ขณะที่เรากำลังชื่นมื่นกับ เอฟๆจี ลำใหม่ สมรรถนะเอกอุ และน่าจะครองลำดับที่หนึ่งร่วมกับสิงคโปร์อยู่นี้ มาเลย์เซียเป็นอีกประเทศหนึ่ง ที่กำลังจะมี เอฟๆจี เข้าประจำการ ซึ่งจะถือเป็นประเทศที่สามและเป็นเรือ เอฟๆจี ชั้นที่สี่ของอาเซี่ยน สิ่งนี้เป็นข้อยืนยันได้ว่า เครื่องบินขับไล่ติดตั้งอาวุธปล่อยเป็นภัยคุกคามที่น่ากลัวที่สุดของกองเรือ โดยแต่ละชาติในภูมิภาคนี้ล้วนมีประจำการ.........................................
สมรรถนะ เอฟๆจี น้องใหม่ ของ มาเลเซียเป็นอย่างไรเราไปดูกัน
ชื่อชั้น มหาราชา เลลา
ระวางขับ 3,100 ตัน เครื่องจักร โคแดด ความเร็ว 28 น้อต
พิสัย 9,300 กม. ประจำเรือ 138
เรดาร์อากาศ สมาร์เอส มาร์ค สอง สามมิติ ตรวจการไกลสุด 280 กม.
เรดาร์ควบคุมการยิงและออปโตรนิค สำหรับ จรวด และปืน
อาวุธหลัก
แซมพสัยปานกลาง ไมก้า เอ็ม ระยะยิงไกล (เป้าเรียดน้ำ) 20 กม. (เท่าเส้นขอบฟ้าพอดี ไกลสุดจริงๆ ยังไม่รุ)
จรวดต่อสู้เรือ (ยังไม่ทราบ แต่เดาว่า น่าจะเป็น เอ็มๆ -40 เอ็กโซเซ่ต์)
ปืนเรือ โบฟอส 57 (แบบเดียวกับ ลีเกียว) ปืน ดีเอส30 สองแท่น
โซน่าร์ตัวเรือ / ลากท้าย ตอปิโด
อีเอสเอ็ม เป้าลวง
ฮ.ลำนึง
เดิมทีแผนแบบเป็นเรือชายฝั่งสมรรถนะสูง (มะกัน เคยเสนอเราก่อนจะลงเอยกับแดจังกึม) สังเกตุว่า ท้องเรือจะแบนหน่อยๆ ซึ่งคล้ายๆ พี่สาว ลีเกียว
โครงการจัดหา หก ลำ ................................. บ่ะ รวยจัง......................................
ซิกม่าคลาส ของอินโดนิเซีย ติดตั้งเรดาร์สามมิติ ชื่อเรียกเป็น เอฟๆจี ที่ไม่ให้เครดิต เพราะมะก่อนยังไม่ติดไมก้า แต่ปัจจุบันไม่มั่นใจว่าติดแล้วหรือยัง
ผมดูสเปค ของทั้งมาเลย์ และ อินโดแล้ว..................... จะมีเรดาร์ คคกย. แค่ชุดเดียว ..................ซึ่งถ้าเป็นไปตามนั้น การใช้งานควบคู่ไมก้า จะใช้งานได้ สองแบบ คือ ไมก้า อินฟาเรด และ ไมก้า กึ่ง/เต็ม กระฉับกระเฉงกลับบ้าน .......................
