หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


โครงการจัดหา บ.รบฝูงใหญ่อินเดียเปิดแข่งขันอีกครั้ง

โดยคุณ : Freedom เมื่อวันที่ : 17/04/2018 11:04:59

ด้วยโครงการจัดหาขนาด 116 ลำ ( จากที่ได้ rafale ไปก่อนหน้า ทำไปทำมาตกลงกันไม่ได้เลยจบกันที่เหลือจัดมาแค่ 36 ลำ ) เพราะเหตุผลที่ต้องการให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีและสร้างในอินเดีย อย่างน้อย 90% เงื่อนไขนี้จะมีใครยอมรับกันมากน้อยแค่ไหน ฝรั่งเศส อังกฤษ อเมริกา รัสเซีย และสวีเดน มองมุมนี้ ดูเหมือน Saab น่าจะมีนโยบายที่ตอบสนองเงื่อนไขนี้ได้ดีที่สุด แต่โอกาสชนะผมเองก็เชื่อว่า ฝั่งการเมืองอินเดียคงมีผลกดดันให้มีการตัดสินใจมากพอสมควร มองจุดนี้ thyfoon ก็ได้เปรียบ ผมก็ไม่คิดว่า จะมี F-18 สร้างในอินเดียจริงๆ นะครับ




ความคิดเห็นที่ 1


ขออ้างอิงจากบล๊อกท่านเอกพล ครับ

( จำนวนสูงสุดของเครื่องบินขับไล่ใหม่ที่จะทำการสร้างนอกประเทศอินเดียจะอยู่ที่ราว 16-17เครื่อง แต่เครื่องบินขับไล่ใหม่ที่เหลือกจะต้องทำการสร้างในอินเดียเองทั้งหมดโดยการถ่ายทอด Technology ให้แก่ภาคส่วนอุตสาหกรรมความมั่นคงภายในอินเดียทั้งของรัฐบาลและเอกชน
ตามที่คาดว่านโยบาย "Made in India" จะเป็นลำดับความสำคัญในการประเมินโครงการของกองทัพอากาศอินเดีย ผู้เข้าแข่งขันต้องอธิบายการตอบสนองต่อ RFI ว่าพวกตนจะใช้บริษัทของอินเดียในฐานะผู้จัดส่งสำหรับระบบและสายการผลิตอากาศยานได้อย่างไร
กองทัพอากาศอินเดียยังมีแผนจะตัดสินผู้เข้าแข่งขันว่าจะควบคุมการส่งมอบเกี่ยวกับการบูรณาการระบบอาวุธให้มากน้อยแค่ไหน "ผู้ขายจะต้องส่งมอบผู้ใช้ในขีดความสามารถเพื่อการปรับปรุงระบบ(ที่มาจากอินเดียหรือต่างประเทศ)โดยเฉพาะตัว ทั้งอาวุธและระบบตรวจจับ" เอกสาร RFI กล่าว )

อินเดียทุนหนาซื้อทีนึงล๊อตใหญ่ๆ กดดันให้บริษัทถ่ายทอดเทคโนโลยีได้ แต่ถ่ายทอด 80-90 นี่ดูจะเยอะไปหน่อย งานนี้ Gripen โอกาสเข้าวินสูง เพราะดีลบราซิลไม่เยอะขนาดนี้ก็โอเคมาแล้ว
ไทยทุนไม่เท่าขอแบบนี้ซักครึ่งผูกพัน 10-15 ปี ถ่ายทอดซัก 20 ก็ดีมากแล้ว (บอร์ดเงียบเหงามากครับ)

โดยคุณ EXALT เมื่อวันที่ 09/04/2018 18:01:45


ความคิดเห็นที่ 2


ความเห็นส่วนตัว อินเดียขอมากไปหน่อย อย่างมากประเทศผู้ผลิตเครื่องบินเขาคงจะรับปากถ่ายทอดเทคโนโลยีเกี่ยวกับการผลิตเครื่องบินให้ ยกเว้นก็แต่เทคโนโลยีเครื่องยนต์ เปรียบเทียบกับไทยกรณีรถยนต์ที่ญี่ปุ่นมาลงทุนประกอบ และวิจัยเบื้องต้น แต่เรื่องเครื่องยนต์ก็คงต้องรอไปชาติหน้า นอกจากนี้ยังมีเรื่องระบบอาวุธอีก ยังไม่พอ เรื่องศักยภาพของคนอีก ไม่ใช่จะให้ถ่ายทอดเทคโนโลยีกันแล้วจะประสบความสำเร็จได้ง่าย ๆ คิดว่าถ้าได้ก็คงแค่เปลือก แต่ไม่ถึงแก่น  มาเลเซียก็อีก โครงการโปรตอนก็เห็นกันอยู่ สุดท้ายก็ล้มเหลว มันไม่ใช่ว่าถ่ายทอดเทคโนโลยีแล้วจะไปได้ เรื่องการวิจัยใหม่ๆ อันนี้ยากสุด เพราะเทคโนโลยีตอนนี้อีก 10 ปีก็ล้าสมัยแล้ว

โดยคุณ boonn1234 เมื่อวันที่ 17/04/2018 11:04:59