หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


โครงการปรับปรุงเรือหลวงเจ้าพระยาและเรือหลวงบางปะกง.

โดยคุณ : superboy เมื่อวันที่ : 23/08/2018 06:58:49

ตั้งกระทู้อีกรอบนะครับ รบกวนแอดมินรบกระทู้ล่างให้ที มันเปิดไม่ได้อีกแล้ว สงสัยผมจะซุกซนเกินไป

 

ต้นฉบับครับ ----> Type 053HT Class Mid-Life Upgrade Program

 

--------------------------------------------------------------------------------------------------

 

            โครงการปรับปรุงเรือหลวงเจ้าพระยาและเรือหลวงบางปะกง

 

          กองเรือฟริเกตที่ 2 กองเรือยุทธการ มีกำลังรบหลักเป็นเรือฟริเกตจำนวน 6 ลำประกอบไปด้วย เรือหลวงเจ้าพระยา ประจำการ 5 เมษายน 1991 เรือหลวงบางปะกง ประจำการ 20กรกฎาคม 1991 เรือหลวงกระบุรี ประจำการ 16 มกราคม 1992 เรือหลวงสายบุรี ประจำการ 4 สิงหาคม 1992 เรือหลวงนเรศวร ประจำการ 15 ธันวาคม 1994 และเรือหลวงตากสิน ประจำการ 28 กันยายน 1995 ตามลำดับ เป็นกองเรือฟริเกตดีที่สุดของเราในเวลานั้น

          วันเวลาผ่านพ้นมาประมาณ 20 ปี เรือรบทุกลำเริ่มล้าสมัยไปตามกาลเวลา จึงได้มีการปรับปรุงใหญ่เรือให้ทันสมัยกว่าเดิม เรือหลวงกระบุรีกับเรือหลวงสายบุรีซึ่งติดระบบอาวุธจีนทั้งลำ ได้รับการปรับปรุงด้วยระบบอาวุธใหม่จากจีนทั้งลำ เรือหลวงนเรศวรกับเรือหลวงตากสินซึ่งติดระบบอาวุธจีนผสมตะวันตก ได้รับการปรับปรุงด้วยระบบอาวุธใหม่จากตะวันตกทั้งลำ ส่วนเรือหลวงเจ้าพระยากับเรือหลวงบางปะกงซึ่งมีอายุมากที่สุด ยังมีแค่เพียงการปรับปรุงเล็กๆ น้อยๆ

          วันเวลาผ่านพ้นมาอีกไม่กี่ปี ศิษย์พี่ใหญ่ที่ถูกโลกลืมทั้งสองลำ ได้กลับมาเป็นคนดังในข่าวเด่นอีกครั้งหนึ่ง บทความนี้เสนอเนื้อหาเกี่ยวกับการปรับปรุงเรือ ทั้งแบบที่ดูสมจริงสมจัง (Real Design) และแบบอาจจะเป็นไปได้ก็ได้ (What If) ผู้เขียนเคยเขียนถึงเรือหลวงเจ้าพระยาเมื่อปีที่แล้ว เพื่อให้มีอรรถรสมากขึ้นแวะเข้าไปอ่านได้ครับ à   เรดาร์ที่หายไป

          เรือหลวงเจ้าพระยามีระวางขับน้ำปกติ 1,676 ตัน ระวางขับน้ำเต็มที่ 1,924 ตัน ยาว 102.87 เมตร กว้าง 11.36 เมตร กินน้ำลึก 3.1 เมตร ระบบขับเคลื่อน CODAD เครื่องจักรดีเซลจำนวน 4 เครื่อง ความเร็วสูงสุด 30 นอต ระยะทำการ 3,500 ไมล์ทะเลที่ความเร็ว 18 นอต ไม่มีลานจอดเฮลิคอปเตอร์ท้ายเรือ เรายังมีความจำเป็นต้องใช้เรือฟริเกต ขณะที่งบประมาณก้อนโตนำไปจัดซื้อเรือดำน้ำ การปรับปรุงเรือให้ใช้งานได้อีก 15-20 ปี เป็นทางเลือกที่มีค่าใช้จ่ายถูกกว่าซื้อเรือใหม่

          การปรับปรุงเรือถ้ามีนะครับ เพื่อให้กำลังพลก้าวทันเทคโนโลยีรุ่นใหม่ รองรับภัยคุกคามทั้งในปัจจุบันและอนาคต ปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมายได้ดีกว่าเดิม เรือมีงานหนักพอตัวอันประกอบไปด้วย ปฏิบัติการรบผิวน้ำ (Anti-Surface Warfare หรือ ASuW) การปราบเรือดำน้ำ (Anti-Submarine Warfare หรือ ASW) รวมทั้งการป้องกันภัยทางอากาศ (Anti- Air Warfare หรือ AAW) นอกจากนี้ยังได้มีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียน เข้าประจำการฝั่งทะเลอันดามันอีกหนึ่งงาน

          ชมภาพเรือทั้งสองลำในปัจจุบันกันหน่อย เรือหลวงเจ้าพระยาหมายเลข 455 เรดาร์ตรวจการณ์ Type 354 Eye Shield หายไปจากยอดเสากระโดง มีกล้องตรวจการณ์ MX-10MSติดตั้งแทน มีเรดาร์เดินเรือ 3 ตัว SATCOM 2 ใบ ขนาดเล็กกับใหญ่อย่างละหนึ่งใบ เปลี่ยนมาใช้เรือยางท้องแข็งพร้อมเครนทั้งสองกราบเรือ ขณะที่เรือหลวงบางปะกงหมายเลข 456 เพิ่งซ่อมบำรุงเสร็จไปไม่นาน มีเรดาร์ตรวจการณ์ Type 354 Eye Shield มี SATCOM ใบเล็กหนึ่งใบ และมีเรดาร์เดินเรือ 3 ตัวเท่ากัน

 

 

          ถ้าปรับปรุงจะต้องทำอย่างไร ง่ายสุดก็คือทำเหมือนเรือหลวงกระบุรี ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 เฟสด้วยกัน เฟสแรกติดตั้งเรดาร์ตรวจการณ์รุ่น SR 60A พร้อมระบบพิสูจน์ฝ่าย ปรับปรุงปืนใหญ่ 100 มม.แท่นคู่เป็นรุ่น JRNG-5 พร้อมป้อมปืนรุ่นใหม่ ติดตั้งเรดาร์ควบคุมการยิงรุ่น TR 47C ติดตั้งระบบอำนวยการรบแบบ Poseidon 3 เฟสที่สองเปลี่ยนปืนต่อสู้อากาศยาน 37มม.แท่นคู่รุ่น JRNG-3 ควบคุมอัตโนมัติไม่ต้องมีพลปืนที่แท่นยิง ติดตั้งระบบควบคุมการยิงแบบ Optical รุ่น JPT46 TDS เฟสที่สามติดตั้งระบบ ESMรุ่น ES-3601 ใช้ในตรวจจับการแพร่คลื่นเรดาร์ รวมทั้งจัดหาอาวุธนำวิธี C-802A ทดแทนของเดิม

          มูลค่ารวมปรับปรุงเรือ 2 ลำเท่ากับ 1,682,503,000 ล้านบาท อาวุธนำวิถี C-802A ไม่ทราบจำนวน 1,682,503,000 ล้านบาท ยอดรวมเท่ากับ 3,084,882,900 ล้านบาท หรือลำละ1,542,441,450 ล้านบาท ราคานี้ไม่รวมระบบ ESM ที่จัดหาเพิ่มเติม ข้อแตกต่างของการปรับปรุงครั้งนี้ก็คือ ค่าเงินเฟ้อสูงกว่าเดิม ราคาอาวุธสูงกว่าเดิม เรือหลวงเจ้าพระยามีปืนใหญ่ 100มม.จำนวน 2 กระบอก ตามข่าวเห็นว่าจะไม่เปลี่ยนป้อมปืน เพื่อลดราคาลงมาบ้างกระมังครับ ฉะนั้นถ้าเลือกเส้นทางนี้ (ซึ่งก็น่าจะใช่ 98 เปอร์เซ็นต์) ราคาปรับปรุงเรือต่อลำประมาณ 1,800ล้านบาทขึ้นไปเรื่อยๆ แล้วเสร็จจะมีหน้าตาประมาณนี้

 

 

          ผู้เขียนวาดภาพเรือขึ้นมาเอง ฉะนั้นสเกลอาจไม่ถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์ แค่ใช้ดูประกอบบทความให้พอเข้าใจตรงกัน ถ้าปรับปรุงเรือตามนี้ใช้อาวุธแบบนี้ บทความนี้ก็คงสิ้นสุดแต่เพียงเท่านั้น บังเอิญว่าต่อมมโนทำงานผิดปรกติ เสนอแนวคิดปรับปรุงเรือด้วยระบบอาวุธจากตะวันตก เป็นทางเลือกใหม่ที่ไม่ใช่พรรคการเมืองเพิ่มเติมขึ้นมา เผื่อไปสะกิดต่อมโดนใจท่านผู้ใหญ่ในกองทัพ และเพื่อไม่ให้มี What If ใน What If ซ้ำซ้อนมากเกินไป ผู้เขียนขอกำหนดเงื่อนไขดังต่อไปนี้

          1.ระบบเรดาร์และอาวุธทั้งหมดต้องเป็นของใหม่เท่านั้น ไม่ไปหยิบยืมจากเรือลำนั้นลำโน้นหรือลำนี้

          2.ระบบเรดาร์และอาวุธจะต้องมีประจำการในกองทัพเรือ หรือซื้อมาแล้วได้ของแล้วแต่ยังไม่ได้ประจำการ อุปกรณ์ที่ต้องใช้อาจเป็นรุ่นที่ใกล้เคียงกัน หรือรุ่นเดียวกันแต่คนล่ะผู้ผลิตก็พอได้ แต่ประเภทที่ว่าไม่เหมือนกันเลยต้องขอผ่าน

          3.ระบบอำนวยการรบเหมือนเรือหลวงนเรศวรและท่าจีน นั่นหมายถึงระบบเรดาร์จะต้องเป็น SAAB อย่างเลี่ยงไม่ได้ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ผู้เขียนนี่แฟนพันธ์แท้Signaal เชียวนะ น้ำตาไหลพรากเปียกโน้ตบุ๊กไปหมด

          4.ปรับปรุงตัวเรือให้น้อยที่สุด เอาเฉพาะที่จำเป็นจริงๆ เท่านั้น ผู้เขียนขอข้ามการติดตั้งลานจอดเฮลิคอปเตอร์แบบเรือหลวงกระบุรี และอยากแสดงให้เห็นถึงข้อแตกต่าง เรือหลวงกระบุรีมีครีบกันโคลงมากถึง 4 ตัว ขณะที่เรือหลวงเจ้าพระยามีแค่เพียง 2 ตัวกะจิ๋วหลิว ยังไม่นับความแตกต่างภายในตัวเรือ (ซึ่งไม่มีใครทราบนอกจากลูกเรือ) งานนี้ยากเกินไปขอผ่านไปเลย

 

          5.การติดตั้งแท่นยิงตอร์ปิโดเบาปราบเรือดำน้ำ จะไม่ใช้จุดที่เคยติดตั้งอาวุธนำวิถี C-801 เพราะมีตู้ระบบระบายอากาศ (หรือเปล่า?) ตั้งขวางทาง ติดตั้งตรงข้ามกับแท่นยิงสองกราบเรือไม่ตรงกัน เป็นอุปสรรคชิ้นใหญ่ที่ผู้เขียนไม่มีความรู้เลย ฉะนั้นขอเลือกจุดที่เป็นไปได้มากที่สุด นั่นก็คือจุดติดตั้งปืนกลต่อสู้อากาศยานท้ายเรือ ได้อย่างเสียอย่างครับงานนี้

 

          

 





ความคิดเห็นที่ 1


ในความเห็นผม  เรือชุด เจ้าพระยา อยากจะให้ลดบทบาทลงเป็นเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง มากกว่า เมื่อรวมกับเรื่อชุดปัตตานี 2 ลำ กระบี่ ตรัง ก็จะครบ 6 ลำ ตามความต้องการของ ทร พอดี. แล้วค่อยเอาเงินไปลงกับเรื่อฟรีเกตใหม่ 

โดยคุณ speci เมื่อวันที่ 21/08/2018 09:14:44


ความคิดเห็นที่ 2


ระบบตามที่ท่านกบเอ่ยถึงน่าจะเป็นอันเดียวกับที่ผมเห็นเหมือนกัน

ลองเข้า youtube เสิร์ชหา seakeeper gyro stabilizer. ครับ 

 

คำถามเรื่อง มาตรฐานของเรือ. ไม่แน่ใจว่าผมไปอ่านจากที่ไหนมาว่าเรือที่เราสั่งต่อจากจีนไม่ใด้ต่อตามมาตรฐานทางการทหาร เป็นมาตรฐานพานิชย์นาวี อะไรประมาณนี้   มันใช่มั้ยครับ

 

โดยคุณ Sam เมื่อวันที่ 17/08/2018 21:54:44


ความคิดเห็นที่ 3


ตอนกลางวันลืมบวกท่อตอร์ปิโดกับตอร์ปิโด เอาใหม่นะครับ...พอดีจำได้ว่าเคยคำนวนไว้คร่าวๆ

 

V1 : 7.5+3-7= หัวเรือหนักกว่า 3.5 ตัน ถ้าบรรทุกอุปกรณ์กวาดทุ่นระเบิดคงใกล้เคียง ถ้าบรรทุกทุ่นระเบิดท้ายคงหนักกว่าแทน

 

V2 7.5+3-7-2-1.5-1.5 =  ท้ายเรือหนักกว่า 1.5 ตัน

 

V3 7.5+1.5-2-1.5-1.5 = หัวเรือหนักกว่า 4 ตัน ถ้าบรรทุกอุปกรณ์กวาดทุ่นระเบิดคงใกล้เคียง ถ้าบรรทุกทุ่นระเบิดท้ายคงหนักกว่าแทน

 

ส่วนลำติดลานจอดเนี่ย ท้ายเรือหายไป 20 ตัน แต่ได้ลานจอด+ห้องด้านล่างเข้ามา + เผื่อน้ำหนักเฮลิคอปเตอร์ 5 ตัน = หัวเรือคงหนักกว่าซัก 4-5 ตันมั้งครับไม่แน่ใจ

 

ตัวเลขประมาณนี้ไม่น่ามีปัญหาในทุกเวอร์ชั่นนะครับ จุดศูนย์ถ่วงไม่ได้เปลี่ยนแบบเรือหลวงตาปี ที่ติดปืนหน้าไว้สูงโคตรๆ ลานจอดฮ.ก็ไม่ได้สูง จีนเองก็เคยโมทำเป็นเรือ OPV ตั้งไม่รู้กี่ลำเข้าไปแล้ว จีนทำได้เราก็ทำได้ครับ ยืมภาพท่านจูดาสเสียเลย

 

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 17/08/2018 22:26:21


ความคิดเห็นที่ 4


โห คุณsuperboy ผมไม่ได้บอกเลยนะครับว่าเรือจะดัดแปลงไม่ได้ ผมบอกว่า "ถ้าอัพเรือแบบแปลงโครงสร้างแล้ว คำนวนการถ่วงไม่ดีจะมีปัญหาปวดตับ" ไม่ได้พูดว่าทำไม่ได้นะครับ แล้วที่ผมยกเรื่องเรือหลวงตาปีมาพูดถึงเพราะมันเป็นเรื่องปัญหาการดัดแปลงเรือที่คนภายนอกมักไม่ค่อยรู้ แต่ถึงเรือหลวงตาปีจะมีปัญหาก็ยังสามารถใช้งานได้ ส่วนกรณีเรือของอิหร่านรุ่นเดียวกับเรือหลวงตาปี หรือเรือนอร์เวย์ หรือเรือมาเลย์ เค้าจะดัดแปลงยังไง สิ่งที่เราเห็นจะเป็นแค่ภาพภายนอก เราไม่ทราบหรอกว่าเค้าดัดแปลงแล้วเกิดปัญหาหรือไม่ หรือต่อให้มีปัญหาแต่ถ้าเรือสามารถใช้งานได้ตามที่ต้องการก็ถือว่ายอมรับได้

