https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=2172928839438886&id=100001653746791
https://aagth1.blogspot.com/2018/12/blog-post_16.html
กองทัพเรือไทยได้ทำพิธีรับมอบ(Delivery Ceremony) เรือฟริเกต ร.ล.ท่าจีน ณ อู่ต่อเรือ บริษัท DSME ที่ Busan สาธารณรัฐเกาหลี เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๑
แต่น่าแปลกที่ทางฝ่ายประชาสัมพันธ์ของกองทัพเรือไทยเองไม่ได้มีการเผยแพร่เรื่องนี้(เข้าใจว่าอาจจะติดช่วงวันหยุดกับงานไตรกีฬานาวีเฉลิมพระเกียรติ)
โดยมีการเผยแพร่ภาพพิธีที่มาจากกำลังพลชุดรับเรือของไทย และเจ้าหน้าที่ของอู่ DSME เกาหลีใต้ใน Facebook สาธารณะ
ส่วนตัวเข้าใจว่า ร.ล.ท่าจีน น่าจะมีกำหนดออกเดินเรือจากเกาหลีใต้มายังไทยในเวลาอันใกล้นี้ครับ
ความบ้าของผมคือรู้อยู่เต็มอกตั้งแต่ประกาศแบบเรื่อว่า 8 ท่อยิงจนเขาสร้างเสร็จ จนจะส่งมอบ ก็ยังบ้าหวังว่ามันจะเป็น 16 ท่อยิง ฮาๆๆ
ก่อนหน้าโครงการจัดหาเรือฟริเกตสมรรถนะสูงคือ ร.ล.ท่าจีน ลำนี้ กองทัพเรือไทยไม่ได้สั่งต่อเรือรบผิวน้ำหลักจากต่างประเทศมานานมากแล้วครับ
โดยประเภทเรือฟริเกตชุดที่สั่งต่อใหม่ก่อนหน้าคือชุด ร.ล.นเรศวร ทั้ง ๒ลำ ก็เข้าประจำการในปี พ.ศ.๒๕๓๗-๒๕๓๘ คือเกือบราว ๒๕ปีแล้ว
ซึ่ง ร.ล.ท่าจีน(ลำที่๓) นี้เป็นเรือฟริเกตที่ติดตั้งระบบอำนวยการรบและระบบอาวุธจากยุโรปและสหรัฐฯที่ครบสมบูรณ์ทั้งลำ สามารถทำการรบได้สามมิติ
ตามรายงานล่าสุด ร.ล.ท่าจีน ลำที่๓ นี้มีกำหนดจะออกเดินเรือจากเกาหลีใต้มาถึงไทยในวันที่ ๖ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๒ ครับ
ลุ้นลำที่ 2 กันต่อ
........โดยความคิดเห็นส่วนตัว ผมว่าการประกอบเชื่อมต่อผิวลำเรือของเกาหลียังดูหยาบ ไม่เก็บรายละเอียดให้ดี ผิวเรือไม่เรียบเนียน ....ความปราณีตยังสู้ฝีมือเชื่อต่อประกอบลำเรือของช่างไทยที่ทำการต่อเรือOPV ที่ประกอบในไทยเองทั้งสองลำไม่ได้ ช่างไทยทำได้ดีกว่าเยอะ....ครับ/สกายนาย
เรือฟริเกต ร.ล.ท่าจีน นี่เป็นเรือที่ใช้ชื่อเดียวกันเป็นลำที่๓ แล้วครับ โดย ร.ล.ท่าจีน ลำที่๑ เป็นเรือพี่น้องกับเรือสลุป ร.ล.แม่กลอง ซึ่งต่อที่อู่เรือ Uraga ญี่ปุ่นเข้าประจำการเมื่อปี พ.ศ.๒๕๘๐
ทว่าในช่วงสงครามโลกครั้งที่๒ ร.ล.ท่าจีน(ลำที่๑) ถูกเครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตรโจมตีทางอากาศจนท้องเรือทะลุ ซึ่งสภาพเรือไม่สามารถจะซ่อมเพื่อนำกลับเข้าประจำการได้ จึงต้องปลดประจำการไป
