันเป็นรุ่นเทียบได้กับรุ่น ซึ/ดี นะ.......และถ้าหากเทียบได้เป็น รุ่น ซี/ดี และเป็นรุ่นที่ได้ประกอบสร้างในตอนท้ายๆของญี่ปุ่น ซึ่งโครงสร้างบ.มีชั่วโมงการใช้งานที่น้อยๆ โครงสร้างไม่ล้าและไม่สึกหรอบอบซ้ำน้อยๆแล้วหละ.....ก็อดกลัวไทยเราจะหลงคารมลิ้่นสามนิ้วในที่สุดของUS ไม่ได้ แล้วหลังเลือกตั้ง ก็อาจเห็น บ.นี้มาจอดอยู่ที่กองบินแดนพยัคก็เป็นได้............ครับ/สกายนาย
Japan wants to sell old F-15s to US to fund F-35 purchases
https://asia.nikkei.com/Politics/Japan-wants-to-sell-old-F-15s-to-US-to-fund-F-35-purchases
https://aagth1.blogspot.com/2018/12/f-15j-asean.html
ตามรายงานของ Nikkei ญี่ปุ่น รัฐบาลญี่ปุ่นกำลังพิจารณาความเป็นไปได้ในการขายเครื่องบินขับไล่ F-15J ของกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น(JASDF) บางส่วนให้สหรัฐฯ
โดยหวังว่าจะเพื่อเป็นการให้สหรัฐฯช่วยลดราคาเครื่องบินขับไล่ F-35A ที่ญี่ปุ่นจะซื้อเพิ่ม ๖๓เครื่อง กับเครื่องบินขับไล่ F-35B ๔๒เครื่องที่จะซื้อมาใช้กับเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Izumo(https://aagth1.blogspot.com/2018/12/izumo-f-35.html)
ซึ่งการจัดหา F-35 ทั้งสองรุ่นรวม ๑๐๕เครื่อง เมื่อรวมกับที่ JASDF สั่งจัดหาไปก่อนแล้ว ๔๒เครื่อง จะทำให้ญี่ปุ่นมี F-35 ถึง ๑๔๗เครื่อง เป็นผู้ใช้รายใหญ่อันดับสามรองจากสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร
อย่างไรก็ตามแม้ว่า F-35A รวม ๑๐๕เครื่องจะมาทดแทนเครื่องบินขับไล่ F-4EJ ทั้งหมดและ F-15J บางส่วนที่เป็นรุ่นเก่าก็ตาม แต่ JASDF จะยังคงใช้ F-15J รุ่นใหม่ที่ได้รับการปรับปรุงความทันสมัยแล้วต่อไป เช่นรุ่น F-15J Kai
โดยมี F-15J รุ่นที่นั่งเดียว ๑๓๙เครื่อง และ F-15DJ รุ่นสองที่นั่ง ๒๕เครื่อง ถูกทำการผลิตในญี่ปุ่นโดยบริษัท Mitsubishi Heavy Industries(MHI) ในช่วงปี 1981-1997
ซึ่ง F-15J เครื่องแรกที่ทำการผลิตโดยโรงงานอากาศยาน MHI ญี่ปุ่นคือเครื่องหมายเลข 12–8803 ที่ทำการบินครั้งแรกเมื่อ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๒๔ ครับ(เก่าพอๆกับ F-5E/F ชุดที่สองของกองทัพอากาศไทย)
แม้ว่าเครื่องบินขับไล่ F-15J/DJ จะมีพื้นฐานจากเครื่องบินขับไล่ F-15C/D สหรัฐฯ แต่เนื่องจากข้อจำกัดจากรัฐธรรมนูญสันติภาพของญี่ปุ่น ทำให้ F-15J มีการตัดระบบที่ถูกพิจารณาว่าเป็นขีดความสามารถเชิงรุกออกไป
เช่น F-15J ไม่มีระบบเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ ไม่รองรับการติดตั้งใช้อาวุธโจมตีภาคพื้นดินใดๆเลยเช่นพวกระเบิด Mk80s ก็เหมือนกับ F-4EJ ที่ผลิตในญี่ปุ่นก่อนหน้าที่ตัดความสามารถเชิงรุกนี้ออก
ทำให้ F-15J มีเฉพาะอาวุธอากาศสู่อากาศเท่านั้น คือ ปืนใหญ่อากาศ M61 Vulcan 20mm ความจุ ๙๔๐นัด อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ AIM-9 และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลาง AIM-7
ต่อมาญี่ปุ่นได้พัฒนาอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ AAM-3 ของตนเองที่มีสมรรถนะสูงกว่า Sidewinder รุ่นเก่า
ซึ่ง F-15J Kai ที่ได้รับการปรับปรุงสามารถใช้อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ AAM-5 ที่มีระยะยิงถึง 35km และใช้งานร่วมกับหมวกติดศูนย์เล็ง JHMCS ได้ รวมถึงอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลาง AAM-4 ระยะยิงราว 100km