โดยคุณ RAF เมื่อวันที่ 18/08/2018 01:28:34


ความคิดเห็นที่ 5


ผมเสนอแนวทางที่ง่าย. ประหยัด. และน่าจะมีผลกระทบเรื่องประสิทธิภาพเรือหลังปรับปรุงน้อยสุด. คือ. เดิมแบบเรือชุดเจ้าพระยากับชุดกระบุรีก็ใช้แบบเรือเดียวกัน. แต่มาปรับแบบเพิ่มลานจอด ฮ.  แสดงว่าแบบมีอยู่แล้วเรือหลวงเจ้าพระยานำมาใช้ได้เลยโดยปรึกษากับอู่เรือจีนที่เป็นเจ้าของแบบ.  ส่วนระบบต่างๆ อาวุธ ก็ยึดตามแบบการปรับปรุงเรือกระบุรีเลย.   ส่วนที่อยากให้เพิ่มทั้งเรือชุดเจ้าพระยาและกระบุรีคือ เพิ่มจรวดต่อสู้อากาศยาน. ตอปิโดร์   โดยรื้อจรวด C802A ด้านหลังออก แล้วยกพื้นสูงขึ้นเล็กน้อยสำหรับติดตั้งจรวดต่อสู้อากาศยานไว้ด้านบน. ส่วนด้านล่าง ทั้ง 2 ด้านทำช่องไว้ติดตั้งตอปิโดร์.  แค่นี้ก็รบได้ทั้ง 3 มิติแล้ว ในราคาที่พอรับได้

โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 18/08/2018 10:09:34


ความคิดเห็นที่ 6


ขอเสนออีกหน่อยครับ สำกรับเรือชุดเจ้าพระยาและชุดกระบุรี. หากไม่มีจรวดต่อสู้อากาศยาน. ก็จะมีขีดความสามารถพอๆกับเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง เรือหลวงตรัง. ดังนั้นผมคิดว่าลดชั้นเรือทั้ง 4 ลำมาเป็นเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง  โดยให้แต่ล่ะลำมีจรวด C802A ลำล่ะ 4 ลูก กลางลำ.  โดยเรือเจ้าพระยา 2 ลำ ทำลานจอด ฮ. และโยก C802A มาจากท้ายเรือของเรือชุดกระบุรี ที่เหลือก็ spec เหมือนเรือชุดกระบุรี.    คราวนี้เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งก็มีแล้ว 8 ลำน่าจะพอ. ปัตตานี 2.  กระบี่ 2. เจ้าพระยา 4.  แล้วไปจริงจังกับการต่อเรือรบแท้ๆชั้นท่าจีนลำที่ 2 และอาจเพิ่มเป็น 3  รวมมีเรือรบแท้ๆ 7.  สุโขทัย2 นเรศวร 2. ท่าจีน 2+1.     ที่ทำอย่างนี้เพราะอยากให้เรือรบทั้งหมดสามารถ link หากันได้ อย่างแท้จริงเวลารบจะได้มีประสิทธิภาพสูงสุด . ส่วนเรือรองๆ อาจมีระบบที่ link กันไม่ได้ก็อยู่แนวหลัง 

โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 19/08/2018 13:12:02


ความคิดเห็นที่ 7


ขออนุญาต ตอบ ครับ.............

ไปทีละเรื่องก่อนนะครับ.................... เรื่องแรกคือ การต่อเรือมาตรฐานพานิชย์ และ มาตรฐานกองทัพ ...........  ทั้งสองมีความแตกต่างมากพอสมควร  มิใช่แค่เรื่องอาวุธครับ    มาตรฐานกองทัพนั้นที่เห็นชัดเจนคือเรื่องของความคงทนของตัวเรือครับ พูดง่ายๆคือ เรือรบต้องจมยากกว่าเรือพานิชย์   แรงเค้นที่เกิดกับเรือพานิชย์ก็คงเป็นเรื่องคลื่นลม (หินโสโครกนั้น ลองแล่นเต็มฝีจักร หัวชนแหม่งเข้าไป มาตรฐานไหนก็คงเดี้ยง )  แต่ของเรือรบ ยังมีแรงเค้นเมื่อต้องเจอแรงอัดการระเบิดของอาวุธ

 

ดังนั้นมาตรฐานเรือรบจึงต้องใช้วัสดุทำตัวเรือที่หนากว่า เหนียวกว่า   การออกแบบเรือที่มีลักษณะเป็นชั้นๆกันน้ำกรณีโดนอาวุธโจมตีจนน้ำเข้าตัวเรือ มาตรฐานความปลอดภัยกรณีเกิดไฟไหม้ ไม่ว่าจะเป็นวัสดุไม่ติดไฟ และระบบดับไฟ (อันนี้สำคัญมาก)    จากที่อ่านมาทราบว่า บิสมาร์คขณะถูกรุมต้อนจนสิ้นฤทธิ์นั้น ขณะที่เธอถูกขึงพืดหมดเรี่ยวแรงต่อสู้ กองเรืออังกฤษกระหน่ำยิงอย่างไรก็ไม่สามารถจมเธอได้   ตามที่เขียน(ไม่รู้ใส่สีหรือไม่)บอกว่าขนาดเรือดำน้ำยิงตอปิโดเข้าจะๆ เธอก็ยังฝืนลอยน้ำอยู่ ซึ่งว่ากันว่า วิศวกรเยอรมันออกแบบให้เธอมีที่ว่างด้านในเป็นชั้นๆเหมือนรังผึ้ง เมื่อผิวด้านนอกถูกทำลายน้ำก็เข้าได้เพียงบางส่วน................ นั่นคือมาตรฐานกองทัพ

 

จากที่เคยทราบ  ราคาเรือรบ (เอาเป็นฟรีเกต เอนกประสงค์นะครับ  สักสองพันตัน มีระบบตรวจจับ อำนวยการรบ อาวุธสามมิติ ได้แก่ปืนเรือหลัก ปืนรอง  อวป พื้นสู่พื้น โซนาร์ ตอปิโด แซมระยะใกล้ อีเอสเอ็ม อีซีเอ็ม เป้าลวง  ) ราคาเมื่อปี 2531-32 ตอนที่ ทร.กำลังตั้งใจจะถอยเรือฟริเกตนั้น  เรือดังกล่าวจะมีราคาอยู่ที่ประมาณลำละ สี่พันล้านบาท  ซึ่งราคานี้เป็นตัวเรือจริงๆแค่ราว สองร้อยล้านบาท  นั่นแหล่ะครับ สามพันกว่านั่นคือ เรดาร์ หน้า ผม  อกอึ๋ม โบถ็อกซ์ เกาหลี.......  

ก็เมื่อราคาระบบมันแพงขนาดนั้น  เรือที่จะนำมาติดตั้งก็ต้องน่าเชื่อถือหน่อยสิครับ ก็เลยต้องเป็นมาตรฐานกองทัพ   ไม่ใช่ว่า เจอปะทัดตูมเดียว จมทั้งลำก็เห็นจะไม่เป็นท่า...........  

และนี่เป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงแห่เรือจีน เพราะถ้าแห่จากยุโรปหรืออเมริกา   ถ้าในขนาดไล่กัน อย่างเช่น ลีเกียว มาเลเชีย  แปดพันล้านอาจได้แค่สองลำ หรือแค่ลำครึ่ง  แต่ชุดเจ้าพระยา สี่ลำ ใช้เงินแค่เจ็ดพันห้าร้อยล้าน  นั่นคือ งบเท่ากัน ได้เรือมากกว่าสองลำ แถมได้เงินทอนอีกห้าร้อย......อุ้ย !!!!!!!   ทานโทษ เงินทอน ณ ที่นี้หมายถึงจ่ายน้อยกว่านะครับ  มิได้หมายถึงอย่างอื่น.........

แต่อย่างว่าครับ  ราคาที่หายไปครึ่งหนึ่ง สมรรถนะก็ขาดไปด้วย  ที่ชัดเจนคือระบบการรบทางอากาศ ได้ 37 มิลลิเมตร อัตโนมัติมา สี่แท่น   ระบบต่อสู้ใต้น้ำ จากตอปิโดก็เปลี่ยนมาเป็น จรวด(แมนน่วล)  ส่วน อย่างอื่นได้แก่ อีซีเอ็ม อีเอสเอ็ม เป้าลวง โซนาร์ ตามมาตรฐานจีนยังจัดมาให้ครบ ถามว่าราคานี้โอเคมั้ย  ผมเห็นตาม ทร.นะครับเพราะจำนวน หกลำ (รวมกับเรือชุดนเรศวรอีก สองลำ)  ทำให้เราสามารถตั้งกองเรือได้อีกถึง 1 กองเรือ  ............................. ที่สำคัญ ระวางขับน้ำสองพันตัน แล่นเร็วเต็มฝีจักร 30 น็อต อาวุธหลักคือ ซี -801 ซึ่งพอเรือเข้าประจำการได้ปีเดียว ทร.ก็นำมายิงโชว์ เรือเจ้าพระยาแล่นที่ความเร็วยี่สิบน็อต ปล่อยจรวดที่ระยะ ยี่สิบไมล์ทะเลเข้าเป้าแม่นโป๊ะเช๊ะ    โห.... อย่าว่าแต่ยุคโน้นเลยครับ ต่อให้เป็นยุคนี้ เรือจรวดมหาปะลัย ผ่านการยิงสด การันตีคุณภาพแล้ว  จัดหนักทีเดียวถึงสี่ลำ  รอบๆบ้านไหนๆก็ต้องครั่นคร้ามหล่ะครับ.......   มีต่อ...........

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 19/08/2018 18:34:08


ความคิดเห็นที่ 8


ทีนี้มาเรื่องของเรือตรวจการณ์บ้างนะครับ   เรือตรวจการณ์ที่กล่าวถึงนี้คือรุ่นใหญ่เทียบชั้นได้กับฟรีเกต ก็คือเรือ โอพีวี   ฟื้นฝอยปูมหลังก็เหมือนเอาหนังเก่ามาฉาย เพื่อนๆคงทราบแล้วว่า เรือโอพีวีนั้น ใช้ในการตรวจการณ์ในภาวะปกติ ข้าศึกหากจะเปรียบก็คงเป็นเรือเอี้ยมจุ๊น เรือแจวซะประมาณนั้น.............คุณภาพการต่อจึงลดเกรดลงมาเป็นมาตรฐานพานิชย์  อาวุธปืนดูจะมีความเหมาะสมกับสภาพเนื้อหนังที่บางตามคาแร็คเตอร์  ถ้าถามว่าเหมาะสมไหมถ้าจะเพิ่มขีดความสามารถให้หล่อนยิงจรวดลูกยาวได้   ก็ต้องบอกว่าไม่แปลก มีคนเคยทำ อย่างเช่น ทร. ฝรั่งเศส ก็มีเรือชั้น ฟลอเรอั้ล  ซึ่งต่อขึ้นตามมาตรฐาน โอพีวี ได้รับการติดอาวุธปล่อย เอ็มๆ -40   มีแท่นยิง ซิมแบท (แซดดรั้ล แบบแมนน่วล)  ระวางขับ สามพันตัน  หล่อนชักใบ สะบัดบั้นท้ายเยื่องย้ายไปทั่วโลก    แต่ว่า............ก็มีข้อแม้คือ  เป็นการตรวจการณ์ในสภาวะปกตินะครับ  ในเวลาสงคราม ของจริงคงต้องรับไม้ต่อ.....   ในส่วน ทร.ไทย   ก็คงเป็นไปในลักษณะคล้ายๆกันค   คือเน้นไปในสถานการณ์ปกติ  หรืออาจอุ่นๆไม่ร้อนมาก    แต่พอศึกปะทุ อุณหภูมิเดือดปุด การจัดกำลังเป็นกองเรือ เรือพวกนี้ ต้องอยู่ภายใต้การคุ้มกันของเรือที่มีสมรรถนะสูงกว่าครับ  พวกเธอบอดสงครามใต้น้ำ  เนื้อหนังก็บาง  ลุยเดี่ยวโฉ่งฉ่าง อาจหงายเงิบเอาง่ายๆครับ.............

 

ทีนี้มาถึงสุดยอดบ้างครับ.......โพสนี้จะขอโฟกัสแต่เรือเล็กไม่เกินฟรีเกต   ........ เราใช้หลักนิยมการรบตามแบบไอ้กัน  เรือรบแบ่งตามภารกิจหลักๆนั้นได้แก่ เรือรบผิวน้ำ มีพิษสงในการต่อตีเรือผิวน้ำด้วยกัน สมัยก่อนอาวุธเป็นปืน ก็จะเป็นเรือพิฆาต ลาดตะเวน เบา ,หนัก ประจัญบานก็ว่าไป สมัยนี้เป็นยุคอาวุธปล่อย เรือเล็กซ่าได้ ส่วนใหญ่จะเป็นเรือฟรีเกต  ฟรีเกตเป็นเรือเร็วขนาดกลางค่อนข้างเล็ก ความเร็วเกือบสามสิบน็อตเหมาะสมในการติดตั้ง อวป. ต่อตีเรือเป็นอย่างยิ่ง   บางชั้นได้รับการติดตั้งอาวุธปล่อยต่อสู้อากาศยานพิสัยใกล้ สำหรับป้องกันตนเอง และที่ขาดไม่ได้เพื่อไม่เสียของคือ ระบบสงครามใต้น้ำ

 ลำดับต่อมาคือเรือปราบเรือดำน้ำ ในสมัยสงครามโลก เรืออูเป็นมหันตภัยใต้น้ำของกองเรือขนส่งเป็นอย่างมาก  เรือพิฆาตคุ้มกันรับบทในการเป็นหมาคุ้มกันฝูงแกะ ด้วยคาแร็คเตอร์ที่แล่นไม่เร็วมาก เกาะติดไปกับคาราวานเรือ อาวุธคือโซนาร์ประกอบมอต้าและระเบิดลึก  หลังสงครามโลกยุคสงครามเย็น มีเรือลักษณะดังกล่าวที่โดดเด่นหนึ่งชั้น คือเรือชุด น็อกซ์ แต่ท้ายสุดก็เปลี่ยนไปเป็นฟรีเกต มีการติดฮาร์พูน ฟาลังซ์ บางลำติดแซมระยะใกล้ สแปร์โร่ว์ อีกด้วย   สำหรับบาง ทร. ที่ไม่นิยมเรือใหญ่ก็จะประจำการด้วยเรือ คอร์เวต ในภารกิจปราบเรือดำน้ำ   ยกตัวอย่างเช่น พีเอฟ-103 หรือ รล.ตาปี นั้น แผนแบบดั้งเดิมคือเรือคอร์เวตครับ แต่ใช้รหัสว่าพีเอฟ หมายถึง พาท่อลฟรีเกต หรือฟรีเกตลาดตะเวน ซึ่งแท้จริงแล้วภารกิจก็ไม่ต่างจาก รล.ปิ่นเกล้า ซึ่งใช้รหัส ดีอี เดสทรอยเอ้อร์เอสคอรท หรือพิฆาตคุ้มกัน ปราบเรือดำน้ำนั่นเอง เพียงแต่ระวางจะน้อยลงมาเหลือแค่พันตัน  ถ้าไปเทียบกับโซเวียตก็ชั้น เพทะยา หรือ ริก้า ประมาณนั้น

สุดท้ายคือ เรือป้องกันภัยทางอากาศ   ในสงครามโลกครั้งที่สอง ไอ้กันประยุกต์เรือ ลว.เบา ซึ่งปกติจะติดตั้งปืนขนาด  6 นิ้ว  นำมาติดปืน 4.5. -5 นิ้ว โดยปืนมีมุมกระดกที่สูงมาก (คล้ายๆกับป้อมปืนด้านข้างของเรือประจัญบาน) ปืนพวกนี้ใช้ต่อสู้กับเครื่องบินทิ้งระเบิดเพดานบินสูง ที่บินเข้าโจมตีกองเรือ เรียกเรือเหล่านี้ว่า เรือ แอนตี้แอร์คราฟท์ ครุยเซอร์ หรือ ลว. ป้องกันภัยทางอากาศ   ในยุคอาวุธนำวิถี ไอ้กันจะเรียกเรืออาวุธนำวิถี ไม่ว่า ฟรีเกต พิฆาต ลาดตระเวน กับเรือที่ติดตั้งอาวุธต่อสู้อากาศยานพิสัยกลาง/ไกล เท่านั้น   สมัยก่อน ไอ้กันแยกเรือภารกิจ ปราบด. และ ป้องกันภัยทางอกาศชัดเจน ยูเอสๆ สปร๊วนซ์ (ลำก่อน) ซึ่งเป็นเรือพิฆาตเน้นปราบด. ใช้รหัส ดีดี  ขณะที่ สปร๊วนซ์ลำปัจจุบัน เป็นเรือพิฆาตระบบเอจิส ชั้นอาเลย์เบิร์ก ติดตั้ง แซมลูกยาว ได้รับ รหัส ดีดีจี   ...............    สำหรับเรือฟรีเกตชุด  เปอรรี่ ที่ ทร.เกือบได้เป็นเจ้าของนั้น จัดเป็นเรือฟรีเกตเอนกประสงค์ แต่ติดตั้งระบบปราบ ด. ลำยุค   แถมมีแซม สแตนดาร์ด ยิงไกล   ก็ได้รหัส เอฟเอฟจี  ไปตามระเบียบ .......................

