เจอบนทางด่วนพอดี ลายพลางไม่ใช่ดิจิตอลแบบออฟล๊อต น่าจะvt4 ดีใจกับทบด้วยครับ นับได้แปดคันนะ
Vtป่าว
ขอให้มีการรับมอบก่อนแล้วกันครับ ค่อยนำมาภาพมาเผยแพร่
https://www.prachachat.net/politics/news-52759
เอามาใว้ก่อน เดี๋ยวค่อยตรวจ
Wassana Nanuam อยู่กับ Wassana Nanuam
9 ชม. ·
ไม่ใช่รถถังเก่าเก็บ !! ปีหน้าซื้ออีก10คัน
"บิ๊กเจี๊ยบ" ปัดข่าว รถถังจีนVT4 เป็น รถค้างเก็บในสต๊อก ยันไป ดูมาด้วยตนเองใช้ได้สมบูรณ์ เผยปี61 ซื้ออีก 10 คัน ตามแผนให้ครบ2 กองพัน เผยปรับหน่วย กองพันทหารม้า ให้จัดกองพันละ 30 คัน/เผยจีน ส่งให้เร็วกว่ากำหนด6 เดือนเป็นประโยชน์ ทำให้เราเตรียมการได้เร็ว/เผย ตอนนี้อยู่ที่ศูนย์การทหารม้า สระบุรี กำลัง ติดตั้งระบบสื่อสาร และรอการตรวจรับพร้อมเปิดให้สื่อเข้าชม ด้วยความยินดีและเต็มใจ
พลเอกเฉลิมชัย สิทธิสาท ผู้บัญชาการทหารบก กล่าวถึง การจัดซื้อรถถังจีน VT-4 ว่าเป็นการจัดซื้อมาทดแทน รถถังM41 ที่จะปลดประจำการ
ตามกำหนดเดิม จีนจะส่งมอบระยะแรก ใน มีค.ปี2561 แต่ได้นำส่งเร็วกว่ากำหนด แล้ว28 คัน (เป็นรถกู้ซ่อม2คัน)
ตอนนี้ อยู่ที่ ศูนย์การทหารม้า สระบุรี อยู่ระหว่างการติดตั้งระบบวิทยุสื่อสาร และรอการตรวจรับของคณะกรรมการกองทัพบก
เพื่อนำไปประจำการที่ ม.พัน6 และม.พัน21 กองพลทหารม้าที่3
"หลังจากที่คณะกรรมการตรวจรับ เรียบร้อย ตามกม.แล้ว จะเปิดให้สื่อมวลชนเข้าไปดู เรายินดี เต็มใจ"
ทั้งนี้มีแผนในการจัดซื้อ รถถังVT4 ในปี 2561 อีกจำนวน 10 คัน โดยมีแผนให้ซื้อรวม 2 กองพัน เป็นการจัดซื้อตามงบประมาณที่มี
โดยทบ. มีการปรับการจัดอัตรากำลังรถถังจาก กองพันละ44 คัน เหลือกองพันละ30คัน เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้
ซึ่งที่ผ่านมาซื้อไปแล้ว ปี2559 จำนวน 28คัน และ ในปี2560 จำนวน 10 คัน ปี2561 จะซิ้ออีก10 คัน
ตอนนี้อัตราจำนวนรถถัง ยังไม่ถึง แต่คงเกณฑ์การจัดหน่วยไว้แค่นี้ก่อน
ทั้งนี้ จีนทำการส่งมอบเร็วกว่ากำหนด6เดือน มันเป็นการแข่งขันกันทางธุรกิจ แต่เราก็ได้ประโยชน์ครบถ้วนสมบูรณ์เพราะเราได้รถมาเร็ว เราก็ได้มีการเตรียมการได้เร็ว
ส่วนที่วิจารณ์ว่าอาจเป็นรถถังที่อยู่ในสต๊อก นั้น พลเอกเฉลิมชัย กล่าวว่า คงไม่ใช่. เพราะในขั้นตอนปี 2559 ตนเองในฐานะ
ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก
ได้เดินทางไปดูโรงงานมดูกระบวนการผลิตของเขา ยืนยันว่าใช้ได้สมบูรณ์
ลายออกไปทางโบราณ
งงว่าทำไมไม่ทำสีเหมือนๆกัน?
ทบ.จะไม่ใช้ลายพรางดิจิตอลเป็นหลักสำหรับยานเกราะแล้ว หรือพี่จีนจะทำแบบนี้ให้เราก็หยวนๆ?
