นาทีประวัติศาสตร์ T-50TH Golden Eagle ครั้งแรก..บนผืนแผ่นดินไทย ณ กองบิน 4 (ตาคลี) นครสวรรค์ 25 มกราคม 2561
https://www.facebook.com/RTAFpage/videos/1917575634938684/
การถ่ายทอดสดทาง Facebook LIVE ของ Page กองทัพอากาศไทย สำหรับพิธีต้อนรับเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ T-50TH ก็เพิ่งเสร็จสิ้นไปเมื่อเวลาประมาณ ๑๑๐๐ ครับ
หลังจากนี้น่าจะมีชุดภาพพิธีรับมอบตามมาภายหลังครับ
https://www.facebook.com/iqarmy/posts/788746934642862
ทั้งนี้เมื่อวันที่ ๒๔ มกราคมที่ผ่านมา กองทัพอากาศอิรักก็เพิ่งจะได้รับมอบเครื่องบินฝึกไอพ่น T-50IQ ชุดแรก ๖เครื่อง จากที่สั่งจัดหาทั้งหมด ๒๔เครื่องครับ
นับว่า KAI เกาหลีใต้มีขีดความสามารถในการส่งมอบเครื่องบินฝึกไอพ่นตระกูล T-50 ของตนแก่ลูกค้าที่สูงมากครับ
2 T-50TH First touch Down in Thailand at Wing 4 on 25 Jan 2018
The first T-50TH (40101) landed at 10.51 AM
The second T-50TH (40102) landed at 10.52 AM
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1888685301202355.1073742495.768315146572715
T-50 TH มาถึงตาคลีแล้ว! ....วันนี้ พลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง ผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นประธานในพิธีต้อนรับเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นแบบ T-50TH จำนวน 2 เครื่อง (จากทั้งหมด 4 เครื่อง) พร้อมทั้งแสดงความยินดีกับนักบินของกองทัพอากาศ จำนวน 6 คน ซึ่งจบหลักสูตร T-50TH จากบริษัท Korea Aerospace Industries, Ltd. (KAI) สาธารณรัฐเกาหลี และนักบินสาธารณรัฐเกาหลีที่ทำการบินนำส่งเครื่องบิน จำนวน 4 คน ณ กองบิน 4 อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ …T-50 TH สามารถปฏิบัติภารกิจครอบคลุมได้ทั้งการฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น และมีขีดความสามารถสูงใช้ปฏิบัติภารกิจการรบจริงได้ด้วย อีกทั้งตอบสนองการปฏิบัติภารกิจทั้งกิจเฉพาะหลัก ได้แก่ การฝึกนักบินขับไล่/โจมตีขั้นต้น และกิจเฉพาะรอง ได้แก่ การโจมตีทางอากาศ และการค้นหาและช่วยชีวิตในพื้นที่การรบ โดยมีความสามารถในการติดตั้งใช้งานระบบอาวุธ ติดตั้งระบบเรดาร์ที่ทันสมัยเพื่อสามารถรองรับระบบอาวุธที่มีระยะไกลเกินสายตา สำหรับเครื่องที่ 3 และ 4 จะมาในเดือนมีนาคม และจะมีการบรรจุเข้าประจำการ อย่างเป็นทางการหลังการตรวจรับขั้นสุดท้ายแล้วเสร็จ ส่วนอีก 8 เครื่องจะมาในปี 2562 ...ในส่วนที่มีการเสียหายบางส่วนของเครื่องยนต์ระหว่างบินมายังมาเลเซียนั้นทางบริษัท KAI ได้มีการเปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่ให้เรียบร้อยแล้ว ....Photo Sompong Nondhasa
https://www.facebook.com/sompong.nondhasa/posts/1150058331763943
T-50TH WELCOME CEREMONY