ซึ่งในรุ่นอินฟาเรต ระยะยิงคงในระยะเส้นขอบฟ้า แต่ความแม่นยำในการต่อตี น่าจะระดับฟาดเป้าเรียดน้ำอยู่หมัด................. แต่ถ้าเป็นโรุ่นยิงไกล แบบฉายบีมเรดาร์ งานนี้ได้แค่ทีละเป้า............. เดาว่า ในท่อบรรจุ คงมีทั้งแบบ อินฟาเรต และแบบเรดาร์
จึงมองว่า มีทั้งได้เปรียบและเสียเปรียบ นกกระจอกทะเลวิวัติ
ashm.ของเสืเหลืองเป็น nsm ขอรับ มีดีตรงนี้แหละครับ ส่วนโซนาร์ ระบบปราบ ด.ใกล้เคียงกับของเราแต่ของเราจะดีกว่าเล็กน้อยแต่ถ้าของเรามี vl asroc มาด้วยนี่ไดเปรียบอีกโข และจรวดพื้นสู่อากาศขอเรายิงไกลกว่าของเค้าแต่ของเค้าซัลโวได้ รวมถึงไม่แน่ใจว่าของเค้ามีเพิ่มระบบ mid course uplinkเหมือนของอินโดไหมส่วนของเราถ้า 4a ทำได้ตามโฆษณาก็จะมีตัวช่วยอีกอย่างหนึ่งในการยิง essm สุดท้ายเสือเหลืองได้เปรียบเรื่องจำนวนครับ จัด 6 ลำ เต็มแม็กไม่มีชะลอโครงการด้วย
มิสครอส อัพเดท ที่ว่าคงสำหรับรุ่น อินฟาเรต หรือเปล่าครับผมไม่แน่ใจ แต่ถ้าเป็นเรดาร์ กึ่ง/กระฉับกระเฉงเหมือนกระจอกทเลวิวัตรแล้ว คงไม่มีการทวนอัพเดทครับ
mid course uplink นี่ของ vl mica ขอรับ เรือของอินโดมีเพิ่ม atena มาด้วย ส่วนของเราลุ้นให้ 4a มันทำได้อย่างโฆษณาก็จะเพิ่มจำนวนเป้าในการยิงให้มากขึ้นอีกขอรับ
โอเครครับ จากที่อ่านมาแว่บนึง ในรุ่นอิฟาเรต มีระยะยิงไกลสุด 20 กม. เคลมว่า เป็น ไฟร์แอ่นด์ฟอร์เก็ท............... นี่เป็นเหตุผลว่า ทำไมถึงมีจาน เรดาร์ คคกย.แค่จานเดียว ...................... นั่นคือ มีไว้แค่ ปืน กับ จรวดพื้นสู่พื้น สำหรับ แซม ใช้แบบอินฟาเรต ครับ ...................................
ส่วนจะมี การอัพเดทให้นั้น อาจเป็นออบชั่น ซึ่งแน่นนวล มันก็ต้องเพิ่มความแม่นยำมากขึ้นหล่ะครับ ลองนึกดู ชี้ให้มันดูเป้า แล้วเอาผ้าปิดตาถีบตูดให้มันวิ่งออกไป โน่นจนใกล้จะถึงจึงให้มันแกะผ้าปิดตาออก พอมองเห็นได้ มันคงอุธาน ไอ้หย่ะ เป้ากรูอยู่ไหน มันก็อาจจะไม่ค่อยแม่นหล่ะครับ ถ้าระยะยิงไกลๆ ......... ซึ่งถ้าใกล้ๆแบบ มิสทรั่ล หรือ ซีแรม ก็พอไหว แต่นี่ตั้งยี่สิบโล ถ้าไม่ร้องตะโกน ทวนบอกทิศทางให้ เจอข้าศึกเลี้ยวฉกาจหลอก หลุดล็อคแน่นอน
สรุป ตอนนี้ แซม ระยะยิงปานกลาง ติดตั้งในเรือ ประจำการในอาเซี่ยนจะมี สามแบบ ครับ
แบบแรกคือ กึ่ง / กระฉับกระเฉงกลับบ้าน เป็นของกระจอกทะเลวิวัตร คืออาศัยคลื่นเรดาร์จากเรือ ในการโคจรช่วงแรกและกลาง จนระยะสุดท้ายจึงใช้เรดาร์ที่หัวจรวด ข้อได้เปรียบ ระยะยิงไกลถึง 50 กม. ข้อเสียคือ ต้องคอยเทคแคร์พี่ท่าน จนกว่าตาจะมองเห็นเองได้ โดยใช้จานเรดาร์หนึ่งจานต่อหนึ่งเป้าหมาย
