โเจนส์โ รายงานไทยซื้อรถถังจีน VT4 ล็อตแรก 28 คัน $150 ล้าน
โดย MGR Online
18 พฤษภาคม 2559 17:44 น. (แก้ไขล่าสุด 22 พฤษภาคม 2559 17:04 น.)
โเจนส์โ รายงานไทยซื้อรถถังจีน VT4 ล็อตแรก 28 คัน $150 ล้าน
เรียบร้อยโรงเรียนจีน.. ถ้าหาก Janes ยืนยัน เหตุการณ์จริงก็มักจะเป็นไปตามเนื้อข่าวเสมอมา กองทัพบกไทยอาจจะทุ่มงบประมาณทั้งหมดเกือบหมื่นล้านบาท ให้แก่รถถัง VT4 ที่ผลิตโดยกลุ่มอุตสาหกรรม NORINCO ของทางการจีน ภายใน 2 ปีข้างหน้านี้ ซึ่งจะเป็นการสิ้นสุดแผนการจัดหารถถังหลักยุคใหม่ราว 200 คัน.
MGRออนไลน์ - กองทัพบกไทยได้เซ็นสัญญาซื้อรถถังแบบ VT4 ที่ผลิตในสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นจำนวนทั้งหมด 28 คัน รวมมูลค่าซื้อขายราว 150 ล้านดอลลาร์ นิตยสารข่าวกลาโหมที่ได้รับความเชื่อถือมากที่สุด และเก่าแก่มากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศอังกฤษ รายงานเรื่องนี้โดยอ้างการยืนยันของทางการไทย
นี่คือ รถถังรุ่นใหม่ล่าสุดที่เป็นเวอร์ชันสำหรับส่งออกของ MBT3000 รถถังหลักที่ประจำการในกองทัพประชาชนปัจจุบัน และเป็นรุ่นอัปเกรดของ MBT2000 กับ VT1A ที่จีนผลิตออกมาก่อนหน้านี้ ฝ่ายไทยตัดสินใจซื้อ หลังจากพิจารณาเปรียบเทียบกับ T-90 รัสเซีย และ T-84 โอปล็อต-M จากยูเครน ที่กองทัพบกเซ็นสัญญาซื้อ จำนวน 49 คัน ในเดือน ก.ย.2554 มูลค่าราว 7,200 ล้านบาท (240 ล้านดอลลาร์) ในการจัดหาล็อตแรก
กองทัพบกได้รับงบประมาณอีก 8,900 ล้านบาท สำหรับการจัดหารถถังหลักในล็อตที่ 2 โดยเป็นงบผูกพันเป็นเวลา 3 ปี และในขณะที่การผลิต Oplot-M ในยูเครน มีปัญหา เกิดความล่าช้าในการส่งมอบ หลายฝ่ายเชื่อว่า ไทยกำลังพุ่งความสนใจทั้งหมดไปที่ T-90 รัสเซีย ที่มีราคาไล่เลี่ยกัน และคุณภาพผ่านการพิสูจน์ในสงครามให้เห็น
ตามรายงานของเจนส์ กลุ่มบริษัทอุตสาหกรรมภาคเหนือของจีน หรือ NORINCO (North Industries Corp) จะส่งมอบ VT4 ล็อตแรกที่ยังไม่ทราบจำนวนให้แก่ไทยในปลายปี 2559 นี้ ขณะที่สองฝ่ายได้ให้คำมั่นจะจัดทำสัญญาซื้อขายฉบับสมบูรณ์ระหว่างกันภายใน 2 ปี ซึ่งไทยอาจจะซื้อเป็นจำนวนถึง 138 คัน
รายงานของเจนส์ ยังให้รายละเอียดต่อไปว่า สัญญาการซื้อขายจะครอบคลุมการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องด้วย และหน่วยงานที่จะรับการถ่ายทอด ก็คือ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (Defence Technology Institute) ในสังกัดกระทรวงกลาโหม ที่ในปัจจุบันมีความร่วมมือกับจีนในการพัฒนาจรวด DTI2 สำหรับกองทัพไทย