จะเห็นได้ว่า F-15J เป็นเครื่องบินที่มีขีดความสามารถจำกัดเฉพาะภารกิจอากาศสู่อากาศเท่านั้น ซึ่งด้อยกว่า F-16A/B ADF ฝูงบิน๑๐๒ ของกองทัพอากาศไทยในภารกิจอากาศสู่พื้นด้วยซ้ำไปครับ
ทั้งนี้การที่ญี่ปุ่นต้องการจะขาย F-15J รุ่นเก่าของตนให้สหรัฐฯไปขายต่อประเทศที่สาม ก็เพราะต้องยอมรับว่าญี่ปุ่นขาดประสบการณ์ในการส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์มานานมากตั้งแต่หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่๒
จึงเป็นอะไรที่รอบคอบเหมาะสมกว่าที่จะให้สหรัฐฯดำเนินการขายอาวุธที่เคยประจำการในกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น เพราะสหรัฐฯเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จในการส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์ของตนเองมาแล้วทั่วโลก
นั่นก็ขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลญี่ปุ่นกับรัฐบาลสหรัฐฯจะหารือกันจนบรรลุข้อตกลงในเรื่องนี้ได้หรือไม่ซึ่งยังเป็นในอนาคต แต่แนวคิดการขายอาวุธเก่าที่เคยประจำการในกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นมาก่อนก็ไม่เรื่องใหม่เสียทีเดียวครับ
จำได้ว่าในช่วงต้นปี 2000s ญี่ปุ่นเสนอที่จะขายเรือพิฆาตเก่าที่เพิ่งปลดประจำการลงไปให้ประเทศในกลุ่ม ASEAN ไม่แน่ใจว่าเป็นเรือพิฆาตชั้น Aogumo(1972-2005) หรือเรือพิฆาตชั้น Takatsuki(1967-2003)
แต่ถึงแม้ว่าจะมีฟิลิปปินส์กับกัมพูชาที่ดูจะสนใจ แต่เนื่องจากเรือค่อนข้างเก่าและระบบหลายๆอย่างล้าสมัยไม่ก็เฉพาะตัวเกินไป เลยไม่มีการขายให้ประเทศใดจริงครับ
ซึ่งในกรณีของ F-15J ญี่ปุ่นนี่ก็เช่นกัน ตามข่าวที่ระบุว่ามีความต้องการจะขายให้กองทัพอากาศที่อ่อนแอในกลุ่ม ASEAN ส่วนตัวมองว่าไม่น่าจะขายออกครับ
เช่น กองทัพอากาศฟิลิปปินส์ที่มีโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจ Multi-Role Fighter(MRF) ก็มีแต่ SAAB สวีเดนที่เสนอ Gripen มาแข่งกับ F-16 สหรัฐฯ(https://aagth1.blogspot.com/2018/06/saab-gripen.html)
โดยในช่วงที่จัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีเบา FA-50PH เกาหลีใต้(https://aagth1.blogspot.com/2018/06/fa-50ph.html) ฟิลิปปินส์ได้ตัด F-16 มือสองจากสหรัฐฯออกไปเพราะพิจารณาว่ามีค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการสูงเกินไป
ฉะนั้นแล้ว F-15J ที่เป็นเครื่องบินขับไล่หนักสองเครื่องยนต์ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการสูงกว่า F-16 หรือ Gripen ย่อมไม่ใช้ตัวเลือกที่ดีสำหรับฟิลิปปินส์แน่
ประเทศอื่นใน ASEAN ก็ยากครับ เช่น กองทัพอากาศพม่า ญี่ปุ่นไม่ขายอาวุธให้แน่เพราะมีปัญหากองทัพใช้กำลังละเมิดสิทธิมนุษยชน และจัดหาเครื่องที่ดีกว่าคือ Su-30SM ไปแล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2018/08/su-30sm.html)
กองทัพอากาศกัมพูชา กำลังส่งนักบินไปฝึกที่จีน ซึ่งมีข่าวลือว่าน่าจะเป็นลูกค้าของเครื่องบินขับไล่ฝึก FTC-2000G รุ่นใหม่ด้วย(https://aagth1.blogspot.com/2018/11/ftc-2000g.html)
กองทัพอากาศประชาชนลาว เพิ่งจัดหาเครื่องบินฝึกไอพ่น Yak-130 รัสเซีย(https://aagth1.blogspot.com/2018/12/yak-130_25.html) โดยระบบอาวุธในกองทัพเป็นแบบรัสเซีย
เช่นเดียวกับ กองทัพอากาศประชาชนเวียดนาม ที่ระบบอาวุธพื้นฐานเป็นระบบรัสเซียเช่นเดียวกับลาว เป็นไปได้น้อยที่ลาวกับเวียดนามจะจัดหาเครื่องบินขับไล่สหรัฐฯ
แต่เห็นมีรายงานออกมาว่าเวียดนามมีแนวคิดจะนำเครื่องบินขับไล่ F-5 เก่าที่มีอยู่มาใช้ใหม่ และในการเยี่ยมกองทัพอากาศสหรัฐฯของคณะนายทหารเวียดนามมีการไปชม F-15C ด้วยครับ
