หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ก่อนลิเกลาโรง............ ขอดาวเทียมทหารสักชุดเหอะ.............

โดยคุณ : กบ เมื่อวันที่ : 30/09/2018 13:20:38

เพื่อนคงพอจำได้ ย้อนไปสัก 15 ปี ที่แล้ว..............หลังจาก วิง21 แตก ท่าน จข.เวบ พาพวกเรามาสร้างบ้านใหม่  .............  ด้วยความรู้เทคโนโลยี่ทางทหารที่พวกเราพอมี ต่างลุ้นให้ ทอ.จัดหา เครื่องบินเอแวค  เพราะในตอนนั้น ทอ.กำลังจะก้าวข้ามยุทธวิธีการรบไปอีกขั้น ในลักษณะการรบไกลกว่าสายตาด้วยจรวด อำราม ติดตั้งกับเจ้าต่อ ฮอร์เนต............................การมีเครื่องตรวจการณ์แจ้งเตือนล่วงหน้า ย่อมสร้างความได้เปรียบในสถาณการณ์รบ...............และเหมือนเชียร์ขึ้น หลังจากนั้น สิบปี  ทอ.ก็จัดหา อีรี่อาย มาพร้อมกับ บข.20 กริเพ่น................

 

วันนี้ พศ. 2561   การรบแบบเครือข่ายมีความมสำคัญและเป็นหัวใจของการรบ..................... หากท่านฟังข่าวคราวเมื่อสองสามเดือนมานี้ ............  ทัพไทย  มีแนวคิดในการจัดหาดาวเทียมทางทหาร................... หลายท่านร้อง โอ ๆๆๆๆ      

 

ดาวเทียมทางทหารมีใช้งานหลายจุดประสงค์    แต่เรามักคุ้นเคยกับภารกิจ จารกรรมสอดแนม....................แต่สิ่งหนึ่งที่จะสร้างความได้เปรียบในการรบไม่น้อย นั่นคือ  " การกำหนดเป้าหมาย  และชี้เป้า "   .........................  ปัจจุบัน กองทัพ มีประจำการด้วยจรวดต่อตีพิสัยไกล  ซึ่งที่ชัดเจนในวันนี้คือ กองทัพเรือ  ................ ทร.มีจรวดต่อตีเรือที่มีระยะยิงไกลเกินร้อยกิโลเมตร  ซึ่งระยะยิงไกลขนาดนี้ เกินกว่าความสามารถในการชี้เป้าจากเรดาร์ของเรือยิง....................  ดังนั้นการกำหนดพิกัดเป้าหมาย  และข้อมูลติดตาม (ระยะ ความเร็ว ทิศทาง )  จะต้องใช้ระบบลิ้งค์     ซึ่งแน่นอน  การรบเป็นเครือข่ายต้องเชื่อมข้อมูลเข้าหากัน   แต่การสร้างโครงข่ายครอบคลุมนั้น   ต้องใช้สถานีตรวจจับเป็นจำนวณมาก (กรณี อีรี่อาย ไม่ครอบคลุมทั่วพื้นที่ และที่สำคัญคือความจำกัดด้วยห้วงเวลา) ........................  ปัญหาเหล่านี้จะหมดไป    หากมีดาวเทียมทหารสัญชาติไทย  โคจรค้างฟ้าเหนืออาณาเขตไทย..........................

 

และเพื่อนๆครับ   มากไปกว่านั้น    ทบ. กำลังจะมีจรวด ขีปณาวุธพิสัยไกล ผลิตขึ้นเอง...........................  จรวดพร้อม   คนพร้อม    แต่ถ้า ระบบนำร่อง ยังยืม ต่ะหมูก  เค้าหายใจ    เห็นท่าจะไม่ดีแน่ครับ.......................





ความคิดเห็นที่ 1


เชียร์ให้มีครับ.  คำว่า   " จรวดเพื่อความมั่นคง " ที่พูดกันบ่อยๆเมื่อหลายปีที่แล้ว ตีความให้กระจ่าง มันครอบคลุมเรื่องดาวเทียมทางทหารด้วยแน่ๆ

ตราบใดที่เราไม่รบกับมหาอำนาจ หรือ ติ่งใกล้ชิดของมหาอำนาจ  คงไม่ต้องกังวลเรื่องถูกสอยจากดาวเทียมสังหารของมหาอำนาจ 

 

ดาวเทียมทหาร แค่ใช้ในทางการข่าวก็ประโยชน์มหาศาลแล้วครับ.  แต่ถ้าจะเอาไปนำร่องอาวุธต้องมีอย่างน้อย 3 ดวงน่ะนะ. เราไหวมั้ย ?

อันนี้ไม่ทราบจิงๆ

โดยคุณ Sam เมื่อวันที่ 24/09/2018 09:24:23


ความคิดเห็นที่ 2


คือจะว่ากันแล้ว  เชื่อว่าทุกชาติในอาเซี่ยน ต่างจับตามองเราอยู่ครับ................ ลองนึกว่า เรามีขีปณาวุธที่ยิงได้สัก 300-500 กม.  มีความสามารถเคลื่อนที่แบบ โมบิลิตี้ ใช้การนำร่องด้วยดาวเทียมของตัวเอง.................... ท่านครับ ไม่ต้องล้ำยุคถึงขั้น ครุ้ยส์ บินต่ำเกาะภูมิประเทศแบบโตมาฮอว์ค ดอก   เอาแค่ติดหัวรบสักครึ่งตัน  โคจรโด่งเป็นบั้งไฟเหมือนจรวดโบราณ สกั๊ด   ของท่านซัดดัมเมื่อสามทศวรรตที่แล้ว   แค่นี้รอบบ้านก็ขนลุกซู่ส์ ร้องยี้กันทั้งบางแล้วครับ...................

 

คราวนี้ จะเห็นพม่า เวียดนาม และอาจรวมถึงมาเลเซีย สิงคโปร์  จัดหาระบบเรดาร์เครื่อข่าย ระบบแซมพิสัยไกล แพถริออต  เอส สามร้อย สี่ร้อย ไปนู่น ......................   ซู สามสิบ   สไตร้ค์ อีเกิ้ล  ไม่ต้องแล้วครับ     งานนี้บั้งไฟจัดให้.............

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 24/09/2018 09:55:25


ความคิดเห็นที่ 3


อันนี้ผมไม่รู้จริงๆนะครับว่า ทำแบบนี้ได้ไหม

สมมุติว่า เรามีดาวเทียมทหาร ลอยอยู่เหนืออ่าวไทย ให้รัศมีครอบคลุมเพียงพอทั้งอ่าว และอาจรวมถึงฝั่งอันดามันด้วย (อาจต้องใช้สองดวงหรืออะไรก็ว่าไป) เท่ากับว่า อวป. ของฝ่ายเรามีระบบนำร่องครอบคลุมทั้งอ่าวแล้ว

ขั้นต่อไป ผมวาง อวป. 3-4 จุด ให้วงรัศมีของระยะยิงซ้อนกันคลุมทั้งน่านน้ำ = ผมจะยิงไปตรงไหนในอ่าวไทยก็ได้ จุดยิงนี้ อาจซ่อนพราง หรือ อยู่เปิดเผยแต่ภายใต้การอารักขาของ ค่ายทหารของ ทบ. หรือสนามบินของ ทอ. ก็ได้

จากนั้น ปรับลดงบประมาณในส่วนของกองเรือรบลง ทร. ก็ไม่จำเป็นต้องมีเรือฟรีเกตขนาดใหญ่อีกต่อไป มีแค่เรือตรวจการไกล/ใกล้/ชายฝั่ง ที่ประหยัดกว่า และมีความคล่องตัวสูง มีอาวุธเพียงพอต่อความขัดแย้งระดับต่ำ และการรักษากฎหมายในทะเล เสริมด้วยการพัฒนา UAV ระยะไกล ของ ทอ. (ผมสามารถเอาเสาต่อระยะสัญญาณ ไปฝากบรรดาฐานขุดเจาะกลางอ่าวไทยได้ใช่ไหมครับ)

