หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ถามเรื่องหลักการทำงาน และเปรียบเทียบประสิทธิภาพของหมวก HMD แต่ละรุ่นครับ

โดยคุณ : Jane เมื่อวันที่ : 15/01/2018 13:17:24

ตามหัวข้อกระทู้เลยครับ จากการเปิดตัวของ ทอ. เครื่องบินขับไล่หลักของกองทัพอากาศทั้งสามรุ่น ต่างก็มีหมวก HMD ใช้งานร่วมกับอาวุธปล่อยสองรุ่น ดังนี้

F-16A/B eMLU + JHMCS II + Iris-T

Gripen + Cobra + Iris-T

F-5T Super Tigris + DASH IV + Python4

อาวุธปล่อยทั้งสองต่างก็ล๊อคเป้าหมายด้วยอินฟราเรดซีกเกอร์ของตัวอาวุธปล่อยเอง ซึ่งผมก็พอเข้าใจ แต่ที่อยากทราบคือ เมื่อใช้ประกอบกันกับหมวก HMD แล้ว หมวกสามารถล๊อคเป้าได้อย่างไร ได้ที่ระยะเท่าไร หมวกรุ่นไหนประสิทธิภาพดีกว่ากันครับ





ความคิดเห็นที่ 1


แว่นส่องพระ  กล่องเหลี่ยมๆข้างบน  คงเอาไว้เซ็ท อินนิเชี่ยล   เหมือนกล้อง วีอาร์ ของเพลย์ 4 นั่นแหล่ะ............

แว่นส่งพระ


โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 14/01/2018 22:34:17


ความคิดเห็นที่ 2


เหมือนเคยดู วิดิโอ จากที่ไหนสักที่ นานมาแล้วตั้งแต่เริ่มมีการใช้ ศูนย์เล็งติดหมวกใหม่ๆ (ไม่ใช่ยูทิอู๊บ)............... ไอ้เจ้าจรวดตามความร้อน แบบ ฮาลฟ สเปียร์ (เช่น ไพธ่อน4 (ไพธ่อน 5 ไซด์ไวเดอร์-เอ็กซ์ ไอริส-ที  แอสแรม พวกนี้ ฟูลสเฟียร์))    มันจะมีหัวเซ็นเซอร์อยู่ด้านหน้าเหมือนจรวดรุ่นก่อนๆ ต่างแต่  มันเหมือนลูกกะตา กรอกไปมาได้  .......    ซึ่งมันเป็นวิธีการเพิ่มมุมของการตรวจจับและล็อคเป้า  คือถ้าจะออกแบบให้อยู่กับที่เหมือนเมื่อก่อน การจะเพิ่มเซ้คเตอร์ให้กว้างขนาด ฮาลฟ สเฟียร์ มันก็คงต้องเพิ่มความใหญ่โตของหัวดีเทคเตอร์ให้ตรวจจับมุมได้กว้างมากๆ............ 

 