 

เรือที่ลงท้ายด้วย จี  เป็นเรือทรงคุณค่าครับ    เพราะระบแซม ลูกยาวนั้น นอกจากลูกจรวดเองที่ซับซ้อน ราคาหฤโหดแพงระยับแล้ว ระบบซัพพอร์ททั้งหมด ก็ต้องซับซ้อนและแพงด้วย ...........  เริ่มตั้งแต่ระบบตรวจจับที่เป็นหูเป็นตา ก็ต้องตรวจการได้ไกลเป็นพิเศษ  ยกตัวอย่างเช่น เรือชุด รัตนโกสิทร์ และ รล.มกุฎราชกุมาร แค่ติดตั้งแซมลูกสั้น แต่เรดาร์ตรวจการณ์อากาศก็ต้องเป็น ดีเอ-05 พิเศษใส่ไข่กว่าชาวบ้านไปหน่อย พอเป็น ชุดนเรศวรก็ต้อง แอลดับบิว-08 ใหญ่ขึ้นไปอีก  และที่ขาดไม่ได้คือ ระบบอำนวยการรบ เนื่องจากการรบเป็นลักษณะนอกสายตา และข้าศึกมีการเคลื่อนที่รวดเร็วเปลี่ยนแปลงไปมา ระบบพิสูจน์ฝ่าย ระบบดาต้าลิ้งค์ ระบบประมวลผลจึงต้องแม่นยำ ต้องใช้หลายโมดูลลาร์ในการแสดงผล  ราคาของระบบมันจึงแพงระยับ   ท่านจะเห็นว่า  การอัพเกรดเรือชุดนเรศวร ด้วยการติดตั้งจรวด นกกระจอกทะเลวิวัติไปแค่ 8 ท่อ แต่ขั้นตอนทำไมถึงซับซ้อนยุ่งเหยิงไปหมด ทั้งฮาร์แวร์ ซอฟทแวร์     และนี่เองเป็นเหตุผลว่า ไม่ใช่จะมี ทร.ใด ที่จะจัดหาเรือรบที่มีขีดความสามารถดังนี้เข้าประจำกันง่ายๆ  ในอาเซี่ยนมีเพียงสิงคโปร์และ ทร.ไทย ของเราเท่านั้น ที่มีประจำการ   ทร.อิเหนาซึ่งจัดเป็นหมายเลข 1 ก็ยังไม่มีเรือชนิดนี้ใช้งาน  ทร.มาเลย์ เรือชั้นลีเกียวนั้น ยังเป็นแค่เรือฟรีเกตเอนกประสงค์ 

 

ครับ  ดังนั้น ถ้ามองไปในอนาคต ผมมองว่า  โอพีวี ติดฮาร์พูน น่าจะเป็นสรณัง กองเรือตรวจการณ์หมัดหนักของเรา ในขณะที่ เรือชุดเจ้าพระยา จะยังเป็นม้าใช้ในบทบาทเรือรบแท้ๆ ภารกิจเอนกประสงค์อีกอย่างน้อย ยี่สิบปี ครับ      ..........................แต่   อนาคตที่ไม่ไกลนี้ เราอาจจะได้เห็นการปลดประจำการของเรือชุดตาปี เพราะเธอประจำการตั้งแต่ 2514 การโมดิฟาย แล้วผลคือการรักษาสภาพสมดุลเรือโดยอัดน้ำทะเลเข้าออก น่าจะมีผลต่ออายุการใช้งานของเธออยู่บ้าง ......................  มองว่า ถึงเวลานั้น  ถ้า ทร. หันไปทุ่มงบประมาณกับ เรือ เอฟๆจี ลำที่ 4 เป็นหมื่นล้าน  เรือที่จะจัดหาทดแทนชุดตาปี  คงได้เรือคอร์เวตปราบเรือดำน้ำแท้ๆ ลักณษะคล้ายชุด คำรณสินธุ์ แต่อาจใหญ่กว่า................  แต่กลับกัน  หากไม่มี เอฟๆจี ลำที่ 4  เรือที่จะมาแทน มีแนวโน้มเป็นเรือฟริเกตเอนกประสงค์ ระวางประมาณสองพันห้าร้อยตัน ทำการรบได้ 3 มิติ อาจพ่วงแซมระยะใกล้แบบ แอสปิเด้ มาด้วยให้เป็นที่ครั่นคร้าม    ซึ่งท่านน่าจะได้กลิ่นคล้ายๆผม  เหมือนว่า เมื่อไม่นานมานี้ ที่งานแสดงอาวุธจะมีบริษัทเรือจากอังกฤษ (เจ้าเดียวกับโอพีวี )  และจากเยอรมัน  เสนอตัวเข้ามาให้เห็นแว้บๆ บ้างแล้ว     งานนี้ผมหลับตานึกออกเลย   เรือฟรีเกตเอนกประสงค์สองลำ สังกัดกองเรือฟรีเกตที่ 1 ทดแทน เรือชุดตาปี  ............................ฟันธง

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 19/08/2018 20:28:09


ความคิดเห็นที่ 9


ขอบคุณสำหรับคำตอบครับท่านกบ กระจ่างเชียวครับ.  

โดยคุณ Sam เมื่อวันที่ 20/08/2018 23:03:00


ความคิดเห็นที่ 10


สำนวนแบบนี้แหละของท่านกบ ขอบคุณท่านกบครับรอมานาร
โดยคุณ TS1968 เมื่อวันที่ 19/08/2018 22:02:12


ความคิดเห็นที่ 11


     ผมขอเกี๊ยะเซี๊ยะกับท่านกบก่อนนะครับ ชิงลงมือตั้งแต่เช้าตรู่วันจันทร์เลย อย่างแรกเอาเรือฟริเกตแดวูลำที่สองมาก่อน เพราะอยากได้ไส้ห้อยท้ายไว้ลากไปติดอวนชาวบ้าน ลำเดียวมันเสียวหัวใจ...เผื่อกรองเบนซินตันล่ะแย่เลย

     แล้วขอเรือคอร์เวตขนาด 1,200 ตันจำนวน 4 ลำ โดย 3 ลำแรกปราบเรือดำน้ำ มีปืน 76/62 รุ่นไหนก็เถอะ กลางเรือใช้ปืน 20 มม.อัตโนมือก็ได้ถูกดี บั้งไฟไม่ต้องใช้ประทับบ่าเอา ลูกยาวก็ไม่ต้องให้สุดยอดเรือ OPV ท่านกบรับไม้ไป ยัดโซนาร์ DSQS-23B กับตอร์ปิโด Mk54 ให้ได้ก็พอ ติดแท่นยิงไว้ใต้ลานจอด ถ้าติดไม่ได้ก็ข้างๆ ลานจอดเลยก็ไหว

 

     ส่วนลำที่ 4 ผมขอแบบลานจอดสั้นครับ แค่ให้ H145 มารับนักประดาน้ำได้ก็พอ แล่นตีคู่เรือหลวงท่าจีนเพื่อสนับสนุนการต่อต้านทุ่นระเบิดเสียเลย ตัดระบบปราบเรือดำน้ำออก มีโซนาร์ตรวจทุ่นระเบิดแทน ขอแค่นี้เองให้ได้ไหมเอ่ย ;) (คลิกที่ภาพเพื่อขยาย)

 

     ต่อเรือที่ไหนบนโลกใบนี้นี้ก็ได้นะครับ ขอแค่ได้ตามมาตรฐานพอแล้ว 

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 20/08/2018 07:43:22


ความคิดเห็นที่ 12


โอเคร................เห็นด้วยครับ  ว่าตาม ท่านซุเปอร์บอย..............งานนี้แผนยิ่งใหญ่ครับ

1. จัดหา เอฟๆจี ลำที่4 แดจังกึม สัญชาติไทย    เห็นด้วยกับทิศทางเพิ่มความแข็งแกร่งการป้องกันภัยทางอากาศ   และอีกประการเพราะเห็นแก่โซน่าร์ลากท้ายครับ................. เนื่องจากจำนวนที่เคยมีอยู่สองชุด บนเรือฟริเกตชุด น็อกซ์   ก็ควรได้รับการจัดหามาเท่าเดิม  ......................

ว่าแล้วก็ให้เสียดายเรือฟรีเกตชุด เปอรี่  คาแรคเตอร์เดียวกันเด๊ะ  เปอรี่ นั้น ผมว่าอย่างอื่นนั้นดูดีหมด ติดอยู่แค่สามประการ คือ ข้อแรก อายุมาก    สอง แต่งตัวเสื้อผ้าน้ำหอมแพง เพราะดันเป็นเครื่องกังหันก๊าซล้วนๆ     สาม ไม่แน่ใจว่า มะกันจะแถมแซมลูกยาวมาให้ด้วยหรือไม่ หรือถ้าแถมมาให้จริง จะต้องมีการยกระดับอะไรเพิ่มเติมอีกมั้ย  เนื่องจาก สแตนดาร์ด บล็อคแรกๆจะว่าไปแล้ว เทียบกับ นกกระจอกทะเลวิวัตร แม้จะมีระยะยิงไกลกว่า แต่ระบบนำวิถีและการรับมือการโคจรเป้าเรียดน้ำ ต้องบอกว่า นกกระจอกทะเลวิวัตรกินขาด ซึ่งถ้ารับมาแล้วยังต้องมาอัพตรงนี้ราคาแพงหูฉี่ขณะที่อายุอานามก็ใช่น้อย ทร.เลยบอก งั้นขอไปทางเกาหลีดีกว่า ใหม่สดซิง แต่งองค์น้อยใช้สอยประหยัด  จ่ายแพงทีเดียวเลย แต่ได้อยู่ด้วยกันอีกครึ่งศตวรรษ นี่อาจเป็นเหตุผลให้ ทร.เฉยๆ กับเรือชุด เปอรี่   นะครับ

 

2. เดินหน้าโครงการ โอพีวีหมัดหนักลำที่ 4   เสร็จแล้วทำอุ่ให้ว่าง เว้นวรรคเพื่อเปิดทางสำหรับการวางกระดูกงู แดจังกึงสัญชาติไทยจนจบโครงการ จากนั้นค่อยเริ่มบรรเลง  ลำที่ 5 และ 6 ต่อ ตามรอยลำที่ 4

 

3. เพื่อเดินตามแนวทางคุณ ซุเปอร์บอย  จัดหาเรือคอร์เวตปราบเรือดำน้ำ โดยแบ่งโครงการออกเป็นสองระยะ ระยะแรก ต่ออู่นอก 2 ลำ  ระวางขับ 900 – 1,200 ตัน  ต่อตามมาตรฐานกองทัพ   สองเครื่องยนต์ สองเพลาใบจักร เร็วเต็มฝีจักร 25 น็อต  เรดาร์พื้นน้ำ   เรดาร์ตรวจการอากาศ เอดับบลิวเอส-4 (เหมือนชุด คำรณสินทร์) โซนาร์ ดีเอสคิวเอส-23 บี  ( หรือผมจะขอแอบดื้อเงียบบ้าง เป็น ดีเอสคิวเอส-21ซี ที่ถอดออกมาจากชั้นตาปี...แฮ่..)   ต.มาร์ค 54 ปืนหลัก 76/62  ออโตเมลาร่า   แต่ ปตอ.นี่ขอดื้อเงียบอย่างแท้จริงครับ เนื่องจากต้องออกทะเลลึก ข้าศึกเก่งจริงดังนั้น ขอเป็น 40 ทวิน ของบรีด้า (เหมือน รล.มกุฏ ,ชุดรัตนโกสินทร์ ) หรืออย่างน้อยเป็น 30 บรีด้าเหมือนชุดคำรณสินธุ์ ครับ    แต่ถ้าแบบ  30 มม. บุชมาสเตอร์ เหมือน รล. กระบี่ อ่างทอง เรือกวาดทุ่น นั่นไม่เอาครับ อันนั้นมันปืนยิงเรือโจรสลัด ไม่ใช่ปืนยิงเครื่องบิน      ซึ่งระบบควบคุมการยิงปืนหลักและรอง ใช้ออปโตรนิค มิราดอร์ ใช้ร่วมกัน   แต่ถ้าปืนรองเป็น 40 ทวิน ของบรีด้า ระบบควบคุมต้องแยกออกมาเป็น เรดาร์/ออปโตรนิค ไลรอด 8 ครับ       ................. ระยะที่ สอง ต่อเพิมอีก 2 ลำ  คราวนี้อู่ราชนาวีเราคงว่างจากการต่อโอพีวี  ระยะนี้ว่าตามคุณ ซุเปอร์บอยครับ ลำแรก แผนแบบเหมือนเดิม  แต่ลำที่สองนี้ หดดาดฟ้าจอด ฮ.ลงมา  ติดตั้งเครื่องมือกวาดทุ่น   ที่นี้กองเรือทุ่นระเบิดจะมีเรือเพิ่มอีกหนึ่งลำ เสป็คโหดเอาเรื่อง เพราะเอาเรือคอร์เวตมาลงเองเลย   เรือลำนี้ขีดความสามารถ แล่นเกาะไปกับกองเรือล่องไปไกลโพ้น    ดำเนินการกวาดทุ่น เปิดมรรคาให้   กรณีข้าศึกวางทุ่นปิดน่านน้ำตัวเอง  แหม่...........เก๋ไก๋ไม่หยอกครับ......................

 

ถ้า ทร.สามารถดำเนินโครงการนี้ให้เสร็จได้ใน 10 ปี  โอ่ะ......แม่จ้าววววว    ลองดูกองเรือทะเลลึกของเราสิครับ

เรือบรรทุก เฮลิคอปเตอร์     1     ลำ

เรือฟรีเกตอาวุธนำวิถี          4     ลำ

เรือฟรีเกตเอนกประสงค์      4     ลำ

เรือคอร์เวตเอนกประสงค์    2    ลำ

เรือตรวจการไกลฝั่งสมรรถนะสูง (ฮาร์พูน)  3 ลำ

เรือคอร์เวตปราบเรือดำน้ำ   6   ลำ  (รวมชุดคำรณสินธุ ด้วย 3 ลำ )

เรือตรวจการไกลฝั่ง            3     ลำ

เรือกวาดทุ่นระเบิดไกลฝั่ง   1   ลำ

เรือฝึก (รล.มกุฎราชกุมาร)   1  ลำ

 

นี่ยังไม่รวมเรือดำน้ำอีก สามลำนะครับ

 

ว้าว............................ภาษาโจ๋บ้านนอก ต้องบอกว่า โก้ปานห่าน.........................