ในกรณีการกระทำผิดกฎหมายในทะเล แบบพวก IUU ค้ามนุษย์ ค้าน้ำมันเถื่อน อะไรงี้ บรรดาเรือตรวจการไกล/ใกล้/ชายฝั่ง เอาอยู่อยู่แล้ว แต่ถ้าเจอกระบวนเรือฟรีเกตรุกเข้ามาจริง หากเรือน้อยๆ หรือ UAV ของเราตรวจพบ ทันที่ที่พวกเขาแตะเขาอ่าวไทย เตรียมรับ อวป. จาก หาดใหญ่ ชลบุรี สมุทรปราการ สุราษ ยิงเข้าใส่ (ไม่นับเรือ ส. แลกรีพเพ่น ที่จะออกไปเสริมอีก 2 จบ รวมเป็นสวด 3 จบ พอดี)

โดยคุณ Naris เมื่อวันที่ 25/09/2018 09:52:53


ความคิดเห็นที่ 4


     วันนี้ร้อนทำงานไม่ได้เลย กลางคืนก็เริ่มหนาว พายุก็จะเข้า ยังไงกับชีวิตดีหนอ

     เข้าสู้เนื้อหากระทู้ ถ้าเอาตามที่ท่านกบว่ามา คือจรวดระยะ 500 กิโลเมตรยิงวิถีโค้งเข้าสู่เป้าหมายภาคพื้นดิน อันนี้ผมให้ผ่านอย่างน้อยก็ยังใช้ขู่ได้ แต่ถ้าเอาตามท่านนริส คือวางจรวดระยะยิงครอบคลุมอ่าวไทย มีเรือดำน้ำกับกริเพนเป็นดาบ 2 และ 3 บอกได้คำเดียวท่านนริสกำลังหลงทางครับ

     ถ้าใช้ในเคสตบเด็กไม่มีปัญหาหรอก แต่ไม่รู้จะตบด้วยจรวดราคาแพงเพื่ออะไร แต่ในสภาวะการณ์สงครามเต็มตัว มีเรือรบ 4 ลำแล่นเข้ามาในท้องทะเลไทย เป้าหมายคือบุกเขามาที่ท่าเรือคลองเตย เรือลำเล็กลำน้อยกับ UAV โดนสอยตั้งแต่ยังไม่รู้ตัวแน่นอน เพราะเรือที่ตั้งใจรุกรานมีเรดาร์ทันสมัยแน่นอน UAV ลำเล็กก็ติดกล้องเล็กต้องบินเข้าใกล้ แล้วมันจะเหลืออะไรนอกจากเศษซาก

     มีคนค้านว่าเราตรวจจับทางอากาศก็ได้ แต่...อีรีย์อายของเราติดเรดาร์ป้องกันภัยทางอากาศ ตรวจจับผิวน้ำไม่ได้เรื่องหรือเรียกว่าห่วยแตก โดยปรกติจะใช้เครื่องบินตรวจการณ์ MPA ติดเรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำเจ๋งๆ แต่...เราไม่มีครับ และถึงมีระบบป้องกันตัวค่อนข้างน้อย ต้องเอากริเพนไปบินคุ้มกันล่อเป้าเล่นอีก

     ติ๊งต่างว่าตรวจเจอแล้วโจมตีด้วยจรวด ควบคุมผ่านดาวเทียมไทยป้าน คำถามก็คือจะใช้จรวดอะไร?? เดี๋ยวนี้เรือรบมีอุปกรณ์ป้องกันตัวเยอะมาก จรวดต่อสู้อากาศยาน CIWS รวมทั้งระบบเป้าลวงทันสมัยมากขึ้น จรวดของเราต้องรุ่นใหม่ล่าสุดเลยนะ ประเภทวิ่งไปเจอเป้าลวงแล้วต้องฉากหลบไปก่อน ไม่ก็ลอยขึ้นสูงหามุมยิงใหม่จากด้านบนทำนองนี้ (เสี่ยงกับโดนจรวดสอยอีก) ไหนจะต้องมียิงระยะไกลลิบลับ+โมให้ใช้ดาวเทียมเราได้ ถ้าเขายอมขายให้เราราคาเฉลี่ยทุกรายการ 1 ลูก 8 ล้านเหรียญจะเอาอยู่ไหม ที่สำคัญความผิดพลาดจะสูงจนน่าตกใจ เป็นการโจมตีปุบปับโดยที่น่านน้ำยังไม่ได้ประกาศเป็นพื้นที่สงคราม โอกาสยิงใส่เรือสินค้าติดธงไทยมีสูงลิบ ไม่มีอะไรมาช่วยพิสูจน์เป้าหมายให้เลย เหนื่อยใจแทน

     มาดูดาบ 2 ดาบ 3 กันบ้าง ปรกติเรือดำน้ำจะออกทำภารกิจลับและรักษาความลับสุดชีวิต มีการติดต่อกับฐานเฉพาะเวลานัดหมาย เพราะการสื่อสารใต้น้ำมันทำได้ยากมาก สมัยก่อนต้องมีทุ่นเป็นจุดรับส่งตรงกลางด้วย (เดี๋ยวนี้ก็เช่นกัน) นอกจากเอาเรือฟริเกตวิ่งเข้าไปใกล้ๆ แล้วใช้โทรศัพท์จากโซนาร์โทรคุยกัน มีเรือบุกเข้ามาแล้วจะติดต่อเรือดำน้ำลำบากแน่นอน ส่วนแผนเอาเรือดำน้ำไว้ที่ท่าเรือมีเคสค่อยดำไปหายิ่งปวดหัวใหญ่ เพราะเรือดำน้ำวิ่งได้ช้ากว่าเรือผิวน้ำ อ่าวไทยเองก็มีร่องน้ำจำกัด ฝ่ายตรงข้ามแอบเอาทุ่นระเบิดมาดักไว้จบทันที

     ดาบ 3 คือกริเพนดูดีที่สุด แต่เป็นการบินเข้าไปโจมตีแบบคนตาบอด เพราะไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนของอีกฝ่าย เนื่องจากเรือมีแค่เรือตรวจการณ์กับ UAV ซึ่งไร้ค่าโดยสิ้นเชิง เรดาร์เครื่องบินประสิทธิภาพสู้เรดาร์เรือไม่ได้ ไม่มีตัวช่วยจะทะเล่อทะล่าเข้าสู่ Killing Field อีก ไม่นับรวมเรื่องที่เขาก็มี UAV และทันสมัยกว่าเราด้วย

     แล้วจะทำอย่างไร ปรกติแล้วการบสิ่งสำคัญที่สุดก็คือการข่าว การตัดสินแพ้ชนะในสงครามทางทะเลในเวลาปัจจุบันนี้ ก็คือการตรวจสอบและพิสูจน์ทราบเป้าหมายให้ได้ก่อน มันคืออะไรเหรอ? มันก็คือเรดาร์ตรวจการณ์ 3 มิติทรงประสิทธิภาพ ส่งเรือฟริเกตเข้าสู่พื้นที่เสี่ยง ตรวจสอบและคัดกรองเป้าหมายอย่างชัดเจน ส่งข้อมูลกลับฐานให้ผบ.กองเรือตัดสินใจ ว่าจะใช้อะไรโจมตีจึงจะเหมาะสมที่สุด เรดาร์ที่ว่ายังช่วยให้เรือฟริเกตเอาตัวรอดได้