ไม่ทราบว่า TA50 ของเราติดจรวดโจมตีเรือได้หรือเปล่า เช่น ฮาพูน ถ้าได้อนาคตก็น่าเอาไปไว้ทางภาคใต้แถวกองบิน 56 ฝูงเล็กๆซัก 8 ลำ กำลังดีจะได้แบ่งเบาภาระ Jas39C ได้เยอะเลย
ปัจจุบันอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นที่ FA-50 รองรับมีเพียง AGM-65 Maverick ครับ
โดยอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำ AGM-84 Harpoon นั้นมีน้ำหนักพร้อมยิงที่ 520kg(1,145lbs)
ซึ่งตำบลติดอาวุธใต้ปีกคู่ในสุดของ FA-50 ที่รับน้ำหนักอาวุธได้ 2250lbs น่าจะติดตั้งได้ถ้าตัวจรวดไม่ยาวเกินไป
แต่อย่างไรตามเนื่องจากการออกแบบพื้นฐานของ FA-50 ไม่ได้วางไว้เป็นเครื่องบินโจมตีทางทะเลแต่แรก
ก็เหมือนกับ F-16 ที่ถ้าลูกค้ามีความต้องการจะให้ใช้ Harpoon ได้จริง ก็ต้องมีการทดสอบและรองรับการใช้งานก่อน
ซึ่งขั้นตอนการดำเนินการที่ว่านั้นจำเป็นที่จะต้องมีค่าใช้จ่ายในการพัฒนาเพิ่มเติมครับ
แบบนี้ T50TH ก็ดูจะเป็นรอง JF17 ของพม่าน่ะครับ. ถ้าจีนสามารถทำให้ JF17 คุยกับระบบ data link ของไทยได้ จัดห้องนักบินใหม่ให้ใก้เคียงกับของสหรัฐแต่ยังสามารถ ใช้อาวุธจีนได้ ผมว่าก็น่าสนใจกว่า T50TH ครับ.
ผมว่าประสิทธิภาพของ T-50TH นั้นติดตั้งเรดาร์ EL/M-2032 นั้นตามสเป็คมีระยะตรวจจับได้ไกล 150 กิโลเมตร ตรวจจับวัตถุหน้าตัด 1 ตารางเมตรได้ที่ 100 กิโลเมตร คิดว่าการตรวจจับถ้าเทียบกับ JF-17 ก็น่าจะใกล้เคียงกัน และเรดาร์ตัวนี้เป็นแบบเดียวกับที่ติดตั้งใน F-5 ที่ปรับปรุงใหม่ของฝูง 211 ซึ่งสามารถใช้อาวุธจตัวท็อปๆทั้งระยะใกล้อย่างไพธ่อน4 หรือไพธ่อน5 หรือระยะนอกสายตาอย่าง ไอ-ดาร์บี้ ได้สบายมาก แต่ทั้งนี้เราเน้นมาฝึกและโจมตีขัดขวางทางอากาศเป็นภารกิจรอง ดังนั้นส่วนตัวผมจึงยังไม่คิดว่า T-50TH จะต้องไปฟัดกับใคร งานไฟต์คงต้องให้ F-5 , f-16 และ JAS-39 ลงนวมไป
แนวคิดการออกแบบของ JF-17 ปากีสถาน-จีน กับ FA-50 เกาหลีใต้มีความแตกต่างกันครับ
โดย JF-17/FC-1 นั้นมีพื้นฐานมาจากโครงการเครื่องบินขับไล่ Super 7 จีนซึ่งเป็นการนำเครื่องบินขับไล่ F-7(J-7 ลอกแบบ MiG-21 รัสเซีย) มาออกแบบใหม่ให้เป็นเครื่องบินขับไล่ยุคที่๔
ดังนั้นสำหรับกองทัพอากาศปากีสถานผู้ใช้งานหลัก JF-17 จะมีความทันสมัยใกล้เคียงกับ F-16 และนำมาทดแทนเครื่องบินขับไล่ F-7PG และเครื่องบินโจมตี A-5C ในฐานะเครื่องบินขับไล่เบา
ส่วนเครื่องบินไอพ่นความเร็วเหนือเสียงตระกูล T-50 Golden Eagle นั้นถูกออกแบบมาเพื่อทดแทนเครื่องบินหลายแบบของกองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลี
คือรุ่นเครื่องบินฝึกไอพ่น T-50 ทดแทนเครื่องบินฝึกไอพ่นความเร็วเหนือเสียง T-38 และเครื่องบินฝึกไอพ่นสองที่นั่งเคียงกัน T-37 รุ่นเครื่องบินฝึกโจมตีเบา TA-50 ทดแทนเครื่องบินโจมตี A-37 และรุ่นเครื่องบินขับไล่โจมตีเบา FA-50 ทดแทนเครื่องบินขับไล่ F-5