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 20/08/2018 10:37:15


ความคิดเห็นที่ 13


ในความเห็นผม ขอ เดา ว่า

1. เรือชุด เจ้าพระยา น่าจะปรับเป็นแค่ เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง (ปืน) (และเป็นเรือฝึก)

2. เรือชุด ปัตตานี น่าจะมีโครงการอัพเกรด ช่วงครึ่งอายุใช้งาน ติดตั้ง ระบบ อาวุธนำวิถี แทนชุด เจ้าพระยา

3. จัดหาเรือดำน้ำ อีก 1 ลำ

4. จัดหาเรือชุด ท่าจีน อีก 1 ลำ

ตามแผ่นภาพที่ 1 อีก ไม่เกิน 20 ปีข้างหน้า กองทัพเรือ จะต้องจัดหา เรือรบชุดใหม่ ตามแต่ภาระกิจใช้งาน ไม่น้อยกว่า 8 ลำ (ไม่รวม รายการที่ 1 - 4)

ตามแผ่นภาพที่ 2 ประเมินว่า ถ้า ทร.ดำเนินการตามข้อ 1 ถึง 4 กองทัพเรือ จะมีเรือรบมากกว่าปัจจุบัน จำนวน 2 ลำ และมีอำนาจการทำลายสูงกว่าปัจจุบัน รวมงบประมาณเกือบ 50,000 ล้านบาท

ตามแผ่นภาพที่ 3 ประเมินว่า ถ้าดำเนินการตามข้อ 1 ถึง 4  ภายหลังการปลดประจำการ ร.ล.มกุฎฯ และเรือชุด ตาปี จะมองภาพ กองเรือตามภาระกิจ เป็นหมู่เรือประมาณไหน ครับ

 




โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 20/08/2018 15:30:31


ความคิดเห็นที่ 14


ขอย้อนกลับไปก่อนแผน ยิ่งใหญ่ตามคุณ ซุเปอร์บอยก่อนครับ อันนี้เป็นข่าวที่ผมนำมาอ้างอิง  รวมถึงภาพ คอนเสปทช่วล ของฟรีเกตุ ไทป์ 31 ของ บีเออี   ซึ่งตามที่วิกิแจ้งว่า  เจ้า ไทป์-31 นี้ จะถูกสร้างเพื่อเข้าประจำการ 5 ลำ ในราคาลำละ 250 ล้านเปอนด์  หรือราวๆ 350 ล้านเหรียญ  เพื่อทดแทน ไทป์-23 บางส่วน   ถ้าตามนี้จะเห็นว่าราคาแพงเอาเรื่อง  หากลดเสป็คลงมา เช่นไม่เอาแซม อิเลคทรอนนิคจัดใหม่ตามมาตรฐาน ทร.ไทย  สัก 80 - 100 ล้านจะลดลงมาได้หรือไม่ ?????     แต่ถ้าไปทางคอเวตปราบ ด.แท้ๆ  อันนี้งบน่าจะเบาลงเยอะครับ...........>>>>>>

 

บริษัท ThyssenKrupp Marine Systems(TKMS) เยอรมนีได้นำเสนอแบบเรือคอร์เวต/ฟริเกตเบา MEKO A-100 ของตนเป็นตัวเลือกหนึ่งของโครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งและเรือฟริเกตใหม่ในอนาคตของกองทัพ
ตามบริษัทได้จัดแสดงแบบจำลองผลิตภัณฑ์ของตนในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ Defense and Security 2017 ที่ศูนย์จัดแสดงสินค้า Impact เมืองทองธานี กรุงเทพฯ ประเทศไทย ระหว่างวันที่ ๖-๙ พฤศจิกายนที่ผ่านมา

โดยบริษัท Blohm+Voss ในเครือ TKMS เยอรมนีนั้นได้มีการเจรจากับบริษัท Marsun ไทยในความร่วมมือถ่ายทอด Technology ในการพัฒนาเรือรบตั้งแต่เรือตรวจการณ์จนถึงเรือฟริเกตในการลงทุนอัตราส่วน 50:50
ที่น่าจะรวมถึงการเสนอแบบเรือคอร์เวต MEKO A-100 ที่ถ้าได้รับเลือกก็จะทำการสร้างในไทยด้วย (http://www.janes.com/article/66495/thai-shipbuilder-marsun-plans-ipo-to-support-expansion)

แบบเรือ MEKO นั้นถูกออกแบบมาเป็นระบบ Modular ที่สามารถเลือกติดตั้งอาวุธและอุปกรณ์ได้ตามความต้องการลูกค้า ซึ่งประเทศที่ได้จัดหาแบบเรือ MEKO A-100 พร้อมสิทธิบัตรการสร้างในประเทศแล้วมีเช่น เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ORP ลlฤzak กองทัพเรือโปแลนด์(Polish Navy)
ทั้งนี้ TKMS ยังได้แสดงแบบจำลองเรือดำน้ำ Type 209/1400mod ของบริษัท Howaldtswerke-Deutsche Werft(HDW) ในเครือ แสดงถึงการมองโอกาสในการเสนอเรือดำน้ำของตนในภูมิภาค ASEAN อยู่

บริษัท BAE Systems สหราชอาณาจักรได้วางตำแหน่งแบบเรือฟริเกตเอนกประสงค์ Type 31 ของตนเพื่อให้ตรงความต้องการในโอกาสที่เป็นไปได้ของของกองทัพเรือไทยสำหรับการเพิ่มเติมกำลังเรือผิวน้ำในอนาคต ตามที่โฆษกของบริษัทกล่าวกับ Jane's ในงาน Defense and Security 2017
ซึ่งบริษัทได้เสนอที่จะถ่ายทอด Technology การสร้างเรือภายในประเทศไทย ที่ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ ร่วมกับบริษัท อู่กรุงเทพ(Bangkok Dock) ไทยมีประสบการณ์ในการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.กระบี่ ทั้งสองลำมาแล้ว

ชุด ร.ล.กระบี่ของไทยนั้นได้ใช้สิทธิบัตรแบบเรือ 90m Offshore Patrol Vessel(OPV) ของ BAE Systems เช่นเดียวกับเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชั้น River กองทัพเรือสหราชอาณาจักร(Royal Navy) ซึ่งทางบริษัทกล่าวว่ามีข้อจำกัดทางการรบในสงครามตามแบบ
ดังนั้น BAE Systems จึงได้แสนอแบบเรือฟริเกต Type 31e ของตนที่เข้าแข่งขันในโครงการจัดหาของกองทัพเรืออังกฤษจำนวนขั้นต้น ๕ลำ ซึ่งพัฒนาจากแบบเรือ 99mm corvette คือเรือคอร์เวตชั้น Khareef กองทัพเรือโอมาน(Royal Navy of Oman)

ปัจจุบันกองทัพเรือไทยได้สั่งจัดหาเรือฟริเกตสมรรถนะสูง ร.ล.ท่าจีน(ลำที่๓) ที่สร้างโดยบริษัท Daewoo Shipbuilding and Marine Engineering(DSME) สาธารณรัฐเกาหลีในปี พ.ศ.๒๕๕๖(2013) วงเงินรวมประมาณ ๑๔,๙๙๗ล้านบาท($400 miilon)
โดยเรือฟริเกต ร.ล.ท่าจีน ลำใหม่มีกำหนดส่งมอบให้กองทัพเรือไทยในเดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๑(2018) ซึ่ง DSME เกาหลีใต้มุ่งหวังที่จะได้สัญญาการจัดหาเรือฟริเกตสมรรถนะสูงลำที่๒ ที่จะมีการถ่ายทอด Technology เพื่อสร้างภายในไทย

ทั้งนี้ กองเรือตรวจอ่าว กองเรือยุทธการ กองทัพเรือไทยยังมีความต้องการจัดหาเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งรวม ๖ลำ เพิ่มเติมจากชุด ร.ล.ปัตตานี ๒ลำ(ร.ล.ปัตตานี และ ร.ล.) ชุด ร.ล.กระบี่ ทั้งสองลำ(ร.ล.กระบี่ และ ร.ล.ตรัง) คือเรือ ตกก.เพิ่มอีกอย่างน้อย ๒ลำ
เช่นเดียวกับ กองเรือฟริเกตที่๑ กองเรือยุทธการ ที่มีการปลดประจำการเรือฟริเกตชุด ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ๒ลำ(ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และ ร.ล.พุทธเลิศหล้านภาลัย)ไปแล้ว(http://aagth1.blogspot.com/2017/09/blog-post_30.html) รวมถึงเรือฟริเกตชุด ร.ล.ตาปี ๒ลำ(ร.ล.ตาปี ร.ล.คีรีรัฐ) ในอนาคตครับ

ที่มา : http://aagth1.blogspot.com/


โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 20/08/2018 15:44:16


ความคิดเห็นที่ 15


ขออภัย กดช้ากว่า ท่านจูลดัส ไปนิดเดียวครับ...............

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 20/08/2018 15:46:53


ความคิดเห็นที่ 16


เรือฟริเกต Type31e ผมเขียนบทความค้างไว้ 2 หน้ากระดาษ (เตรียมดราม่าไว้เพียบ) แล้วบังเอิญอังกฤษหยุดการจัดหาชั่วคราว เพราะมีการแข่งขันน้อยคือมีแค่ 2 ราย ผมก็เลยต้องหยุดเขียนตามไปด้วย ไม่กี่วันนี้เองอังกฤษบอกว่าเริ่มโครงการใหม่ นัยว่ามีบริษัทที่ 3 โผล่ขึ้นมาแล้ว คดีพลิกไม่รู้จะเอายังไงต่อดี รอดูรายที่ 3 ก่อนว่ายังไง

 

อยากบอกท่านกบสั้นๆ ว่า...ในภาพเป็นแค่การโปรโมทเฉยๆ ว่าเรือฉันติดอะไรได้บ้าง ส่วนของจริงราคา 250 ล้านปอนด์ต่อ 1 ลำดาดฟ้าโล่งมากครับ ที่สำคัญไม่มีระบบปราบเรือดำน้ำ มีที่ทางเตรียมไว้เฉยๆ รอในอนาคตของอนาคตมีเงินค่อยหาของมาใส่

 

แบบเรือ 99mm corvette  ระวางขับน้ำ 2,600 ตัน เขาจะขายเรา 8,000 ล้านบาท ส่วนในภาพใช้ชื่อว่ารุ่น Leander (คุ้นๆ นะ) ยาว 120 เมตร ระวางขับน้ำ 4,000 ตัน เท่ากับเรือหลวงท่าจีนเข้าไปแล้ว ใส่ระบบปราบเรือดำน้ำเข้าไปจะวิ่งไปที่เท่าไหร่กันล่ะนั่น 

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 20/08/2018 22:29:07


ความคิดเห็นที่ 17


แก่แล้วรักมั้ย?? ถ้ารักเขาจริงต้องปรับปรุงให้เขาด้วยนะ เรือรบทั้งสองลำฝากมาถาม  ;)

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 15/08/2018 08:42:52


ความคิดเห็นที่ 18


โห จัดsaabใส่เรือเก่าจะคุ้มเหรอครับ ผมยังคิดว่าคงปรับปรุงได้แค่แบบเรือกระบุรีเอง 

โดยคุณ RAF เมื่อวันที่ 15/08/2018 08:49:03


ความคิดเห็นที่ 19


เห็นเป็นเช่นเดียวกับ คุณ อาร์เอเอฟ ครับ..............  คิดไปว่า ไม่น่าจะเกินหน้าเกินตา แบทช น้อง ไปได้............... เรดาร์ หน้า ผม อาวุธ คงเป็นไปในทางเดียวกัน   ปืนหลักแท่นแฝดใหม่  ปตอ. 37 อปนวถ.  รุ่นเดียวกัน    ผมหล่ะมองไปว่า  ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่จะเป็นการปรับปรุงท้ายเรือหรือเปล่าครับ  คือยกแท่นปืนออก เปลี่ยนเป็นลานจอด ฮ.   เพราะปืนใหม่อัตรายิงเร็วขึ้นกว่าเก่าโข.......  ลำพังแค่แท่นแฝดป้อมเดียว (ดอ เอีย วอ เดียว ) ก็สร้างความชุกไม่น้อย ซึ่งไม่ต่างจาก รล.มกุฏราชกุมาร ที่เป็นป้อมเดี่ยว (ดอ เอีย วอ เดียว ไม้เอก เดี่ยว) สองป้อม หน้า หลัง         มันอาจจะเกินไปที่จะติดถึง 2 ป้อม  4 ลำกล้อง  อัตราชุกขนาดนั้นยังไงก็เป็นได้แค่ สับเซท ของ ซี - 802  เกรงว่าจะเสียของเปล่าๆ..............  ดังนั้น การยกป้อมน้ำหนัก 20 ตันออก คราวนี้ ศูนย์ถ่วงเรือ  จัดใหม่จัดเต็ม ย้ายโน่นนี่นั่น ติดสเตบิไลเซ่อร์  เผลอๆคงมีรายการเอาตะกั่วถ่วงเหมือน พีเอฟ-103  ตาปีไปโน่นหรือเปล่า ครับ..............

 

ท้ายนี้ ถามว่ารักมั้ย ...............โถถัง รักสิจ๊ะ รักโม้ดหัวใจ......จุ๊บๆเด็กโง่ .....

 

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 15/08/2018 12:27:10


ความคิดเห็นที่ 20


พูดถึงเรือหลวงท่าจีนลำที่สองแล้วเหนื่อยใจจะลุ้นจริงๆ .....   เรือหลวงเจ้าพระยานี่ใจจริงผมอยากจะให้ปรับเป็นเรือตรวจการณ์ไป แต่ก็นะ 

ไม่รุ้ ทร. จะได้ฟรีเกตใหม่อีกครั้งเมื่อไหร่ ยิ่งตอนนี้มีเรือดำน้ำเข้ามา

โดยคุณ akekolos เมื่อวันที่ 15/08/2018 12:45:14


ความคิดเห็นที่ 21


เรือฟรีเกต สมรรถณ สูง โดยส่วนตัวมองว่าอีกนานครับ..........ต่อที่แดวู แบบเทิร์นคีย์ หมื่นเจ็ดพันล้าน  เราต่อเอง มีไม่ต่ำกว่า สองหมื่นแน่ๆครับ  ข้อแรกคือ ต้องลงทุน ฟาซิลิตี้ อู่ต่อเพิ่มเติม ค่าจ้างที่ปรึกษา  ค่าจ้างซุปเปอร์ไหวเซ่อร์ ค่าแบบเรือ ทีสำคัญ เวลาที่ผ่านไป ค่าเงินเฟ้อก็เพิ่มตาม  ถึงว่า ลำน้องถอดแบบพี่เป๊ะ มีสองหมื่นแน่ๆครับ.................

 

ถามว่าวันนี้  ทร. มีความจำเป็นเร่งด่วน สำหรับเรือสมรรถนะสูงลำที่สองใหม   มองว่าถ้าได้ก็ดี แต่ยังไม่ถึงกับจำเป็นครับ............  เนื่องจากตอนนี้ เรามีเรือฟริเกตอาวุธนำวิถี  เอฟเอฟจี  อยู่แล้ว 2 ลำ คือเรือชุดนเรศวร เมื่อรวมกับ รล.ท่าจีนที่จะมาใหม่จากเกาหลีอีก   1 ลำ  ทำให้เรามีเรือ ที่มีขีดความสามารถป้องกันภัยทางอากาศได้เป็นบริเวณ ถึง 3 ลำ     มันเพียงพอที่จะวางกำลังสำหรับคุ้มกันกองเรือได้ฝั่งทะเลละ 1 ลำ แถมยังมี สแปร์ เผื่อเข้าอู่ซ่อมอีก 1 ลำครับ...........