    ซึ่ง   วิธีแก้ที่ง่ายที่สุด ลงทุนน้อยสุดก็คือ ใช้ดีเทคเตอร์ให้ความกว้างเซ็คเตอร์เท่าเดิม แต่ทำให้มันกรอกไปมาได้ ที่นี้ก็ได้มุมกว้างขึ้นบานเลย    แต่วิธีการใช้งาน แรกสุดในการจะดีเทคเป้าหมาย มันก็คงทำเองไม่ได้ เพราะมุมตรวจจับมันแคบ ก็เลยต้องมีศูนย์เล็งติดหมวกมาช่วย..........  หลักการทำงานคือ ไอ้ดีเทคเตอร์ตัวนี้ มันจะกรอกตามทิศของหมวกที่นักบินเล็งออกไป  คล้ายๆกับ การทำงานของหมวกที่ใช้เล็งปืนของ ฮ.คอบร้า อย่างนั้นหล่ะ............   ทีนี้ พอมันกรอกตามหมวกไปจนเจอเป้า จนล็อกคเป้าได้ มันก็ไม่ละลูกะตาไปไหนหล่ะ  จ้องเขม็งตามเป้าลูกเดียว จนนักบินยิงมันออกไป มันก็หันเลี้ยวตามไปเลย..................  จร้า  มันเป็นอย่างนี้แหล่ะ............ สรุปคือ ตัวที่ล็อคเป้า ไม่ใช่หมวกดอกจร้า   แต่เป็นเจ้าหัว ดีเทคเตอร์ หรือ ซีคเกอร์ของจรวดนั่นแหล่ะเป็นตัวล็อค   เหมือนกับจรวดโบราณ อย่าง ไซด์ไวเดอร์- บี  ที่มีเสียง ต๊อดๆๆๆๆ   ให้นักบินได้ยิน ถ้าดังถี่ๆๆๆ แสดงว่า หัวมันจับเป้าได้มั่นแล้ว ประมาณว่า ล็อคแล้ว (โว๊ย).... ยิงได้   ซึ่ง แบบเก่าๆ หัวทีเทคเตอร์มันกรอกไปมาไม่ได้ ก็ต้องตกเป็นภาระของนักบิน ต้อง ไสหัวเครื่องของเราไปให้ตรงเป้า จนกว่าเจ้าดีเทคเตอร์จะล็อคได้..................อะไรทำนองนั้น      ดังนั้นหมวกจึงเป็นแค่ตัวช่วย สำหรับรวดรุ่นใหม่จร้า

 

 

ปล.  เพิ่มเติม   ว่าไปแล้ว  ทฤษฏีนี้  โซเวียต น่าจะ อิมพลีเมนต์เป็นเจ้าแรก   โดยใช้ร่วมกับจรวด อาร์เชอร์ ติดตั้งใน มิก-29.............. เจ้าศูนย์ติดหมวกนี้ โคตรจะ ซิมพลาย   คือหน้าตามันเหมือนกล้องส่องพระ มีขา เป็นตาเดียว  เหมือนๆกับ ที่ใช้เป็นศูนย์ติดหมวกเล็งปืน ของ ฮ.ไฮน์  เด๊ะๆ............   ประมาณว่า    นักบิน มิก-29 เวลาใช้ศูนย์เล็งแบบนี้   ต้องหลับตาข้างนึง มองผ่านเจ้าแว่นส่องพระตัวนี้ แล้วจะเงยคอ เอียวคอ หันไปไหนก็สุดแล้วแต่ เจ้า ดีเทคเตอร์ ของ อาร์เชอร์ มันก็กรอกลูกกะตาตาม....................

 

ปล. ของ ปล.   ว่าแล้ว ก็ให้นึกถึง วีอาร์  ของเพลย์ สี่      ใครเล่น ไม่ต้องอธิบายมาก คงเข้าใจ.............

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 14/01/2018 21:50:31


ความคิดเห็นที่ 3


ขอบคุณคุณกบมากครับที่มาตอบ แสดงว่าตามความเข้าใจของผมคือ จรวดรุ่นใหม่ๆ พร้อมจะเคลื่อนที่ไปตามทิศทางที่หมวกได้หันไป แต่จรวดจะล๊อคเป้าได้แน่ๆ ต้องมีเสียงเปล่งมาจากซีคเกอร์ก่อน นั่นหมายความว่าถ้าหมวกหันในทิศทางที่ซีคเกอร์สามารถกรอกตาไปเห็นความร้อนได้ จรวดก็จะล๊อคเป้าพร้อมให้ยิงได้ แต่ถ้านักบินมองข้ามไหล่ไปหาเป้าหมายข้างหลัง ซีคเกอร์ของจรวดไม่สามารถกรอกตาไปข้างหลังได้ แต่ก็พร้อมจะบังคับทิศทางตัวเองไปข้างหลังหากนักบินสั่งยิง เมื่อเคลื่อนที่ไปทิศทางนั้นแล้ว ค่อยใช้ซีคเกอร์ล๊อคความร้อนจากเป้าหมายต่อไป นั่นคือ การมีหมวกใช้งาน ทำให้มีโอกาสใช้โหมด lock on after lunch ใช่หรือไม่ครับ
โดยคุณ Jane เมื่อวันที่ 15/01/2018 12:11:05


