เห็นคลิปแล้ว ถ้าจะพอได้เพราะรถถังยุคใหม่ที่ไทยเข้ามาติดแอร์ด้วยน่าจะสร้างความสะดวกสบายให้พลขับหญิงไม่น้อย คิดว่าน่าจะง่ายกว่า รับนักบินหญิงที่ทํานะเพราะ ขับรถถังไม่ต้องทนแรงจีเหมือนขับเครื่องบิน
https://www.youtube.com/watch?v=k3IPA3rxpuE
ผมอยากเห็นผู้หญิงเป็นผู้บังคับการเรือ ผบ.หน่วย ผบ.ร้อย ผบ.พัน ยันแม่ทัพภาคหรือผู้บัญชาการเหล่าทัพเลยด้วยซ้ำไป เผื่ออะไรๆมันจะเปลี่ยนแปลง เห็นซ้อมรบร่วมบางทีบางชาติส่ง ผบ. เป็นผู้หญิงมาผมว่าเท่ห์ชะมัด
ความเห็นส่วนตัว ผมคิดว่า เป็นไปได้ครับ แต่การดำเนินการทุกอย่างย่อมต้องมีผลกระทบตามมา ถ้าสังคมยอมรับผลกระทบนั้นได้ กองทัพก็คงไม่ขัดข้องที่จะดำเนินการหรอกครับ
ผลกระทบที่ผมพอจะคิดออก เช่น
1. ถามความสมัครใจผู้หญิงเขาหรือยังครับ ว่าเขาอยากมาทำหน้าที่ตรงนี้ไหม (ฮ่า) เพราะเหตุว่า งานที่เรายกขึ้นมาคุยกันนั้น เป็นงานภาคสนาม ต้องใช้ร่างกายมีความตรากตรำอยู่พอควร ทำให้แม้กองทัพจะเปิดโอกาสก็อาจหาผู้สมัครไม่ได้ก็ได้
2. การมีกำลังพลสตรีอยู่ในภาคสนาม หมายถึงการต้องให้กำลังพลสตรีอยู่กินหลับนอน ใกล้ชิดกับกำลังพลเพศชาย แม้ผมจะตัดปัญหาชู้สาวออกไป (ตั้งสมมุติฐานว่า กำลังพลทุกนายรู้จักแยกแยะ) กำลังพลสตรีก็ยังต้องพบกับความไม่สะดวกสบายอยู่เช่นเดิม
3. ด้วยข้อจำกัดด้านร่างกายซึ่งไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ของสตรี อาจก่อให้เกิดอุปสรรคในการปฏิบัติงานได้ เช่น ต้องออกลาดตระเวนเป็นระยะเวลายาวนาน ในช่วงเวลาที่เป็นประจำเดือน ปวดท้อง เป็นไข้ทับระดู เป็นต้น หากกำลังพลสตรีรายนั้น อยู่ในตำแหน่งสำคัญ เช่น ผู้บังคับหมวด ก็ย่อมส่งผลต่อขวัญกำลังใจ ตลอดจนประสิทธิภาพของหน่วยทหารนั้นๆได้ (ผ.บ. หมวด ปวดท้องเมนส์ ระหว่างลาดตระเวน ลูกน้องทำไง)
4. สตรีมีช่วงเวลาที่ต้องตั้งครรภ์และเลี้ยงดูบุตร ทำให้มีช่วงเวลาที่ไม่สามารถเป็นกำลังพลให้ได้ หากเกิดเหตุขึ้นในเวลานั้น ย่อมส่งผลกระทำต่อประสิทธิภาพกำลังรบได้ (ผู้บังคับฝูงบิน 403 เป็นสตรี ลาคลอด 90 วัน ลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรต่อเนื่องกับการลาคลอดบุตรอีก 3 เดือน กลับมาอีกที จะยังบินได้ไหมเนี่ย เป็นต้น)
5. งานภาคสนาม เป็นงานเสี่ยงอันตราย สังคมจะมองว่าอย่างไร หากกองทัพไทยส่งสตรีไปแนวหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากเกิดเหตุการณ์ เช่น ถูกจับตัวเป็นเชลยศึก ถูกซึ่งโจมตี ถูกสังหาร ในขณะที่ชายฉกรรจ์ของเรายังมีเหลือ การส่งสตรีออกรบ จะอธิบายต่อสังคมว่าอย่างไร
ตำแหน่งพลขับและพลยิงน่าจะเป็นนายสิบนะ ส่วนผบ.รถที่ไม่ใช่ผบ.ร้อย และรองผบ.ร้อย ก็คงระดับประทวนที่เก๋าหน่อย
ต้องถามว่านายสิบมีทหารหญิงหรือเปล่า เพราะไม่งั้นจะไปเอากำลังพลจากที่ไหน เรื่องแอร์ผมไม่นับรวมอะไรเลย เรื่องวันหยุดวันลาผมก็ไม่สน ถ้าเธอคนนั้นอยากเป็นก็ต้องยอมรับจุดนี้ให้ได้ สำคัญแต่ว่าจะรับบรรจุกำลังพลจากที่ไหน
นอกประเด็นนิดเดียว ในชีวิตประจำวันจริง ๆ ทหารม้า(ไทย)เป็นอะไรที่น่าเบื่อมาก น่าจะสูสีกับเจ้าหน้าประจำเรือต.ทั้งหลาย เพราะชีวิตไม่ได้สวยหรูอย่างในยูทูป ยิ่งในเฟสที่มีแต่ขาอวยยิ่งไปกันใหญ่ ให้ผมบ่น 3 วัน 3 คืนก็ยังไม่จบ ฮ่า ๆ
เนื่องจากกำลังพลในส่วนหน่วยคุมกำลังรบยังคงมีหลักนิยมกำหนดให้บรรจุนายทหารที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันการศึกษาหลักของกองทัพอยู่เป็นอันดับต้นๆ
ฉะนั้นไว้ให้โรงเรียนนายสิบทหารบกและโรงเรียนนายร้อย จปร.มีแนวคิดจะรับสุภาพสตรีเข้าเป็นนักเรียนนายสิบ/นักเรียนนายร้อยทหารบก เหมือนโรงเรียนนายร้อยตำรวจก่อน
แล้วค่อยมากล่าวถึงนายทหารหญิงที่จะมาฝึกศึกษาที่ โรงเรียนทหารม้า เพื่อเป็นพลประจำรถถังครับ