..........................ผมขอขอบคุณ ท่านAAG_TH1 เป็นอย่างสูง สำหรับข้อมูลเนื้อหาที่แน่นหนา ที่ท่านได้แสดงความคิดเห็นและให้ข้อมูลมานี้..........................ครับ/สกายนาย
เผลอๆแม้ว่าเป็นอากาศสู่อากาศ F-15J เดิมๆนั้น จะด้อยกว่า F-16ADF ด้วยซ้ำครับ
เพราะนอกจากที่ท่านAAGเขียนมาข้างบนแล้ว F-15J สามารถใช้งานBVRAAMได้เฉพาะแบบ Semi-Active อย่าง AIM-7 เท่านั้น
โดยเพิ่งมาอัพเกรดให้ใช้ AAM-4 ที่เป็นจรวด Active RADAR ได้ในช่วงต้นปี 2000 (ที่รู้จักกันในชื่อ F-15J Kai)
ญี่ปุ่นเองก็ไม่มี AIM-120 ใช้
ทุกวันนี้ F-15J ตัวไม่ Kai เวลาซ้อมรบและขึ้นscramble (ส่วนมากบินสกัดบ.ลาดตระเวน/บ.ทิ้งระเบิดจีน) ก็ยังหิ้ว AIM-7 อยู่ครับ
เหตุผลที่จะทำให้สิงคโปร์สนใจ เพราะ เจ้า Kai เป็นเครื่องครองอากาศแท้ๆ เอาไว้คุ้มกัน SG ในการโจมตีได้เป็นอย่างดีเลย การซ่อมบำรุงก็คงไม่เป็นปัญหา
ส่วนบ้านเรา ก็เหตุผลเดียวกันครับ
นี่เป็นภาพห้องนักบิน F-15J ปี 2018 ผมลงเป็นภาพไม่ได้ ลงเป็นลิงค์ละกัน
https://www.google.com/url?sa=i&rct=j&q=&esrc=s&source=images&cd=&cad=rja&uact=8&ved=0ahUKEwj9x9fjwcHfAhVEpo8KHSzACt8QMwhgKBYwFg&url=https%3A%2F%2Fwww.amazon.com%2FJ-Wings-jeiuingu-2018-Year-March%2Fdp%2FB0788WSVDP&psig=AOvVaw3iOM3az4qs5Kf7FrW_cg1s&ust=1546051766085299&ictx=3&uact=3
ฟังคุณjudasพูดถึงฟิลิปปินส์แล้วดูอนาถาจังเลย แต่ผมก็มองว่าฟิลิปปินส์น่าจะเป็นไปได้มากที่สุด เมื่อตอนF-8ก็ซื้อมือสองมาใช้
สิงค์โปรมีโครงการจัดหา F-35 อยู่แล้วครับคงไม่มองไปที่เครื่องรุ่นเก่า และในช่วงเวลาที่ผ่านๆมา ทางสิงค์โปร์ไม่มีการจัดหา เครื่องบินรบมือ 2 มาใช้งานเลย เป็นการจัดหาเครื่องบินใหม่ทั้งสิ้นครับ
ประเทศอื่นใน ASEAN คือ กองทัพอากาศอินโดนีเซียกำลังอยู่ระหว่างการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Su-35 รัสเซีย(https://aagth1.blogspot.com/2018/11/su-35.html)
แต่ประเด็นที่สหรัฐฯจะพิจารณาการใช้กฎหมาย CAATSA คว่ำกดดันให้อินโดนีเซียยกเลิกการจัดซื้อ Su-35 จากรัสเซียนั้น สหรัฐฯได้เสนอ F-16V แก่อินโดนีเซียแทน
ซึ่งกองทัพอินโดนีเซียมีนโยบายที่จะใช้งานอาวุธยุทโธปกรณ์จากหลายๆค่าย ด้วยประสบการณ์ที่เคยถูกชาติมหาอำนาจทั้งสหรัฐฯ และรัสเซียคว่ำบาตมาก่อน
แต่ F-15J ญี่ปุ่นคงจะไม่ใช่ตัวเลือกสำหรับอินโดนีเซียเพราะเป็นเครื่องบินขับไล่มือสองและมีสมรรถนะบางด้านด้อยกว่า Su-27SK และ Su-30MK2 ที่มีอยู่แล้ว
กองทัพอากาศมาเลเซียเครื่องบินขับไล่ Su-30MKM มีปัญหาด้านความพร้อม เครื่องบินขับไล่ MiG-29N งดบินทุกเครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2018/08/su-30mkm-4-mig-29n.html)
กองทัพอากาศมาเลเซียมีแผนที่จะปรับโครงสร้างกำลังรบโดยลดจำนวนแบบอากาศยานลงจนถึงปี 2055(https://aagth1.blogspot.com/2018/08/blog-post_9.html) ในฐานะส่วนหนึ่งของการปรับโครงสร้างจะมีการปรับลดเครื่องบินรบลงให้เหลือเพียงสองแบบคือ
เครื่องบินรบพหุภารกิจ MRCA(Multirole Combat Aircraft) ที่ Rafale ฝรั่งเศษ แข่งขันกับ Typhoon อังกฤษ(https://aagth1.blogspot.com/2017/07/mrca.html, https://aagth1.blogspot.com/2017/12/blog-post_22.html)
และเครื่องบินรบเบา/เครื่องบินขับไล่ฝึก LCA/FLIT(Light Combat Aircraft/Fighter Lead-In Trainer) ที่มีตัวเลือกคือ JF-17 จีน-ปากีสถาน(https://aagth1.blogspot.com/2018/04/jf-17.html) กับ FA-50 เกาหลีใต้(https://aagth1.blogspot.com/2018/01/t-50th_11.html)