     กองทัพเรือนอร์เวย์ลงทุนติดระบบเรดาร์ SPY ทันสมัยพร้อมระบบเอจิส เพื่อให้เรือฟริเกตปราบเรือดำน้ำเป็นหูเป็นตาทั่วพื้นที่ทะเลตัวเอง ใช้ระบบ Link16 ส่งข้อมูลไปยัง F-35 ให้เข้าโจมตี โดยที่เรือลอยลำอยู่ในระยะปลอดภัย ขนาดเรือตรวจการณ์ชายฝั่งสิงคโปร์ก็ยังติดเรดาร์ทันสมัย หรือเคสที่กบถเยเมนยิงจรวดต่อสู้เรือรบใส่เรืออเมริกา เรดาร์บนเรือตรวจจับได้ตั้งแต่จรวดปล่อยจากฐาน มีเวลาเตรียมความพร้อมและเอาชนะเด็ดขาด (ถึงจรวดมันจะหายไปช่วงหนึ่งก็เถอะ มันต้องมีกันบ้าง) พูดมาถึงตรงนี้ดาวเทียมยังไม่มีบทบาทสำคัญเลย

     การรบทางทะเลหนักที่สุดและโหดที่สุด เป็นการเอาเลือดล้างด้วยเลือดเท่านั้น ถ้ากองเรือฝ่ายนั้นหลุดแผนจรวดเข้ามาได้ เรือลำเล็กลำน้อยของเราทุกลำจะหายเรียบทั้งกองทัพ ไม่มีการปล่อยไว้แน่เป็นผมก็สั่งยิงทิ้งหมดทุกลำ ไม่อยากโดนยิงต้องหนีหัวซุกหัวซุนแบบกองทัพเรืออาเจนตินาในสงครามฟอคแลนด์ ต่างจากสมัยก่อนที่เอาเรือรบมาไล่ยิงกันเท่านั้น ส่วนเรือช่วยรบจะได้รับการยกเว้น เพราะต้องคอยช่วยเหลือลูกเรือที่โดนยิงจม

     ยังไงก็ต้องมีเรือฟริเกตครับ ต้องติดเรดาร์และระบบสงครามอิเลคทรอนิกส์ทันสมัย อาวุธไม่ครบไม่เป็นไรยังมีทัพอื่นมาช่วยเสริม ต้องมีหูมีตาที่ดี ทำงานได้ทุกสภาวะอากาศ เมื่อเกิดการล้างเลือดด้วยเลือดขึ้นมาจริงๆ เราจะต้องยิงจรวดให้ทันก่อนเรือโดนโจมตี อย่างน้อยเรือเราจมหมดเรืออีกฝ่ายก็หายไปครึ่งหนึ่ง แผนของเขาก็ล้มเหลวแล้วต้องถอนกำลังกลับ จากนั้นเราค่อยหาวิธีรุกกลับหรืออะไรก็ว่าไป

     ส่วนใหญ่เรามักจะฝันหวานกันว่า เรามีเรือลำเล็กติดจรวด NSM 16 นัด แล้วไปไล่ยิงกองเรืออีกฝ่ายจมทั้งกองเรือ เอาเข้าจริงไม่ใช่หรอกครับ อเมริกากับรัสเซ๊ยถึงไม่เคยยิงกันจริงๆ เสียที (วิกฤตคิวบาเรือแทบจะชนกันอยู่แล้วก็ยังไม่ออกหมัด) อย่างดีก็เอาเครื่องบินมาบินเฉี่ยว เอาเรือรบไล่ชนกันบ้าง แล้วออกข่าวเกทับบลัทแหลกกันไป เพราะถ้ารบกันจริงๆ ทั้งสองฝ่ายตายกันอย่างน้อยๆ ครึ่งกองเรือ เรือชุดแรกที่เข้าจุดปะทะจมทุกลำแน่นอน

 

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 25/09/2018 14:20:40


ความคิดเห็นที่ 5


เห็นไปในทางเดียวกับท่านซุเปอร์บอยครับ..... อันว่ากำลังรบนั้น ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าต้องเป็นเรื่องของการใช้กำลัง.....แต่ลำดับขั้น ดำเนินไปก่อนถึงใช้กำลัง  มีกรรมวิธีระหว่างทางเยอะครับ...... ไม่ใช่ว่าตกมันใช้บทเจ้าชู้ยักษ์ จะเข้าฮอร์สแต่ท่าเดียว..... ระหว่างทางยังมี เกี้ยวพาราสี ปลอบประโลมประเล้า เพื่อนคุย เพื่อนเที่ยว สร้างความเชื่อมั่น เป็นที่พึ่งพา ไว้ใจ นั่นแหล่ะ ถึงเข้าพระเข้านาง............ พวกอาวุธจรวด ถ้าเปรียบเป็นพระปลัดมันเป็นใบ้ครับ หาความอ่อนตัว (หมายถึง เฟล็กสิเบิ้ล) บ่อมิได้เลย...... มีแต่ลูกขู่ กับลูกเอาจริง แต่สถานการรบ มีทั้งปิดล้อม ข่มขู่ ตัดเส้นทางลำเลียง........ ตัวอย่างเห็นได้ชัด ยุทธศาสตร์เรือด.ติดหัวรบ ของวอร์ซอ กับยุทธศาสตร์การใช้เรือบรรทุก บ.ของมะกัน นี่หล่ะครับ เปรียบเทียบเห็นชัดๆ...... ของพี่กันทั้งใหญ่ทั้งอ่อน(ตัว) ได้ทั้งลูกขู่ลูกปลอบ เอาจริงเอาหลอก สาวแก่แม่ม่าย เด็กเล็กรุ่นน้อย เสร็จป๋าเรียบวุธหมดทุกรายครับ ......... จึงเห็นว่า ดาวเทียมนี้ เหมาะในการใช้กำหนดเป้าหมายและต่อระยะยิงให้เรือจรวด สำหรับหน่วยดำเนินกลยุทธ จะเหมาะสมกว่าครับ ...... แต่กรณีของเจ้าของไอเดีย นำมาประยุกค์ ใช้ในการป้องกันฝั่ง จากที่เคยใช้ปืนใหญ่ จีเอชเอ็น สี่ห้า ระยะยิง สี่สิบ กม. เปลี่ยนมาเป็น จรวด ฝั่งสู่ทะเล ระยะยิง ร้อยกว่าโล นำร่องด้วยดาวเทียม.... ใครคิดปิดอ่าว ก็ต้องร้อง ไอ้หยา ครับ..... แต่ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นผลพลอยได้นะครับ วัตถุประสงค์หลักคือ บาลิสติค มิสไซล์ ระยะยิงสัก สามถึงห้าร้อย นั่นแหล่ะครับ ค่อยสมน้ำสมเนื้อต่อการลงทุน

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 25/09/2018 15:59:56


ความคิดเห็นที่ 6


ท่านนริส ตามที่ผมเข้าใจ การนำวิถีด้วยดาวเทียม ( ถ้าไม่มีระบบนำวิถีแบบอื่น มาผสมผสาน ) เหมาะสมกับเป้าหมายที่ไม่มีการเคลื่อนที่น่ะครับ เช่น พวกอาคาร ที่ตั้งถาวร หรือที่ตั้งชั่วคราวที่อาจต้องใช้เวลาในการเคลื่อนย้าย 

เพราะจริงแล้ว ดาวเทียมแค่ส่งสัญญาณนาฬิกาออกมาให้ส่วนประมวลผลในตัวรับสัญญาณคำนวณว่าตอนนี้ตัวมันอยู่ ณ ตำแหน่งใดบนโลกนี้  แล้วเอาผลที่ใด้ไปแปลความเทียบกับตำแหน่งเป้าหมายที่ระบุไว้ก่อนหน้าที่จรวดจะถูกยิงออกไป. 