เรื่องลายพรางจำได้คุ้นๆ ว่าพี่ๆน้องๆในบอร์ดนี้แหละมั้งบอกว่าหน่วยที่จะรับมอบ VT-4 เขารีเควส ลายวู้ดแลนด์ ส่วนสาเหตุว่าทำไมไม่ใช้พรางดิจิตอล เหมือนๆกับ Oplot อันนี้ก็ไม่ทราบ
ยินดีกับ ทบ. ด้วยครับ
ดูกันต่อไปครับว่าดีจริงสมราคาหรือเปล่า
แต่คนละประเด็นกับ Type- 69 นะครับ เพราะมีคนเข้าใจผิดกันเยอะในเรื่องนี้ว่าเป็นรถถังกู้ชาติ ขอให้ดู Time Lineการประจำการ กันดีๆก่อนแล้วกันครับ เพราะอาจจะมีคนเงิบก็ได้ครับ
ป.ล.มีคำถามหรือข้อสงสัยมาถามทางนี้นะครับ อย่าไปโวยวายหน้าเพจ เพราะกลัวจะเงิบเหมือนปีที่แล้วครับ
ถ้ากองพันแรกทดสอบแล้วใช้ได้ดี ก็อยากให้กองพันที่ 2 ไปเจรจากับจีนเป็นซื้อมาประกอบในประเทศไทยไปเลย หลังจากนั้นกองพันที่ 3 เป็นต้นไปก็สร้างในไทย ทยอยจัดอาจจะปีล่ะ 12-24 คัน ไปเรื่อยๆจนครบ (และต้องมีรุ่นปรับปรุงด้วยในรุ่นหลังๆ) หลักการคืออยากให้เอาให้แน่ๆว่าจะใช้ของประเทศอะไร ก็ซักประเทศ แล้วเจรจามาร่วมสร้างในประเทศ เน้นระยะยาวไปเลย ให้มีสายการผลิตตลอด ปริมาณอาจไม่มากแต่มีต่อเนื่อง เช่น สมมุติยึดรถถังจีนเป็นหลักก็ร่วมทุนกันมาสร้างโรงงานในไทยเลย อัตราการสร้างอาจจะเดือนล่ะ 1-2 คัน (ตกปีล่ะ 12-24 คัน) ดังนี้
ปีที่ 1-10 ก็จะมี VT4 ราว 120-240 คัน
ปีที่ 11-20 อาจต่อด้วย VT4 upgrade 120-240 คัน
ปีที่ 21-30 อาจเป็น VT-XX (Thai&China design) 120-240 คัน
จะเห็นได้ว่าใน 30 ปี จะมีรถถังใหม่ 360-720 คัน ซึ่งพอๆกับที่ปริมาณรถถังเก่าที่มี ซึ่งมีข้อดี คือ
1.จะไม่มีปัญหาเรื่อง อะไหล่ การซ่อมบำรุง เนื่องจากเป็นรถถังตระกูลเดียวกัน และมีสายการผลิตยาวนาน
2.ไทยจะสามารถผลิตรถถัง และมีส่วนในการพัฒนารถถังเองได้ร่วมกับพันธมิตร
3. สามารถทดแทนรถถังเก่าที่ล้าสมัยได้ทั้งหมด
4. สามารถควบคุมงบประมาณได้ง่ายกว่าการ เลือกซื้อจากต่างปรพเทศทีล่ะน้อยๆ ต่างแบบกัน
ปล. แนวคิดนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ของจีนน่ะครับ แต่ให้เลือกซักยี่ห้อที่เหมาะกับไทย อาจเป็น K2 เกาหลีใต้ , Type10 ญี่ปุ่นก็ได้ พันธมิตรกันทั้งนั้น และแนวคิดนี้อยากให้ใช้กับพวกรถลำเลียง รถหุ้มเกราะด้วย เพราะปริมาณที่ต้องการมากพอในการดำรงสายการผลิต
ตอนนี้กับเจ้า VT-4 ผมลุ้นแค่ว่าล็อตหลังๆ จะมาพร้อม GL-5 รึเปล่าแค่นั้น ไหนๆก็ไหนๆแล้ว เทรนรถถังโลกมันมาแนวนี้ ขนาดอเมริกายังทนไม่ไหวต้องเอา TROPHY มาติด M-1 ผมเองก็อยากให้ไทยมีระบบแบบนี้ติดรถไว้เผื่ออนาคตบ้าง
ว้าว เยี่ยมยอด เขาจะมีเทคโนโลยี ควอนตัมติดมาด้วยไหม