แบบสอง ทวนสัญญาณ/ กระฉับกระเฉงกลับบ้าน เป็นของเอสเตอร์ 15 การนำทางระยะต้นและกลางโดยระบบแรงเฉื่อย และมีการทวนข้อมูลเป้าให้อยู่ตลอด จนกว่า เรดาร์ที่หัวจรวดจะทำงานได้ ระยะยิง 30 กม. (เราจะไม่พูดถึง 30 อันนั้นระยะไกล เทียบได้กับ สแตนดาร์ด)
แบบที่สาม ทวนสัญญาน / อินฟาเรต เป็นของไม่ก้า เอ็ม การนำทางระยะต้นและกลางโดยระบบแรงเฉื่อย และมีการทวนข้อมูลเป้าให้อยู่ตลอด จนกว่า ระบบอินฟาเรตที่หัวจรวดจะทำงานได้ ระยะยิง 20 กม. (ถ้าตามคอมเมนต์ของท่าน ausangi ของมาเลเซียจะไม่มีการทวน เรียกว่า ช่วงต้นและกลาง เป็นไปตามยถากรรม)
แบบที่สอง และสาม ปล่อยได้หลายๆลูกในเวลาพร้อมกัน โดยเฉพาะแบบที่สาม อันนี้ น่าจะรัวได้เป็นชุด
การพิมพ์ยาวๆ ในมือถือคือความวอดวายที่แท้ทรู ต้องเปิดโน้ตบุ๊กในที่สุด
เรือมาเลเซียคือเรือฟริเกตปราบเรือดำน้ำพิมพ์นิยมในยุคปัจจุบัน ใช้เครื่องยนต์ดีเซลล้วนบวกมอเตอร์ไฟฟ้า ไม่มีโซนาร์หัวเรือ มีโซนาร์ลากท้ายทั้ง active และ passive ถ้าจะให้สมบรูณ์แบบต้องติดโซนาร์ตรวจจับทุ่นระเบิดด้วย
เรือลาฟาแยคของสิงคโปร์ไม่มีโซนาร์หัวเรือ คอร์เวตของ uae สำหรับปราบเรือดำน้ำก็เช่นกัน ต่อไปก็จะมีแบบนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ใช้เรดาร์ 3 มิติแรงๆ ตัวเดียว ใช้จรวดต่อสู้อากาศยานแบบไม่มีเรดาร์ควบคุม vl mica ขนาดเล็กมาก ติดตั้งง่าย ใช้ท่อยิงเฉพาะของตัวเองก็ได้ ราคาไม่แพง ไม่ต้องซื้อท่อราคาแพง ไม่ต้องซื้อกล่องใส่จรวด 4 ลูกแบบ essm บ้านเรา ซึ่งถ้าไม่มีกล่องจรวดก็ยิงไม่ได้ ฉะนั้นความพร้อมในเรื่องการจัดหาจรวดจะดีกว่าเรามากๆๆๆๆๆๆ แต่ต้องยอมรับข้อหนึ่ง...ว่ามันยิงจรวดฮาร์พูนพวกนี้ไม่ไหว
ที่ต้องยอมรับไม่ใช่หมายถึงยิงไม่โดนเลยนะครับ อาจโดนก็ได้หรืออาจไม่โดนเลยก็ได้ แต่ผู้การเรือไม่ควรโชว์เหนือเอาเรือไปล่อเป้า แบบที่อเมริกาเคยกระทำแบบโหดสลัดกับเยเมนเมื่อปีที่แล้ว ขานั้นมีทั้ง sm-2 ทั้ง essm ยังยิงว่าวไปตั้งหลายนัด โชคดีมากที่ระบบสงครามอิเลคทรอนิกส์เป็นพระเอกตัวจริง จรวดอิหร่านเลยตกน้ำเองไปหลายลูก
ที่ต้องยอมรับอีกเรื่องก็คือ ทัพเรือฝรั่งเศสไม่เคยชายตาแล vl mica แม้แต่นิดเดียว ข้ามไป aster เลยทั้งที่ตัวนี้ยิงใกล้ๆ ได้ดีกว่า และหมายมั่นจะเอามาเป็น ciws ตอนเริ่มโครงการ (สุดท้ายทำไม่ได้ตามหวัง) ประเทศอื่นๆ ในนาโต้ก็เช่นกัน บ่งบอกถึงความมั่นใจได้เป็นอย่างดีว่าxxxx แต่ผมชอบมากนะ อยากเอามาลงเรือคอร์เวตเราเพราะมันไม่แพงเกินไป ติดง่ายหาซื้อง่ายและมีโครงการในอนาคตแน่นอน เพราะมีรุ่นใช้งานบนฝั่งที่ขายค่อนข้างดีพอสมควร (แหงล่ะ...ยิงแค่เครื่องบินกับโดรนนี่นา)