ร.ล.ท่าจีน ลำที่๒ เป็นเรือฟริเกตตรวจการณ์ชั้น Tacoma เดิมชื่อ PF-36 USS Glendale กองทัพเรือสหรัฐ รับมอบในวันที่ ๒๙ ตุลาคมพ.ศ.๒๔๙๔ ที่ฐานทัพเรือ Yokosuka ญี่ปุ่นช่วงสงครามเกาหลี
ร.ล.ท่าจีน(ลำที่๒) ถูกปลดประจำการเมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๓ ปัจจุบันถูกนำไปตั้งแสดงเป็นเรือพิพิธภัณฑ์ที่โรงเรียนเตรียมทหารครับ
สีข้างทำไมบุ๋มน่ารัก เป็นรักยิ้มคุณกบ อนุสรา สมัยสาวๆเรยอ่ะครับ..................ว่าก็ว่า เรือหลวงนเรศวร ตอนรับจากจีนใหม่ๆ ทั้งตัวเรือ ทั้งเก๋งเรือ สีข้างหนิเรียบเนียนกิ๊บเลยนะครับ
หรือเป็นเทคโนโลยี่สเต้วธ์ เพื่ออมคลื่นเรดาร์ไว้ในลักยิ้ม ????
ตรงรอยบุ๋ม สีไม่เรียบเนีบน ไม่ใช่ปัญหาครับ ไทยเรามีช่างโป้สีฝีมือดีๆ เยอะมากครับ 5555
Naresuan Class | Formidable | Dae Jung Kuem | |
Rawang Kub Nam (Ton) | 2,800 | 3,200 | 3,700 |
Krueng Jak | CODOG | CODAD | CODAG |
Kamlang Mah (Hee Hee not Hong Hong) | Max 44,000 with 2 Gas Turbine Engine | 48,800 with 4 Diesel | Max 55,000 with 2diesel + 1 Gas Tb. |
Kwam Raiw (Not) | 32 | 27 | 30 |
Piisia Patibutkarn (kilomed) | 7,400 | 7,780 | 7,400 |
Prajam Rua (kon) | 150 | 71 (+19 hoh) | 136 |
Rabob Truad Jub | |||
1.Puen soo Arkas | |||
1.1 Radar Truad Arkas | |||
a | 2D LW-08 / 270 km. (230 km. for Fighter AC.) | 3D Phase Array /250 km. | Giraffe 4A 3D Phase Array / 280km. |
b | Giraffe AMB 3D Phase Array / 120km. | - | Giraffe AMB 3D Phase Array / 120km. |
1.2 Radar Tidtam Pao-my | |||
a | 2 x Saab CEROS 200 Fire Control Radar | 3D Phase Array for Aster 15 | 2 x Saab CEROS 200 Fire Control Radar |
b | - | Sting EOMark2 for Harpoon and Puen | - |
2.Sonar | |||
2.1 Sonar Tua Rua | DSQS-24d sonar / 44 km. | ??? | DSQS-24d sonar / 44 km. |
2.2 Sonar Lak Tai | - | EDO Model 980 / 74 km. | ACTAS (Group Atlas) / 60km. |
3.Optronic | 2 for 30 mm. | 2 system for 25 mm. Automatic Gun | 1 for Phalanx , 2 for 30 mm. |
Arwoot | |||
1.Puen soo Puen | |||