ถ้าจะเอาฟังก์ชั่นติดตามเป้าหมายที่เคลื่อนที่ใด้ด้วย ดาวเทียมต้องมี optical sensor เจ๋งๆ และต้องมี laser painter + ระบบ target tracking ด้วยครับ

 

โดยคุณ Sam เมื่อวันที่ 25/09/2018 19:16:03


ความคิดเห็นที่ 7


ครับ  เป้าหมายถ้าแยกแบบหยาบๆ ก็คงมีเป้าหมายอยู่กับที่   เป้าหมายเคลื่อนที่ช้าเช่นพวกเรือ  และเป้าหมายเคลื่นที่เร็วเช่นอากาศยาน................  สำหรับอันสุดท้ายอากาศยานนี่ ขอผ่านก่อน  เพราะเท่าที่เคยทราบ ก่อนโน้น ยังไม่เคยเห็นระบบติดตามเป้าหมายของดาวเทียมนำร่องให้จรวดต่อตีอากาศยาน (ซึ่งปัจจุบันอาจมีแล้ว(ขอค้นคว้า))

 

ในส่วนสองแบบแรก    เริ่มจาก แบบที่ติดตามเรือนั้น ก็เป็นตาม คคห. ข้างบนว่าแหล่ครับ นึกว่าเหมือนเอา ระบบมิราดอร์ ไปใส่ไว้บนดาวเทียม  แต่เป็นมิราดอร์ สเป็คเทพ  เพราะระยะตรวจจับติดตามไกลกว่า ซึ่งดาวเทียมค้างฟ้า (มองจากพื้นเหมือนอยู่กับที่) จะมีวงโคจรที่ไกลจากจุดศูนย์กลางโลกมาก  สภาพสิ่งแวดล้อมการใช้งานโดยเฉพาะอุณหภูมิ เปลี่ยนไปมาต่างกันมากๆ  ครับ ส่วนอื่นก็เบสิคเดียวกัน  อย่าลืมว่าไกลขนาดนั้น คลื่นเรดาร์คงกระเจิดกระเจิงไม่เป็นท่า  ระบบที่ใช้งานได้เยี่ยมสุดคงมีอย่างเดียวคือการตรวจจับด้วยความร้อน โดยใช้ควบคู่เลเซอร์วัดระยะ..................

 

ในส่วนของเป้าอยู่กับที่ อันนี้มันมี 2 กรณีครับ    ...............  ถ้าเป็นจรวดโด่งเป็นบั้งไฟนั้น อาจจะไม่ต้องซับซ้อนมาก  สมัยก่อนไม่ต้องใช้ดาวเทียมด้วยซ้ำ  เป็นระบบแรงเฉี่อยล้วนๆ   นึกไม่ออกให้นึกถึงปิดตาตัวเอง  แล้วจำว่าต้องเดินหน้าสิบเก้า จากนั้นเลี้ยวขวามุมฉาก เดินอีกสี่ก้าว เลี้ยวซ้ายสี่สิบห้าองศา เดินต่ออีกสองก้าว จากนั้นเงื้อมมือตีหม้อ เมื่อโปรแกรมดีแล้ว ทีนี้ก็หลับตาเดินตามที่ว่า  จะแม่นไม่แม่นอยู่ที่การสาวความยาวของก้าวตามนับ เลี้ยวได้ถูกต้องตามองศาที่วางไว้มั้ย นั่นหล่ะครับ ระบบแรงเฉื่อย มีหัวใจหลักคือ ไจโรวัดอาการเคลื่อนไหว และเครื่องมือวัดความเร็วอันเที่ยงตรง ...............  ปัญหาที่ตามมาคือ ระบบมันมีเออเร่อร์ครับ จรวดสมัยก่อน ความแม่นยำอยู่ที่ระดับ บวกลบเป็นกิโล  ถือว่ามันมากเกินไปสำหรับปฏิบัติการทางยุทธวิธี...............มีต่อ

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 25/09/2018 19:53:07


ความคิดเห็นที่ 8


แต่ว่าเมื่อก่อนยุคสงครามเย็น  หัวรบที่ออกแบบใช้งานจะเป็นนิวเคลียร์ ดังนั้น กิโลนึงไม่ใช่ปัญหาครับ..................... เมื่อยุคสมัยเปลี่ยน สงครามนิวเคลียร์เริ่มไกลตัว  หัวรบที่ใช้กลับมาเป็นระเบิดแรงสูง  คราวนี้ความแม่นยำต้องตามมาแล้วครับ............จากที่ระยะผิดพลาดบวกลบเป็นกิโล คราวนี้ต้องเพิ่มความแม่นแล้วครับ เพราะอำนาจหัวรบทีเอ็นที ครึ่งตัน ถ้าตกห่างกิโลนึงนี่ ข้าศึก ก้งโค้งแลบลิ้นปลิ้นตารอเลยครับ............................... การนำร่องเลยต้องมีการปรับแก้อาการตัวเอง  นั่นก็คือดาวเทียมจะทำหน้าที่เหมือนเป็นหอประภาคาร ให้จรวดสอบทานตำแหน่งของตัวเองอยู่เสมอเพื่อใช้ปรับแก้ (มันก็คือฟังก์ชั่น การกำหนดที่ ตำบลตัวเอง จีพีเอส นั่นแหล่ะ)  เมื่อก่อนตอนทำสายส่งไฟฟ้าแรงสูง ผมเคยใช้อุปกรณ์วัดระยะด้วย จีพีเอส   มีหลายราคา ตั้งแต่แปดพัน ไปจนถึงหลายหมื่น (ในระดับงานก่อสร้าง)  ค่าเออเร่อร์ มากน้อยก็ว่ากันตามราคา  แพงก็แม่นมากเออเร่อน้อย  ถูกก็เออเร่อร์มาก      ที่ผมใช้เนี่ย บวกลบ 5 เมตร   สำหรับวัดระยะสแปนเสาไฟหยาบๆเซอร์เวย์เบื้องต้นถือว่ารับได้   แต่อย่ลืมนะครับ  ทุกๆสแปน สี่ร้อยเมตร เออเร่อร์ 5 เมตร   แล้วถ้าทั้งหมด สองร้อยสแปนเนี่ย  เอามาพลอตต่อกัน บางที ยาวขึ้นถึงเป็นกิโลก็มี ............  เท่าที่ทราบ  แต่ละเครื่องจะลิ้งค์กับดาวเทียมหลายดวงซึ่งแน่นอนแต่ละดวงก็ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ ซึ่งก็รวมอยู่ในราคาเครื่อง....................... มีต่อ

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 25/09/2018 20:13:27


ความคิดเห็นที่ 9


ครับ  ความแม่นยำระดับทหาร   ผมเชื่อว่าที่ระยะเป็นพันกิโล ต้องผิดพลาดได้ไม่ถึงเมตร........... นั่นแหล่ะครับ   ถามว่าควรมีกี่ดวง ตามทฤษฎีการหาระยะด้วยจุดตัดของเส้นตรง  ก็ต้องมีสองดวงเป็นอย่างน้อย อันนี้ไม่รวมดาวเทียมอะไหล่ กรณีมีเหตุขัดข้อง หรือกรณีเกิดการหันหน้าออกจากมุมที่กำหนด   แต่อย่างว่าครับ  ถ้ามีมากดวง การหาค่าเฉลี่ยก็ทำให้แม่นยำขึ้น....................

 

ระบบดาวเทียมถึงจุดในการนำร่องแบบก้าวหน้าที่สุด กรณี ครุ้ยซ์ มิสไซล์ครับ........................ คือนอกจากจะทำสิ่งที่กล่าวไปแล้วข้างต้น   ดาวเทียมยังต้องวัดค่าความสูงต่ำของภูมิประเทศ (เทอเรน) เพื่อเป็นการปูทางให้จรวดขณะโคจรด้วย............อ่า...ข้างหน้าจอมปลวกนะคะ พ่อรูปหล่อเชิดหัวขึ้นสักหน่อยจ้า   .... แอร๊ยยยย์   แหน่ะๆๆๆๆ  ระวังนะจ๊ะ ข้างหน้าเสาธงชาติ หัวแหลมเปี๊ยบเชียว ระวังท้องน้อยด้วยนะคะ............. อะไรทำนองนั้น......................   