ฉะนั้นพื้นฐานของ FA-50 จะยังคงความเป็นเครื่องบินฝึก/โจมตีเบาติดอาวุธสองที่นั่ง ขณะที่ JF-17 ถูกออกแบบมาเป็นเครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดี่ยวแต่แรก โดยเพิ่งจะมีการสร้างเครื่องต้นแบบรุ่นสองที่นั่ง JF-17B ออกมา
แต่ส่วนตัวมองว่า JF-17 ใช้เครื่องยนต์รัสเซียคือ RD-93 และใช้ระบบอาวุธจีนเป็นส่วนใหญ่แม้ว่าจะใช้อาวุธมาตรฐาน NATO ได้หลายแบบ ซึ่งดูแล้วไม่เหมาะกับกองทัพอากาศไทยครับ
เครื่องบินตระกูล TA50 FA50 จริงระบบที่มีก็น่ารจะรองรับการพัฒนาอยู่แล้วแค่ใส่ function มาไม่ครบ ผมว่าไหนๆไทยก็ซื้อมาแล้ว ก็น่าจะต่อยอดไปเลยเป็นม้าใช้แทนเครื่องรุ่นเก่า หรือฝูงที่ยังไม่มีเครื่องบิน (เคยมี) อย่าง F5 Alphajet L39 F16AB โดยร่วมกับเกาหลีและอิสราเอลพัฒนาให้ใช้อาวุธได้ครบทุกภาระกิจ ทั้งโจมตีเรือ โจมตีภาคพื้นดิน รบอากาศสู่อากาศแล้วจะผลิตหรือประกอบในไทยก็ว่ากันไป ฝูงล่ะไม่ต้องมาก 10-12 เครื่อง ที่เหลือเป็นฝูงบินรบหลักสัก 3 ฝูงให้เป็นหน้าที่ของ Jas39C plus F15SE F16MLU ดังนี้
ฝูงหลัก 3 ฝูงกระจายไป 3 แห่งให้สามารถป้องกันได้ทุกทิศทางของประเทศ
โคราช F15SE 12-14
นครสวรรค์ F16MLU plus (radar AESA) 18 - 24
กรุงเทพ หรือ นครปฐม (ผมเพิ่มเอง) Jas39C + (radar AESA) 12-14
ฝูงบินรอง
นครสวรรค์ TA50TH 12 ใช้ฝึก
เชียงหม่ FA50 MLU 12 โจมตี สกัดกั้น
สงขลา หรือ สราษฯ FA50MLU 12-16 โจมตี สกัดกั้น
โคราช TA50 12
อุบล FA50MLU 12
อุดร FA50 MLU 12
จะเห็นว่า เครื่องบินรบหลักเราแค่ซื้อ F15SE เท่านั้น ส่วนฝูง F16 Jas39 แค่ปรับปรุงเพิ่มเติม
ฝูงบินรองจะมีปริมาณเครื่องบินตระกูล T50 ถึงมากกว่า 72 เครื่อง ถ้าผลิตปีล่ะ 6เครื่อง จะทำให้สายการผลิตนานถึง 12 ปี
ปล. ส่วนฝูงบินอื่นๆตามชายแดน อาจใช้เครื่อง ทอ.6 พัฒนาต่อยอดให้สามารถใช้ ฝึก ตรวจการณ์ ติดอาวุธได้ อาจใช้คนขับ หรือ ทำเป็น Drone ก็ได้ ฝูงล่ะ 8 ลำ เช่น
นครปฐม (ฝึกบิน/โจมตี) 24
สงขลา ตรวจการณ์/โจมตี 8
กาญจนบุรี ตรวจการณ์/โจมตี 8
นครพนม ตรวจการณ์/โจมตี 8
จันทบุรี ตรวจการณ์/โจมตี 8
เชียงใหม่ ตรวจการณ์/โจมตี 8
อุบล ตรวจการณ์/โจมตี 8
อุดร ตรวจการณ์/โจมตี 8
รวมๆก็ 80 ลำ ก็น่าจะคงสายการผลิตได้ 12-14 ปี
decr
จากสถานการณ์ภัยคุกคามในปัจจุบันรวมถึงปัจจัยทางด้านงบประมาณที่จำกัด กองทัพอากาศไทยไม่น่าจะมีแนวคิดการจัดหาเครื่องบินรบจำนวนมากถึงขนาดนั้นครับ
โดยสำหรับโครงการจัดหา T-50TH นั้น มองว่าอาจจะหยุดแค่ ระยะที่๓ อีก ๔เครื่องเพื่อให้ฝูงบิน๔๐๑ มีครบ ๑๖เครื่องเท่านั้นด้วยครับ
เครื่องฝึกบินจำลองสำหรับ T-50 TH นักบินจะต้องฝึกกับซิมฯนี้ประมาณ 40 ชม. และทำการบินจริงกับบ. T-50 TH อีก 50 ชม.บิน ก็จะจบหลักสูตร ไปบินกับ บ. F-5,F-16, Gripen ได้
เครื่องฝึกบินจำลองสำหรับ T-50 TH นักบินจะต้องฝึกกับซิมฯนี้ประมาณ 40 ชม.