เทียบกับเรือแดจังกึมของเรา เรามีค่าซ่อมบำรุงสูงกว่า ใช้เรดาร์เยอะกว่า ใช้เรือใหญ่กว่า กินน้ำมันมากกว่า แต่ทำภารกิจปราบเรือดำน้ำไม่ต่างกัน ถึงใส่ vl asroc เข้ามาก็ไม่ต่างกัน ตอร์ปิโดเรือดำน้ำยิงได้ 50 กิโลเมตร ต้องโซนาร์ลากท้ายแรงๆ ตรวจจับ แล้วใช้ ฮ.บินไปหย่อนจากด้านบนสถานเดียว เกือบทุกชาติในนาโต้ก็ใช้แบบนี้ทั้งนั้น
น่าสนใจครับ vl-mica นี่รับมือกับพวก anti ship missile ไม่ไหวหรือครับนี่ ส่วนเรือเราไม่มี jammer แบบนี้ก็ลำบากเอาการสิครับ
ทั้งเรือมาเลเซียและเรืออินโดเป็นเรือลดการตรวจจับเรดาร์ที่แท้จริง สังเกตที่สะพานเดินเรือได้เลยนะครับ มีการตีโป่งออกมานอกตัวเรือเล็กน้อย หมายความว่าพื้นที่ด้านล่างใช้เต็มมาถึงสุดกราบเรือพอดี ขณะที่เรือของเราสะพานเดินเรือไม่ได้ตีโป่ง เพราะต้นแบบคือเรือพิฆาต KDX-I ของเกาหลีใต้ จะเว้นทางเดินกราบเรือไว้เล็กน้อย พอตีสังกะสีปิดเข้าไปเลยพอดีกับสะพานเดินเรือ
จุดนี้เองที่เป็นปัญหาในการออกแบบ เป็นที่มาของลักยิ้มท่านกบนั่นแหละครับ เพราะปรกติมันเป็นที่ว่างไม่ใช่ห้องสร้างมาจนสุด ตีสังกะสีปิดเข้าไปจะมีปัญหาบางประการ เพราะมันจะต้องถอดออกได้ด้วยเลยเป็นที่มาของลักยิ้ม ขณะที่เรือมาเลเซียกับอินโดงานตรงนี้จะเนียบกริบมาจากพิมพ์เขียว รวมทั้งพื้นที่ที่ตีสังกะสีจะมีการเจาะช่องให้แสงเข้าได้ เรือของเรามีรูพรูนทั้งสองกราบโดยตำแหน่งไม่ตรงกัน ที่จำเป็นต้องมีเพราะต้องใช้งานอะไรที่อยู่ภายใน แต่จะเป็นอะไรผมเองไม่อาจทราบได้ ส่วนพอเลยมาหน่อยแถวเรือเล้กงานจะเนียนแล้ว เพราะตั้งเหล็กสูงตีปิดพื้นที่ว่างทั้งหมด (นึกถึงจอหนังกลางแปลงก็ได้นะครับ) แล้วเจาะรู้สำหรับเรือเล็ก สำหรับช่องเติมน้ำมัน และช่องตอร์ปิโด อ้อ ขวามือมีสะพานขึ้นเรือหรือ gangway ซ่อนเอาไว้ด้วย ของเราซ่อนเนียนมากครับ
เรือฟริเกต FFX-II ของเกาหลีใต้ ตรงสังกะสีปิดก็มีรูแบบนี้เยอะเช่นกัน แต่ของเขาเนียนกว่าของเรานะ สะพานเดินเรือทันสมัยกว่า หัวเรือเหมือนจะเหมือนแต่ไม่เหมือน หลายๆ อย่างเกือบเหมือนแต่ไม่เหมือน ลองเอาภาพมาเปรียบเทียบกันดูก็ได้ สาเหตุที่ไม่เหมือนเพราะของเรารุ่นส่งออกนั่นเอง ระบบขับเคลื่อนก็ไม่เหมือนกัน โอ้ย ใส้ในต่างกันเยอะมากมาย
ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นแบบนี้ทุกลำนะครับ อย่าง LSC-2 ที่เป็นเรือหลายท่อนก็ไม่ได้ตีโป่ง แต่โดยส่วนใหญ่เรือปรกติที่ผมเห็นคือเป็นแบบนี้ ถ้าสะพานเดินเรือไม่ตีโป่งให้คิดในทางชั่วร้ายไว้ก่อนเลยครับ ฮ่า ฮ่า :)
มีคำถามตามมาว่าทำไม vl mica ยิงฮาร์พูนไม่โดน ผลการทดสอบ (ในแลป) คะแนนโคตรดีเลยนะ ต้องยอมรับความจริงกันก่อนว่า ปัจจุบันจรวดนำวิถีอินฟาเรดแม่นสู่จรวดนำวิถีเรดาร์ไม่ได้ ถ้าไม่ยอมรับแล้วไปเห็นเคส AIM-9X ยิงใส่เครื่องบินซูแล้วว่าว ก็จะออกมาร้องโวยวายว่าเฮ้ย! อเมริกาหลอกพวกเราหรือเปล่า พลาดได้ยังไงกัน มันต้องยิงโดน 100 เปอร์เซ็นต์ไม่ใช่เหรอ บลา บลา บลา.... แบบที่มิตรรักแฟนเพลงในเมืองไทยจำนวนมากเคยทำกัน ซึ่งผมมองว่าการยิงพลาดปรกติมาก คนจากประเทศผู้ผลิตเองก็คิดเห็นตรงกัน
จรวดนำวิถีอินฟาเรด ทำงานได้ดีในความสูงระดับต่ำ เครื่องบิน ฮ. โดรน พวกนี้ ยิงแม่นกว่าจรวดนำวิถีเรดาร์ ที่ในภาพยนตร์จะโม้ว่าจรวดบินตามเครื่องบินในระดับเตี้ยติดดินได้ (ของจริงไม่ไหวหรอก) แต่พอเอามายิงจรวดต่อสู้เรือรบแล้วตรงกันข้าม อินฟาเรดล๊อกเป้าได้แล้วก็จริง แต่ความคล่องตัวมีน้อยมากจึงตามไม่ไหว พูดง่ายๆ เลี้ยวไม่ทันจรวดฝั่งกระโน้นแหละ มันก็เลยว่าวเท่านั้นเองจะมีอะไร
สิ่งหนึ่งที่สำคัญมากในการพัฒนาจรวด RAM Block II คือการพัฒนาให้จรวดเลี้ยวในระยะฉกกรรจ์ได้ดีขึ้น มีความคล่องตัวสูงมากขึ้น 2 เท่าตัวอะไรทำนองนี้ จรวดถึงจะมีคุณสมบัติเพียงพอที่จะยิงจรวดต่อสู้เรือรบได้ แต่เอาเข้าจริงจะอย่างไรไม่รู้นะครับ สิ่งพวกนี้ผมไม่เคยเห็นมิตรรักแฟนเพลงในไทยพูดถึงเลย สนใจแต่ระยะยิงไกลขึ้น ยิงท่อยิงทางดิ่งได้ (ยังไม่ได้ และคงไม่มีวันได้ และไม่เหมาะสมที่จะใช้) ระบบนำวิถีอย่างไรกันหนอ เหมือนเอาอีคาร์หรือท้ายเบนส์ไปแต่งเป็นอีโวนั่นแหละครับ ใส่เครื่องยนต์แรงๆ เข้าไปได้เหมือนกันก็จริง แต่โครงรถมันจะไม่ไหวเอาน่ะสิ ขาดสองท่อนกันมานักต่อนักแล้ว
เคยสังเกตไหมว่าทำไมจรวด RAM ซึ่งโม้ว่า Lock on after launch ถึงมี 21 ท่อยิง เพราะตอนพัฒนาเยอรมันกับอเมริกา ใช้แผนระดมยิงไปยังเป้าหมายเดียวกันหลายๆ นัด ไม่อย่างนั้นจะไม่มั่นใจว่าเอาอยู่ เยอรมันนี่ติด 42 นัดบนเรือคอร์เวตเลยนะครับ มั่นใจแค่ถามใจเธอเองดูได้ vl mica ใช้งานบนทะเลจึงมีลูกค้าจากกลุ่มนาโต้ เอ่อ...มีไหมหนอจำไม่ได้แล้ว
แบบนี้เรือหลวงท่าจีนเราถ้าเทียบกับเรือของเพื่อนอาเซียนแล้วมีจุดยืนไหมครับ มีอะไรที่เราเด่นบ้าง แลกกับค่าตัวที่แพงกว่า ค่าปฏิบัติการณ์และซ่อมบำรุงที่ก็น่าจะมากกว่า?