 

ครับ ดังนั้น  ราคาดาวเทียม  จะถูกจะแพง   ก็ต้องดูสเป็คจรวดด้วยว่า จะเอาแบบไหน

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 25/09/2018 20:26:59


ความคิดเห็นที่ 10


ขอบคุณทุกท่านครับ

 

โดยคุณ Naris เมื่อวันที่ 26/09/2018 10:03:03


ความคิดเห็นที่ 11


เอ่ .. ผ่านมาอีก 1 วัน ผมกลับไปนอนคิดแล้วก็เกิดสงสัย ขออนุญาตขอความรู้เพิ่มเติมละกันนะครับ

เริ่มจากที่มาของกระทู้ซึ่งท่านกบ ได้กล่าวไว้ว่า

ดาวเทียมทางทหารมีใช้งานหลายจุดประสงค์ แต่เรามักคุ้นเคยกับภารกิจ จารกรรมสอดแนม แต่สิ่งหนึ่งที่จะสร้างความได้เปรียบในการรบไม่น้อย นั่นคือ "การกำหนดเป้าหมาย  และชี้เป้า…”

เป้าในที่นี้คืออะไร ผมก็อนุมานจากประโยคต่อไปที่ ท่านกบ ได้กล่าวว่า

“ปัจจุบัน กองทัพ มีประจำการด้วยจรวดต่อตีพิสัยไกล ซึ่งที่ชัดเจนในวันนี้คือ กองทัพเรือ ทร.มีจรวดต่อตีเรือที่มีระยะยิงไกลเกินร้อยกิโลเมตร…”

“ระยะยิงไกลขนาดนี้ เกินกว่าความสามารถในการชี้เป้าจากเรดาร์ของเรือ”

และ “ปัญหาเหล่านี้จะหมดไป หากมีดาวเทียมทหารสัญชาติไทย โคจรค้างฟ้าเหนืออาณาเขตไทย..”

เพราะฉะนั้น ที่มาของกระทู้นี้คือการอยากได้ดาวเทียมเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการชี้เป้าให้จรวดต่อตีเรือ ซึ่งจะยิงจากเรือ ไปยังเรือ และ ดาวเทียมทหารที่เราอยากได้ คือ เพื่อการนำร่องจรวดที่ว่านั้น ถูกต้องไหมครับ

ครั้นพอผมสมมุติว่า ผมจะยิง “จรวดต่อตีเรือ” จาก ฐานยิงประจำที่ โดยใช้ดาวเทียมในการนำร่องบ้าง กลับไม่สามารถทำได้ เพราะท่าน Superboy แย้งผมว่า

“คำถามก็คือจะใช้จรวดอะไร??” ก็ตอบว่า จรวดชนิดเดียวกับที่ท่านกบคิดจะใช้ยิงนั้นแหละครับ  ไม่ได้หรือครับ หาก “เดี๋ยวนี้เรือรบมีอุปกรณ์ป้องกันตัวเยอะมาก “ จะยิงจากที่ไหน ยิงจากเรือไปเรือ หรือยิงจากฝั่งไปเรือ ก็ต้องฝ่าระบบป้องกันที่ว่านี้เข้าไปทั้งนั้น ผลก็เท่ากันมิใช่หรือครับ ?

ต่อมาท่าน Sam ก็แย้งผมว่า

“ท่านนริส ตามที่ผมเข้าใจ การนำวิถีด้วยดาวเทียม ( ถ้าไม่มีระบบนำวิถีแบบอื่น มาผสมผสาน ) เหมาะสมกับเป้าหมายที่ไม่มีการเคลื่อนที่น่ะครับ เช่น พวกอาคาร ที่ตั้งถาวร หรือที่ตั้งชั่วคราวที่อาจต้องใช้เวลาในการเคลื่อนย้าย”

อ้าว ถ้าการนำวิถีด้วยดาวเทียม ยิงเป้าเคลื่อนที่ไม่ได้ แล้วจะเอามานำร่องจรวดต่อตีเรือได้อย่างไรกันครับ การต่อตีเรือย่อมหมายถึง เรือที่กำลังเคลื่อนที่มิใช่หรือครับ

สุดท้าย ท่านกบก็กลับมาอธิบายว่า ระบบการนำร่องด้วยดาวเทียมนั้น มีข้อจำกัดอย่างไรบ้าง

“นึกว่าเหมือนเอา ระบบมิราดอร์ ไปใส่ไว้บนดาวเทียม แต่เป็นมิราดอร์ สเป็คเทพ เพราะระยะตรวจจับติดตามไกลกว่า ซึ่งดาวเทียมค้างฟ้า (มองจากพื้นเหมือนอยู่กับที่) จะมีวงโคจรที่ไกลจากจุดศูนย์กลางโลกมาก สภาพสิ่งแวดล้อมการใช้งานโดยเฉพาะอุณหภูมิ เปลี่ยนไปมาต่างกันมากๆ ครับ ส่วนอื่นก็เบสิคเดียวกัน อย่าลืมว่าไกลขนาดนั้น คลื่นเรดาร์คงกระเจิดกระเจิงไม่เป็นท่า ระบบที่ใช้งานได้เยี่ยมสุดคงมีอย่างเดียวคือการตรวจจับด้วยความร้อน โดยใช้ควบคู่เลเซอร์วัดระยะ” นั้นเท่ากับว่า ต่อให้มีก็ยังไม่ชัวร์

สุดท้ายแล้ว ถ้าผมเป็นกรรมาธิการงบประมาณ แล้วทุกท่านอธิบายอย่างนี้ ก็แสดงว่า การนำร่องด้วยดาวเทียม มันมีข้อจำกัด และถ้าจะให้มันดี ระบบต้องราคาแพง ทั้งตัวดาวเทียม และจากตัวจรวดที่จะต้องทำงานประสานกับดาวเทียมนั้น

ดังนั้น เมื่อประเทศเรามีงบประมาณที่จำกัด ดาวเทียมทหารย่อมเป็นของแพงเกินไป อิแบบนี้ ผมไม่อนุมัติงบประมาณเพื่อใช้เป็นค่าสร้างดาวเทียมแน่นอนเลยครับ

 

โดยคุณ Naris เมื่อวันที่ 27/09/2018 16:20:39


ความคิดเห็นที่ 12


ตอบท่านนริส ในส่วนของผมก่อนนะครับ  ตอนที่ผมคิดเรื่องจรวดนำวิถีด้วยดาวเทียม ผมนึกดิ่งไปที่ gps เท่านั้นน่ะครับ ไม่ใด้นึกครอบคลุมไปถึงเทคนิคอื่นๆ  ตรงๆเลยคือผมนึกถึงแค่ DTI1-G น่ะครับ  application นี้ ใช้ดาวเทียมทหารระดับพื้นๆ ที่มีการป้องกันการแจมสัญญาณ  และต่อต้านสงคราม electronics ก็คงพอใช้การใด้  ถ้าจะเอาแค่บริเวณ asean. ต้องมีอย่างน้อย 3 ดวง  ถ้าจะเผื่อขัดข้อง ก็ต้องมี 4-5-6 ไปนู่น 

เรื่องการสอดแนม ชี้เป้า (นิ่ง) จริงๆใช้ดาวเทียมที่มี optical/infrared sensor ดวงเดียวก็ใด้ครับ 

ลองเสิร์ช ดูเกี่ยวกับระบบนำวิถี ของ tomahawk ดูครับ จะพบว่ามีการนำร่องผสมผสานหลายแบบ แต่ดาวเทียมก็ต้องซับซ้อนตามไปด้วย. 

โดยคุณ Sam เมื่อวันที่ 27/09/2018 16:40:31


ความคิดเห็นที่ 13


ผมขอตอบทางเทคนิคเพียวๆก็แล้วกันนะครับ................กรณีเป้าหมายอยู่กับที่  ดาวเทียมสำหรับนำร่อง จรวดสกั๊ด  อันนี้น่าจะไม่มีปัญหานะครับ......