1.1 Jaruad Namwithee /Piisai Ying | Harpoon / 140 k.m. | Harpoon / 140 k.m. | Harpoon / 140 k.m. |
1.2 Puen Rua Lak / Kanad Lamklong | 127/54 Mk45 Mod.2 | 76/72 Super Rapid | 76/72 |
1.3 Puen Rong / Kanad Lamklong | 2 × 30mm DS30MR | 2 × 25mm Mk38 Mod2 | 2 × 30mm DS30MR |
2.Puen soo Arkas | |||
2.1 Jaruad Namwithee /Piisai Ying | |||
Piisai Klang | RIM-162 ESSM / 50 km. | Aster 15 / 30 km. | RIM-162 ESSM / 50 km. |
Piisai Klai | - | Aster 30 / 120 km. (Optional) | - |
2.2 Poh Toh Or / Kanad Lamklong | - | ***76/72 Super Rapid*** | ***Phalanx 20 mm.*** |
3.Toh Su Rua Damnam | |||
3.1 Torpedo | Mk 46 / 11 km. | EuroTorp A244/S Mod 3 / 13.5 km. | Mk 44 / 5.5 km. |
3.2 Jaruad | - | - | ASROC / 22 km. (Optional) |
4. See Ice Dubbliw Ass | |||
4.1 Puen | - | - | Phalanx 20 mm. |
4.2 Jaruad | ***RIM-162 ESSM*** | ***Aster 15*** | ***RIM-162 ESSM*** |
Rabob Songkram Electronic | |||
1. Eii Ass Em | ITT ES-3601 (AN/SLQ-4) (May-Ga) | RAFAEL C-PEARL-M (Yiw) | ITT ES-3601 (AN/SLQ-4) (May-Ga) |
2. Eii See Em | |||
2.1Jam Siang | Type 984-1 noise jamme (China) | - | - |
2.2 Luang Electronic | Type 981-3 deception jammer(China) | - | ??? |
3. Eii See See Em | |||
3. Pao Luang | Terma SKWS (Holland) | Dagaie System (Moon Dai) | Nulka (May Ga+Australia) |
4. Pao Luang Torpedo | - | Leonardo Finmeccanica Morpheus antitorpedo | - |
Rong Keb Helikobter | 1 | 1 | 1 |
ต้อนรับการประจำการของเอฟๆจี ท่าจีน.................. หลายคนสงสัยเทียบกับ ของพี่สิง จะได้มั้ย เลยทำเป็นตารางเปรียบเทียบให้ดู เป็นของเรือ เอฟๆจี สามชั้น สามแบบ ที่มีในอาเซี่ยนตอนนี้ ได้แก่ ชุดนเรศวร ฟอมิดาเบิ้ล และ แดจังกึมไทย.................
หากดูคร่าวๆ ชุดนเรศวร จะเล็กกว่าเขาสักหน่อย แต่ของพี่สิง เครื่องยนต์และความเร็วเป็นรองสองแบบของไทย................ ประจำเรือของสิงค์น้อยมาก ยืนยันได้ว่า ระบบบนเรือของเขาส่วนใหญ่เป็นอัตโนมัติ ..................
ระบบตรวจจับ ภาคอากาศ ฟอร์มิดาเบิ้ล กับแดจังกึมสูสี ชุดนเรศวร ตรวจพิสัยไกลยังอาศัย แอลดับบลิว-08 เป็นแบบสองมิติ ........................