https://www.facebook.com/sompong.nondhasa/posts/1150058331763943
ระบบการฝึกแบบบูรณาการเป็นส่วนหนึ่งของชุดโครงการจัดหา T-50TH ครับ
ซึ่งสำหรับกองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลีแล้วรอวรับการฝึกนักบินพร้อมรบที่จะเป็นเปลี่ยนแบบเครื่องเป็น KF-16 และ F-15K ต่อไป
รวมถึงรุ่น T-50A ที่เสนอแข่งขันในโครงการ T-X ของกองทัพอากาศสหรัฐฯก็รองรับการฝึกเพื่อเตรียมเปลี่ยนแบบเป็น F-16C/D, F-15C/D/E, F-22A และ F-35A ต่อไปด้วย
นับว่ากองทัพอากาศไทยเลือกระบบที่เป็นมาตฐานที่ได้รับการรับรองในระดับนานาชาติครับ
https://www.facebook.com/DefenseNews/videos/10155206635962031/
T-50 จากทีม aerobatic สีดำของเกาหลีใต้ไฟไหม้ระหว่างบินขึ้นที่สิงคโปร์ airshow
รุ่นเดียวกันหรือเปล่า ไฟไหม้แล้ว
ไม่แปลกหรอกครับ เครื่องบินฝูงผาดแผลงอื่นๆก็เคยเป็น หนักกว่านี้ก็มีครับ ส่วนนักบิน T-50 ของเกาหลีที่เกิดอุบัติเหตุปลอดภัยแล้ว ความผิดพลาด อาการขัดข้องต่างๆ เกิดขึ้นได้เสมอไม่ว่าเครื่องบินแบบใด ฝูงบินผาดแผลงระดับโลกอย่าง ธันเดอร์เบิร์ด บลูแองเจิล เรดแอร์โร่ ก็เคยประสปอุบัติเหตุตกขณะโชว์ ฝูงบินผาดแผลง J-10 ของจีนก็เคยเกิดอุบัติเหตุตกขณะฝึกจนนักบินหญิง เรืออากาศเอกหญิง หยู ซวี่ ซึ่งเคยมาโชว์ที่โคราชเสียชีวิต ดังนั้นเรื่องอุบัติเหตุนั้นไม่เกี่ยวกับว่าเป็นรุ่นเดียวกันกับที่เราจัดหาหรือต้องเป็นรุ่นนี้ที่เกิดอุบัติเหตุครับ
Clip เหตุการณ์ใน Youtube ครับ
T-50B เป็นรุ่นสำหรับฝูงบิน Black Eagle กองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลีสำหรับใช้ในการแสดงการบินผาดแผลงโดยเฉพาะครับ
อย่างไรก็ตามอุบัติเหตุครั้งนี้แม้ว่านักบินจะได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยและได้รับการรักษาแล้ว
แต่การเกิดเหตุในงานแสดงการบินนานาชาติ Singapore Air Show ก็น่าจะส่งผลกระทบด้านภาพลักษณ์ของเครื่องครับ
อุบัติเหตุ T-50B ฝูงบิน Black Eagle เกาหลีใต้ไถล่ออกนอกทางวิ่งนั้น เป็นอุบัติเหตุครั้งแรกเกินขึ้นในงาน Singapore Air Show นับตั้งแต่จัดงานครั้งแรกในปี 2008
โดย Singapore Air Show 2018 ปีนี้นั้นตรงกับปีครบรอบการก่อตั้งกองทัพอากาศสิงคโปร์ ๕๐ปีด้วย
ทั้งนี้ฝูงบินผาดแผลง Black Eagle ทั้งนักบินและเจ้าหน้าที่ได้ยกเลิกการตารางแสดงทั้งหมดและเดินทางกลับเกาหลีใต้ไปแล้วครับ