แต่สำหรับนำร่องเป้าหมายเรือรบนั้น   จรวดที่เรามีอยู่ทุกวันนี้ พวกยิงไกลเป็นร้อย ก็นำร่องด้วยดาวเทียมอยู่แล้วครับ....... แต่เป็นในส่วนของการนำร่องโคจรขั้นต้นและขั้นกลาง คือ จรวดจะสอบทานตำแหน่งตัวเองกับดาวเทียม จีพีเอส  ในโหมดการนำวิถีแบบแรงเฉื่อย............... แต่มันจะมีปัญหาตรงขั้นท้ายนี่หล่ะครับ  ซึ่งตรงนี้ถ้าไม่มีระบบเครือข่ายช่วย   ระบบแอคถีฟโอมมิ่งของจรวดก็จะค้นหาเป้าหมายด้วยตัวมันเองเพียวๆ  ซึ่งเป็นการประกอบกับคาดการตำแหน่งไว้ตั้งแต่ตอนปล่อยออกมา ..............ที่ระยะยิง 180 โล ใช้เวลาโคจร 12นาที     ท่านเชื่อมั้ย ถ้านาที่ต้นๆ ข้าศึกรู้ตัว  หมุนเข็มร้อยแปดสิบกลับลำแล่นหนีเต็มฝีจักร  พอจรวดไปถึงจุดที่โปรแกรมว่าเป็นจุดนัดพบ   จ๊ะเอ๋ แต่ก็ไม่เจออะไร  เรดาร์อาจค้นไม่พบเรือเป้าหมาย และตกทะเลไปเลยก็ได้.....  ทั้งหมดนี้เนื่องจาก ไม่มีการอัพเดทข้อมูลนั่นเอง   ......  ........................ แต่ของจริง  เรือเป้าเองคงไม่รู้ตัวเร็วขนาดนั้น......... ซึ่ง ถ้าน่านน้ำ  ไม่มีเกาะแก่งหรือเรืออื่นอยู่เลย ต่อให้ข้าศึกรู้ตัวช่วงท้ายๆ เบนเข็มหนี แต่แอคถีฟเรดาร์ ก็จะค้นหาและล็อคเป้าจนได้ ..................กลับกัน ถ้าหากน่านน้ำนั้นมีเรือลอยลำอยู่เยอะๆ   แม้จะอยู่ห่างกันหลายกิโล   โอกาส จรวดวิ่งผิดเป้าจะมีมาก (เหมือนกรณีฟอล์แลนด์)   ซึ่งตรงนี้ถ้ามีการอัพเดทช่วยอยู่ตลอด มันก็จะไม่ผิดพลาดเลย..... .........แต่เครดิตความแม่นยำแท้ๆ อยู่ที่หัวแอคถีฟโฮมมิ่งในระยะสุดท้ายครับ ดาวเทียม โหมดนำร่อง และโหมดชี้เป้า เป็นผู้ช่วยนางเอก ที่สวยไม่แพ้กัน

 

หลายท่านอาจสงสัย ก็ถ้าดาวเทียมที่ใช้อยู่ของคนอื่นมันทำงานได้ แล้วเราจะซื้อมาทำไม.............

ผมขอยกตัวอย่าง ฮาร์พูนก่อนนะครับ    ฮาร์พูน ผลิตในอเมริกา    ระบบนำร่อง ที่ทำให้มันเข้าหาเป้าหมายด้วยแรงเฉื่อยสุดระยะ 180 กม. ก็คือดาวเทียมนำร่องของอเมริกา   ซึ่งค่าลิขสิทธิ์สัญญาณดาวเทียม จีพีเอส อันนี้ราคารวมอยู่ในลูกจรวดแล้วครับ.............แต่รับรองได้ว่า ราคานี้ คงไม่รวมการค้นหาและติดตามเป้าหมายมาให้ด้วยอย่างแน่นอน  เพราะอันนี้มันเป็นอาวุธประจำการในกองทัพตัวเอง เค้าคงไม่เอามาให้เราใช้หรอก....................  ตรงนี้ใครถึงบางอ้อแล้วมั่งครับ..................... 555555    นั่นแหล่ครับ ถูกแล้ว    ถ้าใครคิดว่า ถ้าเกิดสงครามกับเจ้าของจรวดจริงๆ จะให้เรือหลวง นเศวร แบกฮาร์พูน ไปยิงใส่ ยูเอสเอส สปร๊วนซ์    รับรองได้ว่า ไม่มีทางยิงโดนครับ ......................   เช่นเดียวกัน   จะเอา ซี-802  ของกระบุรี ไปยิง เหลียวหนิง   ก็ไม่น่าจะโดนครับ.................... ตรรกและเหตุผล   เป็นไปดังนั้นแล้ว 

 

นั่นแหล่ะครับ   ก็เลยมาถึงเหตุผลที่ว่า  ทำไมเราต้องมี ดาวเทียมเป็นของตัวเอง      ก็เมื่อ ฮาร์พูน ผลิตในอเมริกา ใช้ดาวเทียมนำร่อง อเมริกา    ซี แปดศูนย์สอง ผลิตจีน นำร่องโดยดาวเทียมจีน...................แล้ว ขีปนาวุธไทย ระยะยิง สามร้อยกิโล   จะให้นำร่องด้วยดาวเทียมใครดีหล่ะครับ....................  ปาลาป้า ช่องเจ็ด ของอินโด    หรือ  ดาวเทียม แอฟริกาใต้.................  และมันคงน่าขำที่สุดนะครับ   เสียเงินเสียแรงวิจัยพัฒนาจรวดมาซะดิบดี   แต่ดาวเทียมนำร่อง ไปใช้ลิขสิทธิ์ของอเมริกา

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 27/09/2018 17:42:20


ความคิดเห็นที่ 14


แก้ไขข้างบนแล้วนะครับ ทั้งเนื่อหา และอัขระ

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 27/09/2018 17:43:34


ความคิดเห็นที่ 15


ท่านกบ จะรบกับ USA หรือ จีนเชียวเหรอครับ ?  

ถ้าเรายิง harpoon ในขณะที่มีความขัดแย้ง/โดยมีเป้าหมายไปที่ เรือ สรอ. หรือ ติ่งใกล้ชิด สรอ  (ในภาวะที่มีการแบ่งข้างเรียบร้อยแล้ว)  ผมว่าเค้าคงแค่ กดปุ่ม  “ find my harpoon “. แล้วกดปุ่ม “ lost mode” ตาม    แต่นี้ก็แบะ๊ๆๆ แล้วครับ.  (รุ่นแรกๆคงไม่มี ฟีเจอร์นี้ แต่รุ่นใหม่ๆ เชื่อขนมกินใด้ )

C802 ก็ทำนองเดียวกัน.   

ถึงมีดาวเทียมทหารก็เหอะ. พอถึงระดับสงครามโลก  สรอ - รัสเซีย - จีน จะต้องตามสังหารดาวเทียมทุกดวงของฝ่ายตรงข้ามภายในเวลาสั้นที่สุดแน่นอน. ดาวเทียมเราคงรอดยาก ไม่ว่ากรณีใด

ผมถึงคิดไปว่าดาวเทียมทหารแบบ เบสิค มีความสามารถทาง EO/IR สักดวง เอาไว้ใช้ในการข่าว  และติดตามเป้าหมายทางยุทธศาสตร์  บวกกับดาวเทียม GPS อีก 2-3 ดวงนี่คงพอไหวครับ  เพราะเป้าหมายสำคัญคือความมั่นคงตามแนวชายแดน หรือใช้ในการข่าว

บวกกับจรวดสัญชาติไทย แค่นี้ก็เพิ่มศักย์สงครามใด้ อย่างมาก ในรูปแบบที่คุ้มค่า งป สูงสุด. ในความคิดผมนะ