แต่ทว่าผลกระทบจากการที่รัฐบาลใหม่หลังการเลือกตั้งของมาเลเซียตัดลดงบประมาณแบบรัดเข็มขัด ทำให้ยังไม่น่าจะมีการตัดสินใจจัดหาเครื่องบินรบใหม่ในเร็วๆนี้
ซึ่ง F-15J ญี่ปุ่นนั้นกองทัพอากาศมาเลเซียไม่น่าจะมองเพราะเป็นเครื่องมือสอง มีสมรรถนะด้อยกว่า F/A-18D ด้วยซ้ำไปในบางด้าน
กองทัพอากาศสิงคโปร์มีเครื่องบินขับไล่ F-15SG ที่มีสมรรถนะสูงกว่าอยู่แล้ว ถ้าจะโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ ก็ต้องเครื่องใหม่จากโรงงานเช่น F-35A ที่เป็น 5th Gen Fighter ไปเลย
ที่เหลือคือบรูไนกับติมอร์-เลสเต เป็นประเทศเล็กไม่น่าจะมีงบประมาณพอสำหรับเครื่องบินรบขนาดใหญ่ครับ
Japan – AIM-120C7 AMRAAM Missiles
http://www.dsca.mil/major-arms-sales/japan-aim-120c7-amraam-missiles
Japan – AIM-120C-7 Advanced Medium-Range Air-to-Air Missiles (AMRAAMs)
http://www.dsca.mil/major-arms-sales/japan-aim-120c-7-advanced-medium-range-air-air-missiles-amraams
Japan – AIM-120C-7 Advanced Medium-Range Air-to-Air Missiles (AMRAAM)
http://www.dsca.mil/major-arms-sales/japan-aim-120c-7-advanced-medium-range-air-air-missiles-amraam
ข้อมูลที่ว่ากองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่นไม่มีอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลาง AIM-120 AMRAAM ใช้งานอาจจะไม่ใช่ข้อมูลที่ถูกต้องนักครับ
เพราะเอกสารของ DSCA ในข้างต้นระบุถึงการขาย AIM-120C-7 ในปี 2014, 2017 และล่าสุด พ.ย.2018 โดยในเอกสารระบุด้วยครับว่า JASDF มี AIM-120C-5 รุ่นก่อนใช้งานอยู่แล้วด้วย
การที่ญี่ปุ่นพัฒนาอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศทั้ง AAM-3, AAM-4 และ AAM-5 น่าจะมีเหตุผลคือเรื่องการพึ่งพาตนเองด้านอุตสาหกรรมความมั่นคงภายในประเทศครับ
กระทู้นี้ตรงใจผมมากครับ อยากทราบอยู่เหมือนกันว่าเพื่อนสมาชิกคิดเห็นอย่างไร
สำหรับผม ทางเลือกแรกที่ผมเชียร์คือ เอากริปเพนเป็นหลัก โดยเพิ่มจำนวน และ/หรือ จัดหารุ่น E/F พร้อมทั้งเพิ่มเครื่อง AEW&C
เหตุผลสนับสนุนสำคัญคือ ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง ความประหย้ดต่อขนาด ความต่อเนื่องในการพัฒนา/ขยายเครือข่าย Link T รวมไปถึงโอกาสในการร่วมมือทางเทคโนฯในระดับสูงขึ้นไปกับ Saab /Sweden
F15J จะมีความน่าสนใจก็ต่อเมื่อ ถูกมากๆ +มาพร้อมอะไหล่ตลอดอายุที่เหลือ + มีการปรับปรุงและทดสอบแล้วว่าเข้ากับระบบ Link T และจรวดต่สงๆที่เราใช้บน F5/F16/Grippen ใด้ + AESA ***ดูแล้วเหมือนล๊อกเสปคไม่ให้ซื้ออะไรประมาณเนี้ย
F-16A/B ADF ฝูงบิน๑๐๒ นั้นถึงแม้ว่าจะเข้าประจำการในปี พ.ศ.๒๕๔๕ และผ่านการปรับปรุงโครงสร้าง Falcon UP/STAR มาแล้ว
แต่ F-16 ADF ก็เป็นเครื่องที่ประจำการในกองทัพอากาศสหรัฐฯมากก่อนทำให้มีอายุใช้งานไม่น่าจะเกิน ๒๐ปี นั่นทำให้หลังปี พ.ศ.๒๕๖๕ เป็นต้นไปกองทัพอากาศไทยก็จะมีการพิจารณาจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่มาทดแทน
อย่างไรก็ตามส่วนตัวแล้วมองว่ารัฐบาลชุดใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนน่าจะมีนโยบายการใช้งบประมาณเพื่อดูแลปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นเรื่องสำคัญมากกว่า
เมื่อสถานการณ์ในปัจจุบันที่ไทยเราไม่มีภัยคุกคามที่เห็นได้ชัดเช่นกองกำลังต่างชาติแล้ว เป็นไปได้งบประมาณกลาโหมน่าจะถูกตัดลดทอนลงไปตามที่รัฐบาลในอนาคตจะเห็นสมควร