 

ข้อที่สามารถนำมาสนับสนุนแนวความคิดนี้ก็คือ............... จะเห็นว่า หาก ทร.มีความต้องการเรือสมรรถนะสูงเพิ่มเติมจริง  แทนที่ ทร. จะเก็บหอมรอมริบ หยอดกระปุกให้ได้หมื่นล้าน   แต่กลับกัน  ทร.  เลือกที่จะนำเงินบางส่วน มายกระดับติดเขี้ยวเล็บให้กับเรือ โอพีวี ลำหลังๆให้แหลมคมขึ้นไปอีก    นั่นก็คือ ทร.ยอมจ่ายเพิ่มอีก สองพัล้าน เพื่อให้โอพีวี ลำที่ 4 ยิง อวป.ฮาร์พูนได้............  นี่นับเป็นความฉลาดที่น่านับถืออย่างยิ่งของผู้วางแผนกำลังรบ ของ ทร.ไทย      แทนที่จะมุทะลุหั้นห่ำ เอ้ย หำหั่น เอ้ยฮ่ำหั่น   จัดหาให้ได้ตามภารกิจ   คือเรือฟรีเกตุสมรรถนะสูงให้ครบ 2 ลำ  และอีกฟาก จัดหาเรือ โอพีวี 3 ลำ ซึ่งต้องใช้เงินเพิ่ม อาจถึงสามหมื่นล้าน ...... ก็ปรับแผนเป็น   นำเงินที่จะจัดหาแบบแรกเพียงบางส่วน มาเสริมประสิทธิภาพให้กับแบบที่สอง    เป็นการเกลี่ยศักยภาพ  จึงเกิดโอพีวี แบบหมัดหนักขึ้น................  ผมว่า เผลอๆ โอพีวี ลำที่ 5 - 6 แบบมีลูกยาว จะมาครบก่อน สมรรภนะสูงด้วยซ้ำ

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 15/08/2018 12:56:21


ความคิดเห็นที่ 22


และหลังจากนั้น สิ่งที่จะตามมาอีกก็คือ      เรือภารกิจ ปราบเรือดำน้ำ  เราอาจจะไม่ได้เห็น เรือฟริเกต เอนกประสงค์ติดอวุธจัดหนักรบได้สามมิติ ซึ่งผลเป็นไปจากเหตุเป็นลูกโซ่ คือ

 

1.  .ใช้เงินมากในการจัดหาเรือสมรรถนะสูง  จึงส่งผลให้เกิด 

2. การเพิ่มประสิทธิภาพเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง  คือนอกจากใช้ตรวจการณ์แล้ว ยังทำให้มีความทนทะเล และขีดความสามารถต่อกรผิวน้ำ ภายใต้การคุ้มกันของเรือรบสมรรถนะสูง

3. เมื่อเรือที่มีขีดความสามรถปราบเรือดำน้ำปลดลง  ก้าวต่อไปคือการจัดหา เรือคอร์เวต  ปราบเรือดำน้ำ  อาจจะเป็นเรือในลักษณะชั้น เพทะยา  หรือวอสเปอร์ แบบเรือชุด คำรณสินทร์    แต่ระวางขับอาจจะต้องสูงขึ้นมาอีกหน่อย    เป็นเรือปราบ ด.จริงๆ ไม่มีจรวด...........

 

เป็นไงครับ     ประเภท สองพันตัน เร็ว 30 น้อต มีฮาร์พูน  โซนาร์ ตอสติงเรย์ แซมลูกสั้น  หน้าใหม่ๆอาจหน้าหายไปจาก ทร.ในอีกยี่สิบปีข้างหน้าก็ได้

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 15/08/2018 13:37:01


ความคิดเห็นที่ 23


ผมเกิดในยุคเชื่อผู้นำชาติพ้นภัยครับ ท่านกบว่าอย่างไรผมว่าตามกันแต่แอบดื้อเงียบ ปืนใหญ่ 100 มม.เปลี่ยนไส้ในแต่ป้อมปืนเดิม (เหมือนเรือหลวงนเรศวร) ด้านหลังทำลานจอดสำหรับเฮลิคอปเตอร์ไม่เกิน 5 ตัน อย่าง S76B ก็บินลงมาส่งยุทธปัจจัยได้แต่อยู่ค้างคืนไม่ได้อะไรแบบนี้ (หางฮ.เลยลานจอดไปหน่อยก็ได้) ใต้ลานจอดทำเป็นห้องเอนกประสงค์ ท้ายเรือมีจุดปล่อยอุปกรณ์ต่อต้านทุ่นระเบิด

 

นั่นปะไร อีทีนี้เราก็มีเรือ MCS ไปกับกองเรือฟริเกตที่ 2 กองเรือยุทธการแล้ว ฮ่า ฮ่า

 


โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 16/08/2018 08:09:46


ความคิดเห็นที่ 24


เจ้าพระยา บางประกง เอาระบบยุโรปยัดน่าจะแพงอักโขอยู่นะครับ ถึงแม้ว่าเคยมีเจ้า thales เค้าเอามาเสนอแล้วก็ตามส่วนตัว มองว่าอัพให้เหมือนกระบุรีสายบุรีนั่นแหละครับ อาจพลิกแพลงนิดหน่อย เช่นปืน100 มม.ท้ายเปลี่ยนเป็นแรมจีน  สามสิบเจ็ดคู่หน้าเปลี่ยนเป็น type 730  c801 2 คู่แรกเปลี่ยนเป็น C 802A  ส่วน 2คู่หลัง จับยัดแอสร็อคจีนซะ แค่นี้ก็น่าเกรงขามหล่ะครับ แต่งหน้าทาปากโซนาร์ cms อีกนิดหน่อย สองลำไม่น่าเกิน 8000 ล้านนะครับ

โดยคุณ ausangi เมื่อวันที่ 16/08/2018 13:55:17


ความคิดเห็นที่ 25


คุณsuperboy จิ้นให้อ่านสนุกดี แต่อ่านมาหลายวันผมสมองช้า ต่อมเผือกพึ่งทำงาน คือสงสัยกรณีที่ถอดปืน100ออกแล้วเปลี่ยนเป็นปืน76หรือจะวางชุดMK29แทนน่าจะมีปัญหาต้องถ่วงเรือใหม่ คือจำได้จากเรือหลวงตาปีที่ติดตั้งปืน76แล้วต้องทำห้องถ่วงตะกั่วเพื่อแก้สมดุลเรือ แลัวยังต้องใช้วิธีเติมนำ้ลงถังนำ้มันแทนส่วนที่ใช้ไปเพื่อรักษาสมดุล แล้วถ้าอัพเรือหลวงบางปะกงแบบแปลงโครงสร้างเลย แล้วคำนวนการถ่วงเรือไม่ดี คงต้องได้ปวดตับแน่

โดยคุณ RAF เมื่อวันที่ 17/08/2018 11:11:32


ความคิดเห็นที่ 26


ผมเดา

เดิม มีปืนภาคหัว ปืนภาคท้าย รุ่นเดียวกัน = น้ำหนักเท่ากัน

เมื่อเอาออกทั้งภาคหัว และภาคท้าย = น้ำหนักก็ยังเท่ากัน

เอาปืน ที่เบากว่าไปวางไว้ภาคหัว , ทำลานจอดที่ภาคท้าย = น้ำหนักก็ยังเท่ากัน

ยังงี้หรือเปล่าครับ

ทีนี้ อันนี้ผมสงสัยเองนะครับ เรือที่น้ำหนักสมดุลอยู่แล้ว พอมี ฮ. มาลงจอด น้ำหนัก ฮ. ที่เพิ่มขึ้นมา เขาแก้ไขกันอย่างไรครับ

โดยคุณ Naris เมื่อวันที่ 17/08/2018 11:36:19


ความคิดเห็นที่ 27


คือถ้าถอดออกทั้งหัว-ท้าย แล้วไม่มีอะไรแทนก็ต้องคำนวนนำ้หนักที่หายไป หรือถ้าวางของใหม่เบากว่าก็ต้องคำนวนถ่วงใหม่ ส่วนแท่นจอดฮ.ชั่วคราวไม่ค้างคืน(ถ้าต่อชั่วโมงโทรบอกคุณsuperboy) ฮ.ลงจอดแค่ระยะเวลาสั้นๆคงไม่เป็นไรมั้งครับ

โดยคุณ RAF เมื่อวันที่ 17/08/2018 12:25:49


ความคิดเห็นที่ 28


เรือหลวงตาปีระวางขับน้ำ 1,160 ตัน แต่เรือหลวงเจ้าพระยาระวางขับน้ำ 1,924 ตัน เอามาเทียบกันตรงๆ ไม่ได้ ต้องเอาเรือระวางขับน้ำใกล้เคียงกันนมาเทียบ ผมเอาเรือมาเลเซียในบทความแล้วกันนะครับ

 

ท่าน RAF คิดตามผมนะครับ ปืนใหญ่ 100 มม.ฝรั่งเศสน้ำหนัก 22 ตัน  ปืนใหญ่กล 57 มม.นำหนัก 14 ตัน แท่นยิง Mk32 หนัก 1 ตัน ตอร์ปิโด 1 ลูกประมาณ 240 กิโลกรัม 6 ลูก 1.5 ตัน

ถอดปืนหลังมาใส่ปืนหน้าเท่ากับหน้าเบาลงไป 8 ตัน ใส่ท่อยิงตอร์ปิโด 2 ชุด 2 ตัน ตอร์ปิโด 6 ลูก 1.5 ตัน เรือของเขาหน้าเบากว่าเดิม 4.5 ตัน

 

มาที่เรือเราแบบ V2 ก็ได้นะครับ หัวเรือใส่ปืน 76/62 หนัก 7.5 ตัน DS30M หนัก 1.5 ตัน 2 กระบอกเท่ากับ 3 ตัน ท้ายเรือใส่ Mk 29 พร้อมจรวด 8 นัดหนัก 7 ตัน DS30M หนัก 1.5 ตัน 1 กระบอก เรือ V2 ส่วนหัวจะหนักกว่าเดิม 7.5+3-7-1.5 = 3 ตัน

 

ถ้าเป็น V1 ไม่มีปืน DS30M ส่วนหัวจะหนักขึ้น 4.5 ตัน เท่ากับเรือมาเลเซียพอดี ของเขาแก้แบบไหนเราก็ทำแบบนั้นแหละ จะมีปัญหาหน่อยก็แบบ V3 ที่ไม่มีแท่นยิง Mk29 ซึ่งผมเผื่อที่ไว้ใส่ตู้คอนเทนเนอร์ 2 ตู้พร้อมอุปกรณ์ ก็น่าจะพอไกล่เกลี่ยน้ำหนักไปได้นะครับ

 

 

ที่เราไปดูประเทศนอร์เวย์บ้าง ผมอยากให้ไปออกไปจากประเทศไทย ลืมเรือหลวงตาปีของเราไปเลย เรือฟริเกตชั้น Oslo ในปี 1966 ท้ายเรือมีแค่ที่ว่างกับปืนใหญ่ 76 มม.แท่นคู่เท่านั้น ลำนี้ระวางขับนำสุงสุด 2,100 ตัน เยอะกว่าเราไม่มากเลย

ประมาณปี 1975 มีการติดตั้งแท่นยิง Mk29 เข้าไปด้านท้ายพร้อมเรดาร์ควบคุมการยิง สร้าง superstructure เพิ่มด้วยแต่ผมไม่รู้น้ำหนัก และจรวดต่อสู้เรือรบเพนกวินอีก 6 นัด Mk29 7 ตัน เรดาร์ 300 กิโลกรัมเดาเอา เพนกวิน 1 ท่อยิงเท่ากับ 500 กิโลกรัม เท่ากับว่าท้ายเรือหนักขึ้น 7 + 0.3+ 3 = 10.3 ตันขึ้นไปเรื่อยๆ ครับ ของเขาไม่มีปัญหาของเราก็ต้องไม่มีปัญหา

 

หลังปี 1987 เปลี่ยนปืน 3 นิ้วท้ายเรือมาเป็น 40 มม.ท้ายเบาลงมาเล็กน้อย เชื่อไหมว่าผมได้ความรู้เรื่องพวกนี้จากการวาดภาพ ;)

 

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 17/08/2018 13:16:41


ความคิดเห็นที่ 29


พูดถึงเรือหลวงตาปีผมอยากพาทุกคนไปประเทศอิหร่าน เขามีเรือเหมือนกันเราเป๊ะเลย ที่สำคัญอายุมากกว่าประมาณ 8 ปีจำได้คร่าวๆ แล้วดูเขาปรับปรุงเรือสิครับ ปืนใหญ่ 76/62 อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ท้ายเรือแบกจรวดต่อสู้เรือรบอีก 4 นัด ไม่เห็นว่าเขาจะมีปัญหาอะไรเลย

ทีนี้ถ้าเราปรับปรุงเรือแล้วมีปัญหา ปัญหาก็คือคนของเราในตอนนั้นฝีมือไม่ถึงหรือเปล่า อุปกรณ์่ต่างๆ ไม่ทันสมัยเพียงพอหรือเปล่า แล้วตอนนี้คนของเราฝีมือดีเพียงพอหรือยัง อุปกรณ์ทันสมัยเพียงพอหรือยัง ต้องดูตรงนี้ด้วยนะครับ...เพราะทุกคนมีฝีมือไม่เท่ากัน

 

 

ที่ท่านริสสงสัยขึ้นอยู่กับขนาดเรือครับ เอาวีออสมาใส่แม๊กขอบ 20 หรือนั่ง 6 คนคงวิ่งไม่ออกและอาจเป๋ตกถนน แต่ถ้าเอาแคมรี่ใส่แม๊กขอบ 20 นี่กำลังสวยเลย อัดกันไป 7 คนเข้าโค้งยังนิ่ง

 

 


โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 17/08/2018 13:51:52


ความคิดเห็นที่ 30


ภาพสุดท้ายนี่ผมก็สงสัยเหมือนกันครับ ท่าน ซุเปอร์บอย ...........  จากที่เคยอ่าน นส.เมื่อยี่สิบปีก่อน ทราบว่ามีการโมดิฟาย ตาปี  ถึงกับต้องติดสเตบิไลเซอร์เพิ่ม แถมเอาตะกั่วถ่วงท้อง   ............. แต่หลังจากนั้นสักสิบปี มาเห็นเรือลำนี้ของอิหร่าน  เค้าจะติดจะถ่วงยังไงไม่อาจทราบ  ......... แต่ที่ฉงนคือ เค้าก็ติดออโตเมราล่า ในระดับปกติ    ของเราไหงต้องทำดาดฟ้ายกไปอีกชั้นให้ ศูนย์ถ่วง มันสูงขึ้นซะเล่นๆ   ตอนแรกก็นึกว่า ใต้ท้องตรงนั้นมีอะไร  แต่ของอิหร่านก็เจาะลงไปหน้าตาเฉย........  นี่เป็นเหตุผลหรือเปล่า ที่ต้องใช้ตะกั่วถ่วงท้อง แถมติดสเตบิไลเซอร์เพิ่ม เพราะ ซีจีสูงขึ้น เรือก็โคลงมากขึ้น ????????

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 17/08/2018 14:13:04


ความคิดเห็นที่ 31


ที่ท่านกบถามมาคือปริศนาคาใจมากครับ ความจริงปืน 76/62 ใช้พื้นที่ใต้ท้องเรือน้อยมาก เสียพื้นที่ห้องใต้บันไดแค่ครึ่งห้องทำนองนี้ ทร.อยากสร้างห้องประชุมเพิ่มหรือเปล่าไม่แน่ใจ เหอๆๆๆ

 

มาดูที่เรือฟริเกตชั้น Oslo อีกทีครับ ระวางขับน้ำจริงๆ แค่ 1,745 ตันเอง ฉะนั้น...