โดยคุณ Sam เมื่อวันที่ 28/09/2018 14:08:48


ความคิดเห็นที่ 16


ในความหมายผมก็ประมาณนั้นหล่ะครับ..... แต่ที่กล่าวถึง ฮาร์พูน และ จรวดหมวยคือต้องการโฟกัสและโยงไปที่จรวดฝีมือคนไทยครับ คือว่า ถ้าทำออกมาสำเร็จ แต่ระบบนำร่องยืมจมูกอเมริกาใช้..... มันก็น่าขันนะครับ..... สรุปคือ ก่อนยิงต้องขออเมริกาก่อนอะไรไปโน่นใช่มั้ย????.... .. ส่วนกรณี ฮาร์พูน กับซี แปดศูนย์หนึ่ง ผมว่า หลังจากเรามีดาวเทียมต่อให้เราพยายามจะโมระบบนำร่อง จีพีเอส ให้เข้ามาใส่ดาวเทียมของเรา ก็ใช่ว่าจะทำได้ เจ้าของจรวดเค้าคงไม่ยอมหรอกครับ .............ส่วนในโหมด ติดตามและชี้เป้าในดาวเทียมนั้น อันนี้ไม่เน้นครับ.... แบบเดิมๆที่เรามีก็พอได้ แต่ลองนึกว่าถ้ามีหล่ะครับ...... เหมือนทั่วบริเวณประเทศไทยและรอบๆ มีเอแวคบินคอยชี้เป้าตลอด ยีบสี่ ชม. เป็นเวลาแรมเดือนแรมปีไม่หยุดพัก...... นั่นหมายถึง การรบแบบเครือข่ายของเราสมบูรณ์ ร้อยเปอร์เซนต์ มันจะยอดขนาดไหนครับ....
โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 28/09/2018 15:03:22


ความคิดเห็นที่ 17


อ่อลืมไป..... จะว่า 100% ก็ไม่ได้สิ.... ต้องดูว่า ระบบดาวเทียมปัจจุบันนี้ ตรวจจับติดตามเป้าหมาย อากาศยานความเร็วสูงด้วยได้มั้ย ถ้าได้ ก็ ร้อยเปอเซนต์
โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 28/09/2018 15:23:26


ความคิดเห็นที่ 18


อันนี้ขอเพิ่มเติมเป็นกรณีศึกษานะครับ............... ข้อแรก ถามว่า ในปัจจุบัน น่านน้ำไทย มีการพิสูจน์ทราบเป้าหมาย หรือ ไอเดนติไฟ เรือที่ลอยลำในน่านน้ำ กันอย่างไร ข้อสอง การกำหนดเป้าหมายเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับ อวป. ที่มีระยะยิงไกลมากๆทำได้อย่างไร .......... สำหรับข้อแรก ถ้าเป็นแบบดั้งเดิม ก็ต้องใช้การ ลว. ทั้งทางอากาศ และ เรือตรวจการด้วยเรด้าร์ ซึ่งปัจจุบันนี้ ขณะที่กูเกิ้ลเอิร์ธ ใช้แสดงภาพจากดาวเทียมได้ในแบบภาคประชาชน จึงมีข้อสงสัยว่า ในภาคกองทัพ ข้อมูลพวกนี้ (อาจไม่ถึงขนาดเรียวไทม์ ชนิดใช้กำหนดเป้าหมายเล็งยิงได้) เจ้าของดาวเทียม มีบริการให้กองทัพหรือไม่????? ข้อสอง กรณี กำหนดพิกัดเป้าหมายก่อนยิง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่แม่นยำที่สุด แบบดั้งเดิม จำเป็นต้องใช้การตรวจการทางอากาศ ซึ่งเป็นการให้ข้อมูล พล็อตตำแหน่งเป้าหมายแก่ อวป.ในเบื้องต้น ............. ประเด็นจึงมีว่า ถ้าเรามีดาวเทียมสักลูกหนึ่ง สามารถทำภารกิจสองอย่างนี้ได้ คือ ตรวจจับ เรือในน่านน้ำ รวมถึงกำหนดตำแหน่งเป้าหมายเบื้องต้น และพิเศษสุดคือ แทรกกิ้ง ติดตามเป้าหมายเพื่อทราบข้อมูลอัพเดทชนิดเรียวไทม์ ทีนี้ลองนึกดูนะครับ........ ที่สุดเขตน่านน้ำของเรา หมายความว่า อวป. ของเรา ยังสามารถยิงเข้าไปในน่านน้ำข้าศึกได้อย่างแม่นยำ อีกถึง เกือบสองร้อยโล โดยที่เราไม่จำเป็นต้องส่ง อากาศยานเข้าไปกำหนดเป้า แถมมีระบบติดตามเป้าหมายให้อีกด้วย.....มันเทพมากนะครับ
โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 29/09/2018 08:26:28


ความคิดเห็นที่ 19


เกร็ดเล็กน้อยเกี่ยวกับดาวเทียม ข้อมูลอาจไม่ล่าสุด แต่พอจะใด้เค้าโครงนะครับ 

 

มีบริษัทเอกชนใน สรอ ที่บริการ video stream ภาพแบบ”เกือบ” real time มาตั้งแต่ 10ปีที่แล้วครับ  ใครๆก็สามารถซื้อบริการนี้ใด้  (เชื่อว่าต้องมีข้อกำหนดทางจริยธรรม และ กม ระหว่าง ปท มากำกับ. เช่น ปท ไทย คงไม่สามารถไปจ่ายเงินให้ บ นี้ ถ่ายภาพ พ.ท. ใน ประเทศอื่นๆใด้) แต่ในภาวะสงครามก็คงถูกจำกัดนู่นนี่นั่นไปตามสภาพเพราะยังไงก็ต้องปฏิบัติตามกฏของ รบ สรอ

 

การบันทึกวิดิโอจากดาวเทียมจะใด้เป็นคลิปสั้นๆ 1-2 นาที (ข้อมูล 10ปีที่แล้ว) แล้วก็ส่งกลับมาที่สถานีภาคพื้นเป็นคลิปๆไป.  

 

หลังจากเปิดตัวใด้ไม่กี่ปี มูลค่าบริษัทซื้อขายกันไปที่ประมาณ$500M.  มูลค่านี้คือมูลค่าธุรกิจนะครับ ประมาณการราคาดาวเทียมอยู่ที่ $50M  ปจบ คงมีดาวเทียมหลายดวงอยู่. 

 

ดาวเทียมที่ว่านี้มีขนาดพอๆกับตู้เย็น 6-7 cuf. ภาพวิดีโอที่ใด้มีความคมชัดพอที่จะแสดงรายละเอียดให้เห็นวัตถุขนาดรถยนต์/ตู้คอนเทนเนอร์ใด้ 

 

ย้อนกลับไปที่ เมนท์ก่อนหน้าของผม ที่ว่า 

 

“ผมถึงคิดไปว่าดาวเทียมทหารแบบ เบสิค มีความสามารถทาง EO/IR สักดวง เอาไว้ใช้ในการข่าว  และติดตามเป้าหมายทางยุทธศาสตร์  บวกกับดาวเทียม GPS อีก 2-3 ดวงนี่คงพอไหวครับ  เพราะเป้าหมายสำคัญคือความมั่นคงตามแนวชายแดน หรือใช้ในการข่าว”

 

ขยายความก็คือ.  

 

ดาวเทียมแบบที่กล่าวข้างบน เป็นดวงแรกที่ผมอยากให้เรามี เพื่อเป็นหูตา ว่ามีการสร้างที่มั่น หรือการเคลื่อนกำลังอะไรผิดปกติตามแนวชายแดน / หรือแม้กระทั่งลึกเข้าไปใน พท ของ ปท นั้นๆเราจะทราบล่วงหน้าตั้งแต่พรรคพวกเริ่มขยับตัว  

แถมการสอดส่องการรุกป่าไม้จะมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่า ไม่ใช่มาขยับกันตอนโกร๋นไปทั้งเขาแล้วแบบนี้. 

