หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


กองทัพเรือไทย กำลังเจรจากับ อินโดนีเซียในการจัดซื้อ CN-235 MPA จำนวน 3 ลำ

โดยคุณ : juldas เมื่อวันที่ : 19/02/2018 18:53:35

กองทัพเรือไทย กำลังเจรจากับ อินโดนีเซีย โดยบริษัท PTDI ในการสนใจจัดซื้อ เครื่องบิน CN-235-220 MPA จำนวน 3 ลำ...

อนาคต กองการบินทหารเรือ คงจะมีปฏิสัมพันธ์กับ อินโดนีเซีย มากขึ้น โดยเมื่อประมาณปี 2556 ว่า ทร.ไทย ก็มีความสนใจ เครื่องบินลำเลียงเบาแบบ N-219 ภายใต้ร่วมการผลิตกับ อินโดนีเซีย เช่นเดียวกัน ในจำนวนจัดหากว่า 20 ลำ...

ก็เป็นอีกเรื่องที่เกี่ยวโยงในความเสียดาย ที่ ทร.ไทย ไม่ตัดสินใจจัดหา เรือดำน้ำ จาก เกาหลีใต้...ซึ่ง อินโดนีเซีย ก็กำลังเริ่มทำการประกอบเรือดำน้ำ ลำที่ 3 ที่จัดหาจาก เกาหลีใต้ ภายใต้การถ่ายทอดเทคโนโลยี่การต่อเรือดำน้ำจากเกาหลีใต้ ให้ อินโดนีเซีย...ซึ่งอินโดนีเซีย เอง ก็กำลังพัฒนาเรือดำน้ำแบบชายฝั่ง หรือ Midget ด้วยเช่นกัน...

ซึ่ง ในแง่ความสัมพันธ์ทางการทหาร ระหว่างไทย กับ อินโดนีเซีย ในแง่ความขัดแย้งทางการทหาร แทบจะมองไม่เห็น...โอกาสในอนาคต ถ้า ไทย จะร่วมมือกับ อินโดนีเซีย ในการพัฒนาอาวุธ ดูจะมี ประโยชน์ มากกว่า การไปร่วมมือกับ ประเทศจีน เสียอีก...ซึ่งที่เห็น ความร่วมมือของไทย กับ จีน ก็เป็นเพียงการ ถ่ายทอดการซ่อมบำรุง แค่นั้น...

ปัจจุบัน อินโดนีเซีย มีความร่วมมือทางอุตสาหกรรมทางทหารที่แนบแน่นกับ เกาหลีใต้ มากมายหลายรายการที่เป็นลักษณะการพัฒนาเทคโนโลยี่อุตสาหกรรมทางการทหารอินโดนีเซีย เช่น โครงการเรือลำเลียง เรือดำน้ำ เครื่องบินขับไล่ล่องหน...

ถ้าได้ประเทศไทย สอดแทรกไปด้วย...ในกรณี 3 ประเทศ คือ อินโด เกาหลีใต้ และไทย...ดูแล้ว ไทย กลับจะเป็นประเทศที่ได้รับประโยชน์สูงสุดเสียอีก...

http://www.janes.com/article/77673/singapore-airshow-2018-thailand-enters-pre-contract-negotiations-for-three-mpa

Singapore Airshow 2018: Thailand enters ‘pre-contract’ negotiations for three MPA

Ridzwan Rahmat, Singapore - Jane's Navy International

07 February 2018

Key Points

The Royal Thai Navy (RTN) and Indonesian state-owned aircraft manufacturer PT Dirgantara Indonesia (PTDI) are now in ‘pre-contract’ negotiations over the procurement of three CN-235-220 aircraft in the maritime patrol configuration.

Speaking to Jane’s at the 2018 iteration of the Singapore Airshow, PTDI’s Vice President of Sales, Ade Yuyu Wahyuna, said negotiations in this stage begun in late-January 2018, and a formal contract can be expected to materialise before the end of the year.

 





ความคิดเห็นที่ 1


http://www.thaifighterclub.org/webboard/18326/%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A-PTDI-%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%B2-N-219.html

กระทู้เก่า ที่มีข่าว ทร.ไทย สนใจร่วมทุนการผลิต N-219 กับ อินโดนีเซีย

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 10/02/2018 12:46:53


ความคิดเห็นที่ 2


N-219

ภาระกิจ รับ-ส่ง กลับ สายการแพทย์

ลักษณะ การสนับสนุนภาคพื้น

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 10/02/2018 12:55:08


ความคิดเห็นที่ 3


MPA ที่ ทร.ไทย มีความต้องการ จะจัดเต็มขนาดไหน ? 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 10/02/2018 13:00:50