ด้วยข้อจำกัดดังกล่าวในอนาคตกองทัพอากาศไทยอาจจะไม่สามารถตั้งโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ที่ใช้งบประมาณสูงยากที่ประชาชนจะเห็นชอบได้
ซึ่งนั่นก็หมายความว่ากองทัพอากาศไทยอาจจะต้องยืดระยะเวลาใช้งาน F-16A/B ADF ฝูงบิน๑๐๒ ออกไปอีกสักระยะ หรือถ้าจำเป็นต้องปลดประจำการจริงๆ ฝูง๑๐๒ อาจจะต้องเป็นฝูงบินว่างไม่มีอากาศยานมาวางกำลังไปก่อนครับ
F-15 Jมีข้อดีแปลกๆแบบหนึ่งครับที่ผมชอบ คือทำให้ประเทศเพื่อนบ้านไม่วิตกกังวลมากในเรื่องจะโดนโจมตี เพราะมันโจมตีภาคพื้นไม่ได้ 555
อ๋อถ้าไทยจัดหาF-15 E, Advanced Eagleเพื่อนบ้านอาจไปซื้อS-300,S-400ก็เป็นไปได้
ที่จริงนอกจากพวกเครื่องทดสอบหรือเครื่องต้นแบบต่างๆแล้ว ก็แทบจะไม่เคยเห็นเครื่องบินขับไล่ F-15C/D สหรัฐฯหรือประเทศอื่นที่ส่งออกไปติดระเบิดโจมตีภาคพื้นดินเลยครับ
(อาจจะยกเว้น F-15A/B/C/D Baz กองทัพอากาศอิสราเอล ที่พบว่าถูกปรับปรุงให้ติดอาวุธโจมตีภาคพื้นดินได้ รวมถึงถังเชื้อเพลิงเสริมแนบลำตัว CFT)
ซึ่ง F-15A/B/C/D ก็เหมือนกับ F-14 ที่เป็นเครื่องบินขับไล่ยุคที่๔ ช่วงแรกๆที่ออกแบบในยุคปี 1970s ซึ่งเครื่องบินขับไล่ยังมีภารกิจหลักในการรบอากาศสู่อากาศอยู่
ดังนั้น F-15C/D จึงไม่ได้ออกแบบให้รองรับการใช้ในภารกิจโจมตีภาคพื้นดิน ต่างจากเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจที่ออกแบบในยุคปี 1980s เช่น F-16 และ F/A-18
โดยต่อมาจึงมีการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ F-15E Strike Eagle ในช่วงปี 1980s เป็นรุ่นที่รองรับภารกิจโจมตีภาคพื้นดินโดยตรง ต่างจาก F-15C ที่ใช้ในภารกิจอากาศสู่อากาศเป็นหลักเท่านั้นครับ
ทอ ไทยน่าจะใช้ได้คุ้มที่สุดครับ เพราะเรามีตาวิเศษ แค่อัพเกรดให้ใช้ ลิ้งค์ที ได้ก็เอาลูกสั้นลูกยาวที่มีอยู่แล้วใส่ได้หมด
เรื่องบำรุงรักษาก็ให้ญี่ปุ่นช่วยดูแลแทนอเมริกาได้อีก มือสองแกะโมสบายใจจะได้ไม่มีใครบ่นว่า โค้ดแพง ซื้อมาทำไม
ย้อนยุคแบบมีคลาส
คุณausangi นี่คือราคาที่usอัพแล้วหรือราคาที่japanจะอัพ? ราคา70ล้าน$ นี่แพงมากนะครับ คิดเองยังเดาว่าไม่เกิน30-40ล้าน
.................(๑)ผมขอสวัสดีปีใหม่พศ.๒๕๖๒ กับเพื่อนๆทุกท่าน.....และผมขอขอบคุณเพื่อนทุกๆท่านที่แสดงความคิดเห็นตอบเข้าในกระทู้นี้.......ส่วนเรื่องการจัดหาบ.เอฟ-๑๕ เจนี้ เริ่มแต่แรกไทยเราคงไม่ใช้เป็นผู้มีดำริหรือรู้เห็นมาตั้งแต่ต้น......ส่วนที่ประเทศรอบข้างของไทยเราล้วนมีบ.สมรรถนะสูงสามารถบินโจมตีระยะไกลสามารถบินรุกร้ำล่วงเข้ามาในไทยเราได้นั้น เพื่อความไม่ประมาท ไทยเราก็ควรจำเป็นจะต้องมีบ.สกัดกั้นครองอากาศมาประจำการ เพื่อจะป้องกันภัยทางอากาศจากบ.โจมตีดังกล่าวไว้ แต่ด้วยงบประมาณที่ทอ.ได้รับนั้นมีจำนวนน้อยจึงยังไม่สามารถจัดหาเข้ามาประจำการในวันเวลานี้.........แต่ในส่วนตัวผมมองว่า ดีลการขายบ.นี้ให้แก่ไทยเรานั้นโอกาสยังมีอยู่.......หากว่า....ด้วยปัญหาที่สหรัฐเสียดุลทางการค้ากับญี่ปุ่นเป็นจำนวนมาก ครั้นสหรัฐจะขายอะไรให้ญี่ปุ่น ญี่ปุ่นล้วนผลิตได้เองเป็นส่วนมาก....สหรัฐจึงกดดันให้ญี่ปุ่นจัดหาซื้อบ.เอฟ-๓๕ จากสหรัฐเป็นจำนวนมากกว่าร้อยลำ ส่วนญี่ปุ่นก็มีความต้องบ.นี้มาประการเป็นจำนวนมากอยู่แล้ว แต่ติดว่าเกรงประชาชนญี่ปุ่นจะโจมตีคัดค้านเอาได้ ญี่ปุ่นจึงเสนอขอนำบ.เอฟ-๑๕เจของตน มาขายเทรินคืนให้สหรัฐ เพื่อนำเงินมาซื้อบ.เอฟ-๓๕ใหม่จากสหรัฐเพิ่มเติม...........