เรือของเราใช้คุณสมบัติเรือฟริเกตนาโต้จากยุคสงครามเย็นครับ มีเรดาร์ตรวจการณ์ระยะกลาง และมีเรดาร์ตรวจการณ์ระยะไกล โม้ได้เลยว่าชาติอื่นไม่มีแบบเรา
เรามีโซนาร์ทั้งหัวเรือและท้ายเรือ โม้ได้เลยว่าถ้าโซนาร์ท้ายเรือพังยังมีข้างหน้าอยู่นะเฟ้ย ส่วนทำอะไรได้บ้างนั้นอย่าไปสนใจ
เรามีเรดาร์ควบคุมจรวดนำวิถีจำนวน 2 ชุด เรามีจรวด ESSM ซึ่งการันตีผ่านการใช้งานจริงมาแล้วในเคสเยเมน จรวดมีคุณสมบัติสูงมากพอจะยิงจรวดต่อสูเรือรบได้ทุกรุ่น ส่วนยิงโดนไม่โดนอีกเรื่องนะครับ แต่เวลาเขาคุยเรื่องจำนวนจรวดเงียบๆ ไว้ก็ดีนะครับ ไปบอกว่าใส่ได้ 32 นัดเดี๋ยวจะโดนสวนคืนว่ามีกี่นัด แต่อย่างมาเลเซียใส่ vl mica ได้ 16 นัดผมว่ามาเต็มแน่นอน
เรามีเครื่องยนต์แก๊สโซลีน+ดีเซล ทำความเร็วสูงสุดได้ดีกว่าดีเซลล้วน+มอเตอร์ไฟฟ้า
เรามีระบบ CIWS ที่แท้จริงคือฟาลังซ์ โม้ได้เลยว่าเคยยิงพวกเดียวกันจนเรือพรุนมาแล้ว
เรามีจรวดฮาร์พูนรุ่นใหม่ล่าสุด ยิงได้ไกลกว่าเดิมส่วนจะเล็งยังไงไม่ทราบเหมือนกัน
เรามีระบบ datalink ระหว่างเรือฟริเกตด้วยกัน (บางลำ) เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ และเครื่องบินกริเพนกับอีรีย์อายของทัพอากาศ
เรื่องปืน 76/62 ปืน 30 มม เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ ระบบเป้าลวง รวมทั้งตอร์ปิโดคงโม้อะไรไม่ได้ เรื่องสุดท้ายต้องรอมีของจริงมาอวดโฉมเสียก่อน อ้อ...ยังมีอีกเรื่องหนึ่งโม้ได้ครับ
เราซื้อเรือที่ละ 1 ลำ ฉะนั้นเรือเราโดยเฉลี่ยจะแพงกว่าชาวบ้านที่ซื้อ 6 ลำแน่นอนครับ
นอร์เวย์เรือฟริเกตจมไป 1 ลำ แผนการจัดหาใหม่มาทดแทน 1 ลำไม่มีใครเอาเลย เพราะราคาแพงมากโหดมาก นอกจากไปขอซื้อรุ่นอื่นที่เพื่อนบ้านกำลังจัดหา อย่างเนเธอร์แลนด์กับเบลเยี่ยมจะต่อเรือฟริเกตเอนกประสงค์ใหม่ ยังรวมกลุ่มกันแล้วสร้างทีเดียว 4 ลำเป็นการลดต้นทุนเลย ฟิลิปปินส์ก็ซื้อเรือรบจากเกาหลี 2 ลำ ทุกประเทศไม่มีใครกล้าสั่งเรือรบหรือเรือดำน้ำที่ละ 1 ลำยกเว้นสยามครับ แฮ่! ;)