ไทยจะส่งเจ้าหน้าที่เทคนิค กับพลรถถังซึ่งจะเป็นผู้ใช้งานไปฝึกอบรวมในจีน และเชื่อกันว่าผู้เชี่ยวชาญของ DTI จะได้รับการฝึกอบรมในจีนเช่นเดียวกัน เจนส์ กล่าว
ความคิดเห็นที่ 1
ข่าวจากเจนส์ค่อนข้างที่จะน่าเชื่อถือได้ครับ
แต่มันก็แปลกๆอยู่ว่ามีคนกลุ่มนึงถ้าเป็นข่าวจากเจนส์แต่เป็นสิ่งที่ไม่ใช่ฝ่ายตัวเองเชียร์บอกทันทีไม่น่าเชื่อแต่ถ้าเป็นสิ่งที่ฝ่ายตัวเองเชียร์จะบอกทันทีว่าข่าวน่าเชื่อถือ
โดยคุณ
janus เมื่อวันที่
25/05/2016 16:13:17
ความคิดเห็นที่ 2
สาธุ.... DTI รับถ่ายทอด ขอให้พลิกล็อคหักปากกาเซียน จากสอนซ่อม เป็นสอนสร้างแบบเดียวกับจรวด DTI ให้มีมาประกอบเองในประเทศซักร้อยคัน แล้วผมจะทำใจรับรักแม่สาวน้อย VT-4 ให้ก็ได้
โดยคุณ GT500 เมื่อวันที่
25/05/2016 16:20:36
ความคิดเห็นที่ 3
ถ้าสอนสร้างรถถังได้จริงก็มาเถอะครับ
(แต่ก็ยังอยากให้เราซื้อลิขสิทธิ์โอพล็อตมาตั้งแต่ตอนที่คิดจะซื้อตอนแรกมากกว่า)
โดยคุณ
tongwarit เมื่อวันที่
25/05/2016 19:58:27
ความคิดเห็นที่ 4
โดยคุณ
potmon เมื่อวันที่
26/05/2016 10:50:31
ความคิดเห็นที่ 5
ดีทุกอย่างแต่ขาดอยุ่อย่างเดียว
ขาดความน่าเชื่อถือครับ
โดยคุณ tower6221 เมื่อวันที่
26/05/2016 11:50:39
ความคิดเห็นที่ 6
อะไรก็ตามที่จีนผลิตและจำหน่าย โดยควบคุมคุณภาพเอง มีข้อเสียที่ความน่าเชื่อถือครับ.................. ที่สำคัญมากกว่าความเชื่อถือทางวิศวกรรมคือ ความน่าเชื่อถือในการดำเนินธุรกิจ ................ การแข่งขันสูง เคี่ยวคั้นให้มนุษย์ออกแรงสมองและพละกำลัง แต่สิ่งที่ตามมาช้ากว่าเสมอคือคุณธรรมและจริยธรรม ................. ธุรกิจจีนมีอะไรที่พลิกล็อค กลับตาลปัตต์ จากหน้ามือเป็นหนังส้นเท้าให้เห็นบ่อยๆครับ ................ อย่างแรกที่เห็นชัดคือ การแข่งขันพัฒนาโพรดัค ตัวใหม่ๆออกมา จนไม่มีแรงที่จะทำชิ้นอะไหล่หรือสแปร์ของโพรดัคตัวเดิม ................... อย่างที่สองคือ หลักการตีหัวเข้าบ้าน ล้มบนฟูก กาลักน้ำ แบบหน้าตาเฉย ซึ่งมันไม่ควรจะเกิดง่ายๆและไปง่ายๆ กับธุรกิจทางวิศวกรรมมูลค่าเป็นหมื่นล้านดอลลาร์ แต่พี่จีนสามารถครับ.................
โดยคุณ
กบ เมื่อวันที่
26/05/2016 14:38:27