...............ผมจึงอดคิดอดคาดเดาไม่ได้ว่า ครั้นด้วยความที่สหรัฐอยากขาย บ.เอฟ-๓๕ ให้ญี่ปุ่นเป็นล็อตใหญ่ดังกล่าว.....(มีต่อ ขอยกไปเขียนต่อในคำตอบต่อไป).........ครับ/สกายนาย
......................(๒)สหรัฐจึงอาจเกิดคิดใช้แผน อัดยายซื้อขนมยาย.......เนื่องด้วย ประเทศที่เป็นพัธมิตรใกล้ชิดกับสหรัฐในอาเซี่ยนคือไทย(พันธมิตรนอกนาโต้) และฟิลิปปิน(โดยนโยบายประธานาธิบดีคนปัจจุบัน) ล้วนต้องการมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับจีนมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งไทยเราล้วนได้จัดหาอาวุธยุโธปกรณ์ทางทหารเช่น รถถัง, รถหุ้มเกราะล้อยาง และเรือดำน้ำ จากทางจีนเพิ่มขึ้น......อันอาจทำให้ให้สหรัฐสูญเสียพันธมิตรทั้งสองประเทศนี้ไปให้แก่จีน อันจะทำให้แผนปิดล้อมจีนของสหรัฐนั้นล้มเหลวลงได้.......สหรัฐจึงอาจใช้แผนเพิ่มเงินช่วยเหลือทางการทหาร มาจัดทำโครงการเอฟเอ็มเอส สนับสนุนการขายบ.เอฟ-๑๕ เจ ในราคาถูกให้แก่สองประเทศนี้ โดยมีอ็อฟชั่นโดยยื่นข้อเสนอขายบ โดยซ่อมคืนสภาพบ.มือสองให้มีสภาพเทียบเท่ารุ่นซี/ดีฟรี พร้อมสนับสนุนอะไหล่และการดูแลหลังการขายให้ฟรี ๑,๐๐๐ชั่วโมงบินฟรี พร้อมกับแถมอาวุธปล่อยนำวิถี พิสัยใกล้และพิสัยไกล ให้ฟรีอีกจำนวนหนึ่ง เพื่อให้พร้อมจะนำมาใช้เป็นบ.สกัดกั้น จากอาวุธสำรองในคลังอาวุธของสหรัฐเอง......ในราคาละ ๑๐ล้านเหรียญต่อลำ(ราคาสมมุติ ผมเลยตั้งราคาถูก หากตั้งราคาแพงกว่านี้เกรงว่าท่านกบ.จะไม่ให้ซื้อ) เพื่อแจกจ่ายอาวุธเก่า กระชับความสัมพันธ์ทางทหารกับสองมิตรประเทศนี้ ให้กลับหันมาพึ่งพาซื้ออาวุธยุทธโธปกรณ์จากสหรัฐให้มากยิ่งขึ้น...........(มีต่อ).........ครับ/สกายนาย
......................(๓)ซึ่งดีลการของบ.เอฟ-๑๕เจของญี่ปุ่นนี้ ถ้าหากเป็นกรณีที่ญึ่ปุ่นเป็นผู้ขายเองแล้ว.....เชื่อได้แน่นอนว่า..ขายไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็น......แม้แต่สหรัฐเองก็ยังเป็นเรื่องยากที่จะขายได้ เพราะบ.เก่าและญี่ปุ่นยังเจาะจงเงื่อนไขว่าจะต้องขายบ.นี้ให้เฉพาะประเทศในอาเซี่ยนเท่านั้น...........กรณีการขายดีลนี้จึงอยู่กับพ่อมดค้าอาวุธอย่างสหรัฐว่า จะดึงลูกค้าบริวารผู้ซื้ออาวุธรายเก่าของสหรัฐ(แต่สหรัฐกลับอ้างว่าเป็นพันธมิตร)....ให้หวลกลับมาซื้อบ.เก่านี้ได้อย่างไร.....นอกเสียจากสหรัฐมีข้อเสนอออกเคมเปญเป็นที่จูงใจอย่างสูง เช่น ซ้อมคืนสภาพบ.ให้ฟรี.....รับประกันซ่อมฟรี อะไหล่ฟรี ในอนาคตเป็นจำนวน ๑,๐๐๐ชั่วโมงบิน.......พร้อมแถมอาวุธนำวิถีในคลังให้ฟรี.....โดยขายในราคาถูกๆ.....ดีไม่ดีสหรัฐอาจไม่ได้เป็นผู้ตั้งราคาขาย....แต่ให้ลูกค้าเป็นผู้กำหนดราคาบ.นี้เสียเองว่าจะเสนอซื้อบ.นี้ในราคาเท่าไหร่ขึ้นเอง.....แถมมีข้อเสนอไม่ต้องดาวน์ โดยให้แบ่งทะยอยผ่อนชำระเงินราคาบ.ได้ในเวลายาวนานๆหรือเลือกจะเอาเงินที่สหรัฐจะจัดสรรสนับสนุนทางการทหารให้ประเทศไทยและฟิลิปปินให้ในแต่ละปี นำมาทะยอยผ่อนก็ได้..........