ผมควรขำหรือร้องไห้ดีครับนี่ 555 ลำที่สองเฝ้ารอข่าวทุกวันมาหลายปีจนลำแรกจะมาก็ยังไม่มีแววให้ชื่นใจ อ้อ ยังเฝ้ารอบทความสนุกๆของท่าน superboy อยู่นะครั่บ สักบทความต้อนรับเรือหลวงท่าจีนไหมครับ :)
เพื่อนๆ บางคนอาจคิดว่าผมรังเกียจ VL Mica ตรงกันช้ามผมชอบมานานมากแล้ว และเพราะความชอบจึงจำเป็นต้องรู้คุณสมบัติที่ชัดเจนไม่ใช่แค่คำโฆษณา ยกตัวอย่างให้ดูอันหนึ่งแล้วกัน โครงการจัดหาเรือคอร์เวตทดแทนเรือหลวงตาปี (ปลดประจำการ) เรือหลวงรัตนโกสินทร์ (ย้ายภารกิจ) หนึ่งในหลายตัวเลือกคือเรือรูปทรงตัว X จากอินเดียครับ เน้นภาระกิจปราบเรือดำน้ำเลยไม่มีจรวดต่อสู้เรือรบ แต่ใส่ VL Mica มาให้ 12 นัดพอเอาตัวรอดได้แหละน่า ^^
สำหรับลำนี้คือเน้นแบบเรือลำใหญ๋ที่สุดไว้ก่อน ซื้อแบบเรือจากอินเดียนำมาปรับปรุงแล้วต่อเอง แค่ลดขนาดปล่องควันให้เล็กลง ใส่บันไดขึ้นเรือ ใส่ไอ้โน่นไอ้นี่ แต่ตัวเรือโดยรวมแทบไม่ได้แตะต้องเลย ใส่อาวุธแค่พอทำภารกิจเท่านั้น (ไว้มีเงินค่อยว่ากัน) ต่อรวดเดียว 4 ลำในเวลา 10 ปี มีโซนาร์ลากท้ายตรวจเรือดำน้ำ มีโซนาร์ตรวจทุ่นระเบิดหัวเรือ และมีโซนาร์ลากท้ายตรวจทุ่นระเบิด มีพื้นที่สำหรับทำภารกิจกวาดทุ่นระเบิด ที่ใส่ตู้คอนเทนเนอร์สีฟ้านั่นแหละครับ ใช้ปืน 30 มม ของอเมริกาแบบฝังในพื้น ด้วยเหตุผลว่าชอบเป็นการส่วนตัว ที่เหลือก็เหมือนๆ เรือหลวงท่าจีนนั่นแหละ
โครงการนี้ของผมดองข้ามปีแน่นอน ไม่ว่างงานมาทำต่อเสียที เดือนหน้าก็จะเริ่มวุ่นวายอีกแล้ว เส้า
ปล. ลืมบอกไป ใส่ตอร์ปิโด 533 มม.แบบเอนกประสงค์มาให้ฝั่งละ 2 ท่อ ยิงได้ทั้งเรือดำน้ำและเรือผิวน้ำ ระยะยิง 50 กิโลเมตรสบายๆ นี่แหละครับทีเด็ดทีขาดของเรือ
ปล2. เรื่องบทความผมว่าจะเขียนแบบสั้นๆ ตอนเดียวจบเหมือนกัน นึกๆ ไว้แล้วว่าจะเอาเรื่องไหนดี ส่วนบทความยาวๆ หลายตอนคงไม่ไหว เรือหลวงท่าจีนนี่คุยจนเบื่อแล้ว เลยไม่รู้จะเขียนตรงไหน รอไว้ประจำการสักพักค่อยว่ากันใหม่ดีกว่า