อาวุธหลัก แซมระยะปานกลาง ฟอร์มิดาเบิ้ลจะเสียเปรียบเรื่องระยะยิง แต่ได้เปรียบในเรื่องจำนวน การต่อตีเป้า เนื่องจากตามคาแรคเตอร์ เอสเตอร์ใช้การนำวิถีแบบแรงเฉื่อยช่วงต้นและกลาง แต่ทั้งนี้ก็ต้องได้รับการปรับแก้ข้อมูลเป้าจากเรดาร์อย่างสม่ำเสมอ มันจึงถูกใช้งานคู่กับเรดาร์ตรวจการณ์แบบสามมิติ ซึ่งมีความเร็วในการให้ข้อมูลเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น จึงสามารถยิงจรวดต่อตีได้หลายเป้าหมายพร้อมกัน................... จะต่างจาก กระจอกทะเลวิวัตร ซึ่งใช้การนำร่องแบบ กึ่งกระฉับกระเฉงในช่วงต้นและกลาง ดังนี้นจึงจำเป็นต้องมีการแพร่ลำคลื่นฉายไปยังเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง ในการนี้การแพร่คลื่นจึงทำได้สองแบบคือ กรณีจานสายอากาศเป็นแบบเฟสอาร์เรย์ที่มีการสวิชชิ่งด้วยความถี่ที่สูงมาก (จานเดียวสับสวิทช์ ฉายส่องได้หลายเป้า) อนุมาณเหมือน ลำแสงฉายภาพโฮโลแกรม หนึ่งจุดหนึ่งครั้ง เวียนไปอย่างต่อเนื่อง เร็วจนเหมือนเป็นความปะติดปะต่อ กลายเป็นภาพอย่างต่อเนื่อง .................. หรืออีกแบบเป็นคอนเวนชันน่อล คือ แพร่หนึ่งลำคลื่นต่อหนึ่งเป้าหมาย (แต่หากดูในสเปคของซาบ เหมือนว่า หนึ่งจานเรดาร์จะจัดการได้สองเป้าหมาย ซึ่งในควาเป็นจริง เครื่องบินเป้า ต้องบินเกาะกันมาอย่างใกล้ชิด ประหนึ่งเป้าเดียว จนจรวดสองลูกที่ยิงออกไป สามารถแทรคเป้าในโหมด กระฉับกระเฉงเต็มตัวได้แล้ว จึงแยกกันไป ซึ่งในความเป็นจริง โอกาสเป็นไปได้น้อย จึงกล่าวได้ว่า หนึ่งจาน หนึ่งการแพร่คลื่น ต่อ หนึ่งเป้าหมาย ) นั่นจึงหมายความว่า แดจังกึม และ ชุดนเรศวร จัดการอากาศยาน/จรวดเรียดน้ำได้เพียง สองเป้า ในเวลาพร้อมกัน
ฟอร์มิดาเบิ้ล มีระบบเป้ลวงก้าวหน้า (หมุนได้คล้ายชุดรัตนโกสินทร์) แต่ไม่มีระบบสงครามอิเลคทรอนิคส์ แต่มีระบบเป้าลวงตอปิโด ชุดนเรศวร มีระบบสงครามดังกล่าวเป็นของจีน .......................
ฟอร์มิดาเบิ้ล และชุดนเรศวร ไม่มีซีไอดับบลิวเอส ต่างคงมั่นใจในระบบแซมของตัวเอง................
ใครเหนือใคร ก็ลองวัดกันดูครับ