ความคิดเห็นที่ 4


น่าสนใจว่าของเราจะติดอะไรได้บ้าง แต่ก้ถือว่ากองทัพเรือหาตัวเลือกได้ดีครับ เพราะ PTDI ทำสัญญาเป็นพาร์ทเนอร์กับ TAI โดยให้สิทธิ์ TAI ดำเนินการซ่อมบำรุงเครื่องบินของ PTDI ในประเทศไทยทำให้การซ่อมใหญ่สามารถดำเนินกาได้ที่ TAI ได้เลย ทีนี้เราจะมีอะไรบ้างกับเครื่องรุ่นนี้ครับ 

โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 10/02/2018 13:57:30


ความคิดเห็นที่ 5


นอกจากจัดหา CN-235 MPA 3 ลำแล้ว ก็อยากให้พิจารณา F27 ที่ประจำการด้วยว่ายังใช้งานได้อีกนานไหม ถ้าไม่นานหรือไม่คุ้มที่จะปรับปรุง ก็ทำโครงการรวดเดียวไปเลย  และอาจเพิ่มรุ่นเครื่องบินลำเลียงไปด้วย  รวมๆก็อาจจะ 10 ลำ  ทยอยส่งมอบไปเรื่อยๆ ในระยะเวลา 10 ปี  รวมกับโครงการ เครื่องบินลำเลียงเบาแบบ N-219  20 ลำ  ก็น่าจะสามารถต่อรองเรื่องอื่นๆเพิ่มได้ เช่น โรงงานประกอบเครื่องบินในประเทศ ประมาณนั้น ครับ  

โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 10/02/2018 14:32:17


ความคิดเห็นที่ 6


ลุ้นกันครับว่าจะมาแบบasw เต็มสูบไหม ส่วน พวก msa อัพดอร์เนียร์ให้เป็นรุ่น ng ก็สบายๆแล้วครับ แอบเสียดายนิดๆนึกว่า ทร.จะเอา295 ไปเลย
โดยคุณ ausangi เมื่อวันที่ 10/02/2018 17:37:06


ความคิดเห็นที่ 7


ถ้าดูจากที่ชุมชนทางทหาร Online ของอินโดนีเซียกล่าวถึงโครงการจัดหาเรือดำน้ำ DSME 1400T เกาหลีใต้ ๓ลำ

ทางอินโดนีเซียดูจะไม่ค่อยพอใจกับการถ่ายทอด Technology การสร้างเรือดำน้ำลำที่สามในอินโดนีเซียของเกาหลีครับ

เพราะนอกจากจะมีความล่าช้าพอสมควรในการสร้างเรือสองลำแรกแล้ว อินโดนีเซียมองว่าเกาหลีใต้ 'ไม่เต็มใจ' ที่จะถ่ายทอด Technology เรือดำน้ำให้อินโดนีเซียจริงๆสักเท่าไรด้วย

ตอนนี้กองทัพเรืออินโดนีเซียปรับลดความต้องการเรือดำน้ำลงเหลือ ๘ลำเดิม ๑๒ลำครับ

ซึ่งตอนนี้อินโดนีเซียกำลังมองศึกษาเรือดำน้ำแบบใหม่จากหลายแหล่งอยู่ ทำให้ดูเหมือนว่าเรือดำน้ำชั้น Nagapasa จะสิ้นสุดที่เรือลำที่สามที่จะต่อในอินโดนีเซียครับ

ทั้งนี้โครงการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ KF-X/IF-X ร่วมระหว่างเกาหลีใต้-อินโดนีเซียก็กำลังเผชิญกับความเสี่ยง เพราะตอนนี้อินโดนีเซียกำลังขาดงบประมาณสำหรับจะลงทุนในโครงการเครื่องบินขับไล่นี้ครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 10/02/2018 21:58:46


ความคิดเห็นที่ 8


เอาจริงประเทศอินโดไม่ได้เงินเหลือแบบพวกแขก จะทุ่มไม่อั้นได้ ปกติเวลาร่วมกันผลิตก็จะเข้าทางว่า คนนึงมีเทคโนโลยี อีกคนทุนหนา เช่นอินเดียกับรัสเซียในการพัฒนาเครื่องบินรบ (ซึ่งรัสเซียก็ทำตัวหวงเทคโนโลยีเหมือนเกาหลีเนี่ยแหละ) หรือซาอุกับยูเครนในการผลิตเครื่องบินลำเลียงหรือโดยสาร ของอินโดกับเกาหลีที่ตลกคือ เกาหลีมีทั้งเงินทั้งเทคโนโลยี ไม่รู้ว่าอินโดจะช่วยอะไรได้ เงินทีขาดส่งเท่าที่ติดตามตอนนี้อินโดจะขอผลัดไปก่อนแล้วจ่ายชดเชยตอนหลังอาจจะมีดอกเบี้ยอะไรๆ ด้วย