-ปี 1975 นอร์เวย์ปรับปรุงเรือให้ท้ายหนักกว่าเดิม 10 กว่าตันได้ และใช้งานได้จนปัจจุบันเป็นมิวเสียมไปแล้ว  

-ในปี 2018 ขึ้นไป ไทยแลนด์ปรับปรุงเรือใหญ่กว่านิดหน่อยให้หัวหรือท้ายหนักกว่าเดิมซัก 5 ตันแล้วมีปัญหาตรงโน้นตรงนี้ เราต้องยอมรับว่าเรามือไม่ถึงและให้คนอื่นมาทำให้ครับ

 

ถ้าเราจะก้าวไปต่อเรือฟริเกตหรืออะไรก็ตาม ต้องผ่านด่านแรกด่านนี้ให้ได้อย่าวสวยหรูก่อนครับ


โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 17/08/2018 14:56:25


ความคิดเห็นที่ 32


ระบบสารสนเทศ ที่ถูกวางลิ้งค์แบบอัตโนมัติเพื่อหวังผลทางการค้านั้น มันมีอะไรแปลกๆนะครับ  เมื่อไม่นานมานี้ มีด็อกเตอร์ท่านหนึ่งผู้คร่ำหวอดวงการสื่อ ถึงกับต้องเอาผ้าขาวม้าคลุมหัว กระดากขวยเขินขนาดประกาศตนห่างหายวงการไปเลย เพราะดันไปโวยวาย หาว่า โฆษนาชุดชั้นในที่ปรากฏหน้าเพจไม่เหมาะสม .........การลิ้งค์โฆษนาที่ขึ้นหน้าเฟสของผมนั้น นอกจากน้ำมันจิ้งเหลนกับของเล่นหฤหรรษ์และตุ๊กตาเสียกะบาลแล้ว ปกติก็เห็นจะไม่มีอย่างอื่นเป็นสาระ  จนเมื่อสักสองอาทิตย์ที่ผ่านมานี้เอง หน้าเฟสของผมปรากฏโฆษณานวัตกรรมใหม่ เป็นระบบกันโคลงสามมิติสำหรับเรือสปีดโบ๊ท พระเจ้า !!!!!!!  เจ้า ระบบลิ้งค์อัตโนมัติมันทราบได้อย่างไรว่า จินตนาการอันชุ่มชื่นของผมกำลังจะถูกแผ่ขยายลงทะเล กับโครงการเรือยอชท์เจ็ดลำ......555555

 

ผมหาลิ้งค์นั้นไม่เจอแล้ว  แต่จำภาพและคำบรรยายได้  ลักษณะมันเป็น ไจโร  3 แกน ทำงานร่วมกับตุ้มถ่วงเคลื่อนที่ได้ ตุ้มถ่วงทรงกลมขนาดราวๆฟุตบอลช้าง ห้อยอยู่กับแกนเหล็กแกว่งได้เหมือนตุ้มโมเมนตั้ม แต่ต่างตรงเคลื่อนเป็น 2 แกน  ตุ้มจะแกว่งเพื่อรักษาสมดุล (บาล้านซ์) กับอาการโคลงของเรือ ซึ่งอาการโคลงนี้รับรู้ได้โดยแกนไจโร  เมื่อเรือโคลงไปทางใด ตุ้มก็จะถูกเหวี่ยงไปในทางตรงข้าม มากน้อยตามอาการ เพื่อรักษาสมดุลให้เรือตรงอยู่เสมอ  มันแจ๋วตรงที่ว่านอกจากแก้อาการโคลงแล้ว ยังแก้อาการกระดกได้ด้วย................. นวัตกรรมนี้  นับเป็นสิ่งสุดยอดของ จอร์จและเจน ขณะประกอบกิจกรรมวันหยุดกลางทะเลเป็นอย่างยิ่ง...................

 

ครับ  ผมว่า  ตุ้มกันโคลงตัวนี้ น่าจะถูกนำมาประยุกต์ใช้กับเรือใหญ่นะครับ  เอาแค่ แกนเดียวก็พอ  ซ้ายขวาเท่านั้น  คราวนี้จะโม ให้วิจิตรพิศดานยังไง ก็แก้อาการโคลงของเรือขณะแล่นเร็วๆได้ไม่มีปัญหา.................

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 17/08/2018 16:35:21


ความคิดเห็นที่ 33


          เข้าใจตรงกันแล้วเราก็ไปกันต่อเลย เริ่มกันจากแบบเรือที่ 1 หรือ V1 เรามีงบประมาณปรับปรุงเรือค่อนข้างจำกัด แต่ต้องการเน้นภารกิจป้องกันภัยทางอากาศ จึงได้ตัดระบบอาวุธการปราบเรือดำน้ำออก จะมีหน้าตาเรือประมาณนี้

 

 

          อธิบายจากหัวเรือมาท้ายเรือนะครับ ระบบโซนาร์ SJD-3A ระยะทำการ 7.4 กิโลเมตร กับจรวดปราบเรือดำน้ำ Type 86 ระยะยิง 1,200 เมตร ถูกถอดออกเพราะใช้ร่วมกับระบบตะวันตกไม่ได้ แต่ถ้าใช้ร่วมกันได้และระบบอาวุธยังใช้งานได้ อยากใส่ไว้กันเหนียวอันนี้ไม่ว่ากัน ติดตั้งปืนใหญ่ 76/62 มม.รุ่น Rebuilt แบบเดียวกับเรือหลวงกระบี่และเรือหลวงแหลมสิงห์ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อให้ราคาปืนถูกลงมา ติดตั้งปืนกลอัตโนมัติ DS30M Mk2 ขนาด 30 มม.จำนวน 2 กระบอก

          ปืนใหญ่ 76/62 มม.ผู้เขียนตั้งบนแท่นยกสูงกว่าเดิม เพื่อให้ปืนมีมุมยิงดีกว่าเดิมเท่านั้นเอง (หัวเรือสูงๆ จะได้ไม่บัง) ปรกติปืนใหญ่ 100 มม.ของจีนมีคลังกระสุนใต้ดาดฟ้าเรืออยู่แล้ว ถ้าชอบรถกระบะโหลดก็ติดได้เลยไม่ว่ากัน

 

          ไล่กันต่อกันไปเลย ระบบอำนวยการรบ 9LV เรดาร์ควบคุมการยิง CEROS 200 รุ่นปรกติ ออปโทรนิกควบคุมการยิง EOS500 เรดาร์เดินเรือ 3 ตัว เรดาร์ตรวจการณ์ 3 มิติ Sea Giraffe AMB ระบบ ESM รุ่น ES-3601 ระบบเป้าลวงอาวุธนำวิถี DLT-12T ขนาด 12 ท่อยิง อาวุธนำวิถีต่อสู้เรือรบ RGM-84L Harpoon Block II จำนวน 8 นัด พื้นที่ว่างตั้งตู้คอนเทนเนอร์อเนกประสงค์ไว้เลย เพียงแต่ไม่รู้จุดไหนตั้งได้ตั้งไม่ได้ จุดไหนตั้งแล้วถ่วงเรือได้ดีกว่ากัน จึงขอโชว์ทั้งสองจุดให้เห็นภาพ

          ท้ายเรือถอดปืนใหญ่ปืนกลออกทั้งหมด ติดตั้งแท่นยิง MK29 สำหรับอาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยาน ESSM จำนวน 8 นัด พร้อมเรดาร์ควบคุมการยิง CEROS 200 รุ่นนำวิถีได้ กองทัพเรือไทยไม่มีแท่นยิง MK29 แต่มีแท่นยิง Albatross สำหรับจรวด Aspide ซึ่งอิตาลีซื้อลิขสิทธิ์แท่นยิง MK29 ไปจากอเมริกา หน้าตาเหมือนกันหมดพอกล้อมแกล้มได้ เรามักคุ้นเคยกับระบบแท่นยิงแนวดิ่ง MK41 แต่เรือบรรทุกเครื่องบินอเมริกาใช้งานแท่นยิง MK29 กับ ESSM ฉะนั้นมันก็ใช้งานได้แหละครับ

          ข้อดีของแบบเรือ V1 ก็คือ ได้อาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยานระยะยิง 40-50 กิโลเมตร ระบบอาวุธมาตรฐานกองทัพเรือไทยทั้งหมด ข้อเสียก็คือ จุดติดตั้งปืนกลท้ายเรืออยู่ในรัศมีไอพ่นท้ายจรวด ต้องปล่อยโล่งๆ ไว้แบบนั้นแหละ ติดปืนกล 12.7 มม.กันเหนียวท้ายเรือสัก 2 กระบอก จุดสังเกตอีกเรื่องหนึ่งก็คือ แท่นยิงพร้อม ESSM จำนวน 8 นัดมีน้ำหนักเกือบ 7 ตัน ถ้าจะติดจริงๆ ต้องปรับปรุงพอสมควร แต่จุดนี้เป็นจุดติดตั้งที่เหมาะสมที่สุด เราจะได้พื้นที่อเนกประสงค์ตามความต้องการ

 

 

          ที่ผู้เขียนปล่อยพื้นที่ท้ายเรือโล่งๆ ไว้ เพราะต้องการสนับสนุนภารกิจด้านอื่นเพิ่ม ที่สำคัญก็คือภารกิจสนับสนุนการลำลายทุ่นระเบิด มีการติดตั้งตู้คอนเทนเนอร์เพิ่มเติมอีก 2 ตู้ (ตรงที่เดิมของปืนใหญ่ 100 มม.) ท้ายเรือเป็นจุดใช้งานอุปกรณ์ทั้งหลายทั้งปวง ขนอะไรมาได้พ่อก็ขนมากันได้เลย ภารกิจต่อไปคือสนับสนุนการวางทุ่นระเบิด ในภาพคือบรรทุกทุ่นระเบิดต่อต้านเรือดำน้ำแบบล่องหนไว้บนราง จัดการปิดตายช่องแคบมะละกามันเสียเลย เรือดำน้ำของเขาเข้าออกกันไม่ได้ เรือดำน้ำของเราก็เข้าออกไม่ได้ เพราะทุ่นระเบิดมันล่องหนหาไม่เจอเสียที ใครมีปัญหาให้บอกว่าผมเพื่อนตุ้ม

          มาดูแบบเรือ V2 กันต่อเลยนะครับ คราวนี้เรามีงบประมาณมากเพียงพอ ต้องการอาวุธทันสมัยทำการรบได้ทั้ง 3 มิติ ติดตั้งระบบโซนาร์หัวเรือพร้อมตอร์ปิโดปราบเรือดำน้ำ โยไม่สนใจเรื่องพื้นที่เอนกประสงค์ รูปร่างหน้าตาประมาณนี้ครับ

 

 

          หัวเรือติดตั้งโซนาร์ DSQS-24C ปืนใหญ่ 76/62 มม.เปลี่ยนมาเป็นของใหม่ยิงได้ 120 นัด/นาที ติดตั้งแท่นยิงตอร์ปิโดแฝดสามจำนวน 2 แท่นยิง แท่นยิง MK29 สำหรับ ESSM ย้ายลงไปอยู่ด้านล่างท้ายเรือ ติดตั้งปืนกลอัตโนมัติ DS30M Mk2 กระบอกที่สาม ติดตั้งระบบเป้าลวงตอร์ปิโด MK137 ชนิด 6 ท่อยิงด้านท้ายเรือ มีปืนกล 12.7 มม.กลางลำเรือด้วยลืมไป

          จุดสังเกตเรื่องหนึ่งก็คือ ท้ายเรือมีห้องอะไรไม่ทราบมีประตูเปิดปิดขวางอยู่ ผู้เขียนยกพื้นแท่นยิง MK29 เล็กน้อยเพื่อให้จรวดบินข้ามหัว ตอนบรรจุลูกจรวดต้องใช้คนตัวสูงหน่อย เตี้ยๆ ไล่ไปอยู่ข้างหลังไม่ว่ากันนะ

          โซนาร์ DSQS-24C หรือ ASO-94 พัฒนาปรับปรุงจากโซนาร์ DSQS-23B หรือ ASO-90 ซึ่งมีใช้งานบนเรือฟริเกตปราบเรือดำน้ำชั้น F-123 ของเยอรมัน ทำงานในย่านความถี่ปานกลาง ค้นหาเป้าหมายได้ทั้งโหมด Active ที่ความถี่ 6 ถึง 9 KHz และโหมด Passive ที่ความถี่ 1 ถึง 11 KHz ตรวจจับได้ทั้งเรือผิวน้ำ เรือดำน้ำ หรือวัตถุขนาดเล็ก ได้แก่ ยานใต้น้ำไร้คนขับ หรือทุ่นระเบิด สามารถแจ้งเตือนภัยเมื่อตรวจพบตอร์ปิโด รวมทั้งใช้สื่อสารกับเรือดำน้ำฝ่ายเดียวกัน ส่งความถี่ได้ไกลสุด 40 กิโลเมตร โดยมีระยะตรวจจับหวังผลอยู่ที่ 15 กิโลเมตร มากกว่านี้ก็พอได้แล้วแต่ชนิดของเป้า

          แบบเรือ V2 มีอาวุธทันสมัยเต็มลำ ทำให้ผู้เขียนนึกถึงเรื่องราคาขึ้นมา อยากรู้อยากเห็นอะไรประมาณนี้ รายละเอียดเท่าที่พอหาข้อมูลได้ ปืนใหญ่ 76/62 Super Rapid กระบอกละ 370 ล้านบาท กระสุนหัวระเบิด HE ลูกละ 39,000 บาท กระสุนต่อระยะ Vocalno ลูกละ 678,193.81 บาท ปืนกลอัตโนมัติ DS30M Mk2 ซื้อในปี 2014 กระบอกล่ะ 60 ล้านบาท ซื้อในปี2017 กระบอกละ 75 ล้านบาท กระสุน 30 มม.ลูกละ 5,350.92 บาท กระสุนซ้อมเห็นว่าจะผลิตเองในประเทศ

          ปี 2017 กองทัพเรือไทยซื้อจรวด RGM-84L Harpoon Block II จำนวน 5 นัด พร้อมจรวดฝึกซ้อมอีก 1 นัด รวมอุปกรณ์จัดเก็บ อะไหล่ การอบรมพวกนี้เข้าไปด้วยในราคา 24.9ล้านเหรียญ ผู้เขียนขอมั่วตัดให้เฉพาะจรวด 5 นัดราคา 20 ล้านเหรียญ เท่ากับนัดล่ะ 4 ล้านเหรียญหรือ 133.37 ล้านบาท ซื้อน้อยย่อมจ่ายหนักแบบนี้หรือเปล่า

          ปี 2015 กองทัพเรือไทยซื้อจรวด ESSM จำนวน 16 นัด พร้อมกล่อง Mk25 จำนวน 3 กล่อง (ไว้ใส่ในแท่นยิง Mk41 เพื่อยิงจรวด) และอุปกรณ์จัดเก็บในราคา 26.943 ล้านเหรียญ ผู้เขียนขอมั่วตัดให้เฉพาะจรวด 16 นัดมีราคา 20 ล้านเหรียญ เท่ากับนัดล่ะ 1.25 ล้านเหรียญหรือ 41.68 ล้านบาท ขอย้ำอีกทีว่าราคานี้มั่วมาก ใช้ประกอบบทความนี้เท่านั้น