 

นอกจากกล้องธรรมดา เพิ่มกล้อง IR เข้าไปด้วยก็ครอบคลุมทั้งกลางวันกลางคืน / ทุกสภาพอากาศ. ค่าตัวดาวเทียมไม่น่าจะเกิน $200M 

 

ถ้าจะเสริมตามที่ท่านนริสอยากให้ดูทางทะเลด้วยก็ใด้(ผิวน้ำเท่านั้นนะครับ ใต้นำ้ต้องว่ากันต่างหาก แยกกระทู้มาละกัน ยาวเยอะ ) แต่ต้องมี จนท วิเคราะห์ภาพถ่ายให้เพียงพอ และ/หรือ ต้องใช้ ซอฟแวร์ในการวิเคราะ์ภาพมาช่วย (ตอนนี้เกาหลีเก่งแล้ว) 

ในทางเทคนิค แนวทางในการเฝ้าระวังก็คือกำหนดแถบสมมติทางทะเลขึ้นมา 2-3 วง เช่น ขนาดแถบ ซัก 20nm บนผิวน้ำต่อกัน 3แถบ จะเอาไกลจากชายฝั่งเท่าไหร่ก็ว่าไป   แถบแรกด่านที่ 1ใกลหน่อย 2 ก็ถัดเข้ามา 3 นี่ก็ถือว่ามาเคาะประตูบ้านแล้ว

 

สมมติ 1 ภาพที่ถ่ายใด้ครอบคลุม 20x20 nm จับมาต่อกันด้วย software แล้วก็คัดกรองขนาดของวัตถุที่ถ่ายภาพใด้ในพื้นทะเล ถ้าใหญ่จนมีนัยสำคัญก็ให้เจ้าหน้าที่คัดกรองอีกที

เมื่อดูว่าเป็นภัยคุกคาม ก็แจ้งภาคสนามไปตรวจดูอีกที

________________

ตอบท่าน กบ ผมว่าท่านมีคำตอบอยู่แล้ว  ลองดูว่าผมจะตอบเข้าทางท่านมั้ย.

 เรือรบ scan ด้วยเรดาร์ เจอวัตถุขนาดมีนัยสำคัญที่ยังไม่ใด้รับการรับรอง Friend Or Foe.   IFF ส่งสัญญาณออกไป ถ้าไม่ใด้สัญญาณตอบกลับตามที่คาดหวัง เบื้องต้นก็คงบอกใด้แค่ว่าเป็น “ยานต้องสงสัย” แล้วต้องตรวจสอบขั้นสุดท้ายก่อนยิงตามที่ท่าน superboy ว่านั่นล่ะครับ เมื่อ IFF ไม่สามารถบอกใด้ว่าเป็นมิตรก็ต้องส่งวิทยุไปถาม หลายรอบ ไม่ตอบก็ส่ง บ ออกไปดู เกิด บ ถูกยิงก็ .... แม่นแหล่ว. 

 

ส่วนเรื่องการนำวิถีเลยแนวเส้นขอบฟ้า  ไม่เจาะจงจรวดใดนะครับ เอาว่าเทคนิคที่เอามาประยุกต์ใช้ใด้

 

เมื่อยิงออกไป GPS กับ IMU/INS นำทาง.  ตามที่ท่านว่ามาแล้ว

 

Mid course  GPS กับ IMU/INS 

และอาจเพิ่ม TERCOM สำหรับจรวดร่อนที่มีวิถีโคจรต่ำ โดยมีการโหลดแผนที่ภูมิประเทศเข้าให้จรวดไว้ก่อน แล้วตัวจรวดเปรียบเทียบกับเรดาร์วัดความสูงของภูมิประเทศเอาเอง  จรวด tomahawk รุ่นก่อนๆใช้แบบนี้

 

คาบเกี่ยวระหว่างmid flight กับ terminal

ยังสามารถใช้ภาพถ่ายของเป้าหมายจากเครื่องบินสอดแนม/ดาวเทียม/ผตน. แล้วแต่ว่าอะไรจะใช้ใด้ดี ภาพใกล้เคียงจากที่จะเห็นจากกล้องที่หัวจรวดมากที่สุด  เอาไว้สอบทานเป้าหมายก่อนจรวดชนเป้าอีกด้วย (จะใด้ไม่ผิดตึก) 

 

Terminal flight. Active radar homing.  ตามที่ท่านว่ามาแล้วเช่นกัน และ ที่มาช่วยอีกตัวก็เป็น DSMAC 

 

ที่เราท่านอ้างอิงถึงโดยใช้คำว่า “ต่อระยะจรวด” น่าจะหมายถึงการทำงานร่วมกันระหว่างเรดาร์ที่อยู่สูงพอที่จะส่องเห็นเป้าหมาย  (จากเครื่องบินหรือดาวเทียม) แล้ว link เอาพิกัดนั้นมาให้จรวด เมื่อเรือยิงจรวดออกไป ก็จะใด้ทิศทางสำหรับ การออกตัว และการเดินทาง ส่วนการชนเป้าในระยะสุดท้ายต้องเป็นเรื่องของ active radar homing หรือถ้าจรวดเทพมากๆ ก็สามารถรับพิกัดเป้าหมายใหม่จากดาวเทียม(หรือ บ)ในขณะเดินทางใด้เลย เช่นยิงจรวดออกมาที่เรือปืน ณ พิกัด a.  จรวดมาแล้วครึ่งทาง พบว่ามีเรือบรรทุก บ ห่างออกไปทางตะวันออก 20ไมล์ ณ พิกัด b. อยากยิงลำนี้ก่อน/มากกว่า ก็ส่งพิกัดใหม่ให้จรวดโดยตรงใด้เลย

 

แต่ดาวเทียมที่มีทุกระบบรับรองจรวดเทพๆแบบที่ว่าก็ไม่ใช่ราคาข้างบนนะนาย 

 

สำหรับ ปท ไทย ผมคาดว่าเราใช้เรือ , erieye  และช่องสัญญาณดาวเทียมทหารในการยิงจรวดเกินเส้นขอบฟ้าครับ 

 

ส่วนที่ท่าน superboy ว่าในภาวะปกติ เกิดมีเรือไม่ประสงค์ดี แล่นปะปนมากับเรือพาณิชย์ แล้วเราตรวจพบด้วยดาวเทียม กว่าจะใด้ยิงจรวดออกไปก็ต้องตรวจจนมั่นใจล่ะครับว่าจะไม่เกิดการยิงผิด หรือหลงเป้า ไปโดนเรือพาณิชย์เอาซะ 

__________________

กลับมาที่เรื่องดาวเทียม ในมุมของการลาดตระเวณและป้องปราม คหสต ผมว่าดาวเทียมพื้นๆที่ผมว่าคุ้มเกินคุ้ม แถมมีประสิทธิภาพดีมากๆด้วย 

 

มาถึงเรื่องเอามานำทางจรวด

 

ดาวเทียมทุกดวงจะส่งสัญญาณนาฬิกาและตำแหน่งของตัวเองมาเป็นปกติอยู่แล้ว โดยมาในรูปแบบรหัส ช่องสัญญาณทหาร แยกกับ ช่องสัญญาณพลเรือน. ดวงแรกนี้จึงมีความสามารถในการสนับสนุนการนำวิถีด้วย GPS ไปในตัว

 

อีก 2-3 ดวง ส่งแบบถูกๆ ไม่ต้องมีฟังก์ชั่นอะไรนอกจากส่งสัญญาณนาฬิกามาเพื่อ GPS โดยเฉพาะ ค่าส่งแพงกว่าค่าดาวเทียม 

 

ในภาพกว้างๆ นี่ก็จบ series ของการป้องกันที่ว่าด้วยการข่าวและอำนาจการยิงบนบก (ด้วยพระเอกของผม DTI 1G) 

 

การนำวิถีด้วย GPS หรือ พิกัด radar จากดาวเทียม ไปยังเป้าหมายในทะเล ยังมีข้อจำกัดทางเทคนิคบางอย่างอีก ขอละไว้ก่อนจะยาวเกินไป. 

 

โดยคุณ Sam เมื่อวันที่ 30/09/2018 13:20:38