เรื่องรอยบุ๋มผมอยากชี้แจงอีกสักมุมมอง เรือแดจังกึมของท่านกบ 'ไม่ใช่เรือลดการตรวจจับด้วยเรดาร์มาตั้งแต่กำเนิด' เหมือนกับเรือชั้นลาฟาแยคของสิงคโปร์ อาจมีหน้าตาคล้ายเรือฟริเกต FFX-II ของเกาหลีใต้ก็จริงแต่ใส้ในไม่เหมือนกัน เพราะอันที่จริงเป็นเรือที่แปลงร่างมาจากเรือพิฆาต KDX-I ของเกาหลีใต้อีกที ข้อมูลนี้มาจากกองทัพเรือไทยเองเลยด้วย
คิดว่าหลายต่อหลายท่านคงลืมที่พวกเราคุยกันเมื่อ 5 ปีที่แล้วไปแล้ว แปลงร่างมาจากลำนี้ครับ โดยการนำมาตีสังกะสีปิดด้านข้างเข้าไป ในเมื่อตอนถือกำเนิดมันไม่ได้ตีปิดมาเลย มันก็เลยได้ผลงานอย่างที่เห็นนั่นแหละครับ
ส่วนเรือหลวงนเรศวรของเรา เป็นเรือแบบเดิมที่ไม่มีการตีสังกะสี ฉะนั้นรอยเชื่อมยากๆ แบบนั้นไม่มีแน่นอน และนี่คือภาพตอนเรือเดินทางมาถึงประเทศไทย จะเห็นได้ว่ามันไม่มีงานยาก ถ้าจะมีลักยิ้มต้องเกิดในส่วนตัวเรือหรือเรียกว่า hull ซึ่งถ้ามีจริงๆ สมควรส่งคืนผู้ผลิต ใครกล้าเซ็นรับก็บ้าไปแล้ว
การลดการตรวจจับเรดาร์ด้วยการตีสังกะสีปิด ปัจจุบันล้าสมัยไปแล้วครับ ต้องทำให้ด้านข้างเรือเป็นรูปตัว X เพื่อให้คลื่นเรดาร์สะท้อนลงน้ำครับ แบบเรือฟริเกต Meko A200 ของแอฟริกาใต้นั่นแหละ ในเอเชียก็มีอินเดียอีกหนึ่งชาติใช้เทคโนโลยีแบบนี้ เพื่อนๆ อาจสงสัยว่ามันเป็นอย่างไรหนอ นี่เลยครับรูปตัว X
เสียดายฟิลิปปินส์ประเทศที่ได้นางงามจักวาล ไม่น่ายกเลิกดีลซื้อเรือรุ่นนี้ไปก่อนเลย ไม่อย่างนั้นพี่แกจะทันสมัยที่สุดในอาเซี่ยนไปแล้ว :)
ผมว่า ให้เรื่องความ ยับ นี้่ น่าจะเป็นเรื่องปกตินะครับ ไม่ว่าจะสัญชาติไหน ก็เหมือนกันหมด
เรื่องสำคัญน่าจะเป็นเรื่องที่ว่า ความเหนียวของแผ่นเหล็ก ว่าจะเป็นลักษณะใด ความยืดหยุ่นในการซ่อมผนัง ถ้าเกิดความเสียหายระหว่างการรบในทะเล หรือระหว่างเดินเรือทะเลที่มีการชน จนเกิดการฉีกของแผ่นเหล็ก
ถ้าลองดูหนังฝรั่ง สงครามโลกครั้งที่ 2 หนังเกี่ยวกับสงครามทางเรือ บางตอนจะมีการซ่อมผนังเรือ ที่เกิดจากการถูกยิงจนเสียหายเป็นรู โดยการรื้อผนังที่เสียหายทิ้ง และนำผนังใหม่ เชื่อมปิดเข้าไปในระหว่างเดินเรือทะเล เพื่อกลับฐาน นั่นเอง
เรือหลวงชั้นนเรศวรหลังอัพเกรดเสร็จเห็นว่าถอด พวก Jammer จากจีนทิ้งไปแล้วหรือเปล่าครับ. แล้วก็เรือหลวงท่าจีนไม่มีเป้าลวงตอปิโด ? หรือครับ.......