           หันมาดูตอร์ปิโดเบาปราบเรือดำน้ำกันบ้าง ผู้อ่านคงรู้จัก MU90 ตอร์ปิโดที่ทันสมัยที่สุดของค่ายตะวันตก ปี 2012 ฝรั่งเศสซื้อ MU90 จำนวนมากในวงเงินลูกละ 2.1 ล้านเหรียญ เก็บตัวเลขนี้ไว้เป็นตัวตั้งก่อนนะครับ แล้วไปดูตอร์ปิโดที่เราจะใช้งานกันต่อ เดือนที่แล้วเนเธอร์แลนด์สั่งซื้อตอร์ปิโด Mk54 เฉพาะชุดคิท เพื่อนำไปปรับปรุงตอร์ปิโด Mk46 ให้เป็นรุ่นใหม่ สั่งซื้อทั้งหมด 109 ชุดคิทเป็นเงินถึง 169 ล้านเหรียญ เท่ากับชุดคิทละ 1.594 ล้านเหรียญ แต่ด้วยกฎข้อที่ 1 ต้องจัดซื้อใหม่เท่านั้น ผู้เขียนนำมาวิเคราะห์กับ MU90 แล้วขอมั่วราคาไปที่ลูกละ 2ล้านเหรียญหรือ 66.68 ล้านบาท

          เห็นราคาอาวุธแล้วปวดขมับ…ยังครับยังไม่หมด โครงการปรับปรุงเรือหลวงนเรศวรเฟส 3 เราสั่งซื้อ โซนาร์ DSQS-24C กับปืนกลอัตโนมัติ DS30M Mk2 สำหรับเรือจำนวน 2 ลำในวงเงิน 810 ล้านบาท หักค่าปืนจำนวน 4 กระบอกเท่ากับ 240 ล้านบาท โซนาร์ 2 ตัวราคา 570 ล้านบาท โซนาร์ 1 ตัวราคา 285 ล้านบาท ผู้เขียนใจถึงเพิ่มให้เป็น 300 ล้านบาท

          มีผู้อ่านเขียนจดหมายมาต่อว่า ขอถามราคาอาวุธอื่นสักนิดได้ไหม เอาแค่จรวด SM-2 กับ RAM และ Aspide ก็พอ ผู้เขียนใจดีรีบจัดให้ตามคำขอ เดือนที่แล้วเดนมาร์คขอซื้อ SM-2Block IIIA จำนวน 46 นัดในราคา 152 ล้านเหรียญ เท่ากับนัดละ 3.30 ล้านเหรียญหรือ 110 ล้านบาท ในปี 2013 กองทัพเรือไทยซื้อจรวด Aspide จำนวน 10 นัดในราคา 256 ล้านบาท เท่ากับนัดละ 25.6 ล้านบาทไม่ขาดไม่เกิน คงตั้งใช้จรวด 10 ลูกนี้ไปจนเรือปลดประจำการนั่นเอง

          มาที่สุดยอดขวัญใจมหาชนกันบ้าง ปี 2016 กาตาร์ขอซื้อจรวด RIM-116C Rolling Airframe Missile จำนวน 252 นัดในวงเงิน 260 ล้านเหรียญ เท่ากับนัดละ 1.03 ล้านเหรียญหรือ 34.34 ล้านบาท (ใครอยากติด 21 นัดบวกราคาเองนะครับ) อีทีนี้ RAM Block II ต้องมีราคาแพงกว่าอยู่แล้ว และ RAM Block II ยิงด้วยท่อ VLS ได้ก็จะแพงขึ้นไปอีก นอกจากนี้ยังต้องซื้อกล่อง ExLS เพื่อใส่ในท่อยิง Mk41 ด้วย ราคารวมเท่าไหร่ไม่กล้าคาดเดา หวังว่าจะไม่แซงหน้า ESSM ก็แล้วกัน

 

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 14/08/2018 21:23:29


ความคิดเห็นที่ 34


 

          เรามาดูแบบเรือ V3 กันต่อนะ แบบเรือสุดท้ายเน้นภารกิจปราบเรือดำน้ำ นับเป็นแบบเรือ V2 รุ่นประหยัดก็เห็นจะไม่ผิด ใช้ปืนใหญ่ 76/62 มม.รุ่น Rebuilt ปืนกลอัตโนมัติ DS30M Mk2 หัวเรือติดแค่เพียง 1 กระบอก โดยติดตรงกลางเลื่อนมาข้างหน้าประมาณ 1 เมตร (ตรงที่ติดปืนยิงสลุตนั่นแหละครับ) เพื่อให้มีมุมยิงกว้างกว่าเดิม และหลบช่องทางขึ้นลงฉุกเฉินของเรือ ออปโทรนิกควบคุมการยิง EOS500 ถูกโยกไปไว้ด้านหลัง ไม่มีแท่นยิง MK29 กับอาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยาน ESSM ให้ใช้แบบประทับบ่ายิงก็แล้วกัน (แบกขึ้นเรือกันเหนียวสัก 2 กล่อง อยากยิงตรงไหนของเรือก็ตามสะดวก) มีพื้นที่อเนกประสงค์ท้ายเรือเหมือนเดิม บังเอิญกองทัพเรือยังไม่มีอากาศยานไร้คนขับ ผู้เขียนก็เลยไม่ได้กล่าวถึงในท้องเรื่อง

          ผู้อ่านท่านเดิมเขียนมาต่อว่าอีกแล้ว เราก็หนึ่งในตองอูหาใช่ไก่กาที่ไหน ขอแบบว่าติดอาวุธล้นลำเรือไม่ได้หรืออย่างไร ผู้เขียนใจดีจัดให้ตามคำขอเช่นเคย โดยใช้แบบเรือ V2 เป็นตัวตั้ง ติดเรดาร์ตรวจการณ์ระยะกลาง Sea Giraffe 4A เข้าไปกลางลำ เรดาร์ควบคุมการยิง CEROS 200 ที่หัวเรือนำวิถีได้แล้ว ฉะนั้นเรือลำนี้ควบคุมปืน 4 กระบอกได้ใน 3 ทิศทาง ควบคุมจรวด ESSM ได้ 2 ทิศทางๆ ละ 2 นัด รวมทั้งแบก Harpoon Block II ไปด้วย 16 นัด คนไหนใจดีคิดราคารวมให้ผู้เขียนที

 

          ถึงตรงนี้ผู้อ่านบางท่านอาจคิดในใจ โอ้ย! ไม่มีใครเขาทำกันหรอก ปรับปรุงเรืออายุ 27 ขวบปีไม่คุ้มสักนิด ผู้เขียนขอพาสมาชิกขึ้นรถไฟล่องใต้ ไปยังดินแดนเสือเหลืองปลายสุดด้ามขวาน ในปี 1983 กองทัพเรือมาเลเซียประจำการเรือคอร์เวตชั้น Kasturi ซื้อจากเยอรมันจำนวน 2 ลำ ระวางขับน้ำเต็มที่ 1,850 ตัน ยาว 98 เมตร กว้าง 11.5 เมตร กินน้ำลึก 3.5 เมตร เล็กกว่าเรือหลวงเจ้าพระยาของเราแค่สองฝ่ามือ อายุมากกว่า 8 ปีและมีแบบเรือทันสมัยกว่า

          เรือทั้งสองลำปรับปรุงใหญ่แล้วเสร็จในปี 2014 ปืนใหญ่ 100 มม.หัวเรือถูกแทนที่ด้วยปืนใหญ่กล 57 มม.จากท้ายเรือ (มาเลเซียใช้ปืนขนาด 57 มม.เป็นอาวุธมาตรฐานเหมือนเราใช้ปืน 76/62) ติดตั้งโซนาร์ DSQS-24C กับตอร์ปิโดเบาปราบเรือดำน้ำ ทดแทนโซนาร์ EDO786 กับจรวดปราบเรือดำน้ำของโบฟอร์ส ที่เขียนว่า TUMM6 นั่นคือระบบสื่อสารใต้น้ำ ใช้คุยกับเรือดำน้ำสกอร์ปิเน่ของตัวเอง ติดตั้งปืนกลอัตโนมัติ DS30M Mk2 ทดแทนปืนกล Emerson 30 มม.แท่นคู่ ท้ายเรือปล่อยไว้โล่งๆ แบบนั้นแหละ มีจรวดประทับบ่ายิงป้องกันภัยทางอากาศ เรือเขาเก่ากว่าเราแต่ตอนนี้หล่อเฟี๊ยวเลย

 

 

          แท่นยิงปืนใหญ่กล 57 มม.ถูกยกสูงขึ้นเล็กน้อย (ผู้เขียนแอบลอกการบ้านเขามานี่เอง ฮ่า ฮ่า) ใช้ MIRADORควบคุมปืนแทนพี่ไข่ WM22 เสียแล้ว จรวดปราบเรือดำน้ำของโบฟอร์สเหลือแค่อินโดนีเซียที่ยังใช้งาน (ในย่านนี้นะ)

          และเมื่ออ่านมาถึงตอนนี้ ผู้อ่านคงเดาออกว่าผู้เขียนเชียร์แบบเรือ V3 (ไม่เชื่อดูที่ปืน 76/62 ล้อมคอกไว้ให้ด้วย) ด้วยเหตุผลว่าราคาไม่แพงเกินไป ได้โซนาร์มาตรฐานใหม่ราชนาวีไทย ปัจจุบันเรือหลวงพุทธทั้ง 2 ลำปลดประจำการแล้ว เรือฟริเกตเกาหลีใต้ลำแรกยังไม่ส่งมอบ ส่วนลำที่สองซึ่งทุกคนท่องเป็นนกแก้วนกขุนทองว่า ‘จะต่อเองในประเทศด้วยมาตรฐานเดียวกับเรือหลวงตรัง’ นั้นไซร้ ไม่ทราบเหมือนกันว่าจะได้แจ้งเกิดตอนไหน ผู้เขียนไม่กล้าคาดเดาแม้แต่น้อย

          เรือหลวงเจ้าพระยาติดโซนาร์ใหม่เอี่ยม สามารถนำมาใช้ในภารกิจฝึกสอนบุคลากร ให้มีความรู้ความชำนาญระบบโซนาร์มาตรฐานใหม่ ได้ดีกว่าเข้าไปวุ่นวายบนเรือหลวงนเรศวร เรือหลวงตากสิน หรือเรือหลวงท่าจีนที่เป็นกำลังเรือรบหลัก เงิน 300 ล้านบาทซื้อปืนใหญ่ 76/62 ของใหม่ไม่ได้ด้วยซ้ำ ซื้อ Harpoon Block II ได้ 2 นัดกว่าๆ เงินก้อนนี้นำมาพัฒนาคนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น น่าจะเป็นอีกหนึ่งมุมมองไว้พิจารณานะครับ แล้วเจอกันใหม่ในบทความถัดไป…สวัสดีครับ ;)

                     -------------------------------------------

อ้างอิงจาก

http://www2.fleet.navy.mi.th/frigate2/index.php/history/detail/history_id/58

http://www2.fleet.navy.mi.th/frigate2/index.php/organization/index

http://www.dsca.mil/

www.supplyonline.navy.mi.th

https://en.wikipedia.org/wiki/Kasturi-class_corvette

https://www.facebook.com/bangpakong.bang

https://malaysiamilitarypower.blogspot.com/2013/11/kd-kasturi-selesai-menjalani-program.html

http://www.thaifighterclub.org

http://www.shipbucket.com/

https://web.facebook.com/JMSDF.PAO.fp/

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 14/08/2018 21:25:25


ความคิดเห็นที่ 35


ขอบคุณครับ บทความดีๆมาให้อ่านเรื่อยๆ

โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 15/08/2018 08:40:08


ความคิดเห็นที่ 36


ใจนึงก็เห็นด้วย อีกใจนั้นสุดแสนเสียดายครับ..... ตัวเรือนั้น เป็นมาตรฐานกองทัพ(แต่ข่าววงในบางแหล่งว่าไม่น่าใช่) แต่อย่าลืมว่า ขุมกำลังของเธอ เป็น โคแด๊ด ดีเซลเอ็มทียู สี่เครื่อง รีดม้าได้ถึงสี่หมื่นตัว ความเร็วเต็มฝีจักรถึง สามสิบ น๊อต นะครับ เรือใหญ่ที่แล่นเร็วได้ขนาดนี้ มีผลต่อความได้เปรียบทางยุทธวิธีมาก..... อีกอย่าง อุปกรณ์เสื้อผ้าหน้าผมเธอมาครบ ไม่ว่าจะเป็นระบบตรวจจับใต้น้ำ สงครามอิเลคทรอนิคส์ อีเอสเอ็ม อีซีเอ็มน้อยซ์แจมมิ่ง มีเป้าลวงมาให้ด้วย เดาร์ คคกย. อีก สองชุด แหม่...ถือว่า ใส่สไบ สวมชฎามาเลยหล่ะครับ แม้ว่าจะเป็นมาตรฐานจีนก็ตาม........ แต่ผมว่า ถ้ามันยังทำงานได้ มีอะไหล่ซ่อม คุณค่าทางยุทธการเต็ม..... จะทิ้งหรือลดเกรด ก็น่าเสียดายนะครับ.....
โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 21/08/2018 17:30:41


ความคิดเห็นที่ 37


ขอต่ออีกหน่อยนะครับ  เมื่อกี้รีบเขียนก่อนออกจากที่ทำงาน

 

ความเร็วมีผลมากในด้านยุทธวิธีครับ จะเห็นว่าเรือรบโดยเฉพาะการรบผิวน้ำ เรือเจ๋งๆ ส่วนใหญ่จะมีความเร็วสามสิบน็อตขึ้นไป อันนี้เป็นมาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่สองแล้วนะครับ  และดูเหมือนว่า ความเร็วนี้จะเป็นเพดานแห่งยุค เหมือนเครื่องบินยุคนี้ ความเร็วสูงสุดจะอยู่ย่าน สองมัค เกินนี้อาจชนขีดจำกัดด้านว้สดุศาสตร์หรือการทนได้ของมนุษย์ เรือก็คงเช่นเดียวกัน เกินนี้คงมีปัญหาเรื่องโครงสร้าง    ทีนี้เราลองมาคิดกันว่าความเร็วสำคัญอย่างไร

 สมมติ สองประเทศอยู่คนละฝั่งเล เกิดกรณีพิพาทกรณีแย่งชิงเกาะที่อุดมด้วยทรัพยากร ซึ่งเกาะนี้อยู่กึ่งกลางระหว่างสองฝั่งพอดี วัดระยะทางจากเกาะไปถึงแต่ละฝั่ง 550 กิโลเมตร    เพื่อเข้าช่วงชิงและสถาปนาพื้นที่ขัดแย้ง ทั้งสองประเทศสั่งเรือรบของตนให้รีบรุดไปยังเกาะ ทันทีที่รับคำสั่ง ผบ.เรือประเทศฝั่งซ้าย สั่งต้นกล กดปุ่มพุชสตาร์เรือตรวจการไกลฝั่งที่พึ่งตรวจรับเข้าประจำการใหม่เอี่ยม มีเขี้ยวเล็บสุดยอดเพราะ เรือติดตั้งอวป.ฮาร์พูน ถึง 8 ท่อยิง  ผบ.สั่งต้นกลอีกครั้งให้ เบิ้ลเครื่องเร่งรอบ เลียคลัช หัวเรือพุ่งทะยานไปยังเกาะที่หมายด้วยความเร็วเต็มฝีจักร 25 น็อต      เป็นเวลาเดียวกับ ผบ.เรือประเทศฝั่งขวา ได้รับโทรเลขคำสั่งจาก ผบ.ช. กองเรือยุทธการ กะลาสีประจำห้องเครื่องจึงเริ่มใช้ประแจมือหมุน โยกเหวี่ยงพุลเล่ เครื่องดีเซลตัวเขื่องดำมะเมื่อมของเรือฟรีเกตอายุรุ่นเดียวกับคุณแม่ ค่อยๆสำลักโขลกๆลืมตาตื่นเหมือนแมวบิดขี้เกียจ ควันดำเหมือนโดนัทหลายวง โชยขึ้นจากปล่องดัง บ๋องๆ  ไม่นานรอบเครื่องก็อยู่ในเกณฑ์ใช้งาน ผบ.เรือไม่รอช้า สั่งต้นกลเร่งรอบเต็มสูบ ล้อดิฟสะบัด เหมือนม้าเมายาบ้า กระโจนพุ่งออกสุดตัวมุ่งยังที่หมายด้วยความเร็ว 30 น็อต...................