โดยคุณ tongwarit เมื่อวันที่ 16/02/2018 00:27:40


ความคิดเห็นที่ 9


ลองจัดทำแผ่นภาพ ชอง MPA ในกลุ่มประเทศ ASEAN โดยในความหมายของภาพนี้ จะใช้เฉพาะส่วนที่ใช้ในการตรวจการณ์ทางทะเล และปราบเรือดำน้ำ กับ เรือผิวน้ำ เท่านั้น...จะไม่รวมจำนวนของ อากาศยานประเภทขนส่ง...เช่น ของ ทร.ไทย ใช้การประเมินการไม่ปรากฎของหมายเลขเครือง 1201 เป็นระยะเวลานาน...หรือ DO-228 ที่ปัจจุบันมีการถอดโดมเรดาร์ใต้เครื่องออกจำนวนหลายลำ...และ ทร.เวียดนาม ที่จะใช้เฉพาะ MPA ที่ปรากฎภาพการติดตั้งเรดาร์หัวเครื่องเท่านั้น...ครับ


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 19/02/2018 07:01:44


ความคิดเห็นที่ 10


เครื่อง MPA ของ มาเลเซีย, สิงคโปร์ จะสังกัด กองทัพอากาศ และ อินโดนีเซีย กับ เวียดนาม จะมีเครื่องทั้ง ทอ. และ ทร. และจากการหาข้อมูลทำแผ่นภาพนี้...จะเห็นตลาดของ MPA ในอาเซียน ยังมีความต้องการอีกมาก ซึ่ง Order ที่กำลังตามมาจะมีทั้ง ไทย มาเลเซีย บรูไน อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ส่วนในอนาคตอีก 10 ปีข้างหน้า สิงคโปร์ ก็คงจะมีข่าวจัดหาตามมาเช่นกัน...ถ้าให้คะแนน ตอนนี้ อากาศยายของ สิงคโปร์ ดูจะเป็นอันดับหนึ่ง ของอาเซียน...ส่วนการจัดหาของ ทร.ไทย...คงต้องกังขาพอสมควรว่าจะติดตั้ง อาวุธนำวิถีปราบเรือผิวน้ำหรือไม่ ? เพราะปัจจุบัน CN-235 จะรองรับในส่วนของ EXOCET เท่านั้น...หรือ ทร. จะยกภาระกิจนี้ให้ ทอ. ไปเลย.. CN-235 ของ ทร. จึงมองว่าจะเป็น ASW เต็มตัว...น่าจะใช้รหัส บ.ปด.1 หรือเปล่า ?
โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 19/02/2018 07:12:11


ความคิดเห็นที่ 11





https://www.facebook.com/seniorgeneralminaunghlaing/posts/1804782859556194
http://aagth1.blogspot.com/2017/12/yak-130-atr-42-mpa-fokker-70.html

จากพิธีรับมอบอากาศยานใหม่เข้าประจำการในวันครบรอบการก่อตั้งกองทัพอากาศพม่าครบรอบปีที่๗๐ เมื่อ ๑๕ ธันวาคม ปีที่แล้ว

กองทัพอากาศพม่ามีเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล ATR 42 MPA ๒เครื่องครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 19/02/2018 12:59:44


ความคิดเห็นที่ 12


โดยส่วนตัว อยากให้ได้เรื่องบินตระกูลฟอกเกอร์มากกว่า. เพราะเดิมเรามี F27 อยู่แล้ว จะได้ถือโอกาสปรับปรุงของเก่าไปพร้อมกัน พวกระบบอาวุธ อะไหล่ต่างๆจะได้ใช้ร่วมกันได้.  อีกประการเรื่องเทคโนโลยี ผมคิดว่าของประเทศผู้ผลิตฟอกเกอร์ น่าจะสูงกว่าของอินโดน่ะครับ

โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 19/02/2018 15:01:20


ความคิดเห็นที่ 13


จริงๆเอาดอร์เนียร์ที่มีมาปรับปรุงให้เป็นรุ่น ng ก็สามารถทำภารกิจ msa ได้สบายๆแล้วครับ หวังว่าตัว 235 ที่สนใจจะเป็นตัว asw ครับ
โดยคุณ ausangi เมื่อวันที่ 19/02/2018 15:33:16


ความคิดเห็นที่ 14


เห็นด้วยกับท่าน ausangi ครับ 100%
โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 19/02/2018 18:53:35