ความคิดเห็นที่ 4


ครับ  .............. ไม่กล้าเขียนไงครับ    เลยเอาแค่ ฮาลฟ สเฟียร์................ กรณี ฟูลล สเฟียร์   หรือการยิงข้ามไหล่   อาจเป็นไปได้ว่า..... เน้น  อาจนะครับ คือ เป็นอะไรที่ผมคิดเอง.......  กรณี ลูกกะตา ของจรวด กรอกไปไม่ได้  จรวดก็คงยังล็อคเป้าไม่ได้    แต่การส่ายของกล้องติดหมวกในตำแน่งสุดท้าย เทียบกับ อินนิเชี่ยล  น่าจะเป็นการ พล็อตข้อมูลให้กับสมองกลในจรวด วิ่งไปที่มุมชี้เป้าตำแหน่งสุดท้ายนั้น  พอจรวดวิ่งเข้าแนวแล้วจึงใช้ความเร็วของหัวซีคเกอร์ นำวิถีเข้าหา   ก็คือ ล็อคเป้า หลัง ยิง นั่นหล่ะครับ..................   ลักษณะ จะคล้ายๆกับ บีวีอาร์แบบแอคถีฟโฮมมิ่งเรดาร์    คือ   เรดาร์ คคกย.  จะมาร์คตำแหน่งสุดท้าย   พอจรวดพ้นจากรางปล่อย ระบบนำร่องด้วยแรงเฉี่อย ( อินเนอร์เชียร์ )จะนำเข้าหา ซึ่งการนำทางแบบนี้เป็นการกะประมาณการด้วยคอมพิวเตอร์  เพื่อคำนวณหาแนวเล็งดัก (ประกอบการคำนวนด้วย สัมพัทธ์  ระยะ ความเร็ว และทิศทางของเป้า และของเรา)  จนเข้าระยะที่เรดาร์หัวจรวดตรวจจับและล็อคได้ ............   ซึ่งประเด็นนี้เคยถกกันรุนแรงในกระทู้ก่อนหน้านี้ เรื่องโหมดยิงแล้วลืม.................  ในความเป็นจริง  แอคถีฟโฮมมิง ที่หวังผลร้อยเปอร์เซนต์   จะไม่เล็งแล้วลืมตามยะถากรรมดอกครับ   ฐานปล่อยจะต้อง รีไวส์ ข้อมูลให้เป็นระยะ  ยกตัวอย่างเช่น อำราม ถ้ายิงไกลๆ   เรดาร์ต้องส่องและติดตามเป้าหลังการยิงไป จนกว่าเรดาร์หัวจรวดจับเป้าได้โน่นแหล่ะ  เนื่องจากอากาศยานเคลื่อนที่ได้สามมิติ  มีการหันเลี้ยวฉกาจและคล่องแล่ว   การนำร่องด้วยแรงเฉี่อย ต่อให้มีคอมพิวเตอร์ฉลาดแค่ไหน แต่การเปลี่ยนมุมฉกาจของเป้าแบบเหนือความคาดหมาย  จะทำให้หลุดจากการคำนวนเล็งดักได้  ด้วยดังนี้ จึงต้องส่องและอัพเดทเป็นระยะ ................   ยกเว้นเป้าความเร็วต่ำ  และเคลื่อนที่ช้า เช่นเรือรบ     อันนี้ อาจเข้าโหมด ยิงแล้วลืมได้จริงๆ คือ ลืมเลยว่าจรวดหายไปไหน  จมน้ำฉิบ...555555

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 15/01/2018 13:17:24