เครครับ ตามภาพ น้อยซ์แจมเมอร์ กับ อิเลคโทรนิค แจมเมอร์ น่าจะถอดไปแล้ว
น้อยซ์แจมเดิมจะอยู่ตำแหน่งข้างๆ ยีราฟเล็ก ส่วนอิเลคโตรแจมมิ่ง อยู่เกือบบนสุด
ส่วนเรื่องรอยยับนั้น เฉพาะสีข้างเรือ เหนือแนวน้ำย ผมว่ามันน่าจะเป็นไปตามการใช้งานของเรือครับ ในกรณีเทียบท่าเพื่อป้องกันเหล็กโดนกับคอนกรีตท่าเทียบเรือก็จะมีลูกตะเพา เป็นกันชน ด้วยน้ำหนักเรือเกิดเป็นโมเมนตั้มอัดสีข้างเรือกับลูกตะเพาบดกับคอนกรีต ก็จะเกิดเป็นลักยิ้ม............................เรือใหม่ ออกจากอู่ ก็ควรจะกริ๊บหน่อยครับ
ย
สมัยเด็กๆ ผมสังเกตุเรื่องนี้มาก ในนิตยสารสมรภูมิหรือสงคราม ผมชอบเอาภาพมาอัพเดท ยกตัวอย่างเช่น เล่มประจำปักษ์แรกของเดือนนี้ย มีภาพ ร.ล.มกุฏราชกุมาร สีข้างมีรอยยับเป็นซี่โครงกลางลำเรือด้านขวา หายไปหนึ่งปี ปักษ์แรกของเดือนตุลา มีภาพ ร.ล.มกุฎ ปรากฏอีกครั้งหนึ่ง คราวนี้ทำสีใหม่โทนฟ้า อ่อนกว่าเดิม (อาจเป้นการปรับแสงเลนส์กล้องคุณสมพงษ์) รอยยับนั้นหายไป.......................อะไรทำนองนั้น ยกเว้นเรือหลวง ประแส และ ท่าจีน ที่ดูตอนไหนก็ยับ ยับตั้งแต่หัวจรดท้าย เหมือนชี่โครงอาแปะผอมสูงขนถ่านที่หลังตลาดโพธิ์ชัยหนองคายปานนั้น........................
แต่มีเรื่องแปลกอยู่อย่างนึง รล.แม่กลอง ต่อจากญี่ปุ่น ขนาดอายุร่วมหกสิบปีในเวลานั้น ผมไม่เคยเห็นรอยยับของเธอเลย...........
ขอแสดงความยินดีกับกองทัพไทยด้วยนะครับ
https://baohaiquanvietnam.vn/tin-tuc/tau-hai-quan-thai-lan-tham-thanh-pho-da-nang-4568-4568-4568
ร.ล.ท่าจีน(ลำที่๓) เดินทางมาถึงท่าเรือ Da Nang เวียดนามแล้วในวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๑ โดยเรือมีกำหนดจะออกเดินทางจากเวียดนามในวันที่ ๓ มกราคม ๒๕๖๒ ครับ
"การที่เราไม่รู้ไม่เห็นในสิ่งที่มองด้วยตาเนื้อแล้วบอกว่าสิ่งนั้นไม่มีวิทยาศาสตร์ไม่ใช่ว่าจะพิสูจน์หรือถูกต้องทั้งหมด
การทำพิธีบวงสรวงของไทยเรามีมานานคู่กับคนไทยไม่ว่าทำอะไรต้องมีความเชื่อก่อนเราขึ้นบ้านใหม่ปลูกบ้าน สร้างเมืองซื้อรถเราก็ต้องมีพิธีเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์แม่ย่านางรถกัน
ใครที่บอกว่าไม่ต้องทำพิธีแม่ย่านางเรือก็มีนั่นคิดผิดรับรองอย่างไรก็ไม่มีเพราะเป็นเหล็กที่ต่อขึ้นมาไม่ใช่ต้นไม้ที่มีจิตวิญญาณอยู่แล้วเรายังต้องทำพิธีก่อนเลย
และที่สำคัญขวัญและกำลังใจของกำลังพลเวลาผจญภัยกับคลื่นลมและการสู้รบ จึงทำให้มีพิธีเชิญจิตเทพนารีลงมาประจำเรือ
เรือไหนไม่เคยทำผมบอกได้เลยว่าไม่มีแม่ย่านางลงแน่นอนเพราะเทพมักถือองค์และไม่ทำพิธีก็ลงไม่ได้ และทำไม่ถูกพิธีก็ไม่ลงครับ"
https://www.facebook.com/people/จิรศิษฏ์-แสงวิลัย/100001825214786