1 น็อต เท่ากับ 1.85 กม./ชม.    30 น็อต จึงเท่ากับ 55 กม/ชม.     ขณะที่ 25 น้อต เท่ากับ 46  กม/ชม.  

 

มาตรฐานเครื่องยนต์เรือต่างจากมาตรฐานเครื่องยนต์รถ เครื่องเรือเป็นกลจักรประเภท ภาระสูง ( เฮฟวี่ ดิวตี้ ภาระสูง มิใช่ การส่งเสีย บุพการี ภรรยา บุตร และภรรยาน้อย ) เนื่องจากเครื่องยนต์เรือสามารถทำงานในรอบที่สูงได้อย่างต่อเนื่อง ต่างจากเครื่องยนต์รถ ที่ตลอดการขับ มีการเร่ง ผ่อน เบาสลับเป็นระยะ (เร่งตลอด มีสองอย่างคือเครื่องพัง กับ เท้าหลับคาคันเร่ง) ดังนั้นหากเปรียบเทียบระหว่างเครื่องยนต์เรือและรถ แม้จะมีแรงม้าเท่ากัน แต่ขนาด น้ำหนัก ความหนา และ ราคาก็ไม่เท่ากัน

ขณะที่เรากำลังสนใจคุณลักษณะเครื่องยนต์อยู่นี้ ก็เป็นเวลา 9 ชม. 30 นาทีแล้ว  ที่เรือรบทั้งสองลำเดินหน้าเต็มฝีจักรมายังเกาะที่เกิดข้อพิพาท............... ดาวเทียมทางทะเลขององกรเดินเรือโลกพบสิ่งผิดสังเกต และสามารถจับภาพเรือรบสองลำซึ่งแล่นออกมาจากคนละชายฝั่งประเทศในเวลาเกือบพร้อมกัน ต่างถือเข็มมุ่งไปยังเป้าหมายเดียวกันเป็นเกาะอยู่กึ่งกลางระหว่างประเทศทั้งสอง  ปรากฏว่า เรือรบฝ่ายหนึ่งเดินทางออกมาได้ระยะ 522 กม. คาดว่าอีก 30 นาทีจะถึงเกาะ       ขณะที่เรือรบอีกฝ่ายหนึ่ง เดินทางได้ระยะ 437 กม. คาดว่าอีก สองชั่วโมง ยี่สิบห้า นาที จะถึงเกาะนั้น.................  

เป็นไงครับเพื่อนๆ   เรือฟรีเกตคุณแม่ยังสาว ถึงที่หมายก่อน  2 ชม.  มีเวลาจะวนดูชัยภูมิเหมาะๆ ตรงไหนน่าปูเสื่อเอนพัก ตรงไหนเป็นแก่ง เหมาะที่จะไปหลบ เล่นซ่อนแอบ......   แบบนี้คนมาทีหลังเสียเปรียบเห็นๆเลย  อันนี้จริงมั้ยครับ??????.................

 

อ่ะ   ถ้าความเร็วมันสำคัญขนาดนั้น เราก็ทำเรือให้มันแลล่นเร็วๆสิ  ใส่เครื่องยนต์เพิ่มกำลังเข้าไป.......................... เพื่อนครับ  เราดูเผินๆ  25 น้อต  30 น้อต เหมือนเรื่องหมูๆเล็กๆ    แต่แท้จริงแล้ว หากลึกซึ่งลงไปในเรื่อง อากาศ(นาวา)พลศาสตร์    จะเห็นว่า แรงต้าน(แดร็ก) มันเป็นปฏิภาคผกผันกับความเร็วอย่างยิ่งยวดครับ  คือถ้าให้กราฟแกนนอนเป็นกำลังเครื่องยนต์ แกนตั้งเป็นแดร็ก ปลายกราฟจะไม่เป็นลิเหนี่ย หน้ามันจะเชิดเป็นลำตัดประมาณนั้นครับ....................   ข้อที่ยืนยันได้ก็คือ  ผมจะยกตัวอย่างเรือ 2 ลำ ที่มีขนาดระวางขับ ทรงของท้องเรือที่คล้ายกัน แต่มีกำลังเครื่องยนต์และความเร็วต่างกัน  2 ลำนะครับ นั่นคือ รล.มกุฎราชกุมาร และ รล.เจ้าพระยา  ทั้งคู่ทรงเรือคล้ายกัน ระวางเท่ากัน ฝ่ายแรก กำลังสูงสุดรีดได้จากเครื่องยนต์กังหันก๊าซขนาด 23,000 แรงม้า ทำควาเร็วได้สูงสุด 25 น็อต   ขณะที่ลำหลัง ระวางขับใกล้เคียงกัน กำลังม้ารีดสุดได้จากเครื่องดีเซล 4 เครื่อง 40,000 แรงม้า เร็วสุดได้ 30 น็อต    นั่นหมายถึงว่า ด้วยความเร็ว 25 น็อต จากต้นกำลัง 23,000 แรงม้า  หากต้องการความเร็วเพิ่มอีก 5 น้อต หรือคิดเป็น 20% แต่ต้องใช้กำลังเพิ่มขึ้นถึง 17,000 แรงม้า หรือคิดเป็น 74% ..........................  เห็นยังครับ   มันไม่ใช่เรื่องหมูๆ   ...........................  ถึงบอกว่า เสียดายจังครับ   ถ้าจะลดเกรด สองพันตัน สามสิบน็อต ลำนี้..................

 

ปล.  อาจมีคนสงสัย   รล.กระบี่ ก็ พันเก้าร้อยตัน แต่ทำไมแค่ดีเซลสองเครื่อง รวมได้ หมื่นห้าพันม้า ก็ไปได้ 25 น็อต.................  อันนี้ ระวางขับที่เขาแจ้งคือระวางสูงสุดครับ  ระวางนี้ คือใส่ของเข้าไปแล้วเรือยังลอยได้   ขณะที่ชีวิตจริง ลองดูเรือ เจ้าพระยา รล.มกุฏฯ สิครับ ข้าวของเต็มไปหมด  ขณะที่ กระบี่ โหวงเหวง  นั่นหล่ะครับเหตุผล ระวางที่แจ้งคือระวางสูงสุด  แต่ความเร็วเป็นความเร็วขณะระวางตรงกับชีวิตจริงครับ.........................

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 21/08/2018 20:34:02


ความคิดเห็นที่ 38


โทษครับ แกนนอนความเร็ว แกนตั้ง แดร็ก แก้จากมือถือ แก้คอมเม้นต์แล้วเด๋วมีแต่ตัว ย.
โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 21/08/2018 21:09:55


ความคิดเห็นที่ 39


อ้าว!!!  ท่านกบ. ผมทำสมองไปแล้วว่าเรือชั้นเจ้าพระยาถูกต่อมาตามมาตรฐานการทหารตามที่ม่านอธิบาย/เหตุผลในตอนแรก   พอมาบอกว่ามีข่าววงในว่าอาจไม่ใด้ต่อด้วยมาตรฐานทางทหาร ผมเลยพะวงเลยอ่ะ…

คือตอนที่ถามไปตอนแรกเรื่องมาตรฐานการต่อ… ผมกลัวว่าตัวเรือที่เก่าขนาดนี้ และอาจใช้เห็ลกเกรดต่ำกว่าเกรดทางทหาร/และ-หรือการต่อไม่ใด้มี compartment แบบที่ควรจะเป็นทางการทหาร  ถ้าเราลงทุนในระบบอาวุธใหม่ๆ ราคาสูงๆ ไปเยอะเกิน มันอาจจะไม่คุ้มในแง่ความน่าเชื่อถือของโครงสร้างเรือน่ะครับ ( คล้ายๆกับเครื่องบินรบที่แอร์เฟรมครบชั่วโมงไปแล้ว น่ะครับ )

ผมเข้าใจว่าที่เราไม่ค่อยสนใจ OHP แล้วปล่อยหลุดไป ก็มาจากประเด็นเรื่องอายุตัวเรือด้วยส่วนหนึ่ง ถ้าพิจารณาแต่ด้วยตัวเรือที่อายุรุ่นราวคราวเดียวกัน แต่ต่อเต็มแบบทางทหาร สเปคอเมริกา   เทียบกับเรือชั้นเจ้าพระยาที่ต่อจากจีน เราน่าจะรับ  OHP มารึเปล่า ?  (หรือว่ามีการเมืองปน เลยยังงัยก็ไม่ใด้ OHP มาอยู่แล้ว)  ขออภัยถ้าตกข่าว/ตามไม่ทันครับ  +

ป.ล.   เพิ่งไปหาอ่านเพิ่ม  สงสัย OHP ใหญ่เกินไป เราเลยขอผ่าน.    4,xxx ตันนี่สงสัยไม่มีเงินส่งเสียค่าบำรุงรักษา/ปฏิบัติการ

 

โดยคุณ Sam เมื่อวันที่ 22/08/2018 07:46:35


ความคิดเห็นที่ 40


ผมขอตั้งสมมุติฐานด้วยคนครับ. กรณีแรก คู่ชกเป็นเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง เราจัดคุณป้าเรือชุดเจ้าพระยาหลังปรับปรุงเป็นแบบเรือกระบุรี ติดจรวด C802A  4 ลูกเ ไปต่อกรกับเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งรุ่นหลานของคู่กรณี. ผมว่าด้วยขนาดเรือ ความเร็ว  อาวุธ ผมคิดว่าคุณป้ายังได้เปรียบคุณหลานอยู่อีกเยอะ    แต่กรณีที่สองคู่ชกคือเรือฟริเกตรุ่นหลานของครบ  เอาแค่น้ำหนักเบาะๆ 1300 ตัน คุณป้าเจ้าพระยาปรับปรุงเต็มยศ ยังดูเป็นรองคู่ต่อสู่ร่นหลานอีกเยอะ เรียกว่าแบกทั้งอายุ.  ช่วงชกที่สั้นกว่า. ต่อยได้แต่หมัด. แต่ใช้ เข่า ศอก  เท้า ไม่ได้ กลัวจะไม่พ้นยกแรกคงโดนนับ หรือถ้าเป็นเจ้าบ้าน. กองเชียร์คงลุ้นกันน่าดูว่าป้าจะทนเจ็บฝ่าดงหมัด เข่า ศอก เท้า เข้าไปสอยปลายคางหลานตัวน้อยได้ไหมครับ. ลุ้นหมัดหลงทีเดียวต้องน๊อคให้ได้

โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 22/08/2018 17:58:51


ความคิดเห็นที่ 41


ถ้าเจอ อเลเบิร์ค หรือ เอฟๆจี ของสิงคโปร์ ป้าคงสู้ไม่ได้หรอกครับ..... แต่ลองดู หลานหน้าตาบ้องแบ๊วรายอื่นๆระแวกนี้สิครับ.... เอาที่แจ่มๆหน่ะ โดยเฉพาะ ทางทิศตะวันตกของเราเนี่ย เอาที่สุดของเขาลองมาเทียบป้าดูสิครับ..... ผมว่าป้ายังฟัดกับหลานได้นะครับ 

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 22/08/2018 19:05:10


ความคิดเห็นที่ 42


.

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 22/08/2018 20:33:09


ความคิดเห็นที่ 43


เรือรบแถวบ้านเราที่ 'พอจะ' รับมือกับ C-802 ได้ ก็เห็นจะมีฟอร์มิเดเบิลของสิงคโปร์กับนเรศวรของไทยแลนด์ ต่อไปในอีก 5 ปีก็จะมีท่าจีนอีกหนึ่งรุ่น ส่วนที่เหลือคงต้องวัดดวงกันล่ะ...ว่าจะจรวดจีนจะเลี้ยวไปหาเรือลำไหน

 

ถ้าเราเอาเรือหลวงกระบุรีเข้าไปชนกับเรือแถวนี้ยกเว้นฟอร์มิเดเบิล จะตรงกับคำว่าหยิกเล็บเจ็บเนื้อ คือทางนี้หายไปสองลำ ทางโน้นก็หายไปสองลำ Gowind ของมาเลเซียกับ Sigma ของอินโดมีแค่ VL-Mica ซึ่งก็คือจรวด Mica ติดบนเครื่องบินมิราจนั่นแหละ ระบบเป้าลวงก็งั้นๆ เอามาล่อเป้านี่ได้ยืนจับไข้กันหมดทั้งลำ ตอนนี้เรืออินโดยังเป็นเรือปืนอยู่เลย (ทั้งลำมีแค่ 76/62 กระบอกเดียวจริงๆ นะ) ส่วนเรือมาเลเซียน่ากลัวตรงมากตรงมากัน 6 ลำกับมีโซนาร์ลากท้ายทันสมัย แต่เรายังไม่มีเรือดำน้ำนะพรรคพวก ฮ่าๆ

 

ด้วยเหตุที่ว่ากำลังทางเรือทั้งสองไม่แตกต่างกันเกินไป ทำให้เกิดสันติภาพบนโลกมนุษย์ใบนี้ แต่ถ้าอีกฝ่ายเหนือกว่ากันหลายเท่าตัว เตรียมทำสงครามกันได้เลยไม่นานเกินรอ ด้วยเหตุนี้เราถึงต้องจัดหาอาวุธทันสมัยมาใช้งาน ด้วยเหตุนี้เราถึงต้องปรับปรุงเรือเก่าให้ดียิ่งกว่าเดิม ที่ผ่านเราอาจจะติดขัดไปบ้างแต่ก็ถือว่าทำได้ดีทีเดียว ยกเว้นก็แต่เรื่องเรือดำน้ำที่มีดราม่าเยอะเกินเหตุ

 

ถ้าเราเอาเรือหลวงเจ้าพระยาไปทำเรือตรวจการณ์ ผมเสียดายเครื่องยนต์ MTU แท้ๆ จากเยอรมันมาก เพราะถ้าไปซื้อเรือจีนตอนนี้จะได้ MTU เสิ่นเจิ้นแล้วนะครับ

 

ลืมพูดถึงเรือพม่า ส่วนใหญ่เหมือนเรือหลวงกระบุรีของเรานี่แหละ ระบบอำนายการรบเหมือนกัน ใช้ระบบสงครามอิเลคทรอนิกรุ่นที่เราปลดประจำการไปแล้ว ระบบเป้าลวงประหลาดดี (เหมือนของเกาหลีเหนือ) มีเรดาร์ระยะกลางกันโซนาร์ของอินเดียเพิ่มเข้ามา แต่ยังไม่มีข่าวเรื่องตอร์ปิโด มีจรวดอิ๊กล่าเพิ่มเข้ามา มีปืน AK630 ด้วย แต่ยังไม่มีอะไรที่ดีจะยิง C-802 ร่วงน้ำ ผมว่าสวยดีแต่ประสิทธิภาพเฉยๆนะ

 

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 22/08/2018 22:40:43


ความคิดเห็นที่ 44


ครับ ถ้ามองในแง่อาวุธโจมตีเรือด้วยกันเรือเจ้าพระยาก็สูสี.  แต่ในด้านการป้องกันตัวเองเรือรบชุดเจ้าพระยาถ้าจะให้ดีคือเพิ่มอาวุธป้องกันระยะประชิด จะเป็นจรวดหรือปืนก็แล้วแต่ไว้สอยเครื่องบิน.  จรวดที่ยิงเข้ามา.   ส่วนระบบต่อต้านเรือดำน้ำอีกที่ยังไม่ดีพอ แต่ก็พอรับได้ บวกเพิ่มลานจอด ฮ. แบบนี้ยอมรับได้ครับ

โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 23/08/2018 06:58:49