ถ้าหากกรณีเป็นไปดั่งว่า......ประกอบกับ บ.เอฟ-๑๕ หากได้มีโอกาสมาประจำการอยู่ในทอ.ไทยเราแล้ว ไม่ว่าไทยเราจะนำบ.มาบินอยู่บนอากาศหรือแม้ว่าบ.มาจอดทิ้งไว้บนพื้นก็ตาม มันล้วนจะมีประโยชน์เป็นเครื่องมือป้องปรามไม่ให้ประเทศอื่นกล้าส่งบ.โจมตีเข้ามารุกล้ำโจมตีภายในอาณาเขตของไทยเราได้ทั้งสิ้น(เพราะอาวุธมีไว้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสงคราม เช่นมีไว้ใช้ป้องกันข่มขู่กดดันไม่ให้ต่างชาติคิดส่งบ.โจมตีเข้ามารุกรานเรา....แต่ถ้าเกิดสงคราม เราก็มีพร้อมอยู่แล้วที่จะนำไปใช้เพื่อรบ).........ด้วยเหตุและผลดังกล่าว แม้ไทยเราไม่ได้คิดไม่ได้ฝันเรื่องบ.เอฟ-๑๕เจ และไม่ได้ตั้งโครงการจัดหาบ.สกัดกั้นครองอากาศ ในส่วนนี้ขึ้นมาเองตั้งแต่ต้นก็ตาม...แต่ถ้าหากเกิดมีข้อเสนอดังที่ยกตัวอย่างมาดังกล่าวนี้นั้นก็เป็นการยากที่ไทยเราจะปฏิเสธของสหรัฐนี้.......ไทยเราคงจำเป็นต้องยอมคิดยอมฝันเรื่องเอฟ-๑๕เจ ตามสหรัฐไปเสียตามนั้น..........(ว่าแล้วที่เขียนมานี้...เป็นเรื่องความฝันเฟื่อง และคาดเดาเอาเองของผมเองล้วนๆ ....แต่อาจจะเป็นจริงได้ก็อยู่ที่สหรัฐซึ่งเป็นซาติประเทศมหาอำนาจที่ร่ำรวยต่างหาก ว่า..ยู..จะกล้ายื่นข้อเสนอขายบ.แบบดีลนี้ให้แก่ไทย ไหมหละ หากนำไปเปรียบเทียบกับประเทศอียิป สหรัฐยังทุ่มเทเงินมอบสนับสนุนทางการทหารไปให้อียิปต่อเนื่องกันเสียมากต่อมาก.......... แล้วพันธมิตรนอกนาโต้อย่างไทยเรานั้น สหรัฐเพียงเสนอ จะช่วยเพียงมอบซากเรือฟรีเกต(เรือเก่าล้าสมัยสิ้นเปลืองเงินค่าใช้จ่ายในการออกประกอบภารกิจสูง ที่สหรัฐได้ปลดประจำการ และสหรัฐถอดถอนระบบะอาวุธออกไปแล้ว โดยให้จะเรือเปล่านั้นมาฟรีๆ แต่มีเงื่อนไขว่าต้องจ้างสหรัฐเท่านั้น ทำการซ่อมคืนสภาพเรือและเครื่องยนต์เรือให้กลับมาแล่นได้ ..........ถ้าจำไม่ผิด...คิดเป็นเงินค่าจ้างในราคาลำละประมาณไม่ต่ำกว่าร้อยล้านเหรียญ หรือประมาณไม่ต่ำกว่าลำละสามพันกว่าล้านบาท ซึ่งเงินจำนวนนี้ถ้าไม่โง่ตามข้อเสนอของสหรัฐ ก็สามารถจะนำเงินจำนวนนี้ไปต่อเรือโอพีวีพร้อมระบบอาวุธ ใหม่ๆมาประจำการได้) ซึ่งเรือที่เสนอให้เป็นเรือ ชั้นโอริเวอร์ฮาทซาดเพอร์รี จำนวน 2 ลำ มาให้แก่ไทยเราไว้ใช้เป็นเรือรบป้องกันอธิปไตย ........ทั้งที่ผ่านมาเรือชั้นนี้สหรัฐก็ได้นำไปใช้เป็นเรือเป้าซ้อมยิง อวป.ของสหรัฐเท่านั้น ไทยเราจึงเมินไม่ยอมรับเอาเรือเก่านี้มาใช้ประจำการ...สิ่งนี้คือการแสดงน้ำใจที่ดีของสหรัฐที่มีต่อไทยแล้วหรือ ....ไม่แปลกใจเลยที่ ทั้งไทย และฟิลิปปิน ต่างจะหันไปมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับจีนมากยิ่งขึ้น)..................ครับ/สกายนาย
ปล.ผมขอโทษที่พิมพ์แบ่งเป็น เขียนเป็นท่อนๆจำนวน ๓ท่อน เพราะที่จริงผมได้พิมพ์เขียนมาเป็นท่อนเดียวยาวๆครั้งเดียว ครั้นพอผมโพส ข้อความที่พิมพ์ไว้เดิมนั้น......ปรากฎว่าข้อความหายไปเกลี่ยงไปหมดไม่เหลือเลย......จึงต้องพิมพ์ใหม่โพสเป็นท่อนๆไป........
..................ว่าแล้ว.....ผมยังอดนึกคิดเอาเองไม่ได้ว่า......ถ้าสหรัฐไม่ให้เงินสนับสนุนช่วยเหลือทางทหาร เป็นรายปีแก่ไทยเหมือนเดิม หรือยังให้แต่ให้มาเป็นจำนวนน้อย.....ผมยังอยากให้ไทยเราสนองคุณดังกล่าวกับสหรัฐ ในฐานะที่สหรัฐยกให้ไทยเราเป็นพันธมิตรนอกนาโต้ .........ด้วยการเก็บเงินค่าเช่าพื้นที่ฝึก ทางบก.ในการฝึก คอบร้าโกล ..........หรือไม่ไทยเราควรเรียกเก็บค่าเช่าพื้นที่ฝึก ทางทะเล...ในการฝึก การัต ......กับทางสหรัฐ............เพราะที่ผ่านมาสิงคโปร์ทั้งที่เป็นประเทศเล็กนิดเดียวเขายังไม่เอาเปรียบไทย เขายังมีน้ำใจยินยอมที่จะจ่ายค่าเช่าใช้พื้นที่สนามบิน ไว้สำหรับฝึกบ.ของเขาให้แก่ไทยเรา............................หรือไม่นั้น ไทยเราก็ควรเรียกเก็บค่าวีซ่า เข้าประเทศกับทหารสหรัฐทุกๆคน ที่ได้เข้ามาฝึกทางทหารในไทย คนละไม่ต่ำกว่า ๒๐,๐๐๐บาทต่อคน/ต่อครั้ง ...........แล้วนำเงินที่ได้นำมาเสริมงบประมาณกลาโหมของไทย....เช่นนำไปเสริมซื้อรถถังVT4 หรือเรือดำน้ำ ชั้นหยวน เพิ่มเติมจากมหามิตรใหม่อย่างจีน.........คงจะดี........................ครับ/สกายนาย
ถ้าราคารวมทั้งหมดแล้วอาจหมายรวมถึงการซ่อมบำรุง ราคาไม่เกิน$20Mผมว่าน่าจัด เพราะF-16มันบินตามSU-27,SU-35ไม่ทันนะครับ แล้วอีกอย่างก็ต้องมีเครื่องบินขับไล่ครองอากาศหรือเปล่าไทยนะ พวกเครื่องบินขับไล่ครองอากาศก็แพงๆเกิน$100Mทั้งนั้น(SU-35ไม่แน่ใจเรื่องราคา)
พวกคุณก็รู้ว่าผมไม่ค่อยชอบมะกันกับญี่ปุ่นเท่าไหร่ผมยังเชียร์ถ้าไม่เกิน$20Mต่อลำ
แต่ก็ยังเชียร์JAS-39, SU-30, SU-35อยู่นะ
โดยความเห็นส่วนตัวการจัดหาอากาศยานรบในอนาคตอันใกล้ของกองทัพอากาศไทยน่าจะมีแค่โครงการจัดหา บ.ขฝ.๒ T-50TH ระยะที่๓ อีกราว ๔-๖เครื่อง ให้ครบฝูงบิน๔๐๑ ในอัตรา ๑๖-๑๘เครื่อง
แต่โครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่แทน F-16A/B ADF ฝูงบิน๑๐๒ ไม่น่าจะเกิดขึ้นในปีสองปีนี้แน่ครับ
ผมขอมาอยู่ข้างฝ่านสนับสนุน F15J บ้างน่ะครับ เหตุผลคือ ถ้าจัดหามาแทน F16ADF แล้วสามารถใช้งานต่อได้ 20 ปี ก็น่าจะจัดหามา 14-18 เครื่อง โดยดูจาก
1. เรื่องงบประมาณที่ใช้ หากค่าปรับปรุงให้ทันสมัยทุกอย่างรวมๆแล้วเครื่องล่ะไม่เกิน 40 ล้าน US ก็ถือว่าดีกว่าซื้อเครื่องใหม่เลยราคาไม่น่าต่ำกว่่า 70 ล้าน US ก็จะสนองตอบเรื่องเครื่องบินครองอากาศพิสับไกลเสียที ในราคาที่พอยอมรับได้ โดยส่วนตัวมองว่า F15 ฝูงนี้ไม่จำเป็นต้องเป็น multirole คือตัดเรื่องการโจมตีภาคพื้นดินออกไป เพราะไทยมีเครื่อง multirole มากมาย ทั้ง F16 F5 Jas39 ขาดแต่เครื่องครองอากศแท้ๆที่ยังไม่มี
2. ความสามารถในการครองอากาศ ต้องลองเปรียบเทียบดูว่า F15J รุ่นปรับปรุง ใช้ในภาระกิจครองอากาศ (เอาแค่ระบบต่างๆเทียบเท่า F15J ของญี่ปุ่นเลยหรือเท่าของสิงคโปร์ก็พอ) จะต้องไม่ด้อยกว่า F16V SU30(พม่า เวียดนาม มาเลเซีย) F18 MLU (มาเลเซีย)
3. ในเรื่องการเมืองก็ถือเป็นการ สร้างสมดุล เพราะเราซื้ออาวุธมีทั้ง รัสเซีย จีน สหรัฐ ก็พอจะทำให้สหรัฐพอใจเพราะโดยรวมมูลค่าการจัดซื้ออาวุธของไทยน่าจะมีสหรัฐเป็นอันดับหนึ่ง ตามด้วย จีน รัสเซีย ยุโรป
ปล. หากซื้อมาแค่ปรับปรุงโครงสร้างแล้วไม่ปรับปรุงระบบต่างๆให้ทันสมัย ผมก็คิดว่าไม่ควรซื้อ ไปซื้อ F16V จะดีกว่า
ถ้าได้ราคามาไม่แพงมากผมคิดว่าซื้อเครื่องเก่ามา 1 ฝูง แต่ทำการคืนสภาพเพียง 10 - 8 ลำก็น่าจะพอรับมือกับจำนวน Su30 ที่เพิ่มขึ้นรอบๆได้
สิ่งที่ผมหวังจากโอกาสครั้งนี้คือ การนำ F15 เก่า มาคืนสภาพที่ประเทศไทย โดยให้ TAI และ Lockheed Martin และ Mitsubishi เป็นผู้ดำเนินการ เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมการบินของไทย
ในมุมมองผมการซื้อ บ. ใหม่ดีๆนั้น ราคาสูงมาก และเพื่อนบ้านก็พร้อมจะทุ่มงบเกทับเรา (หมายถึง Typhoon, Rafale, Su35, F15se, F18e/f พวกนี้มาแน่ ถ้าเราจัดหา Gripen e/f มา)
ดังนั้นโอกาสแบบนี้น่าจะตอบโจทย์ของ ทอ. ที่จะซื้อเวลาสำหรับการจัดหา F35 (ปล. ไม่เอาใจพี่กันตอนนี้ จะไปเอาใจตอนไหน พ่วงสัญญาล้อคคิว F35 ให้เลยไหมล่ะ ผมช่วยพี่ขายของล้อตใหญ่เลยนะ ลดราคาให้ด้วย)